240 likes | 383 Views
การเรียนรู้ด้วยโครงงาน P roject- b ased L earning. การสรรค์สร้างอย่างมีผลิตภาพ (High Productivity). ความรู้แห่ง ยุคดิจิทัล (Digital age Literacy). ทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21. การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ( Effective Communication). ทักษะการ คิด (Inventive Thinking).
E N D
การเรียนรู้ด้วยโครงงานProject-based Learning
การสรรค์สร้างอย่างมีผลิตภาพ (High Productivity) ความรู้แห่งยุคดิจิทัล (Digital age Literacy) ทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่21 การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Communication) ทักษะการคิด (Inventive Thinking)
ทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 • ทักษะการคิด อย่างมีวิจารณญาณ • และทักษะการแก้ปัญหา • ทักษะการคิดเชิงสรรค์สร้างนวัตกรรม • ทักษะในการสื่อสาร • ทักษะในการทำงานแบบร่วมมือ • ทักษะในการใช้เทคโนโลยี และ • การจัดการสารสนเทศ • ทักษะชีวิต • ความเป็นผู้นำ • คุณธรรม จริยธรรม • ความโปร่งใส • ปรับตัวได้ดี • สรรค์สร้างงานอย่างมีคุณภาพ • มีมนุษย์สัมพันธ์ • มีเป้าหมาย • รับผิดชอบต่อส่วนรวม แก้ปัญหา ค้นคว้า นำเสนอ สื่อสาร พัฒนาตนเอง
การเรียนรู้แบบโครงงานการเรียนรู้แบบโครงงาน เป็นการเรียนรู้ที่ใช้เทคนิคหลากหลายรูปแบบนำมาผสมผสานกัน ได้แก่ กระบวนการกลุ่ม การฝึกคิด การแก้ปัญหา การเน้นกระบวนการ การสอนแบบปริศนาความคิด และการสอนแบบร่วมกันคิด เป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงหลักการพัฒนาการคิดของบลูม (Bloom) ทั้ง 6 ขั้น กล่าวคือ ความรู้ความจำ (Knowledge) ความเข้าใจ (Comprehension) การนำไปใช้ (Application) การวิเคราะห์ (Analysis) การสังเคราะห์ (Synthesis) การประเมินค่า (Evaluation)
วัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนรู้วัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนรู้ • เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ ทักษะและประสบการณ์ของตนเองในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ • เพื่อให้ผู้เรียนเกิดพลังความอยากรู้อยากเห็น • เพื่อให้ผู้เรียนตัดสินใจว่าจะทำอะไร กับใคร อย่างไรและเสริมสร้างความมั่นใจให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องที่เขาต้องการค้นหาคำตอบ • เพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงออกซึ่งความคิดสร้างสรรค์
แนวคิดในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานแนวคิดในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน • ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าและลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยความสนใจ • ผู้เรียนเรียนรู้ตามความถนัดและความสามารถของตนเอง • ใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์หรือกระบวนการอื่น ๆ ที่เป็นระบบ เพื่อหาคำตอบภายใต้คำแนะนำของครูผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญ • สอนได้ทุกชั้น • รายบุคคลหรือรายกลุ่มก็ได้ • ในเวลาเรียนหรือนอกเวลาเรียนก็ได้
คุณลักษณะของการเรียนรู้โดยผ่านโครงงานคุณลักษณะของการเรียนรู้โดยผ่านโครงงาน จัดทำหลักสูตรบนประเด็นของปัญหาหรือโครงงาน เน้นสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดโอกาสในการเรียนรู้อย่างเต็มที่ นักเรียนเข้ามีส่วนร่วมในฐานะเป็น เจ้าของโครงงาน ให้นักเรียนเข้ามีส่วนในการค้นคว้าแก้ปัญหาและปฏิบัติภาระงานที่มีความหมายต่างๆ เกี่ยวพันกับประเด็นที่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เชื่อมโยงเข้ากับชีวิตนอกห้องเรียน
