270 likes | 347 Views
ขนาดภาพ (Size of Shot). ขนาดภาพ ( Size of Shot ). ในการสร้างภาพยนตร์ได้แบ่งกลุ่มของขนาดภาพออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ กลุ่มภาพขนาดไกล กลุ่มภาพขนาดปานกลาง กลุ่มภาพขนาดใกล้. กลุ่มภาพขนาดไกล.
E N D
ขนาดภาพ (Size of Shot) ในการสร้างภาพยนตร์ได้แบ่งกลุ่มของขนาดภาพออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้ • กลุ่มภาพขนาดไกล • กลุ่มภาพขนาดปานกลาง • กลุ่มภาพขนาดใกล้
กลุ่มภาพขนาดไกล • ภาพขนาดไกลมากExtreme Long Shot (ELS) เป็นภาพขนาดกว้างสุด ไกลสุด มักใช้ร่วมกับเลนส์ไวด์เพื่อนำเสนอบรรยากาศของสภานที่ ให้เห็นองค์ประกอบทั้งหมดในฉากนั้น มักใช้เป็น Shot เริ่มต้นของในฉากหรือเริ่มต้นเรื่อง บางครั้งเรียกว่า Establishing Shot เป็นการสื่อความหมายที่แสดงถึงความโอ่อ่า มโหฬาร
กลุ่มภาพขนาดไกล • ภาพขนาดไกล Long Shot (LS) ระยะห่างระหว่างกล้องกับผู้แสดงจะใกล้กว่าภาพขนาดไกลมาก แต่ยังมีมุมมองครอบคลุมบริเวณกว้างอยู่ เห็นผู้แสดงได้เต็มตัวรวมั้งบรรยากาศโดยรอบ มักใช้ในการเริ่มต้นฉาก หรือแนะนำตัวผู้แสดง
กลุ่มภาพขนาดไกล • ภาพขนาดเต็มตัว Full Shot (FS) แสดงให้ภาพของผู้แสดงในขนาดเต็มตัว พอดีกับเฟรม ขอบภาพด้านบนชิดกับศรีษะขอบภาพด้านล่างชิดกับเท้า สามารถเห็นการเคลื่อนไหวกริยาท่าทางของผู้แสดงได้อย่างชัดเจน
กลุ่มภาพขนาดกลาง • ภาพขนาดหัวเข่า Knee Shot (KS) เป็นภาพกว้างสุดในกลุ่มภาพขนาดกลาง ขนาดภาพอยู่ที่ประมาณหัวเข่าของผู้แสดง สามารถบอกรายละเอียดของผู้แสดงได้มากขึ้น บางครั้งใช้เชื่อมระหว่างภาพขนาดไกล และภาพขนาดใกล้ แต่จะให้รายละเอียดของฉากหลังน้อยลงตามลำดับ
กลุ่มภาพขนาดกลาง • ภาพขนาดเอว (Waist Shot) เป็นภาพขนาดตั้งแต่เอวขึ้นไป เห็นรายละเอียดของผู้แสดงมากขึ้น มักเป็นใช้เป็นภาพที่มีการสนทนา หรือ Two Shot หรือ Three Shot
กลุ่มภาพขนาดกลาง • ภาพขนาดอก Bust Shot หรือ Medium Shot (MS) เป็นขนาดภาพที่เห็นบ่อยที่สุดเพราะเป็นภาพขนาดกลางที่สามารถเสนอสีหน้า อากัปกริยา การเคลื่อนไหวของผู้แสดงได้ดี และใช้เป็นภาพเชื่อมต่อระหว่างภาพ LS กับ CU
กลุ่มภาพขนาดใกล้ • ภาพขนาดใกล้ Close Up (CU) ถือเอาภาพตั้งแต่ไหล่ขึ้นไป เป็นภาพขนาดใกล้ที่เห็นรายละเอียดต่างๆ ของผู้แสดงได้ชัดเจน มักใช้ในฉากที่ต้องการแสดงให้เห็นอารมณ์ทางสีหน้าของผู้แสดง แต่ไม่นิยมใช้ในช็อตที่ผู้แสดงมีการเคลื่อนไหวเพราะมีโอกาสหลุดเฟรมได้ง่าย
