520 likes | 773 Views
บทที่ 9 อินเตอร์เน็ตเบื้องต้น Introduction to internet. ม.ราช ภัฏ สวนดุสิต. อ.จุฑาวุฒิ จันทรมาลี Computer Science. ความหมายของอินเทอร์เน็ต.
E N D
บทที่ 9 อินเตอร์เน็ตเบื้องต้น Introduction to internet ม.ราชภัฏสวนดุสิต อ.จุฑาวุฒิ จันทรมาลี Computer Science
ความหมายของอินเทอร์เน็ตความหมายของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เกิดจากการนำเอาระบบเครือข่ายย่อยหลายเครือข่ายมาเชื่อมต่อกันมาจากคำว่าInter Connection Networkเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า“ไซเบอร์สเปซ (Cyberspace)”
ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี 1940 โดยคอมพิวเตอร์ที่ใช้จะเป็นเครื่องที่มีขนาดใหญ่ เช่น Mainframe ทำให้มีข้อจำกัดในการใช้งาน จึงมีการคิดวิธีการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ขึ้น โดยกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาจัดตั้งหน่วยงานที่ชื่อว่า ARPA (Advanced Research Projects Agency)เป็นหน่วยงานในการดูแลและพัฒนาการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และตั้งชื่อเครือข่ายว่า “ARPANET”
ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต ระดับนานาชาติ • พ.ศ.2503 โครงการของARPAnet (Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลวิจัยทางการทหาร • พ.ศ.2512 เริ่มทดลองเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจากมหาวิทยาลัย 4 แห่งเข้าด้วยกันเป็นครั้งแรก (แสตนฟอร์ด,ลอสแองเจอลิส,แคลิฟอร์เนีย,ยูทาร์) • ปี 2524 มหาวิทยาลัยทุกแห่งในสหรัฐเชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่ายและเปลี่ยนชื่อมาเป็น“อินเตอร์เน็ต” • พ.ศ.2526 นำมาตรฐานการติดต่อแบบTCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย Internet
ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต • พ.ศ.2530 การเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นประเทศออสเตรเลีย • พ.ศ 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC)ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย เรียกเครือข่ายนี้ว่า ไทยสาร (ThaiSarn: Thai Social Scientific Academic & Research Network) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ตลอดจนข้อคิดเห็นของ นักวิจัย นักวิชาการ โดยจุดแรกที่มีการเชื่อมโยงเข้ากับอินเตอร์เน็ต
ความสำคัญของอินเทอร์เน็ตความสำคัญของอินเทอร์เน็ต • การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย • การติดต่อสื่อสารที่สะดวกและรวดเร็ว • แหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลก
อุปกรณ์ที่จำเป็นในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 1. คู่สายโทรศัพท์ (เช่น โทรศัพท์บ้าน)
อุปกรณ์ที่จำเป็นในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 2. ช่องทางเชื่อมต่อ - MODEM - ADSL - LAN - อื่น ๆ Modem แบบ Internal Modem แบบ External (เวลาติดตั้งต้องติดตั้งในเครื่อง) (ติดตั้งภายนอก) ADSL Router สาย Lan
อุปกรณ์ที่จำเป็นในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 3. โปรแกรมรองรับการทำงาน - Web browser - Mail Client - อื่น ๆ
อุปกรณ์ที่จำเป็นในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต 4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider)
การเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตการเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต
ประเภทโปรแกรมที่ใช้กับอินเตอร์เน็ตประเภทโปรแกรมที่ใช้กับอินเตอร์เน็ต 1. โปรแกรมประเภทบราวเซอร์ โปรแกรมประเภทนี้เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับท่องเว็บไปยังเว็บไซด์ต่าง ๆ ที่ต้องการ โดยปกติแล้วเราจะคุ้นเคยกับโปรแกรมที่มีชื่อว่า Internet Explorer ที่มาพร้อมกับวินโดว์ แต่ความเป็นจริงแล้วยังมีอีกหลายโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้ และปัจจุบันมีการพัฒนาทำให้สามารถใช้คำสั่งเป็นภาษาไทยได้
ประเภทโปรแกรมที่ใช้กับอินเตอร์เน็ตประเภทโปรแกรมที่ใช้กับอินเตอร์เน็ต 2. โปรแกรมประเภทสร้างเว็บเพจ โปรแกรมประเภทนี้เป็นโปรแกรมสำหรับสร้างหน้าเว็บเพจที่เราใช้เข้าไปดู ซึ่งโปรแกรมประเภทนี้มีอยู่มากมายหลายโปรแกรม ที่โครงสร้างหลักแล้ว Web ส่วนใหญ่ใช้โครงสร้างภาษา HTML ตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้สร้างเว็บ เช่น โปรแกรม Dreamweaver
ประเภทโปรแกรมที่ใช้กับอินเตอร์เน็ตประเภทโปรแกรมที่ใช้กับอินเตอร์เน็ต 3. โปรแกรมประเภทสนทนา สำหรับโปรแกรมประเภทนี้ เป็นโปรแกรมที่ใช้ติดต่อหรือสารระหว่างกันซึ่งอาจติดต่อด้วยการพิมพ์ผ่านทางแป้นพิมพ์ การคุยผ่านไมโครโฟน และผ่านกล้องวีดีโอ ซึ่งทำให้เห็นทั้งภาพและเสียงขณะที่คุยกัน มีโปรแกรมหลายประเภทที่ใช้เกี่ยวกับการสนทนา แต่ Windows ก็มีโปรแกรมที่เรียกว่า NetMeeting
บริการพื้นฐานบนอินเทอร์เน็ตบริการพื้นฐานบนอินเทอร์เน็ต 1. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) 2. World Wild Web (WWW) 3. File Transfer Protocol (FTP) บริการดาวโหลดไฟล์ 4. Telnet การใช้คอมพิวเตอร์แบบรีโมท 5. Usenet บอร์ดข่าวสารระดับโลก 6. สนทนา (Chat) 7. อื่นๆ Voice/VideoConference,SearchEngine,Game , Multimedia , TV , Radio , VDO
1.จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (ElectronicMailor E-mail) • เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารกันบน Internet ที่เป็นมาตรฐาน และนิยมมากที่สุด • ส่งเอกสารที่เป็นข้อความธรรมดา แบบมัลติมิเดีย มีทั้งภาพและเสียง • ผู้ที่ส่งและรับจะต้องมี E-MailAddress คล้ายๆ กับชื่อ-นามสกุล และที่อยู่Name@Domain.com • ข้อมูลในจดหมายจะถูกส่งไปยัง Server ข้อมูลในจดหมายจะถูกเก็บไว้จนกระทั่งถูกเรียกใช้ kridsdar@hotmail.com ชื่อสมาชิกอินเทอร์เน็ต @ โดเมนเนม
1.จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (ElectronicMailor E-mail) ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถทำการ รับ – ส่ง อีเมล์ ได้หลากหลายวิธี ทั้งการใช้งานโปรแกรมเฉพาะในการรับ – ส่งอีเมล์ เช่นโปรแกรม Microsoft Outlook
1.จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (ElectronicMailor E-mail) ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถทำการ รับ – ส่ง อีเมล์ ผ่านระบบ เว็บเบส (อาศัยบริการ WWW) เช่นระบบเว็บเบสอีเมล์ของ Hotmail
ข้อดีของ E-mail • เป็นการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ • สามารถกระจายข้อมูลในจดหมายไปยังผู้อ่านหลายๆ คนได้ • ข้อมูลในจดหมายอาจจะถูกส่งต่อไปยังผู้อื่นอีกได้ง่าย • สามารถส่งข้อมูลในจดหมายได้รวดเร็วมาก แม้ว่าจะอยู่ไกลออกไป • สามารถแนบ files ไปกับข้อมูลในจดหมายได้ • ไม่ต้องติดแสตมป์ ใส่ซองหรือไปที่ทำการไปรษณีย์ ข้อเสียของ E-mail ได้รับจดหมายที่ไม่พึงประสงค์มากขึ้น Junk mail หมายถึง E-mail ที่ไร้สาระไม่ใช้แล้ว
2. บริการแสดงผลเว็บไซต์ หรือ WWW (World Wide Web) บริการ WWW คือบริการแสดงผลเว็บไซต์ซึ่งเป็นเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์ (Hyper Text) ที่สามารถแสดงผลได้ทั้ง ตัวอักษร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และการเชื่อมโยง (Link) ไปยังเอกสารไฮเปอร์เท็กซ์ อื่น ๆ บริการ WWW จะต้องทำงานบนโปรแกรมในกลุ่ม Web Browser ซึ่งได้แก่ Microsoft Internet Explorer , Netscape Communication , Mozilla Firefox , Google Chrome , Safari เป็นต้น โดยผู้ใช้ต้องเปิดโปรแกรมในกลุ่มดังกล่าวขึ้นมาแล้วป้อนURL( Uniform Resource Locator)ของเว็บไซต์ที่ต้องการแสดงผล ตัวอย่าง URL เช่น www.uru.ac.th
