340 likes | 553 Views
การสำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบ. ทักษพล ธรรมรังสี สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สุรศักดิ์ ไชยสงค์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. หัวข้อการนำเสนอ. ข้อมูลเกี่ยวกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และแหล่งที่มา
E N D
การสำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบการสำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบ ทักษพล ธรรมรังสี สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สุรศักดิ์ ไชยสงค์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
หัวข้อการนำเสนอ • ข้อมูลเกี่ยวกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และแหล่งที่มา • การสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภค • การสำรวจข้อมูลด้านผลกระทบจากการบริโภค • การสำรวจข้อมูลพฤติกรรมและทัศนคติอื่นๆ • ข้อแนะนำสำหรับการสำรวจข้อมูลการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบในประเทศไทย
ข้อมูลเกี่ยวกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และแหล่งที่มาข้อมูลเกี่ยวกับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และแหล่งที่มา • ข้อมูลจากระบบรายงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (Institution-based data) • เป็นข้อมูลในภาพรวม (Aggregated or population level) • ข้อมูลการบริโภคจากฐานข้อมูลการผลิต, การนำเข้า และระบบภาษีอากร • ข้อมูลด้านพฤติกรรมจากผลการเฝ้าระวัง การสุ่มตรวจลมหายใจ • ข้อมูลผลกระทบจากการบริโภค จากระบบบริการสุขภาพ, ระบบยุติธรรม • ข้อมูลจากการสำรวจหรือการวิจัย (Survey-based data) • ให้ข้อมูลพฤติกรรมการบริโภค รวมทั้งผลกระทบ ในระดับบุคคล • ให้ข้อมูลการบริโภคที่ไม่ได้เข้าสู่ระบบรายงาน • ให้ข้อมูลจำเพาะสำหรับการใช้นโยบาย เช่น ประสิทธิผลของนโยบาย ทัศนคติต่อนโยบาย เป็นต้น • เป็นข้อมูลสำคัญในการใช้นโยบายทั้งในภาพรวมและในระดับกลุ่มให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
Characteristics Alcohol consumption Consequences Health and Social effects(from other vs. their selves) - Accident (drink-drive) - Violence - Crime - Dependence/Liver cancer - Diseases Socio-demographics • - Volume of consumption • - Risky (binge) drinking • Pattern of drinking (Drinking behavior) • History of drinking (& drinking in the past) Alcohol-related characteristics Other factors influence consequences Productivity lost - Absenteeism - Unemployment - Death? Other behaviors and attitudes Condition of drinking Frequency (occasion) Location of drinking Type of beverage Participants Unrecorded products Effectiveness of alcohol policy Opinion on alcohol policy Expenditures due to alcohol consumption - Consumption - Healthcare(OOP) กรอบข้อมูลในการสำรวจการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบ
ตัวอย่างเช่น, “นายชาย ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา เขาดื่มเฉพาะ Beer (5% ethanol)” นายชาย ดื่มเบียร์ที่บ้านตอนเย็น ครั้งละ 1 กระป๋อง ประมาณ 3 วัน/สัปดาห์ และทุกวันอาทิตย์ เขาไปนั่งดื่มที่ร้าน ประมาณ 3 แก้ว นอกจากนี้ทุกสิ้นเดือนเขามักจะไปดื่มที่บ้านเพื่อนของเขา รวมกัน 3 คน ประมาณครั้งละ 6 ขวด ปริมาณ x ความถี่ 1 x 208 3 x 52 รูปแบบการบริโภค 2 x 12 มิติในการบริโภค – และการวัดปริมาณแอลกอฮอล์ที่บริโภค:Quantity, Frequency, and Variability (Pattern) หากสามารถออกแบบวิธีการวัดตามมิติของการบริโภค จะทำให้ได้ข้อมูลปริมาณการบริโภคโดยรวมที่ใกล้เคียง per capita consumption และได้ข้อมูลรูปแบบการบริโภค เพื่อใช้ในการกำหนดนโยบายได้อย่างเหมาะสม
การสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์การสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ • ประเด็นที่ควรคำนึงถึง • นิยามและความหมาย เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (alcoholic beverage) และการบริโภค และผู้บริโภค (drinker) • ประเภทเครื่องดื่มในการบริโภค การถามโดยรวมทุกประเภท (overall) และเฉพาะเจาะจงตามชนิดของเครื่องดื่ม (beverage-specific) • หน่วยวัดปริมาณในการบริโภค โดยการใช้ระบบหน่วยดื่มมาตรฐานที่สามารถเปรียบเทียบกันได้ (standard drink) และหน่วยบริโภคโดยทั่วไป (actual drink) • การกำหนดกรอบระยะเวลาอ้างอิง (reference period) • การออกแบบคำถามด้านปริมาณในการบริโภค (quantity) • กรอบปริมาณการบริโภค ต่อวัน (per day) และต่อครั้งที่ดื่ม (per occasion) • ประเภทของคำตอบ โดยใช้แบบปลายเปิด (open-ended) และแบบชุดตัวเลือก (pre-coded) • ชุดคำถามในการสำรวจ • การออกแบบการสำรวจให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมการบริโภคและสังคม
นิยามและความหมาย • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ • พรบ. สุรา 2493 หมายถึง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ที่ดื่มได้ หรือดื่มไม่ได้แต่เมื่อผสมแล้วดื่มได้ รวมทั้ง เหล้ายาดอง, สมุนไพร, ยาสตรี, elixer • ประเภท และปริมาณแอลกอฮอล์ ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่สำรวจ • ส่วนใหญ่นิยมแบ่งเป็น 3 ประเภท:beer (ethanol 5%), wine (15%), spirits (40%) • ข้อจำกัดของการกำหนด 3 ประเภท • มีประเภทอื่นที่ไม่เข้ากลุ่มทำให้ผู้บริโภครู้ว่าจะให้อยู่กลุ่มไหน เช่น ready-to-drink (5-7%), local beverages (สาโท, กระแช่, อุ, ยาดอง) => ทำให้ขาดข้อมูล • ความแตกต่างของ % pure alcohol ในประเภทเดียวกันเช่น spirits ที่รวมทั้ง เหล้าขาว (40%), เหล้าโรง (28%), เหล้าสี/เหล้าผสม (35%) • ในต่างประเทศมี light spirits (<23%) very light spirits (<14%) • ระบบแก้วมาตรฐาน • เครื่องดื่มแต่ละประเภทมี % ethanol แตกต่างกัน จึงกำหนด หน่วยวัดการดื่ม ที่เครื่องดื่มแต่ละประเภทมี % ethanol เท่ากัน สามารถเปรียบเทียบกันได้ • 1 ml of pure alcohol = 0.79 g และที่นิยม คือ 1 standard drink = 8 – 14 g of pure alcohol (Dawson, 2003)
ตัวอย่างประเภทเครื่องดื่ม และความแตกต่างของ % แอลกอฮอล์บริสุทธิ์
นิยามและความหมาย • ตัวอย่างนิยามการบริโภค และนักดื่ม/ผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ • ประเภทนักดื่ม • ไม่เคยดื่มเลย (lifetime abstainer), • เคยดื่มแต่เลิกดื่มแล้ว (former/ex-drinker), • เคยดื่มและยังดื่มอยู่ (current drinker) • การบริโภค • เคยดื่ม 12+ แก้ว/12 เดือนที่ผ่านมา, • เคยดื่ม 1+ แก้ว/เดือนที่ผ่านมา, • เคยจิบ (<1 แก้วมาตรฐาน) ?