กลุ่มภาพขนาดใกล้ • ภาพระยะใกล้มาก Big Close Up (BCU) เป็นภาพระยะใกล้กว่า CU ให้รายละเอียดกว่า มีขนาดภาพประมาณปลายคางถึงบนสุดศรีษะ • ภาพระยะใกล้สุด Extreme Close Up (ECU) เป็นภาพระยะใกล้สุด แสดงรายละเอียดเฉพาะจุดของผู้แสดงหรือ Subject เช่น ดวงตา ปาก หรือจมูกเท่านั้น
มุมมอง (Camera Angle) • มุมกล้องระดับสายตานก (bird’s eye view) เป็นการตั้งกล้องในตำแหน่งเหนือศรีษะโดยตรงของสิ่งที่ถ่าย ภาพที่ถูกบันทึกจะมีมุมมองเดียวกับนกที่มองดิ่งลงมายังพื้นดิน เมื่อผู้ชมเห็นภาพแบบนี้จะมีความรู้สึกเหมือนตัวเองกำลังจ้องดูเหตุการณ์อยู่เหนือสิ่งเหล่านั้น บางครั้งให้ความรู้สึกสิ้นหวัง หรือช่วยเหลือตนเองไม่ได้
มุมกล้องระดับสูง(High angle) ตำแหน่งของกล้องจะอยู่ในระดับที่สูงกว่าสิ่งที่ถ่าย เวลาบันทึกภาพต้องกดกล้องลงมา มุมนี้ทำให้สามารถเห็นเหตุการณ์ทั่วถึงทั้งด้านหน้า และด้านหลัง เหมาะสำหรับฉากที่ต้องการให้เห็นความงามของทัศนียภาพ จึงนิยมใช้คู่กับภาพ LS แต่ในมุมนี้บางครั้งยังให้ความรู้สึกว่าสิ่งที่ถ่ายดูเล็กลง ดูต่ำต้อย ไร้ค่า ไร้ความหมาย หรือสิ้นหวัง หรือพ่ายแพ้ด้วย
มุมกล้องระดับสายตา (eye level) เป็นการตั้งกล้องในระดับเดียวกับสายตาของผู้แสดง เป็นระดับกล้องที่มักใช้บ่อยที่สุด การนำเสนอในมุมมองนี้ทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกเหมือนดูเหตุการณ์ต่างๆ ด้วยตนเอง มีความเสมอภาค เป็นกันเองกว่ามุมกล้องในระดับอื่น
มุมกล้องระดับต่ำ(low angle) กล้องจะตั้งอยู่ในระดับต่ำกว่าสิ่งที่ถ่าย เวลาบันทึกต้องเงยกล้องขึ้น ภาพในมุมนี้จะให้อิทธิพลความรู้สึกของผู้ชมว่าสิ่งที่ถ่ายนั้นมีอำนาจ มีพลัง ยิ่งใหญ่น่าเกรงขาม หรือแสดงถึงความสง่างาม มีชัยชนะ จึงนิยมใช้กับภาพโบสถ์วิหาร ตึกสูง การเคลื่อนพลของกองทัพ นักรบที่สูงใหญ่กำยำ
การเคลื่อนไหวกล้อง • การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการทำงานของกล้องฯ การเคลื่อนไหวในแนวนอน การเคลื่อนไหวในแนวตั้ง • การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการทำงานของเลนส์
การเคลื่อนไหวในแนวนอนการเคลื่อนไหวในแนวนอน • การแพน (Pan) เป็นการเคลื่อนกล้องในแนวนอน โดยตั้งกล้องอยู่บนขาตั้ง หรือมือถือ การแพนอาจเป็นการแพนกล้องจากขวาไปซ้าย หรือซ้ายไปขวา การแพนมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเนื้อหาของภาพนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง หรือต้องการเสนอ Subject ที่มีความกว้างยาวเกินกว่าในกรอบภาพหนึ่ง
