980 likes | 4.7k Views
การรับรู้ ( Perception ). โดย พระมหาเผื่อน กิตฺ ติ โสภโณ. องค์ประกอบการรับรู้. สิ่งเร้า( Stimulus ) ได้แก่ วัตถุ แสง เสียง กลิ่นรส ต่างๆ อวัยวะรับสัมผัส( Sensory organs ) ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง ประสาทรับสัมผัส( Receptor s ) ประสบการณ์เดิมหรือข้อมูลเดิม( Previous experience )
E N D
การรับรู้(Perception) โดย พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ
องค์ประกอบการรับรู้ • สิ่งเร้า(Stimulus) ได้แก่ วัตถุ แสง เสียง กลิ่นรส ต่างๆ • อวัยวะรับสัมผัส(Sensory organs) ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง • ประสาทรับสัมผัส(Receptors) • ประสบการณ์เดิมหรือข้อมูลเดิม(Previous experience) • ความสนใจ ความตั้งใจ(Attention) • ทัศนคติ(Attitude) ค่านิยม(Values)ในการรับรู้ • สภาพจิตใจ อารมณ์ (Emotion)เช่น ความคาดหวัง ความดีใจ เสียใจ ในขณะเกิดการรับรู้ • ความสามารถทางสติปัญญา(Mental abilities)
กระบวนการการรับรู้ • ระดับกระบวนการรับรู้ในการทำงาน • การวิเคราะห์ระดับพลังงานจิตฟิซิกส์ กระบวนการนี้เกี่ยวกับระดับความเข้มข้นของสิ่งเร้า เช่น แสง เสียง กลิ่น รส แรงกด ที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ • กระบวนการคิดที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ เกี่ยวข้องกระบวนการทางความคิด(cognitive process) ในการจัดการกับข้อมูลที่ผ่านเข้ามาทางประสาทสัมผัส
เทรชโฮลท์(Treshold)การรับรู้เทรชโฮลท์(Treshold)การรับรู้ • เทรชโฮลด์สมบูรณ์ (Absolute threshold)คือ ปริมาณของสิ่งเร้าหรือแรงกระตุ้นที่น้อยที่สุดที่ทำให้เกิดความรู้สึก สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามระดับความเข้มของสิ่งเร้า และขึ้นกับสิ่งแวดล้อมที่เราเกี่ยวข้องด้วย ความแตกต่างระหว่างบุคคลก็มีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยในการตัดสินเรื่อง Absolute threshold ด้วย เนื่องจากอวัยวะที่รับความรู้สึกของแต่ละบุคคลนั้น มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่ไม่เหมือนกัน • เทรชโฮลด์ความแตกต่าง (Differential thershold)คือความเปลี่ยนแปลงที่น้อยที่สุดของสิ่งเร้า ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกว่าสิ่งเร้านั้นมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มเดิมของสิ่งเร้า หากความเข้มเดิมต่ำกว่าการเปลี่ยนค่าความเข้มเพียงเล็กน้อย จะทำให้เกิดความรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงได้ เราเรียกจุดที่ทำให้คนรู้สึกความเปลี่ยนแปลงของสิ่งเร้านี้ว่า JND (Just Noticeable Difference)