การกำหนดระยะเวลาอ้างอิง (Reference period) • ประเด็นพิจารณาในการกำหนดระยะเวลาอ้างอิง • ความสามารถในการให้ข้อมูลของผู้ตอบคำถาม (recall error) เช่น ระยะเวลา “7 วันที่ผ่านมา” ผู้ตอบจะให้ข้อมูลได้ง่ายและแม่นยำกว่า “12 เดือนที่ผ่านมา” • ความครอบคลุมพฤติกรรมและฤดูกาลของการดื่ม (occasional/seasonal drinking) เช่น ผู้ที่ดื่มไม่ประจำ (infrequent drinker), ผู้ที่ดื่มตามเทศกาล, หรือนักดื่มประเภทดื่มหนักๆ เป็นบางครั้ง (occasional binge drinker) ซึ่งมักพบมากในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา • การใช้ reference period 7 วัน จะให้สัดส่วน non-drinker สูงกว่า 12 เดือน 3.4-13.2% (Heed&Gmel, 2005)และจะให้ volume of consumption น้อยกว่า 20% (Feunekes et al, 1999) • ความสัมพันธ์และความครอบคลุมการเกิดผลกระทบ (consequence) เช่น การเกิดอุบัติเหตุ (ในช่วงเทศกาล) การเข้าโรงพยาบาล
ข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคที่สำรวจข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคที่สำรวจ • ปริมาณการบริโภครวมทั้งหมด • ปริมาณการบริโภคต่อครั้ง และความถี่ในการบริโภค • ประเภทเครื่องดื่มที่บริโภค • สถานที่ดื่ม • บ้านตนเอง บ้านเพื่อน ที่ทำงาน ร้านดื่ม (ผับ บาร์) ที่สาธารณะ • การบริโภคที่เสี่ยง • แนวความคิดเรื่องความเสี่ยงฉับพลัน (acute effect) จากแอลกอฮอล์ • การศึกษาเพื่อระบุว่า การดื่ม > 5 standard drinks หรือ >60 grams ต่อครั้ง จะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิด อุบัติเหตุ (และมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือด (BAL) สูงเกินข้อกำหนด) • ซึ่งมีความแตกต่างทางชีวภาพ เช่น เพศ, มวลกาย, และเชื้อชาติ เป็นต้น • แต่อย่างไรก็ตาม มีคนส่วนใหญ่ที่ดื่ม < 5 drinks และก่อให้เกิดปัญหา เช่นกัน • โดยทั่วไประบุปริมาณ standard drink(5+, 8+, 12+, largest) หรือ gram of ethanol (60+, 96+, 144+, 240+) • การกำหนดปริมาณดื่มที่เสี่ยง มีความแตกต่างระหว่างเพศ และสภาวะของร่างกาย อาจใช้คำถาม การดื่มจนรู้สึกเมา (drunkenness) แต่เป็นอาจเป็นคำถามที่ตอบจากความรู้สึกของแต่ละคน
ข้อคำถามและคำตอบ • ปริมาณการดื่ม ต่อครั้ง (per occasion) หรือต่อวัน (per day) ? • มีทั้งคนที่ดื่ม >1 ครั้ง/วัน และ >1 วัน/ครั้ง (ดื่มข้ามเที่ยงคืน หรือดื่มหลายวัน) เพื่อการเปรียบเทียบระหว่างประเทศ ควรใช้ ต่อวันที่ดื่ม (per dayof drinking)(Dawson&Room, 2000) • การใช้ per day และเจอกรณีเช่นนี้ ควรระบุวิธีแก้ไขหรือตัวอย่างไว้ในคู่มือ เช่น ใช้เวลาเริ่มวันเป็น 06.00 น. หรือการนำจำนวนวันมาหารกรณีหลายวัน • การสร้างคำตอบแบบเปิด (open-ended) หรือตัวเลือก (pre-coded) ? • การสร้างคำตอบแบบ pre-coded จะไม่เป็นภาระต่อผู้ตอบ ใช้เวลาสั้น และช่วยในคำถามที่ตอบยากในเชิงจริยธรรม • pre-codedresponse ที่ใช้ในบางคำถามอาจทำให้ได้ค่าที่ไม่เป็นจริง เช่น ในชุดคำถาม GF การถาม F ของปริมาณดื่ม 5-7 แก้ว เวลาหาปริมาณบริโภคจะใช้ค่ากลางคำนวณ F x 6 • คำตอบแบบ open-ended มีไว้ในกรณีที่นอกเหนือจากตัวเลือกที่สร้างได้ แต่ต้องระวังปัญหาในการ key ข้อมูล