3. FileTransfer Protocol • บริการ Download ไฟล์ • บริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต • ผู้ใช้สามารถเลือกแฟ้มข้อมูลที่ต้องการถ่ายโอนได้ทั้งจากเครื่องของตนเพื่อถ่ายโอนไปยังเครื่องปลายทาง (Upload) หรือเลือกแฟ้มข้อมูลจากเครื่องปลายทางเพื่อทำการถ่ายโอนมาที่เครื่องของตนเองได้ (Download) • การเรียกใช้บริการ FTP ให้พิมพ์ ftp:// ตามด้วยชื่อของ FTP site หรือ FTP server เช่น ftp://microsoft.com • โปรแกรมที่ใช้ Download เช่น Cute FTP, WS_FTP หรือ FTP ที่อยู่ใน บราวเซอร์ (Browser )
4.Telnet การใช้คอมพิวเตอร์ระยะไกล • เป็นบริการที่เราสามารถเข้าใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้โดยอาศัยอินเทอร์เน็ต เช่น หากเราอยู่นอกสำนักงาน เราก็สามารถเรียกใช้ข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในสำนักงานที่ถูกเปิดและต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไว้ ได้เสมือนกับทำงานที่สำนักงานนั้น ๆ • ผู้ใช้สามารถใช้ Server ตัวใดๆในโลกที่เชื่อมกับอินเทอร์เน็ต • โดย Server ดังกล่าวต้องอนุญาติให้คุณใช้ คือ ผู้ใช้ต้องมีบัญชีและรหัสผ่านนั้นเอง • บริการ Telnet สามารถสั่ง Server ให้ทำงานได้เช่น รันโปรแกรมหรือ คอมไพล์โปรแกรม
5. การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น(Usenet หรือ Weblog) • เป็นการให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็น ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลกสามารถพบปะกันแสดงความคิดเห็นของตน • มีการจัดการผู้ใช้เป็นกลุ่มข่าวหรือนิวส์กรุ๊ป (News Group) แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในหัวข้อต่าง ๆ เช่น เรื่องหนังสือ การเลี้ยงสัตว์ ต้นไม้ คอมพิวเตอร์ บันเทิงและการเมือง เป็นต้น (อาศัยบริการ WWW) • การใช้งานบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็นในปัจจุบัน มีลักษณะที่เรียกว่า Weblog โดยมีการสร้างบล็อกของผู้ใช้แต่ละคนขึ้นมา ซึ่งผู้ใช้งานอื่นสามารถเข้ามาอ่านข้อความในบล็อกและสามารถแสดงความคิดเห็นของตนลงในบล็อกเหล่านั้นได้
5. การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น(Usenet หรือ Weblog)
6. การสนทนาด้วยข้อความ (Chat) • บริการให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตพูดคุยสนทนาโดย • การพิมพ์ • Internet Phone • โดยภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว • บริการที่นิยมในลักษณะเดียวกันคือโปรแกรม MSN Messenger, ICQ,Yahoo
7. การสืบค้นข้อมูล (Search) • คือบริการการค้นหาข่าวสารในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการจัดเรียงข้อมูลข่าวสารตามหัวข้ออย่างมีระบบ ทำให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลได้ง่ายและสะดวกขึ้น โดยบริการนี้ผู้ใช้ต้องเปิดเว็บไซต์ (อาศัยบริการ WWW) ที่มีการทำงานเป็น เครื่องมือที่ใช้ในการสืบค้น (Search Engine) ได้แก่ www.google.co.th,www.yahoo.com,www.altavista.com เป็นต้น จากนั้นป้อนคำค้นหา (Key Word) แล้วสั่งให้ Search Engine ทำการค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ก็จะปรากฏสารบัญเวปไซต์ ตามคำที่สั่งค้นหา ซึ่งผู้ใช้สามารถเรียกเวปไซต์เหล่านั้นขึ้นมาแสดงผลได้
8. บริการอื่นๆ • ข้อมูลเสียง Voice • การประชุมทางไกล Video Conferrence • การสืบค้นข้อมูล Search Engine • โปรแกรมคอมพิวเตอร์ • สื่อผสม Multimedia • โทรทัศน์ TV • วิทยุ Radio • วีดีโอ VDO