การมองเห็น(visual Sensation) • สิ่งที่ตารับสัมผัสคือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic disturbance) ที่เรียกว่า โฟตอน ที่มีช่วงความถี่ที่ตาสามารถรับรู้ได้หรือที่เรียกว่า คลื่นแสง(Wavelength) คลื่นแสงดังกล่าวนี้มีสีแตกต่างกันไปตามความถี่ • ความสูง(Amplitude)ของคลื่นแสงบ่งบอก ความสว่าง(Brightness) ความกว้างของคลื่น เป็นตัวหนด สี(Color) และความบริสุทธิ์(Purity)ของสี เป็นตัวกำหนด ความสดใส(Saturation) • เซล์ประสาทรับภาพ(visual receptor)ที่บริเวณเรตินาของดวงตาประกอบด้วยเซลล์รอด(Rods) ไม่ตอบสนองต่อสี ทำงานในสภาพแสงน้อย และเซลล์โคน(Cones) ตอบสนองต่อสี ทำงานในสภาพที่มีแสงเพียงพอ
การรับรู้เสียง(Auditory Sensation) • สิ่งที่หูเราได้ยินคือ คลื่นเสียง(Sound wave) หรือการสั่นสะเทือนของโมเลกุลในอากาศที่อยู่รอบตัวเรา • คุณสมบัติของคลื่นเสียงประกอบด้วย ความดัง(Amplitude) ความถี่(Frequency or Pitch) และความบริสุทธิ์(Timbre) • ความดังของเสียงมีหน่วยเป็น เดซิเบล(Decibel) ความถี่ของเสียงมีหน่วยเป็น เฮิรตซ์(Hertz)
The five basic tastes • ขม(Bitter) • เปรี้ยว(Sour) • เค็ม(Salty) • หวาน(Sweet) • Umami
การสัมผัสกลิ่นOlfactory Sensation
การรู้สัมผัส แรงกดและอุณหภูมิ
กระบวนการการรับรู้ • ขั้นเลือก(Selection) • การบันทึกการเห็น • การบันทึกการได้ยิน • การแปลงสัญญาณ(Transduction) • กระบวนการจัดระบบ(Organization Process) • ขั้นแปลงหรือตีความหมาย(Interpretation)
การทดลองเกี่ยวกับการบันทึกการเห็นการทดลองเกี่ยวกับการบันทึกการเห็น • ปี 1960 จอร์จสเปอริง(GeorgeSperling) ได้ทดลองฉายภาพแถวตัวอักษรให้ปรากฏด้วยเวลาน้อยกว่า 500 มิลลิวินาที(1วินาที= 1,000มิลลิวินาที) พบว่า ผู้ถูกทดลองจำอักษรได้ประมาณ 4 ตัว จากนั้นเพิ่มเวลาขึ้นจาก 15 เป็น 500 มิลลิวินาที เพิ่มจำนวนตัวอักษรจาก 4 เป็น 12 ตัว พบว่า ผู้ถูกทดลองจำได้ประมาณ 4 อักษร จากได้ใช้วิธีให้ผู้ถูกทดลองรายงานชุดตัวอักษรหนึ่งในหลายชุดที่ฉายพร้อม พบว่า ผู้ถูกทดลองรายงานได้ 3 ใน 4 ของแถว และจะน้อยลงหากทิ้งเวลานานระหว่างการเห็นและการรายงาน • การทดลองของสเปอริงสรุปว่า ข้อมูลการมองเห็นจะถูกเก็บไว้เป็นเวลา 0.5 วินาที หากไม่มีการนำมาใช้ใหม่จะเสื่อมสลายไปจากระบบความจำสัมผัส(Sensory memory)
การทดลองเกี่ยวกับการบันทึกการได้ยินการทดลองเกี่ยวกับการบันทึกการได้ยิน • ปี 1972 ดาร์วินทรูวีและโครว์เดอร์(Darwin Turwey and Crowder,1972) ได้ทำการทดลองการบันทึกการได้ยินโดยให้ผู้ถูกทดลองฟังเสียงตัวเลขและตัวอักษรที่มาจาก 3 แหล่ง คือ หูซ้าย หูขวา และหลังศีรษะ โดยทิ้งเวลาช้าลง 0-4 วินาทีเพื่อให้ผู้ถูกทดลองรายงานเสียงที่มาจากแหล่งใดแหล่งหนึ่ง • ผลการทดลองสอดคล้องกับของสเปอริงคือหากปล่อยเวลานานขึ้น ความสามารถในการจำจะลดลง โดยความจำในรูปของเสียงสะท้อนจะเสื่อมไปจากความจำระบบรับสัมผัสภายใน 3 วินาที หากไม่มีการดำเนินการใดๆ
การจัดหมวดหมู่การรับรู้(Perceptual Organization)
