3.14k likes | 15.08k Views
ระดับภาษา คำทับศัพท์ ศัพท์บัญญัติ คำศัพท์ทางวิชาการและเทคโนโลยี จัดทำโดย รายชื่อสมาชิกกลุ่มที่ ๓ / ๒ ชื่อ นามสกุล รหัส นายอภิสันต์ งามพรหม ๕๓๑๔๖๑๐๐๑๓ นางกุสุมา ลอยฟ้า ๕๓๑๔๖๑๐๐๒๙ นางกุลฤดี กฤษ ฤา หรรษ์ ๕๓๑๔๖๑๐๐๓๕ นางวันเพ็ญ เพชรเพ็ง ๕๓๑๔๖๑๐๐๓๗ นางสาวภัคจิรา นร สาร ๕๓๑๔๖๑๐๐๗๙
E N D
ระดับภาษา คำทับศัพท์ ศัพท์บัญญัติ คำศัพท์ทางวิชาการและเทคโนโลยี จัดทำโดย รายชื่อสมาชิกกลุ่มที่ ๓ / ๒ ชื่อ นามสกุล รหัส นายอภิสันต์ งามพรหม ๕๓๑๔๖๑๐๐๑๓ นางกุสุมา ลอยฟ้า ๕๓๑๔๖๑๐๐๒๙ นางกุลฤดี กฤษฤาหรรษ์๕๓๑๔๖๑๐๐๓๕ นางวันเพ็ญ เพชรเพ็ง ๕๓๑๔๖๑๐๐๓๗ นางสาวภัคจิรา นรสาร ๕๓๑๔๖๑๐๐๗๙ นางสาวบังอร ศรีสด ๕๓๑๔๖๑๐๐๘๓ นางพิริยาภรณ์ เหลืองวิไล ๕๓๑๔๖๑๐๐๘๖
ระดับภาษา • ความหมายระดับภาษา • ระดับภาษาคือ การใช้ภาษาพูดหรือภาษาเขียนในโอกาสที่แตกต่าง หรือใช้กับผู้รับสารแต่ละบุคคลย่อมมีการใช้ภาษาที่แตกต่างกันไป
ระดับของภาษาแบ่งตาม การใช้ภาษาตามสัมพันธภาพ ของบุคคล ตามโอกาสและกาลเทศะ แบ่งออกเป็น ๕ ระดับ
ตัวอย่าง ภาษาระดับทางการ ขอพระบรมเดชานุภาพมหึมาแห่งสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชจงคุ้มครองประเทศชาติและประชาชนชาวไทยให้ผ่านพ้นสรรพอุปัทว์พิบัติภัยทั้งปวง อริราชศัตรูภายนอกอย่าล่วงเข้าทำอันตรายได้ ศัตรูหมู่พาลภายในให้วอดวายพ่ายแพ้ภัยตัว บันดาลความสุข ความมั่นคงให้บังเกิดทั่วภูมิมณฑล บันดาลความร่มเย็นแก่อเนกนิกรชน ครบคามเขตขอบขัณฑสีมา (ภาวาส บุนนาค. “ราชาภิสดุดี” ในภาษาพิจารณ์ เล่ม ๒ หน้า ๑๓๙-๑๔๐)
ตัวอย่าง ภาษาระดับกึ่งทางการ ฉะนั้น ในช่วงที่เรียนอยู่ในระดับมัธยม ผู้ที่มีความขยันมุ่งมั่นจะเข้ามหาวิทยาลัยให้ได้ จะไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบกายทั้งสิ้น ยกเว้นสิ่งที่เขาคิดว่าจะสามารถทำให้เสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ชีวิตนักเรียนมัธยมจึงมีแต่ติวติวและติว กีฬาฉันไม่เล่น กิจกรรมฉันไม่มีเวลาทำ และยิ่งห้องสมุดฉันไม่ทราบว่าจะเข้าไปทำไมเพราะเวลาทั้งหมดจะต้องใช้ท่องตำราอย่างเดียว แล้วก็มักจะประสบความสำเร็จตามที่คิดเสียด้วย คือ สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ (เปล่งศรี อิงคนินันท์. “ต้องขอให้อาจารย์ช่วย” ก้าวไกล. ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๔ หน้า ๒๗ )
