1.17k likes | 1.37k Views
พฤติกรรมทางเศรษฐกิจของคนชั้นกลาง : ตลาดสินค้า-บริการอำนวยความสะดวกและการไต่เต้าทางสังคมของคนชั้นกลาง (ผลการศึกษาเบื้องต้น). นิพนธ์ พัวพงศกร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. การแสดงปาฐกถา 60 ปี คณะเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ห้องประชุมชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ มธ. 27 กรกฏาคม 2552. คำถาม.
E N D
พฤติกรรมทางเศรษฐกิจของคนชั้นกลาง : ตลาดสินค้า-บริการอำนวยความสะดวกและการไต่เต้าทางสังคมของคนชั้นกลาง (ผลการศึกษาเบื้องต้น) นิพนธ์ พัวพงศกร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย การแสดงปาฐกถา 60 ปี คณะเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ห้องประชุมชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ มธ. 27 กรกฏาคม 2552
คำถาม คนชั้นกลาง คือ ใคร มีจำนวนเท่าไร แบบแผนการบริโภคของคนชั้นกลาง : คนชั้นกลางเป็นตลาดของสินค้าอำนวยความสะดวกในบ้าน คนชั้นกลางเป็นบ่อเกิดของผู้ประกอบการหรือไม่ : การศึกษา งานและรายได้ของคนชั้นกลาง
ประเด็นปาฐกถา มูลเหตุจูงใจ แนวคิด และวิธีศึกษา ความหมายและชีวิตคนชั้นกลาง แบบแผนการบริโภคของคนชั้นกลาง การศึกษา งาน และรายได้ของคนชั้นกลาง คนชั้นกลางกับการเลือกนโยบายเศรษฐกิจ
1. มูลเหตุจูงใจ : ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างพันธมิตรกับนปช. • บทความของนิธิ เอียวศรีวงศ์ “การปรับระบบการเมือง” มติชนรายวัน(15 ส.ค.-15 ก.ย. 2551) อธิบายเรื่องการขาดความมั่นคงทางเศรษฐกิจของคนชั้นกลางในชนบท • บทความของ Banerjee and Duflo (2008), Easterly 2001 และ Birdsall, et.al 2000 เป็นงานวิชาการที่เป็นแนวทางการศึกษาเรื่องพฤติกรรมคนชั้นกลางไทยในการปาฐกถาครั้งนี้ • งานวิชาการของนักเศรษฐศาสตร์ไทยมีน้อยมาก เช่น สังศิต พิริยะรังสรรค์ ผาสุก พงษ์ไพจิตร อภิชาติ สถิตนิรมัย งานส่วนใหญ่เป็นงานด้านรัฐศาสตร์ เช่น อเนก เหล่าธรรมทัศน์ เกษียร เตชะพีระ Christ Baker เป็นต้น
2. แนวคิด และวิธีศึกษา นโยบาย/ปัจจัยภายนอกที่ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียม เช่น โลกาภิวัฒน์ ความขัดแย้ง คนชั้นกลาง ฉันทามติ (1) การออมเพื่อประกอบกิจการ/ ระบบคุณค่าที่เน้นสะสมทุน (2) มนุษย์เงินเดือนกับงานที่มั่นคง : ลงทุนการศึกษาและสุขภาพ ของตนและลูก (3) นโยบาย สินค้า มหาชน (4) ตลาด สินค้า คุณภาพ การเติบโต ทางเศรษฐกิจ ? ? Productivity Economies of scale 2.1 แนวคิดเรื่องคนชั้นกลางกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่มา : 1. Acemoglu and Zilibotti 1997 ; และ Doepke and Zilibotti 2005 2. Banerjee and Duflo 2008 3. Easterly 2001 4. Murphy, Shleifer and Vishny 1989
