240 likes | 508 Views
การพัฒนาระบบการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน (Pay per performance : P4P). โรงพยาบาลโนนแดง จ.นครราชสีมา. โรงพยาบาลโนนแดง. อ.ประทาย. บริบท. โรงพยาบาลโนนแดงเป็นโรงพยาบาลทุติยภูมิขนาด 30 เตียง ให้บริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพประชาชน
E N D
การพัฒนาระบบการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน (Pay per performance : P4P) โรงพยาบาลโนนแดง จ.นครราชสีมา
โรงพยาบาลโนนแดง อ.ประทาย
บริบท • โรงพยาบาลโนนแดงเป็นโรงพยาบาลทุติยภูมิขนาด 30 เตียง • ให้บริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพประชาชน • ประชากรในเขตรับผิดชอบได้แก่ ประชากรอำเภอโนนแดง รวม 5 ตำบล 65 หมู่บ้าน ประชากรอำเภอ 24,849 คน และดูแลผู้ป่วยจากอำเภอใกล้เคียง ได้แก่ อำเภอพิมาย 13 หมู่บ้าน และอำเภอคง 15 หมู่บ้าน บริเวณพื้นที่รอยต่อ ประชากรประมาณ 30,000 คน • ชุมชนเป็นสังคมเกษตรกรรม มีการเคลื่อนย้ายแรงงาน คงเหลือผู้สูงอายุ และเด็ก ในชุมชน เป็นส่วนใหญ่
โรงพยาบาลโนนแดง • เปิดทำการ ปี 2535 เป็นโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง • ขยายขนาด เป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง เมื่อปี 2541 • จำนวนเตียงรับได้เต็มที่ปัจจุบัน • เตียงธรรมดา 38 เตียง • ห้องพิเศษ 8 ห้อง • ห้องรอคลอด 3 เตียง • ห้องหลังคลอด 2 เตียง • ห้องแยกโรค 2 เตียง
อัตรากำลัง • อัตรากำลังทั้งหมด 116 คนประกอบด้วย • แพทย์จำนวน 3 คน • ทันตแพทย์จำนวน 2 คน • เภสัชกรจำนวน 3 คน • พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 29 คน • ข้าราชการอื่นๆจำนวน 14 คน • ลูกจ้างประจำจำนวน 8 คน • ลูกจ้างชั่วคราวทั่วไปจำนวน 57 คน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในโรงพยาบาลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในโรงพยาบาล • โรงพยาบาลเป็นโรงพยาบาลขนาดเล็ก ห่างไกลตัวเมือง มีการเปลี่ยนแปลงบุคลากรบ่อย อายุเฉลี่ยบุคลากรต่างๆ ค่อนข้างน้อย • บุคลากรมีความต้องการค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน ทำให้เกิดปัญหาขาดบุคลากรที่จะทำงานประจำในเวรเช้า ซึ่งจะได้ค่าตอบแทนที่น้อยกว่า • ปัญหาช่องว่างระหว่างค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานระหว่างภาครัฐและเอกชน ทำให้เจ้าหน้าที่ขาดแรงจูงใจในการพัฒนางานของตนเอง • ปัญหาภาระงานบริการมาก บุคลากรมีความสนใจและให้เวลาต่อการพัฒนาคุณภาพลดลง • มีการพัฒนางานคุณภาพในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง แต่ขาดการรวบรวมข้อมูลและติดตามผล ซึ่งอาจนำไปสู่การ พัฒนาเป็นงานวิจัย R2R
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกโรงพยาบาลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกโรงพยาบาล • นโยบายการสนับสนุนการให้ค่าตอบแทนตามผลสัมฤทธิ์ของงาน • โครงการการดำเนินการพัฒนาระบบการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงานเสนอให้โรงพยาบาลที่มีความพร้อม และสนใจสมัครในโครงการ • การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการ ตามระบบเงินเดือนแบบใหม่