ตัวอย่าง ภาษาปาก “เฮ้ย ใครเอาหมาตายมาโยนไว้ในวัด เหม็นวายร้ายเลย” อีกคนหนึ่งค้านว่า “ข้าไม่เห็นมีหมานี่หว่า” แหงนหน้าขึ้นทำจมูกย่น “ถ้าปู่บุญแกคงทำกับข้าวทิ้งไว้จนบูดเหม็นเน่ากระมังวะ”“ฮึ” ทำเสียงค้านในคอ หยิบก้อนอิฐก้อนหนึ่งปาไปโดนฝาบ้านดังปุ ร้องเรียกด้วยว่า “ปู่ ปู่ ทำอะไรน่ะ เหม็นจะตายโหงไป” เงียบไม่มีเสียงตอบ พวกเด็กๆมองดูหน้าแล้วก็มองที่กระท่อมนั้น คนโตที่สุดตัดบทว่า “ แกไม่อยู่หรอก อย่าไปเรียกแกเลย เหม็นนักเราก็ไปเล่นทางวิหารโน่นดีกว่า” แล้วก็ชวนกันวิ่งตามไปเป็นพรวน ทิ้งกระท่อมซอมซ่อนั้นให้อยู่ ในความสงบต่อไป (ก.สุรางคนางค์. “ปู่บุญ” ภาษาสุนทร ๓ . หน้า ๑๑๑)
ตัวอย่างการเปรียบเทียบการใช้ภาษาตัวอย่างการเปรียบเทียบการใช้ภาษา ข้อความที่ ๑ ภาษาปาก : ผีสางข้าไม่กลัวอีกอย่างผีมันไม่หลอกคนในป่าช้า ภาษาระดับกึ่งทางการ : ข้าไม่เคยกลัวผี และอีกอย่างหนึ่งผีมันจะไม่ หลอกคนในป่าช้า ภาษาระดับทางการ : ข้าพเจ้าไม่เคยกลัวผี และอีกประการหนึ่งข้าพเจ้า เชื่อว่าผีย่อมไม่หลอกคนในป่าช้า ข้อความที่ ๒ ภาษาปาก : กระทาชายนายนั้นเดินกะปลกกะเปลี้ยขึ้นมาบน โรงพัก ภาษาระดับกึ่งทางการ : ชายคนนั้นเดินกะปลกกะเปลี้ยขึ้นมาบนโรงพัก ภาษาระดับทางการ : ผู้ชายคนนั้นเดินขึ้นมาบนสถานีตำรวจด้วยกิริยา ของคนที่หมดแรง
หลักการใช้ภาษาให้ถูกต้องตามระดับภาษาหลักการใช้ภาษาให้ถูกต้องตามระดับภาษา • การใช้ภาษาระดับใดในการสื่อสารจึงจะเหมาะสมนั้น ควรพิจารณาดังนี้ • ๑.สัมพันธภาพระหว่างบุคคล • ๒. กาลเทศะ • ๓.เนื้อของสาระ • ๔. วิธีการสื่อสาร
การใช้คำศัพท์ทางวิชาการและเทคโนโลยีการใช้คำศัพท์ทางวิชาการและเทคโนโลยี
คำศัพท์ทางวิชาการ • คำศัพท์ทางวิชาการ หมายถึง คำศัพท์ที่ใช้เฉพาะวงการวิชาการ หรือวงการอาชีพ ส่วนมากจะพบในงานเขียนทางวิชาการ • เช่น ตำรา บทความ หนังสืออ้างอิง หรือในการประชุมทางวิชาการ เช่น การอภิปราย การสัมมนา
ตัวอย่างคำศัพท์ทางวิชาการตัวอย่างคำศัพท์ทางวิชาการ • คำศัพท์ในวงการธุรกิจ เช่น อุปสงค์อุปทาน หุ้น ดรรชนี งบดุล ผู้ผลิต ผู้บริโภค • คำศัพท์ในวงการแพทย์ เช่น โคม่า ไอซียู โอพีดี • อายุรแพทย์ วิสัญญีแพทย์ ศัลยแพทย์ • คำศัพท์ในวงการศึกษา เช่น ความคิดรวบยอด แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยกิต การประเมินตามสภาพจริง
ศัพท์คณิตศาสตร์ • คอร์ด หมายถึง เส้นตรงที่เชื่อมจุด 2 จุด บนเส้นโค้งใดๆ โคไซน์ หมายถึง โคไซน์ของมุมใดคืออัตราส่วน ความยาวของด้านประชิดมุมนั้น ความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉากในเมื่อถือเอารูปสามเหลี่ยมมุมฉากเป็นหลัก ทฤษฎีบท หมายถึง ข้อความที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นจริง
ศัพท์เศรษฐศาสตร์ • ดุลการชำระเงิน หมายถึง ความต่างกันระหว่างปริมาณเงินที่ส่งออกนอกประเทศกับ ปริมาณเงินที่นำเข้ามาในประเทศ • หุ้นบุริมสิทธิ หมายถึง หุ้นที่ได้รับส่วนแบ่งในผลกำไรก่อนหุ้นสามัญ
