1 / 35

โครงการสำคัญ สำนักโภชนาการ ปี 2554

โครงการสำคัญ สำนักโภชนาการ ปี 2554. โครงการสำคัญปี 2554. โครงการคนไทยไร้พุง โครงการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน โครงการเด็กไทยเติบโตสมวัย ฉลาดแข็งแรง โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการหญิงตั้งครรภ์และ การเจริญเติบโตของเด็ก อายุ 0-18 ปี. ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาโรคอ้วนคนไทย.

mea
Download Presentation

โครงการสำคัญ สำนักโภชนาการ ปี 2554

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการสำคัญสำนักโภชนาการปี 2554

  2. โครงการสำคัญปี 2554 • โครงการคนไทยไร้พุง • โครงการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน • โครงการเด็กไทยเติบโตสมวัย ฉลาดแข็งแรง • โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการหญิงตั้งครรภ์และ การเจริญเติบโตของเด็กอายุ 0-18 ปี

  3. ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาโรคอ้วนคนไทยยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาโรคอ้วนคนไทย

  4. ยุทธวิธีการดำเนินงานคนไทยไร้พุง ปี 2554 • ผลักดันยุทธศาสตร์ “สุขภาพดีวิถีไทย” เข้าสู่คณะรัฐมนตรี • พัฒนาระบบเฝ้าระวัง พฤติกรรมเสี่ยง ลดอ้วน ลดโรค • พัฒนามาตรฐาน DPAC ระดับ รพ.ศูนย์/ รพ.ทั่วไป /รพ.ชุมชน • จำนวนตำบล / รพ.ชุมชน / รพ.ทั่วไป / รพ. ศูนย์ ที่มี DPAC • การนำ Best Practice ขององค์กร โรงเรียน โรงพยาบาล • และท้องถิ่น มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขยายผล • 6. ปรับกระบวนทัศน์การทำงานเป็นทีม เพื่อพัฒนาวิทยากรระดับเขต • และประสิทธิผลการดำเนินการ

  5. โครงการคนไทยไร้พุง ปี 2554 การแก้ไขปัญหาโรคอ้วน • รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552 , n=20,290ราย) • สำนักงานสำรวจประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

  6. โครงการคนไทยไร้พุง ปี 2554 การแก้ไขปัญหาโรคอ้วน กิจกรรม • จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพ อปท. และแกนนำ ให้เป็นวิทยากรผู้ให้ความรู้เรื่อง 3อ.(4 ภาค) • จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ องค์กร โรงเรียน โรงพยาบาล และท้องถิ่น เพื่อขยายผล • รณรงค์สร้างกระแสจังหวัดไร้พุงมุ่งสู่สุขภาพดี • สร้างกระแสผ่านสื่อโทรทัศน์และวิทยุ (ผลิตสปอตและเผยแพร่ พิธีกรพูดประชาสัมพันธ์ในรายการต่างๆ รายการสัมภาษณ์ ข่าวการถ่ายทอดพิธีเปิด/ปิดงาน ) • สนับสนุนจังหวัดดำเนินการสร้างกระแส

  7. โครงการคนไทยไร้พุง ปี 2554 การแก้ไขปัญหาโรคอ้วน กิจกรรม 4.การผลิตและพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์ 5.รณรงค์สร้างกระแส ตรวจวัดไขมันร่างกายและถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชนและเจ้าหน้าที่กรมอนามัย 6.ควบคุม กำกับ ติดตามและประเมินผลโครงการฯ 7.พัฒนาระบบเฝ้าระวังฯ พฤติกรรมเสี่ยง ลดอ้วน ลดโรค ( อสม. 1.2 ล้านคน)

  8. โครงการคนไทยไร้พุง ปี 2554 การแก้ไขปัญหาโรคอ้วน ปัจจัยการสนับสนุน 1.นโยบายที่ชัดเจน 2.ผู้บริหารทั้งส่วนกลางและภูมิภาคให้ความสำคัญ 3.เจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นมีการดำเนินงานในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง 4.มีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น 5.มีเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สนับสนุน

