500 likes | 670 Views
321450 Management of Information Technology. Chapter 7b E-Commerce Part II Asst. Prof. Wichai Bunchua E-mail : wichai@buu.ac.th http:// www.informatics .buu.ac.th/~wichai. Chapter Outlines. แนะนำการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แรงผลักดันให้มีการพัฒนา E-Commerce คุณลักษณะสำคัญของ E-Commerce
E N D
321450Management of Information Technology Chapter 7b E-Commerce Part II Asst. Prof. Wichai Bunchua E-mail : wichai@buu.ac.th http://www.informatics.buu.ac.th/~wichai
Chapter Outlines • แนะนำการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • แรงผลักดันให้มีการพัฒนา E-Commerce • คุณลักษณะสำคัญของ E-Commerce • ข้อแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจทั่วไปและ E-Commerce • ประเภทของ E-Commerce • แบบจำลองธุรกิจของ E-Commerce • การประยุกต์ใช้งาน E-Commerce • ระบบชำระเงินใน E-Commerce • การพัฒนา E-Commerce wichai@buu.ac.th
7. ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน E-Commerce wichai@buu.ac.th
7. ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน E-Commerce 1. การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Retailing: E-Retailing หรือ E-Tailing)คือการขายสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภคโดยตรงผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ต้องผ่านคนกลางเรียกบริษัทที่ทำธุรกิจนี้ว่า ผู้ค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailer หรือ E-Tailer) สินค้าและบริการที่เสนอขายด้วยวิธีนี้มีอยู่หลายชนิด เช่น หนังสือ ดนตรี เสื้อผ้า เครื่องประดับ หรือเครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น wichai@buu.ac.th
7. ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน E-Commerce(ต่อ) การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ช่วยขจัดคนกลาง อันได้แก่ ผู้ค้าปลีก (Retailer) และผู้ค้าส่ง (Wholesaler) เพื่อให้ผู้ผลิตติดต่อกับผู้บริโภคโดยตรงแทน ส่งผลให้วงจรของห่วงโซ่อุปทานในส่วนของช่องทางการจำหน่ายสินค้าสั้นลง ผู้บริโภคจึงได้รับสินค้าเร็วขึ้น ส่วนผู้ผลิตเองก็เข้าใจความต้องการของผู้บริโภคได้ดีขึ้น เพราะต้องติดต่อกับผู้บริโภคโดยตรง นอกจากนี้ การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์บางชนิด ยังช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานลงได้ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าสถานที่ และการจ้างพนักงาน เป็นต้น wichai@buu.ac.th
7. ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน E-Commerce(ต่อ) 2. E-Commerce สำหรับอุตสาหกรรมบริการเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า สมาชิก หรือแม้แต่พนักงานในองค์กรเอง ตัวอย่างบริการ • ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Banking) • การชำระเงินออนไลน์ (Online Bill-Paying Service) • ตลาดนัดแรงงาน (Electronic Job Market) • การเดินทางและการท่องเที่ยว (Travel and Tourism Service Online) • ชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ (Communities Service) • ประกันภัยออนไลน์ (Insurance Online) • การซื้อขายหุ้นออนไลน์ (Stock Trading Online) • และอีเลิร์นนิ่ง (E-Learning) wichai@buu.ac.th
7. ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน E-Commerce(ต่อ) 3. การโฆษณาบนเว็บ (Web Advertising) เป็นการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง (Two-way Communication) ระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภค โดยผู้บริโภคสามารถคลิกผ่านโฆษณาเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ของผู้ประกอบการ เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมและยังสามารถฝากอีเมล์ เพื่อสอบถามรายละเอียดของสินค้าได้ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องเลือกใช้สื่อโฆษณาหรือวิธีการนำเสนอที่น่าสนใจ เพื่อกระตุ้นความอยากรู้ของผู้บริโภคให้มากขึ้นด้วย wichai@buu.ac.th
7. ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน E-Commerce(ต่อ) แสดงสัดส่วนของการโฆษณาบนเว็บโดยใช้สื่อโฆษณาชนิดต่างๆ คิดเป็นร้อยละ [สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2550] โฆษณาผ่านกระดานข่าว 58.0 โฆษณาทางอีเมล์ 48.8 โฆษณาทางเสิร์ชเอนจิ้น 45.4 โฆษณาทางแบนเนอร์ 25.4 ระบบการแจ้งข่าวสารประชาสัมพันธ์ 15.7 การตลาดออนไลน์ผ่านตัวแทนโฆษณา 10.6 โฆษณาผ่านโทรศัพท์มือถือ 3.0 โฆษณารูปแบบอื่นๆ 6.6 wichai@buu.ac.th
7. ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน E-Commerce(ต่อ) 4. การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Auction: E-Auction) หมายถึง การเสนอขายสินค้าหรือบริการระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายที่เข้ามาแข่งขันกันเสนอราคาในช่วงเวลาที่กำหนดไว้ โดยอาศัยตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่เป็นคนกลางหรือนายหน้าจัดการประมูล รวมถึงกำหนดกฎเกณฑ์ กติกา และมารยาทที่ใช้ในระหว่างการประมูล เพื่อให้การประมูลเป็นไปอย่างราบรื่น บริสุทธิ์ และยุติธรรม wichai@buu.ac.th
7. ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน E-Commerce(ต่อ) การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (ต่อ) จุดเด่นคือ ไม่มีการกำหนดราคาสินค้าแบบตายตัว แต่จะให้ผู้ซื้อและผู้ขายเจรจาต่อรองราคากันเอง โดยแต่ละฝ่ายสามารถเสนอราคาได้หลายครั้ง จนกว่าจะถึงระดับราคาที่ทั้งสองฝ่ายพึงพอใจ จึงจะยุติการประมูลลง การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ จึงเป็นรูปแบบธุรกิจที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการซื้อ-ขายสินค้าให้กับผู้ซื้อและผู้ขาย ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถเข้าร่วมการประมูลได้ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใดก็ตาม และยังช่วยให้ทั้งสองฝ่ายพึงพอใจกับสินค้าที่ได้รับด้วย wichai@buu.ac.th
7. ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน E-Commerce(ต่อ) 5. รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government: E-Government) • หมายถึง วิธีบริหารจัดการหน่วยงานราชการสมัยใหม่ โดยการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการให้แก่ประชาชน การประชาสัมพันธ์ข่าวสาร การดำเนินธุรกิจกับภาคเอกชน ตลอดจนการส่งเสริมภาพลักษณ์อันดีของหน่วยงาน • การปรับเปลี่ยนจะต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจังจากทุกฝ่าย ได้แก่ ประชาชน ภาคเอกชน และหน่วยงานรัฐด้วย wichai@buu.ac.th
7. ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน E-Commerce(ต่อ) รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ 4 รูปแบบ • Government-to-Citizen: G2C เป็นบริการพื้นฐานที่รัฐจัดให้กับประชาชนผ่านช่องทางเครือข่ายสารสนเทศ เช่น การชำระเงินภาษี การสอบถามข้อมูล หรือการจ่ายเงินค่าปรับ เป็นต้น • Government-to-Business: G2B เป็นบริการพื้นฐานที่รัฐจัดให้กับภาคธุรกิจ เช่น ให้ข้อมูลสำหรับการลงทุน การส่งออกและนำเข้า และการจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ (E-Procurement) เป็นต้น wichai@buu.ac.th
7. ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน E-Commerce(ต่อ) • Government-to-Government: G2G เป็นการดำเนินงานที่เกิดขึ้นภายในหน่วยงานราชการนั้นหรือต่างหน่วยงานกันก็ได้ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร (Data Exchange) การทำงานร่วมกัน (Collaboration) รวมถึงการเชื่อมโยงข้อมูล (Link) ไปยังแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น • Government-to-Employee: G2E เป็นบริการของภาครัฐที่มีให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐผ่านเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ เช่น การฝึกอบรมออนไลน์ หรือการตรวจสอบเบี้ยเลี้ยง เป็นต้น wichai@buu.ac.th
7. ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน E-Commerce(ต่อ) 6. โมบายคอมเมิร์ซ (Mobile Commerce: M-Commerce) • เป็นรูปแบบหนึ่งของ ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน โมบายคอมเมิร์ซจะทำงานผ่านระบบเครือข่ายแบบไร้สาย และอาศัยอุปกรณ์เชื่อมโยงแบบไร้สายด้วย เช่น เครื่องพีดีเอ เครื่องปาล์ม) และโทรศัพท์มือถือ • โปรโตคอล WEP(Wireless Application Protocol) เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ต้นทางและปลายทาง wichai@buu.ac.th
7. ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน E-Commerce(ต่อ) ปัจจุบัน มีการประยุกต์ใช้โมบายคอมเมิร์ซหลากหลายรูปแบบ • M-GPS เช่น บริการติดตามรถยนต์ เครื่องบิน หรือเรือยนต์ • M-Billing เช่น การแจ้งค่าบริการ การนำเสนอ การชำระเงิน • M-care เช่น บริการลูกค้าสัมพันธ์ ดูแลสุขภาพ เป็นต้น • M-Entertainment เช่น เกมส์ เพลง วีดีโอ เป็นต้น • M-Messaging เช่น การติดต่อสื่อสาร การทำงานร่วมกัน • M-Commerce เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การจองตั๋ว • M-Banking เช่น การโอนเงิน การชำระเงิน เป็นต้น wichai@buu.ac.th
7. ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน E-Commerce(ต่อ) 7. E-Commerce แบบ B2B คือ การทำธุรกรรมทางการค้าระหว่างองค์กรธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือเอ็กซ์ทราเน็ต เป็นต้น โดย “องค์กรธุรกิจ” ในที่นี้หมายถึง องค์กร บริษัท หรือหน่วยงานทั้งที่หวังกำไรและไม่หวังกำไรเป็นผลตอบแทน wichai@buu.ac.th
7. ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน E-Commerce(ต่อ) E-Commerce แบบ B2B เกิดขึ้นจากแรงผลักดันของผู้จำหน่ายวัตถุดิบ (Supplier) กับลูกค้าระดับองค์กรที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการจักซื้อลดลง ตลอดจนปรับปรุงการดำเนินงานระหว่างองค์กรให้มีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยในการติดต่อสื่อสารบนเครือข่ายมากยิ่งขึ้น B2B จำแนกตามจำนวนของผู้ซื้อ ผู้ขาย และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องได้ 4 ประเภท ดังนี้ wichai@buu.ac.th
7. ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน E-Commerce(ต่อ) 1. ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ฝั่งผู้ขาย (Sell-Side E-Marketplace) เป็นการค้าที่มีผู้ขายเพียงราคาเดียว ขายสินค้าหรือบริการให้กับผู้ซื้อหลายราย (One-to-Many) ตัวอย่างเช่น การขายตรงผ่านแคทตาล็อก การขายผ่านคนกลาง และการประมูลขาย wichai@buu.ac.th
7. ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน E-Commerce(ต่อ) 2. ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ฝั่งผู้ซื้อ (Buy-Side E-Marketplace) เป็นการค้าที่มีผู้ขายหลายราย ขายสินค้าหรือบริการให้กับผู้ซื้อเพียงราคาเดียว (Many-to-One) ตัวอย่างเช่น การจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ และการประมูลการซื้อ wichai@buu.ac.th
7. ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน E-Commerce(ต่อ) 3. การแลกเปลี่ยนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Exchange) เป็นการค้าที่มีผู้ซื้อและผู้ขายหลายราย (Many-to-Many) มาซื้อ-ขายสินค้ากันผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น วิธีนี้จึงเป็นการค้าแบบเปิด (Public E-Marketplace) ที่ทุกองค์กรสามารถเข้าร่วมทำธุรกรรมได้ ซึ่งจะแตกต่างกับการค้าทั้ง 2 แบบข้างต้นที่เป็นการค้าแบบปิด (Private E-Marketplace) ที่อนุญาตให้บางองค์กรเท่านั้นที่มีสิทธิ์เข้าร่วมทำธุรกรรม wichai@buu.ac.th
7. ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน E-Commerce(ต่อ) 4. การจัดการห่วงโซ่อุปทาน และการพาณิชย์เชิงร่วมมือ (Supply Chain Management and CollaborativeCommerce) เป็นการจัดการกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนร่วมทางธุรกิจทั้งหมด อันได้แก่ ผู้ขายปัจจัยการผลิต โรงงานผู้ผลิตร้านค้าปลีก ผู้บริโภค ตลอดจนองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมของบริษัท ให้สามารถดำเนินงานได้ wichai@buu.ac.th
8 ระบบชำระเงินใน E-Commerce wichai@buu.ac.th
8 ระบบชำระเงินใน E-Commerce อีกองค์ประกอบที่สำคัญใน E-Commerce คือ ระบบชำระเงิน (Payment System) ซึ่งเป็นรูปแบบการชำระเงินผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมให้ผู้ซื้อสามารถชำระเงินได้ทันที แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ระบบชำระเงินแบบจ่ายก่อน (Pre-paid Payment System) และระบบชำระเงินแบบจ่ายทีหลัง (Post-paid Payment System) wichai@buu.ac.th
8 ระบบชำระเงินใน E-Commerce (ต่อ) 1. ระบบชำระเงินแบบจ่ายก่อนได้แก่ เงินสดดิจิตอล และบัตรสะสมมูลค่า เงินสดดิจิตอล (Digital Cash) หรือ Electronic Money (E-Money) หรือ Electronic Cash (E-Cash) เป็นการชำระเงินผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยจะแปลงเงินจริงให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอล เพื่อใช้ชำระค่าสินค้าให้กับผู้ขาย wichai@buu.ac.th
8 ระบบชำระเงินใน E-Commerce (ต่อ) บัตรสะสมมูลค่า (Stored Value Card)เป็นบัตรที่จัดเก็บเงินสดดิจิตอล เพื่อใช้ชำระค่าสินค้าและบริการ ใช้โดยโอนเงินเป็นส่วนลด หรือจัดเก็บข้อมูลสุทธิประโยชน์ของผู้ถือบัตรได้ การชำระเงินด้วยวิธีนี้ ผู้ซื้อจะต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อบัตรที่มีมูลค่าตามจำนวนที่ต้องการเอาไว้ก่อน เมื่อซื้อสินค้าในคราวต่อไป จึงใช้บัตรนี้แทนการชำระเงินด้วยเงินสด แต่สามารถใช้ได้เฉพาะร้านค้าที่ร่วมรายการเท่านั้น wichai@buu.ac.th
8 ระบบชำระเงินใน E-Commerce (ต่อ) 2. ระบบชำระเงินแบบจ่ายทีหลังเป็นระบบชำระเงินที่ผู้ซื้อจะชำระเงินค่าสินค้าให้กับผู้ขายด้วยข้อมูลที่ใช้แทนเงินไปก่อน จากนั้นจึงชำระด้วยเงินจริงในภายหลัง ระบบชำระเงินในรูปแบบนี้ ได้แก่ เช็คอิเล็กทรอนิกส์ บัตรแถบแม่เหล็ก และบัตรอัจฉริยะ 2.1 เช็คอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Check: E-Check)เป็นการใช้เช็คอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ซื้อ ชำระเงินให้กับผู้ขาย ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยจะต้องนำ E-Check ไปเข้ารหัสก่อนที่จะส่งไปให้กับผู้ขายทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยและป้องกันการโจรกรรมข้อมูล wichai@buu.ac.th
