271 likes | 1.16k Views
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2325-2394). เค้าโครงการบรรยาย. การฟื้นฟูระบบการปกครองและสังคม แนวคิดและรูปแบบการเมืองการปกครอง การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเข้ามาของชาติตะวันตกและผลกระทบ. ลำดับกษัตริย์ ราชวงศ์จักรี.
E N D
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2325-2394)
เค้าโครงการบรรยาย • การฟื้นฟูระบบการปกครองและสังคม • แนวคิดและรูปแบบการเมืองการปกครอง • การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม • การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ • การเปลี่ยนแปลงทางสังคม • การเข้ามาของชาติตะวันตกและผลกระทบ
ลำดับกษัตริย์ ราชวงศ์จักรี • พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) พ.ศ. 2325-2352 • พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) พ.ศ. 2352-2367 • พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) พ.ศ. 2367-2394 • พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พ.ศ. 2394-2411 • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พ.ศ. 2411-2453 • พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) พ.ศ. 2453-2468 • พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) พ.ศ. 2468-2477 • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) พ.ศ. 2477-2489 • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) พ.ศ. 2489-ปัจจุบัน
1. การฟื้นฟูระบบการปกครองและสังคม • สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ปราบจลาจลและกบฏในกรุงธนบุรี แล้ว ปราบดาภิเษก ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2325 • ทรงพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก” ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี • ย้ายราชธานีจาก กรุงธนบุรี มาอยู่ที่ฟากตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับกรุงธนบุรี
สาเหตุของการย้ายราชธานีสาเหตุของการย้ายราชธานี • กรุงธนบุรีมีลักษณะเป็นเมืองอกแตก • เมืองหลวงใหม่ (กรุงเทพฯ) มีชัยภูมิดีกว่า มีลำน้ำล้อมรอบ • กรุงธนบุรีอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นท้องคุ้งน้ำเซาะตลิ่งพังเสมอ และพระราชวังเดิมคับแคบ (มีวัดขนาบทั้งสองข้าง) • การย้ายราชธานี กระทำทันทีที่ขึ้นครองราชย์ แสดงให้เห็นว่า คงมีพระราชดำริมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี • แสดงให้เห็นความแตกต่าง การสิ้นสุดของ “ราชวงศ์เดิม” กับ การเริ่มต้นยุคใหม่ของ “ราชวงศ์ใหม่”
การสร้างราชธานีใหม่ • ต้องการสร้างราชธานีใหม่ ให้เดิม กรุงศรีอยุธยา • รื้อป้อมวิไชเยนทร์และกำแพงเมืองธนบุรีฟากตะวันออก เพื่อขยายพระนคร ขุดคลองคูเมืองพระนครด้านตะวันออก (คลองรอบกรุง) ขุดคลองหลอด คลองมหานาค สร้างกำแพงพระนครและป้อมเป็นระยะรอบพระนคร • สร้างพระนครและพระบรมมหาราชวัง ตามแบบอย่างอยุธยา • แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ.2328 โปรดฯ ให้จัด “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” ตามโบราณราชประเพณี และจัดงานสมโภชพระนคร • พระราชทานนาม “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมาน อวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” (ให้คล้องนาม “พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร”
