280 likes | 617 Views
พุทธจิตวิทยาการรู้ คิด และปัญญา Buddhist Cognitive Psychology. องค์ประกอบของชีวิต. รูป. รูป. เวทนา. สัญญา. นาม. สังขาร. วิญญาณ. รูป.
E N D
พุทธจิตวิทยาการรู้ คิด และปัญญาBuddhist Cognitive Psychology
องค์ประกอบของชีวิต รูป รูป เวทนา สัญญา นาม สังขาร วิญญาณ
รูป รูป ได้แก่ ส่วนประกอบของฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด ร่างกายและพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย หรือสสาร พลังงายฝ่ายวัตถุ พร้อมทั้งคุณสมบัติและพฤติการณ์ของสสารพลังงานเหล่านั้น
เวทนา เวทนา ได้แก่ ความรู้สึก สุข ทุกข์ หรือเฉยๆซึ่งเกิดจากประสาททั้ง ๕ และทางใจ • สุขเวทนา=สบายใจ ชื่นใจ ถูกใจ • ทุกเวทนา=ไม่สบายใจ เจ็บปวด • อทุกขมสุขเวทนา= ไม่ทุกข์ ไม่สุข เรื่อยๆ เฉยๆ บางครั้งเรียก อุเบกขา
เวทนา ๕ • สุขเวทนา = สบายกาย • ทุกขเวทนา = ไม่สบายกาย เจ็บปวด • โสมนัสเวทนา = สบายใจ สุขใจ ชื่นใจ • โทมนัสเวทนา = ไม่สบายใจ ทุกข์ใจ • อทุกขมสุขเวทนา = เฉยๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ กลางๆ บางครั้งเรียก อุเบกขา
สัญญา สัญญา ได้แก่ การกำหนดได้ หรือหมายรู้ คือ กำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่างๆอันเป็นเหตุให้จำอารมณ์ • รูปสัญญา = ความหมายรู้รูป เช่น ดำ แดง เขียว • สัททสัญญา = ความหมายรู้เสียง เช่น ดัง เบา ทุ้ม แหลม • คันธสัญญา = ความหมายรู้กลิ่นเช่น หอม เหม็น • รสสัญญา = ความหมายรู้รส เช่น เปรียว หวาน เค็ม ขม • โผฏฐัพพสัญญา= ความหมายรู้สัมผัสทางกาย เช่น เย็น ร้อน อ่อน แข็ง • ธัมมสัญญา = ความหมายรู้อารมณ์ทางใจ เช่น งาม น่าเกลียด เที่ยง ไม่เที่ยง
ประเภทของสัญญา • สัญญาชั้นต้น คือ ความหมายรู้ลักษณะอาการของสิ่งนั้นๆ เช่น สี เขียว ขาว โต๊ะ เก้าอี กลม สั้น แบน ยาว เป็นต้น เป็นการหมายรู้เกี่ยวกับบัญญัติต่างๆ • สัญญาซ้อนเสริม ได้แก่ การหมายรู้ไปตามความคิดปรุงแต่งหรือความเข้าใจในระดับต่างๆ เช่น อย่างไรเรียกว่า สวย งาม น่าเกลียด หรือ เห็นสีแดง นอกจากจะหมายรู้ได้ว่า สีแดงแล้วยังรู้ความหมายที่ซ้อนเสริมของสีแดง สีแดง หมายถึง ชาติ โชคดี สิริมงคล เป็นต้น
สังขาร • สังขาร คือ องค์ประกอบหรือคุณสมบัติต่างๆของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ซึ่งแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจและการแสดงออกทางกายวาจาให้เป็นไปต่างๆเป็นที่มาของกรรม เช่น ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปัญญา โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้นรวมเรียกง่ายๆว่า เครื่องปรุงของจิต เครื่องปรุงของความคิด หรือเครื่องปรุงของกรรม
วิญญาณ ได้แก่การรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาททั้ง ๕ และใจคือ แบ่งตามที่เกิด • จักขุวิญญาณ = การรู้แจ้งอารมณ์ทางตา การเห็นรูป • โสตวิญญาณ = การรู้แจ้งอารมณ์ทางหู การได้ยิน • ฆานวิญาณ= การรู้แจ้งอารมณ์ทางจมูก การรู้ได้กลิ่น • ชิวหาวิญญาณ = การรู้แจ้งอารมณ์ทางลิ้น การรู้รส • กายวิญญาณ = การรู้แจ้งอารมณ์ทางกาย การรู้สัมผัสทางกาย • มโนวิญญาณ = = การรู้แจ้งอารมณ์ทางใจ การรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นทางใจ
อายตนะ แดนแห่งการรับรู้โลก สิ่งที่ถูกรู้(อายตนะภายนอก) ช่องทางการรับรู้(อายตนะภายใน) ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ • รูป • เสียง • กลิ่น • รส • สัมผัสทางกาย • ธรรมมารมณ์
กระบวนการรับรู้บริสุทธิ์กระบวนการรับรู้บริสุทธิ์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส สภาวะจิต รู้รูป รู้เสียง รู้กลิ่น รู้รส รู้กายสัมผัส รู้สภาวะจิต การกระทบทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ สุข ทุกข์ เฉยๆ
