350 likes | 715 Views
รายงานการวิจัยในชั้นเรียน นำเสนอโดยนายชาญชัย ชาญฤทธิ์ ครูชำนาญการพิเศษ ( คศ.3 ) กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา. โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ( พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม ). เรื่อง. การฝึกเทคนิคจินตภาพร่วมกับ การเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
E N D
รายงานการวิจัยในชั้นเรียนนำเสนอโดยนายชาญชัย ชาญฤทธิ์ครูชำนาญการพิเศษ ( คศ.3 )กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ( พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม )
เรื่อง การฝึกเทคนิคจินตภาพร่วมกับ การเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ที่มีผลต่อทักษะการเล่นกีฬาเปตอง ( ผลสัมฤทธิ์ทางการโยนลูกเปตองและผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติทักษะการโยนลูกเปตอง )
วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย • 1. เพื่อศึกษาผลของการใช้วิธีการฝึกเทคนิคจินตภาพร่วมกับการเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่มีผลต่อทักษะการเล่นกีฬาเปตอง • 2. เพื่อเปรียบเทียบหาความแตกต่างของการใช้วิธีการฝึกเทคนิคจินตภาพร่วมกับการเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่มีผลต่อทักษะการเล่นกีฬาเปตองก่อนและหลังการฝึก
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ • ผลของการวิจัยจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนที่จะได้พัฒนาทักษะการเล่นกีฬาเปตอง (การโยน) และเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ • ทำให้ทราบถึงผลสัมฤทธิ์ของแผนการจัด การเรียนรู้ รายวิชา พ 402 สาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ที่มีผลต่อทักษะการเล่นกีฬาเปตอง • ทำให้ทราบถึงผลของการใช้เทคนิคจินตภาพและการเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
ขอบเขตของการวิจัย 1. กลุ่มประชากร คือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 – 4/8 ที่กำลังศึกษาในรายวิชา พ 402 สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ( พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม ) สุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (purposive random sampling )
การทำวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองการทำวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อพัฒนาทักษะและผลสัมฤทธิ์ ของการเล่นกีฬาเปตอง ( ผลสัมฤทธิ์ทางการโยนและ ผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติทักษะการโยน)
ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ตัวแปรต้น คือ โปรแกรมการใช้เทคนิคจินตภาพ และ โปรแกรมการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ในแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชา พ 402 สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ของนายชาญชัย ชาญฤทธิ์
ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ในการเล่นกีฬาเปตอง อันประกอบไปด้วย ผลสัมฤทธิ์ทางการโยนและ ผลสัมฤทธิ์ของทักษะการปฏิบัติในการโยนลูกเปตอง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้การฝึกเทคนิคจินตภาพเป็นโปรแกรมการฝึกที่ผู้วิจัยคิดและจัดทำขึ้นตามหลักวิชาการที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาและเรียนรู้มาแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้การฝึกเทคนิคจินตภาพเป็นโปรแกรมการฝึกที่ผู้วิจัยคิดและจัดทำขึ้นตามหลักวิชาการที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาและเรียนรู้มา สำหรับโปรแกรมการเสริมสร้าง สมรรถภาพทางร่างกาย (ความแข็งแรง) เป็นการจัดโปรแกรมและการปฏิบัติการเสริมสร้างสมรรถภาพทางร่างกายซึ่งนักเรียนในชั้นเรียน มีส่วนร่วมในการปฏิบัติด้วยตนเอง
ข้อตกลงเบื้องต้น 1.การวิจัยในครั้งนี้ใช้เวลาในการฝึกโดย ใช้เวลาเรียนในแต่ละคาบ/วัน ของแต่ละชั้นเรียน รวมเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ 2. กลุ่มประชากรเป็นนักเรียนชั้น ม.4/1 – 4/8 ชาย 90 คน และหญิง 219 คน รวม 309 คน 3. สถานศึกษาที่ใช้ในการวิจัยและการทดสอบของนักเรียนแต่ละชั้นมีสภาพคล้ายคลึงกันและ ไม่มีส่วนที่จะทำให้ผลการทดสอบแตกต่างกัน continue next page ...............
