420 likes | 535 Views
ความเป็นพลเมือง สัญชาติ Citizenship, Nationality. ควรให้การรักษาพยาบาลแก่คนพม่าที่เจ็บป่วยบริเวณชายแดน แล้วเข้ามาในโรงพยาบาลของไทยหรือไม่ ถ้าควร ด้วยเหตุผลอะไร ถ้าไม่ควร ด้วยเหตุผลอะไร. ควรจะปฏิบัติต่อชาวโรฮิงยาอย่างไร ควรรับเขาไว้และให้การเลี้ยงดู เปิดโอกาสให้ทำงานเสมือนพลเมืองไทย
E N D
ความเป็นพลเมือง สัญชาติCitizenship, Nationality
ควรให้การรักษาพยาบาลแก่คนพม่าที่เจ็บป่วยบริเวณชายแดน แล้วเข้ามาในโรงพยาบาลของไทยหรือไม่ • ถ้าควร ด้วยเหตุผลอะไร • ถ้าไม่ควร ด้วยเหตุผลอะไร
ควรจะปฏิบัติต่อชาวโรฮิงยาอย่างไรควรจะปฏิบัติต่อชาวโรฮิงยาอย่างไร • ควรรับเขาไว้และให้การเลี้ยงดู เปิดโอกาสให้ทำงานเสมือนพลเมืองไทย • หรือควรผลักดันเขาออกไปจากผืนแผ่นดินไทย เพราะไม่ได้เป็นพลเมืองไทย
เพราะเหตุใดเราจึงรู้สึกว่าควรปฏิบัติต่อบุคคลเหล่านี้แตกต่างไปจาก “คนไทย” ด้วยกันเอง
มิติในทางสังคม การถือสัญชาติเดียวกันทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน คนกลุ่มเดียวกัน • เช่น นักกีฬาทีมชาติ แม้อาจมีความแตกต่างอย่างมาก แต่ก็รู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน
Zinadine Zidane • ชาวฝรั่งเศส เกิดในครอบครัวชาวแอลจีเรียอพยพ
มิติในทางกฎหมาย การเป็นคนสัญชาติเดียวกันจะได้รับการคุ้มครองจากรัฐ และมีหน้าที่ในลักษณะเดียวกัน • เช่น การเข้าถึงบริการสาธารณสุข การศึกษา การเสียภาษี การได้รับความคุ้มกันจากกระบวนการยุติธรรม การมีสิทธิเลือกตั้ง ฯลฯ
การเป็นพลเมืองของรัฐสมัยใหม่การเป็นพลเมืองของรัฐสมัยใหม่ • สัญชาติ (Nationality) และเชื้อชาติ (Race) • เชื้อชาติ คือ ลักษณะทางพันธุกรรมหรือทางวัฒนธรรมของผู้คน • สัญชาติ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับรัฐสมัยใหม่
ความเข้าใจที่คับแคบบางประการความเข้าใจที่คับแคบบางประการ • ในแต่ละรัฐ จะมีพลเมืองที่มีลักษณะใกล้เคียงหรือคล้ายคลึงกันทั่วทั้งรัฐ หรือมีความพยายามจะทำให้คนภายในรัฐมีลักษณะที่เหมือนกัน • แต่ในความเป็นจริงแต่ละรัฐ มีพลเมืองที่มีเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ที่แตกต่างกันอย่างมาก
หลักกฎหมายทั่วไปว่าด้วยการได้สัญชาติหลักกฎหมายทั่วไปว่าด้วยการได้สัญชาติ • การได้สัญชาติโดยการเกิด • การได้สัญชาติภายหลังการเกิด
การได้สัญชาติโดยการเกิดมีการได้สัญชาติโดยการเกิดมี • การได้สัญชาติโดยหลักดินแดน <jus soli> • การได้สัญชาติโดยหลักสืบสายโลหิต <jus sanquinis>
การได้สัญชาติโดยหลักดินแดนการได้สัญชาติโดยหลักดินแดน • บุคคลที่กำเนิดขึ้นในดินแดนของรัฐใด ก็ควรมีสิทธิได้สัญชาติของรัฐนั้น • ถือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับดินแดน
แต่อาจมีข้อยกเว้นบางประการแต่อาจมีข้อยกเว้นบางประการ • การเข้าเมืองในลักษณะชั่วคราวหรือเข้าเมืองแบบผิดกฎหมาย • ทำงานในองค์กรระหว่างประเทศ • เรียนหนังสือ ท่องเที่ยว • หลบหนีเข้าเมือง
การได้สัญชาติโดยหลักสืบสายโลหิตการได้สัญชาติโดยหลักสืบสายโลหิต • บุคคลที่ถือกำเนิดขึ้นจากพ่อแม่ที่มีสัญชาติใดก็ควรจะต้องได้สัญชาตินั้น • เป็นการถ่ายทอดสัญชาติผ่านทางสายเลือด