  9. โครงการคนไทยไร้พุง ปี 2554 การแก้ไขปัญหาโรคอ้วน ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน ปี 2553 • มีการปรับเปลี่ยนและเพิ่มกลุ่มเป้าหมายใหม่ ทำให้ต้องใช้เวลาในการประสานงานและเตรียมกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ • มีการปรับเปลี่ยนผู้รับผิดชอบงานในระดับจังหวัด • สถานการณ์บ้านเมืองในช่วงเดือน มี.ค. 53 ทำให้หัวหน้าส่วนราชการบางหน่วยงานไม่สามารถเข้าร่วมรับทราบการดำเนินงานตามโครงการฯ

  10. โครงการคนไทยไร้พุง ปี 2554 การแก้ไขปัญหาโรคอ้วน ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน ปี 2553 • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต้องใช้เวลาและความต่อเนื่องในการสร้างแรงจูงใจ ความรู้ความเข้าใจเพื่อให้เกิดความตระหนักและทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม • สถานการณ์การเมืองในเดือน พ.ค. 53 มีการชุมนุมก่อความไม่สงบในหลายจังหวัด เช่น อุดรธานี อุบลราชธานี มุกดาหาร ขอนแก่น และเชียงใหม่ เป็นต้น ทำให้การวัดรอบเอวและชั่งน้ำหนักในกลุ่มหัวหน้าหน่วยราชการได้รับผลกระทบ

  11. โครงการคนไทยไร้พุง ปี 2554 การแก้ไขปัญหาโรคอ้วน ข้อเสนอแนะ • มีการจัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานแก่ผู้บริหาร ผู้รับผิดชอบงานอย่างชัดเจน • รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเกิดความตระหนักอย่างทั่วถึง ในทุกช่องทางการสื่อสารและต่อเนื่อง

  12. โครงการเด็กไทยเติบโตสมวัย ฉลาดแข็งแรง โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการหญิงตั้งครรภ์และ การเจริญเติบโตของเด็กอายุ 0-18 ปี ยุทธศาสตร์เด็กไทยมีพัฒนาการและการเจริญเติบโตสมวัย

  13. เป้าหมายการดำเนินงานปี 54 เด็กไทยมีพัฒนาการ และการเจริญเติบโตสมวัย

  14. เป้าหมายการดำเนินงานปี 54 เด็กไทยมีพัฒนาการ และการเจริญเติบโตสมวัย

  15. โครงการเด็กไทยเติบโตสมวัย ฉลาดแข็งแรง เด็กไทยมีพัฒนาการ และการเจริญเติบโตสมวัย กิจกรรม/แนวทางการดำเนินงาน ปี 2554 • พัฒนาภาคีเครือข่ายเพื่อการสื่อสารสังคม • จัดประชุมเรื่องการสื่อสารการส่งเสริมการเจริญเติบโตของเด็กสู่สาธารณะให้กับผู้สื่อข่าวและนักการสื่อสาร • ผู้สื่อข่าวและนักการสื่อสารศึกษาดูงานในพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จ • จัดทำเว็บไซด์ เว็บบอร์ด เครือข่ายการเจริญเติบโตของเด็ก • สร้างกระแสสังคม • สื่อสารสู่สาธารณะเรื่อง การส่งเสริมการเจริญเติบโตของเด็ก อายุ 0-18 ปี อย่างต่อเนื่อง • สร้างกระแส “วัยเด็กวัยรุ่นสูงหุ่นดี” โดยผ่านสื่อทางทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์

  16. โครงการเด็กไทยเติบโตสมวัย ฉลาดแข็งแรง เด็กไทยมีพัฒนาการ และการเจริญเติบโตสมวัย กิจกรรม/แนวทางการดำเนินงาน ปี 2554 • สร้างระบบติดตามและประเมินผล • ประชุมพัฒนาระบบการติดตาม จัดทำคู่มือและเครื่องมือในการติดตาม • ดำเนินการติดตามและประเมินผล • ส่วนกลาง • ศูนย์อนามัย 12 เขต