นิยามศัพท์ “สมรรถภาพทางกาย” “สุขภาพ” “สมรรถภาพทางกายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ” “เกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกาย” “การจินตภาพ” “โปรแกรมการฝึกจินตภาพ” “ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ” “โปรแกรมการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ”
4 ดีมาก 3 ดี 2 พอใช้ 1 ควรปรับปรุง นิยามศัพท์ ผลสัมฤทธิ์ทางการโยนลูกเปตอง หมายถึง ผลการทดสอบการโยนลูกเปตองโดยมีคะแนนกำหนดไว้ในแต่ละวงกลมที่กำหนดไว้
การกำหนดคะแนนผลสัมฤทธิ์โยนลูกเปตองการกำหนดคะแนนผลสัมฤทธิ์โยนลูกเปตอง โยนคนละ 5 ครั้ง ระยะห่างจากจุดโยน 9 เมตร ถ้าโยนอยู่ในรัศมี 20 ซม. ได้ลูกละ 4 คะแนน ถ้าโยนอยู่ในรัศมี 40 ซม. ได้ลูกละ 3 คะแนน ถ้าโยนอยู่ในรัศมี 60 ซม. ได้ลูกละ 2 คะแนน ถ้าโยนอยู่ในรัศมี 80 ซม. ได้ลูกละ 1 คะแนน
การแปลผล (นักเรียนชาย) • ผลรวมคะแนน 17 – 20 คะแนน คะแนนที่ได้ 4 คะแนน • ผลรวมคะแนน 13 – 16 คะแนน คะแนนที่ได้ 3 คะแนน • ผลรวมคะแนน 9 – 12 คะแนน คะแนนที่ได้ 2 คะแนน • ผลรวมคะแนน 5 – 8 คะแนน คะแนนที่ได้ 1 คะแนน • ผลรวมคะแนน 0 – 4 คะแนน คะแนนที่ได้ 0 คะแนน
การแปลผล (นักเรียนหญิง) • ผลรวมคะแนน 16 – 20 คะแนน คะแนนที่ได้ 4 คะแนน • ผลรวมคะแนน 11 – 15 คะแนน คะแนนที่ได้ 3 คะแนน • ผลรวมคะแนน 6 – 10 คะแนน คะแนนที่ได้ 2 คะแนน • ผลรวมคะแนน 1 – 5 คะแนน คะแนนที่ได้ 1 คะแนน • ผลรวมคะแนน 0 คะแนน คะแนนที่ได้ 0 คะแนน
นิยามศัพท์ผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติทักษะการโยนลูกเปตองหมายถึงนิยามศัพท์ผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติทักษะการโยนลูกเปตองหมายถึง • ผลการทดสอบการปฏิบัติทักษะการโยน ลูกเปตอง โดยมีคะแนนกำหนดไว้ ในแต่ละการแสดงทักษะการโยนของแต่ละคน
ตารางแสดงผลทักษะการโยนลูกเปตอง (โดยการสังเกต)
ตารางแสดงผลทักษะการโยนลูกเปตอง (โดยการสังเกต)
การแปลผลค่าเฉลี่ยจากการคำนวณ ผลสัมฤทธิ์ทางการโยนลูกเปตองและผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติทักษะการโยนลูกเปตอง
วิธีการดำเนินการและการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการดำเนินการและการเก็บรวบรวมข้อมูล 1. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชา พ 402 สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 2. จัดทำโครงร่างการวิจัยในชั้นเรียนนำเสนอหัวหน้ากลุ่มสาระฯ รองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายบริหารวิชาการ และผู้อำนวยการสถานศึกษา 3. ทำการปฐมนิเทศนักเรียน 4. ทดสอบทักษะนักเรียนก่อนการเรียน 5. บันทึกผลการทดสอบและเก็บรวบรวมข้อมูล
6. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ 7. ใช้โปรแกรมการฝึกเทคนิคจินตภาพร่วมกับ การเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ตามแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชา พ 402 8. ทำการฝึกเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ ๆ ละ 1 วัน ตามคาบเรียนของแต่ละห้องเรียน 9. ทำการทดสอบทักษะนักเรียนหลังการเรียน 10. นำผลการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการโยนและ ผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติทักษะการโยน วิเคราะห์ ผลทางสถิติ 11. สรุปผลการวิจัยในชั้นเรียนและข้อเสนอแนะ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา พ 402 สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2. โปรแกรมการฝึกจินตภาพ ที่ฝึกให้นักเรียนจินตนาการถึงการจัดวางท่าทางการเริ่มต้น,การเคลื่อนไหวของแขนและการส่งแรงในการโยนตามระยะห่างและ ความสูงตามโปรแกรมการฝึกและกิจกรรมการเรียนรู้ 3. โปรแกรมการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโปรแกรมการอบอุ่นร่างกาย โปรแกรมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดทำและนำเสนอ
อุปกรณ์ 1. ลูกเปตอง 2. เชือกฟางและเทปวัดระยะ 3. สนามวิ่ง,เบาะยิมนาสติก,กล่องวัดความ อ่อนตัว,เครื่องวัดกำลังมือ TKK ,แผ่นยางสำหรับยืนกระโดดไกล,ท่อนไม้สำหรับทดสอบ การวิ่งเก็บของ,นาฬิกาจับเวลา,นกหวีด,ปูนขาว 4. แบบบันทึกต่าง ๆ
สถิติที่ใช้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล • วิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (SPSS) • คำนวณค่าเฉลี่ย (mean)และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) • ของผลสัมฤทธิ์ในการโยนเปตองและผลสัมฤทธิ่ • ของการปฏิบัติทักษะในการโยนลูกเปตอง • 2. ทดสอบค่าความแตกต่างภายในกลุ่มและระหว่างก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 10 โดยใช้การทดสอบค่าเฉลี่ย (t – test ) • 3. ทดสอบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ • ที่ระดับ .05
สถานที่ในการทำวิจัย สนามกีฬาเปตอง สนามกีฬาของโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ( พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม ) ห้องศูนย์สื่อการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ระยะเวลาในการทำวิจัย การวิจัยในครั้งนี้เริ่มตั้งแต่เดือนต.ค.46 – มี.ค.47
ผลการวิจัย ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการโยนลูกเปตองของนักเรียนชาย แต่ละห้องและของนักเรียนชายทั้งหมด
ผลการวิจัย ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการโยนลูกเปตองของนักเรียนหญิง แต่ละห้องและของนักเรียนหญิงทั้งหมด
ผลการวิจัย ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติทักษะการโยนลูกเปตอง ของนักเรียนชายแต่ละห้องและของนักเรียนชายทั้งหมด
ผลการวิจัย ตารางที่ 4 ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติทักษะการโยนลูกเปตอง ของนักเรียนหญิงแต่ละห้องและของนักเรียนหญิงทั้งหมด
ผลการวิจัย * ค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการโยนลูกเปตองของนักเรียนชายแต่ละห้องและ ของนักเรียนชายทั้งหมด ก่อนและหลังการฝึก พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ยกเว้นห้อง ม.4/4 และ ม.4/7 ที่ไม่แตกต่าง * ค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการโยน ลูกเปตองของนักเรียนหญิงแต่ละห้องและ ของนักเรียนหญิงทั้งหมด ก่อนและหลังการฝึก พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ยกเว้นห้อง ม.4/7 ที่ไม่แตกต่าง
ผลการวิจัย * ค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการปฎิบัติทักษะการโยนลูกเปตองของนักเรียนชายแต่ละห้องและของ นักเรียนชายทั้งหมด ก่อนและหลังการฝึก พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ยกเว้นห้อง ม.4/7 ที่ไม่แตกต่าง * ค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติทักษะการโยนลูกเปตองของนักเรียนหญิงแต่ละห้องและของ นักเรียนหญิงทั้งหมด ก่อนและหลังการฝึก พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ยกเว้นห้อง ม.4/7 ที่ไม่แตกต่าง
สรุปผลการวิจัย จากการใช้แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา พ 402 โดยใช้โปรแกรมการฝึกจินตภาพร่วมกับโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 – 4/8 ทั้งเพศชายและเพศหญิงมีผลสัมฤทธิ์ทางการโยนลูกเปตองและผลสัมฤทธิ์ทางการปฏิบัติทักษะการโยนลูกเปตองภายหลังการเรียน,การฝึก ดีขึ้นจากก่อนการเรียน