1 / 23

ผลการตรวจสอบ ตามแผนการตรวจสอบประจำปี พ.ศ. 2553-2554

ผลการตรวจสอบ ตามแผนการตรวจสอบประจำปี พ.ศ. 2553-2554. การจัดวางระบบควบคุมภายใน ไม่มีการจัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานแต่ละกิจกรรม ไม่มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน และการมอบหมายหน้าที่ปฏิบัติงานไม่จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร ขาดการทบทวนและติดตามตรวจสอบผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่. ด้านการเงิน.

aelan
Download Presentation

ผลการตรวจสอบ ตามแผนการตรวจสอบประจำปี พ.ศ. 2553-2554

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ผลการตรวจสอบ ตามแผนการตรวจสอบประจำปี พ.ศ.2553-2554 • การจัดวางระบบควบคุมภายใน • ไม่มีการจัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานแต่ละกิจกรรม ไม่มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน และการมอบหมายหน้าที่ปฏิบัติงานไม่จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร • ขาดการทบทวนและติดตามตรวจสอบผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่

  2. ด้านการเงิน 1. การเก็บรักษาเงิน • ไม่เก็บเงินไว้ในตู้นิรภัย • กรรมการเก็บรักษาเงินไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบกำหนด • ไม่จัดทำรายงานคงเหลือประจำวันในวันที่รับ-จ่ายเงินหมด

  3. ด้านการเงิน (ต่อ) 2. การใช้ใบเสร็จรับเงิน • ไม่จัดทำทะเบียนคุมใบเสร็จรับเงิน และสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ไม่ได้รายงานการใช้ใบเสร็จรับเงิน ให้ผู้อำนวยการฯ ทราบ • ใบเสร็จรับเงินบางฉบับ ยกเลิกโดยไม่ได้ระบุสาเหตุการยกเลิก และไม่ได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจ

  4. ด้านการเงิน (ต่อ) 3.การรับจ่ายเงิน • การรับเงินบางรายการไม่ออกใบเสร็จรับเงิน เช่น เงินประกันสัญญา เงินบริจาค รับคืนเงินยืมเหลือจ่ายบางสัญญาและรับเงินส่วนเกินค่าโทรศัพท์ของผู้บริหาร • ไม่มีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบจำนวนเงินที่จัดเก็บและนำส่งกับหลักฐานที่บันทึกในบัญชีเงินสด เงินฝากธนาคารว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ • สถานพินิจ ฯ บางแห่งมีคำสั่งฯ แต่เจ้าหน้าที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ ตามคำสั่ง ฯ

  5. ด้านการเงิน (ต่อ) • มีการเขียนเช็คสั่งจ่ายเจ้าหน้าที่ที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่การเงินถอนเงินสดมาให้เจ้าหน้าที่การเงินเพื่อจ่ายให้แก่ ผู้มีสิทธิหรือนำเงินฝากเข้าบัญชีผู้มีสิทธิหรือเจ้าหนี้โดย ไม่มีหนังสือมอบฉันทะหรือหนังสือมอบอำนาจ • การรับเงินประกันตัวเด็กและเยาวชน ภายหลังกำหนดเวลาปิดบัญชี ไม่ได้กำกับไว้ว่าเป็นการรับเงินหลังปิดบัญชีในใบเสร็จรับเงิน

  6. ด้านการเงิน (ต่อ) • มีการจัดทำขบเบิกเงิน ซ้ำ 2 ครั้ง และนำเงินที่เบิกซ้ำจ่ายใบสำคัญที่ส่งมาตั้งเบิก ไม่มีการควบคุม และตรวจสอบการจ่ายเงินดังกล่าว ซึ่งเป็นการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามหลักการเบิกจ่ายเงินของส่วนราชการ สุ่มตรวจสอบหลักฐาน • การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ พบว่า การจัดเก็บใบสำคัญคู่จ่ายจัดเก็บไม่เรียบร้อยและไม่ครบถ้วน เช่น ใบสำคัญคู่จ่ายบางชุดไม่มีใบเสร็จรับเงิน การเบิกจ่ายบางรายการหาใบสำคัญไม่พบ • ใบสำคัญคู่จ่ายบางฉบับไม่ประทับตรา “จ่ายเงินแล้ว”

  7. ด้านการเงิน (ต่อ) • เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี ทำการ Encrypt File การขอเบิกเงินงบประมาณ ในระบบ GFMIS แทนผู้อำนวยการ ฯ โดยไม่มีคำสั่งมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษรให้เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี ดำเนินการแทน

