380 likes | 609 Views
เศรษฐกิจไทยภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ : การปฏิรูปเชิงสถาบัน นิพนธ์ พัวพงศกร คณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. การสัมมนาวิชาการประจำปี 2550 ครั้งที่ 50 จัดโดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ หอประชุดศรีบูรพา มธ. 12 กันยายน 25 50. ประเด็นอภิปราย.
E N D
เศรษฐกิจไทยภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ :การปฏิรูปเชิงสถาบันนิพนธ์ พัวพงศกรคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การสัมมนาวิชาการประจำปี 2550 ครั้งที่ 50 จัดโดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ หอประชุดศรีบูรพา มธ. 12 กันยายน 2550
ประเด็นอภิปราย • ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ธรรมาภิบาลสำคัญอย่างไร • ธรรมาภิบาลมีหลายระดับ :global and local governance • ผลกระทบของธรรมาภิบาลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย : ตัวอย่าง • นัยเชิงนโยบายและคำถามวิจัยที่สำคัญ
ความสำคัญของธรรมาภิบาลภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ : ระบบตลาดทำงานได้ก็ต่อเมื่อมีธรรมาภิบาล • ธรรมาภิบาลในที่นี้หมายถึง “political order” หรือสถาบันประเพณี และกระบวนการที่กำหนดการใช้อำนาจของรัฐ การตัดสินใจเรื่องนโยบายสาธารณะทำอย่างไร ฯลฯ • ระบบตลาดภายใต้ระบบการค้าเสรีไม่อาจเติบโต และทำงานสนองความต้องการของสังคมได้ หากปราศจากธรรมาภิบาล/สถาบันและการกำกับดูแลของรัฐ (non-market institutions)
เวนิสเป็นศูนย์กลางการค้าและการเงินของยุโรปในศตวรรรษที่ 17 เพราะคุณภาพของธรรมาภิบาล • “มีผู้ตรวจตราเหรียญกษาปณ์ว่ามีน้ำหนักและมูลค่าที่ถูกต้อง มีอนุญาโตตุลาการคอยไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งทางการค้าและรับเรื่องร้องทุกข์ของคนฝึกงาน มีเจ้าหน้าที่ตรวจพิจารณาป้ายร้านค้า ร้านสุราตลอดจนงานฝีมือต่างๆ มีคนกำหนดค่าจ้างและคนจัดเก็บภาษีที่เคร่งครัด...ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ วุฒิสมาชิกหรือรัฐมนตรีต่างก็จะต้องได้รับการฝึกฝนอย่างรอบคอบ กฎหมายทุกฉบับ บัญชีทุกฉบับจะถูกตรวจซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อความถูกต้อง” J. Barzum, from Dawn to Decadence: 500 Years of Western Cultural Life. 2000.
ทำไมต้องมีธรรมาภิบาลควบคุมระบบตลาด: ตลาดทำงานไม่ได้ถ้าขาดธรรมาภิบาล (สถาบันด้านกฎหมายและการบริหารราชการ) • ตลาดจะมีการค้าขายก็ต่อเมื่อบ้านเมืองมีกฎหมายกรรมสิทธิ์ และกฎหมายสัญญา • ตลาดกำกับควบคุมตัวเองไม่ได้ เช่น ตลาดหลักทรัพย์ต้องมีกฎหมาย มีกลต. และตลท. กำกับดูแล ถ้าไม่มีกติกาการซื้อขายหุ้น ก็จะมีการปันหุ้น ถ้าไม่มีการเปิดเผยข้อมูลผู้ถือหุ้นรายใหญ่ก็จะเอาเปรียบผู้ถือหุ้นอื่นๆ ถ้าไม่มีกฎหมายแข่งขันทางการค้าพ่อค้าก็จะฮั้วกันเอาเปรียบเทียบประชาชน • ตลาดรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจไม่ได้ ถ้าปราศจากกติกาการสร้างความมั่นคงแก่สถาบันการเงิน หรือถ้าไม่มีธนาคารกลางทำหน้าที่ lender of last resort หรือถ้ารัฐบาลขาดวินัยทางการคลัง • ตลาดสร้างความชอบธรรมให้ตัวเองไม่ได้ หากประเทศไม่มีการประกันสังคม ไม่มีระบบภาษีที่เป็นธรรม หรือหากการเมืองไม่เป็นประชาธิปไตย หรือบ้านเมืองมีแต่คนจน
ในประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาภายใต้ระบบทุนนิยมมีการสร้างและปรับเปลี่ยนสถาบันต่างๆให้เหมาะกับยุคสมัยจนทำให้ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ตัวอย่างของธรรมาภิบาลกำกับระบบทุนนิยม คือ ไทยประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศและลดความยากจนโดยเศรษฐกิจโตปีละ 6.5%ในช่วงปี 2501-39 เพราะว่ามีการสร้างสถาบันรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเงื่อนไขจำเป็นของการเติบโต คือ (1) กฎหมายงบประมาณเพื่อรักษาวินัยการคลัง (2) ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้นโยบายการเงินที่ควบคุมการกู้เงินของรัฐบาลและการป้องกันเงินเฟ้อ (3) กฎหมายเงินคงคลัง สหรัฐฯ แคนาดา และยุโรปมีกฎหมายแข่งขันทางการค้าเข้มแข็งป้องกันการผูกขาด และมีองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคป้องกันผู้ขายสินค้าเอาเปรียบผู้บริโภค ยุโรปมีระบบประกันสังคม/สวัสดิการเข้มแข็ง ช่วยลดช่องว่างระหว่างคนมีกับคนจน มีการปกครองประชาธิปไตยที่เข้มแข็งยึดหลักนิติธรรมและคุณธรรม ประชาชนสามารถควบคุมผู้ปกครองมิให้ปกครองอย่างปราศจากความชอบธรรม
ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจไม่จำเป็นต้องมีธรรมาภิบาล/สถาบันที่เหมือนกัน เพราะระบบคุณค่าและปทัสถาน (norm) ของแต่ละสังคมต่างกัน • จีนมิได้มีกฎหมายกรรมสิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคลเหมือนตะวันตก แต่ใช้ระบบ Household Responsibility System และ Township and Village Enterprises แทน • ญี่ปุ่นกับสหรัฐอเมริกาต่างก็เป็นทุนนิยมพัฒนาแล้ว แต่รูปแบบสถาบันด้านตลาดแรงงาน บรรษัทภิบาล การคุ้มครองสังคมและระบบธนาคารกลับแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
การประกันสังคม: ขณะที่อเมริกาและยุโรปสร้างระบบประกันสังคมที่อาศัยภาษี ญี่ปุ่นกลับใช้ระบบการจ้างงานตลอดชีพ คุ้มครองภาคเกษตรและร้านค้าขนาดเล็ก • ในบริษัทญี่ปุ่น ผู้จัดการและพนักงาน (insiders) จะมีอำนาจมากกว่าผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก แต่ก็มีธนาคารทำหน้าที่ควบคุมผู้จัดการและพนักงานแทน ทำให้ระบบบริษัทญี่ปุ่นเจริญเติบโตได้ • ส่วนในสหรัฐอเมริกา ผู้ถือหุ้นจะมีอำนาจควบคุมผู้บริหารโดยตรงผู้บริหารต้องหากำไรให้มากที่สุดแก่เจ้าของ แต่ขณะเดียวกันรัฐก็มีกฎหมายป้องกันการผูกขาดที่ดุเดือดมากในการควบคุมมิให้บริษัทเอาเปรียบบริษัทอื่นๆ
