20 likes | 206 Views
www.sepo.go.th. ข้อมูลทั่วไป. บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.). สังกัด : กระทรวงคมนาคม ประธานกรรมการ : นายธีรพล นพรัมภา กรรมการผู้แทน กค. : 1. นาย สมชัย สัจจพงษ์ 2 . นายประสงค์ พูน ธเนศ Website: www.airportthai.co.th โทร. 0 2535 1111.
E N D
www.sepo.go.th ข้อมูลทั่วไป บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) สังกัด : กระทรวงคมนาคม ประธานกรรมการ : นายธีรพล นพรัมภา กรรมการผู้แทน กค. : 1. นายสมชัย สัจจพงษ์ 2. นายประสงค์ พูนธเนศ Website: www.airportthai.co.th โทร.0 25351111 พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๑๘และที่แก้ไขเพิ่มเติม • คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบุคลากรรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย • กรรมการ (ม.5) ผู้บริหารสูงสุด (ม. 8 ตรี) พนักงาน (ม.9) • จำนวนกรรมการ ไม่เกิน 11 คน แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจใดมีข้อกำหนดให้มีกรรมการน้อยกว่า 11 คน ก็ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ แต่ถ้าจำเป็นต้องมีกรรมการเกินกว่า 11 คน ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดขออนุมัติจาก ครม. แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 15 คน(ม. 6) • การนับจำนวนการดำรงตำแหน่งของกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ไม่เกิน 3 แห่ง นับรวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง การได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทน แต่ไม่รวมการเป็นกรรมการโดยตำแหน่งที่ได้มีการมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติราชการแทน (ม. 7) • วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี กรณีเป็นกรรมการของรัฐวิสาหกิจที่มิใช่กรรมการโดยตำแหน่งแต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้ (ไม่ใช้บังคับแก่กรรมการของบริษัทจำกัด) (ม. 8 วรรคสองและวรรคสาม) • การแต่งตั้งกรรมการอื่น ผู้มีอำนาจพิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการที่กระทรวงการคลังจัดทำขึ้น ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการอื่นของรัฐวิสาหกิจนั้น (ม. 12/1 วรรคหนึ่ง) • การกำหนดค่าตอบแทนและร่างสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง (ม. 8 จัตวา วรรคเจ็ด) ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาจ้างผู้บริหารสูงสุด • ผู้บริหาร (CEO) : อยู่ระหว่างการสรรหา • สัญญาจ้างลงวันที่ : • ระยะเวลาจ้าง : • วาระที่ 1 วาระที่ 2 • ตำแหน่งเดิมก่อนเป็น CEO: • Board รอง CEO บุคคลภายนอก • รอง CEO พนักงาน สัญญาจ้าง • CFO พนักงาน สัญญาจ้าง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลังSTATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง เงินเดือนพนักงาน • กลุ่มโครงสร้างเงินเดือน • บอร์ดกำหนดโครงสร้างเงินเดือนได้เอง • มีบัญชีโครงสร้างเงินเดือนของตนเอง • ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือน 58ขั้น • Mix-min ของเงินเดือน = 6,180 - 277,000บาท • ปริญญาตรี (๔ปี) = 11,500 บาท • จำนวนพนักงาน = 4,134คน (31 พ.ค. 54) ข้อบังคับของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด • จำนวนและองค์ประกอบคณะกรรมการ :ไม่น้อยกว่า 5คน แต่ไม่เกิน 15คน เลือกตั้งโดยที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยมีกรรมการอิสระไม่น้อยกว่า 3คน และกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร และกรรมการอย่างน้อย 1 คนต้องมีความรู้ความสามารถในด้านการบัญชีและการเงิน (ข้อ 36) • วาระการดำรงตำแหน่ง : ในการประชุมสามัญประจำปีทุกครั้ง ให้กรรมการออกจากตำแหน่งตามวาระเป็นจำนวนหนึ่งในสามทุกปี ถ้าแบ่งออกให้ตรงเป็นสามส่วนไม่ได้ก็ให้ออกโดยจำนวนใกล้เคียงที่สุด และกรรมการที่ออกตามวาระอาจถูกเลือกเข้ามาดำรงตำแหน่งใหม่ก็ได้ (ข้อ 39) • การแต่งตั้งกรรมการ: ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเลือกตั้งกรรมการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด (ข้อ 38) • ผู้มีอำนาจแต่งตั้งบริหารสูงสุด : คณะกรรมการ ทอท. เลือกตั้งกรรมการคนหนึ่งเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ข้อ 36วรรคท้าย) มติ ครม. ที่ยกเว้นการปฏิบัติเรื่องต่าง ๆ • ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจทั่วไป • ยกเว้นการปฏิบัติตามมาตรา 13 (2) พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 การดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 • มีโครงการ จำนวน 6โครงการ • โครงการระบบให้บริการเชื้อเพลิงอากาศยาน (1) • อยู่ในขั้นตอน คกก. ม.22 • โครงการระบบให้บริการเชื้อเพลิงอากาศยาน (2) • อยู่ในขั้นตอน คกก. ม. 22 • โครงการครัวการบิน (1) อยู่ในขั้นตอน คกก. ม.22 • โครงการครัวการบิน (2) อยู่ในขั้นตอนคกก. ม.22 • โครงการอุปกรณ์บริการภาคพื้นและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการซ่อมบำรุง อยู่ในขั้นตอน คกก. ม.22 • โครงการคลังสินค้า อยู่ในขั้นตอน คกก. ม.22 • คุณสมบัติเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๑๘ • ห้ามมิให้กรรมการประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัทหรือเข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือเป็นกรรมการของบริษัทอื่น ไม่ว่าบริษัทเอกชนหรือบริษัทมหาชนที่ประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัท ไม่ว่าจะทำเพื่อประโยชน์ตน หรือประโยชน์ผู้อื่น เว้นแต่กรรมการผู้นั้นจะได้แจ้งให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบก่อนที่จะมีมติแต่งตั้งตนเป็นกรรมการ (ข้อ 51) • อำนาจพิเศษตามพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของ บมจ. ทอท. พ.