510 likes | 1.64k Views
แม่บทการบัญชีประเทศไทย. http://acct0310.wordpress.com. แม่บทการบัญชี. Framework เป็นเกณฑ์ในการจัดทำและนำเสนองบการเงิน (Preparation and Presentation of Financial Statements) โดยหากมีมาตรฐานการบัญชีฉบับใดโดยเฉพาะที่กำหนดโดยมีความขัดแย้งกับแม่บทการบัญชี ให้ยึดมาตรฐานการบัญชีนั้น. วัตถุประสงค์.
E N D
แม่บทการบัญชีประเทศไทยแม่บทการบัญชีประเทศไทย http://acct0310.wordpress.com
แม่บทการบัญชี • Framework • เป็นเกณฑ์ในการจัดทำและนำเสนองบการเงิน (Preparation and Presentation of Financial Statements) • โดยหากมีมาตรฐานการบัญชีฉบับใดโดยเฉพาะที่กำหนดโดยมีความขัดแย้งกับแม่บทการบัญชี ให้ยึดมาตรฐานการบัญชีนั้น
วัตถุประสงค์ ข้อสมมติ ข้อจำกัด ลักษณะเชิงคุณภาพ ลักษณหลัก ข้อพิจารณา
วัตถุประสงค์ของแม่บทการบัญชีวัตถุประสงค์ของแม่บทการบัญชี • เพื่อวางแนวคิดที่เป็นพื้นฐานในการจัดทำและนำเสนองบการเงินแก่ผู้ใช้งบการเงินที่เป็นบุคคลภายนอก • แม่บทการบัญชีนี้มิได้มีไว้เพื่อกำหนดมาตรฐานในการวัดมูลค่าหรือในการเปิดเผยข้อมูลสำหรับการบัญชีเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ แม่บทการบัญชีจึงไม่สามารถใช้หักล้างมาตรฐานการบัญชีที่ประกาศใช้เฉพาะเรื่องได้ มาตรฐาน แม่บท
วัตถุประสงค์ของแม่บทการบัญชีวัตถุประสงค์ของแม่บทการบัญชี • คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีตระหนักว่า ในบางกรณี แม่บทการบัญชีอาจมีข้อขัดแย้งกับมาตรฐานการบัญชีที่มีอยู่ ในกรณีดังกล่าว ให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่ประกาศใช้ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีกำลังพัฒนามาตรฐานการบัญชีฉบับใหม่และปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีที่มีอยู่ในปัจจุบันตามกรอบของแม่บทการบัญชี เพื่อให้ข้อขัดแย้งดังกล่าวค่อย ๆ หมดไปในอนาคต • คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีจะทำการปรับปรุงแม่บทการบัญชีนี้เป็นระยะๆ ตามประสบการณ์ที่ได้รับจากการนำแม่บทการบัญชีไปใช้
ขอบเขตแม่บทการบัญชี • วัตถุประสงค์งบการเงิน • ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน • คำนิยาม การรับรู้และการวัดมูลค่าขององค์ประกอบต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นงบการเงิน • แนวคิดเกี่ยวกับทุนและการรักษาระดับทุน
คำศัพท์ที่สำคัญ • ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ (Economic Benefit) คือ ความสามารถในการที่ก่อให้เกิดกระแสเงินสดหรือสิ่งที่เทียบเท่าเงินสด (Cash Equivalent) ให้แก่กิจการทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยอาจให้อยู่ในรูปของการผลิตซึ่งจัดเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมดำเนินงาน (Operating Activities) หรืออยู่ในรูปของความสามารถในการแปลงเป็นเงินสดหรือสิ่งที่เทียบเท่าเงินสดหรืออาจอยู่ในรูปของการที่ไม่เพิ่มเงินสดหรือสิ่งที่เท่าเงินสดแต่เป็นการลดกระแสเงินสดจ่าย เช่น การลดค่าใช้จ่าย
1. วัตถุประสงค์งบการเงิน • งบการเงินจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดำเนินงานและการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ อันเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินทุกประเภทในการนำไปใช้ตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ
1. วัตถุประสงค์งบการเงิน • งบการเงินตามแม่บทการบัญชี มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 35 ระบุว่า • งบดุล (Balance Sheet) • งบกำไรขาดทุน (Income Statement) • งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ (Statement of Equity’s change) หรือ งบกำไรขาดทุนแบบเบ็ดเสร็จ (Comprehensive Income) • งบกระแสเงินสด (Cashflow Statement) • นโยบายบัญชีและหมายเหตุประกอบงบการเงิน (Accounting Policy and Disclosure)
