390 likes | 531 Views
ส่วนอาคารสถานที่. D ivision Of Buildings And Grounds. สำนักงานอธิการบดี. ประวัติความเป็นมา. ส่วนอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตั้งขึ้นพร้อมกับการจัดตั้งมหาวิทยาลัยฯ ในปี พ.ศ.2536 เป็นหน่วยงานระดับส่วน สังกัดสำนักงานอธิการบดี ทำหน้าที่ให้บริการด้านงาน
E N D
ส่วนอาคารสถานที่ Division Of Buildings And Grounds สำนักงานอธิการบดี
ประวัติความเป็นมา • ส่วนอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตั้งขึ้นพร้อมกับการจัดตั้งมหาวิทยาลัยฯ ในปี พ.ศ.2536 เป็นหน่วยงานระดับส่วน สังกัดสำนักงานอธิการบดี ทำหน้าที่ให้บริการด้านงาน สาธารณูปโภค มีหน่วยงานภายใน ทั้งหมด 9 หน่วยงาน เพื่อสนับสนุนภารกิจในด้านฐานข้อมูล อาคารสถานที่ การออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง การซ่อมแซมบำรุงรักษาอาคารสถานที่ จัดหาสาธารณูปโภคต่างๆ อาทิ กระแสไฟฟ้าและการอนุรักษ์พลังงาน น้ำประปาและการจัดการ ขยะมูลฝอย จัดระบบการบริการขนส่ง ควบคุมด้านการรักษาความปลอดภัยและจราจร การจัดดูแลภูมิทัศน์ รวมทั้งด้านการบริการอาคารสถานที่และกิจกรรมของมหาวิทยาลัย
วิสัยทัศน์ ( VISION ) ของส่วนอาคารสถานที่ • เป็นหน่วยงานที่เป็นผู้นำในด้านการบริหารอาคารและระบบสาธารณูปโภค ในระดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทย
พันธกิจ ( MISSION ) ของส่วนอาคารสถานที่ 1.พัฒนาด้านกายภาพและสภาพแวดล้อม ให้เหมาะสมเพียงพอ และสวยงาม ตอบสนองการใช้งานเพื่อการเรียนการสอนและการอยู่อาศัยให้เหมาะสมกับเป็นเมืองมหาวิทยาลัย ( Living and learning Center ) 2.จัดการด้านการใช้บริการสนับสนุน และอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน แก่บุคลากร ด้านยานพาหนะขนส่ง ด้านสถานที่จัดกิจกรรม ด้านการจราจรและ ความปลอดภัย 3.ดูแลรักษาอาคารและสถานที่ สาธารณูปโภคให้เพียงพอใช้งานได้ดีอยู่เสมอ มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า 4. ตอบสนองนโยบาย มหาวิทยาลัยเขียว สะอาด(Green&Clean University)
โครงสร้างการบริหารงาน ส่วนอาคารสถานที่
งานธุรการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ ร่างโต้-ตอบหนังสือ รับ-ส่ง เอกสาร จัดเก็บเอกสาร ดำเนินการทางด้านธุรการ จัดเก็บรวบรวม ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ของมหาวิทยาลัย จัดเตรียมเอกสารการประชุม ดำเนินการเกี่ยวกับการเงินและพัสดุ งานบริหารงานบุคคล และการพัฒนาบุคลากร งานจัดกิจกรรมของส่วนอาคารสถานที่ ดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย จัดหาประมาณการวัสดุซ่อมบำรุงซ่อมแซมและเครื่องมือช่างต่างๆ ที่ใช้ในการซ่อมแซมบำรุงรักษาอาคารสถานที่ (Store) รวมทั้งเป็นหน่วยงานกลางประสานงาน ด้านการซ่อมบำรุงฯ (Call Center)หมายเลขโทรศัพท์ 0 4422 4122-3
งานออกแบบและก่อสร้าง ราคาควบคุมการมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการสำรวจเพื่อออกแบบ เขียนแบบงานการก่อสร้าง งานปรับปรุงอาคารสถานที่ และประมาณก่อสร้าง ตรวจสอบรายงานผลตรวจสอบสิ่งก่อสร้างในระยะประกันผลงาน งานจัดทำและปรับปรุงฐานข้อมูลอาคารและจัดทำรายการงบประมาณสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ หมายเลขโทรศัพท์ 0 4422 4124-7