ศัพท์กฎหมาย • คดีดำ หมายถึง คดีที่ยังอยู่ในระหว่างการ พิจารณาของศาล • กระทงความ หมายถึง ข้อหนึ่งๆของความ อาญาที่วินิจฉัยความผิด เป็นกิจจะลักษณะต่างกัน • คดีอาญา หมายถึง ศาลที่ชำระความเกี่ยวกับโทษหลวง
ศัพท์วิชาการทั่วไป • สารเสพติด หมายถึง สารเคมีที่มีฤทธิ์เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายแล้ว ทำให้ผู้เสพเลิกไม่ได้ ต้องเสพอีก • โรคพิษสุราเรื้อรัง หมายถึง โรคที่เกิดจากการดื่มสุรามากเป็นเวลานาน มีอาการสมองและประสาทเสื่อม มือสั่น เดินเซ สติปัญญาเสื่อม
คำศัพท์ทางเทคโนโลยี • คำศัพท์ทางเทคโนโลยี หมายถึง คำศัพท์ที่เกิดขึ้นจากวิทยาการทางคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันทั้งในด้านการทำงานและการศึกษาหาความรู้ • ตัวอย่างคำศัพท์ทางเทคโนโลยี • ดิจิตอล (digital) แฟ้มข้อมูล (file) รายการเลือก (menu)จอภาพ (monitor) เครือข่าย (network) เครื่องพิมพ์ (printer) นักเขียนโปรแกรม (programmer) • การใช้คำศัพท์ทางวิชาการและเทคโนโลยีให้ถูกต้อง ควรศึกษาค้นคว้าความหมายของคำศัพท์ได้จากพจนานุกรมศัพท์วิชาการเฉพาะสาขา
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประโยชน์ทางวิชาการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ • ขั้นตอนการใช้มีดังนี้ • ๑.การสืบค้นข้อมูลจากระบบอินเทอร์เน็ต • ๒. การพิจารณาข้อมูล • ๓.การจัดเก็บข้อมูลและการนำข้อมูลมาใช้งาน • ๔.การอ้างอิงข้อมูล
ตัวอย่างคำศัพท์ทางวิชาชีพวิชาชีพ หมายถึง อาชีพที่ต้องอาศัยวิชาความรู้ความชำนาญ • Internet อินเทอร์เน็ต Digital ดิจิทัล • Graphic กราฟิกClick คลิก • Mouse เมาส์ Electronics อิเล็กทรอนิกส์ • Web site เว็บไซต์Script สคริปต์ • Software ซอฟต์แวร์ Browser เบราว์เซอร์ • Bandwidth แบนด์วิดท์ E-mail อีเมล • Supercomputer ซูเปอร์คอมพิวเตอร์
คำทับศัพท์ คำทับศัพท์ คือคำที่ถ่ายเสียงและ/หรือถ่ายรูป มาจากรูปคำในภาษาอื่น และนำมาเขียนในรูปแบบของภาษาเรา เพื่อให้คนที่ใช้ภาษาสามารถออกเสียงได้ถูกต้อง หรืออย่างน้อยใกล้เคียงกับภาษาเดิม
รายการคำทับศัพท์รวบรวมจากการสะกดตามราชบัณฑิตยสถานรายการคำทับศัพท์รวบรวมจากการสะกดตามราชบัณฑิตยสถาน A-Z Acre = เอเคอร์ Acrylic = อะคริลิก Address = แอดเดรส Air = แอร์ Alcohol = แอลกอฮอล์ Almond = อัลมอนด์ Alpha = แอลฟา Aluminum = อะลูมิเนียม Ameba = อะมีบา Amethyst = แอเมทิสต์ Ampere = แอมแปร์ Amplitude = แอมพลิจูด Analog = แอนะล็อก Anti- = แอนติ- Antibody = แอนติบอดี Arabic = อารบิก Art = อาร์ต Artwork = อาร์ตเวิร์ก Asphalt = แอสฟัลต์ Atlantic = แอตแลนติก Auto- = ออโต- Bacteria = แบคทีเรีย Ball = บอล Ballet = บัลเลต์ Balloon = บอลลูน, บัลลูน Bank = แบงก์ Bar = บาร์