แนวคิดเรื่องบทบาทคนชั้นกลางที่มีต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแนวคิดเรื่องบทบาทคนชั้นกลางที่มีต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ • คนชั้นกลางเป็นบ่อกำเนิดของ “ผู้ประกอบการ” เพราะมีระบบคุณค่าที่นิยมการออมและการลงทุนในทุนมนุษย์ ซึ่งเป็นหัวใจของกระบวนการสะสมทุนในระบบเศรษฐกิจทุนนิยม (Doepke and Zilibotti 2005) • นอกจากนั้นคนชั้นกลางมีสมรรถนะและเต็มใจที่จะกระเหม็ดกระแหม่นำเงินออมไปลงทุนเพื่ออนาคต ทำให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ ผล คือการจ้างงาน และผลิตภาพการผลิตของสังคมเพิ่มขึ้น (Acemoglu and Zilibotti 1997) • คนชั้นกลางส่วนใหญ่ ไม่ใช่ผู้ประกอบการ แต่เป็นมนุษย์เงินเดือนที่ลงทุนด้านการศึกษาของตน และลูกเพื่อให้ได้งานดีๆที่มั่นคง (decent work) ความมั่นคงในชีวิตและงานย่อมทำให้ผลิตภาพการทำงานสูงขึ้น (productivity) เศรษฐกิจก็จะเติบโตต่อเนื่อง (Banerjee and Duflo 2008)
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทำให้มีคนชั้นกลางมากขึ้น เมื่อรายได้ต่อหัว และจำนวนคนชั้นกลางเพิ่มขึ้นถึงระดับขั้นต่ำระดับหนึ่ง ความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคบางประเภทจะเพิ่มมากจนคุ้มที่จะผลิตสินค้าดังกล่าวในประเทศ เพราะเมื่อขนาดการผลิตใหญ่พอ ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยจะต่ำลงจนสินค้าที่ผลิตในประเทศสามารถแข่งขันกับต่างประเทศ แนวคิดนี้เป็นข้อสังเกตของสื่อมวลชน เช่น Forbes Asia (10 November, 2008 : 67) Unger (FER 2006) ส่วนงานวิชาการอธิบายว่าคนชั้นกลางต้องการบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพสูงขึ้น ทำให้เกิดการลงทุนในการผลิตและการตลาด (รวมทั้งลอจิสติกส์) ผลคือ รายได้ของทุกคนในประเทศสูงขึ้น (Murphy, Shleiler and Vishmy 1989).
แนวคิดสุดท้าย คือ สังคมที่ประชาชนมีความแตกต่างกันมากทั้งด้านเชื้อชาติ ศาสนา และเศรษฐกิจ จะมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำกว่าประเทศที่คนส่วนใหญ่ในสังคมไม่แตกต่างกัน โดยเฉพาะประเทศที่คนส่วนใหญ่เป็นคนชั้นกลาง เพราะคนชั้นกลางส่วนใหญ่มีความต้องการคล้ายคลึงกัน เช่น มีรสนิยมและทัศนคติต่อนโยบายการลงทุนด้านสินค้ามหาชน (public good policy) ที่ตรงกัน เรียกว่า “ฉันทามติของคนกลาง” นโยบายดังกล่าวจะเกื้อหนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Easterly 2001) • แนวคิดที่ใกล้เคียงกับแนวคิดสุดท้ายข้างต้น คือ นโยบายการเมืองและเศรษฐกิจที่สำคัญต่อการจรรโลงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และลดความยากจน จะต้องเป็นนโยบายที่ได้รับการสนับสนุนจากคนชั้นกลาง เพราะนโยบายบางอย่างจะมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนชั้นกลาง แม้ว่ากระแสโลกาภิวัฒน์และการเปิดเสรีทางการเงินจะเกิดผลประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ และช่วยลดจำนวนคนยากจน แต่ก็อาจสร้างความเครียดแก่คนชั้นกลาง เพราะ แม้คนชั้นกลางจะรวยขึ้น แต่กลับมีฐานะแย่ลงเมื่อเทียบกับกลุ่มคนรวย (top driven inequality) (Birdsall,et al. 2000)
