2.19k likes | 3.52k Views
การคุ้มครองสิทธิ คน พิการ และ สวัสดิการ เบี้ยความพิการ. โดย สุพล บริสุทธิ์. สำนักงานส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. ขอบเขตการนำเสนอ. - ความรู้เกี่ยวกับคนพิการใหม่ - ความก้าวหน้าในงานพัฒนาคุณภาพ ชีวิตคนพิการ - สิทธิขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการ - บัตรประจำตัวคนพิการใหม่
E N D
การคุ้มครองสิทธิคนพิการการคุ้มครองสิทธิคนพิการ และ สวัสดิการเบี้ยความพิการ โดย สุพลบริสุทธิ์ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
ขอบเขตการนำเสนอ - ความรู้เกี่ยวกับคนพิการใหม่ - ความก้าวหน้าในงานพัฒนาคุณภาพ ชีวิตคนพิการ - สิทธิขั้นพื้นฐานสำหรับคนพิการ - บัตรประจำตัวคนพิการใหม่ - การจ่ายเบี้ยความพิการ - บทบาทหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สิทธิคนพิการตามกฎหมายสิทธิคนพิการตามกฎหมาย • สิทธิตามรัฐธรรมนูญ • สิทธิตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ • สิทธิตามกฎหมายกฎ ระเบียบอื่น • สิทธิทางภาษีอากร
สิทธิตามรัฐธรรมนูญ • ม.4: คุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเสมอภาคของบุคคล • ม.30: ห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุแห่งความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ • ม.49: สิทธิในการได้รับการศึกษา และการสนับสนุนจากรัฐ • ม.54: สิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวก และความช่วยเหลือจากรัฐ • ม.80(1): การสงเคราะห์ และจัดสวัสดิการแก่คนพิการ
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ CRPD • ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคี เมื่อวันที่ 29 ก.ค.2551 • รัฐธรรมนูญ ม.82 รัฐต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี
หลักการสำคัญของCRPD • ศักดิ์ศรีมีมาแต่กำเนิด มีอิสระและตัดสินใจด้วยตัวเอง • ไม่ถูกเลือกปฏิบัติ • การเข้าถึงและมีส่วนร่วม • ความเสมอภาคของโอกาส ได้รับโอกาส • ไม่ถูกนำไปหาประโยชน์ ล่อลวง หรือล่วงละเมิด
แนวคิดในการทำงานของรัฐตาม CRPD เปลี่ยนหลักการทำงานของรัฐต่อคนพิการ สิทธิและเสรีภาพ (คุ้มครองสิทธิ) เมตตาธรรม/เวทนานิยม(สงเคราะห์)
สาระสำคัญของกฎหมาย ยกเลิก พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพ คนพิการ พ.ศ.2534 พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550
พ.ร.บ. ปี 2534 หมายถึง บุคคลที่มีความผิดปกติหรือบกพร่องทางร่างกาย ทางสติปัญญา หรือทางจิตใจ นิยาม “คนพิการ” มุมมอง “ความพิการ” เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล
พ.ร.บ.ปี2550 หมายถึง บุคคลที่มีข้อจำกัด สาเหตุจาก ความบกพร่องของบุคคล และมีอุปสรรคด้านต่างๆ/จำเป็นพิเศษ นิยาม “คนพิการใหม่” พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 มาตรา 4
มิใช่เป็นเรื่องปัจเจกบุคคลอย่างเดียวมิใช่เป็นเรื่องปัจเจกบุคคลอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของสภาพแวดที่เป็นอุปสรรคด้วย มุมมอง “ความพิการ” ใหม่”
ปี 2534 เน้นการแก้ไขความบกพร่องของบุคคลที่มีความพิการเป็นหลัก ปี 2550 เน้นการส่งเสริมและพัฒนาทั้งในเรื่องการแก้ไขความบกพร่องและการกำหนดนโยบายสาธารณะ มุมมอง “การพัฒนา”
