440 likes | 888 Views
นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมนันทนาการ เสนอ อาจารย์สุวิ สาข์ เหล่าเกิด จัดทำโดย 1. น.ส.นุชจรี ขจรฤทธิ์ เลขที่ 4 2. น.ส. ปวีณา ดวงสงค์ เลขที่ 14 สาขา การศึกษาปฐมวัย ห้อง 1 คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม.
E N D
นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมนันทนาการเสนออาจารย์สุวิสาข์เหล่าเกิดจัดทำโดย1.น.ส.นุชจรี ขจรฤทธิ์ เลขที่ 4 2.น.ส.ปวีณา ดวงสงค์ เลขที่ 14สาขา การศึกษาปฐมวัย ห้อง 1คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนครพนม
นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมนันทนาการนวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมนันทนาการ
นันทนาการ หมายถึง กิจกรรมที่ทำตามความสนใจในยามว่าง เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และผ่อนคลายความตึงเครียด (พจณานุกราฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2538 : 435) และ จรินทร์ ธานีรัตน์ ( 2528 : 14 ) ได้ให้ความหมายของนันทนาการว่า หมายถึง กิจกรรมที่กระทำในเวลาว่าง โดยใช้ความสมัครใจเป็นหลัก ไม่มีการบังคับและได้รับความพึงพอใจ และเพลิดเพลินจากกิจกรรมนั้นเป็นสำคัญ
จุดมุ่งหมายของนันทนาการจุดมุ่งหมายของนันทนาการ 1. เพื่อพัฒนาอารมณ์ กิจกรรมนันทนาการเป็นกระบวนการเสริมสร้าง และพัฒนาอารมณ์ของบุคคลและชุมชน โดยอาศัยกิจกรรมต่างๆ เป็นสื่อกลางในช่วงเวลาว่าง หรือเวลาอิสระ การเข้าร่วมกิจกรรมต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ และกิจกรรมนั้นจะต้องเป็นกิจกรรมที่สังคมยอมรับ สามารถก่อให้เกิดความสุข สนุกสนาน เพลิดเพลิน
2. เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ใหม่ กิจกรรมนันทนาการ ช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ให้แก่ผู้ร่วมกิจกรรม ทั้งนี้เพราะความหลากหลายกิจกรรม เช่น การท่องเที่ยว ทัศนศึกษา การเสริมสร้างประสบการณ์ใหม่ในสถานที่และทรัพยากรท่องเที่ยว ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และพื้นฐานเดิมของบุคคลหรือชุมชน
3. เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ กิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์ หรือกิจกรรมบางอย่างที่เคยเข้าร่วมมาแล้ว แต่ผู้เข้าร่วมอยากสร้างความประทับใจ หรือความทรงจำเดิม ก็จะเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ทั้งสิ้น
4. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วม กิจกรรมนันทนาการ จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคคลและชุมชน ฝึกให้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนด้วยความสนใจและสมัครใจ ส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีม เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม รู้จักสิทธิและหน้าที่ ตลอดจนความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่นในฐานะองค์กรของสังคม
5. เพื่อส่งเสริมการแสดงออก กิจกรรมนันทนาการหลายประเภท เป็นการส่งเสริมให้บุคคลได้แสดงออกทางด้านความรู้สึกนึกคิด สร้างสรรค์ การระบายอารมณ์ การเลียนแบบสถานการณ์ หรือพฤติกรรมต่างๆ ทำให้สามารถเรียนรู้และรู้จักตนเองมากขึ้น สร้างความมั่นใจ ความเข้าใจและการควบคุมตนเอง
6. เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต กิจกรรมนันทนาการเป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาอารมณ์ ความสุข ความสามารถของบุคคล สุขภาพและสมรรถภาพทางกายและจิตใจ ความสมดุลทางกาย และจิต สิ่งเหล่านี้จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ของสังคมทุกเพศและวัย นอกจากนี้ ยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มประชากรทุกกลุ่มด้วย
