E N D
ฎีกา 7121/39 จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเช็คของบริษัท อ. ได้ ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทซึ่งเป็นของบริษัทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ของบริษัทและของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ประทับตราของบริษัทด้วยจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทในฐานะผู้แทนบริษัท และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คโดยระบุว่ากระทำการแทนบริษัทดังกล่าวดังนั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องร่วมกันรับผิดตามเนื้อความที่ปรากฏในเช็คตามมาตรา 900 และ มาตรา 901
เมื่อได้จดทะเบียนและโฆษณาเมื่อได้จดทะเบียนและโฆษณา ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ข้อความในหนังสือ บริคณห์สนธิและข้อบังคับที่โฆษณานั้น กฎหมายให้ถือว่าเป็นอันทราบแก่บุคคลทั่วไป มาตรา 1021 มาตรา 1022
ธรรมนูญของบริษัท ข้อบังคับของบริษัท หนังสือบริคณห์สนธิ 2 1 • เป็นระเบียบภายในของบริษัท • สิทธิต่างๆของผู้ถือหุ้น • วิธีดำเนินงานบริษัท • วิธีการโอนหุ้น • กรรมการอำนาจกรรมการ • มาตรา 1144, 1108(1) ระเบียบของบริษัทในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก เป็นตราสารจัดตั้งบริษัท (ดูมาตรา 66) กำหนดกรอบวัตถุประสงค์ของบริษัท มาตรา 1097,1098
ฎีกา 3712/35 จำเลยทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์และรับสินค้าไปแล้ว จำเลยก็ต้องชำระราคาจะไม่ยอมชำระราคาโดยอ้างว่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องเรือนอยู่นอกวัตถุประสงค์ของบริษัทโจทก์ไม่ได้
กรรมการกระทำการเกินอำนาจกรรมการกระทำการเกินอำนาจ อาจมีเหตุมาจาก • การกระทำของกรรมการซึ่งบกพร่องในเรื่องการแต่งตั้งและคุณสมบัติ (มาตรา 1166) • การกระทำเกินอำนาจซึ่งบริษัทมอบหมายให้เป็นการภายใน • การกระทำเกินอำนาจตามข้อบังคับ (มาตรา 1111(6)) • การกระทำนอกวัตถุประสงค์ของบริษัท
ข้อสังเกต แนวของศาลฎีกาวางแนวว่า “การกระทำนอกวัตถุประสงค์ก็อาจให้สัตยาบันได้” อันเป็นการแตกต่างไปจากหลักเดิมตามกฎหมายอังกฤษ ซึ่งถือว่าการกระทำนอกวัตถุประสงค์เป็นโมฆะไม่อาจให้สัตยาบันได้
วัตถุประสงค์ของบริษัทระบุไว้ในบริคณห์สนธิ (มาตรา 1098(3)) • ปกป้องผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น • ปกป้องผลประโยชน์ของบุคคลภายนอกที่เข้ามาทำธุรกิจกับบริษัท
แนววินิจฉัยของศาลเกี่ยวกับกรอบวัตถุประสงค์ของบริษัทแนววินิจฉัยของศาลเกี่ยวกับกรอบวัตถุประสงค์ของบริษัท “สำหรับกิจการสำคัญที่มิใช่เป็นปกติของธุรกิจนั้น ถ้าไม่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์บริษัทหามีอำนาจกระทำได้ไม่ เช่น การขายกิจการ และหุ้นทั้งหมดของบริษัท ”
ฎีกา 2383/2526 • เป็นสิทธิและเสรีภาพของโจทก์ตามรัฐธรรมนูญที่จะจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจ การจำกัดสิทธิไม่รับจดทะเบียนตั้งบริษัทให้โจทก์จะทำได้ต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง เมื่อวัตถุที่ประสงค์ของบริษัทไม่ต้องห้ามหรือต้องควบคุมโดยกฎหมาย เป็นหน้าที่ของนายทะเบียนที่จะต้องพิจารณาว่าคำขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายหรือไม่เท่านั้น(ดูมาตรา 1019)
ประเด็น การกระทำของกรรมการจะถือได้ว่าเป็นการกระทำของบริษัทหรือไม่ เกี่ยวโยงอยู่กับวัตถุประสงค์ของบริษัท โดยเฉพาะหลักเรื่อง “การกระทำนอกเหนืออำนาจ ”(Ultra Vires Rule)
