10 likes | 118 Views
www.sepo.go.th. องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.). ข้อมูลทั่วไป. พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. สังกัด : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานกรรมการ : นายธีระ วงศ์สมุทร กรรมการผู้แทน กค. : นางสาวปทุมมาลย์ ไม้เรียง
E N D
www.sepo.go.th องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) ข้อมูลทั่วไป พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สังกัด: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานกรรมการ : นายธีระ วงศ์สมุทร กรรมการผู้แทน กค. : นางสาวปทุมมาลย์ ไม้เรียง Website : www.reothai.co.th สำนักงานใหญ่ นครศรีธรรมราช โทร. 0-7549-1570-2 สำนักงาน กทม. โทร. 024244259 • คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคลากรรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย • กรรมการ (ม.5) ผู้บริหารสูงสุด (ม. 8 ตรี) พนักงาน (ม.9) • จำนวนกรรมการ ไม่เกิน 11 คน แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีข้อกำหนดให้มีกรรมการน้อยกว่า 11 คน • ก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีกรรมการเกินกว่า 11 คน ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัด • ขออนุมัติจาก ครม. แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คน(ม. 6) • การนับจำนวนการดำรงตำแหน่งของกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ไม่เกิน 3 แห่ง นับรวม • การเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง การได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน แต่ไม่รวมการเป็นกรรมการ • โดยตำแหน่งที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน (ม. 7) • วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี กรณีกรรมการที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่ง (ไม่ใช้บังคับแก่กรรมการ • ของบริษัทจำกัด) แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ (ม. 8) • การแต่งตั้งกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการที่กระทรวง • การคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น (ม. 12/1 วรรค 1) • การกำหนดค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำหนด • โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (ม. 8 จัตวา วรรคเจ็ด) ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด • ผู้อำนวยการ(CEO) : นายชนะชัย เปล่งศิริวัธน์ • สัญญาจ้างลงวันที่ : 19 พฤษภาคม 2554 • ระยะเวลาจ้าง : 19 พ.ค. 54 – 18 พ.ค. 58 • วาระที่ 1 วาระที่ 2 • ตำแหน่งเดิมก่อนเป็น CEO • Board รอง CEO บุคคลภายนอก • รอง CEO พนักงาน สัญญาจ้าง • CFOพนักงาน สัญญาจ้าง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลังSTATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนยาง พ.ศ. 2504 วัตถุประสงค์ (ม.6) 1) ประกอบเกษตรกรรมซึ่งมีการทำสวนยางพาราเป็นสำคัญ รวมทั้งการสร้างแปลงเพาะและแปลงขยายพันธุ์ ยางพารา 2) ผลิตยางแผ่นรมควัน ยางเครป น้ำยางข้น ยางผงสารประกอบของยางพารา 3) ประดิษฐ์หรือผลิตวัตถุจากยางพารา 4) ผลิตและจำหน่ายพลังงานเพื่อประโยชน์แก่กสิกรรมและกิจการซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ของ อ.ส.ย.5) ประกอบการค้าและธุรกิจเกี่ยวกับผลิตผล ผลิตภัณฑ์และวัตถุพลอยได้ที่เกิดจากกิจการตาม 1) 2) 3) และ 4) และเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ เกษตรกรรม 6) อำนวยบริการแก่รัฐและประชาชนเกี่ยวกับยางพารา (ดู ม.7 ประกอบ) เงินเดือนพนักงาน กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน คณะกรรมการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58 ขั้น อัตราเงินเดือนขั้นสูงสุด ขั้นที่ 58 Min-max ของเงินเดือน : 5,510 – 113,520 บาท อัตราเงินเดือนแรกบรรจุ (ปริญญาตรี 4 ปี) : 8,130 บาท จำนวนพนักงาน : 1,214 คน (31พ.ค. 54) • จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ : ไม่เกิน 15 คน ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ • เป็นรองประธานกรรมการ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ผู้อำนวยการ อ.ส.ย. ผู้แทนกระทรวงการคลัง เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่น • ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกิน 8 คน • ในกรณีที่ไม่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คณะรัฐมนตรีอาจแต่งตั้งกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นรองประธานกรรมการแทนก็ได้ (ม.13) • วาระการดำรงตำแหน่ง : 3 ปี แต่อาจได้รับการแต่งตั้งใหม่ได้ (ตาม ม. 8 พรบ.คุณสมบัติมาตรฐานฯ เนื่องจาก พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การสวนยาง พ.ศ. 2504 มิได้กำหนดเรื่องวาระการดำรงตำแหน่งเอาไว้) • ผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้บริหารสูงสุด : ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีอำนาจแต่งตั้งผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ม.18) และให้คณะกรรมการ • มีอำนาจในการกำหนดเงินเดือนของผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ม.15 (4)) มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่าง ๆ ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ปัจจุบันไม่ปรากฎว่ามีโครงการที่ได้ดำเนินการ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการ ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 คุณสมบัติเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กรรมการ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ จะต้อง (1) ไม่มีส่วนได้เสียในสัญญากับ อ.ส.ย. หรือในกิจการที่จะกระทำให้ อ.ส.ย. ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรง หรือโดยทางอ้อม เว้นแต่จะเป็นเพียงหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ ผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดที่กระทำการอันมีส่วนได้เสียเช่นว่านั้น (ม.14 (1)) (2) ไม่เป็นพนักงานหรือคนงานของ อ.ส.ย. (ม.14 (2)) หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจจะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน • คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 เม.ย. 54 อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การสวนยาง (ฉบับ ที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอและให้ส่ง สคก. ตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งมีหลักการที่สำคัญคือ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การสวนยาง พ.ศ. 2504 ดังนี้ • (1) ยกเลิกการกำหนดลักษณะต้องห้ามและเหตุแห่งการพ้นจากตำแหน่งของรองผู้อำนวยการ อ.ส.ย. • (2) ยกเลิกอำนาจของคณะกรรมการบริหารกิจการของ อ.ส.ย. ในการกำหนดเงินเดือน อัตราและดอกเบี้ยเงินสะสมของรองผู้อำนวยการ • (3) ยกเลิกอำนาจของรัฐมนตรีในการแต่งตั้งและถอดถอนรองผู้อำนวยการ • (4) กำหนดให้การบรรจุ แต่งตั้ง ถอดถอน เลื่นขั้นเงินเดือน ตัดเงินเดือนหรือลดขั้นเงินเดือน ตลอดจนการลงโทษทางวินัยพนักงานชั้นรองผู้อำนวยการต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารกิจการของ อ.ส.ย. ก่อน ที่มาของข้อมูล สัญญาจ้างผู้บริหาร www.krisdika.go.th มติคณะรัฐมนตรี ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 3 ผู้อำนวยการส่วน : นายณัฐวุฒ ไพศาลวัฒนา ผู้จัดทำ : นางสาวนัทธ์หทัย ขำดี โทร. 022985880-9 ต่อ 6746 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค. 54 (Update) สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ปัจจุบันไม่ปรากฏว่า อ.ส.ย. ได้รับสิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง เรื่องเสร็จที่ 310/2551 เรื่อง หารือปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับสถานภาพของรองผู้อำนวยการองค์การสวนยาง รอง ผอ. อ.ส.ย. ไม่มีสถานะเป็นพนักงานหรือคนงาน อ.ส.ย. (พรฎ.จัดตั้ง อ.ส.ย.ฯ ม.14 และ ม.18) และไม่ถือเป็นผู้บริหาร ตาม ม.4 แห่งพ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518