10 likes | 163 Views
www.sepo.go.th. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.). พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. ข้อมูลทั่วไป. สังกัด : กระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ : นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม กรรมการผู้แทน กค. : นายประสงค์ พูนธเนศ นาย ช.นันท์ เพ็ชญไพศิษฏ์
E N D
www.sepo.go.th ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อมูลทั่วไป สังกัด: กระทรวงการคลัง ประธานกรรมการ : นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม กรรมการผู้แทน กค. :นายประสงค์ พูนธเนศ นาย ช.นันท์ เพ็ชญไพศิษฏ์ Website : www.ghb.co.thโทร.0 2645 9000 • คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคลากรรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย • กรรมการ (ม.5) ผู้บริหารสูงสุด (ม. 8 ตรี) พนักงาน (ม.9) • จำนวนกรรมการ ไม่เกิน 11 คน แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีข้อกำหนดให้มีกรรมการน้อยกว่า 11 คน ก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีกรรมการเกินกว่า 11 คน ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดขออนุมัติจาก ครม. แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คน(ม. 6) • การนับจำนวนการดำรงตำแหน่งของกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ไม่เกิน 3 แห่ง นับรวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง การได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน แต่ไม่รวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่งที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน (ม. 7) • วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี กรณีกรรมการที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่ง (ไม่ใช้บังคับแก่กรรมการของบริษัทจำกัด) แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ (ม. 8) • การแต่งตั้งกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการที่กระทรวง • การคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น (ม. 12/1 วรรค 1) • การกำหนดค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (ม. 8 จัตวา วรรคเจ็ด) ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด • กรรมการผู้จัดการ (CEO) :นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี • สัญญาจ้างลงวันที่ : 1 พฤศจิกายน 2553 • ระยะเวลาจ้าง : 17 พ.ย. 53 – 16 พ.ย. 57 • วาระที่ 1 วาระที่ 2 • ตำแหน่งเดิมก่อนเป็น CEO • Board รอง CEO บุคคลภายนอก • (รองผู้อำนวยการธนาคารออมสิน) • รอง CEO พนักงาน สัญญาจ้าง • CFO พนักงาน สัญญาจ้าง พระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลังSTATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง • วัตถุประสงค์ : ให้ธนาคารมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนมีอาคารและหรือที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย (ม. 5) • ภายในกรอบวัตถุประสงค์ตามมาตรา 5 ให้ธนาคารมีอำนาจกระทำการ ดังต่อไปนี้ (ม.27) • (1) ให้กู้ยืมเงิน • (2) รับจำนำหรือรับจำนองทรัพย์สินเพื่อเป็นประกันเงินกู้ยืม • (3) รับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ • (4) จัดตั้งหรือร่วมกิจการกับนิติบุคคลอื่นเพื่อจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ • (5) ถือกรรมสิทธ์หรือมีสิทธิครอบครองหรือมีทรัพย์สินต่างๆ สร้าง ซื้อ จัดหา ขายจำหน่าย เช่า ให้เช่า ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม รับจำนำ รับจำนอง แลกเปลี่ยน โอน รับโอน หรือดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน ตลอดจนรับทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ • (6) ตั้งหรือรับเป็นตัวแทน ตัวแทนค้าต่าง และนายหน้า ในกิจการตามวัตถุประสงค์ของธนาคาร • (7) ประกอบกิจการอันพึงเป็นงานของธนาคารตามที่กำหนดใน พ.ร.ฎ. ทั้งนี้ ให้ประกอบได้ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง • (8) กระทำกิจการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของธนาคาร • บทกำหนดโทษสำหรับประธานกรรมการ กรรมการ หรือผู้จัดการ • ประธานกรรมการ กรรมการ หรือผู้จัดการเปิดเผยหรือใช้เพื่อประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่น ซึ่งข้อความที่บุคคลผู้ได้มาขอความอุปการะในทางธนกิจได้แจ้งแก่ธนาคารหรือกรรมการใดๆ ของธนาคาร นอกจากในกรณีที่ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนในฐานะที่เป็นประธานกรรมการ กรรมการ หรือผู้จัดการ มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำ • ทั้งปรับ (ม. 42) เงินเดือนพนักงาน กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน คณะกรรมการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น Min-max ของเงินเดือน : 5,700 – 149,552 บาท อัตราเงินเดือนแรกบรรจุ (ปริญญาตรี 4 ปี) : 9,700บาท จำนวนพนักงาน : 2,753 คน (31 พ.ค. 54)(พนักงาน 2,460 คน พนักงานสัญญาจ้าง 293 คน) มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่าง ๆ ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 • จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ คณะกรรมการประกอบด้วยประธานกรรมการ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ ผู้แทนกระทรวงการคลังหนึ่งคน กรรมการอื่นมีจำนวนไม่น้อยกว่าสี่คนแต่ไม่เกินเจ็ดคน และให้ผู้จัดการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง (ม. 13) • วาระการดำรงตำแหน่ง : ให้ประธานกรรมการและกรรมการอื่นที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสามปี ประธานกรรมการและกรรมการอื่นซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ (ม. 15) • ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุด คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง (ม. 13) และผู้บริหารสูงสุดย่อมพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (1) ตาย (2) ลาออก (3) คณะรัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพ่องต่อหน้าที่ (4) เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตาม ม. 14 (ม. 24) ปัจจุบันไม่มีโครงการที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจจะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน คุณสมบัติเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ ลักษณะต้องห้ามของประธานกรรมการ กรรมการ หรือผู้จัดการ (1) มีส่วนได้เสียในสัญญากับธนาคารหรือในกิจการที่กระทำให้แก่ธนาคาร ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยทางอ้อม เว้นแต่จะเป็นเพียงผู้ถือหุ้นเพื่อประโยชน์ในการลงทุนโดยสุจริตในบริษัทจำกัดที่กระทำการอันมีส่วนได้เสียเช่นว่านั้น (2) เป็นพนักงานธนาคาร (3) เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย (ม. 14) ที่มาของข้อมูล สัญญาจ้างผู้บริหาร www.krisdika.go.th มติคณะรัฐมนตรี ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 2 ผู้อำนวยการส่วน : นายปัญญ์สุธา รายา ผู้จัดทำ : นายวัชรพงษ์ วรรณตุง โทร. 0 2298 5880-9 ต่อ 6720 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค. 54 (Update) อำนาจพิเศษตามกฎหมายจัดตั้ง : - สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง -ไม่มี- ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง เรื่องเสร็จที่ 233/2554 ธอส. มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจจึงเป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งอยู่ภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ดังนั้น หากปรากฏข้อเท็จจริงว่าคณะกรรมการธนาคารได้อนุมัติการปรับโครงสร้างหนี้ของเกษตรกรตามเงื่อนไขที่กำหนดตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2553 โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงและทำให้ธนาคารได้รับความเสียหาย คณะกรรมการธนาคารก็จะต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ธนาคารด้วยตามมาตรา 4 มาตรา 8 และมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