งานวิจัยที่กล่าวถึงบางเรื่องพยายามพิสูจน์ว่าคนชั้นกลางมีบทบาทต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ บางเรื่องเป็นแนวคิดหรือแบบจำลอง (เช่น Acemoglu and Zilibotti 1997 ; Doepke and Zilobotti 2005 ; Murphy, et al. 1989) ส่วนงานของ Banerjee and Duflo (2008) ก็เป็นเพียงการหาข้อสรุปเกี่ยวกับวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจจากการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคการลงทุนด้านการศึกษาและอาชีพของคนชั้นกลาง แต่ยังไม่มีทฤษฎีเศรษฐศาสตร์รองรับ • การศึกษาครั้งนี้ จึงเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภค การลงทุนด้านการศึกษา และงานอาชีพของคนชั้นกลางเทียบกับคนจน และคนที่มีฐานะดีที่สุด ผู้เขียนหวังว่าความเข้าใจดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อนโยบายการสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่สามารถลดความแตกต่างทางเศรษฐกิจและความขัดแย้งระหว่างคนกลุ่มต่างๆ
2.2 วิธีศึกษา • จำนวนคนชั้นกลางใช้นิยาม 2 แบบ (1) 2-10 $ ต่อคน ต่อวันของ Banerjee and Duflo (2008) Birdsall,et.al. (2000) และ (2) quintiles ของ Easterly (2001) ข้อมูลการสำรวจรายได้-รายจ่ายของครัวเรือนระหว่างปี 2528-2550 ของสำนักงานสถิติ • แบบแผนบริโภคอาศัยทฤษฏีอุปสงค์ต่อสินค้า โดยแบ่งสินค้าตามความยืดหยุ่นต่อรายได้ของอุปสงค์ต่อสินค้าและบริการและใช้ข้อมูล SES ปี 2550 โดยแบ่งครัวเรือนไทยเป็น 5 กลุ่มรายจ่าย และข้อมูลอนุกรมเวลาด้านการใช้จ่ายของครัวเรือน 2528-2550 • การศึกษางานและรายได้คนชั้นกลางเป็นงานทดสอบสมมุติฐานของ Banerjee and Duflo (2008) และใช้ข้อมูล SES ปี 2528-2550
3. ใครคือคนชั้นกลาง มีจำนวนเท่าไร • ความหมาย : ไม่ตายตัว เปลี่ยนแปลงตามพัฒนาการของระบบเศรษฐกิจ โครงสร้างอาชีพ ระดับการศึกษาขั้นต่ำของแต่ละอาชีพ และระบบคุณค่าในสังคม • ในงานวิชาการยุคแรก นิยามของคนชั้นกลางจะยึดโยงกับการผลิตสินค้าชนิดใหม่ การเปลี่ยนแปลงอาชีพและสถานภาพทางสังคมของผู้ประกอบอาชีพ • ต่อมาโครงสร้างเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้อาชีพต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป • ดังนั้นนักสังคมวิทยาจึงนิยามคนชั้นกลางจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาชีพ ระดับการศึกษา และทัศนคติของคนกลุ่มต่างๆ