การได้สัญชาติภายหลังการเกิดการได้สัญชาติภายหลังการเกิด • การได้สัญชาติโดยการสมรส ถือหลักความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของครอบครัว • การได้สัญชาติโดยการแปลงสัญชาติ ถือหลักความผสมกลมกลืนของบุคคลกับสังคมนั้นๆ • การได้สัญชาติเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจรัฐ เป็นความจำเป็นของรัฐที่เปลี่ยนแปลงไป
หลักกฎหมายว่าด้วยการเสียสัญชาติหลักกฎหมายว่าด้วยการเสียสัญชาติ • การเสียสัญชาติด้วยการแสดงเจตนาของเอกชน • เช่น การสละสัญชาติ • การเสียสัญชาติด้วยการแสดงเจตนาของรัฐ • เช่น การถูกถอนสัญชาติ
กฎหมายสัญชาติในสังคมไทย กฎหมายสัญชาติในสังคมไทย
พระราชสาสน์ ร.4 ถึงนโปเลียนที่ 3 พ.ศ. 2408 • “สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎพระเจ้ากรุงรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทธยาเป็นมหาราชธานีใหญ่ในพระราชอาณาจักรฝ่ายสยาม คือแผ่นดินสยามเหนือใต้และดินแดนต่างๆ อยู่เคียงอยู่ใกล้ เป็นที่อยู่อาศัยของชนชาวประเทศมีเพศภาษาต่างๆ คือ ลาวกาว ลาวเฉียง กัมพูชา มลายูและกะเหรี่ยง”
ก่อนหน้ารัชกาลที่ 5 • ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ 2416 ของหมอบรัดเลย์ ชาติ หมายถึงบังเกิด กำเนิดขึ้น หรือเป็นการเปรียบเปรยถึงบุคคลบางประเภท เช่น ชาติข้า ชาติหงส์ ชาติหมา • ตราบจนกระทั่งแนวคิดเรื่องรัฐสมัยใหม่แผ่อิทธิพลเข้ามา โดยประชาชนใต้อำนาจปกครองต้องมีลักษณะบางอย่างร่วมกันซึ่งก็คือ สัญชาติ
การปฏิรูปการปกครองในสมัย ร.5 • จัดตั้งมณฑลลาวเฉียง (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เถิน) > มณฑลพายัพ • จัดตั้งมณฑลลาวพวน (อุดร ขอนแก่น นครพนม สกลนคร เลย หนองคาย > มณฑลอุดร • จัดตั้งมณฑลลาวกาว เขมร หัวเมืองแขกมลายู > มลฑลไทรบุรี
เจ้าแก้วนวรัฐ • เจ้าเมืองเชียงใหม่คนสุดท้าย • 2453 – 2482
จนกระทั่งแนวคิดเรื่องรัฐสมัยใหม่แผ่อิทธิพลเข้ามา ตั้งแต่ ร. 5 โดยประชาชนใต้อำนาจปกครองต้องมีลักษณะบางอย่างร่วมกันซึ่งก็คือ สัญชาติ จึงทำให้เกิดกฎหมายว่าด้วยสัญชาติขึ้น แต่ในรัชกาลถัดมา • พระราชบัญญัติแปลงชาติ พ.ศ. 2454 • พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2456
กฎหมายสัญชาติปัจจุบัน พ.ร.บ. สัญชาติ 2508 • การได้สัญชาติโดยการเกิด • หลักสืบสายโลหิต บุคคลย่อมได้สัญชาติไทยหากบิดาหรือมารดามีสัญชาติไทย แม้เกิดนอกราชอาณาจักรไทย
หลักดินแดน ผู้ใดถือกำเนิดในราชอาณาจักรไทยจะได้รับสัญชาติ ยกเว้นบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว และบิดาหรือมารดาเข้าเมืองแบบไม่ถาวร • ได้รับผ่อนผันเป็นกรณีเฉพาะราย • เข้าเมืองแบบชั่วคราว • เข้าเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาต
การได้สัญชาติภายหลังการเกิดการได้สัญชาติภายหลังการเกิด • หญิงต่างด้าวสมรสกับชายไทยสามารถขอมีสัญชาติตามสามี • แต่ถ้าเป็นชายต่างด้าวสมรสกับหญิงไทยไม่สามารถขอมีสัญชาติไทยโดยการสมรส • ทำไมจึงเป็นแบบนี้
คนต่างด้าวแปลงสัญชาติ เงื่อนไขบรรลุนิติภาวะ ประพฤติดี มีอาชีพ อยู่ในไทยไม่น้อยกว่า 5 ปี มีความรู้ภาษาไทย
ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนบางประการความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนบางประการ • บุคคลทุกคนต้องมีสัญชาติ ไม่มีใครที่ไม่มีสัญชาติ • บุคคลสองสัญชาติคือ ข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย ไม่จงรักภักดีต่อประเทศใดประเทศหนึ่ง • บางประเทศกำหนดให้บุคคลมีเพียงสัญชาติเดียว ไม่สามารถถือสองสัญชาติ บางประเทศไม่กำหนด