  17. โครงการเด็กไทยเติบโตสมวัย ฉลาดแข็งแรง เด็กไทยมีพัฒนาการ และการเจริญเติบโตสมวัย กิจกรรม/แนวทางการดำเนินงาน ปี 2554 • ศึกษาวิจัยและพัฒนา • เตรียมพื้นที่สำรวจภาวะอาหารและโภชนาการหญิงตั้งครรภ์และเด็กอายุ 0-18 ปี • ส่งเสริมและสนับสนุนในการจัดเวทีประชาคม เพื่อกำหนดมาตรการทางสังคมหรือนโยบายสาธารณะที่จะทำให้หญิงตั้งครรภ์และเด็กอายุ 0-18 ปี ได้รับการเฝ้าระวังการเจริญเติบโตและมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม • ประสานงานและร่วมดำเนินงานกับโครงการที่เกี่ยวข้อง

  18. โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการหญิงตั้งครรภ์และการเจริญเติบโตของเด็กอายุ 0-18 ปี เด็กไทยมีพัฒนาการ และการเจริญเติบโตสมวัย กิจกรรม/แนวทางการดำเนินงาน ปี 2554 • ติดตามการดำเนินงานเฝ้าระวังฯในพื้นที่นำร่อง • จัดเวทีถอดบทเรียนระบบการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการหญิงตั้งครรภ์และการเจริญเติบโตของเด็กอายุ 0-5 ปี และ 6-18 ปี • พัฒนาโปรแกรมเฝ้าระวังภาวะโภชนาการหญิงตั้งครรภ์และโปรแกรมเฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็กอายุ 0-18 ปี • พัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางสาธารณสุขด้านเฝ้าระวังภาวะโภชนาการหญิงตั้งครรภ์และการเจริญเติบโตของเด็กอายุ 0-18 ปี จำนวน 54 จังหวัด • จัดทำและสนับสนุนเครื่องมือประเมิน และสื่อสิ่งพิมพ์

  19. ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานปี 53 เด็กไทยมีพัฒนาการ และการเจริญเติบโตสมวัย • ผู้รับผิดชอบงานเฝ้าระวังในพื้นที่ย้ายหรือเปลี่ยนงานและไม่ได้ส่งมอบงานต่อ • พื้นที่รอโปรแกรมเฝ้าระวังภาวะโภชนาการหญิงตั้งครรภ์และโปรแกรมเฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็กอายุ 0-18 ปี ที่สมบูรณ์ จึงยังไม่ประชุมชี้แจงการดำเนินงานเฝ้าระวังฯ

  20. ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไข เด็กไทยมีพัฒนาการ และการเจริญเติบโตสมวัย • ติดตามการดำเนินงานในช่วงต้นปีงบประมาณ • เร่งการพัฒนาโปรแกรมเฝ้าระวังฯ

  21. งานตามพระราชดำริ โครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน

  22. เป้าหมายการดำเนินงานปี 54

  23. โครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน แนวทางการดำเนินงาน • กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ ทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานรัฐ ในส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่น รวมทั้งภาคเอกชน ชุมชน แกนนำและประชาชนมีส่วนร่วมอย่างมุ่งมั่นต่อเนื่องและยั่งยืน • Universal Salt Iodization : USI (เกลือเสริมไอโอดีนถ้วนหน้า) โดยจัดทำและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ติดตามการบังคับใช้กฎหมายให้เกลือบริโภค เกลืออุตสาหกรรมอาหารและเกลืออาหารสัตว์เสริมไอโอดีนอย่างมีคุณภาพ

  24. โครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน แนวทางการดำเนินงาน • พัฒนาระบบเฝ้าระวัง ติดตาม และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง โดยการเฝ้าระวังในหญิงตั้งครรภ์ เด็กแรกเกิด และเด็กเล็ก รวมทั้งการเฝ้าระวังคุณภาพโรงงาน / แหล่งผลิต / นำเข้าเกลือและเกลือบริโภค โดยให้รายงานต่อคณะกรรมการไอโอดีนแห่งชาติและสาธารณะเป็นระยะ • ผู้บริหารนโยบายทุกหน่วยงานและทุกระดับให้ความสำคัญกับการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน ตลอดจนร่วมมือกันอย่างบูรณาการในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนบริโภคเกลือเสริมไอโอดีน และได้รับสารไอโอดีนอย่างทั่วถึง