Birdsall, et al., 2000 สรุปคำนิยามของนักวิชาการ 3 กลุ่มดังนี้ • “คนชั้นกลางไม่ใช่ชนชั้นกรรมาชีพ ไม่ใช่คนรวย แต่เป็นคนที่ประกอบอาชีพอิสระ ผู้ประกอบวิชาชีพ เป็นลูกจ้างพนักงานของสถานประกอบการที่ต้องใช้ความรู้และทำงานบริหารจัดการ รวมทั้งผู้ประกอบการขนาดเล็ก • เป็นกลุ่มคนที่เห็นความสำคัญของการออมและการศึกษา เพราะให้ความสำคัญกับอนาคต • เป็นกลุ่มคนที่พยายามแสวงหาโอกาสในการยกฐานะทางสังคมของตนจากรายได้ จากงานที่มั่นคง คนกลุ่มนี้ไม่ใช่คนจน ไม่ใช่แรงงานหาเช้ากินค่ำ และไม่ใช่คนรวย แต่เป็นกลุ่มคนตรงกลาง
ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์ (2536) ให้นิยามคล้ายกับนิยามตามประเด็นแรก • นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ (2536) แบ่งคนชั้นกลางเป็น 2 กลุ่ม (1) นักธุรกิจ ซึ่งความมั่นคงถูกกำหนดโดยระบบตลาด (2) ผู้ประกอบอาชีพชั้นสูง และคนงานปกขาว ซึ่งอาศัยทักษะความชำนาญเฉพาะตัวทำให้ตนมีความก้าวหน้าทางการงาน • ผาสุก พงษ์ไพจิตร (2536) แบ่งคนชั้นกลางเป็น 4 กลุ่มคือ (1) นักวิชาชีพผู้จัดการ ผู้บริหาร (2) กลุ่มพี่น้อง (3) คนงาน คอปกขาวระดับล่าง (4) นักคิดและนักวิชาการ
การวัดคนชั้นกลางของนักเศรษฐศาสตร์ : ไม่มีสูตรตายตัว ขึ้นกับวิจารณญาณ • คนกลุ่มquintiles 2-4 หรือคนจำนวน 60% ที่มีรายได้ (หรือรายจ่าย) อยู่ตรงกลางระหว่างคนจนสุด 20% (quintile 1) กับคนรวยสุด 20% (quintile 5)(Easterly 2001) • 75% ถึง 125% ของรายได้ (หรือรายจ่าย) มัธยฐาน (Birdsall,et.al.2000) • $2-$10 (ppp หรือ purchasing power parity) (Banerjee and Duflo 2008)
ระหว่างคนที่มีรายได้สูงกว่าเส้นความยากจน กับ รายได้มัธยฐานของกลุ่มคนรวยสุด 10% ของประชากร ทั้งนี้เพราะในทางปฏิบัติคนส่วนใหญ่ที่ตกอยู่ในกลุ่มรายได้สูงสุด 10% ตามการสำรวจรายได้รายจ่ายไม่ใช่มหาเศรษฐี • คนชั้นกลางอยู่ตรงไหน : ขึ้นกับการขีดเส้นรายได้ ดังรูปที่แสดงเส้นการกระจายรายได้ของไทยระหว่างปี 2533-49
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ การสำรวจรายได้รายจ่ายของครัวเรือน คนชั้นกลางอยู่ตรงไหน ?(สัดส่วนประชากร ตามระดับรายได้ต่อหัวที่แท้จริง)
Quantiles 2-4 ล้านบาท 50 45 40 35 30 25 20 2533 2535 2537 2539 2541 2543 2545 2547 2549 75-125% median ล้านบาท ล้านคน ส่วนต่างเส้นยากจนกับรายจ่ายคนรวย (346 บาท) • จำนวนคนชั้นกลางในไทยปี 2533-2549 $2-10 ต่อคนต่อวัน
ส่วนแบ่งรายจ่ายคนชั้นกลาง และจำนวนคนชั้นกลางปี 2549 ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ การสำรวจรายได้ รายจ่ายครัวเรือน ปี 2549
จำนวนครัวเรือนชั้นกลาง แยกตาม 2 นิยาม • นิยาม 69-346 บาท/คน/วัน ทำให้ได้จำนวนคนชั้นกลาง น้อยมากในช่วงปี 2529-33 แต่เพิ่มเป็น 12 ล้านครัวเรือนในปี 2550 • ปรับนิยามเป็น “เส้นความยากจน” ถึง 346 บาท/คน/วัน • จำนวนคนชั้นกลางอยู่ระหว่างนิยามทั้งสองข้างต้น คือ 12-15 ล้านครัวเรือน
คนชั้นกลางอยู่ที่ไหน ครัวเรือนกลุ่มคนชั้นกลางแยกตามภาค