ระบบกฎหมายและการศาล • ชำระกฎหมายเก่าสมัยอยุธยา • รวบรวมและเรียบเรียง พระราชกำหนด บทพระอัยการ รวมทั้งพระธรรมศาสตร์และพระราชศาสตร์ ในสมัยอยุธยา และที่ ตราขึ้นใหม่ • การชำระกฎหมาย โปรดเกล้าฯ ให้ประทับตราในฉบับหลวงของทางราชการ 3 ชุด โดยประทับตรา 3 ดวง ได้แก่ “ตราราชสีห์” ประจำตำแหน่งสมุหนายก “ตราคชสีห์” ประจำตำแหน่งสมุหพระกลาโหม และ “ตราบัวแก้ว” ประจำตำแหน่งเสนาบดีกรมพระคลัง • ทำให้ต่อมาเรียกกันว่า “กฎหมายตราสามดวง”
การสงครามในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นการสงครามในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น • สมัยรัชกาลที่ 1-3 มีสงครามอยู่เป็นระยะๆ โดยเฉพาะ สงครามกับพม่า มีถึง 10 ครั้ง (เฉพาะรัชกาลที่ 1 รัชกาลเดียว 7 ครั้ง) • สงครามครั้งใหญ่ คือ “สงคราม 9 ทัพ” (พ.ศ. 2328) • สงครามท่าดินแดง (พ.ศ.2329)
2. แนวคิดและรูปแบบการเมืองการปกครอง • ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ – พระมหากษัตริย์ มีอำนาจสูงสุดทางการปกครอง ภายใต้ แนวคิด “ธรรมราชา” ในพุทธศาสนา และ “เทวราชา” ในศาสนาพราหมณ์ • ลดบทบาทความเชื่อตามแนวคิด “เทวราชา” – พระมหากษัตริย์ มีความเป็น “มนุษย์” และเชื่อมั่นในความมีเหตุมีผล • แนวคิด “เทวราชา” คงอยู่ในเชิงสัญลักษณ์ในรูปแบบ “พระราชพิธี” • แนวคิด “ธรรมราชา” ใช้เป็นหลักในการปกครอง – กษัตริย์ เป็นผู้มีเมตตาต่อมนุษย์ นำความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมมาสู่สรรพสัตว์ • “ธรรมราชา” เป็นแนวคิดหลักที่พระมหากษัตริย์ ยึดมั่นตลอดมา
แนวคิดการปกครอง (ต่อ) • แนวคิด “กษัตริย์” เป็นผู้ทรงอำนาจสูงสุดในการปกครองอาณาจักร ทรงเป็นประมุข และผู้พิทักษ์รักษาบ้านเมืองให้ปลอดภัย เพื่อประชาชนอยู่อย่างสงบสุข - “กษัตริย์” ต้องจรรโลงและอุปถัมภ์ “พระพุทธศาสนา” • เป็นแนวทางที่ “พระเจ้าธนบุรี” และ “สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก” ทรงใช้ เพื่อสร้างอุดมการณ์แก่ประชาชน • “พระเจ้ากรุงธนบุรี” อ้างพระอภินิหารบารมีทางธรรมและความคิดเรื่องจักรพรรดิราช • “พระพุทธยอดฟ้าฯ” อ้างสิทธิ อันชอบธรรมจากกษัตริย์ต้องเป็นผู้มี “บุญญาบารมี” และ “ปัญญาบารมี” และเป็นผู้นำทางธรรม ดุจ พระโพธิสัตว์
รูปแบบการปกครอง • ยึดแบบแผนจากอยุธยา คือ สมุหนายก สมุหพระกลาโหม และจตุสดมภ์ เป็นหลักในการปกครอง • การควบคุมไพร่ – • ไพร่ ได้แตกสลายพร้อมกับการเสียกรุงฯ • รื้อฟื้น การเกณฑ์แรงงานไพร่ เพื่อปรับปรุงสร้าง ราชธานีใหม่ และสร้าง สังคมใหม่
3. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม3.1 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ • เกษตรกรรม มี 2 ประเภท • ผลิตเพื่อบริโภค – ทำนาและปลูกพืชของชาวนาไทย • ผลิตเพื่อขาย – ปลูกพืชเพื่อขาย ได้แก่ การทำไร่ ทำสวน ของชาวจีนอพยพ • การค้าขายกับต่างประเทศ มีปริมาณเพิ่มขึ้นจากสมัยอยุธยา โดยเฉพาะการค้ากับประเทศจีน ทั้ง เรือสำเภาหลวง และเรือสำเภาของเอกชน • รัฐ เลิก ผูกขาดสินค้า หันมา ผูกขาดภาษีอากร • อุตสาหกรรมขั้นต้น เช่น การทำน้ำตาล การต่อเรือ ทำเหมือง • รายได้ของรัฐ – การเกณฑ์แรงงาน การค้าของหลวง ภาษี ค่าธรรมเนียม • รายจ่าย – สร้างวัด วัง บำรุงศาสนา เบี้ยหวัดขุนนาง การป้องกันประเทศ
3.2 การเปลี่ยนแปลงทางสังคม • การเติบโตของ “การค้าต่างประเทศ” กระตุ้นให้ “การค้าภายใน” ขยายตัว • สินค้าที่ได้จาก “ระบบส่วย” ไม่เพียงพอ - พระคลังสินค้า จัดหาซื้อเพิ่มจาก “ตลาดการค้าภายใน” • ชาวจีนอพยพ – มีบทบาททางการค้าภายใน (ไม่สังกัดระบบไพร่ เดินทางได้เสรี) โดยเฉพาะ บริเวณภาคกลางและชายฝั่งทะเลตะวันออก • ชาวจีนอพยพ – เลื่อนฐานะทางสังคม “เจ้าภาษีนายอากร” – กลุ่มคนจีน ที่เข้ามาเป็น “แรงงานรับจ้าง” ให้กับรัฐ • ลด “จำนวนเดือนการเกณฑ์แรงงาน”