1. วัตถุประสงค์งบการเงิน • ข้อสมมติในการจัดทำงบการเงิน • เกณฑ์คงค้าง (Accrual Basis) • การดำเนินงานต่อเนื่อง (Going Concern)
2. ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน • คุณสมบัติที่ทำให้ข้อมูลในงบการเงินมีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน ลักษณะเชิงคุณภาพหลักของงบการเงินมี 4 ประการ • ความเข้าใจได้ • ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ • ความเชื่อถือได้ • การเปรียบเทียบกันได้
ความเข้าใจได้ (Understandability) • ข้อมูลในงบการเงินต้องสามารถเข้าใจได้ดีในทันทีที่ผู้ใช้งบการเงินใช้ข้อมูลดังกล่าว • ข้อมูลแม้ว่าจะมีความซับซ้อนแต่ถ้าเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจก็ไม่ควรละเว้นที่จะแสดงในงบการเงินเพียงเหตุผลที่ว่าข้อมูลดังกล่าวยากเกินกว่าที่ผู้ใช้งบการเงินบางคนจะเข้าใจได้ • ข้อแม้ว่า • ผู้ใช้งบการเงินมีความรู้ตามควรเกี่ยวกับธุรกิจ กิจกรรมเชิงเศรษฐกิจและการบัญชีรวมทั้งมีความตั้งใจตามควรที่จะศึกษาข้อมูลดังกล่าว
ความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ (Relevance) • ข้อมูลที่มีประโยชน์ต้องเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน ข้อมูลจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจได้ก็ต่อเมื่อข้อมูลนั้นช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถประเมินเหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต รวมทั้งช่วยยืนยันหรือชี้ข้อผิดพลาดของผลการประเมินที่ผ่านมาของผู้ใช้งบการเงินได้ • ข้อพิจารณา • ความมีนัยสำคัญ • การไม่แสดงข้อมูลหรือการแสดงข้อมูลผิดพลาดมีผลกระทบต่อผู้ใช้งบการเงินในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ ความมีนัยสำคัญขึ้นอยู่กับขนาดของรายการหรือขนาดของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นภายใต้สภาพการณ์เฉพาะซึ่งต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป
ความเชื่อถือได้ (Reliability) • ข้อมูลที่ไม่มีความผิดพลาดที่มีนัยสำคัญ รวมทั้งไม่มีความลำเอียงในการนำเสนอข้อมูลที่ทำให้ข้อมูลไม่ตรงกับความเป็นจริง • ข้อพิจารณา • การเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม • เนี้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ • ความเป็นกลาง • ความระมัดระวัง • ความครบถ้วน
การเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรมการเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม • ข้อมูลจะมีความเชื่อถือได้เมื่อรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีได้แสดงอย่างเที่ยงธรรมตามที่ต้องการให้แสดงหรือควรจะแสดง ดังนั้น งบดุลควรแสดงสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเฉพาะรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่เข้าเกณฑ์การรับรู้รายการ ณ วันที่เสนอรายงาน
เนี้อหาสำคัญกว่ารูปแบบเนี้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ • ข้อมูลต้องบันทึกและแสดงตามเนื้อหาและความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจมิใช่ตามรูปแบบทางกฎหมายเพียงอย่างเดียวเนื้อหาของรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีอาจไม่ตรงกับรูปแบบทางกฎหมายหรือรูปแบบที่ทำขึ้น
ความเป็นกลาง • ข้อมูลที่แสดงอยู่ในงบการเงินมีความน่าเชื่อถือเมื่อมีความเป็นกลางหรือปราศจากความลำเอียง งบการเงินจะขาดความเป็นกลางหากการเลือกข้อมูลหรือการแสดงข้อมูลในงบการเงินนั้นมีผลทำให้ผู้ใช้งบการเงินตัดสินใจหรือใช้ดุลยพินิจตามเจตนาของกิจการ
ความระมัดระวัง • การใช้ดุลยพินิจที่จำเป็นในการประมาณการภายใต้ความไม่แน่นอนเพื่อมิให้สินทรัพย์หรือรายได้แสดงจำนวนสูงเกินไป และหนี้สินหรือค่าใช้จ่ายแสดงจำนวนต่ำเกินไป • แต่ไม่ใช้จะทำการตั้งค่าเพื่อ หรือสำรองสูงเกินความเป็นจริง