การเคลื่อนไหวในแนวนอนการเคลื่อนไหวในแนวนอน • แพนแบบสำรวจ (surveying pan) เป็นกวาดกล้องแทนสายตาของผู้ชม หรือผู้แสดงเพื่อสำรวจหรือมองหาอะไรสักอย่าง มักพักบ่อยในภาพยนตร์สารคดี ตื่นเต้น สยองขวัญ ฯลฯ • แพนตาม (following pan) เป็นการแพนตาม subject หรือผู้แสดงที่มีการเคลื่อนไหวไปมา การแพนในลักษณะนี้ต้องระมัดระวังเรื่องการจัดองค์ประกอบภาพด้วย โดยเฉพาะช่องว่างทางด้านหน้าของ subject ที่เรียกว่า look space หรือ nose space
การเคลื่อนไหวในแนวนอนการเคลื่อนไหวในแนวนอน • แพนแบบหยุดเป็นระยะ (interrupt pan) เป็นการกวาดกล้องแล้วหยุดที่จุดใดจุดหนึ่งก่อนสักระยะแล้วแพนต่อ เช่นการกวาดกล้องแทนสายตาที่กำลังมองไปรอบๆ แล้วหยุดเมื่อเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งสะดุดตา จากนั้นจึงกวาดกล้องต่อ จากจุด 1 ไปจุด 2 ไปจุด 3 เป็นต้น • swish pan หรือ whip pan เป็นการกวาดกล้องในแนวนอนในจังหวะที่เร็วมากๆ เพื่อให้ภาพพร่ามัวไม่ชัดเจน เหมาะสำหรับใช้เป็นตัวเชื่อมระหว่างช็อต มักใช้ในเวลาเมื่อต้องการสื่อถึงการเปลี่ยนแปลงของเวลาหรือเหตุการณ์อย่างรวดเร็ว
การเคลื่อนไหวในแนวนอนการเคลื่อนไหวในแนวนอน • การดอลลี่ (dolly) การที่กล้องตั้งอยู่บนพาหนะที่มีพาหนะที่เลื่อนไปมาได้บนพื้น หรือบนราง ทำให้สามารถเคลื่อนที่ติดตามเหตุการณ์ต่างๆ ถ้าเป็นการเคลื่อนกล้องเข้าหาสิ่งที่ถ่ายก็เรียกว่า dolly in แต่ถ้าเคลื่อนออกก็เรียกว่า dolly out
การเคลื่อนไหวในแนวนอนการเคลื่อนไหวในแนวนอน • การแทรกค์ (tracking,trucking) เป็นการเคลื่อนกล้องในแนวขนานกับสิ่งที่ถ่าย คล้ายๆ กับการดอลลี่แต่ในทิศทางที่ต่างกัน มักใช้ติดตามนักแสดงที่กำลังเดินหรือวิ่ง โดยที่ขนาดภาพจะคงที่แต่ background จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ • การอาร์ค (arc) เป็นการเคลื่อนกล้องในแนวรัศมีโค้งครึ่งวงกลม โดยมีนักแสดงหรือ subject เป็นจุดศูนย์กลาง เป็นการเสนอภาพเพื่อแสดงมิติของของ subject หากใช้อย่างเหมาะสมก็ทำให้ภาพดูน่าสนใจได้มาก