ข้อคำถามและคำตอบ • คำตอบของความถี่ในการบริโภค (52 ครั้ง/ปี หรือ 1 ครั้ง/สัปดาห์ ?) • กรณีคำตอบของความถี่ในการบริโภค นิยมใช้เป็น ลำดับขั้น มากกว่าให้ตอบเป็นตัวเลขเต็ม เช่น ทุกวัน, 5-6 วัน/สัปดาห์, 3-4 วัน/สัปดาห์, 1-2 วัน/สัปดาห์, 2-3 วัน/เดือน, 1 วัน/เดือน7-11 ครั้ง/ปี ...(Dawson&Room, 2000) • ควรจะต้องถาม อายุ/เวลาเริ่มบริโภค เพื่อให้ได้ข้อมูล ระยะเวลาในการบริโภค (สำหรับทั้ง current drinker และ former drinker) • และรูปแบบการดื่มที่ผ่านมา (Variation along life) จะให้ข้อมูลถึง ความสัมพันธ์กับผลกระทบระยะยาว เช่น แบบสอบถามของ NIAAA • เมื่อไร (อายุ) ที่เป็นช่วงดื่มหนักที่สุดในชีวิต และดื่มหนักแบบนั้นมากี่ปี (และถามข้อมูลปริมาณและความถี่ของการดื่มหนักที่สุด)
คำถามวัดการบริโภค (Measures) • Quantity-Frequency (QF) • มี 2 คำถามหลัก คือ ปริมาณและความถี่ของการบริโภคโดยปกติ(usual Q and F) • เป็นการถามที่ง่าย, และใช้กันมาก • ข้อมูล Q ที่ได้เป็น mode (ไม่ใช่ mean) (Dawson, 2003) ทำให้ได้ข้อมูล underestimate และมี % light drinker มาก และ heavy drinker น้อย (Heeb&Gmale, 2005) • มีข้อจำกัดในการวัด การบริโภคแบบเสี่ยง (heavy drinking รวมทั้ง variability) • Graduated-quantity Frequency (GF) • เป็นคำถาม ความถี่ (F) ตามระดับของปริมาณการบริโภค (graduated-quantity) ซึ่งมักแบ่งออกเป็น >12, 8-12, 5-7, 3-4,และ 1-2 แก้ว โดยนิยม เริ่มการถามจาก Q มากสุดก่อน • วัดการบริโภคแบบเสี่ยงได้ (และ variability)ได้ปริมาณการบริโภคที่สูงกว่า QF และ WHO 2002 แนะนำให้ใช้ • ใช้เวลาในการถามมากว่า QF • และบางส่วนให้ความถี่รวม มากกว่าระยะเวลาอ้างอิง(เช่น >365 วัน) และความถี่ที่รายงานอาจมากกว่าความเป็นจริง (Gmel et al, 2006)
คำถามวัดการบริโภค (Measures) • Week recall/Last 7 days/Drinking diary (WR) • เป็นการถามโดยใช้แบบบันทึก (diary) ถามทั้งปริมาณ และความถี่ • วัดการบริโภคที่เสี่ยงได้เหมือน GF และมีข้อดีที่ให้ข้อมูลแม่นยำ • เนื่องจากยุ่งยาก และเป็นภาระกับผู้ตอบจึงนิยมถามในเวลาสั้น (7 วัน) • Expanded QF • เป็นชุดคำถามที่แก้ไขข้อบกพร่องของ generic QF ที่ไม่สามารถวัดความการบริโภคแบบเสี่ยงได้ • เพิ่มคำถาม F ของการบริโภคแบบเสี่ยง (5+, 8+, 12+, or largest drinks) • Beverage-specific QF • เป็นคำถามแบบ QF ที่ถามตาม ประเภทของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ • ทำให้ได้ปริมาณการบริโภคโดยรวมสูงขึ้น โดยการถามแบบ beverage-specific ให้ volume of consumption มากกว่า overall 20-30%(Feunekes et al, 1999; Gmel et al, 2006) • แต่จะไม่มีข้อมูล Q และ F ในการบริโภคโดยรวม