  25. โครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน แนวทางการดำเนินงาน • สร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนของหน่วยงานรัฐและภาคเอกชน สนับสนุนงบประมาณทั้งในส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่น ร่วมกับชมรมผู้ประกอบการเกลือเอกชนและแกนนำชุมชนเพื่อการบริหารจัดการและเสริมสร้างความเข้มแข็งซึ่งกันและกัน • กลไกขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ 1) ใช้กลไกคณะกรรมการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนแห่งชาติและคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน ติดตาม กำกับ และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง 2) ผลักดันหมู่บ้าน/ชุมชนคนไทยฉลาดด้วยไอโอดีน โดยการประสานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์กรปกครองท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุข ตามแผนสุขภาพตำบลของกองทุนสุขภาพตำบล

  26. โครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน การสนับสนุนการดำเนินงาน • สนับสนุนชุดทดสอบไอโอดีน ให้กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และศูนย์อนามัย ( ตามงบประมาณ ) เพื่อตรวจคุณภาพเกลือเสริมไอโอดีนในร้านค้าและครัวเรือน • สนับสนุนชุดทดสอบไอโอดีนจำนวน 500 ชุดให้กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จำนวน 25 จังหวัด เพื่อตรวจคุณภาพเกลือเสริมไอโอดีนในครัวเรือนหญิงตั้งครรภ์

  27. โครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน การสนับสนุนการดำเนินงาน • สนับสนุนสื่อ แผ่นพับ การควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนให้กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และศูนย์อนามัย ซึ่งได้แก่ • แผ่นพับมารู้จักโรคขาดสารไอโอดีนและวิธีป้องกันกันเถอะ • แผ่นพับคุณรู้จักเกลือเสริมไอโอดีนแล้วหรือยัง • บทความสั้นวิทยุ เรื่อง เด็กไทยจะฉลาดเพราะไม่ขาดไอโอดีน ,Mr ไอโอดีนผจญภัยในเมืองเอ๋อ • พัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการศูนย์อนามัยที่ 4, 6, 10 และ 11 เพื่อตรวจระดับไอโอดีนในปัสสาวะหญิงตั้งครรภ์

  28. โครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน ปัญหา/อุปสรรค การดำเนินโครงการในปี 53 • การขาดความต่อเนื่องของนโยบายทางการเมืองและราชการ • ประชาชนบางกลุ่มยังเข้าไม่ถึงเกลือเสริมไอโอดีนที่มีคุณภาพ • การบังคับใช้กฎหมายไม่ได้ผล • การประสานงานของแต่ละหน่วยงานน้อย • ความตระหนักของประชาชนต่อการใช้เกลือเสริมไอโอดีนยังไม่แพร่หลาย นอกจากนี้เกลือที่ไม่เสริมไอโอดีนยังมีราคาถูกกว่า ทำให้ประชาชนที่ยากจนบริโภคเกลือที่ไม่มีคุณภาพ • อุตสาหกรรมอาหารบางประเภทใช้เกลือเม็ดในการผลิตซึ่งขั้นตอนการเสริมไอโอดีนในเกลือเม็ดจะมีขั้นตอนยุ่งยากและเติมไอโอดีนได้ไม่ทั่วถึง

  29. โครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน แนวทางแก้ไขปัญหา  เกลือบริโภค • สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จะดำเนินการให้เกลือบริโภคมีคุณภาพ ดังต่อไปนี้ 1.1 ปรับปรุงประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่ 153/2537 ให้เกลือบริโภคเป็นอาหารมาตรฐาน 1.2 จัดทำแนวทางปฏิบัติตามกระทรวงสาธารณสุข ที่ 153/2537 สำหรับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและผู้ประกอบการเกลือ

