270 likes | 556 Views
SIX SIGMA. คณะผู้จัดทำ. นายกนกศักดิ์ จันชาชนะ รหัส 534702201 บ. 5306. นางสาวช่อผกา บุบพันธ์ รหัส 534702208 บ. 5306. นางสาว ปิ ยา ภรณ์ ศรีสุข รหัส 534702210 บ. 5306. Six Sigma คืออะไร :
E N D
นายกนกศักดิ์ จันชาชนะ รหัส 534702201 บ.5306
นางสาวช่อผกา บุบพันธ์ รหัส 534702208 บ.5306
นางสาวปิยาภรณ์ ศรีสุข รหัส 534702210 บ.5306
Six Sigma คืออะไร: Six Sigma คือ ส่วนผสมกลมกลืนกันระหว่างความฉลาดหลายๆ ด้านในการบริหารองค์กร โดยการพัฒนากลวิธีทางสถิติเพื่อใช้เป็นอาวุธขององค์กร โดยเป้าหมายสูงสุดของ Six Sigma นี้ ได้เน้นไปที่การนำเอา Six Sigma มาใช้เป็นกลยุทธ์ของกิจการมากกว่าที่จะเป็นวิธีการทางคุณภาพในการควบคุมกระบวนการ
แนวคิดพื้นฐานของ Six sigmaเป็นการพัฒนาที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศได้แก่ด้านการสื่อสารการสร้างกลยุทธ์และนโยบายการกระจายนโยบายการจูงใจและการจัดสรรทรัพยากรในองค์การให้เหมาะสมเพื่อให้การปรับปรุงองค์การเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
โดยเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงานที่มีความสามารถมีความตั้งใจที่จะปรับปรุง ต้องได้รับความรู้ที่เพียงพอต่อการปรับปรุงรวมทั้งมีทีมที่มีความสามารถและมีความตั้งใจที่จะปรับปรุงมีทีมที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงคอยให้ความช่วยเหลือสนับสนุน
วิธีการและขั้นตอนของ Six Sigma วิธีการนำ Six Sigma ไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการทำงานเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นเรียกว่า DMAICซึ่งเป็นวิธีการในการวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการทำงานและแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบัน(Process Improvement) ซึ่ง DMAIC จะมีองค์ประกอบดังนี้
D-Define คือขั้นตอนในการกำหนดลักษณะปัญหาที่องค์กรเผชิญอยู่D-Define คือขั้นตอนในการกำหนดลักษณะปัญหาที่องค์กรเผชิญอยู่ M-Measureคือขั้นตอนการเก็บข้อมูลและวัดค่าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง A-Analyzeคือขั้นตอนในการนำเอาข้อมูลที่เก็บมา มาวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา I-Improveคือขั้นตอนในการเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาและการนำไปปฏิบัติจริง C-Controlคือขั้นตอนในการควบคุมให้กระบวนการอยู่ภายใต้ข้อกำหนดที่ตั้งไว้
แนวคิดแบบ six sigma เน้นให้พนักงานแต่ละคนสร้างผลงานขึ้นมาโดย1. การตั้งทีมที่ปรึกษา (Counselling groups) เพื่อให้คำแนะนำพนักงานในการกำหนดแผนปรับปรุงการทำงาน2. การให้ทรัพยากรที่จำเป็นต่อการปรับปรุง (Providing resource) 3. การสนับสนุนแนวความคิดใหม่ ๆ (Encouraging Ideas) เพื่อให้โอกาสพนักงานในการเสนอแนะความคิดเห็นใหม่ๆ 4. การเน้นให้พนักงานสามารถคิดได้ด้วยตัวเอง (Thinking) เพื่อให้พนักงานสามารถกำหนดหัวข้อการปรับปรุงขึ้นเอง ภายใต้ข้อกำหนดของผู้บริหารองค์การ
แนวคิดการบริหารองค์การแบบเดิม 1.ผลของการแก้ไขปัญหาจะต้องหายขาด 2.ผู้นำคือผู้ที่สามารถแก้ไขปัญหาในปัจจุบันได้ 3.ใช้ประสบการณ์และความชำนาญเป็นหลักในการปรับปรุงเพราะเห็นผลสำเร็จได้ง่าย4.ความรับผิดชอบเป็นหน้าที่ของพนักงานแต่ละคนต้องปฏิบัติแนวคิดการบริหารองค์การแบบเดิม 1.ผลของการแก้ไขปัญหาจะต้องหายขาด 2.ผู้นำคือผู้ที่สามารถแก้ไขปัญหาในปัจจุบันได้ 3.ใช้ประสบการณ์และความชำนาญเป็นหลักในการปรับปรุงเพราะเห็นผลสำเร็จได้ง่าย4.ความรับผิดชอบเป็นหน้าที่ของพนักงานแต่ละคนต้องปฏิบัติ