2. ธรรมาภิบาลมีหลายระดับ • Global and local governance • Global governance : องค์กรโลกบาล รัฐบาลมหาอำนาจ บริษัทข้ามชาติ และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) • Local governance : ธรรมาภิบาลกำกับระบบเศรษฐกิจ (เช่น กระบวนการตัดสินดำเนินนโยบายของรัฐบาลเพื่อสนองความต้องการของพลเมือง) และ บรรษัทภิบาล
Corporate governance ก็มีหลายระดับ • ระดับประเทศ : กฎหมาย กฎระเบียบการกำกับควบคุมกิจการเอกชน (เช่น กฎหมายแพ่งพาณิชย กฎหมายบริษัทมหาชน กฎหมายล้มละลาย กฎหมายแข่งขันทางการค้า ฯลฯ) ระบบบัญชีและการตรวจสอบ inside trading • ระดับบริษัท : การประชุมคณะกรรมการ การตั้งผู้บริหารบริษัท และการกำหนดอัตราผลตอบแทน หน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการบริษัท ฯลฯ
Governance ระดับประเทศที่มีประสิทธิผล ต้องมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้ • รัฐบาลเข้มแข็ง แต่ถูกควบคุมและตรวจสอบโดยภาคประชาสังคม/รัฐสภา มีระบบราชการที่เป็นมืออาชีพและเป็นอิสระ ตลาดมีการแข่งขัน • Transparency, predictability, accountability, participation
3. ผลกระทบของธรรมาภิบาลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย : ตัวอย่าง 3.1 ประเทศกำลังพัฒนาควรเลือกเปิดเสรีการค้า/การลงทุน/การเงิน เพียงใด จึงจะได้ประโยชน์สูงสุด : Rodrik (2002) โต้แย้งว่าการเปิดเสรี (โลกาภิวัตน์) แบบสุดโต่งเป็นอันตรายต่อประชาชนในประเทศกำลังพัฒนา
ความปรารถนาของนักการเมืองความปรารถนาของนักการเมือง • ต้องการโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดี • ต้องการประชาธิปไตย เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นผู้กำหนดนโยบาย (หรือผ่านผู้แทน) • ต้องการอำนาจอธิปไตย (nation state) ที่สามารถกำหนดทิศทางต่างๆ ของตนเอง
Deep economic integration Golden straitjacket Global federalism Democratic Politics Nation State Bretton Woods compromise เราต้องเลือกแค่ 2 ใน 3 ทางเลือก • แต่ความปรารถนาทางการเมืองทั้งสามจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กันไม่ได้ เรียกว่า political trilemma
ควรจะเลือก 2 ทางเลือกใด • Golden strait-jacket คือเปิดเสรีเต็มที่กับรัฐบาลมีอธิปไตย แต่ต้องเป็นรัฐเผด็จการ เช่น อาเจนตินา • Global federalism คือ เปิดเสรีเต็มที่และมีประชาธิปไตย แต่ธรรมาภิบาลต้องเป็นระดับสากล เช่น สหรัฐอเมริกา และ EU • Bretton Woods compromise (มีประชาธิปไตย กับอำนาจอธิปไตย) เป็นไปได้มากที่สุด • แต่นั่นแปลว่าการเปิดเสรีการค้าต้องอยู่ในระดับต่ำ: ข้อเสนอของ Rodrik คือ การเจรจาเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานจะให้ประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศกำลังพัฒนา
3.2 ผลกระทบของการเปิดเสรีการค้ากับการสร้างธรรมาภิบาล : สนธิสัญญาเบาว์ริ่ง กับโลกาภิวัตน์ระลอกแรก (ศตวรรษ 19) • Global governance: จักรวรรดินิยมตะวันตกกับลัทธิพาณิชย์นิยม • สนธิสัญญาเบาว์ริ่งเป็นการเปิดเสรีการค้าเฉพาะด้านสินค้าโดยการลดภาษีนำเข้าและส่งออก: บริษัทข้ามชาติสนใจเฉพาะการซื้อวัตถุดิบ และขายสินค้าอุตสาหกรรม/ฝิ่น
ผลกระทบของการเปิดการค้าเสรี กับ การสร้างธรรมาภิบาล: • ในช่วงแรกหลังมีสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง (1855-1875) การค้าไม่เพิ่มขึ้นมาก (ขึ้นลงในช่วง 10-15 ล้านบาท/ปี) • หลังจากนั้นมูลค่าการค้าจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (ปี 1850 = 100)
ดัชนีการค้า ที่มา : Suehiro, Capital Accumulation in Thailand 1855-1985
เหตุผลที่การค้าเพิ่มขึ้นเหตุผลที่การค้าเพิ่มขึ้น • การสร้างทางรถไฟ คลองรังสิต • เทคโนโลยีการคมนาคมทำให้ค่าขนส่งระหว่างประเทศลด • ราคาข้าวในตลาดโลกสูงขึ้น ภาษีส่งออกข้าวต่ำกว่าน้ำตาล/พริกไทย • ค่าเงินบาทลด • การสร้างธรรมาภิบาลใหม่: (1) เลิกฐานันดรไพร่ และเลิกทาสเป็น ค.ศ.1905 (2) ลดภาษีที่ดินทำนาจาก 8-13 % ในปี 1850-55 เหลือ 2-3 % ในปี 1900-04 (3) มีสนธิสัญญากับหลายประเทศ (4) กฎหมายสิทธิสภาพนอกอาณาเขตคุ้มครองต่างชาติ แต่ไม่เป็นธรรมต่อคนไทย (5) มีการรับรองกรรมสิทธิ์เอกชนในที่ดินตั้งแต่รัชกาลที่ 4 และ (6) ฝรั่งการพัฒนารูปแบบธุรกิจการค้าข้าวเอกชนแบบ vertical integration ที่สมบูรณ์กว่าประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ไทยเก่งค้าข้าว
ผลกระทบอื่น: การศึกษาของอัมมาร์ • ค่าเช่าที่ดิน และค่าจ้างเพิ่มขึ้น แต่ค่าเช่าเพิ่มมากกว่า • ชนชั้นขุนนาง และคนรวยได้ประโยชน์จากระบบกรรมสิทธิ์ในที่ดินบริเวณรังสิต • เหตุผลที่การค้าไม้สักขยายตัวจาก 60,000 ตันในปี 1896-00 เป็น 110,501 ตันในปี 1926-30 • สัญญาสัมปทานและการคุ้มครองคนในบังคับอังกฤษในปี 1873 : กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน • การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ในสัมปทานไม้ เอื้อประโยชน์ต่อฝรั่งมากกว่าคนจ้าง เพราะแปลงสัมปทานใหญ่ขึ้น/ระยะเวลานานขึ้นผู้รับสัมปทานต้องมีเงินลงทุนสูง • การเปลี่ยนรูปแบบบริษัทค้าไม้แบบ vertical integration เป็นสัญญาจ้างเหมาตัดไม้ และขนส่งไม้โดยให้คนท้องถิ่นรับเหมา
สรุป: มี governance ระดับประเทศ • การรวมศูนย์การบริหารราชการ เพื่อดึงอำนาจการเมืองและเศรษฐกิจ จากเจ้าผู้ปกครองเมือง เช่น การทำสัญญาสัมปทานไม้สักกับฝรั่ง • ระบบการเมืองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เข้มแข็ง • มีการสร้างสถาบันรองรับตลาดข้าว เช่น การรับรองกรรมสิทธิ์ที่ดินของเอกชน