คำถามวัดการบริโภค (Measures) • Location-specific QF • เป็นคำถามแบบ QF ที่ถามตาม สถานที่ในการบริโภค • ทำให้ได้ปริมาณการบริโภคโดยรวมสูงขึ้นมาก มีข้อจำกัดเช่นเดียวกับ BSQF • การถามปริมาณการบริโภคของ 4 (3, หรือ 2) ครั้งสุดท้าย • การถามแบบ expanded BSQF
Survey questionnaire of NIAAA • Alcohol consumption (p9-18) • Alcohol experience (p19-26) • Treatment utilization (p27-28) • Family history (p29-32)
ชุดคำถามอย่างสั้น • เคยบริโภคแอลกอฮอล์ ในตลอดชีวิตที่ผ่านมา และ ใน 12 เดือนที่ผ่านมา หรือไม่? • ความถี่ในการบริโภคแอลกอฮอล์โดยรวม (ทั้งหมดทุกประเภท) (overall F) • ปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ทั้งหมดทุกประเภท) โดยปกติ (usual Q) • ความถี่ในการบริโภคแบบเสี่ยง (5+, 8+, 12+ standard drinks หรือ 60+, 96+ grams) (F of risky drinking) • ความถี่ในการดื่มจนรู้สึกเมา (F of drunkenness) (ถ้าถามได้) ข้อแนะนำจากการประชุม A Social and Epidemiological Alcohol Research year 2000 (Dawson&Room, 2000) และ NIAAA (Sobell&Sobell, 2003)
ชุดคำถามที่ได้รับการแนะนำชุดคำถามที่ได้รับการแนะนำ • เคยบริโภคแอลกอฮอล์ ในตลอดชีวิตที่ผ่านมา และ ใน 12 เดือนที่ผ่านมา หรือไม่? • ปริมาณที่บริโภคโดยรวม (ทั้งหมดทุกประเภท) สูงสุด (largest Q) • คำถามแบบ GF (overall drinking) • ความถี่ในการบริโภคแอลกอฮอล์โดยรวม (ทั้งหมดทุกประเภท) (overall F) • ความถี่ในการบริโภคแอลกอฮอล์แต่ละประเภท (beverage-specific F) • ปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์โดยปกติของแต่ละประเภท (usual beverage-specific Q) • ขนาดแก้วของปริมาณการบริโภคโดยปกติของแต่ละประเภท (size of usual beverage-specific Q) • ความถี่ในการดื่มจนเมา และปริมาณที่ทำให้รู้สึกเมา • รวมทั้ง body weight &height และ context & duration
วิธีการถามและเครื่องมือช่วยในการถามวิธีการถามและเครื่องมือช่วยในการถาม • การถามด้วยวิธี face-to-face interviewได้อัตราการตอบข้อมูลกลับสูง แต่ข้อมูลการบริโภคจะน้อยกว่า การตอบแบบสอบถามเอง(WHO, 2002) • การสอบถามกลุ่มตัวอย่างโดยเฉพาะเด็ก ขณะมีผู้อื่น/คนในครอบครัวอยู่ด้วย จะทำให้ได้ข้อมูลที่น้อยกว่าความเป็นจริง (จากการสำรวจ NHSDA อ้างใน Foster et al, 2003) • การใช้ตัวอย่างหรือรูปตัวอย่าง ของเครื่องดื่ม ขนาดภาชนะที่ดื่ม (Representational aids) ช่วยในการถาม • การวางแผนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำ จากกลุ่มที่มักไม่ให้ข้อมูลหรือไม่ตอบคำถาม เช่น ผู้ดื่มหนัก หรือลักษณะคำถามที่มีความอ่อนไหว • คนที่ดื่มหนักที่สุด 2.5% มีปริมาณการบริโภคเท่ากับ 27% ของคนทั้งหมด และคนที่ดื่มหนักที่สุด 10% มีปริมาณการบริโภคเท่ากับ 57% ของคนทั้งหมด (Foster et al, 2003)