คุณค่าของนันทนาการ • คุณค่าของนันทนาการ ที่ให้ผลต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการในด้านต่างๆต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีดังนี้ (คงศักดิ์ เจริญรักษ์, 2527: 80-81 ) • 1.นันทนาการกับผลทางด้านจิตใจ • เป็นที่ยอมรับกันว่า กิจกรรมนันทนาการเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการที่จะป้องกันบุคคลที่ป่วยทางด้านจิตใจ และยังใช้ในการฟื้นฟูด้านจิตใจให้กลับสู้สภาพเดิมได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นแล้วปัญหาอื่นๆที่ทำให้ทุกคนเกิดความคับข้องใจ หรือความวิตกกังวลก็จะถูกลืมไปได้ เมื่อบุคคลเหล่านั้นเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม กิจกรรมที่เป็นกลุ่มหรือเป็นคณะจะได้ผลดีต่อจิตใจมาก โดยเฉพาะกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ด้านเกม และ กีฬา
2.นันทนาการกับผลทางด้านร่างกาย • กิจกรรมประเภทเกมและกีฬาจะช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายให้กับผู้เข้าร่วมได้เป็นอย่างดี ทำให้ร่างกายพัฒนาได้ทุกด้าน และยังส่งเสริมการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพของระบบภายในร่างกาย โดยเฉพาะระบบไหลเวียนโลหิต ระบบประสาท และระบบการหายใจ เป็นต้น • 3.นันทนาการกับผลทางด้านสังคม • เป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลที่เข้าร่วมมีการทำงานและรับผิดชอบร่วมกัน มีการติดต่อประสานงานและรับผิดชอบร่วมกัน จึงเป็นการส่งเสริมให้การอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นไปอย่างราบรื่น
ประเภทของกิจกรรมนันทนาการประเภทของกิจกรรมนันทนาการ นันทนาการเพื่อการเรียนรู้และทักษะ เป็นกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมความสามารถ และทักษะ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาทางกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เช่น การอ่านหนังสือ การเล่านิทาน การอ่าน การเขียน การพูด การโต้วาที อ่านกลอน ทัศนศึกษาตามโบราณสถาน โบราณวัตถุ พิพิธภัณฑ์ และกิจกรรมที่เป็นทักษะ เช่น การจัดสวน การตกปลา แกะสลัก งานศิลปะ และงานหัตถกรรมต่างๆ ฯลฯ
ประเภทศิลปหัตถกรรมกิจกรรมนันทนาการประเภทศิลปหัตถกรรม จะส่งเสริมความสามารถ ทักษะ สมาธิ ความประณีตและความอุตสาหะ ให้แก่บุคคลที่เข้าร่วมกิจกรรมได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการพัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ไปพร้อมๆกัน การประดิษฐ์ของเล่น ของใช้ ,การพิมพ์ภาพ และลวดลายต่างๆ ,ศิลปะการตกแต่งบ้าน ,การเย็บปักถักร้อย ,การประกอบอาหาร ,ศิลปะการแกะสลัก ,ศิลปะการปั้น ,ศิลปะการวาดภาพ
ประเภทกลางแจ้ง /นอกเมือง เป็นกิจกรรมที่มีความหลากหลาย ส่งเสริมให้บุคคลมีโอกาสสัมผัสธรรมชาติ และสภาพแวดล้อม ปลอดภัยจากมลภาวะเป็นพิษ แหล่งนันทนาการประเภทนี้ได้แก่ สวนสาธารณะ สนามเด็กเล่น ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ค่ายพักแรม สวนหย่อม สวนสัตว์ สวนผลไม้ พิพิธภัณฑ์ หรือศูนย์ชุมชนที่นอกเหนือจากสภาพแวดล้อมในบ้านหรือในห้องเรียน
กิจกรรมนันทนาการค่ายพักแรม เป็นกิจกรรมกลางแจ้งนอกเมืองที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง เพราะเป็นการผสมผสานกิจกรรมต่างๆเข้าด้วยกัน เช่นศิลปหัตถกรรม การดำรงชีวิตในป่า การสร้างวัสดุอุปกรณ์จากธรรมชาติ การตกปลา ศึกษาธรรมชาติ อนุรักษ์ธรรมชาติ และคุณค่าทางสังคม
คุณค่าของนันทนาการกลางแจ้ง / นอกเมือง • - ส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติ • - สร้างความสนุกสนานตื่นเต้น สนุกสนานเพลิดเพลิน • - รู้จักการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า • - ดำรงชีวิตเข้ากับธรรมชาติได้ • - เรียนรู้ และเห็นคุณค่าของธรรมชาติโดยตรง
นันทนาการเพื่อความบันเทิงนันทนาการเพื่อความบันเทิง เป็นกิจกรรมที่ให้คุณค่าพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสังคม เช่น การร้องเพลง การเล่นละคร ส่งเสริมการแสดงออก สร้างมนุษยสัมพันธ์ และสะท้อนภาพความเป็นอยู่ของสังคมหรือการดำเนินชีวิตประจำวัน การสร้างความรู้สึก เช่น การดูโทรทัศน์ ดูภาพยนตร์ ดูละคร เล่นดนตรี เต้นรำ เล่นเกมส์ สังสรรค์ พักผ่อนชายทะเล สวนสัตว์ สวนสนุก งานเทศกาล งานประเพณี ถือเป็นกิจกรรมทางวัฒนธรรมของมนุษย์ที่มีประวัติศาสตร์มาเป็นเวลาอันยาวนาน