หลักการและแนวคิด • จากสภาพปัญหาดังกล่าว และเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นและลดภาระงานในการเก็บข้อมูล และเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของโรงพยาบาล จึงได้กำหนดแนวความคิดในการพัฒนาการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงานด้านคุณภาพ เป็นการจ่ายเพิ่มเติมจากค่าตอบแทนปกติ ซึ่งบุคลากรส่วนใหญ่มองว่ามีความเท่าเทียมกัน เพื่อเป็นแรงจูงใจให้บุคลากรสนใจงานพัฒนาคุณภาพ และสามารถจ่ายค่าตอบแทนตามผลงานด้านคุณภาพซึ่งเพิ่มเติมจากระบบงานปกติของแต่ละบุคลากร
วัตถุประสงค์ • เพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพในการให้บริการประชาชน • เกิดขวัญและกำลังใจในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาล • มีความเท่าเทียม และโปร่งใส ตรวจสอบได้ สร้างความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง • ไม่เป็นภาระขององค์กรมากจนเกินไป
ข้อมูลทางการเงิน:สภาพคล่องทางการเงินข้อมูลทางการเงิน:สภาพคล่องทางการเงิน Good Cash and Cash equivalence to Monitory debt ratio= 1.73
ข้อมูลทางการเงิน:Net Profit Margin Net Profit Margin Good
ข้อมูลทางการเงิน:Unit Cost Good ต้นทุนผู้ป่วยในต่อRW Good ต้นทุนผู้ป่วยนอกต่อครั้ง
ข้อมูลทางการเงิน:เงินบำรุงคงเหลือข้อมูลทางการเงิน:เงินบำรุงคงเหลือ
ผลงาน:ผู้ป่วยนอก(ครั้ง)ผลงาน:ผู้ป่วยนอก(ครั้ง)
ผลงาน: ผู้ป่วยใน อัตราการครองเตียง ค่าเฉลี่ย RW ต่อผู้ป่วยใน Good Good
วิธีการดำเนินงาน • จ่ายค่าตอบแทนตามผลงานด้านคุณภาพของบุคลากรเป็นแต้มคะแนน • จ่ายเพิ่มเติมจากค่าตอบแทนอื่น (ถือว่าค่าตอบแทนเดิมที่ได้รับเป็นการประกันขั้นต่ำ สำหรับงานบริการปกติ) • ดำเนินงานครอบคลุมทุกสายงาน ทั้งระดับผู้ปฏิบัติและผู้บริหาร • อาศัยวงเงินเบื้องต้นซึ่งเคยจ่ายเป็นค่าตอบแทนสำหรับงานคุณภาพ (เดิมใช้ประมาณ 78,000 บาท/เดือน หรือ 12% ของ OT ที่จ่ายจริง หรือ ประมาณ 10% ของค่าตอบแทนทั้งหมด)
หลักการคิดค่าตอบแทน • พิจารณาตามลักษณะงานคุณภาพ • ความยากง่าย • ความสำคัญ • เทียบเคียงกับงานในลักษณะเดียวกัน เวลาที่ใช้ • ตั้งสมมุติฐาน 1 แต้ม = 50 บาท
ตัวอย่างการกำหนดคะแนนตัวอย่างการกำหนดคะแนน • จัดทำ CQI story 1 เรื่อง 20 คะแนน • จัดทำระเบียบปฏิบัติ คู่มือการดำเนินงาน เรื่องละ 20 คะแนน • กรรมการเยี่ยมสำรวจ (Risk Round, IC Round, ENV Round, HRD Round, Internal survey, เยี่ยมสำรวจพื้นที่ 5ส เป็นต้น) รวมทั้งการสรุปผล หน่วยงานละ 8 คะแนน/กรรมการ • เขียนใบความเสี่ยงจากการทำงาน 1 คะแนน/ใบ • เขียนใบความเสี่ยงจากการทบทวนระบบการทำงาน 4 คะแนน/ใบ • MedicalRecord Audit ผู้ป่วยนอก 1 คะแนน/ราย ผู้ป่วยใน 2 คะแนน/ราย