คนรวยอยู่ที่ไหน ครัวเรือนกลุ่มคนรวยแยกตามภาค
คนชั้นกลางอยู่ที่ไหน ครัวเรือนกลุ่มคนชั้นกลางแยกตามเขต
คนรวยอยู่ที่ไหน ครัวเรือนกลุ่มคนรวยแยกตามเขต
Q2 ทุกกลุ่ม Q3 Q4 จำนวนคนชั้นกลางในแต่ละภาค ที่มา : การสำรวจรายได้รายจ่ายครัวเรือน ปี 2549
จำนวนคนชั้นกลาง (Q2 3 4)ในแต่ละภาค เทศบาล นอกเทศบาล ที่มา : การสำรวจรายได้รายจ่ายครัวเรือน ปี 2549
จำนวนคนชั้นกลางในแต่ละพื้นที่จำนวนคนชั้นกลางในแต่ละพื้นที่ ทุกกลุ่ม Q2 Q3 Q4 ที่มา : การสำรวจรายได้รายจ่ายครัวเรือน ปี 2549
สรุป : จำนวนคนชั้นกลางเพิ่มขึ้นตามการเติบโตทางเศรษฐกิจ • ช่วงฟองสบู่ และหลังวิกฤตเศรษฐกิจ 2540-41 มีคนชั้นกลางเพิ่มมากที่สุด • มีข้อสังเกตว่าในช่วงก่อนฟองสบู่ (2529-33) จำนวนคนชั้นกลางมีน้อยมาก (เพียง 12% ของครัวเรือนทั่วประเทศ) และส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ • ข้อมูลนี้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงเรื่องคนชั้นกลางในกรุงเทพฯมีบทบาททางการเมืองสูง ถึงขั้น “เป็นผู้ล้มรัฐบาล” ตามทัศนะของอเนก เหล่าธรรมทัศน์ แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาคนชั้นกลางในต่างจังหวัด (โดยเฉพาะระดับล่าง) เพิ่มขึ้นมากจนมีบทบาทสำคัญทางการเมืองไม่ยิ่งหย่อนกว่าคนกรุงเทพฯ
4. แบบแผนการบริโภคของคนชั้นกลาง : คนชั้นกลางเป็นตลาดสินค้าอำนวยความสะดวกในบ้าน 4.1 การเติบโตของสินค้าอุปโภค-บริโภคระหว่างปี 2529-2550 • สื่อมวลชนรายงานว่าการเติบโตของคนชั้นกลางเป็นปัจจัยสำคัญของการเติบโตของสินค้าบางประเภท เช่น ตู้เย็น รถยนต์ อาหารสำเร็จรูป • Unger (2006) รายงานว่าเมื่อครัวเรือนชั้นกลางของจีนที่มีรายได้ไม่ต่ำกว่าปีละ $10,000 จะสามารถซื้อทั้งอพาร์ทเมนท์และรถยนต์ขนาดเล็กได้ • รายจ่ายวันละ 346 บาทต่อคนสูงกว่า $10,000 ต่อครัวเรือนเล็กน้อย • การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนครัวเรือนชั้นกลางไทย ในช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่ อธิบายการเติบโตของรายจ่ายนอกบ้านของคนชั้นกลาง • สัดส่วนรายจ่ายบริโภคอาหารนอกบ้านก็เพิ่มขึ้นตามรายได้ครัวเรือนและจำนวนครัวเรือนชั้นกลาง แต่จะลดลงหลังจากรายได้สูงถึงระดับหนึ่ง
รูปที่ 1 จำนวนครัวเรือนคนชั้นกลาง มูลค่าจ่ายบริโภคนอกบ้าน ครัวเรือนคนชั้นกลาง มูลค่าบริโภคนอกบ้าน
รูปที่ 2 สัดส่วนรายจ่ายบริโภคนอกบ้าน ของคนชั้นกลาง จำนวนครัวเรือนคนชั้นกลาง
มูลค่ารายจ่ายอาหารนอกบ้านมูลค่ารายจ่ายอาหารนอกบ้าน ล้านบาท สัดส่วน
คนชั้นกลางเป็นผู้ใช้จ่ายรายใหญ่ด้านบันเทิง-ท่องเที่ยวคนชั้นกลางเป็นผู้ใช้จ่ายรายใหญ่ด้านบันเทิง-ท่องเที่ยว มูลค่ารายจ่ายบันเทิง เดินทาง ท่องเที่ยว สัดส่วน ล้านบาท
จำนวนครัวเรือนคนชั้นกลางจำนวนครัวเรือนคนชั้นกลาง ร้อยละครัวเรือนมีรถยนต์ • จำนวนคนชั้นกลางยังอธิบายการที่ครัวเรือนชั้นกลางส่วนใหญ่เริ่มมี รถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น
