1.02k likes | 1.78k Views
Buddhist Psychology. Tayat Sriplung. Agenda. พุทธจิตวิทยา พุทธศาสนา สอนอะไร วีดีทัศน์ กรณีศึกษา. วิชา พุทธจิตวิทยา. ๑.แนวคิดเกี่ยวกับจิต - โครงสร้าง กระบวนการทำงาน ของจิต และพฤติกรรมที่สะท้อนมาจากจิต ๒. หลักการวิธีการพัฒนาจิต
E N D
Buddhist Psychology Tayat Sriplung
Agenda • พุทธจิตวิทยา • พุทธศาสนา สอนอะไร • วีดีทัศน์ • กรณีศึกษา
วิชา พุทธจิตวิทยา ๑.แนวคิดเกี่ยวกับจิต-โครงสร้าง กระบวนการทำงาน ของจิต และพฤติกรรมที่สะท้อนมาจากจิต ๒. หลักการวิธีการพัฒนาจิต ๓. หลักการวิธีการประยุกต์แนวคิดเกี่ยวกับจิตมาเพื่อการบริหารจัดการชีวิต
ธรรม: “ธรรม” คืออะไร ? ปรมัตถธรรม จิต, เจตสิก, รูป คือ ขันธ์ ๕ จิต, เจตสิก, รูป, นิพพาน รูปคือรูป, เจตสิก คือเวทนา,สัญญา, สังขาร, จิตคือวิญญาณ นิพพาน คือขันธวิมุตติ
-Psychoanalysis จิตวิทยาจิตวิเคราะห์ -Behaviorism จิตวิทยาพฤติกรรมนิยม -Structuralism จิตวิทยาโครงสร้างนิยม -Functionalism จิตวิทยาหน้าที่นิยม เทียบกลุ่มแนวคิด ทางจิตวิทยา
สติ อายตนะภายใน เกิดการรับรู้ -ตา+รูป -หู+เสียง -จมูก+กลิ่น -ลิ้น+รส -กาย+โผฏฐัพพะ -ใจ+ธัมมารมณ์ -จักขุวิญญาณ -โสตวิญญาณ -ฆานวิญญาณ -ชิวหาวิญญาณ -กายวิญญาณ -มโนวิญญาณ สติ อายตนะภายนอก เกิดการรับรู้
สติ(นึก) รูป ตา เสียง หู กลิ่น จมูก จิต วิญญาณ(รู้) รส ลิ้น สัมผัส กาย ผัสสะ (กระตุ้น) เวทนา สัญญา ธรรม
มีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ หดหู่ ฟุ้งซ่าน จิต หลุดพ้น ไม่หลุดพ้น เป็นสมาธิ ไม่เป็นสมาธิ มีจิตอื่นยิ่งกว่า ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
โลกธรรม อนิฏฐารมณ์: เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ อิฏฐารมณ์: ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ชีวิต สมดุล หรือไม่สมดุล
Agenda • พุทธศาสนา สอนอะไร • วิวัฒนาการของการบำบัดด้วยสติ • สติคืออะไร • ฝึกสติอย่างไร • ผลจากการฝึกสติ • การนำไปใช้ ในเวชปฏิบัติ • กรณีศึกษา / ตัวอย่างผู้ป่วย
ประวัติพระพุทธศาสนา พระสมณโคดม หรือ พระพุทธเจ้าประกาศคำสอน เมื่อกว่า๒,๕๐๐ปี ณ ประเทศอินเดีย • ก่อนจะค้นพบพุทธธรรม เจ้าชายสิทธัตถะทรงใช้เวลาศึกษาและค้นหาหนทางจากอาจารย์อื่น ๆ อาจารย์ ๒คนแรก ของเจ้าชายสิทธัตถะ คือ พระอาฬารดาบส และ พระอุทกดาบส (ภาพโดย ครูเหม เวชกร)
ประวัติพระพุทธศาสนา เมื่อศึกษาจบจากพระดาบสทั้งสองแล้ว แต่ยังไม่สามารถบรรลุโมกขธรรมได้ จึงทรงบำเพ็ญทุกรกิริยากับ ปัญจวัคคีย์ ตัดสินใจ เลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา แล้วกลับมา ฉันอาหารตามเดิม เดินตาม ทางสายกลางคือไม่ย่อหย่อน และไม่เคร่งตึงจนเกินไป (ภาพโดย ครูเหม เวชกร) และบรรลุธรรมในที่สุด (ภาพโดย ครูเหม เวชกร)
ประวัติพระพุทธศาสนา หลังจากนั้น ทรงประกาศคำสอนครั้งแรกแก่ พระปัญจวัคคีย์ทั้ง๕ พระโกณฑัญญะ ได้มีดวงตาเห็นธรรม เป็นพยานบุคคลแรก ในพระพุทธศาสนา (ภาพโดย ครูเหม เวชกร)
