810 likes | 3.25k Views
การศึกษาพฤติกรรมองค์การ ( Studying Organizational Behavior ). ขอบเขตและความหมายของพฤติกรรมองค์การ ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาพฤติกรรมองค์การ พฤติกรรมองค์การจำเป็นต้องศึกษาอย่างมีระบบ การศึกษาพฤติกรรมองค์การจากภารกิจของผู้จัดการ / ผู้บริหาร แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมองค์การ
E N D
การศึกษาพฤติกรรมองค์การ (Studying Organizational Behavior) ขอบเขตและความหมายของพฤติกรรมองค์การ ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาพฤติกรรมองค์การ พฤติกรรมองค์การจำเป็นต้องศึกษาอย่างมีระบบ การศึกษาพฤติกรรมองค์การจากภารกิจของผู้จัดการ/ผู้บริหาร แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมองค์การ วัฒนธรรมองค์การ
ขอบเขตและความหมายของพฤติกรรมองค์การขอบเขตและความหมายของพฤติกรรมองค์การ นิยามที่ 1 • พฤติกรรมองค์การ (Organization Behavior หรือเรียกย่อว่าOB) “เป็นสาขาวิชาที่มีทฤษฎีวิธีการและหลักการซึ่งได้มาจากศาสตร์หลาย แขนงวิชาด้วยกันเพื่อใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้ของบุคคลรวมทั้ง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่มตลอดจนพฤติกรรมที่ เป็นภาพรวมระดับองค์การมีการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสภาพ แวดล้อมภายนอกต่อองค์การโดยเฉพาะส่งผลต่อทรัพยากรมนุษย์ ภารกิจ วัตถุประสงค์และกลยุทธ์ขององค์การ” (Gibson et.al., 1997)
ขอบเขตและความหมายของพฤติกรรมองค์การขอบเขตและความหมายของพฤติกรรมองค์การ ประเด็นสำคัญ • เป็นพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในองค์การแบ่งเป็น 3 ระดับคือ 1.1 พฤติกรรมมนุษย์ในระดับบุคคล 1.2 พฤติกรรมมนุษย์ในระดับกลุ่ม 1.3 พฤติกรรมมนุษย์ในระดับองค์การ • เป็นการผสมของศาสตร์แขนงต่าง ๆ • มุ่งเน้นการศึกษาเกี่ยวกับการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์ในองค์การ • เน้นการปฏิบัติเป็นสำคัญ (Performance oriented) • ให้การยอมรับว่าสิ่งแวดล้อมภายนอกมีผลกระทบอย่างมากต่อองค์การ • มีแนวคิด หลักการและแนวทางปฏิบัติที่เป็นผลจากการวิจัย • มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้ (Applications orientation)
ขอบเขตและความหมายของพฤติกรรมองค์การขอบเขตและความหมายของพฤติกรรมองค์การ นิยามที่ 2 • “พฤติกรรมองค์การ (OB) เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่พยายามศึกษาค้นหา ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากบุคคล กลุ่มบุคคลและโครงสร้างที่มีต่อ พฤติกรรมภายในองค์การทั้งนี้เพื่อนำความรู้ที่ได้ดังกล่าวมาปรับปรุง การดำเนินงานขององค์การให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น” (Robbins, 1998)