คอมพิวเตอร์ในระบบอินเทอร์เน็ตรู้จักกันได้อย่างไรคอมพิวเตอร์ในระบบอินเทอร์เน็ตรู้จักกันได้อย่างไร 202.100.20.1 203.183.233.6
การทำงานของอินเทอร์เน็ต มีโปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
โปรโตคอล(Protocol) ในการสื่อสารทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จำต้องมีการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ในเครือข่ายเดียวกันนี้ อาจจะมีฮาร์ดแวร์,ซอฟท์แวร์ที่แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อทำการส่งข้อมูลถึงกันและตีความหมายได้ตรงกัน จึงต้องมีการกำหนดระเบียบวิธีการติดต่อให้ตรงกัน โปรโตคอล ( Protocol ) คือระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับการสื่อสารข้อมูล โดยสามารถส่งผ่านข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง ซึ่งตัวโปรโตคอลที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ TCP/IP
IP Address คืออะไร คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนอินเทอร์เน็ต ต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง เรียกว่าIP Address (หรือ Internet Address)เปรียบเสมือนบ้านเลขที่ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1 เป็นต้น โดยมีองค์กรที่ทำหน้าที่จัดสรรหมายเลย IP Address โดยเฉพาะเรียกว่า InterNIC (Inter Network Information Center)
ชื่อโดเมน (DNS : Domain Name System) ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมีหมายเลขประจำเครื่อง (IP Address) ซึ่งกำหนดเรียกตัวเลขระบุตำแหน่ง เช่น 202.44.202.22 , 201.44.202.3 หรือ 203.147.7.200 เป็นต้น แต่ระบบหมายเลขมีข้อบกพร่องคือจำยากและไม่ได้สื่อความหมายให้ผู้ใช้งานทั่วไปทราบ ดังนั้น จึงมีผู้คิดระบบตั้งชื่อให้ง่ายขึ้น เรียกว่า ระบบชื่อของเครื่อง (Domain Name System : DNS ) โดย DNS จะเปลี่ยน ตัวเลข IP Address ให้เป็นคำที่อ่านแล้วเข้าใจและจำได้ง่าย
ชื่อโดเมน (DNS : Domain Name System) DNS เป็นระบบที่ใช้เก็บข้อมูลของชื่อโดเมน ซึ่งใช้ในเครือข่ายขนาดใหญ่อย่างอินเทอร์เน็ต โดยข้อมูลที่เก็บมีหลายอย่าง แต่สิ่งสำคัญคือความสัมพันธ์ระหว่างชื่อโดเมนนั้นๆ กับหมายเลขไอพีที่ใช้งานอยู่ คำว่า DNS สามารถแทนความหมายได้ทั้ง Domain Name Service (บริการชื่อโดเมน) และ Domain Name Server (เครื่องบริการชื่อโดเมน) อีกด้วย
ชื่อโดเมน (DNS : Domain Name System) โดย DNS จะเปลี่ยน ตัวเลข IP Address ให้เป็นคำที่อ่านแล้วเข้าใจและจำได้ง่าย เช่น - IP Address 208.117.236.69 เป็น DNS คือ www.youtube.com - IP Address 216.239.61.104 เป็น DNS คือ www.google.co.th - IP Address 58.147.100.24 เป็น DNS คือ www.mthai.com - IP Address 61.19.224.17 เป็น DNS คือ www.moc.go.th - IP Address 207.46.19.254 เป็น DNS คือ www. microsoft.com
ชื่อโดเมน (DNS : Domain Name System) การกำหนด DNS เรียงลำดับความสำคัญของชื่อจากขวาไปซ้าย โดยมีจุดคั่น เช่น sony.com ย่อมาจาก Commercial ใช้ในธุรกิจ ชื่อเจ้าของหน่วยงาน คือบริษัทโซนี่ nectec.or.th ย่อมาจาก Thailand (ชื่อประเทศ) ย่อมาจาก Organization (หน่วยงานหรือองค์กรของรัฐ) ชื่อหน่วยงาน NECTEC เจ้าของหรือต้นสังกัด
ชื่อโดเมน (DNS : Domain Name System) การกำหนดกลุ่มโดเมน (Domain Group) มีหลักการดังนี้ หากชื่อทางขวาสุดมี 3 ตัวอักษร ให้เข้าใจว่ามีการจดชื่อโดเมน ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจะบอกลักษณะการดำเนินงานขององค์กร คือ comหมายถึง Commercial ใช้สำหรับธุรกิจ บริษัท ห้างร้าน eduหมายถึง Education ใช้สำหรับสถาบันการศึกษา govหมายถึง Government ใช้สำหรับหน่วยงานราชการ net หมายถึง Network ใช้สำหรับหน่วยงานที่เป็นเครือข่าย