พระพุทธเจ้าสอนอะไร • อริยสัจ ๔ • ปฏิจจสมุปบาท • มหาสติปัฏฐานสูตร • อานาปานสติสูตร • ไตรสิกขา • ไตรลักษณ์ ฯลฯ
พระพุทธเจ้าสอนอะไร "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์”
พระพุทธเจ้าสอนอะไร "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือ ด้วยมรรคคือวิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ คือ ปัญญาเห็นชอบ ๑ ... ตั้งจิตชอบ ๑...." จาก พระไตรปิฎก ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา
พระพุทธเจ้าสอนอะไร อริยสัจ ๔ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ • ทุกข์ • สมุทัย • นิโรธ • มรรค สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ ความพ้นทุกข์ วิธีแห่งการดับทุกข์
อริยสัจ ๔ ทุกข์ • ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย • ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ • ประสบกับสิ่งที่ไม่รัก • พลัดพรากจากสิ่งที่รัก • ความไม่สมปรารถนา โดยย่อคือ การยึด ถือ ขันธ์ ๕ (กายกับใจ) เป็นทุกข์
อริยสัจ ๔ เป็นหลักธรรมที่หมายถึง ความติดใจอยาก ความยินดี ยินร้าย หรือติดในรสอร่อยของโลก ประกอบด้วย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ และ ตัณหาย่อมเจริญแก่ผู้ประพฤติประมาท ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ตัณหา ดังนั้น ความทุกข์ย่อมเกิดขึ้นบ่อยๆ เมื่อบุคคลยังถอนเชื้อตัณหาไม่ได้
อริยสัจ ๔ ตัณหาแบ่งออกเป็น 3 อย่าง 1.กามตัณหา คือ ความอยากหรือไม่อยาก ใน สัมผัสทั้ง 5 2.ภวตัณหา คือ ความอยากทางจิตใจ เมื่อได้สิ่งนั้นมาแล้ว ไม่ต้องการให้มันเปลี่ยนแปลง 3.วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากทางจิต ความอยากดับสูญ ตัณหา
อริยสัจ ๔ ขันธ์ ๕ • รูป:ร่างกาย • เวทนา:ความรู้สึกสุข ทุกข์ • หรือ เฉย ๆ • ๓.สัญญา : ความจำได้ หมายรู้ • ๔.สังขาร :ความคิดนึก ปรุงแต่ง • ๕.วิญญาณ :การรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กาย ใจ
อริยสัจ ๔ สมุทัย ภวตัณหา กามตัณหา วิภวตัณหา ความอยากมี อยากเป็น อยากได้ ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ไม่อยากได้ ความต้องการใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
อริยสัจ ๔ นิโรธ ความดับทุกข์ • ดับทุกข์ ชั่วขณะ • พ้นทุกข์ ถาวร
อริยสัจ ๔ มรรค (วิธีแห่งการดับ) ๑. เห็นถูก (สัมมาทิฎฐิ) ๒. คิดถูก (สัมมาสังกัปปะ) ๓. วาจาชอบ (สัมมาวาจา) ๔. อาชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ) ๕. การงานชอบ (สัมมากัมมันตะ) ๖. ความเพียรชอบ (สัมมาวายามะ) ๗. ระลึกชอบ (สัมมาสติ) ๘. จิตตั้งมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) ปัญญา ศีล จิต