กฎแห่งความคล้ายคลึงกัน(Law of similarity) • สิ่งเร้าที่มีลักษณะเหมือนกันจะถูกรับรู้ว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน
กฎแห่งความง่าย(Law of Pragnanz) • สิ่งเร้าจะถูกจัดระเบียบเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายมากที่สุด
กฎแห่งความชิดกัน(Law of Proximity) • สิ่งเร้าที่อยู่ชิดกันจะถูกรับรู้ว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน
กฎแห่งความต่อเนื่อง(Law of Continuity) • สิ่งเร้าที่ปรากฏต่อเนื่องในทิศทางเดียวกันถูกมองว่าเป็นกลุ่มเดียวกัน
กฎแห่งภาพใกล้สมบูรณ์(Law of Closure) • เรามีแนวโน้มที่จะเจิมภาพส่วนที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์เพื่อให้เกิดความหมาย
ความคงที่ในการรับรู้รูปร่าง(Shape constancy)
ความคงที่ในการรับรู้ขนาด(Size constancy)
ความคงที่ในการรับรู้ความสว่าง(brightness constancy)
ความคงที่ในการรับรู้ความพลิกผัน(Orientation constancy)
การรับรู้ความลึก(Depth perception การรับรู้ความลึก คือ ความสามารถในการมองโลกในแบบ 3 มิติ หากปราศจากความสามารถดังกล่าวนี้เราจะไม่สามารถรับรู้ได้ว่าวัตถุต่างๆอยู่ห่างจากรู้มากแค่ไหน การรู้ความลึกเริ่มพัฒนาตั้งแต่วัยเริ่มต้นของชีวิต คนที่ตาบอกตั้งแต่เกิดและกลับมองเห็นได้อีกครั้ง ต้องต้องพัฒนาการรับรู้ความลึกใหม่เหมือนเด็กเล็ก. การรับรู้ความลึกอาศัยสัญญาณบอกความลึก(Cues) ซึ่งเป็นออกเป็นสัญญาณบ่งบอกความลึกสำหรับการมองด้วยตาข้างเดียว(monocular cues), และสัญญาณบ่งบอกความลึกสำหรับการมองด้วยตาสองข้าง(binocular cues).
สัญญาณบ่งบอกความลึกสำหรับการมองด้วยตาสองข้าง(Binocular cues) • การเบนเข้าหากันของลูกตา(Convergence) การเบนเข้าหากันของตาสองข้างเพื่อโฟกัสวัตถุ หากวัตถุอยู่การเบนเข้าหากันก็จะมากขึ้น หากวัตถุอยู่หางออกไปการเบนเข้ากันก็จะน้อย • ความแตกต่างกันของการมองจากตาสองข้าง(Binocular disparity) คือความแตกต่างของภาพที่เกิดจากการมองเห็นของตาแต่ละข้าง ซึ่งวัตถุที่อยู่ใกล้จะมีขนาดใหญ่ขึ้นและวัตถุที่อยู่ไกลจะมีขนาดเล็กลง
สัญญาณบ่งบอกความลึกสำหรับการมองด้วยข้างเดียว(Monocular cues) • การบรรจบการของเส้นตรง(Linear perspective) • ขนาดที่อยู่ใกล้จะมีขนาดใหญ่ วัตถุที่อยู่ห่างออกไปมีขนาดเล็กลดหลั่นสัมพันธ์กัน (Relative size) • การทับซ้อนกันของวัตถุ(Overlap) • วัตถุที่อยู่ห่างออกไปมีรายละเอียดน้อยกว่าวัตถุที่อยู่ใกล้กว่า(Aerial (atmospheric) perspective) • วัตถุที่อยู่ใกล้มีขนาดใหญ่ วัตถุที่อยู่ไกลมีขนาดเล็กTexture gradient • วัตถุที่อยู่ใกล้ดูเหมือนจะเคลื่อนไหวช้ากว่าวัตถุที่อยู่ในระยะไกล(Motion parallax) • กระจกตาจะเปลี่ยนรู้ให้หนาหรือบางเพื่อมองวัตถุที่อยู่ใกล้หรือไกลได้ชัดและสมองใช้การเปลี่ยนนี้เป็นตัวสัญญาณการบอกความลึก(Accommodation or muscular cue)
Perceptual illusion Hermann’s grid
วิธีการศึกษาการรับรู้วิธีการศึกษาการรับรู้