ศ. 2545 • ในการประกอบกิจการท่าอากาศยาน ให้บริษัทมีอำนาจได้รับยกเว้น มีสิทธิพิเศษหรือได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายว่าด้วยการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยหรือกฎหมายอื่นได้บัญญัติไว้ให้แก่ ทอท. เว้นแต่กรณีที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 5และมาตรา 6 (มาตรา 4) • ให้ทรัพย์สินของบริษัทเท่าที่จำเป็นในการประกอบกิจการท่าอากาศยานที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี (มาตรา 5) • ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อรักษาความปลอดภัยในเขตท่าอากาศยาน ให้ลูกจ้างของบริษัทเฉพาะที่รัฐมนตรีแต่งตั้งเพื่อการนี้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(มาตรา 6) หมายเหตุ ในการพิจารณาคุณสมบัติบุคลากรรัฐวิสาหกิจจะต้องพิจารณา พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานฯ กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องประกอบกัน ที่มาของข้อมูล สัญญาจ้างผู้บริหาร www.krisdika.go.th มติคณะรัฐมนตรี ประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ สำนักกฎหมาย ส่วนกฎหมาย 1 ผู้อำนวยการส่วน : - ผู้จัดทำ : นางสาวชัชดาภา จารุรังสรรค์ โทร. 022985880-9 ต่อ 6746 วันที่จัดทำ : 31 พ.ค. 54 (update) สิทธิพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ไม่ปรากฎว่ามีสิทธิพิเศษเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างตามมติคณะรัฐมนตรี ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง ต่อด้านหลัง
www.sepo.go.th บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) เรื่องเสร็จที่ ๑๓๕/๒๕๕๐ เรื่อง การบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๓๕ กรณีโครงการอนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานภูมิภาคและโครงการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ณ อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ คณะกรรมการกฤษฎีกาได้เคยวางบรรทัดฐานเกี่ยวกับวงเงินหรือทรัพย์สินตามบทนิยาม“โครงการ” ในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐฯ ไว้ว่า หมายความถึง วงเงินหรือทรัพย์สินของการลงทุนในกิจการของรัฐในส่วนของรัฐและในส่วนของเอกชนที่เข้ามาร่วมลงทุนในโครงการซึ่งจะทำให้โครงการนั้นบรรลุผล และสามารถดำเนินกิจการนั้นให้คงอยู่ได้ เช่น มูลค่าของที่ดิน อาคาร หรือทรัพย์สินในการดำเนินโครงการ เป็นต้น โดยต้องพิจารณามูลค่าของการลงทุนที่แท้จริงทั้งหมดตลอดทั้งโครงการประกอบกับคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เคยวินิจฉัยให้ความเห็นกรณีโครงการจัดตั้งร้านค้าปลอดอากร ณ สนามบินสุวรรณภูมิ ไว้แล้วว่า โครงการดังกล่าวเป็นการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐฯ โดยการประเมินวงเงินการลงทุนของโครงการนั้นจะต้องนำวงเงินการลงทุนในการซื้อสินค้าคงคลังเพื่อการจำหน่าย เฉพาะในส่วนที่จะต้องจัดให้มีและเป็นสาระสำคัญอันจะทำให้โครงการดังกล่าวบรรลุผล มารวมเข้ากับมูลค่าของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องด้วย สำหรับการคำนวณมูลค่าของอาคารนั้น เห็นว่า การคำนวณมูลค่าของอาคารเพื่อนำมารวมคำนวณมูลค่าการลงทุนของโครงการอนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากรฯ และโครงการบริหารจัดการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ฯ ได้แก่ มูลค่าของอาคารที่แท้จริงเฉพาะส่วนที่อนุญาตให้เอกชนมีสิทธิเข้าใช้ในการดำเนินการหรือประกอบกิจการทั้งหมดในแต่ละโครงการ โดยไม่ต้องนำค่าเสื่อมราคาของอาคารมาคำนวณนับรวมด้วย เรื่องเสร็จที่๔๐๙/๒๕๕๑เรื่อง การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา ๔๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย วัตถุประสงค์ของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามที่กำหนดเป็นเงื่อนไขในมาตรา ๔๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นั้น มุ่งหมายที่จะทำให้บริเวณที่มีการเวนคืนมีคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นหรือคงไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่ดีดังเดิม แต่กรณีการเวนคืน อสังหาริมทรัพย์บริเวณโดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิตามที่ ทอท. ประสงค์จะนำ ที่ดินที่ได้จากการเวนคืนไปพัฒนาอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าทางอากาศในเขตปลอดอากรระบบ Logistic และส่วนสนับสนุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องนั้น มิได้ทำให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมบริเวณดังกล่าวดีขึ้นหรือคงไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่ดีดังเดิมแต่อย่างใด คงมีผลแต่เฉพาะทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวต้องออกจากพื้นที่เท่านั้น ดังนั้น การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านเสียงของผู้อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจึงไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔๒ ของรัฐธรรมนูญฯดังนั้นกรณีที่ ทอท. จะนำที่ดินไปพัฒนาอุตสาหกรรมซึ่งมิใช่วัตถุประสงค์ของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม จึงไม่อาจกระทำได้ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) : กระทรวงการคลังSTATE ENTERPRISE LAW FOCUS : รายแห่ง