พระพุทธเจ้าสอนอะไร ไตรลักษณ์ ลักษณะร่วมของสรรพสิ่ง๓อย่างได้แก่ • อนิจจัง • ทุกขัง • อนัตตา ความไม่เที่ยง ต้องเปลี่ยนแปลง ความบีบคั้น ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ บังคับให้เป็นอย่างต้องการไม่ได้ ไม่มีตัวตนถาวร
สรุปแล้ว พระพุทธเจ้าสอน... • เรื่องที่สอนการพ้นทุกข์ • อุปกรณ์(๑) กาย (๒) ใจ • วิธีทดลองมรรค ๘ (หรืออริยสัจ๔ สติปัฏฐาน ๔ ไตรสิกขา ฯลฯ) • โดยย่อคือ • “มีสติระลึกรู้ ที่กายและใจตามความเป็นจริง” • ผลการทดลองเห็นลักษณะร่วมของสิ่งต่างๆ ที่เกิดกับกายและใจ (ไตรลักษณ์) • สรุปผลเห็นไตรลักษณ์ ปล่อยวาง พ้นทุกข์
พระพุทธเจ้าสอนอะไร • อานาปานสติ • มีสติระลึกรู้ลมหายใจเข้า ออก • มหาสติปัฏฐาน • มีสติ รู้ กาย เวทนา จิต และธรรม • ไตรสิกขา • การศึกษาเรื่อง ศีล จิต และปัญญา
วิวัฒนาการของการทำจิตบำบัด • จิตบำบัด: • จิตบำบัดโดยพระพุทธเจ้า 2500 ปีก่อน • : พระกีสาโคตมี อดีตหญิงบ้า • อุ้มลูกตายไปกราบพระพุทธเจ้า • พระพุทธเจ้าเตือนสติ • ให้อุบายไปหาเมล็ดผักกาดในบ้านที่ไม่เคยมีคนตาย • ได้สติกลับคืนมา • ผ่านไปสองพันกว่าปี • จึงกำเนิดจิตบำบัดจิตแบบจิตวิเคราะห์ขึ้น
วิวัฒนาการของการทำจิตบำบัด • จิตบำบัด: • Freud : จิตวิเคราะห์ • ลูกศิษย์ของ Freud : จิตบำบัดแบบจิตวิเคราะห์ • การบำบัดแบบ client center • การบำบัดแบบ counseling • การบำบัดแบบ Behavior Therapy • การบำบัดแบบ Cognitive Therapy • การบำบัดแบบ Cognitive Behavior Therapy • การบำบัดแบบ mindfulness Therapy
การบำบัดแบบ mindfulness therapy • MBSR (Mindfulness Based Stress Reduction) • MBCT (Mindfulness Based Cognitive Therapy) • ACT (Acceptance and Commitment Therapy) • DBT (Dialectical Behavior Therapy) • Mindfulness Therapy • หลักการสำคัญของการทำจิตบำบัดแบบอิงการฝึกสติ • คือการมีสติ สำรวจกายและใจของตัวเอง • จนเข้าใจตัวเองและเห็นความจริงของกายและใจของตัวเอง
การบำบัดแนวพุทธในประเทศไทย • ใช้หลักการบำบัดตามแนวอริยสัจ ๔ • แบ่งเป็น ๔ เทคนิกได้แก่ • การบำบัดด้วยการนึกคิดแบบพุทธ • (Buddhist Cognitive Therapy) • การบำบัดด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม • (Buddhist Behavior Modification) • การบำบัดด้วยการฝึกสมาธิ • (Concentration Meditation Therapy) • การบำบัดด้วยการฝึกสติ • (Mindfulness Based Therapy)
การบำบัดด้วยการฝึกสติการบำบัดด้วยการฝึกสติ
กรณีศึกษาที่ ๑ คำนำ กรณีศึกษาที่ ๑ เป็นชายไทยโสดทำงานในตำแหน่งเเจ้าหน้าที่ธุรการอายุ 35 ปี ภูมิลาเนาเป็นคนจังหวัดพิจิตร กรณีศึกษามีข้อมูลประวัติการเจ็บป่วยระบุว่ามีอาการป่วยทางจิตอย่างอ่อนประมาณ 1 ปี กล่าวคือ บางเวลามีอาการหูแว่วได้ยินเสียงคนนินทาแต่ไม่บ่อยนัก และบางครั้งหลงผิดโดยคิดว่าตนเองมีเชื้อสายเจ้า บางวันไม่ยอมอาบน้ำ หัวหน้างานอายุ 55 ปีเป็นอดีตพยาบาลเริ่มให้เวลาดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาผู้นี้มานาน 2 เดือน อาการเสียงแว่วลดลงไปกว่าเดิม กรณีศึกษาที่ ๑ มักแยกตัว ในช่วงพักตอนกลางวัน บางทีพูดพร่ำบ่นคนเดียว ถ้ามีคนซักถาม กรณีศึกษามักนิ่งไม่ยอมตอบ