การสำรวจข้อมูลด้านผลกระทบจากการบริโภคการสำรวจข้อมูลด้านผลกระทบจากการบริโภค • ควรออกแบบคำถามให้ได้ความสัมพันธ์ ที่เป็นเหตุและผลซึ่งกัน (causal-effect) ของการบริโภคแอลกอฮอล์และผลกระทบ • ควรถามเพื่อปัจจัยอื่นที่มีผลก่อให้เกิด/ไม่ให้เกิด ผลลัพธ์ที่สำรวจด้วย เช่น • คำถาม การขับขี่ยานพาหนะขณะมึนเมา (drink-drive), หรือหลังจากการบริโภคที่เสี่ยง ควรถามว่าคนมียานพาหนะให้ขับขี่หรือไม่ (และปกติขับขี่บ่อยแค่ไหน ) • คำถาม การเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่ อาจมีคำถาม พฤติกรรมในการขับขี่ที่เสี่ยง เช่น การขับรถเร็ว ร่วมด้วย • การได้รับอุบัติเหตุ ปัญหาอื่นๆ จากแอลกอฮอล์ ควรมีคำถามบอกถึง ต้นเหตุปัญหามาจากตนเอง หรือผู้อื่น เช่น การสำรวจใน New Zealand ที่ถามข้อมูลปัญหาที่เกิดจากแอลกอฮอล์แยกกันระหว่าง ตนเอง และผู้อื่น • คำถามการมีพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ หลังจากการบริโภคแอลกอฮอล์ เช่น unsafe sex, drug use เป็นต้น มีโอกาสได้ข้อมูลน้อย เนื่องจากเป็นคำถามของพฤติกรรมที่ไม่ดี ซึ่งหลายคนไม่ต้องการให้ข้อมูล (อาจใช้คำถามเลี่ยง ที่เป็น proxy ถามแทน)
การสำรวจข้อมูลด้านผลกระทบจากการบริโภคการสำรวจข้อมูลด้านผลกระทบจากการบริโภค • ประเด็นอื่นที่น่าสนใจ • การเจ็บป่วยจากแอลกอฮอล์ที่ทำให้ ขาดงาน-ลางาน จำนวนวันที่ลา เป็นต้น • ค่าใช้จ่ายในการบริโภคแอลกอฮอล์ (ควรแยกประเภท เพราะมีระบบภาษีและราคาต่างกัน) • ค่าใช้จ่ายจากผลเสียของแอลกอฮอล์ที่ต้องจ่ายเอง • การวัดการเกิดปัญหาจากแอลกอฮอล์ โดยเครื่องมือวัด (เช่น AUDIT, CAGE)
การสำรวจข้อมูลพฤติกรรมและทัศนคติอื่นๆการสำรวจข้อมูลพฤติกรรมและทัศนคติอื่นๆ • ประสิทธิผลของนโยบาย • การบริโภคในเด็กอายุ < 18 ปี แหล่งที่มาของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ผู้ปกครอง เพื่อน ญาติ ซื้อเอง) และการซื้อหาจากร้านค้า (ซึ่งผิดกฎหมาย) และการระบุประเภทร้านค้า • การบริโภคเครื่องดื่มนอกระบบ เช่น สินค้าหนีภาษี สินค้าปลอดภาษี สินค้าผลิตเอง • พฤติกรรมการบริโภคอื่นๆ • การบริโภคร่วมกับยาเสพติดประเภทอื่น เช่น บุหรี่ กัญชา หรือแม้แต่กับยานอนหลับ หรือยากล่อมประสาท • ทัศนคติอื่นๆ • มีส่วนมากที่เป็นผู้บริโภคแอลกอฮอล์และบุหรี่ • ทัศนะในการลด/ละ/เลิก ของแอลกอฮอล์ร่วมกับบุหรี่ หรือความต้องการเลิกประเภทใดก่อน เป็นต้น • สาเหตุในการเลิก ทั้งจากผู้ที่เลิกแล้ว / และอยากเลิก • การรับรู้ข้อมูลต่างๆ เช่น กฎหมาย ข้อบังคับ การโฆษณาทั้งเชิญชวน และต่อต้าน เป็นต้น
ตัวอย่างการนำข้อมูลการสำรวจมาใช้ประโยชน์ตัวอย่างการนำข้อมูลการสำรวจมาใช้ประโยชน์ • Prevalence of alcohol-impaired driving: Results from a national self-reported survey of health behaviors (Liu et al, JAMA 1997) • BRFSS 1993 (alcohol-impaired driving, and its episodes) • Binge drinking among US adults (Naimi et al, JAMA 2003) • BRFSS 1993-2001 • Age of drinking onset and unintentional injury involvement after drinking (Hingson et al, JAMA 2000) • National Longitudinal Alcohol Epidemiology Survey • Average volume of consumption, pattern of drinking, and all-cause mortality: Results from the US National Alcohol Survey (Rehm et al, Am J Epidemiol 2001) • Follow-up the 1984 National Alcohol Survey participants in 1995