8 ระบบชำระเงินใน E-Commerce (ต่อ) 2.2 บัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Strip Card) เป็นบัตรพลาสติกขนาดเล็ก โดยจะบันทึกข้อมูลไว้ในแถบแม่เหล็กที่อยู่บนบัตร และจะมีการเข้ารหัสข้อมูลตามมาตรฐาน ISO แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 2.2.1 Online Magnetic Strip Card เป็นบัตรที่ถูกอ่านได้เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลที่อยู่บนบัตรได้ ได้แก่ บัตรเอทีเอ็ม บัตรเดบิต และบัตรเครดิต • ATM Card เป็นบัตรที่ใช้ถอนเงินสดจากเครื่อง ATM ซึ่งยอดเงินคงเหลือในบัญชีจะถูกหักออกตามยอดเงินที่ถูกถอนออกไป wichai@buu.ac.th
8 ระบบชำระเงินใน E-Commerce (ต่อ) • บัตรเดบิต (Debit Card) มีคุณสมบัติเหมือนกับบัตร ATM แต่ต่างกันตรงที่สามารถชำระเงินด้วยบัตรแทนการชำระเงินสดได้ โดยยอดเงินที่ชำระไปจะถูกหักออกจากยอดเงินคงเหลือในบัญชี • บัตรเครดิต (Credit Card) มีคุณสมบัติเหมือนบัตรเดบิต แต่ต่างกันตรงที่การชำระเงินด้วยบัตรเครดิต ค่าสินค้าไม่ได้ถูกหักออกจากยอดเงินคงเหลือในบัญชี แต่จะถูกหักออกจากวงเงินคงเหลือของบัตรเครดิต ซึ่งสถาบันการเงินที่เป็นผู้ออกบัตรจะกำหนดเงินนี้เอาไว้ให้ wichai@buu.ac.th
8 ระบบชำระเงินใน E-Commerce (ต่อ) 2.2.2 Offline Magnetic Strip Cardเป็นบัตรที่ข้อมูลบนแถบแม่เหล็กจะถูกอ่านและเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้โดยใช้เครื่องอ่านบัตร ตัวอย่างของบัตรชนิดนี้ ได้แก่ บัตรโทรศัพท์ 2.2.3 Hybrid Magnetic Strip Card เป็นบัตรแถบแม่เหล็กที่ผสมผสานการทำงานแบบออนไลน์และแบบออฟไลน์ โดยบัตรจะประกอบด้วยแถบแม่เหล็ก 2 แถบ คือ แถบบนเป็นแถบออนไลน์ ส่วนแถบล่างจะเป็นแบบออฟไลน์ wichai@buu.ac.th
8 ระบบชำระเงินใน E-Commerce (ต่อ) 3. บัตรอัจฉริยะ (Smart Card) พัฒนามาจากแถบแม่เหล็ก โดยฝังไมโครชิพไว้ที่บัตรเพื่อใช้เก็บข้อมูลบนบัตร จึงช่วยลดปัญหาข้อมูลเสียหายจากรอยขีดข่วนบนแถบแม่เหล็กได้ บัตรอัจฉริยะแบ่งตามลักษณะของการอ่านข้อมูลบนบัตรออกเป็น 2 ประเภท wichai@buu.ac.th
8 ระบบชำระเงินใน E-Commerce (ต่อ) 3.1 Contact Smart Card ต้องใช้เครื่องอ่านบัตร (Smart Card Reader) เพื่ออ่าน บันทึกหรือประมวลผลข้อมูลบนบัตร จะมีแผ่นทองคำที่มีลักษณะเป็นวงกลมขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 นิ้ว ติดอยู่ด้านหน้าของบัตร เมื่อสอดบัตรเข้าเครื่องอ่านแผ่นทองคำดังกล่าวจะเป็นตัวติดต่อกับเครื่องอ่านบัตร เพื่อให้เครื่องอ่านสามารถอ่าน บันทึก หรือประมวลผลข้อมูลจากไมโครชิพได้ wichai@buu.ac.th
8 ระบบชำระเงินใน E-Commerce (ต่อ) 3.2 Contactless Smart Card บัตรประเภทนี้ นอกจากจะมีไมโครชิพฝังอยู่ที่บัตรแล้ว ยังมีสายอากาศ ฝังอยู่ที่บัตรด้วย ซึ่งการบันทึก อ่าน หรือประมูลผลข้อมูลของบัตรจะอยู่ในรูปแบบไร้สาย โดยข้อมูลจะส่งผ่านสายอากาศที่ฝังอยู่ในบัตรจะส่งผ่านสายอากาศของอุปกรณ์อ่านบัตร บัตรนี้จึงเหมาะสมกับแอปพลิเคชันที่ต้องการความเร็วในการประเมินผล เช่น การเก็บเงินค่าทางด่วน เป็นต้น wichai@buu.ac.th
8 ระบบชำระเงินใน E-Commerce (ต่อ) Electronic Wallet (E-wallet)หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Digital Wallet เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ 3 ประการ คือ • (1) เพื่อพิสูจน์ตัวตนของลูกค้าโดยใช้ใบรับรองดิจิตอล หรือเทคนิคการเข้ารหัสอื่นๆ • (2) เพื่อจัดเก็บและโอนถ่ายข้อมูลสำคัญส่วนตัวของลูกค้าในการทำธุรกรรม • และ (3) เพื่อรักษาความปลอดภัยในขั้นตอนชำระเงินระหว่างลูกค้าและร้านค้า wichai@buu.ac.th