งานซ่อมบำรุงและรักษา มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับดูแลบำรุงรักษาสภาพอาคารและสถานที่ให้เหมาะสมพร้อมใช้งานได้ดีอยู่เสมอและยืดอายุการใช้งานให้คุ้มค่าอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคุมการซ่อมแซมงานระบบโยธา-สถาปัตย์ทั้งภายในและภายนอกอาคาร และอำนวยความสะดวกบริการงานซ่อมแซม ตรวจเช็คความเรียบร้อยของอาคารภายในมหาวิทยาลัย ควบคุมดูแลงานจ้างเหมาบริการรักษาความสะอาด หมายเลขโทรศัพท์0 4422 4121,4123
งานระบบไฟฟ้าและปรับอากาศงานระบบไฟฟ้าและปรับอากาศ มีหน้าที่รับผิดชอบระบบส่งจ่ายไฟฟ้าแรงสูง ระบบหม้อแปลงไฟฟ้าและอุปกรณ์แรงสูง ระบบส่งจ่ายไฟฟ้าแรงต่ำ ระบบควบคุมและป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องกลไฟฟ้า ระบบไฟฟ้าแสงสว่างและการจ่ายกำลังไฟฟ้า ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน ระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้และลิฟต์ ตรวจวัดค่ากระแสไฟฟ้าประจำอาคารและบ้านพักอาศัย การอนุรักษ์พลังงานและดำเนินการตามมาตรการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ควบคุมงานจ้างเหมาซ่อมบำรุงรักษาหม้อแปลง สถานีไฟฟ้าย่อย ตู้MDB ระบบปรับอากาศรวม-แยกส่วน ระบบลิฟท์ เป็นต้น หมายเลขโทรศัพท์ 0 4422 5199,5200
งานประปาและสิ่งแวดล้อมงานประปาและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมดูแลระบบการผลิตน้ำ การจ่ายน้ำประปาและน้ำบาดาล พร้อมตรวจสอบระบบส่งจ่าย จัดหาแหล่งน้ำดิบ ซ่อมแซมบำรุงรักษาระบบสุขาภิบาล ควบคุมดูแลระบบบำบัดน้ำเสียรวมของมหาวิทยาลัย ตรวจสอบคุณภาพน้ำที่ใช้คุณภาพน้ำเสียและคุณภาพน้ำดิบ ตรวจสอบอัตราการใช้น้ำประปา บันทึกหน่วยการใช้น้ำการจัดการโรงคัดแยกขยะ การจัดการธนาคารขยะรีไซเคิ้ล การนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ ควบคุมดูแลการจ้างเหมาบริการกำจัดขยะ สิ่งปฏิกูล หมายเลขโทรศัพท์ 0 4422 5051,5052
งานยานพาหนะ มีหน้าที่ควบคุมดูแลจัดการ การบริการการด้านงานยานพาหนะ ของมหาวิทยาลัยและรถยนต์เช่าเหมาบริการ อำนวยความสะดวกในการเดินทาง ซ่อมบำรุงรักษารถยนต์ รวมทั้งเบิกจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงควบคุมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง การนำร่องการใช้E85 ทำประกันภัยรถยนต์และต่อทะเบียนรถยนต์ การควบคุมดูแลการจ้างเหมาบริการยานพาหนะรถยนต์ -รถโดยสาร หมายเลขโทรศัพท์ 0 4422 4862,4863
งานรักษาความปลอดภัย มีหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ภายในมหาวิทยาลัย ดูแลการจัดเวรยาม ดำเนินโครงการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย( การป้องกันพิษสุนัขบ้า การกำจัดยุงลาย การรณรงค์ขับขี่ปลอดภัย การอบรมป้องกันและระงับอัคคีภัย) ดูแลตรวจตรารถยนต์ วิ่งเข้า-ออกภายในมหาวิทยาลัย ดูแลการใช้ระบบทีวีวงจรปิด กำกับดูแลความปลอดภัยทางการจราจรและการจัดการจราจร-ที่จอดรถยนต์ ควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของบริษัทรับจ้างเหมาบริการรักษาความปลอดภัย หมายเลขโทรศัพท์ 0 4422 1234,4567