ขอบเขตและความหมายของพฤติกรรมองค์การขอบเขตและความหมายของพฤติกรรมองค์การ ประเด็นสำคัญ 1)พฤติกรรมองค์การเป็นสาขาวิชาหนึ่งซึ่งบ่งชี้ถึงความเชี่ยวชาญที่ มีองค์ความรู้ร่วมกัน 2)ศึกษาค้นคว้าเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมในองค์การแบ่งออกได้ 3 ระดับ คือ ระดับบุคคล ระดับกลุ่มและระดับโครงสร้าง 3)ความรู้ที่ได้จากการศึกษาพฤติกรรมองค์การทั้ง 3 ระดับดังกล่าวนำมา เพื่อใช้ในการทำให้การดำเนินงานขององค์การมีประสิทธิผล ยิ่งขึ้น
ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาพฤติกรรมองค์การศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาพฤติกรรมองค์การ • วิชาจิตวิทยา (Psychology) • วิชาสังคมวิทยา (Sociology) • วิชาจิตวิทยาสังคม (Social psychology) • วิชามานุษยวิทยา (Anthropology) • วิชารัฐศาสตร์ (Political science)
พฤติกรรมองค์การจำเป็นต้องศึกษาอย่างมีระบบพฤติกรรมองค์การจำเป็นต้องศึกษาอย่างมีระบบ • ให้ความสำคัญต่อข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง • พฤติกรรมมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยบังเอิญแต่เกิดขึ้นเพื่อมุ่งไปสู่ เป้าหมายที่คนนั้นเชื่อ • ช่วยให้คาดหมายพฤติกรรมของผู้นั้นได้ • ความแตกต่างระหว่างบุคคลทำให้ตีความสถานการณ์เดียวกัน ออกมาไม่เหมือนกัน • การศึกษาพฤติกรรมอย่างมีระบบคือการหาความสัมพันธ์เชิง เหตุผลเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่มีพื้นฐานรองรับด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
การศึกษาพฤติกรรมองค์การจากภารกิจของผู้บริหารการศึกษาพฤติกรรมองค์การจากภารกิจของผู้บริหาร 1. แนวคิดของฟาโย (Henri Fayol) ที่มองภารกิจของผู้บริหาร โดยอิงกับงานที่เป็นหน้าที่ทางบริหาร (Management functions) 2. แนวคิดของมินซ์เบอร์ก (Henry Mintzberg)ที่มองภารกิจของผู้บริหาร จากบทบาทด้านบริหาร (Managerial roles) 3. แนวคิดของเคทซ์( Robert Katz)มองภารกิจของผู้บริหารตามทักษะ ด้านบริหาร (Managerial skills) 4. แนวคิดของลูเธนส์ ( Fred Luthans)มาจากงานวิจัยเพื่อหาว่าผู้บริหาร ที่มีประสิทธิผลและผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จปฏิบัติภารกิจหรือกิจกรรม อะไรบ้าง
สรุปแนวคิดพฤติกรรมองค์การจากภารกิจของผู้บริหารสรุปแนวคิดพฤติกรรมองค์การจากภารกิจของผู้บริหาร หน้าที่ด้านการวางแผน หน้าที่ด้านการจัดองค์การ หน้าที่ด้านการนำ ฟาโย หน้าที่ด้านการควบคุม บทบาทด้านความสัมพันธ์ระหว่างคน มินซ์เบอร์ก บทบาทด้านสารสนเทศ ภารกิจของ ผู้จัดการ/ผู้บริหาร บทบาทด้านการตัดสินใจ ทักษะด้านงานเทคนิค เคทซ์ ทักษะด้านมนุษย์ ทักษะด้านมโนทัศน์ กิจกรรมบริหารงานตามหน้าที่เดิม ลูเธนส์ กิจกรรมด้านการสื่อสาร กิจกรรมบริหารทรัพยากรมนุษย์ กิจกรรมด้านการสร้างเครือข่าย
แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมองค์การแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมองค์การ 1.การเกิดชุมชนหรือหมู่บ้านโลก (The creation of a global village) 2.จากองค์การที่มีพนักงานแบบเดียวกันไปเป็นพนักงานที่หลากหลาย มากขึ้น (From “everyone’s the same” to workforce diversity) 3.มีการมุ่งเน้นการปรับปรุงด้านคุณภาพและด้านเพิ่มผลิตผล (Toward improving quality and productivity) 4.มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะด้านมนุษย์ (Improving people skills)
แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมองค์การแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมองค์การ 5.เปลี่ยนจากการบริหารที่เน้นการควบคุมไปเป็นการมอบหมายอำนาจ การตัดสินใจ(From management control to empowerment) 6.เปลี่ยนแนวคิดจากเคยเน้นเรื่องความมั่นคงไปเป็นมีความสามารถยืดหยุ่น ได้มากขึ้น(From stability to flexibility) 7.มุ่งเน้นการปรับปรุงพฤติกรรมด้านจริยธรรมมากขึ้น (Improving ethical behavior)
วัฒนธรรมองค์การ (Organization Culture) นิยาม • เจ.ซี. สเป็นเดอร์ (J.C. Spender) “เป็นระบบความเชื่อที่สมาชิกขององค์การยืดถือร่วมกัน” • ซี.โอ.ไรลลี (C.O. Reilly) “คือค่านิยมหลัก (core value) ที่คนยึดถือร่วมกันอย่าง มั่นคงและแพร่หลายทั่วไป” • เจ.เอ็ม.คูซส์, ดี.เอฟ.คอลเวลและบี.ซี. พอสเนอร์ (J.M. Kouzes, D.F. Caldwell & B.L. Posner) “กลุ่มของความเชื่อที่ถาวร ซึ่งมีการสื่อความหมายในรูปของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ก่อให้เกิดเป็นความหมายที่คนในองค์การสามารถเข้าใจได้ตรงกัน” • ดับ-บลิว.จี.อูชิ (W.G. Ouchi) “หมายถึงสัญลักษณ์ พิธีกรรม ขนบธรรมเนียมต่าง ๆ ซึ่งแฝงด้วยค่านิยมและความเชื่อขององค์การ เพื่อถ่ายทอดให้แก่พนักงาน”
วัฒนธรรมองค์การ (Organization Culture) ลักษณะร่วมกันของแต่ละนิยาม 1.บ่งชี้ถึงกลุ่มของค่านิยม (set of values)ยึดถือร่วมกันใช้เป็นเกณฑ์เพื่อ ตัดสินพฤติกรรม 2.ค่านิยมององค์การส่วนใหญ่อยู่ในลักษณะที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่เกิดมาจากข้อสมมุติพื้นฐาน (basic assumption)เป็นเรื่องของความ เชื่อและค่านิยมส่วนบุคคลแล้วสะท้อนออกมาในลักษณะร่วมกัน 3.ลักษณะที่ทุกนิยามค่านิยมมีเหมือนกัน คือ การใช้สัญลักษณ์ เป็นสื่อบ่งบอก ความหมายของค่านิยม คำขวัญหรือ Slogan ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สะท้อนค่านิยม หรือความเชื่อ
วัฒนธรรมองค์การ (Organization Culture) องค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์กร 1. แบบแผนพฤติกรรม( Behavioral Pattern)หมายถึง“พฤติกรรมของคนจำนวนหนึ่ง หรือส่วนใหญ่ในองค์การที่ประพฤติปฏิบัติในลักษณะ เดียวกันอย่างสม่ำเสมอตลอด ระยะหนึ่ง” 2. บรรทัดฐาน( Norms)หมายถึง “มาตรฐานของพฤติกรรมที่คนจำนวนหนึ่งหรือส่วนใหญ่ คาดหวังหรือสนับสนุนให้สมาชิกของกลุ่มปฏิบัติตาม” 3. ความเชื่อ ( Belief)หมายถึง“ข้อสรุปของสมาชิกองค์การจำนวนหนึ่งหรือส่วนใหญ่ต่อ พฤติกรรมหรือเหตุการณ์ต่างๆว่าเป็นความจริงหรือไม่เป็นความจริง” 4. ค่านิยม (Value)หมายถึง“ความคิดเห็นของสมาชิกองค์การจำนวนหนึ่งหรือส่วนใหญ่ต่อ พฤติกรรมหรือเหตุการณ์ต่างๆว่าควรหรือไม่ควร”