คุณลักษณะของการเรียนรู้โดยผ่านโครงงานคุณลักษณะของการเรียนรู้โดยผ่านโครงงาน • เกิดรูปแบบการเรียพัฒนาทักษะที่ใช้ในสังคมโลกหลายทักษะเป็นทักษะที่ นายจ้างในปัจจุบันต้องการ เช่น • ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น • สามารถตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณ • มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ • สามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อน • ความรู้ที่หลากหลาย • สามารถเข้าถึงผู้เรียนได้ทุกระดับ
คุณลักษณะของการเรียนรู้โดยผ่านโครงงานคุณลักษณะของการเรียนรู้โดยผ่านโครงงาน • ทักษะกระบวนการกลุ่ม • ทักษะชีวิต • ทักษะทางเทคโนโลยี • ทักษะกระบวนการ • ทักษะการบริหารจัดการด้วยตนเอง • ทัศนคติเชิงบวก แต่...ไม่ใช่ทุกหน่วยการเรียนรู้ที่สามารถเป็นหน่วยการเรียนรู้ด้วยโครงงาน
กระบวนการในการจัดทำโครงงานกระบวนการในการจัดทำโครงงาน • กระบวนการกลุ่ม • กระบวนการคิด • กระบวนการแก้ปัญหา • กระบวนการสืบเสาะแสวงหาความรู้
ประเภทของโครงงาน • โครงงานประเภทสำรวจ • โครงงานประเภททดลอง • โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ • โครงงานประเภทสร้างทฤษฎี
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 1. เลือกหัวข้อเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา 2. วางแผน - กำหนดจุดประสงค์ - ตั้งสมมุติฐาน - กำหนดวิธีการศึกษา 3. ลงมือปฏิบัติ 4. เขียนรายงาน 5. นำเสนอผลงาน
1. เลือกเรื่อง/ปัญหาที่จะศึกษา • กิจกรรมสนับสนุนของครูผู้สอน 1. จัดกิจกรรมสำรวจความสนใจ 1.1 สำรวจชุมชน 1.2 ใช้คำถามกระตุ้นให้สนใจ 1.3 ใช้คำถามเชื่อมโยงเหตุการณ์ 1.4 ใช้สื่อต่าง ๆ 1.5 ช่วยเหลือนักเรียนเลือกเรื่อง/ปัญหา เพื่อทำเป็นโครงงาน 1.6 ร่วมกับนักเรียนกำหนดเรื่อง/ปัญหา ทำ web ทำ mind map • กิจกรรมของผู้เรียน 1. สำรวจความสนใจของตนเอง 1.1 สังเกต ศึกษาข้อมูล 1.2 ติดตามข่าว เหตุการณ์ 1.3 เชื่อมโยงเรื่องที่เรียน 1.4 เชื่อมโยงโดยใช้ web หรือแผนภาพความคิด ผลที่ได้รับ นักเรียนได้รับเรื่อง/ปัญหาที่จะทำโครงงาน
2. การวางแผน (2.1 กำหนดจุดประสงค์) • กิจกรรมสนับสนุนของครูผู้สอน 1. ใช้คำถามให้นักเรียนคิดถึงความต้องการหรือประเด็นที่ต้องการศึกษา 2. วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของจุดประสงค์ แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ให้คิดอย่างรอบคอบ 3. ให้กำลังใจ • กิจกรรมของผู้เรียน 1. คิดทบทวน ไตร่ตรองหาเหตุผลประกอบในการตัดสินใจ 2. เขียนสิ่งที่ตนต้องการ 3. พูดคุยกับเพื่อน ๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจ ผลที่ได้รับ จุดประสงค์ของโครงงาน
2. การวางแผน (2.2 การตั้งสมมุติฐาน) • กิจกรรมสนับสนุนของครูผู้สอน 1. ใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนคาดเดาคำตอบล่วงหน้าว่าน่าจะเป็นอย่างไร น่าจะมีผลอย่างไร 2. วิเคราะห์ความเป็นไปได้ ให้ความคิดเห็น 3. ถามย้ำให้นักเรียนคิดอย่างรอบคอบและมั่นใจในคำตอบที่คาดคะเน • กิจกรรมของผู้เรียน 1. พูดคุยกับเพื่อนเพื่อกำหนดคำตอบล่วงหน้า 2. เลือกคำตอบที่เหมาะสม 3. เขียนสิ่งที่คาดเดาไว้เพื่อรอการพิสูจน์ ผลที่ได้รับ สมมุติฐาน