  8. ด้านการบัญชี 1. บันทึกบัญชีเกณฑ์คงค้างไม่เป็นปัจจุบัน 2. บันทึกบัญชีเกณฑ์คงค้างและบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบ GFMIS ไม่ครบถ้วน เช่น • ครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้าง บางรายการไม่บันทึกบัญชีเกณฑ์คงค้างและหรือบัญชีในระบบ GFMIS • บัญชีครุภัณฑ์ไม่ระบุรายละเอียด ไม่คิดค่าเสื่อมราคาและบันทึกบัญชี

  9. ด้านการบัญชี (ต่อ) • การรับเงินประกันตัวเด็กและเยาวชน นำเงินฝากธนาคาร จัดทำใบสำคัญการลงบัญชีด้านรับ ด้านจ่าย แต่ไม่ได้บันทึกบัญชีเงินสดและบัญชีเงินฝากธนาคารตามหลักการบัญชีเกณฑ์ คงค้าง แต่จัดทำแบบ บช 01 บันทึกการรับและ นำเงินฝากธนาคารในระบบ GFMIS

  10. 3. บันทึกบัญชีเกณฑ์คงค้างและบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบ GFMIS ไม่ถูกต้อง เช่น ครุภัณฑ์ที่ได้รับพร้อมงบประมาณค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงอาคารสถานพินิจจัดตั้งใหม่ปีงบประมาณ พ.ศ.2549 คือ บันทึกบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมด ไม่แยกครุภัณฑ์บันทึกบัญชีสินทรัพย์ ด้านการบัญชี (ต่อ)

  11. ด้านการบัญชี (ต่อ) 4. สถานพินิจ ฯ บางแห่งไม่ได้จัดทำงบเทียบยอดเงินฝากธนาคารในงบประมาณ เงินฝากธนาคารเงินนอกงบประมาณหลายบัญชีไม่ได้นำเข้าระบบบัญชี GFMIS เช่น เงินดอกเบี้ยอันเกิดจากเงินกลาง 5. ไม่มีการตรวจสอบตรวจสอบความถูกต้องแต่ละบัญชี เปรียบเทียบระหว่างบัญชีเกณฑ์คงค้างกับบัญชีในระบบ GFMIS

  12. เงินทดรองราชการ สุ่มตรวจสอบการใช้จ่ายเงินทดรองราชการ พบว่า 1.ใบเสร็จรับเงินสำหรับรับคืนเงินสด เงินทดรองราชการ และเงินงบประมาณใช้เล่มเดียวกัน 2.ไม่ได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบรายการเคลื่อนไหวในทะเบียนคุมเงินทดรอง และจำนวนเงินสดคงเหลือ 3. ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารบัญชีออมทรัพย์เงินทดรองราชการไม่ได้ถอนและนำส่งเป็นเงินรายได้แผ่นดิน

  13. เงินทดรองราชการ (ต่อ) 4.ไม่ได้จัดทำรายงานประจำเดือน รายงานฐานะเงินทดรองราชการ และงบเทียบยอดเงินฝากธนาคารเงินทดรองราชการ สิ้นปีงบประมาณ ไม่แจ้งยอดเงินทดรองราชการให้กรมบัญชีกลางทราบ

  14. เงินทดรองราชการ (ต่อ) 5. จากการตรวจสอบการยืมเงินทดรองราชการ ปรากฏว่า 5.1 การยืมเงินบางรายการไม่ได้จัดทำสัญญายืม 5.2 บันทึกลูกหนี้เงินยืมทดรองราชการในทะเบียนคุมเงินทดรองราชการไม่ครบถ้วน เช่น เงินยืมจัดโครงการ

  15. เงินทดรองราชการ (ต่อ) 5.3 สัญญาเงินยืมทำไว้ 1 ฉบับ สัญญาบางฉบับไม่ระบุเลขที่สัญญาและวันครบกำหนดส่งใช้คืน 5.4 เมื่อผู้ยืมส่งใบสำคัญหักล้างเงินยืม เจ้าหน้าที่ไม่ได้ออกใบรับใบสำคัญ และไม่บันทึกหักล้างเงินยืมหลังสัญญายืมเงิน 5.5 ไม่จัดทำทะเบียนคุมลูกหนี้เงินยืมเงินทดรองราชการ

  16. เงินทดรองราชการ (ต่อ) 6. อนุมัติให้ลูกหนี้เงินยืมทดรองราชการยืมเงินรายใหม่โดยมิได้ชำระเงินยืมรายเก่า เช่น กรณีที่ให้ยืมจัดทำโครงการพร้อมกันหลายโครงการ และมีการส่งใช้เงินยืมของลูกหนี้ล่าช้า 7. ดอกเบี้ยเงินทดรองราชการที่เกิดจากเงินฝากบัญชีออมทรัพย์ ยังไม่ได้นำส่งเป็นเงินรายได้แผ่นดิน 8. เมื่อมีการเบิกเงินงบประมาณชดใช้ใบสำคัญที่ทดรองจ่ายโดยเงินทดรองราชการ เจ้าหน้าที่จะเขียนเช็คเบิกเงินจากบัญชีงบประมาณเป็นเงินสด โดยไม่ผ่านเข้าบัญชีเงินทดรองราชการ