กรณีศึกษาที่ ๑ จากการประเมินสภาพจะเห็นว่ากรณีศึกษายังมีพฤติกรรมขาดความไว้วางใจ แยกตัวเอง การวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของกรณีศึกษารายนี้อธิบายว่า กรณีศึกษายังมีภาวะหวาดระแวงมีอาการหลงผิดในบางครั้ง อารมณ์และพฤติกรรมจะสอดคล้องกับความหลงผิด กรณีศึกษาจะขาดความไว้วางใจเพราะความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองลดลง ความหลงผิดของกรณีศึกษาจะทำให้แสดงออกถึงความขลาดกลัว ลังเลไม่แน่ใจแต่ยังไม่ถึงขั้นแยกตัวออกจากสังคม
กรณีศึกษาที่ ๑ สาเหตุ ในวัยเด็กกรณีศึกษาที่ ๑ ได้รับความกดดันเรื่องการเรียนเนื่องจากผลการเรียนไม่เป็นที่น่าพอใจของบิดาและมารดา จึงเกิดความเครียดจากการไปเรียน เพื่อไม่ให้ความเครียดเพิ่มมากขึ้นกรณีศึกษาจะตัดการรับฟังและการทำความเข้าใจคนและสภาวะรอบข้างออกไป โดยอยู่กับตนเองและโลกจินตนาการของตนเอง กรณีศึกษาพบว่าการมีชีวิตที่มีเชื้อเจ้าทางเหนือเป็นที่ใฝ่ฝันของเด็กๆที่ชอบฟังนิยายหรือตำนานและเมื่อกรณีศึกษาได้จินตนาการตนเป็นเชื้อเจ้าแล้วทำให้กรณีศึกษามีความสุขมากและพอใจกับการที่ตนเป็นอย่างนั้น
กรณีศึกษาที่ ๑ อีกประการหนึ่งกรณีศึกษาที่ ๑ พบว่าเมื่อตนเรียนไม่ดี บิดามารดาจะตำหนิและเพื่อนๆก็จะซ้ำเติม จึงมีความหวาดระแวงในมิตรภาพจากคนรอบข้าง เพราะคนรอบข้างมักคาดหวังให้ตนเป็นบางอย่างแต่การให้ความเข้าใจหรือช่วยเหลือมีน้อย เมื่อไม่ได้อย่างที่บุคคลรอบข้างคาดหวัง ตนกลับถูกตำหนิดังนั้นกรณีศึกษาจึงขาดความไว้ใจผู้อื่นและหวาดระแวงในคนอื่นว่าจะมากล่าวตำหนิและทำร้ายจิตใจตน อย่างไรก็ตามการที่ตนทำตัวแบบนั้นในปัจจุบันระหว่างการทำงาน ก็ทำให้กรณีศึกษาทำงานไม่เสร็จในบางครั้งและมีเพื่อนไม่ค่อยมาก กรณีศึกษาเห็นความสำคัญของการทำงานและการมีเพื่อนในที่ทำงาน จึงต้องการลดหรือขจัดอาการจิตนาการออกไป
กรณีศึกษาที่ ๑ การปรึกษา การวางแผนการพยาบาลในกรณีศึกษานี้แบ่งออกเป็น 2 ระยะ กล่าวคือ ระยะแรกเป็นการกำหนดเป้าหมายคือ กรณีศึกษาต้องการปลอดจากภาวะหวาดระแวงและขจัดการจิตนาการเพื่อการสร้างสัมพันธภาพเมื่อมีความรู้สึกเป็นมิตร กิจกรรมในระยะแรกนี้จึงมุ่งแก้ไขปัญหาดังต่อไปนี้ 1) ขจัดการจิตนาการ และ 2) ขจัดภาวะหวาดระแวง
กรณีศึกษาที่ ๑ ระยะที่สอง เน้นการช่วยเหลือดูแลให้มีการป้องกันการกำเริบ และการลดขนาดของอาการเพื่อคงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพในระดับที่ทำหน้าที่ของตนได้อย่างเหมาะสมกับสภาพ และพัฒนาการมีส่วนร่วมของเพื่อนๆในที่ทำงานได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นกิจกรรมการปรึกษาในระยะนี้จึงประกอบด้วย ๑) การส่งเสริมให้กรณีศึกษาสามารถรับรู้ความเป็นจริงและปรับตัวเข้าสู่สังคมได้ ๒) การสอนและฝึกทักษะเพื่อนร่วมทำงานเพื่อส่งเสริมให้มีการทำงานร่วมกับกรณีศึกษาอย่างถูกต้อง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับกรณีศึกษาพบว่า กรณีศึกษาสามารถสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้ โดยมีพฤติกรรมแสดงออกถึงความมั่นใจที่ดีขึ้นกว่าเดิม