2. การวางแผน (2.3 กำหนดวิธีการศึกษา) • กิจกรรมสนับสนุนของครูผู้สอน 1. กระตุ้น ส่งเสริม ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ - คิดวิธีการศึกษาที่หลากหลาย - เลือกการศึกษาที่สามารถทำได้ - เลือกแหล่งข้อมูลที่เหมาะสม - จัดทำเค้าโครงของโครงงาน - ช่วยประสานงานเพื่ออำนวยความสะดวกในการศึกษา • กิจกรรมของผู้เรียน 1. ร่วมกับนักเรียนวางแผนโดย - หาวิธีการศึกษาเรื่องนั้น ๆ - เลือกวิธีการที่เหมาะสม - กำหนดขั้นตอน วิธีการ ระยะเวลา แหล่งเรียนรู้ และวิธีการนำเสนอผลงาน 2. จัดทำเค้าโครงของโครงงาน ผลที่ได้รับ เค้าโครงโครงงาน
3. การลงมือปฏิบัติ • กิจกรรมสนับสนุนของครูผู้สอน 1. สังเกต จดบันทึกพฤติกรรมนักเรียน 2. ให้ความช่วยเหลือ ช่วยแก้ปัญหาเมื่อต้องการ 3. แนะนำแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม 4. จัดเวทีเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นระยะ 5. ให้แรงเสริม กำลังใจ 6. อำนวยความสะดวกต่าง ๆ แก่ผู้เรียน • กิจกรรมของผู้เรียน 1. ลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนด 2. บันทึกข้อมูลทุกขั้นตอน 3. ปรึกษากับเพื่อนและครูเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4. ร่วมกันสรุปผลการปฏิบัติตามโครงงาน ผลที่ได้รับ กระบวนการ และผลงานที่ได้จากการศึกษาแต่ละขั้นตอน
4. การเขียนรายงาน • กิจกรรมสนับสนุนของครูผู้สอน 1. ให้คำปรึกษาในการเลือกรูปแบบการเขียนรายงาน 2. แนะนำ ติชมการเขียนรายงาน • กิจกรรมของผู้เรียน 1. ศึกษารูปแบบการเขียนรายงานหลาย ๆ รูปแบบ 2. เลือกรูปแบบที่เหมาะสม 3. เขียนรายงานตามรูปแบบ 4. จัดทำเอกสารรูปเล่ม ผลที่ได้รับ เอกสารรายงานที่เป็นรูปเล่ม
5. การนำเสนอผลงาน • กิจกรรมสนับสนุนของครูผู้สอน 1. ให้คำปรึกษาในการเลือกวิธีการนำเสนอ 2. จัดบรรยากาศ/เวทีการนำเสนอ 3. ประเมินผลการทำโครงงาน 4. ส่งผลงานของผู้เรียนเข้าร่วมแสดง/ประกวด • กิจกรรมของผู้เรียน 1. ศึกษาการนำเสนอที่หลากหลาย 2. เลือกวิธีการที่เหมาะสม 3. เตรียมการนำเสนอผลที่ได้จากการทำโครงงาน คือ - กระบวนการศึกษา - ผลที่ได้จากการศึกษา ผลที่ได้รับ รูปแบบการนำเสนอผลงาน
การบูรณาการ ICT ในการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน ICT Integration in Project-base Learning - ครูใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบ ICT - ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักสืบค้นวิทยาการใหม่ ๆ จากอินเทอร์เน็ต, E-book, E-Library - ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดระบบข้อมูลและเผยแพร่ความรู้ - พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้ด้วย ICT -
สมรรถนะของผู้เรียนจากการเรียนรู้แบบโครงงานสมรรถนะของผู้เรียนจากการเรียนรู้แบบโครงงาน • ความสามารถในการสื่อสาร • ความสามารถในการคิด • ความสามารถในการแก้ปัญหา • ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต • ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
ICT • I – Information ข่าวสาร • C – Communication การสื่อสาร • T – Technology เทคโนโลยี
มัธยมศึกษาตอนปลาย: วิทยาศาสตร์ • เป้าหมาย เข้าใจว่าฟิสิกส์เกี่ยวพันกับความต้องการของมนุษย์ได้อย่างไร • คำถามสร้างพลังคิด เพียงเพราะเราทำได้ เราจึงสมควรทำอย่างนั้นหรือ • โครงงาน นักเรียนทำการสืบค้นและให้น้ำหนักผลที่ได้จากการวิจัยฟิสิกส์สมัยใหม่ในหัวข้อต่าง ๆ เช่น plasma physics, fusion, superconductivity, lasers, biophysics นักเรียนจะสวมบทบาทเป็นผู้เชี่ยวชาญที่จะนำเสนอข้อสรุปกับคณะกรรมการวุฒิสภา พิจารณาทัศนะต่างๆ เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงหรือประโยชน์จากการวิจัย