รายการคำทับศัพท์รวบรวมจากการสะกดตามราชบัณฑิตยสถานรายการคำทับศัพท์รวบรวมจากการสะกดตามราชบัณฑิตยสถาน A-Z Barrel = บาร์เรล Base = เบส BASIC = (ภาษา)เบสิก Battery = แบตเตอรี่ Block = บล็อก Board = บอร์ด Body = บอดี Bonus = โบนัส Brake = เบรก Bus = บัส Byte = ไบต์ Cable = เคเบิล Caffeine = คาเฟอีน, แคฟเฟอีน, กาเฟอีน Cake = เค้ก Calcium = แคลเซียม Calorie = แคลอรี Capsule = แคปซูล Carbon = คาร์บอน Carbon dioxide = คาร์บอนไดออกไซด์ Carbon monoxide = คาร์บอนมอนอกไซด์ Carbonate = คาร์บอเนต Card = การ์ด Cartoon = การ์ตูน Catalog = แค็ตตาล็อก Catholic = คาทอลิก CD-ROM = ซีดีรอม Cell = เซลล์
รายการคำทับศัพท์รวบรวมจากการสะกดตามราชบัณฑิตยสถานรายการคำทับศัพท์รวบรวมจากการสะกดตามราชบัณฑิตยสถาน A-Z celsius = เซลเซียส cement = ซีเมนต์ center = เซนเตอร์, เซ็นเตอร์ ceramic = เซรามิก chalk = ชอล์ก charge = ชาร์จ check = เช็ก chlorine = คลอรีน chlorophyll = คลอโรฟิลล์ choke = โช้ก class = คลาส classic = คลาสสิก click = คลิก clinic = คลินิก computer = คอมพิวเตอร์ club = คลับ cookie = คุกกี้ consul = กงสุล cluster = คลัสเตอร์ column = คอลัมน์ coma = โคม่า commando = คอมมานโด communist = คอมมิวนิสต์
ศัพท์บัญญัติ คือ คำศัพท์ ที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนเอกสารของทางราชการ และการเรียนการสอน ผู้ออกศัพท์บัญญัติในปัจจุบัน คือราชบัณฑิตยสถาน ศัพท์บัญญัติจะแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์แพทย์ศาสตร์รัฐศาสตร์การเชื่อมพลังงานประชากรศาสตร์พฤกษศาสตร์ปรัชญาประกันภัยวรรณกรรมปรับอากาศสัทศาสตร์นิติศาสตร์ศิลปะเทคโนโลยีสารสนเทศยานยนต์ทันตแพทยศาสตร์ธรณีวิทยาคณิตศาสตร์
ตัวอย่างศัพท์บัญญัติ • แฟลต , อพาร์ตเม้นต์ = ห้องชุด • คอมพิวเตอร์ = คณิตกรณ์ • ดีวีดี = แผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิตอล • ปริ้นเตอร์ = เครื่องพิมพ์ • อินฟีนีตี้ = อนันต์ • ซิมการ์ด = บัตรระบุผู้เช่า • ซิม = มอดูลระบุผู้เช่า • จอยสติ๊ก = ก้านควบคุม • ซีพียู = หน่วยประมวลผลกลาง • คีย์บอร์ด = แผงแป้นอักขระ