กรณีศึกษาที่ ๑ บทเรียนจากกรณีศึกษาที่ ๑ กรณีศึกษาที่ ๑ นั้นมีความทรงจำไม่ดีในวัยเด็กที่ตนเรียนไม่ดีถูกกดดันจากผู้อื่น เมื่อตนรับสภาพเช่นนั้นไม่ได้ตนจึงสร้างจิตนาการเพื่อหนีความจริงว่าตนนั้นมีความสุขเป็นเจ้าคนนายคน การย้อนรอยอดีตโดยให้กรณีศึกษาที่ ๑ อยู่ในสมาธิและการที่ผู้บังคับบัญชาสร้างความเป้นมิตรและแสดงความเข้าใจยอมรับที่จะช่วยเหลือทั้งทางจิตใจและการทำงาน ทำให้กรณีศึกษาที่ ๑ สามารถย้อนรอยอดีตไปถึงต้นเหตุของปัญหาได้ การที่หัวหน้าใช้คำพูดที่เป้นการให้อภัยกับกรณีศึกษาที่ ๑ และให้กำลังใจอยู่เสมอเป็นเหตุให้การย้อนรอยอดีตเป็นผลสำเร็จ
กรณีศึกษาที่ ๑ เมื่อย้อนถึงเหตุการณ์ที่เป็นวิกฤตคือครั้งที่กรณีศึกษาที่ ๑ สอบได้คะแนนต่ำมากจากนั้นก็ได้รับการตำหนิจากบิดามารดาอย่างมาก ในขณะนั้นกรณีศึกษาคาดหวังว่า เมื่อตนได้คะแนนน้อยบิดามารดาจะแสดงความเห็นอกเห็นใจพูดจาอ่อนโยนและช่วยตนเรียนมากขึ้น แต่ความเป็นจริงนั้น ตนกลับได้รับสิ่งที่ตรงกันข้ามจากบิดาและมารดา ในการย้อนรอยอดีตครั้งที่ ๒ กรณีศึกษาที่ ๑ ได้ย้อนรอยโดยไม่ตั้งความหวังใดจากบิดามารดา จะพบว่าบิดามารดาก็ตำหนิเหมือนเดิมแต่ตนนั้นไม่มีอารมณ์ผิดหวังใดๆจากการกระทำของบิดามารดา กรณีศึกษาที่ ๑ ได้ถอยกลับนำความทรงจำพร้อมอารมณ์ใหม่นี้มาเป็นความทรงจำปัจจุบันและเรียนรู้ที่จะไม่คาดหวังสิ่งใดมากเกินไปกว่าที่ตนจะรับได้
กรณีศึกษาที่ ๑ ส่วนในเรื่องของการสร้างจิตนาการนั้นเมื่อกรณีศึกษาที่ ๑ ตั้งสติได้ดีเขาพบว่า หลักการที่สำคัญคือต้องทำให้กรณีศึกษามีความภูมิใจในตัวเองจากความเป็นตัวตนในวันนี้และผลงานในอดีตก็ได้ หัวหน้างานสามารถนำกรณีศึกษาที่ ๑ ค้นพบจุดเด่นของตนเองหลายประการทั้งในชีวิตปัจจุบันและในวัยเด็ก กรณีศึกษาที่ ๑ ได้รู้ว่าตนนั้นมีความสำคัญมากกว่าที่ตนเคยคิดและการเป้นตัวตนในสิ่งที่ดีนั้นมีค่ากับตนเองและคนอื่นมาก การที่ตั้งจิตนาการว่าตนเองเป้นคนอื่นอาจทำให้ตนมีความสุขในการเป็นคนอื่น แต่ตนก็สามารถมีความสุขจากการเป้นตัวของตัวเอง อีกทั้งหัวหน้าและผู้ร่วมงานจะมีความสุขกับตนเมื่อตนเป็นตัวของตัวเอง
การบำบัดด้วยการฝึกสติ การบำบัดตามทฤษฎีแบบจิตวิเคราะห์ (Analytic View) การบำบัดตามทฤษฎีCognitive (Cognitive View)
พุทธศาสนา ในมุมมองของ นักบำบัด และนักวิทยาศาสตร์ Analytic View Cognitive View
Analytic view • ในอดีต • Sigmund Freud • Carl Jung • Franz Alexander • Eric Fromm • ร่วมสมัย • Mark Epstein
พระพุทธศาสนา ในมุมมองของนักบำบัด Sigmund Freud Alexander Franz Eric Fromm Carl Jung