กระบวนธรรมแบบสังสารวัฏฏ์กระบวนธรรมแบบสังสารวัฏฏ์
กระบวนธรรมที่เกิดหลังการรับรู้บริสุทธิ์กระบวนธรรมที่เกิดหลังการรับรู้บริสุทธิ์
จำแนกตามสภาวะหรือธรรมชาติการรับรู้จำแนกตามสภาวะหรือธรรมชาติการรับรู้ • สัญญา • วิญญาณ • ปัญญา
ความรู้ ผลจากการรับรู้โลก จำแนกตามช่องการรับรู้ • ความรู้ที่ได้ทางปัญจทวาร คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย • ความรู้ที่ได้ทางมโนทวาร คือ ใจ ตามแนวอภิธรรมท่านกล่าวไว้ ๕ อย่าง คือ • เวทนา • สัญญา • สังขาร • อนิทัสสนอัปปฏิฏฆรูป รูปที่มองไม่เห็น กระทบหรือถูกต้องไม่ได้ เช่น การก่อตัว การสืบต่อ การแก่ตัว ความไม่เที่ยง • อสังขตธาตุ คือ พระนิพพาน
จำแนกตามพัฒนาการทางปัญญาภายในบุคคลจำแนกตามพัฒนาการทางปัญญาภายในบุคคล • สัญญา= ความรู้ในรูปการหมายรู้ การจดจำสิ่งต่างๆได้ • ทิฏฐิ= ความรู้ในรูปของการลงความเห็น การมีทัศนคติ แนวคิด ทฤษฎี • ญาณ= ความรู้ ปัญญาบริสุทธิ์ที่เกิดจากการภาวนา ความรู้ที่ทำกิจของตนเป็นการเฉพาะ เช่น นามรูปปริจเฉทญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ โพธิญาณ
จำแนกตามกิจกรรมหรือผลงานของมนุษย์จำแนกตามกิจกรรมหรือผลงานของมนุษย์ • สุตะ • ทิฏฐิ • ญาณ
จำแนกตามวิธีการได้มา • สุตามยปัญญา = ปัญญาเกิดจากการฟัง การศึกษา เล่าเรียน • จินตามยปัญญา = ปัญญาเกิดจากการคิด พิจารณา ไตร่ตรองด้วยตนเอง • ภาวนามยปัญญา = ปัญญาเกิดจากลงมือปฏิบัติ ฝึกฝนอบรม
ความถูกต้องและความผิดพลาดของการรับรู้ความถูกต้องและความผิดพลาดของการรับรู้ • สัจจะ ๒ ระดับ • สมมติสัจจะ คือ ความจริงโดยสมมติ ความจริงโดยมีมติร่วมกัน เช่น เก้าอี้ โต๊ะ หนังสือ คน สัตว์ • ปรมัตถสัจจะ คือ ความจริงตามความหมายสูงสุด ความจริงตรงตามสภาวะที่หากรู้ตามเป็นจริงแล้วจะเป็นไปเพื่อการหยังรู้สัจธรรม เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาร จิต เจตสิก รูป นิพพาน
วิปลาส(๓) ความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในความรู้ • สัญญาวิปลาส คือ การหมายรู้ที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง เช่น การมองเห็นเชือกเข้าใจว่าเป็น งู หรือการเข้าใจผิดอื่นที่เกิดการจากรับรู้ที่ไม่ชัดเจน หรือจำไว้ผิด • จิตตวิปลาส คือ ความคิดที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง เช่น การหวาดระแวงว่ามีคนคิดปองร้ายตน การปรุงแต่งผิดไปจากความเป็นจริง อาการกลัวสิ่งต่างเกินกว่าความเป็นจริงที่เรียกว่า โฟเบีย(Phobia) เช่น กลัวที่แคบและมืด กลัวการอยู่ในที่สาธารณะ กลัวเงาะ เป็นต้น • ทิฏฐิวิปลาส คือ ความผิดคลาดคลาดเคลื่อนในระดับทิฏฐิ การลงความเห็น การมีทัศคติ เช่น มายาคติด้านชาติพันธุ์ ศาสนา กลุ่มชน รสนิยมทางเพศ
การพัฒนาความรู้ • อินทรีสังวร = การรับรู้อย่างมีสติ • โยนิโสมนสิการ = การทำไว้ในใจ การตั้งจิตโดยแยบคาย คิดให้ถูกวิธี คิดให้ตรงทาง
คิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย(ปฏิจจสมุปบาท)คิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย(ปฏิจจสมุปบาท) • คิดแบบแยกส่วนประกอบ(ขันธ์ ๕) • คิดแบบสามัญลักษณ์/คิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา • คิดแบบอริยสัจ/คิดแบบแก้ปัญหา • คิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์(ธรรม=หลักการ หลักความจริง, อรรถ=ความมุ่งหมาย) • คิดแบบคุณ โทษ และทางออก(อัสสาทะ อาทีนวะ นิสสรณะ) • คิดแบบคุณค่าแท้ คุณค่าเทียม • คิดแบบเร้ากุศล • คิดแบบอยู่กับปัจจุบัน • คิดแบบวิภัชชวาท