งานภูมิทัศน์ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อม ดำเนินการพัฒนาพื้นที่-บำรุงรักษางานภูมิทัศน์ จัดตกแต่งไม้ดอก ไม้ประดับภายในภายนอกอาคาร โรงเรือนเพาะชำกล้าไม้ เพื่อใช้ตกแต่งภายในอาคารและปลูกประดับเพื่อความร่มรื่นของมหาวิทยาลัย งานจัดสวนหย่อม งานปลูกป่า งานซ่อมบำรุงเครื่องมือเครื่องจักร และเบิกจ่ายควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในงานภูมิทัศน์ ควบคุมการจ้างเหมาบริการแรงงานภูมิทัศน์ หมายเลขโทรศัพท์ 0 4422 4131,4132
งานบริการอาคารสถานที่และกิจกรรมงานบริการอาคารสถานที่และกิจกรรม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ออกแบบวางผังการประดับตกแต่งงานและจัดเตรียมสถานที่การจัดกิจกรรมต่างๆ งานบริการขนย้ายวัสดุและครุภัณฑ์ การบริการรถบรรทุก หมายเลขโทรศัพท์ 0 4422 5204,5205
ส่วนอาคารสถานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี นครราชสีมา แนวทางการพัฒนาทางกายภาพสู่ มหาวิทยาลัยเขียว-สะอาด (Green-Clean University)
7 แนวทางสู่ความสำเร็จ Master plan reviewการปรับปรุงแผนแม่บทด้านกายภาพ Clean energy standardการใช้พลังงานสะอาด Recycling & waste managementการจัดการของเสียและนำมาใช้ใหม่ Reduce & reuse practicesลดการใช้/ประหยัดและใช้ซ้ำ Healthy & safety communityสร้างให้ชุมชนน่าอยู่มีสุขภาพดีและปลอดภัย Save materialsจัดหาและทดแทนด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่ประหยัดทรัพยากร Green building designสร้างอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
แนวทางที่ 1 Master plan reviewการปรับปรุงแผนแม่บท กิจกรรม ปรับปรุงและพิจารณาการกำหนดแผนผังแม่บททางด้านกายภาพ สาธารณูปโภค ในการรองรับการขยายตัวของมหาวิทยาลัย เช่น -จัดทำแผนแม่บท ด้านภูมิทัศน์ -จัดทำแผนแม่บท ด้านการขนส่งมวลชน -จัดทำแผนแม่บท ด้านการจราจร/ความปลอดภัย -จัดทำแผนแม่บทด้านการซ่อมบำรุง/ครุภัณฑ์ทดแทน -จัดทำแผนแม่บท ด้านการจัดการ/พัฒนาแหล่งน้ำ -จัดทำแผนแม่บท ด้านการจัดการขยะ/ของเสีย
แนวทางที่ 2Clean energystandardการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานสะอาด กิจกรรม ใช้พลังงานสะอาดในยานพาหนะของมหาวิทยาลัย และ การจ้างเหมารถบริการต่างๆให้เป็น GREEN CAR เช่นรถCNG ,รถโดยสารไฟฟ้า มุ่งเน้นให้รถของมหาวิทยาลัยใช้ น้ำมันE85 ,E75เป็นโครงการนำร่อง ส่งเสริมให้ใช้เชื้อเพลิง NGV, ไบโอดีเซล มากขึ้น ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน พลังงานทางเลือก เช่นโซล่าเซลล์
แนวทางที่ 3 Recycling &waste managementการจัดการของเสียและการนำกลับมาใช้ใหม่ กิจกรรม พัฒนาและส่งเสริมการคัดแยกขยะ การจัดการธนาคารขยะรีไซเคิลให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม พัฒนาระบบการกำจัดขยะแบบยั่งยืนและการแปรสภาพขยะเช่น ทำเป็นปุ๋ย การทำไฟฟ้าชีวมวล ไบโอแก๊ส เป็นต้น การปรับปรุงระบบนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่เพื่องานภูมิทัศน์หรือใช้ในระบบชะล้างในสุขภัณฑ์