แนวคิดการบริหารแบบ six sigma 1.เน้นสร้างทักษะและการเรียนรู้ให้แก่พนักงานอย่างเป็นระบบและเข้มงวดรู้ปัญหาและกำหนดเป็นโครงการปรับปรุงทั้งระยะสั้นและระยะยาว 2.วัดที่ผลการปรับปรุงเป็นหลัก 3.ใช้ทีมงานที่มีผลประเมินการทำงานดี หรือ ดีเยี่ยม มาทำการปรับปรุงและตัดสินใจให้คนเก่งมีเวลาถึง 100 % เพื่อแก้ปัญหาให้กับองค์การ 4.สร้างผู้นำโครงการให้เกิดขึ้นในอนาคต 5.ใช้ข้อมูลเป็นตัวตัดสินใจเท่านั้น 6.เน้นความรับผิดชอบในการทำโครงการ 7.การให้คำมั่นสัญญามาจากผู้บริหาร
หลักการสำคัญของกลยุทธ์ Six sigma การบรรลุกลยุทธ์ที่สำคัญของ six sigma ซึ่งเกี่ยวข้องกับขั้นตอน 4 ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย Measure - Analyze - Improve - Control
1. Measurement ในขั้นนี้เป็นการขั้นตอนการวัด วัดว่าองค์การอยู่ที่ใด black belt จะกระทำเพื่อวัดจุดวิกฤตต่อคุณภาพ (Critical to Quality : CTQ) หรือการวัดสิ่งที่มีผลกระทบต่อลักษณะคุณภาพหรือผลการปฏิบัติงานมากที่สุดวางแผนกำลังคนทำการวัดในสิ่งที่จำเป็นซึ่งเป็นการประเมินปัญหาและระบุปัญหาบันทึกผลลัพธ์ที่ได้และประมาณการศักยภาพขององค์การและกระบวนการต่าง ๆ ในองค์การในระยะยาว
2. Analyze เป็นการวิเคราะห์ว่าปัญหาต่าง ๆ เริ่มมาจากที่ใดเพื่อหาทางแก้ไขโดยการเปรียบเทียบศักยภาพขององค์การและคู่แข่งวิเคราะห์ช่องว่างของกระบวนการทำงานต่างๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การเพื่อระบุปัจจัยที่นำไปสู่ผลสำเร็จในกระบวนการปฏิบัติงานในบางกรณีจะพบว่าองค์การมีความจำเป็นต้องออกแบบผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการใหม่ ๆ เพื่อเป็นการลดช่องว่างและปรับปรุงสมรรถนะของกระบวนการให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
3. Improvement การแก้ไขกระบวนการ ในขั้นนี้ black belt จะเป็นผู้ระบุลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ต้องปรับปรุงเพื่อให้บรรลุผลในการปฏิบัติงานและบรรลุวัตถุประสงค์ทางด้านการเงินการปรับปรุงที่ CTQจะช่วยในการปรับปรุงเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งกระบวนการ
4. Control การควบคุม ในขั้นนี้ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อช่วยให้ black belt กำหนดมาตรการต่าง ๆเพื่อเป็นตัวควบคุมตัวแปรที่สำคัญให้อยู่ในช่วงมาตรฐานใหม่ที่ระดับการทำงานที่ได้รับการปรับปรุงแล้วในขั้นตอนของการปรับปรุงจนมั่นใจว่าความสำเร็จต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลมาจากการปรับปรุงกระบวนการจริง ๆ (MiKel J. Harry, 1998:62). เมื่อได้มีการปรับปรุงกระบวนการทั้ง 4 ขั้นตอนที่กล่าวมา ประกอบด้วย การวัด (Measurement) การวิเคราะห์ (Analyze)
โครงสร้างและหน้าที่รับผิดชอบ ของ Six sigma ประกอบด้วย 1.Champion เป็นชื่อเรียกผู้ที่มีความรับผิดชอบสูงสุดต่อผลสำเร็จในงานหรือผู้บริหารระดับสูง(Executive-Level Management) สนับสนุนให้เป้ามายของงานสำคัญประสบความสำเร็จรณรงค์และผลักดันให้เกิดองค์การ six sigma และเกิดกระบวนการปรับปรุงองค์การอย่างต่อเนื่องขจัดอุปสรรค ให้รางวัลหรือค่าตอบแทนตอบปัญหา อนุมัติโครงการกำหนดวิสัยทัศน์โครงการสนับสนุนทรัพยากรในด้านบุคลากรงบประมาณเวลาสถานที่กำลังใจและความชัดเจนในหน้าที่ผลักดันให้มีจำนวน Black Belt และ Green Belt ที่เหมาะสมในองค์การมีหน้าที่ติดตามความก้าวหน้าของโครงการปรับปรุงให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างวัฒนธรรมในการปรับปรุงให้เกิดขึ้นในองค์การ