  30. โครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน แนวทางแก้ไขปัญหา  เกลือบริโภค 1.3 ประชุมชี้แจงผู้ประกอบการเกลือทั่วประเทศ 1.4 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนตระหนักรู้และบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนโดยสื่อสารผลของไอโอดีนที่มีต่อสมอง พัฒนาการเด็ก และคุณภาพชีวิตของทุกกลุ่มวัย

  31. โครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน แนวทางแก้ไขปัญหา  เกลืออุตสาหกรรมอาหาร • คณะกรรมการอาหารและยากำลังศึกษาความเป็นไปได้และความคุ้มค่าของการเสริมไอโอดีนในเกลือที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร • เตรียมเสนอเป็นประกาศกระทรวงสาธารณสุข • ศึกษาวิจัยเพื่อทราบขอบเขตการใช้เกลือเสริมไอโอดีนในอุตสาหกรรมอาหาร ( ประเภทอุตสาหกรรม, ปริมาณที่ใช้ )

  32. โครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน แนวทางแก้ไขปัญหา  เกลืออาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์กำลังจะจัดทำประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาหารสัตว์ โดยกำหนดระดับไอโอดีน ต่ำสุด/สูงสุดที่ควรจะมีในอาหารสัตว์ เบื้องต้นจะรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อนำเสนอคณะอนุกรรมการมาตรฐานอาหารสัตว์พิจารณาตัดสินใจ และแจ้งต่อไปยังองค์การค้าโลก ( World Trade Organization )

  33. โครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน แนวทางแก้ไขปัญหา  การควบคุมคุณภาพเกลือเสริมไอโอดีน ณ โรงงาน/แหล่งผลิต / ร้านค้า และในครัวเรือน • ควรจัดทำมาตรฐานโรงงาน / แหล่งผลิตเกลือ และพัฒนาระบบประกันคุณภาพโดยการบังคับใช้ตามกฎหมาย ควรให้มีคณะทำงานร่วมของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด เป็นต้น เพื่อนิเทศ ติดตาม และประเมินคุณภาพโรงงานและคุณภาพเกลือ • สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ควบคุมและประเมินคุณภาพโรงงาน / แหล่งผลิตเกลือ และเกลือที่โรงงานและร้านค้า • กรมอนามัยและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดประเมินคุณภาพเกลือในครัวเรือน

  34. โครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน แนวทางแก้ไขปัญหา • โปตัสเซียมไอโอเดต ที่เสริมในเกลือ พ.ศ. 2554 : กรมอนามัยไม่ได้จัดงบประมาณซื้อโปตัสเซี่ยมไอโอเดต ให้ชมรมผู้ประกอบการเกลือเสริมไอโอดีน เนื่องจากสำนักงบประมาณแจ้งว่ามิใช่ภารกิจกรมอนามัยในการดังกล่าว อย่างไรก็ตามกรมศุลกากรแจ้งว่าได้ยกเว้นภาษีนำเข้าโปตัสเซี่ยมไอโอเดตเพื่อสนับสนุนการผลิตเกลือเสริมไอโอดีนคุณภาพ

  35. โครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน แนวทางแก้ไขปัญหา • มาตรการอื่นๆ • ส่งเสริมให้มีการเสริมไอโอดีนในผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ เช่นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป น้ำปลา ขนมขบเคี้ยว ไข่ไก่ และปลาร้า • มีการใช้น้ำไอโอดีนเข้มข้นสำหรับผสมน้ำดื่มในพื้นที่ทุรกันดาร • อยู่ในระหว่างการพัฒนาและวิจัยวิตามินเสริมไอโอดีนสำหรับหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ครั้งแรกที่เริ่มฝากครรภ์ และระหว่างเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รวมทั้งในหญิงวัยเจริญพันธุ์ • มีระบบการเฝ้าระวังที่สามารถติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อการดำเนินงานที่ฉับไว ทันเวลา • มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องเรื่อง “ไอโอดีนกับการพัฒนาสติปัญญา”

More Related