3.3 ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ระลอกสอง (หลังสงครามโลกครั้งที่ 2) : • จอมพลสฤษดิ์ ตัดสินใจเลือกระบบเศรษฐกิจแบบเปิดเสรีในปี 2501 • National governance: รัฐบาลเผด็จการ ระบบราชการที่มีประสิทธิภาพ นโยบายเศรษฐกิจแบบเสรี • นอกจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ รัฐบาลได้สร้างธรรมภิบาลใหม่ขึ้นมา เช่น ระบบการจัดการเศรษฐกิจมหภาคแบบอนุรักษ์นิยม นโยบายการศึกษาที่ต้องการให้เด็กทุกคนในประเภทพูดอ่าน-เขียนภาษาไทยการสร้างระบบความเชื่อมโยงทุกจังหวัดจัดทำให้เกิดตลาดใหญ่ระดับประเทศ นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมโดยอาศัยกลยุทธการคุ้มครองอุสาหกรรม การปล่อยให้ธนาคารพาณิชย์เป็นผู้จัดสรรสินเชื่อ
ระบบ global governance ในเวลานั้นคือระบบ Bretton Woods (ซึ่งประกอบด้วย IMP ธนาคารโลกและ GATT) บริษัทข้ามชาติของสหรัฐอเมริกา และรัฐบาลสหรัฐฯดำเนินนโยบายการค้าเสรี • ผลก็คือ ประเทศไทยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปีละ 6.6% ในช่วงปี 2501-2539 รายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นเกือบ 7.83 เท่าตัว • ความยากจนลดการ 55% ในกลางทศวรรษ 2500 เหลือ 12% ในปี 2539 • อัตราเงินเฟ้อต่ำ (เฉลี่ย 4-4.5% ต่อปี)
แต่การเปิดเสรีการเงินในกลางทศวรรษ 2530 โดยไม่ปฏิรูปด้านสถาบันได้ก่อให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดในปี 2540-41 • รัฐบาลผสมอ่อนแอ • Technocrats หมดอำนาจ • มี rent seeking จากนโยบายของรัฐ
3.4 นโยบายแข่งขันทางการค้า : การตรากฎหมายโดยไม่มีการปรับเปลี่ยนธรรมาภิบาล และสถาบันต่างๆ ทำให้กฏหมายกลายเป็นเสือกระดาษ...ผลคือ ทุนนิยมไทยเถื่อน!! • สาระสำคัญของกฎหมายแข่งขันทางการค้า: • การใช้อำนาจเหนือตลาด เช่น predatory pricing, exclusive dealing เลือกปฏิบัติ ข่ายพ่วง (หรือบังคับซื้อ-tie-in, sale) : ต้องมีเกณฑ์ผู้มีอำนาจเหนือตลาด • การกระทำการตกลงร่วมกัน เช่น ฮั๊วราคา ฮั๊วการประมูล • การควบรวมธุรกิจ (merger): ต้องมีเกณฑ์ส่วนแบ่งตลาด • การค้าที่ไม่เป็นธรรม : มาตรา 29 เป็นมาตราครอบจักรวาล • กฎหมายกำหนดบทลงโทษทางอาญา หรือใช้มาตรการทางปกครอง
โครงสร้างและอำนาจคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า : มาตรา 6 • โครงสร้างและจำนวนกรรมการ (12-16 คน) มีรัฐมนตรีเป็นประธาน ข้าราชการ 3 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 8-12 คน (ครึ่งหนึ่งเป็นเอกชน) • กรรมการมีอำนาจกึ่งตุลาการ : มาตรา 16 31 56 • แนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์สถาบัน : อุปสงค์-อุปทานต่อนโยบายแข่งขันทางการค้า
อุปสงค์ต่อนโยบายแข่งขัน: มีคนร้องเรียนกรรมการแข่งขันแต่ธุรกิจใหญ่ที่ต่อต้านนโยบายแข่งขันมีอำนาจการเมืองสูง • ผู้บริโภค : อ่อนแอ รวมตัวกันยาก แต่จะร้องเรียนกรณีราคาแพงมาก เช่น ค่า FT และเคเบิลทีวี • ธุรกิจรายเล็กเดือดร้อนจึงร้องเรียน • NGO ต่อต้านระบบทุนนิยมจึงไม่สนใจนโยบายแข่งขัน • สภาอุตสาหกรรม/หอการค้า : ถูกครอบงำโดยตัวแทนบริษัทใหญ่ ผู้ประกอบการรายเล็กถูกกีดกันในการคัดสรรตัวแทนกรรมการแข่งขันทางการค้า • บริษัทต่างชาติ เป็นกลุ่มเดียวที่ต้องการนโยบายแข่งขันที่ชัดเจน