แนวทางที่ 4 Reduce & reusepractices ลดการใช้และนำกลับมาใช้ซ้ำ กิจกรรม รณรงค์ในการลดการใช้พลังงานไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำ และวัสดุสิ้นเปลือง เช่น ติดมิเตอร์ไฟฟ้า-ประปาทุกห้องพักนักศึกษา นำวัสดุสิ้นเปลือง น้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ซ้ำใหม่ เช่น บล็อกปูพื้น โครงเหล็ก บานประตู-หน้าต่าง เป็นต้น การเปลี่ยนอุปกรณ์ที่มีปสภ.สูง เช่นหลอดT5, AIR INVERTER,เบอร์5 การนำน้ำฝนกลับมาใช้ใหม่ในอาคาร
แนวทางที่ 5 Healthy& safety community ชุมชนที่มีสุขภาพที่ดีและมีความปลอดภัย กิจกรรม ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ร่มรื่น มีสวนสาธารณะและสถานที่ออกกำลังกายตามจุดต่างๆ และมีแผนพัฒนาภูมิทัศน์ที่ชัดเจน ปรับปรุงและส่งเสริมให้ใช้ทางเดินและทางจักรยานหลังคาคลุมมากขึ้น ปรับปรุงระบบถนนให้มีความปลอดภัยในการสัญจรมากยิ่งขึ้น ปรับปรุงระบบการรักษาความปลอดภัยทั้งพื้นที่ มีรั้วรอบมิดชิด อุปกรณ์ครบถ้วน ใช้มาตรการต่างๆอย่างจริงจังเช่น โครงการถนนสีขาว จับไม่ปรับ การรณรงค์ขับขี่ปลอดภัย สวมหมวกนิรภัย100% เป็นต้น
แนวทางที่ 6Save materialsจัดหาและทดแทนด้วยวัสดุและอุปกรณ์ที่ประหยัดทรัพยากร กิจกรรม ศึกษาและวางแผนจัดหา ด้วยวัสดุ อุปกรณ์ที่ประหยัดทรัพยากรมาใช้ วางแผนซ่อมบำรุง ทดแทนของที่ชำรุดด้วยวัสดุ อุปกรณ์ที่ประหยัด เลือกใช้วัสดุที่มีต้นทุนการผลิตที่ใช้พลังงานต่ำ เลือกใช้วัสดุในท้องที่ใกล้เคียงเพื่อลดการใช้พลังงานในการขนส่ง เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่มีคุณภาพดีเพื่อลดการซ่อมและการสูญเสีย
แนวทางที่ 7Green buildingdesignการออกแบบอาคารเขียว กิจกรรม นำแนวคิดในการออกแบบอาคารเขียวของ ASA สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นแนวทางในการออกแบบก่อสร้างอาคารใหม่และปรับปรุงอาคารเก่า(Renovation) ใช้ข้อกำหนดของกฎกระทรวงการออกแบบอาคารอนุรักษ์ พลังงาน/2552(Building Energy Code )ค่าOTTV , RTTV จัดการศึกษาอบรมให้แก่สถาปนิก-วิศวกรในหลักการออกแบบอาคารเขียว จัดการอบรม ดูงานการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างสำหรับอาคารเขียว
แนวทางการออกแบบอาคารเขียวGREEN BUILDINGของASA 1. INTENTION: ความมุ่งมั่นในการออกแบบอาคารเขียว 2. CONTEXT: บริบททางสังคมและชุมชน 3. EARTH: ใช้ประโยชน์ที่ดินและภูมิทัศน์อย่างยั่งยืน 4. TROPICAL: สอดคล้องกับเขตอากาศเขตร้อนชื้น 5. COMFORT:ปลอดภัย น่าสบาย และสุขภาวะของผู้ใช้อาคาร 6. ENERGY:ประหยัดพลังงาน 7. WATER:ประหยัดน้ำ 8. MATERIALS:วัสดุอาคารและการก่อสร้าง 9. SELF-SUFFICIENCY:ความยืดหยุ่น การปรับใช้และความพอเพียง 10. FEEDBACK:ผลตอบรับหลังการใช้งาน
สถานที่ตั้งของอาคาร ตั้งอยู่ด้านหลังของอาคารบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นอาคาร 2 ชั้น ขนาดพื้นที่ใช้สอย 695 ตร.ม.
DBG – Green and Clean สวัสดี