ทฤษฎีการรับรู้ของเฮล์มโฮลท์ทฤษฎีการรับรู้ของเฮล์มโฮลท์ • เฮอร์มัน วอน เฮล์มโฮล อธิบายว่า การรับรู้เป็นผลผลิตทั้งของธรรมชาติและการฝึกฝน และการรับรู้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นนอกเหนือภาวการณ์มีสติรู้ตัว ที่เขาเรียกว่า Unconscious inference • เฮล์มโฮล แบ่งการรับรู้ออกเป็น 2 ขั้นตอนคือ • ขั้นวิเคราะห์ คือ การที่ประสาทสัมผัสวิเคราะห์โลกภายนอก ซึ่งเป็นการรับรู้ระดับพื้นฐาน • ขั้นสังเคราะห์ คือ การบูรณาการและรวบรวมหน่วยข้อมูลของการรับรู้เข้าไปในระบบ ทฤษฎีนี้นำเสนอแนวคิดว่า มนุษย์เรียนรู้การแปรผลความรู้สึกจากประสบการณ์เดิม โดนการแปรผลเป็นการคาดหวังจากการรู้ที่มีอยู่เดิม
ทฤษฎีการรับรู้ของเกสตัลท์(Gestalt’s Perceptual theory) • จิตวิทยาเกสตัลท์อธิบายว่า มนุษย์เรามีแนวโน้มแต่กำเนิดที่จะรับรู้โดยภาพรวมมากกมากกว่าแยกเป็นส่วนย่อย โดยจะมีระบบการจัดหมวดหมู่สิ่งรับรู้แล้วให้ความหมาย • สนามการรับรู้แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่ถูกสนใจและรับรู้ เรียกว่า ภาพ(Figure) และส่วนที่ไม่เป็นที่สนใจเรียกว่า พื้น(Ground)
ทฤษฎีสนามของกิ๊บสัน(Gibson’s Field theory) • เจมส์ กิ๊บสัน(James Gibson) เสนอว่า การเข้าใจการรับรู้ทำได้ดีกว่าการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวมากกว่าหาว่าเกิดอะไรขึ้นในหัวเรา • กิ๊บสันได้นำเสนอปัจจัยหลักในการรับรู้ภาพ 3 ประการ คือ • รูปแบบลำแสง(Optic array) ที่เข้ามากระทบเรตินา ให้ข้อมูลโครงร่างวัตถุในสภาพแวดล้อม • พื้นผิวที่ประกอบด้วยวัตถุต่างๆ(Textured gradients) เป็นตัวให้ข้อมูลเกี่ยวกับระยะทาง ความเร็ว ฯลฯ • การให้ความหมายสิ่งที่เห็น(Affordance) ซึ่งนำไปสู่การตอบสนอง • กิ๊บสันสรุปว่า การรับรู้ทางตานั้นถูกต้องมากที่สุด. การลวงตาเกิดขึ้นจากการมองเห็นในช่วงเวลาสั้นๆ ซึ่งมีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีของกิ๊บสันไม่ได้ให้คำอธิบายว่าเราให้ความหมายสิ่งที่เราเห็นได้อย่างไร ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้เกี่ยวข้องกับความจำและการเรียนรู้
ทฤษฎีตรวจจับสัญญาณ(Signal Detection theory) • ทฤษฎีนี้มีพื้นฐานมากจากวิศวกรรมไฟฟ้า นักจิตวิทยาได้นำทฤษฎีนี้มาใช้เพื่อศึกษาการตัดสินใจในสถานการณ์ที่คลุมเครือ เช่น การรับรู้ระยะทางในสถานการณ์ที่มีหมอกหนา โดยสิ่งเร้าที่เป็นเป้าหมายของการรับรู้เรียกว่า สัญญาณ(Signal) และสิ่งเร้าที่รบกวนการรับรู้สัญญาณเรียกว่า สัญญาณรับกวน(Noise) • ในการทดการทดสอบผู้ทดสอบจะทดสอบว่า ผู้ถูกทดสอบรับรู้ได้อย่างถูกต้องหรือไม่ ถ้านำเสนอสิ่งเร้า และผู้ทดสอบรับรู้ได้เรียกว่า hit ถ้ารับรู้ไม่ได้เรียกว่า miss • หากไม่นำเสนอสิ่งเร้า แต่ผู้ถูกทดลองรายว่ารับรู้ได้ เรียกว่า false alarm แต่ถ้ารายว่ารับรู้ไม่ได้ เรียกว่า completed rejection