ความครบถ้วน • ข้อมูลในงบการเงินที่เชื่อถือได้ต้องครบถ้วนภายใต้ข้อจำกัดของความมีนัยสำคัญและต้นทุนในการจัดทำ รายการบางรายการหากไม่แสดงในงบการเงินจะทำให้ข้อมูลมีความผิดพลาดหรือทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผิด ดังนั้น ข้อมูลดังกล่าวจะมีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจน้อยลงและขาดความน่าเชื่อถือได้
การเปรียบเทียบกันได้ (Comparability) • ผู้ใช้งบการเงินต้องสามารถเปรียบเทียบงบการเงินของกิจการในรอบระยะเวลาต่างกันเพื่อคาดคะเนถึงแนวโน้มของฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการนั้น
ข้อจำกัดของข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและความเชื่อถือได้ข้อจำกัดของข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและความเชื่อถือได้ • ทันต่อเวลา • ความสมดุลระหว่างประโยชน์ที่ได้รับการต้นทุนที่เสียไป • ความสมดุลของลักษณะเชิงคุณภาพ
3. คำนิยาม การรับรู้และการวัดมูลค่าขององค์ประกอบต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นงบการเงิน • องค์ประกอบเกี่ยวกับการวัดมูลค่าฐานะการเงิน • สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ(ผู้ถือหุ้น) • องค์ประกอบเกี่ยวกับการวัดมูลค่าผลการดำเนินงาน • รายได้ และค่าใช้จ่าย
3. คำนิยาม การรับรู้และการวัดมูลค่าขององค์ประกอบต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นงบการเงิน • สินทรัพย์ • ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ ทรัพยากรดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากทรัพยากรนั้นในอนาคต • หนี้สิน • ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการ ภาระผูกพันดังกล่าวเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตซึ่งการชำระภาระผูกพันนั้นคาดว่าจะส่งผลให้กิจการสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ • ส่วนของเจ้าของ • ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการหลังจากหักหนี้สินทั้งสิ้นออกแล้ว
3. คำนิยาม การรับรู้และการวัดมูลค่าขององค์ประกอบต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นงบการเงิน • รายได้ • การเพิ่มขึ้นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสเข้าหรือการเพิ่มค่าของสินทรัพย์หรือการลดลงของหนี้สิน อันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจากผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ • ค่าใช้จ่าย • การลดลงของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปกระแสออกหรือการลดค่าของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สินอันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลง ทั้งนี้ไม่รวมถึงการแบ่งปันส่วนทุนให้กับผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของ
3. คำนิยาม การรับรู้และการวัดมูลค่าขององค์ประกอบต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นงบการเงิน • การรับรู้รายการ (Recognition) • เงื่อนไขในการรับรู้รายการ • มีความเป็นได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตของรายการจะมีการเข้าและออกจากกิจการ • รายการดังกล่าวมีราคาทุนหรือมูลค่าที่สามารถวัดได้อย่างน่าเชื่อถือ
ความน่าจะเป็นของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต • มีความเป็นไปได้ • ค่อนข้างแน่(Probable) • น่าจะมีอยู่ (Reasonably Possible) • ไม่น่าจะมีอยู่ (Remote) • ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจต้องเกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี
ความเชื่อถือได้ของการวัดมูลค่า • สามารถประเมินหรือคำนวณมูลค่าได้อย่างสมเหตุสมผล