การเคลื่อนไหวกล้องในแนวดิ่งการเคลื่อนไหวกล้องในแนวดิ่ง • การทิลต์ (tilt) เป็นการเคลื่อนกล้องในแนวดิ่งหรือแนวตั้ง ถ้าเงยกล้องขึ้นก็เรียกว่า ทิลต์อัป (tilt up) ถ้ากดกล้องลงก็เรียกกว่า ทิลต์ดาวน์ (tilt down) ในการถ่ายทำนิยมใช้การทิลต์เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของนักแสดง เช่น ขึ้นลงบันได การก้มเงยของนักแสดงหรือสิ่งก่อสร้างที่มีความสูง เช่น ตึกสูง เจดีย์ โบสถ์ ฯลฯ
การเคลื่อนไหวกล้องในแนวดิ่งการเคลื่อนไหวกล้องในแนวดิ่ง • พีเดสตอล (pedestal) เป็นการเคลื่อนกล้องขึ้นลงในแนวดิ่ง โดยปกติจะวางกล้องบนขาตั้งกล้องที่สามารถปรับระดับความสูงได้ เช่น เมื่อต้องการถ่ายภาพในระดับสายตาเด็ก กล้องก็จะทำการ ped down ลงมาที่ใบหน้าเด็ก ต่อมาเมื่อต้องการถ่ายภาพระดับสายตาผู้ใหญ่ที่กำลังยืน กล้องก็จะ ped up ให้อยู่ในระดับเดียวกับสายตาผู้ใหญ่
การเคลื่อนไหวกล้องในแนวดิ่งการเคลื่อนไหวกล้องในแนวดิ่ง • เครน(Crane) เป็นการเคลื่อนไหวกล้องโดยให้กล้องติดอยู่ที่ปลายแขนด้านหนึ่งของอุปกรณ์ที่เรียกว่าเครน เครนจะมีอยู่หลายแบบ หลายขนาด ถ้าเป็นขนาดใหญ่ ผู้กำกับ ช่างภาพ ผู้อำนวยการผลิต สามารถขึ้นไปนั่งทำงานพร้อมกันได้เลย การเคลื่อนไหวของแขนเครนนั้นสามารถทำได้อย่างอิสระ ทั้งขึ้น ลง ซ้าย ขวา ฯลฯ ในสตูดิโอขนาดใหญ่มักจะมีการใช้เครนด้วยเสมอ
การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการทำงานของเลนส์การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการทำงานของเลนส์ • Zoom in,Zoom out เลนส์ซูมสามารถเปลี่ยนขนาดภาพได้โดยไม่ต้องเคลื่อนไหวกล้อง หรือเปลี่ยนตำแหน่งการตั้งกล้อง ถ้าเป็นการเปลี่ยนจากภาพมุมกว้างมาเป็นมุมแคบก็เรียกว่า Zoon in แต่ถ้าเปลี่ยนจากมุมแคบมาเป็นมุมกว้างก็เรียกว่า Zoom out ผลที่เกิดกับผู้ชมคือ ผู้ชมจะมีความรู้สึกว่าสิ่งที่ถ่ายถูกดึงเข้าใกล้หรือถอยห่างออกไป
การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการทำงานของเลนส์การเคลื่อนไหวที่เกิดจากการทำงานของเลนส์ • การShift focus คือการเปลี่ยนจุดโฟกัสของภาพ เช่น ในฉากที่มีนักแสดงสองคนสนทนากัน คนหนึ่งอยู่บริฉากหน้าของภาพ อีกคนอยู่บริเวณฉากหลัง เมื่อคนที่หนึ่งพูดกล้องก็ปรับโฟกัสมาที่คนแรก เมื่อคนที่สองพูดกล้องก็ปรับโฟกัสมาที่คนที่สองแทน เป็นต้น
กล้องวิดีโอและกล้องภาพยนตร์กล้องวิดีโอและกล้องภาพยนตร์ VDO CAMERA CINEMA CAMERA
ประเภทของกล้องวิดีโอ • กล้องระดับมือสมัครเล่น (Handy Cam,Home User) • กล้องระดับมืออาชีพ (Professional VDO Camera)