2. Six sigma Director มีหน้าที่นำและบริหารองค์การให้สำเร็จบรรลุแนวทาง six sigma ภายในหน่วยงานทางธุรกิจตนเองเป็นผู้กำหนดแนวทางในการปฏิบัติและนโยบายการดำเนินงานของsix sigmaสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่สำคัญในการกระจายนโยบายให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
3. Master Black Belt คือ ผู้ชำนาญการด้านเทคนิค และเครื่องมือสถิติเป็นผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการทำงานเป็นอย่างดีและสามารถถ่ายทอดและให้การอบรมเพื่อสร้างทีม Black Belt และGreen Belt ตลอดการปรับปรุงได้เป็นผู้ช่วยเลือกโครงการปรับปรุงให้แก่ Champion และเป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ในการคัดเลือกโครงการปรับปรุงโดยมองในภาพรวมใหญ่ขององค์การ ได้แก่ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและการเสนอโครงการปรับปรุงที่เชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานต่าง เป็นต้น
4. Black belt คือ ผู้บริหารโครงการ (Project Manager) และผู้ประสานงาน (Facilitator )ได้รับการรับรองว่าเป็นสายดำชั้นครู Black belt เป็นการบ่งบอกถึงระดับความสามารถสูงสุดของนักกีฬายูโด จะทำหน้าที่เป็นหัวหน้าโครงการ บริหารลูกทีมที่มีลักษณะข้ามสายงานซึ่งในการบริหาร six sigma จะประกอบไปด้วยการทำโครงการย่อยที่คัดเลือกจากปัญหาที่มีอยู่ในกระบวนการต่าง ๆ ขององค์การกระจายกลยุทธ์และนโยบายของบริษัทไปยังระดับปฏิบัติการผลักดันความคิดของ Champion ให้เกิดขึ้นและให้ความช่วยเหลือ Master Black Belt six sigma Director และ Champion นอกจากนี้ยังเป็นผู้ค้นหาปัญหาและอุปสรรคที่อยู่ในองค์การ
Black Belt ต้องได้รับการฝึกอบรมเพื่อให้มีความรู้ทีสำคัญในการปรับปรุงการทำงาน ซึ่งความรู้หลัก ๆ ของ Black Belt เพื่อการทำโครงการปรับปรุงที่จะได้รับประกอบด้วย1ความรู้ทางสถิติ2ความรู้ทางด้านการบริหารโครงการ3ความรู้ทางด้านการสื่อสารและการเป็นผู้นำโครงการ4ความรู้เพื่อการปรับปรุงคุณภาพอื่น ๆ
5. Green belt คือพนักงานที่ทำหน้าที่โครงการเป็นผู้ที่รับการรับรองว่ามีความสามารถเทียบเท่านักกีฬายูโดในระดับสายเขียวซึ่งในการบริหาร six sigma นั้นผู้ที่ทำหน้าที่เป็น Green belt จะเป็นผู้ช่วยของ Black belt ในการทำงานทำหน้าที่ในการปรับปรุงโดยใช้เวลาส่วนหนึ่งของการทำงานปกตินำวิธีการปรับปรุงตามแนวทาง six sigma ไปใช้ในโครงการได้สามารถนำเอาแนวความคิดและวิธีการปรับปรุงไปขยายผลต่อในหน่วยงานของตนเองได้
6. Team Member ในโครงการทุกโครงการจะต้องมีสมาชิกทำงาน 4-6 คนโดยเป็นตัวแทนของคนที่ทำงานในกระบวนการที่อยู่ในขอบข่ายของโครงการ
การนำขั้นตอนของ Six sigma ไปใช้ มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ1. เพื่อใช้ในการปรับปรุงกระบวนการ (Process Improvement) ซึ่งจะเป็นการมองหาว่าอะไรคือตัวแปรสำคัญในการปรับปรุง 2.ใช้ในการออกแบบ ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งผลิตภัณฑ์ บริการใหม่ (Product Design/Redesign) หรือออกแบบกระบวนการใหม่ (Process Design/Redesign) ซึ่งเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการเพื่อให้ได้ผลออกมาดีที่สุด