การรับรู้รายการในงบการเงินการรับรู้รายการในงบการเงิน • การรับรู้สินทรัพย์– กิจการต้องได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจากรายจ่ายที่เกิดขึ้นเกินกว่ารอบระยะเวลาบัญชีที่เกิดรายจ่ายนั้น • การรับรู้หนี้สิน– กิจการมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของทรัพยากรจะออกจากกิจการเพื่อชำระภาระผูกพันในปัจจุบัน และภาระผูกพันที่ต้องชำระนั้นต้องสามารถวัดมูลค่าได้อย่างน่าเชื่อถือ • การรับรู้รายได้– กิจการได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตซึ่งเกิดจากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หรือการลดลงของหนี้สิน • การรับรู้ค่าใช้จ่าย– กิจการได้เสียประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตซึ่งเกิดจากการลดลงของสินทรัพย์หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน
การรับรู้รายการในงบการเงินการรับรู้รายการในงบการเงิน • ราคาทุนเดิม (Historical Cost) • จำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่จ่ายไปหรือบันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรมของสิ่งที่นำไปแลกสินทรัพย์มา ณ เวลาที่ได้มาซึ่งสินทรัพย์นั้น และการบันทึกหนี้สินด้วยจำนวนเงินที่ได้รับจากการก่อภาระผูกพันหรือบันทึกด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด ที่คาดว่าจะต้องจ่ายเพื่อชำระหนี้สินที่เกิดจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการ • ราคาทุนปัจจุบัน (Current Cost) • จำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่ต้องจ่ายในขณะนั้นเพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ชนิดเดียวกันหรือสินทรัพย์ที่เท่าเทียมกัน และการแสดงหนี้สินด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่ต้องใช้ชำระภาระผูกพันในขณะนั้น
การรับรู้รายการในงบการเงินการรับรู้รายการในงบการเงิน • มูลค่าที่จะได้รับ (Realizable Value) • จำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่อาจได้มาในขณะนั้นหากกิจการขายสินทรัพย์โดยมิใช่การบังคับขายและการแสดงหนี้สินด้วยมูลค่าที่ต้องจ่ายคืนหรือด้วยจำนวนเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่คาดว่าจะต้องจ่ายเพื่อชำระหนี้สินที่เกิดจากการดำเนินงานตามปกต • มูลค่าปัจจุบัน (Present Value) • มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิในอนาคตซึ่งคาดว่าจะได้รับในการดำเนินงานตามปกติของกิจการ และการแสดงหนี้สินด้วยมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่ายสุทธิซึ่งคาดว่าจะต้องจ่ายในการชำระหนี้สินภายใต้การดำเนินงานตามปกติของกิจการ
การรับรู้รายการในงบการเงินการรับรู้รายการในงบการเงิน • ตัวอย่าง • สินค้าคงเหลือแสดงด้วยราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า • หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดอาจแสดงด้วยราคาตลาด • หนี้สิน เงินบำนาญแสดงด้วยมูลค่าปัจจุบัน
4. แนวคิดเกี่ยวกับทุนและการรักษาระดับทุน • ทุน เป็นส่วนหนึ่งของส่วนของเจ้าของ หรือ ผู้ถือหุ้น • แนวความคิดในการรับรู้มูลค่าทุน • แนวคิดทุนทางการเงิน • แนวคิดทุนทางการผลิต
แนวคิดทุนทางการเงิน • เป็นการวัดมูลค่าจากจำนวนเงินที่มีการลงทุนโดยวัดเป็นหน่วยเงินตรา • การรักษาระดับทุน คือ การวัดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ณ ต้นงวด กับ มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ณ ปลายงวด
แนวคิดทุนทางการผลิต • แนวคิดทุนที่วัดมูลค่าจากผลผลิตหรือกำลังการผลิดที่กิจการมี • การรักษาระดับทุน คือ การวัดมูลค่าผลผลิต ณ ต้นงวด กับ มูลค่าผลผลิต ณ ปลายงวด
วัตถุประสงค์ ข้อสมมติ ข้อจำกัด ลักษณะเชิงคุณภาพ ลักษณหลัก ข้อพิจารณา
การบ้านและแบบฝึกหัด • อธิบายความแตกต่างระหว่าง แนวคิดทางบัญชี กับ แม่บทการบัญชี
สัปดาห์หน้า • Creative Accounting