8 ระบบชำระเงินใน E-Commerce (ต่อ) การกรอกรายละเอียดลงในแบบฟอร์มแต่ละครั้ง จะต้องใช้เวลาพอสมควร โดยเฉพาะหากผู้ซื้อต้องการสินค้าจากหลายๆเว็บไซต์ ก็จะต้องเสียเวลากรอกข้อมูลใหม่ทุกครั้ง ดังนั้น จึงได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ E-Wallet ขึ้นมา เพื่อจัดเก็บข้อมูลสำคัญของผู้ซื้อในรูปแบบไฟล์ข้อมูลที่มีการเข้ารหัสเอาไว้เพื่อความปลอดภัย เมื่อผู้ซื้อเข้าไปในเว็บไซต์จำหน่ายสินค้าที่มีซอฟแวร์นี้ติดตั้งอยู่ ก็สามารถโอนถ่ายไฟล์ข้อมูลนี้ไปร้านค้าโดยไม่ต้องเสียเวลากรอกข้อมูลใหม่ ตัวอย่างซอฟแวร์ E-Wallet ที่นิยมใช้งาน เช่น Microsoft’s Passport และ Qwallet เป็นต้น wichai@buu.ac.th
กฎหมายการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กฎหมายการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • เป็นกรอบที่กำหนดขึ้นมาให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยในการดำเนินธุรกิจ ในปี พ.ศ. 2541 คณะรัฐมนตรีได้ลงมติเห็นชอบให้มีการจัดทำโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ทำหน้าที่ร่างกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอให้มีการประกาศบังคับใช้ต่อไป โดยกฎหมายที่คณะกรรมการเสนอขึ้นมามีทั้งหมด 6 ฉบับ ดังนี้ wichai@buu.ac.th
กฎหมายการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ต่อ) • กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (เดิมเรียกว่า “กฎหมายแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์”) • กฎหมายว่าด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ • กฎหมายว่าด้วยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ • กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (เดิมเรียกว่า “กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์”) • กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล • กฎหมายว่าด้วยการพัฒนาโครงการพื้นฐานสารสนเทศ wichai@buu.ac.th
กฎหมายการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ต่อ) กฎหมายทั้ง 6 ฉบับนั้น มีทั้งการประกาศใช้แล้ว คือ “พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544”และ “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2551” นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจ E-commerce เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา และคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น wichai@buu.ac.th
กฎหมายการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ต่อ) หมายเหตุ • ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ที่เว็บไซต์ http://www.krisdika.go.th และ http://www.mict.go.th/home/819D38.html • นอกจากปัจจัยด้านกฎหมายแล้ว การทำ E-Commerce ยังต้องคำนึงปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น จริยธรรม การละเมิดสิทธิส่วนบุคคลในการเก็บข้อมูล และการหมิ่นประมาท เป็นต้น wichai@buu.ac.th
9. ข้อดีและข้อเสียของการพัฒนา E-commerce wichai@buu.ac.th
ข้อดีและข้อเสียของการพัฒนา E-commerce ข้อดีของการพัฒนา E-Commerce แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านองค์กรธุรกิจ ผู้บริโภค และสังคม 1. ด้านองค์กรธุรกิจ (ผู้ประกอบการ) • ช่วยเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้ามากขึ้น โดยสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วทุกมุมโลก • สามารถประหยัดต้นทุนในการดำเนินงาน เช่น การจัดจ้างพนักงาน การเช่าสถานที่ และการให้ส่วนลดกับพ่อค้าคนกลางจึงทำให้มีผลกำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น wichai@buu.ac.th