อุปทานของนโยบาย • รัฐบาลเป็นตัวแทนของนายทุนรายใหญ่ • ข้าราชการ รักษาผลประโยชน์ของตัว และพยายามดำรงอำนาจไว้ให้มากที่สุด...กฏกติกาจึงต้องใช้ “ดุลยพินิจ” ให้มากที่สุด และต้องไม่โปร่งใส • สภานิติบัญญัติ : ไม่มีบทบาทในการออกกฎหมายลูก เพราะหน่วยราชการเป็นผู้ออกกฎ
Preference ของรัฐ • รัฐไทยไม่เคยมี preference ชัดเจนเรื่องนโยบายแข่งขันทางการค้า (competition policy) • มีแต่นโยบาย “ความสามารถในการแข่งขัน (competitiveness) • สาเหตุ : รัฐไทยถูกครอบงำด้วยแนวคิดโครงสร้างนิยมที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของกลุ่มอมาตย์ และกลุ่มนักเลือกตั้ง
การดำเนินงานของคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าการดำเนินงานของคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า • มีเรื่องร้องเรียนมาก ทว่ามีคำวินิจฉัยว่าผู้ถูกร้องเรียนกระทำผิด 1 กรณี (Honda) แต่อยู่ระหว่างดำเนินคดี และมีการออกระเบียบว่าด้วยแนวทางพิจารณาการปฏิบัติการค้าของผู้ค้าปลีก 1 ฉบับ ในปี 2549 • 54 เรื่อง ประกอบด้วย ม.25 = 12 เรื่อง ม.27 = 15 เรื่อง ม.29 = 27 เรื่อง • ไม่มีเรื่องการร้องเรียนกรณีการควบรวมกิจการ (ม.26) • กรณี UBC (จำกัดทางเลือกผู้บริโภค) และเหล้าพ่วงเบียร์ ไม่อาจตัดสินได้ เพราะไม่มีนิยามผู้มีอำนาจเหนือตลาด • สรุป : กฎหมายยังไม่อาจใช้บังคับได้
ทำไมกฎหมายแข่งขันทางการค้าจึงใช้บังคับไม่ได้ผล: เศรษฐศาสตร์สถาบัน...กติกาและองค์กร • มีผู้ร้องเรียนมาก แต่สถาบันที่มีอยู่ / กฎเกณฑ์และกระบวนการพิจารณาเป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการบังคับกฎหมาย • การพิจารณาขึ้นกับแรงกดดันทางการเมือง ไม่ใช่ ขึ้นกับหลักฐานในการพิจารณา • แรงกดดันทางการเมืองปรากฎทั้งในสื่อสาธารณะ การวิ่งเต้นทั้งเปิดเผย และไม่เปิดเผย: กรณีอำนาจเหนือตลาดใช้เวลา 7 ปี 4 เดือน • รัฐบาล และระบบราชการ (รวมทั้งคณะกรรมการ) สนองความต้องการของธุรกิจใหญ่ ผู้บริโภคและ SME ไม่มีพลัง
โครงสร้างคณะกรรมการ / สำนักงานไม่อิสระจากอำนาจการเมือง และถูกครอบงำโดยธุรกิจใหญ่ • ประธานคณะกรรมการเป็นรัฐมนตรี: พรรคขึ้นกับเงินสนับสนุนของธุรกิจเอกชน • ในประเทศพัฒนาแล้ว ไม่มีการตั้งกรรมการจากธุรกิจเอกชนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย...แต่ของไทยมี 3 คนจากสภาหอการค้า 2 คนจากสภาอุตสาหกรรม...และเป็นตัวแทนธุรกิจใหญ่ • ตัวแทนภาคราชการ (6 คน) อยู่ภายใต้บังคับบัญชานักการเมือง • เปลี่ยน รมว. พาณิชย์ มีผลกระทบต่อเรื่องที่พิจารณา