ตัวอย่างการนำข้อมูลการสำรวจมาใช้ประโยชน์ตัวอย่างการนำข้อมูลการสำรวจมาใช้ประโยชน์ • Consumption of alcoholic beverage and subjective health in Spain (Guallar-Castilon et al, J Epidemiol Community Health 2001) • The 1993 Spanish National Health Survey • Alcohol consumption and expenditure for underage drinking and adult excessive drinking (Foster et al, JAMA 2003) • 3 surveys: NHSDA, YRBS, and BRFSS (with national data on consumption and consumer expenditures for alcohol) • Results: 50.1% of consumption and 48.9% of expenditure were arisen from underage drinking and adult excessive drinking
Patterns, expenditures and health outcome of alcohol consumption in Thai people Socio-demographic factors -Sex -Age -Education -Marital status -Household income -Employment status • Amount of alcohol consumption • (Number of drinks) Type of alcoholic beverage Price • Pattern of alcohol consumption • (quantity-frequency approach) • -Social drinking • -Binge drinking • -Regular drinking • -Chronic heavy drinking Geographic factors -Region Expenditure of alcohol consumption (Baht) Health behavior -Smoking Health outcome -Injury-related hospital visits Chronic diseases ตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูลภายในประทศ
ประมาณการค่าใช้จ่ายที่ลดลงได้ กรณีปฏิบัติตามนโยบาย * ดื่มเกินคำแนะนำปริมาณแก้วมาตรฐาน/วัน หรือเฉลี่ยต่อสัปดาห์ (>2 แก้ว/วัน ในผู้ชาย, >1 แก้ว/วัน สำหรับผู้หญิงและผู้อายุ>65 ปี) ** ประมาณการกรณีปฏิบัติตามนโยบาย โดยเด็กไม่ดื่ม และผู้ใหญ่ดื่มลดลงตามคำแนะนำ
การวิเคราะห์ และการคำนวณปริมาณในการบริโภค • การตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล • ความเป็นไปได้ของข้อมูลและคำตอบ เช่น • จำนวนครั้งในการดื่มต่อวัน ชุดคำตอบ ไม่น่าจะมากเกิน • ปริมาณ Q ที่สามารถบริโภคได้ต่อครั้ง/วัน (20, 50, ..?) (NHES2003-2004 report; Foster et al, 2003) • => ควรมีแนวปฏิบัติ ขณะสัมภาษณ์ • คนที่ตอบเคยดื่ม แต่ไม่มีปริมาณในการดื่ม และ/หรือ ความถี่ในการดื่ม (ขนาดแก้วที่ดื่ม) เป็น drinker หรือไม่? • => ควรตรวจสอบได้ขณะสัมภาษณ์ • การมีช่องคำตอบแบบปลายเปิดให้เติม ควบคู่กับ แบบชุดตัวเลือก เพื่อเป็นการเช็คข้อมูล • => ควรระบุข้อมูลที่ใช้เป็นหลัก • การใช้หน่วยวัดการดื่มมากกว่า 1 ชนิด (มักพบในกรณีใช้เป็น actual drink size) เช่น การดื่มเบียร์ ตอบเป็น แก้ว และ กระป๋อง หรือ เหล้า ตอบเป็น เป็ก และ แก้ว