ข้อดีและข้อเสียของการพัฒนา E-commerce(ต่อ) ด้านองค์กรธุรกิจ (ผู้ประกอบการ) (ต่อ) • สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้โดยตรงและมีประสิทธิภาพ • สามารถจัดการสินค้าคงคลังได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากทราบยอดขายก่อนจึงไม่จำเป็นต้องเก็บสินค้าไว้ในคลังสินค้ามากนัก • องค์กรขนาดเล็กก็สามารถดำเนินธุรกิจแข่งขันกับองค์กรขนาดใหญ่ได้ • การบริการหลังการขายทำได้สะดวกขึ้น โดยจะทำผ่านเครื่องมือ เช่น กระดานข่าว (Web board) ห้องสนทนา (Chat) หรืออีเมล์ (E-Mail) เป็นต้น wichai@buu.ac.th
ข้อดีและข้อเสียของการพัฒนา E-commerce(ต่อ) 2. ด้านผู้บริโภค • สามารถสั่งซื้อสินค้าและบริการได้จากทุกที่ทุกเวลาผ่านเว็บไซต์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต • สามารถซื้อสินค้าและบริการได้ในราคาที่ต่ำกว่าเดิม เนื่องจากผู้ประกอบการมีต้นทุนการดำเนินงานลดลง • สามารถเปรียบเทียบสินค้าและบริการได้สะดวกขึ้น โดยจะทำผ่านเครื่องมือ เช่น กระดานข่าว (Web board) ห้องสนทนา (Chat) หรืออีเมล์ (E-Mail) เป็นต้น wichai@buu.ac.th
ข้อดีและข้อเสียของการพัฒนา E-commerce(ต่อ) ด้านผู้บริโภค (ต่อ) • ประหยัดเวลาในการเดินทางไปเลือกซื้อสินค้าจากหน้าร้านค้า • มีส่วนร่วมในการเจรจาต่อรอง หรือประมูลซื้อขายสินค้าและบริการได้ • สามารถรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการได้ตลอดเวลาผ่านทางบริการอีเมล์ (E-Mail) หรือผ่านทางการเยี่ยมชมในหน้าเว็บขององค์กรธุรกิจนั้น wichai@buu.ac.th
ข้อดีและข้อเสียของการพัฒนา E-commerce(ต่อ) 3. ด้านสังคม • ประชาชนสามารถรับรู้ข่าวสารผ่านทางเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดเวลาทำให้เกิดการเรียนรู้ และสร้างทักษะความชำนาญได้มากขึ้น • สนับสนุนและส่งเสริมด้านเศรษฐกิจโดยรวม ทำให้มีการเจริญเติบโต มั่งคง และยั่งยืนต่อไป • ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เช่น ด้านการศึกษา สุขภาพ และการบริการ ของภาครัฐต่างๆ wichai@buu.ac.th
ข้อเสียของการพัฒนา E-commerce(ต่อ) ข้อเสียของการพัฒนา E-commerce • มาตรฐานด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และระดับความน่าเชื่อถือต่อ E-Commerce ยังไม่มีความแน่นอน • ผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้า เนื่องจากเป็นการซื้อขายสินค้าที่เห็นเพียงแค่รูปภาพเท่านั้น แต่ไม่สามารถเห็นหรือจับต้องสินค้าตัวจริงได้ • E-Commerce ยังเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่บางองค์กรอาจลังเล และไม่กล้านำมาใช้งาน wichai@buu.ac.th
ข้อดีและข้อเสียของการพัฒนา E-commerce(ต่อ) ข้อเสียของการพัฒนา E-commerce (ต่อ) • การประยุกต์ E-Commerce ร่วมกับแอปพลิเคชัน (Application) และฐานข้อมูล (Database) มีความซับซ้อนจำเป็นต้องใช้ทักษะหรืออาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการพัฒนา • ต้นทุนในการพัฒนาเว็บไซต์ E-Commerce ค่อนข้างสูง ทั้งในด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ การเชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตลอดจนบุคลากรที่คอยดูแลระบบ wichai@buu.ac.th
Questions? wichai@buu.ac.th
Assignment#7 7b คุณต้องการทำการค้าประเภทแผ่นซีดีเพลงทางอินเทอร์เน็ต คุณดำเนินการอย่างไรเรื่องการชำระเงินค่าสินค้า wichai@buu.ac.th
ส วั ส ดี wichai@buu.ac.th