ประเภทการเต้นรำและกิจกรรมเข้าจังหวะ การเต้นรำ เป็นกิจกรรมทางสังคมที่ให้คุณค่าพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และสังคม ส่งเสริมการแสดงออก สร้างมนุษยสัมพันธ์ ความคิดสร้างสรรค์ รู้จักมารยาทของสังคมและวัฒนธรรม ส่วนกิจกรรมเข้าจังหวะ เป็นกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่ใช้เสียงจังหวะของดนตรีมาประกอบเช่น • การเต้นรำพื้นเมือง การเต้นรำประกอบเพลง การเคลื่อนไหวเบื้องต้น • การรำวงมาตรฐาน การรำกลองยาว
นันทนาการเพื่อสุขภาพ นันทนาการเพื่อสุขภาพ สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน จุดมุ่งหมายของนันทนาการประการหนึ่ง ก็เพื่อพัฒนาสุขภาพกายและสุขภาพจิตของคนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดังนั้น กิจกรรมนันทนาการเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญเพิ่มขึ้นพร้อมกับความสนใจในสุขภาพของคนในปัจจุบันคือ นันทนาการเพื่อสุขภาพ เช่น เต้นรำ ร้องเพลง กีฬาชนิดต่างๆ ออกกำลังกาย เต้นแอโรบิค การฝึกสมาธิ โยคะ
นันทนาการเพื่อการบำบัดนันทนาการเพื่อการบำบัด นันทนาการเพื่อการบำบัด เป็นการนำกิจกรรมในแง่ของการบันเทิง และนันทนาการเพื่อสุขภาพมาใช้กับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ผ่อนคลายความเครียด และได้เคลื่อนไหว เช่น การบริหารกาย กลุ่มสัมพันธ์ เกมส์ งานฝีมือ ดูโทรทัศน์ ดนตรี ละคร
แนวทางในการจัดการเรียนรู้แนวทางในการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนานักเรียน ผู้ดำเนินการหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารจัดกิจกรรมนันทนาการ ควรคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้ 1.กำหนดจุดหมายของกิจกรรมแต่ละประเภทให้สอดคล้องกับองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาด้านต่างๆ ดังนี้
- ด้านดี หมายถึง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง รู้จักเห็นใจผู้อื่นและมีความรับผิดชอบ - ด้านเก่ง หมายถึง ความสามารถในการรู้จักตนเอง มีแรงจูงใจ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาและแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น - ด้านสุข หมายถึง ความสามารถในการดำเนินชีวิต ด้านการควบคุมอารมณ์ การเห็นใจผู้อื่น ความรับผิดชอบ การตัดสินและแก้ปัญหา ความพึงพอใจในชีวิตและความสงบสุข
2.กำหนดประเภทและรูปแบบของกิจกรรมนันทนาการให้สอดคล้องกับ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี โดยการจัดกิจกรรมประเภทนันทนาการต่างๆ คือ เกมกีฬา ศิลปหัตถกรรมกิจกรรมเข้าจังหวะดรตรีและเพลง วรรณกรรม และการละคร 3.จัดเตรียมทรัพยากรที่จำเป็นในการดำเนินการ ได้แก่ บุคลากร งบประมาณ สถานที่ และวัสดุอุปกรณ์
4.ดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ โดยจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับจดมุ่งหมายเหมาะสมกับเวลา สถานที่ และทรัพยากรที่มีอยู่ 5.สร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เข้าร่วม และให้กำลังใจผู้เข้าร่วม และให้กำลังใจผู้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสร้างทัศนคติ 6.ปลูกฝั่งคุณธรรมและจริยธรรม การรักษาสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
7.คำนึงถึงความปลอดภัยในการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ7.คำนึงถึงความปลอดภัยในการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ 8.ประเมินผลการจัดกิจกรรมนันทนาการอย่างต่อเนื่อง ทั้งก่อนดำเนินการ ขณะดำเนินการ และหลังดำเนินการ 9.สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรม เพื่อใช้เป็นหลักฐานสำหรับอ้างอิงหรือแสดงผลดำเนินงาน และรายงานผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ ข้อคบพบจากการวิจัย
พัฒนาทางด้านเชาวน์อารมณ์ Nord(1998) ได้วิจัยศึกษาผลของการจัดกิจกรรมนันทนาการประเภทชมธรรมชาติ พบว่าการการพัฒนาทางด้านอารมณ์ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมมรการตอบสนองต่อปฏิกิริยาทางด้านลบลดลง Dardah(2000) ได้ทำการสำรวจเชาวน์อารมณ์ของกลุ่มเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการเป็นประจำพบว่า กลุ่มเยาวชนดังกล่าวมีคะแนนเชาวน์อารมณ์ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เข้ากิจกรรมนันทนาการ