วิทยุ จากคำ Radio คมนาคม จากคำ Communication ไปรษณียบัตร จากคำ Post card บรรณาธิการ จากคำ Editor ตำรวจ จากคำ Police โทรเลข จากคำ Telegram โทรศัพท์ จากคำ Telephone ธนาคาร จากคำ Bank ห้องสมุด จากคำ Library เอกอัครราชทูต จากคำ Ambassador ฯลฯ
นอกจากนี้ ยังทรงบัญญัติศัพท์ขึ้นใช้แทนคำไทยที่ใช้กันอยู่และทรงเห็นว่ายังไม่เหมาะสม เช่น นาง นางสาว ใช้แทน อำแดง โรคระบาด ใช้แทน โรคติดต่อ กรมชลประทาน ใช้แทน กรมทดน้ำ สภากาชาด ใช้แทน สภาอนุโลมแดง ฯลฯ
ส่วนคำที่จำเป็นต้องใช้ในกิจการที่เพิ่งริเริ่มขึ้นในเวลานั้นก็ทรงบัญญัติขึ้นด้วย เช่น เครื่องบิน มหาวิทยาลัย คณบดี ไชโย ธนาคารออมสิน นามสกุล พุทธศักราช อักษรศาสตร์ วิทยาศาสตร์ อนุบาล ฯลฯ
การใช้ศัพท์บัญญัติคำทับศัพท์คำเฉพาะกลุ่มการใช้ศัพท์บัญญัติคำทับศัพท์คำเฉพาะกลุ่ม • และคำเฉพาะวงการ • ภาษาไทยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาการเปลี่ยนแปลงของภาษาไทยทำให้เกิดศัพท์บัญญัติคำทับศัพท์คำเฉพาะกลุ่มและคำในวงการต่าง ๆ ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาใน บทนี้
สาเหตุที่ทำให้เกิดศัพท์บัญญัติ คำทับศัพท์คำเฉพาะกลุ่มและคำเฉพาะวงการ • ๑.การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปัจจัยจากภายนอก • อิทธิพลที่เกิดจากต่างประเทศ • ยืมคำจากภาษาบาลี สันสกฤต เขมร มาใช้เป็นจำนวนมาก • ภาษาเปลี่ยนไปตามวิทยาการของโลกตะวันตก • ๒. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปัจจัยภายใน เป็นผลจากความ แตกต่างกันของผู้ใช้ ได้แก่ • อายุ เพศ ระดับการศึกษา สถานภาพทางสังคม เป็นต้น
การใช้ศัพท์บัญญัติ และคำทับศัพท์ • ราชบัณฑิตยสถานจึงบัญญัติศัพท์ใช้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้คือ • ๑. หาคำไทยที่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมากที่สุดมาใช้แทนคำศัพท์ที่ ยืมมา เช่น • Pattern กระสวน standpoint จุดยืน Electric ไฟฟ้า red cross กาชาด • ๒.ในกรณีที่หาคำไทยมาใช้แทนคำยืมภาษาต่างประเทศไม่ได้จะใช้คำบาลีสันสกฤตเขมรมาสร้างเป็นศัพท์ใหม่โดยอาจจะประสมคำไทยหรืออาจจะใช้คำบาลีสันสกฤตล้วน ๆ ก็ได้เช่น • Television โทรทัศน์ (tele = โทรแปลว่าไกล, vision = ทัศน์แปลว่าเห็น)
การใช้ศัพท์บัญญัติ และคำทับศัพท์ • ๓. ในกรณีที่หาคำบาลี สันสกฤตเขมรมาบัญญัติศัพท์ใหม่ไม่ได้จะใช้การ • ทับศัพท์เช่น • Crosstitchครอสติตซ์ • Night club ไนต์คลับ • Swraterสเวตเตอร์
หลักเกณฑ์การทับศัพท์ ตารางเทียบเสียงพยัญชนะโดยสังเขป
ตารางเทียบเสียงพยัญชนะโดยสังเขปตารางเทียบเสียงพยัญชนะโดยสังเขป
ตารางเทียบเสียงพยัญชนะโดยสังเขปตารางเทียบเสียงพยัญชนะโดยสังเขป
สวัสดี ขอขอบคุณ