ประกาศกระทรวง พม. ความพิการ 6ประเภท (เดิม 5 ประเภท) 1. ทางการเห็น 2. ทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย 3. ทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย 4. ทางจิตใจหรือพฤติกรรม หรือออทิสติก 5. ทางสติปัญญา 6. ทางการเรียนรู้ (Learning Disorder : LD)
ทางการเห็น 0 ม. 3/60 ม. 6/18 ม. ตาเห็นเลือนราง ตาปกติ ตาบอด ตาบอด= เมื่อใช้แว่นสายตาธรรมดาแล้ว อยู่ในระดับแย่กว่า ๓ ส่วน ๖๐ เมตร (๓/๖๐) หรือ ๒๐ ส่วน ๔๐๐ ฟุต(๒๐/๔๐๐) ลงมาจนกระทั่งมองไม่เห็นแม้แต่แสงสว่าง หรือมีลานสายตาแคบกว่า ๑๐ องศา ตาเห็นเลือนราง= เมื่อใช้แว่นสายตาธรรมดาแล้ว อยู่ในระดับตั้งแต่ ๓ ส่วน ๖๐ เมตร (๓/๖๐) หรือ ๒๐ ส่วน ๔๐๐ ฟุต(๒๐/๔๐๐) ไปจนถึงแย่กว่า ๖ ส่วน ๑๘ เมตร (๖/๑๘) หรือ ๒๐ ส่วน ๗๐ ฟุต (๒๐/๗๐) หรือมีลานสายตาแคบกว่า ๓๐ องศา ลานสายตาแคบกว่า 30 องศา ลานสายตาแคบกว่า 10 องศา
ข้อจำกัด/ปัญหาอุปสรรคข้อจำกัด/ปัญหาอุปสรรค • การอ่าน การเดินทาง การซื้อสินค้าหรือบริการ • ไม่เห็นสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ป้าย เครื่องหมายสาธารณะต่างๆ • ข้อเด่น การฟัง ความจำ การอ่านใช้อักษรเบรลล์ หรือภาษาเดซีในการอ่านทางคอมพิวเตอร์
ทางการได้ยินหรือสื่อความหมายทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย 0 เดซิเบล 40 เดซิเบล 90 เดซิเบล หูตึง หูหนวก หูปกติ • หูหนวก= ผู้ที่สูญเสียการได้ยินที่ความดังของเสียง 90 เดซิเบลขึ้นไป • หูตึง= ผู้ที่สูญเสียการได้ยินที่ความดังของเสียงน้อยกว่า 90 เดซิเบลลงมาจนถึง 40 เดซิเบล • สื่อความหมาย= พูดไม่ได้ พูดไม่ชัด หรือพูดแล้วผู้อื่นไม่เข้าใจ ตรวจด้วยคลื่นความถี่ที่ 500 , 1,000 และ 2,000 เฮิรตซ์
ข้อจำกัด/อุปสรรค • การสื่อสารกับผู้อื่น • ต้องมีล่ามภาษามือ • ถูกละเลยจากบริการทางสังคม/เสียเปรียบ • ความเข้าใจของสังคม
ทางการเคลื่อนไหวหรือทางกายทางการเคลื่อนไหวหรือทางกาย • การเคลื่อนไหว=บกพร่อง/สูญเสียความสามารถของอวัยวะในการเคลื่อนไหว ได้แก่ มือ เท้า แขน ขา อาจมาจากสาเหตุอัมพาต แขน ขา อ่อนแรง แขน ขาขาด หรือเจ็บป่วยเรื้อรังจนกระทบต่อการทำงานของมือ เท้า แขน ขา • ทางกาย=บกพร่อง/มีความผิดปกติของศีรษะ ใบหน้า ลำตัว และภาพลักษณ์ภายนอกของร่างกายที่เห็นได้อย่างชัดเจน
ข้อจำกัด/ปัญหาอุปสรรคข้อจำกัด/ปัญหาอุปสรรค ความยากลำบากในการดูแลตนเอง/สุขภาพ/ขาดการฟื้นฟู ปัญหาผู้ดูแล อาชีพ รายได้ การศึกษาน้อย เข้าไม่ถึง การเคลื่อนที่ลำบาก ขาดสิ่งอำนวยความสะดวกและสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม
ทางจิตใจหรือพฤติกรรมหรือออทิสติกทางจิตใจหรือพฤติกรรมหรือออทิสติก จิตใจหรือพฤติกรรม= ความบกพร่องหรือความผิดปกติทางจิตใจ หรือสมองในส่วนของการรับรู้ อารมณ์ หรือความคิด
ทางจิตใจหรือพฤติกรรม หรือออทิสติก ออทิสติก= บกพร่องทางพัฒนาการ ด้านสังคม ภาษา/การสื่อความหมาย พฤติกรรมและอารมณ์ โดยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของสมอง แสดงออกก่อนอายุ 2 ปีครึ่ง รวมถึงการวินิจฉัยกลุ่มออทิสติกสเปกตรัมอื่นๆ เช่น Asperger ด้วย
ข้อจำกัด/อุปสรรค • ขาดการคัดกรองตั้งแต่เริ่มแรก 2. ขาดการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง 3. ครอบครัวไม่ยอมรับ ละเลย/เป็นภาระ 4. ขาดตัวเลขที่ชัดเจน 5. สวัสดิการได้รับยังไม่เพียงพอ เช่น การรักษาพยาบาล สิทธิได้ไม่เต็มที่ 6. สถานที่ให้บริการมีน้อย