ครัวเรือน 3 กลุ่มที่มีรถยนต์และรถกระบะ สัดส่วน ครัวเรือน
จำนวนครัวเรือนคนชั้นกลางจำนวนครัวเรือนคนชั้นกลาง ร้อยละครัวเรือนมีเครื่องปรับอากาศ ครัวเรือนชั้นกลางที่มีเครื่องปรับอากาศ
ครัวเรือน 3 กลุ่มที่มีเครื่องปรับอากาศ สัดส่วน ครัวเรือน
ครัวเรือน 3 กลุ่มที่มีเครื่องซักผ้า สัดส่วน ครัวเรือน
ครัวเรือน 3 กลุ่มที่มีรถจักรยานยนต์ สัดส่วน ครัวเรือน
4.2 แบบแผนการบริโภคคนชั้นกลางเทียบกับคนจนและรวย 2550 • ศึกษาจาก SES ปี 2550 โดยแบ่งครัวเรือนออกเป็น 5 กลุ่ม ตามรายจ่ายต่อหัว • กลุ่มคนชั้นกลาง คือ คนชั้นกลางระดับล่าง (Q2) คนชั้นกลางระดับกลาง (Q3) และคนชั้นกลางระดับบน (Q3) • อีก 2 กลุ่ม คือ คนจน (Q1) และคนรวย (Q5) • วิธีนี้มีข้อดี-ข้อเสีย
ข้อดี คือ (1) หลีกเลี่ยงการใช้วิจารณญานในการกำหนดระดับรายได้ต่อหัว (หรือรายจ่ายต่อหัว) ของคนชั้นกลาง (2) ผู้มีรายจ่ายต่อหัวต่ำที่สุดในกลุ่ม Q2 ไม่ใช่คนยากจน เพราะมีรายจ่ายสูงกว่าเส้นความยากจน (1,386 บาท/หัว) ส่วนผู้ที่มีรายจ่ายสูงสุดในกลุ่ม Q4 ก็ไม่ใช่คนรวย
ข้อเสีย (1) ครัวเรือนส่วนใหญ่ในกลุ่ม Q5 เป็นคนชั้นกลางไม่ใช่คนรวย เพราะมีรายได้ต่อหัวเฉลี่ย 13,901 บาท/เดือน ในปี 2549 อันที่จริงประชากรในกลุ่มรายได้สูงสุด Q5 อย่างน้อยครึ่งหนึ่งยังเป็นคนชั้นกลาง (2) การแบ่งประชากรเป็น 5 กลุ่มจะได้คนชั้นกลางในกลุ่ม Q2-Q4 เท่ากับ 60% ของประชากร วิธีนี้จึงไม่อาจนำมาใช้วัดจำนวนคนชั้นกลางได้ แต่สามารถใช้วิเคราะห์พฤติกรรมของคนชั้นกลางส่วนใหญ่ได้ แม้จะไม่สามารถครอบคลุมคนชั้นกลางที่มีฐานะใกล้เคียงคนยากจน (Q1) และคนชั้นกลางที่มีฐานะค่อนข้างดีบางคนในกลุ่ม Q5 ก็ตาม
อาหาร : เมื่อประชาชนฐานะดีขึ้น สัดส่วนบริโภคลดลงตาม Engel law • คนชั้นกลางในเมืองทั้ง 3 กลุ่ม มีสัดส่วนค่าอาหารสูงกว่าชนบท ทั้งๆที่ราคาอาหารในชนบทแพงกว่า (Somchai and Ammar 2008) • เพราะคนในเมืองซื้ออาหารสำเร็จรูปและบริโภคนอกบ้านมากกว่า เนื่องจากคนเมืองมีต้นทุนเวลาสูง • ข้อสังเกต : ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาการขยายตัวของตลาดอาหารปลอดภัย และอาหารเพื่อสุขภาพและอาหารแปรรูปแช่แข็งใหม่ๆ (เช่น เกี๊ยวกุ้ง ฯลฯ) สอดคล้องกับแนวคิดว่าคนชั้นกลางต้องการสินค้าที่มีคุณภาพสูง ทำให้การผลิตและการตลาดสินค้าดังกล่าวขยายตัวอย่างรวดเร็ว
- นอกจากนี้ คนชั้นกลางยังมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกพร้อมเพรียง เช่น รถยนต์ แอร์ เครื่องซักผ้า ยกเว้น ทีวี และจักรยานยนต์ที่ครัวเรือนทุกฐานะส่วนใหญ่มีในครอบครอง ร้อยละครัวเรือนทุกกลุ่มทีมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ไป...ตาราง B เทศบาล นอกเทศบาล หมายเหตุ : จำนวนครัวเรือนที่มีทรัพย์สินประเภทนั้นในแต่ละเขต หาร จำนวนครัวเรือนทั้งหมดในแต่ละเขต 43
