1.96k likes | 2.18k Views
ชี้แจง กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของกลุ่มจังหวัดและจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554. 10 กันยายน 2553. ประเด็นนำเสนอ. กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของกลุ่มจังหวัดและจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
E N D
ชี้แจง กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของกลุ่มจังหวัดและจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 10 กันยายน 2553
ประเด็นนำเสนอ • กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของกลุ่มจังหวัดและจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 • แนวทางการเจรจาความเหมาะสมตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และเกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการกลุ่มจังหวัดและจังหวัด” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 • รายการตัวชี้วัดและเกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการกลุ่มจังหวัดและจังหวัด”
กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของ กลุ่มจังหวัด/จังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการ มิติที่ 1 : มิติด้านประสิทธิผล มิติที่ 2 : มิติด้านคุณภาพการให้บริการ • ผลสำเร็จตามแผนปฏิบัติราชการ • การขับเคลื่อนนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล • - การพัฒนาสังคม คุณภาพชีวิต ความปลอดภัย ความมั่นคงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม • ความพึงพอใจ • การป้องกันการทุจริต มิติที่ 4 : มิติด้านการพัฒนาองค์การ มิติที่ 3 : มิติด้านประสิทธิภาพ ของการปฏิบัติราชการ • การรักษามาตรฐานระยะเวลาการให้บริการ • การบริหารงบประมาณ • การควบคุมภายใน • การบริหารจัดการองค์การ
มิติด้านการพัฒนาองค์การมิติด้านการพัฒนาองค์การ กรอบการประเมินผลตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2554 ของจังหวัด มิติด้านประสิทธิผล 50% ความสำเร็จ ตามแผนปฏิบัติราชการ กลุ่มจังหวัด และจังหวัด ความสำเร็จตาม นโยบายสำคัญเร่งด่วน ของรัฐบาล การพัฒนาสังคม คุณภาพชีวิต ความปลอดภัย ความมั่นคง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 20 10 20 มิติด้านคุณภาพการให้บริการ 15% การป้องกันการทุจริตในการปฏิบัติราชการ ความพึงพอใจ 12 3 15% มิติด้านประสิทธิภาพ มาตรฐานระยะเวลาการให้บริการ การบริหารงบประมาณ การควบคุมภายใน 7 3 5 20% การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 20
กรอบการประเมินผลตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ของจังหวัด 6
กรอบการประเมินผลตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ของจังหวัด 7
แนวทางการเจรจาความเหมาะสมตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และเกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการกลุ่มจังหวัดและจังหวัด” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
ไม่ต้องเจรจากับคณะกรรมการไม่ต้องเจรจากับคณะกรรมการ เจรจา ฯ ขั้นตอนการเจราจาข้อตกลงตัวชี้วัด ในมิติที่ 1 ของจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 สำนักงาน ก.พ.ร. จัดทำรายการตัวชี้วัด และเกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัดระดับความสำเร็จ ในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการ กลุ่มจังหวัดและจังหวัด ในมิติที่ 1 เสนอ อ.ก.พ.ร. พิจารณาให้ความเห็นชอบ สำนักงาน ก.พ.ร. ส่งรายการตัวชี้วัด ให้จังหวัดพิจารณาและให้จังหวัดเสนอ ตัวชี้วัดและเกณฑ์การให้คะแนน มายังสำนักงาน ก.พ.ร. ภายในวันที่ 13 กันยายน 2553 สำนักงาน ก.พ.ร. วิเคราะห์ความเหมาะสมของตัวชี้วัดและเกณฑ์ฯ ที่ กลุ่มจังหวัด/จังหวัดเสนอมา ตัวชี้วัดที่จังหวัดเสนอทั้งหมด เป็นไปตามรายการตัวชี้วัดที่ อ.ก.พ.ร. ให้ความเห็นชอบ สรุปผลแจ้ง อ.ก.พ.ร.ฯและจังหวัด ตัวชี้วัดที่จังหวัดเสนอ ไม่เป็นไปตามรายการตัวชี้วัดที่ อ.ก.พ.ร. ให้ความเห็นชอบ สรุปผล อ.ก.พ.ร.ฯ และแจ้งจังหวัด เจรจากับคณะกรรมการ เจรจาฯ โดยผ่านระบบ วีดีทัศน์ทางไกล จัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ
การกำหนดตัวชี้วัด 1 ตัวชี้วัดในคำรับรองการปฏิบัติราชการให้เน้นตัวชี้วัดผลผลิตและผลลัพธ์ ไม่ใช่ตัวชี้วัดกระบวนการ 2 การกำหนดตัวชี้วัดควรมุ่งเน้นการวัดเชิงคุณภาพของสิ่งที่ต้องการจะวัดมากกว่าการให้ความสำคัญเชิงปริมาณ 3 การกำหนดตัวชี้วัดต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัดและแผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัดและจังหวัด 4 ควรกำหนดตัวชี้วัดที่มีความสำคัญหลักเท่านั้น และไม่ควรมีจำนวนมากเกินความจำเป็น
เกณฑ์การให้คะแนน แบ่งเป็น 5 ระดับ ระดับที่ 5 ระดับที่ 4 ดีกว่าเป้าหมาย ระดับที่ 3 กลุ่มจังหวัด/จังหวัดต้องแสดงให้เห็นว่าสามารถบรรลุผลลัพธ์ (Outcome) หรือมีการเทียบกับมาตรฐาน (Benchmarking) ในระดับต่าง ๆ เช่น ระดับชาติ ระดับที่ 2 ดีกว่าเป้าหมาย กลุ่มจังหวัด/จังหวัดต้องแสดงให้เห็นว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายของตัวชี้วัดนั้นในเชิงคุณภาพ หรือนวัตกรรมทางการบริหารจัดการ หรือผลการดำเนินการทำให้เกิดผลลัพธ์ (Outcome) อย่างไร เป็นต้น ระดับที่ 1 เป็นไปตามเป้าหมาย เป็นการวางเป้าหมาย ที่จะทำสำเร็จตามแผนงานประจำปี หรือจะพัฒนาต่อเนื่องจากผลการดำเนินการในปีก่อน เป็นContinuous Improvement หรือถ้าตัวชี้วัดใดที่มีผลการดำเนินการได้สูงสุดและไม่สามารถปรับปรุงได้อีกแล้วก็อาจจะถอดตัวชี้วัดนั้นออกหรือลดน้ำหนักตัวชี้วัดนั้น เป็นต้น ต่ำกว่าเป้าหมาย ต่ำกว่าเป้าหมายมาก
ปฏิทินการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการและการประเมินผลการปฏิบัติราชการของจังหวัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
ปฏิทินการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการและการประเมินผลการปฏิบัติราชการของจังหวัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 (ต่อ)
รายการตัวชี้วัด และเกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการกลุ่มจังหวัดและจังหวัด”
รายการตัวชี้วัด และเกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการ กลุ่มจังหวัดและจังหวัด” 8 ยุทธศาสตร์หลัก ยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว ยุทธศาสตร์ด้านการผลิต การค้า การลงทุน ยุทธศาสตร์ด้านเกษตรกรรม ยุทธศาสตร์ด้านอุตสาหกรรม ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาสังคม อาชีพ คุณภาพชีวิต และการศึกษา ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว ตัวชี้วัด “ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้จากการท่องเที่ยว” ร้อยละการเปลี่ยนแปลงของรายได้จากการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัด/จังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 เปรียบเทียบกับรายได้เฉลี่ยจากการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัด/จังหวัดเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี คือ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549,2550 และ 2553 (ข้อมูลรายได้จากการท่องเที่ยว ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 และ 2552 ไม่สมบูรณ์ จึงไม่สามารถนำมาใช้ในการประเมินผล)
ตัวชี้วัด “ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้จากการท่องเที่ยว”(ต่อ) • ผู้เยี่ยมเยือน ได้แก่ นักท่องเที่ยว และนักทัศนาจร • ข้อมูลรายได้จากการท่องเที่ยวของจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 คำนวณจากค่าใช้จ่ายต่อคนต่อวันของผู้เยี่ยมเยือน และวันพักเฉลี่ยของนักท่องเที่ยว ซึ่งข้อมูลจะได้จากการสำรวจภาคสนามเพื่อทราบสัดส่วนพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 โดยมีวิธีการคำนวณ ดังต่อไปนี้
ตัวชี้วัด “ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของรายได้จากการท่องเที่ยว” (ต่อ) สูตรคำนวณ เกณฑ์การให้คะแนน • Y = ร้อยละการเปลี่ยนแปลงของรายได้จากการท่องเที่ยว เฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี งบประมาณ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549, 2550 และ 2553) • รายได้จากการท่องเที่ยวในปีงบประมาณ = ผลรวมของรายได้จากการท่องเที่ยว • รายไตรมาส (ไตรมาสที่ 1 + 2 + 3 + 4 ของปีงบประมาณ)
ยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว ตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพด้านการท่องเที่ยวของจังหวัด” • คำอธิบาย: • การพัฒนาคุณภาพด้านการท่องเที่ยว คือ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว หรือการพัฒนาบริการ ด้านการท่องเที่ยว เพื่อเตรียมความพร้อมให้เป็นไปตามมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยว และมาตรฐานบริการด้านการท่องเที่ยวของกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา • คณะกรรมการประเมินคุณภาพด้านการท่องเที่ยว จะมี กรมการท่องเที่ยวเป็นผู้ประสานงานในการจัดตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพด้านการท่องเที่ยวของจังหวัด ซึ่งจะมีองค์ประกอบ อย่างน้อย 5 คน ประกอบด้วย ผู้แทนจากกรมการท่องเที่ยว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือหน่วยงานที่ กรมการท่องเที่ยว มอบหมายให้เป็นผู้ประเมินคุณภาพด้านการท่องเที่ยวแทน กรมการท่องเที่ยว
ตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพด้านการท่องเที่ยวของจังหวัด”(ต่อ) • คำอธิบาย: • การให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่อย่างยั่งยืน เช่น - การให้องค์ความรู้กับบุคลากรในชุมชน ในการพัฒนาการท่องเที่ยวเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน - การสร้างการรับรู้แก่ชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยว - การแสวงหาการยอมรับจากชุมชนในพื้นที่ - การสร้างความเข้าใจเพื่อให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว - การสร้างจิตสำนึกให้แก่ชุมชนในพื้นที่ได้ตระหนักและหวงแหนแหล่งท่องเที่ยว
ตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพด้านการท่องเที่ยวของจังหวัด” (ต่อ) ระดับคะแนน 1 คัดเลือกประเด็นการพัฒนาคุณภาพด้านการท่องเที่ยวที่จะทำการพัฒนาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 จำนวน 1 ประเด็น (อาจเป็นประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว หรือบริการด้านการท่องเที่ยว) ตามเกณฑ์มาตรฐานแหล่งท่องเที่ยว หรือมาตรฐานบริการด้านการท่องเที่ยวของกรมการท่องเที่ยว โดยจังหวัดต้องจัดลำดับความสำคัญของประเด็นการพัฒนา และระบุเหตุผลหรือหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือก
ตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพด้านการท่องเที่ยวของจังหวัด” ระดับคะแนน 2 จัดทำเป็นโครงการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว 1 โครงการตามประเด็นที่ได้รับการคัดเลือก (หรือทบทวนจากโครงการที่มีอยู่เดิม) และในโครงการฯ ต้องกำหนดให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่อย่างยั่งยืนด้วย รวมทั้งมีการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายเชิงผลสัมฤทธิ์ของโครงการฯ อย่างชัดเจน
ตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพด้านการท่องเที่ยวของจังหวัด” ระดับคะแนน 3 ดำเนินกิจกรรมตามโครงการแล้วเสร็จร้อยละ 100 ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 มีการสรุปประเมินผลตามตัวชี้วัดและเป้าหมายเชิงผลสัมฤทธิ์ของโครงการฯ และมีผลการประเมินสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ระดับคะแนน 4 โครงการที่พัฒนา (พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว/พัฒนาบริการด้านการท่องเที่ยว) ได้รับการประเมินผลตามเกณฑ์ที่กำหนดโดย กรมการท่องเที่ยว/ผู้แทน และ/หรือคณะกรรมการประเมินผลคุณภาพด้านการท่องเที่ยว และได้รับผลการประเมินให้ “ผ่าน” เกณฑ์คุณภาพด้านการท่องเที่ยว เพื่อเตรียมความพร้อมในการขอรับการตรวจประเมินมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย ระดับคะแนน 5
ยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว ตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จของการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมและประเพณีของจังหวัด” ระดับคะแนน 1 • จัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยดำเนินการร่วมกับองค์กรภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน เครือข่ายทางวัฒนธรรมในชุมชน/ท้องถิ่น โดยแผนปฏิบัติการฯ ที่จัดทำขึ้น ต้องประกอบด้วย • การนำทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างเป็นเรื่องราว (Story) และจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมให้สอดคล้องกับเรื่องราว (Story) และเครือข่ายทางวัฒนธรรมในชุมชน/ท้องถิ่น • การส่งเสริม/พัฒนาบุคลากรในชุมชน/ท้องถิ่นให้มีความรู้ในเรื่องราว (Story) ที่นำเสนอ รวมทั้งเพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับเรื่องราว (Story) เช่น การอบรมมัคคุเทศก์รุ่นเยาว์ การพัฒนานักแสดงตามกิจกรรมที่จัด เป็นต้น • การกำหนดกิจกรรมการดำเนินการ/กิจกรรม (Event) โดยระบุผู้ที่รับผิดชอบ งบประมาณ ระยะเวลาการดำเนินการอย่างชัดเจน
ตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จของการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมและประเพณีของจังหวัด”(ต่อ) ระดับ คะแนน 2 ระดับคะแนน 3 ระดับคะแนน 4 ระดับคะแนน 5
ตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จของการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมและประเพณีของจังหวัด”(ต่อ) เงื่อนไข การวัดระดับความพึงพอใจของประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่อทำงานของจังหวัดในการสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว จะต้องสำรวจโดยการใช้แบบสอบถามที่ได้รับความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านสถิติหรือผู้ที่มีประสบการณ์ในการสำรวจความพึงพอใจ และจำนวนตัวอย่างในการสำรวจจะต้องถูกต้องตามระเบียบวิธีวิจัย
ยุทธศาสตร์ด้านการผลิต การค้า การลงทุน
ยุทธศาสตร์ด้านการผลิต การค้า การลงทุน ตัวชี้วัด “ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าการค้าชายแดน ” • มูลค่าการค้าชายแดน หมายถึง มูลค่าการส่งออกและนำเข้าของจังหวัดชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทยทั้ง 4 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหภาพพม่า และมาเลเซีย (ไม่รวมการค้าผ่านแดน) สูตรคำนวณ ใช้ข้อมูลจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ตัวชี้วัด “ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าการค้าชายแดน”(ต่อ) เกณฑ์การให้คะแนน เงื่อนไข : โดยที่ X หมายถึง ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าการค้าชายแดน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 เทียบกับมูลค่าการค้าชายแดน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 Y หมายถึง ร้อยละการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าการค้าชายแดน เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 - 2553) ทั้งนี้ หากร้อยละการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าการค้าชายแดนเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีงบประมาณ (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 - 2553) น้อยกว่า ร้อยละ 5 กำหนดให้ใช้ช่วงปรับเกณฑ์การให้คะแนน +/- ร้อยละ 5
ยุทธศาสตร์ด้านการผลิต การค้า การลงทุน ตัวชี้วัด “: ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ ” • มูลค่าการค้าระหว่างประเทศ หมายถึง มูลค่าการส่งออกและนำเข้าสินค้าระหว่างประเทศของกลุ่มจังหวัดและ/หรือจังหวัดทั้งหมดที่ผ่านด่านศุลกากร (ไม่รวมมูลค่าการค้าชายแดน) สูตรคำนวณ
ตัวชี้วัด “: ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ ”(ต่อ) เกณฑ์การให้คะแนน เงื่อนไข : โดยที่ X หมายถึง ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 เทียบกับมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 Y หมายถึง ร้อยละการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 - 2553)