  17. เงินประกันตัวเด็ก 1. จัดทำทะเบียนคุมเงินประกันตัวเด็กและเยาวชนแต่สิ้นเดือนไม่ได้เก็บรายละเอียดเงินประกันฯ คงเหลือเพื่อสอบยันกับเงินฝากธนาคาร 2. ดอกเบี้ยเงินประกันตัวเด็กและเยาวชน ค้างบัญชีเงินฝากธนาคาร ยังไม่ได้ดำเนินการตามระเบียบกำหนด 3. เงินประกันตัวเด็กฯ คงเหลือค้างนานเกิน 5 ปี ยังไม่ได้ดำเนินการตามระเบียบ ฯ

  18. เงินรับฝากเด็กและเยาวชนเงินรับฝากเด็กและเยาวชน จากการตรวจสอบทรัพย์สินของเด็กและเยาวชนในสถานควบคุม ปรากฏว่า เยาวชนมีเงินสดฝากไว้ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เช่น นักจิตวิทยาปฏิบัติการเป็นผู้เก็บรักษาโดยจัดทำสมุดบันทึกรวมกับทรัพย์สินหรือสิ่งของอื่น เนื่องจากมิได้เปิดบัญชีฝากธนาคารในนาม “เงินฝากเด็กและเยาวชน”ไม่มีคำสั่งแต่งตั้งให้มีผู้รับผิดชอบและผู้สอบทานในการจัดทำบัญชีเงินรับฝากเด็กและเยาวชน

  19. การควบคุมสินทรัพย์ 1. บันทึกบัญชีวัสดุบันทึกไม่ถูกต้อง บางสถานพินิจไม่ บันทึกบัญชีวัสดุ 2. บันทึกทะเบียนคุมทรัพย์สินไม่ครบทุกรายการ เช่น ครุภัณฑ์ต่ำกว่าเกณฑ์ 3. การกำหนดเลขรหัสครุภัณฑ์ แต่ละสถานพินิจฯ กำหนดเลขรหัสครุภัณฑ์ไม่เหมือนกัน เช่น บางสถานพินิจ มีตัวย่อจังหวัดนำหน้า ครุภัณฑ์บางรายการยังไม่ กำหนดเลขรหัส

  20. การควบคุมสินทรัพย์ (ต่อ) 4. ครุภัณฑ์เครื่องมือเครื่องใช้หลักสูตรวิชาชีพช่างไม้-ก่อสร้างจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ และขาดการดูแลรักษา 5. สิ่งก่อสร้างหลายแห่งยังไม่ขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุ เช่น สถานพินิจเด็กและเยาวชนสมุทรปราการ สถานพินิจเด็กและเยาวชนจังหวัดอำนาจเจริญ สถานพินิจเด็กและเยาวชนจังหวัดกาญจนบุรี

  21. การควบคุมสินทรัพย์ (ต่อ) 6. การตรวจนับพัสดุประจำปี 2554 จากสุ่มตรวจนับครุภัณฑ์ พบว่า 6.1 ครุภัณฑ์บางรายการไม่มีเลขรหัสครุภัณฑ์และไม่ได้บันทึก ในทะเบียนคุมทรัพย์สิน 6.2 คณะกรรมการตรวจสอบการรับ – จ่ายพัสดุและตรวจนับพัสดุคงเหลือประจำปีไม่ได้ตรวจนับพัสดุที่มีอยู่จริงเทียบกับบัญชีหรือทะเบียน,ไม่ได้รายงานการตรวจนับพัสดุคงเหลือประจำปี

  22. การควบคุมสินทรัพย์ (ต่อ) 6.3 มีการโยกย้ายครุภัณฑ์โดยไม่บันทึกว่านำไปใช้ที่ใด และการควบคุมดูแลรักษาไม่รัดกุม 6.4 ครุภัณฑ์รับบริจาคไม่ได้รายงานกรม ตามระเบียบกำหนด 7. ครุภัณฑ์บางรายการไม่ได้ใช้งาน บางรายการชำรุดไม่ได้ซ่อมแซมให้ใช้งานได้ 8. การบันทึกบัญชีและการเบิกจ่ายวัสดุบางรายการไม่เป็นปัจจุบัน ใบเบิกวัสดุบางรายการไม่มีให้ตรวจสอบ

  23. Tel. 0-2141-6467Fax. 0-2143-8470Email. audit_pinij@hotmail.com audit_pinij@djob.mail.go.th หน่วยตรวจสอบภายใน กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

More Related