เครื่องใช้ไฟฟ้า-นอกเทศบาลเครื่องใช้ไฟฟ้า-นอกเทศบาล เครื่องใช้ไฟฟ้า-เทศบาล เครื่องอำนวยความสะดวก-เทศบาล เครื่องอำนวยความสะดวก-นอกเทศบาล 44 ที่มา : การสำรวจรายได้รายจ่ายครัวเรือน ปี 2550
รถยนต์/จักรยานยนต์-เทศบาลรถยนต์/จักรยานยนต์-เทศบาล รถยนต์/จักรยานยนต์-นอกเทศบาล 45 ที่มา : การสำรวจรายได้รายจ่ายครัวเรือน ปี 2550
สินค้าฟุ่มเฟือย : รายจ่ายสินค้าบริการฟุ่มเฟือยสูงขึ้นตามฐานะ คือ : ท่องเที่ยว งานเลี้ยง บันเทิง ไป...ตาราง B เทศบาล นอกเทศบาล • ค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่การอุปโภค-บริโภค : ประกัน ดอกเบี้ย หวย เทศบาล นอกเทศบาล 46 ที่มา : การสำรวจรายได้รายจ่ายครัวเรือน ปี 2549
แต่คนชั้นกลางเล่นหวยมากกว่าคนจนและคนรวยแต่คนชั้นกลางเล่นหวยมากกว่าคนจนและคนรวย ค่าเล่นหวย เทศบาล นอกเทศบาล 47 ที่มา : การสำรวจรายได้รายจ่ายครัวเรือน ปี 2550
ค่าเดินทาง ค่าซื้อและค่าซ่อมแซมพาหนะรวมกันสูงเป็นอันดับ 3 รองจากที่อยู่อาศัย คนชั้นกลางระดับสูง (Q4) ในชนบทมีรายจ่ายค่าเดินทางสูงใกล้เคียงกับคนเมือง นัยต่อนโยบายขนส่งมวลชน สำหรับคนที่อยู่ชานเมือง ค่าเดินทาง ไป...ตาราง A เทศบาล นอกเทศบาล 48 ที่มา : การสำรวจรายได้รายจ่ายครัวเรือน ปี 2550
รายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ : คนชั้นกลางห่วงสุขภาพน้อยกว่าคนรวยหรือไม่ คนชั้นกลางมีค่าซื้อสุราที่บ้านและบุหรี่ในสัดส่วนที่สูงกว่าคนจน-คนรวย คนทุกกลุ่มมีส่วนแบ่ง “ค่ายา” ใกล้เคียงกัน แต่คนรวยมี “ค่าบริการรักษาพยาบาล” สูงกว่า ข้อสังเกต : สัดส่วนรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลของครัวเรือนไทยต่ำกว่าประเทศกำลังพัฒนาในงานของ Banerjee and Duflo (2008) ทั้งนี้อาจเป็นผลจากนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ไป...ตาราง A นอกเทศบาล เทศบาล ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ เทศบาล นอกเทศบาล แอลกอฮอล์ ยาสูบ 49 ที่มา : การสำรวจรายได้รายจ่ายครัวเรือน ปี 2550
สาธารณูปโภคในบ้าน ครัวเรือนไทยเกือบทั้งหมดมีบ้านที่อยู่อาศัยและมีห้องเฉลี่ย 2.5 ห้องต่อครัวเรือน ครัวเรือนชั้นกลางมีความพร้อมเพรียงทั้งตัวบ้านที่มีวัสดุถาวร (ยกเว้น 3% -4% ของกลุ่มคนจน) ส้วมและไฟฟ้า คนฐานะดีขึ้นนิยมอยู่ห้องแถว ทาวน์เฮาส์ และห้องชุดมากขึ้น เพราะสะดวก ข้อยกเว้นคือ น้ำประปา : 20% ของครัวเรือนทั่วประเทศมีน้ำประปาในบ้าน 28% มีน้ำดื่มบรรจุขวด มลพิษ : ครัวเรือนยากจนและชั้นกลางระดับล่าง (Q2) โดยเฉพาะชนบทใช้ไม้ฟืน (28.5 %-40.5%) ครัวเรือนจนและชั้นกลางระดับล่างส่วนใหญ่เผาขยะ (20% สำหรับ Q1 ในเดือน 78%Q1 ในชนบท 71%Q2 ในชนบท) มีครัวเรือนในชนบท 2.2-3% ทิ้งขยะในที่สาธารณะรวมทั้ง 2% ของครัวเรือนฐานะดีในชนบท ไป...ตาราง C 50