ยุทธศาสตร์ด้านการผลิต การค้า การลงทุน ตัวชี้วัด “ร้อยละเพิ่มขึ้นของปริมาณการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร (ให้ระบุชนิดผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าวหอมมะลิ และมันสำปะหลัง เป็นต้น)” • ปริมาณการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร หมายถึง ปริมาณของการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ตลาดกลางสินค้าเกษตร ผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการที่รับซื้อผลผลิต สูตรคำนวณ
ตัวชี้วัด “ร้อยละเพิ่มขึ้นของปริมาณการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร (ให้ระบุชนิดผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าวหอมมะลิ และมันสำปะหลัง เป็นต้น)”(ต่อ) เกณฑ์การให้คะแนน เงื่อนไข : โดยที่ X หมายถึง ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของปริมาณการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร (ระบุชนิดผลผลิต) ปีการผลิต/ปีเพาะปลูก 2552/2553 เทียบกับปริมาณการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร (ระบุชนิดผลผลิต) ปีการผลิต/ปีเพาะปลูก 2551/2552 Y หมายถึง ร้อยละการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี (ปีการผลิต/ปีเพาะปลูก 2548/2549 - 2552/2553) ปีการเพาะปลูก/ปีการผลิต ขึ้นอยู่กับชนิดของผลผลิตทางการเกษตร
ยุทธศาสตร์ด้านการผลิต การค้า การลงทุน ตัวชี้วัด “ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกสินค้าทางการเกษตร (ให้ระบุสินค้าเกษตรที่สำคัญ เช่น ข้าว และมันสำปะหลัง เป็นต้น)” • พิจารณาจากมูลค่าการส่งออกสินค้าทางการเกษตรไปยังต่างประเทศทั้งการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน (ระบุสินค้าเกษตรที่สำคัญ) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 เปรียบเทียบกับมูลค่าการส่งออกสินค้าทางการเกษตร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 สูตรคำนวณ
ตัวชี้วัด “ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกสินค้าทางการเกษตร (ให้ระบุสินค้าเกษตรที่สำคัญ เช่น ข้าว และมันสำปะหลัง เป็นต้น)”(ต่อ) เกณฑ์การให้คะแนน เงื่อนไข : โดยที่ X หมายถึง ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกสินค้าทางการเกษตร (ระบุชนิดผลผลิต) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 เทียบกับมูลค่าการส่งออกสินค้าทางการเกษตร (ระบุชนิดผลผลิต) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 Y หมายถึง ร้อยละการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าการส่งออกสินค้าทางการเกษตร เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี(ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 - 2553 )
ยุทธศาสตร์ด้านการผลิต การค้า การลงทุน ตัวชี้วัด “ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าผลผลิตการเกษตรสำคัญของกลุ่มจังหวัด/จังหวัด (ให้ระบุ ผลผลิตทางการเกษตร เช่น ไก่เนื้อ ข้าว เป็นต้น)” • หมายถึงร้อยละของการเปลี่ยนแปลงของมูลค่ารวมผลผลิตการเกษตรสำคัญของกลุ่มจังหวัด/จังหวัด ในปีงบประมาณ พ.ศ.2554 เทียบกับมูลค่ารวมผลิตผลการเกษตรสำคัญของกลุ่มจังหวัด/จังหวัด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 สูตรคำนวณ • มูลค่ารวมผลผลิตทางการเกษตร • คิดจากราคาหน้าฟาร์ม(Farm Price)
ตัวชี้วัด “ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าผลผลิตการเกษตรสำคัญของกลุ่มจังหวัด/จังหวัด (ให้ระบุ ผลผลิตทางการเกษตร เช่น ไก่เนื้อ ข้าว เป็นต้น)”(ต่อ) เกณฑ์การให้คะแนน เงื่อนไข : โดยที่ X หมายถึง ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่ารวมผลผลิตการเกษตรสำคัญ (ระบุชนิดผลผลิต) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 เทียบกับมูลค่ารวมผลผลิตการเกษตรสำคัญ (ระบุชนิดผลผลิต) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 Y หมายถึง ร้อยละการเปลี่ยนแปลงของมูลค่ารวมผลผลิตการเกษตรสำคัญเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 – 2553)
ยุทธศาสตร์ด้านการเกษตรยุทธศาสตร์ด้านการเกษตร