ข้อแนะนำสำหรับการสำรวจข้อมูลการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบในประเทศไทยข้อแนะนำสำหรับการสำรวจข้อมูลการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบในประเทศไทย • การให้นิยาม/คำจำกัดความที่ชัดเจน และสอดคล้องกัน • กำหนดระยะเวลาอ้างอิงควรที่มีความสัมพันธ์กับผลกระทบ • การใช้คำถาม beverage-specific (ให้ครอบคลุมประเภทที่มีบริโภคภายในประเทศ) • ควรวัดรูปแบบการบริโภคที่เสี่ยงร่วมด้วย (มากว่าวัดเฉพาะปริมาณการบริโภคแบบ usual QF) • การวัดการบริโภค unrecorded products เช่น homemade, duty free, smuggling products • การวัดประสิทธิผลของนโยบาย เช่น แหล่งที่มาของสุราที่เด็กบริโภค การซื้อจากร้านค้า รวมทั้งความคิดเห็นต่อนโยบาย • การวัดซ้ำคนเดิม (follow-up / cohort) ตามระยะเวลาที่เหมาะสม? • สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับฐานอื่นได้
Reference • Dawson DA. Methodological issues in measuring alcohol use. Alcohol Research &Health 2003; 27: 18-29. • Dawson DA, Room R. Towards agreement on ways to measure and report drinking patterns and alcohol-related problems in adult general population surveys: the Skarpo Conference overview. Journal of Substance Abuse 2000; 12: 1-21. • Feunekes et al. Alcohol intake assessment: The sober facts. American Journal of Epidemiology 1999; 150: 105-112. • Gmel et al. Measuring alcohol consumption-should the GF approach become the norm in survey research? Addiction 2006; 101: 16-30. • Heeb JL, Gmel G. Measuring alcohol consumption: A comparison of graduate frequency, quantity frequency, and weekly recall diary methods in a general population survey. Addictive Behaviors 2005; 30: 403-413. • NHES2003-2004 questionnaire and report from HSRI • NIAAA questionnaire from http://niaaa.census.gov/questionaire.html • Pacific Research & Development Services and SHORE/Whariki, Massey University. Pacific Drugs & Alcohol Consumption Survey 2003 Final Report: Volume I. 2004. • Sobell LC, Sobell MB. Alcohol Consumption Measures in Allen JP, Wilson VB. eds. Accessing Alcohol Problems: A Guide for Clinicians and Researchers 2ed. Bethesda, MD: US Department of Health and Human Services, National Institute on Alcohol Abuse and Alcoholism. 2003 p.75-100. • WHO. International Guide for Monitoring Alcohol Consumption and Related Harm. Geneva: WHO Department of Mental Health and Substance Dependence, Noncommunicable Diseases and Mental Health Cluster. 2000.