ตัวบทกฎหมายเรื่องพฤติกรรมต่อต้านการแข่งขัน: ยากต่อการพิจารณา ขาดความชัดเจน และถูกเตะถ่วง • การประกาศผู้มีอำนาจเหนือตลาดถูกเตะถ่วงนานถึง 7 ปี 4 เดือน เพราะอิทธิพลทางการเมือง...มิหนำซ้ำยังกำหนดเกณฑ์ส่วนแบ่งตลาดสูงมาก (50%ขึ้นไป) • หลักเศรษฐศาสตร์ว่าพฤติกรรมใดต่อต้านการแข่งขัน เป็นเรื่องซับซ้อน: ไม่มีขาวกับดำ เช่นการห้ามขายสินค้าของคู่แข่ง การกำหนดราคาขายปลีก การควบรวมกิจการ บางครั้งเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคและการแข่งขัน แต่บางครั้งก็เป็นพฤติกรรมทำลายคู่แข่ง ต้องมีหลักฐาน และอาศัยความรู้ความชำนาญอย่างมากจึงจะตัดสินใจได้ถูกต้อง • จึงลงเอยด้วยการใช้ดุลยพินิจ มากกว่าหลักฐานและหลักวิชาที่เข้มงวด เช่น อะไรแปลว่าขายในราคาต่ำกว่าทุน • ความผิดทางอาญาทำให้การพิจารณายุ่งยาก ยาวนานและต้นทุนสูงโดยไม่จำเป็น
กฎเกณฑ์และขั้นตอนการดำเนินงาน: ไม่โปร่งใส ไม่เป็นมืออาชีพ • ไม่มีระบบเปิดเผยรายงานการพิจารณา ยังคงใช้วัฒนธรรมการทำงานแบบ “อมาตยธิปไตย” เปิดเผยเฉพาะมติกรรมการ ทำให้ไม่โปร่งใส ไม่สร้างระบบการทำงานแบบมืออาชีพเหมือนนานาประเทศ • ปัจจุบัน web dit.go.th/otcc แทบไม่มีข้อมูลอะไรเลยแม้แต่ที่ทำงานของกรรมการบางคนก็ผิด • ความลับรั่วไหล • กรรมการบางคนให้สัมภาษณ์ชี้นำแก่สื่อ • ไม่มีคู่มือและแนวการดำเนินงาน
4. นัยเชิงนโยบายและคำถามวิจัยที่สำคัญ 4.1 นัยเชิงนโยบาย • ไม่ควรมีนโยบายธรรมาภิบาลเพราะธรรมาภิบาลมีความหมายหลากหลายทำให้ไม่สามารถประเมินผลของนโยบายได้ • แต่ควรมีนโยบายแก้ปัญหาที่ต้นตอของปัญหาธรรมาภิบาลในแต่ละด้าน เช่น รัฐบาลผสมไม่เข้มแข็ง ระบบราชการอ่อนแอ ขาดนโยบายแข่งขันทางการค้า ฯลฯ 4.2 โจทย์วิจัย (1) : กฎหมายรัฐธรรมนูญ สร้าง “ธรรมาภิบาล” ที่เอื้ออำนวยให้รัฐบาลดำเนินนโยบายเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสนองความต้องการของประชาชนได้ใหม • Hypothesis : กฎหมายรัฐธรรมนูญทำให้รัฐบาลกลายเป็นรัฐบาลผสม ที่อ่อนแอไม่สามารถผลิตนโยบายสนองความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่
4.3 โจทย์วิจัย (2) : ทำไมไทยจึงประสบความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ • Hypothesis : รัฐไทยไม่มีนโยบายรถยนต์แห่งชาติ แต่เครือซีเมนต์ไทยเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ ขณะที่รัฐบาลพัฒนาระบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเป็นจักรกลในการขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรม และนโยบายต่างๆ จัดสรรผลประโยชน์ให้ทั้งผู้ผลิตรถยนต์ และผู้ผลิตชิ้นส่วนแบบลงตัว 4.4 โจทย์วิจัย (3) : ทำไมระบบธนาคารพาณิชย์ไทยยังไม่สามารถเป็นหัวจักรในการปล่อยสินเชื่ออุตสาหกรรม และทำไมประชาชนส่วนใหญ่รวมทั้งธุรกิจขนาดเล็ก-ขนาดกลางยังคงอาศัยสินเชื่อส่วนใหญ่ • Hypothesis : ระบบการบังคับคดีในศาลไทยล่าช้า และธนาคารแห่งประเทศไทยละเลยกลไกการจัดสรรสินเชื่อและการบังคับหนี้ของบริษัทเงินทุน เช่น ระบบการเช่าซื้อ การขายฝาก ฯลฯ