ชื่อโดเมน (DNS : Domain Name System) • การกำหนดกลุ่มโดเมน (Domain Group) มีหลักการดังนี้ • หากชื่อทางขวาสุดมี 2 ตัวอักษร จะบอกชื่อย่อของประเทศ เช่น • th = ประเทศไทย (Thailand) • au = ประเทศออสเตรเลีย (Australia) • ca = ประเทศแคนาดา (Canada) • uk = ประเทศอังกฤษ (United Kingdom)
ชื่อโดเมน (DNS : Domain Name System) ชื่อถัดมาจะลักษณะการดำเนินงานขององค์กร แบ่งออก 5 กลุ่ม คือ ac หมายถึง Academic ใช้สำหรับสถาบันการศึกษา coหมายถึง Commercial ใช้สำหรับภาคองค์กร ภาคเอกชน goหมายถึง Government ใช้สำหรับหน่วยงานราชการ orหมายถึง Organization ใช้สำหรับองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร inหมายถึง Individual ใช้สำหรับหน่วยงานนิติบุคคล
ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต ด้านการศึกษา • สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ • ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็น ห้องสมุดขนาดใหญ่ • นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้
ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต ด้านธุรกิจ • ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ • สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต • ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น
ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต ด้านการบันเทิง • การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine Online รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่น ๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป • สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ • สามารถดูหนัง ฟังเพลงได้
โทษของอินเทอร์เน็ต 1. เป็นที่เผยแพร่ สิ่งผิดกฎหมายต่างๆ เช่น Software เถื่อน สื่อลามกอนาจาร อาวุธสงคราม และ อื่นๆ อีกมากมาย 2. ไวรัสคอมพิวเตอร์ 3. การใช้ในทางที่ผิดเช่น การโจรกรรมข้อมูล การเข้าทำลายข้อมูล 4. ข้อมูลบางอย่างก็ไม่เหมาะกับเยาวชน
โทษของอินเทอร์เน็ต 5. อาจทำให้นอนดึกและเสียสุขภาพ 6. เกิดการล่อลวง ให้ข้อมูลเท็จ 7. บางคนเล่นอินเทอร์เน็ตมากไม่ยอมออกกำลังกาย 8. อยู่หน้าจอนานๆ อาจทำให้เสียสายตา 9. เรื่องอนาจารผิดศีลธรรม (Pornography/Indecent Content) 10. โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic)
โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic) • เป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง ซึ่งนักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S Young ได้ศึกษาและวิเคราะห์ไว้ว่า บุคคลใดที่มีอาการดังต่อไปนี้ อย่างน้อย 4 ประการ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี แสดงว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต • รู้สึกหมกมุ่นกับอินเทอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต • มีความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้นอยู่เรื่อยๆ ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตได้ • รู้สึกหงุดหงิดเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตน้อยลง หรือหยุดใช้ • คิดว่าเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว ทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
โรคติดอินเทอร์เน็ต (Webaholic) • ใช้อินเทอร์เน็ตในการหลีกเลี่ยงปัญหา • หลอกคนในครอบครัว หรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตของตนเอง • มีอาการผิดปกติเมื่อเลิกใช้อินเทอร์เน็ต เช่น หดหู่ กระวนกระวาย • ซึ่งอาการดังกล่าว ถ้ามีมากกว่า 4 ประการในช่วง 1 ปี จะถือว่าเป็นอาการติดอินเทอร์เน็ต ซึ่งส่งผลเสียต่อระบบร่างกาย ทั้งการกิน การขับถ่าย และกระทบต่อการเรียน สภาพสังคมของคน ๆ นั้นต่อไป