ภูฟ้า เสวกพันธ์ (2543) ได้วิจัยศึกษาผลของโปรแกรมนันทนาการที่มีต่อการพัฒนาเชาวน์อารมณ์ของนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย พบว่า กลุ่มทดลองที่ 1 (โปรแกรมนันทนาการการละครและค่ายพักแรม) และกลุ่มที่ 2 (โปรแกรมนันทนาการการกีฬาและเกม) มีพัฒนาคะแนนเฉลี่ยของเชาวน์อารมณ์ดีกว่าก่อนการทดทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
นพรัตน์ สุทธิกาล (2544) วิจัยศึกษาผลของกิจกรรมนันทนาการที่มีต่อการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีความฉลาดทางอารมณ์ภายหลังการทดลองโดยเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ โดยรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านความดี ในเรื่องความรับผิดชอบ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่กลุ่มทดลองมีความรับผิดชอบสูงกว่ากลุ่มควบคุม
การลดความเครียดและการซึมเศร้าการลดความเครียดและการซึมเศร้า Bollin(1998) ได้จัดโปรแกรมนันทนาการกับชายวัย 89 ปี ซึ่งเป็นโรคเครียดกับอาการซึมเศร้าลักษณะของโปรแกรมจะมีการยืดหยุ่นตามความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม พบว่าโรคเครียดกับอาการซึมเศร้าได้ลดลงหลังจากทำการวิจัยในสัปดาห์ที่ 8
ความเชื่อมั่นในตัวเองความเชื่อมั่นในตัวเอง อารี เกษมรัติ (2533) ได้วิจัยผลการศึกษาการจัดกิจกรรมศิลปะเป็นกลุ่ม และกิจกรรมศิลปะแบบสร้างสรรค์ปกติที่มีต่อความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขันและแบบทะนุถนอม พบว่า เด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกวดขันและแบบรักทะนุถนอมที่กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เป็นกลุ่มที่มีความเชื่อมั่นใจในตัวเองสูงกว่าเด็กที่ทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ปกติ
ความคิดสร้างสรรค์ ธูปทอง ศรีท้วม (2538) ได้วิจัยเกี่ยวกับกับความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ โดยใช้กิจกรรมทักษะดนตรี พบว่า เด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวที่เน้นทักษะดนตรี มีความคิดสร้างสรรค์มากกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหว ตามแผนการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวชั้นอนุบาล
พฤติกรรมทางสังคม วีรพงศ์ บุญประจักษ์ (2545) ได้วิจัยศึกษาการจัดประสบการณ์การเล่นพื้นบ้าน พบว่า เด็กปฐมวัยก่อนจัดประสบการณ์และระหว่างการจัดประสบการณ์ การเล่นพื้นบ้านไทยในแต่ละช่วงสัปดาห์ มีคะแนนพฤติกรรมทางสังคมโดยเฉลี่ยรวมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เพิ่มขึ้นตลอดแยกเป็นด้าน ได้แก่ ความร่วมมือ ความเห็นอกเห็นใจ การช่วยเหลือและแบ่งปัน มีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่สอดคล้องกัน
3.กิจกรรมนันทนาการประเภทใดเป็นกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ส่งเสริมการแสดงออก3.กิจกรรมนันทนาการประเภทใดเป็นกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ส่งเสริมการแสดงออก ก.ประเภทดนตรี ข.ประเภทละคร ค.ประเภทวิทยาศาสตร์ ง.ประเภทกรีฑา
4.การจัดกิจกรรมนันทนาการมีองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาด้านใดบ้าง4.การจัดกิจกรรมนันทนาการมีองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาด้านใดบ้าง ก.ด้านดี ด้านเก่ง ด้านสุข ข.ด้านสังคม ด้านเก่ง ด้านความคิด ค.ด้านสังคม ด้านเก่ง ด้านความคิด ง.ด้านเก่ง ด้านอารมณ์ ด้านสังคม
5.การจัดเตรียมทรัพยากรที่จำเป็นในการดำเนินการจัดการเรียนรู้ได้แก่อะไรบ้าง5.การจัดเตรียมทรัพยากรที่จำเป็นในการดำเนินการจัดการเรียนรู้ได้แก่อะไรบ้าง ก.บุคลากร เวลา งบประมาณ วัสดุ ข.เวลา สถานที่ บุคลากร อุปกรณ์ ค.วัสดุ เวลา สถานที่ บุคลากร ง.บุคลากร งบประมาณ สถานที่ และวัสดุอุปกรณ์
สิ้นสุดการนำเสนอ ขอบคุณค่ะ