ทางสติปัญญา สติปัญญา= มีพัฒนาการช้ากว่าปกติ หรือมีระดับเชาว์ปัญญาต่ำกว่าบุคคลทั่วไป /แสดงออกก่อนอายุ 18 ปี
ข้อจำกัด/อุปสรรค 1. ไม่ได้เรียนหนังสือ 2. ก่อตั้ง/ดำเนินการสมาคมเองไม่ได้ 3. เป็นภาระของครอบครัว
ทางการเรียนรู้ การเรียนรู้= มีความบกพร่องทางสมอง ทำให้เกิดความบกพร่องด้านการอ่าน เขียน คิดคำนวณ หรือการเรียนรู้พื้นฐานอื่นได้ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานตามช่วงอายุและระดับสติปัญญา
หลักการคุ้มครองสิทธิคนพิการหลักการคุ้มครองสิทธิคนพิการ • การเคารพศักดิ์ศรี ความแตกต่าง และการอยู่ได้ด้วยตนเอง • การเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิทธิ • ความเท่าเทียมกันของโอกาสและไม่เลือกปฏิบัติ - การมีส่วนร่วมในทางสังคมอย่างเต็มที่
ความก้าวหน้างานพัฒนาคนพิการ 1 การกำหนดสาระสำคัญแห่งสิทธิคนพิการ
ความก้าวหน้างานพัฒนาคนพิการ 2 • บัตรประจำตัวคนพิการ • เบี้ยความพิการ ต้องดำเนินการอย่างทั่วถึง
ความก้าวหน้างานพัฒนาคนพิการ 3 การจัดทำข้อเสนอแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดย อปท. เพื่อส่งเสริมให้คนพิการเข้าถึงสิทธิได้อย่างทั่วถึง
ข้อเสนอต่อ อปท. มติคณะกรรมการส่งเสริมฯ 18 พ.ย. 52 ให้ อปท.ทุกแห่ง • จัดสวัสดิการสังคมให้แก่คนพิการ • ส่งเสริมให้คนพิการได้รับการศึกษา • ส่งเสริมให้คนพิการได้ฝึกอาชีพ และมีงานทำ
ข้อเสนอต่อ อปท.(ต่อ) • สนับสนุนให้คนพิการมีส่วนร่วมทางสังคม • สนับสนุนให้คนพิการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ • จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่คนพิการและทุกคนเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้ • ขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ • พัฒนาระบบงานส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในระดับพื้นที่
ความก้าวหน้างานการศึกษา 4 การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ เพื่อส่งเสริมให้คนพิการเข้าถึงสิทธิทางการศึกษาได้อย่างทั่วถึง
สิทธิทางการศึกษา • การศึกษาฟรีขั้นพื้นฐาน ห้ามปฏิเสธ • - การกำหนดโควตาเรียนฟรี • ระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา • ทั้งภาครัฐและ เอกชน • กำหนดให้สถานศึกษาเบิกค่าใช้จ่าย • จากหน่วยงานรับผิดชอบได้ • - เริ่มปีการศึกษา 2553 นี้
ศธ.ลงนามระเบียบหนุนคนพิการเรียนฟรีศธ.ลงนามระเบียบหนุนคนพิการเรียนฟรี 12 ต.ค. 2552 : ไอเอ็นเอ็นออนไลน์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะประธานกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการเปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ ได้ลงนามระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการว่าด้วยการจัดการอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษาสำหรับคนพิการ รวม ๒ ฉบับ กำหนดให้สถานศึกษาของรัฐและเอกชนที่จัดการอาชีวศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีและปฏิบัติการ (ปวท.) มีหน้าที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการตามภารกิจของสถานศึกษานั้น โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนทุกสังกัด มีหน้าที่รับคนพิการเข้าศึกษาในสัดส่วนหรือจำนวนที่เหมาะสม โดยให้คำนึงถึงประเภทของความพิการด้วย ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยจะต้องจัดสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น เทคโนโลยี สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาสำหรับคนพิการ การจัดทำหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของนิสิตนักศึกษา แต่ละบุคคล รวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยให้นิสิตนักศึกษาพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ตามความเหมาะสม นอกจากนี้กำหนดให้สถานศึกษาทั้งระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษาต้องแจ้งรายละเอียดการรับนักศึกษาพิการให้คณะกรรมการฯทราบ ไม่น้อยกว่า ๑๒๐ วันก่อนเริ่มปีการศึกษา โดยเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 • ให้จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ โดยให้มีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ • ให้จัดตั้งแต่แรกเกิด/พบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย • ให้คนพิการมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา • มีกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้คนพิการมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา พ.ศ. 2550
พ.ร.บ.การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ.2551 • ได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย • เลือกสถานศึกษา และรูปแบบการเรียนตามความสามารถ • ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา • มีกองทุนให้ยืมอุปกรณ์ เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ให้ทุนการศึกษา • ยื่นคำขอที่ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด • มีแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล
ความก้าวหน้าในการจ้างงาน 5 • มติคณะกรรมการส่งเสริมฯ 18 พ.ย. • หน่วยงานของรัฐ/นายจ้างต้องรับคนพิการเข้าทำงานในสัดส่วน 50 : 1 • คนพิการจะมีงานทำในภาคเอกชนกว่า 100,000 คน ภาครัฐประมาณ 20,000 คน • สอดคล้องกับระบบการจ้างงานคนพิการในต่างประเทศ ทุกๆ 1,000 คนให้มีงานทำ 800 คนส่วนใหญ่ทำงานเอกชน สงเคราะห์ 200 คน
ความก้าวหน้าในงานสิทธิผู้ดูแล 6 • การช่วยเหลือผู้ดูแลคนพิการ • เพื่อเสริมสร้างกำลังใจและแบ่งเบาภาระของผู้ดูแลคนพิการ
สิทธิทางภาษีของผู้ดูแลคนพิการสิทธิทางภาษีของผู้ดูแลคนพิการ -ผู้ดูแล หมายถึง บิดา มารดา บุตร สามี ภรรยา ญาติ พี่น้อง หรือบุคคลอื่นใดที่รับ ดูแลหรืออุปการะคนพิการ -อุปการะเลี้ยงดูคนพิการซึ่งมีฐานะยากจน (คนพิการมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี) - ผู้ดูแลหักลดหย่อนภาษีได้ 60,000 บาทต่อ คนพิการ 1 คน ถ้าดูแลบุตรแบ่งคนละครึ่ง -เริ่มในปีภาษี 2552 (ภายใน 31 มี.ค.2553)
สิทธิขั้นพื้นฐานของคนพิการสิทธิขั้นพื้นฐานของคนพิการ เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ จากสิทธิตามมาตรา ๒๐ แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมฯ ปี 2550 และกฎหมายอื่น
อาคาร สถานที่ (มหาดไทย) ยานพาหนะ บริการขนส่งทั้งทางบก ทางอากาศ ทางน้ำ/ทางราง(คมนาคม) บริการสาธารณะอื่น (พม.) เอกชนได้รับการลดหย่อนภาษี หรือยกเว้นภาษีเป็นร้อยละสองเท่าเงินค่าใช้จ่าย สิทธิคนพิการในการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวก
กฎกระทรวงสิ่งอำนวยความสะดวก 2548 • อาคารราชการพื้นที่เกิน 300 ตรม. • อาคารเอกชนพื้นที่เกิน2,000 ตรม. • ปั้มน้ำมัน ต้องมี • ป้าย สัญลักษณ์ • ทางลาด ลิฟท์ บันได ขนาดประตู • ห้องส้วม ที่จอดรถ
การรณรงค์สิ่งอำนวยความสะดวกการรณรงค์สิ่งอำนวยความสะดวก การจัดประกวด • หน่วยงานราชการ • สถานศึกษา • หน่วยบริการท่องเที่ยว • ที่พักอาศัยรวม • อาคารสถานที่อื่นๆ
มติ ครม.ให้จัดสิ่งอำนวยความสะดวก 19 พ.ค.2552 • โรงพยาบาลต้องทำตามกฎหมายให้ครบถ้วน • ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการ อปท. สถาบันการศึกษา และสถานีตำรวจ ต้องจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ทางลาด ห้องส้วม ที่จอดรถ ป้าย สัญลักษณ์ และบริการข้อมูล ให้เสร็จภายในปี 2554 • ให้รายงานผลทุก 6 เดือน ครั้งแรก(ก.ย. 52) 20,000 หน่วยงาน ทำแล้วร้อยละ 10
ตัวอย่างการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกตัวอย่างการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก • ฮ่องกง ๒๐๐๙ • ถนน - มีการจัดวางผังเมืองที่สวยงาม โดยทางเท้าจะอยู่ในระดับต่ำและตรงขอบมีลักษณะโค้งมนไม่อันตราย • สถานที่จอดรถ - มีช่องจอดรถสำหรับคนพิการในทุกสถานที่และทางเท้าข้างที่จอดรถจะมีลักษณะลาดเอียงเพื่อให้สามารถใช้รถเข็นเข้าสู่ส่วนอื่น ๆ ได้ รวมทั้งทุกสถานที่จะมีลิฟท์ไว้บริการสำหรับรถเข็น • สัญญาณไฟจราจร - มีเสียงสัญญาณเตือน (Analog คล้ายเสียงเหล็กกระทบกัน) ดังเป็นจังหวะเพื่อให้คนพิการทางสายตาได้ยินเป็น ๓ จังหวะ
ตัวอย่างการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกตัวอย่างการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก • รถโดยสารสาธารณะ - เป็นรถพิเศษไว้สำหรับบริการคนพิการ โดยลักษณะรถเป็นรถที่พื้นต่ำซึ่งจะทำให้รถเข็นที่ขึ้นจากสถานีสามารถขึ้นได้ง่าย • สถานีรถโดยสารสาธารณะ - มีรถที่จอดเตรียมสำหรับรถเข็นจอดอยู่ซึ่งจะเป็นเลนที่ติดกับทางเดิน • รถไฟฟ้าใต้ดิน - มีระบบการจ่ายเงินที่มีช่องพิเศษสำหรับคนพิการให้สามารถเรียกพนักงานหรือขอความช่วยเหลือได้ • ระบบบริการของเอกชน - ทุกตึกจะมีการจัดห้องสุขาสำหรับคนพิการไว้ทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นอาคารรูปแบบใด ร้านอาหารขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ตลอดจนสวนสาธารณะต่าง ๆ เพราะฮ่องกงมีการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวด
ตัวอย่างการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกตัวอย่างการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก • ญี่ปุ่น ๒๐๐๙ • ถนน - มีการจัดวางผังเมืองที่สวยงาม • สถานที่จอดรถ - มีช่องจอดรถสำหรับคนพิการ • สัญญาณไฟจราจร – มีเสียงสัญญาณเตือน • การอำนวยความสะดวกในอาคาร • สถานที่สาธารณะต่างๆ
การบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล รวมค่าอุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการ มีสื่อส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อปรับสภาพทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือเสริมสร้างสมรรถภาพให้ดีขึ้น สิทธิคนพิการทางการแพทย์