วัฒนธรรมองค์การ (Organization Culture) 5. อุดมการณ์ ( Ideology)หมายถึง “ความเชื่อ ค่านิยม และบรรทัดฐานที่คนจำนวน หนึ่งหรือคนส่วนใหญ่ในองค์การมีอยู่ร่วมกันและเป็นพื้นฐานช่วยในการทำความ เข้าใจสิ่งต่างๆรอบตัวแก่พวกเขา” 6. ความเข้าใจ (Understanding)หมายถึง “การที่สมาชิกองค์การจำนวนหนึ่งหรือ ส่วนใหญ่มีความเข้าใจร่วมกันในความหมายของพฤติกรรมหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ในองค์การ” 7. ข้อสมมติฐาน (Assumption)หมายถึง“สิ่งที่คนจำนวนหนึ่งหรือส่วนใหญ่ใน องค์การเรียนรู้จากการทำงานร่วมกันมาเป็นระยะเวลานานจนพัฒนากลายเป็น สิ่งที่คนกลุ่มนั้นยอมรับร่วมกันแล้วว่าถูกต้องและถูกนำไปใช้เป็นวิธีคิดวิธีปฏิบัติ จนกลายเป็นเรื่องปกติวิสัยและมักลืมเลือนออกไปจากความคิดของคนกลุ่มนั้น”
ประเภทของวัฒนธรรมองค์การ (Type of corporate cultures) วัฒนธรรมแบบปรับตัว (Adaptability Culture) • เกิดขึ้นจากการที่ผู้นำเชิงกลยุทธ์ (strategic leader) • เพิ่มขีดความสามารถในการตีความหรือคาดการณ์ภาวะแวดล้อมภายนอกเพื่อให้เกิดพฤติกรรมในองค์การที่สามารถตอบสนองได้ตลอดเวลา • พนักงานขององค์การจึงได้รับความอิสระในการตัดสินใจเองและพร้อมลงมือปฏิบัติได้ทันที • ผู้นำมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับองค์การ
ประเภทของวัฒนธรรมองค์การ (Type of corporate cultures) วัฒนธรรมแบบมุ่งผลสำเร็จ (Achievement Culture) • มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนของเป้าหมายองค์การ • ผู้นำมุ่งผลสำเร็จตามเป้าหมาย เช่น ตัวเลขยอดขายเพิ่มขึ้น หรือมีส่วนแบ่งของตลาด (market share) สูงขึ้น ผลประกอบการมีกำไร • มุ่งให้บริการลูกค้าพิเศษเฉพาะกลุ่มในภาวะแวดล้อมภายนอก แต่ไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องมีความยืดหยุ่นและต้องเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว • เน้นค่านิยมแบบแข่งขันเชิงรุก ความสามารถริเริ่มของบุคคล และพึงพอใจต่อการทำงานหนักในระยะยาวจนกว่าจะบรรลุผลตามเป้าหมาย
ประเภทของวัฒนธรรมองค์การ (Type of corporate cultures) วัฒนธรรมแบบเครือญาติ (Clan Culture) • ให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของพนักงานภายในองค์การ • พัฒนาตนเองให้พร้อมที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วจากภายนอก • เน้นความต้องการของพนักงานมากกว่าวัฒนธรรมแบบอื่น • ผู้นำมุ่งเน้นเรื่อง ความร่วมมือ การให้ความเอาใจใส่เอื้ออาทร ทั้งพนักงานและลูกค้า • หลีกเลี่ยงมิให้เกิดความรู้สึกแตกต่างกันทางสถานะภาพ • หลีกเลี่ยงมิให้เกิดความรู้สึกแตกต่างกันทางสถานะภาพ
ประเภทของวัฒนธรรมองค์การ (Type of corporate cultures) วัฒนธรรมแบบราชการ (Bureaucratic Culture) • ความสำคัญต่อภาวะแวดล้อมภายใน ความคงเส้นคงวาในการดำเนินการเพื่อให้เกิดความมั่นคง • มุ่งเน้นด้านวิธีการ ความเป็นเหตุผล ความมีระเบียบของการทำงาน • เรื่องให้ยึดและปฏิบัติตามกฎระเบียบ ยึดหลักการประหยัด • ความสำเร็จขององค์การเกิดจากความสามารถในการบูรณาการและความมีประสิทธิภาพ • ผู้นำส่วนใหญ่จึงพยายามหลีกเลี่ยงวัฒนธรรมแบบราชการ เนื่องจากต้องการมีความยืดหยุ่นคล่องตัวมากขึ้น