4. การเข้ามาของชาติตะวันตกและผลกระทบ4.1 ผลกระทบด้านการเมืองและการค้า • สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) – อังกฤษ ส่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับสยาม เพราะต้องการ “เมืองท่า” ค้าขาย – พ.ศ. 2334 ได้ทำสัญญาเช่า “เกาะหมาก (ปีนัง)” จากเมืองไทรบุรี (เป็นเมืองประเทศราชของสยามขณะนั้น) • พ.ศ. 2364 – ผู้สำเร็จราชการอังกฤษ ประจำอินเดีย ส่ง จอห์น ครอว์เฟิร์ด มาเจรจาเรื่องการค้าและการเมือง (4 เดือน) แต่ไม่สำเร็จ – รัชกาลที่ 2 อนุญาตให้ พ่อค้าอังกฤษค้าขายได้ตามธรรมเนียมเดิม • พ.ศ. 2368 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ผู้สำเร็จราชการอังกฤษประจำอินเดีย ได้ส่ง ร้อยเอกเฮนรี่ เบอร์นี่ มาเจรจาอีกครั้ง เป็นเวลาถึง 5 เดือน จึงเจรจาสำเร็จ
4.1 ผลกระทบด้านการเมืองและการค้า (ต่อ) • สยามกับอังกฤษ ตกลงทำ สนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ เมื่อ วันที่ 20 มิถุนายน 2369 เรียกว่า “สนธิสัญญาเบอร์นีย์” • การทำสนธิสัญญาเบอร์นีย์ ครั้งนี้ เป็นเพราะ สถานการณ์ในขณะนั้น อังกฤษได้ทำสงครามชนะพม่า ทำให้ สยาม ตระหนักถึงอิทธิพลของอังกฤษ จึงยินยอมทำสนธิสัญญาดังกล่าว • “สนธิสัญญาเบอร์นีย์” – นับเป็น การเริ่มต้นการเข้ามามีบทบาททางการค้าของอังกฤษในสยามอีกครั้งหนึ่ง
สาระสำคัญ “สนธิสัญญาเบอร์นีย์” ด้านการเมือง • สยามและอังกฤษ จะเป็นมิตรไมตรีต่อกัน จะไม่แย่งชิงเอาบ้านเมืองหรือดินแดนซึ่งกันและกัน • ถ้ามี “คดี” เกิดขึ้นในเขตสยาม ให้สยามตัดสินตามขนบธรรมเนียมประเพณีของสยาม คนอีกฝ่ายหนึ่งไปอยู่ในอาณาเขตของอีกฝ่ายหนึ่ง จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายของอาณาเขตนั้น • อังกฤษยอมรับอำนาจอธิปไตยของสยามที่มีเหนือไทรบุรี – ฝ่ายสยาม ยินยอมให้ไทรบุรีค้าขายกับปีนัง และให้ปีนังซื้อเสบียงอาหารจากไทรบุรี โดยไม่เสียภาษีขาออก • อังกฤษยอมรับสิทธิและอธิปไตยของสยามที่มีเหนือกลันตันและตรังกานู • อังกฤษและสยาม รับประกันความเป็นอิสระของเประและสลังงอ สยามรับรองว่าจะไม่ใช้กำลังเข้ารุกรานรัฐทั้งสอง
สาระสำคัญ “สนธิสัญญาเบอร์นีย์” ด้านการค้า • พ่อค้าอังกฤษ สามารถเข้ามาค้าขายได้อย่างเสรี และเสียภาษีในอัตราที่แน่นอน • อังกฤษ ยอมรับเรื่อง การผูกขาดการค้าของรัฐบาลสยาม • อังกฤษ ยอมรับเรื่องการห้ามนำเข้า ฝิ่นและอาวุธปืนเข้ามาในสยาม สนธิสัญญาเบอร์นีย์ ใช้อยู่ระยะหนึ่ง อังกฤษขอเจรจาแก้ไขสนธิสัญญา แต่รัชกาลที่ 3 พร้อมทั้งขุนนางผู้ใหญ่ปฏิเสธข้อเสนอของอังกฤษ เพราะร่างสัญญาใหม่ อังกฤษได้รับประโยชน์ฝ่ายเดียว
4.2 ผลกระทบด้านวิทยาการและการศึกษา • การติดต่อทางการค้ากับสหรัฐอเมริกา และ การเข้ามาของ “กลุ่มมิชชันนารี” – สยาม มีโอกาสเรียนรู้เรื่องการศึกษาสมัยใหม่ การแพทย์ และการพิมพ์ • ด้านการศึกษา – เห็นความสำคัญของการศึกษาภาษาอังกฤษ • ด้านการแพทย์ – นายแพทย์แดน บีช แบรดลีย์ (หมอบรัดเลย์) – นำความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่เข้ามา เช่น การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ วัคซีนป้องกันอหิวาตกโรค การผ่าตัด สูติกรรมแผนปัจจุบัน • ด้านการพิมพ์ – หมอบรัดเลย์ นำแท่นพิมพ์และตัวหนังสือไทย เข้ามาในกรุงเทพฯ – เกิดหนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรก “บางกอกรีคอร์เดอร์”