หลักการกระทำนอกเหนืออำนาจ (Ultra Vires Rule) มีความมุ่งหมาย 2 ประการ 1. คุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหุ้น มิให้มีการนำเงินทุนไปใช้นอก วัตถุประสงค์ 2. เป็นหลักประกันแก่เจ้าหนี้ของบริษัทว่าบริษัทจะไม่นำเงินทุนไปใช้ ในกิจการอื่นนอกวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ของบริษัทวัตถุประสงค์ของบริษัท อำนาจของบริษัท เป็นแง่มุมของความสามารถ ความมุ่งหมายของบริษัทโดยกำหนดลักษณะของธุรกิจการค้าของบริษัทที่จะดำเนินการ • อำนาจย่อมมีความหมายแคบกว่าวัตถุประสงค์ • อำนาจเป็นเพียงวิธีการ (Means) ส่วนวัตถุประสงค์ • เป็นจุดมุ่งหมายปลายทาง (End)
การกระทำของผู้แทนบริษัทการกระทำของผู้แทนบริษัท • ที่อยู่นอกวัตถุประสงค์ 2. กระทำนอกเหนืออำนาจ การกระทำแม้อยู่ในวัตถุประสงค์แต่อาจต้องห้ามมิให้กระทำโดยกฎหมายหรือถูกจำกัดโดยข้อบังคับของบริษัท ถือว่าเป็นการกระทำที่อยู่นอกเหนืออำนาจของบริษัท
การกระทำนอกวัตถุประสงค์ของบริษัทการกระทำนอกวัตถุประสงค์ของบริษัท • ศาลฎีกาวางแนววินิจฉัยไว้ว่า “บริษัทจะต้องรับผิดชอบสำหรับการกระทำที่อยู่ภายในขอบวัตถุประสงค์” • สำหรับการกระทำนอกขอบวัตถุประสงค์ของบริษัทซึ่งเป็นการกระทำนอกเหนืออำนาจของบริษัท (Ultra Vires ) การนั้นย่อมไม่มีผลผูกพันบริษัท
ฎีกาที่ 41/ 2509 ห้างหุ้นส่วนจำกัด (จำเลย) ได้เข้าค้ำประกันหนี้ ที่บริษัทแห่งหนึ่งเป็นลูกหนี้ ธนาคารโจทก์ ฟังได้ว่า การค้ำประกันนั้นเป็นการนอกวัตถุประสงค์ของห้างฯ และ ห้างฯ (จำเลย) ไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ จากการค้ำประกันนั้น และไม่มีพฤติการณ์อย่างใดส่อแสดงให้เห็นว่าห้าง (จำเลย) ได้ให้สัตยาบันการค้ำประกันนั้น 1 2
การกระทำนอกเหนืออำนาจ (Ultra Vires) กระทำนอกวัตถุประสงค์ กระทำนอกเหนืออำนาจของบริษัท(Ultra Vires Company) กรรมการกระทำโดยไม่มีอำนาจ หรือเกินอำนาจกรรมการ (Ultra Vires Director) เป็นการกระทำเกินอำนาจที่ ข้อบังคับมอบให้, กระทำการ ขัดมติที่ประชุมกรรมการ
เมื่อกรรมการบริษัททำการใดนอกเหนืออำนาจเมื่อกรรมการบริษัททำการใดนอกเหนืออำนาจ สรุป และ (1) บริษัทมิได้รับประโยชน์จากการนั้นเลย หรือ (2) บริษัทมิได้ให้สัตยาบันแก่การนั้น ผล(1) การนั้นย่อมไม่ผูกพันบริษัท (2) กรรมการของบริษัทที่ทำการนั้นต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว (โดยศาลใช้หลักเรื่องกฎหมายตัวแทนมาปรับใช้) (ดูมาตรา 823, 1167) 1
หลักการกระทำนอกเหนืออำนาจ (Ultra Vires Rule) ตามกฎหมายไทย ปรากฏจากความใน ป.พ.พ. มาตรา 66, 76 วรรคสอง
มี 2 องค์กรในบริษัท (1) ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น (2) คณะกรรมการบริษัท ธรรมนูญสูงสุดในบริษัท (2) ข้อบังคับบริษัท (มาตรา 1108(1) 1144) (1) หนังสือบริคณห์สนธิ (มาตรา 1097,1098) (มาตรา 1145) การแก้ไขเพิ่มเติมต้องมี “มติพิเศษ”
ความรับผิด (ทางแพ่งและอาญา) ของ 1. นิติบุคคล 2. ผู้แทนนิติบุคคล
ประเด็นปัญหา การกระทำที่มีปัญหาว่านิติบุคคลกระทำได้หรือไม่? 1. ความรับผิดทางละเมิด 2. ความรับผิดทางอาญา
ความรับผิดทางละเมิด นิติบุคคลอาจต้องรับผิดทางละเมิดเพราะการกระทำของลูกจ้าง หรือตัวแทนได้ แต่ก็ยังเป็นปัญหาอยู่ว่าการกระทำเช่นนี้จะต้องเป็นอยู่ ภายในวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลด้วยหรือไม่ หรือ เพียงแต่เป็นการ กระทำในหน้าที่หรือทางการที่จ้างก็พอ (ดู ม.420, 425, 427)
ความรับผิดทางอาญา นิติบุคคลอาจต้องรับผิดทางอาญาสำหรับการกระทำของ ผู้แทนทั้งความผิดทางอาญาบางประเภทก็ไม่จำเป็นต้องมีเจตนา แม้ในกรณีที่ต้องมีเจตนา เจตนาของผู้แทนก็อาจถือได้ว่าเป็น เจตนาของนิติบุคคลได้ และแม้นิติบุคคลไม่อาจต้องโทษจำคุก นิติบุคคลก็อาจถูกปรับได้
ตามกฎหมายละเมิด ความรับผิดทางแพ่ง ของนิติบุคคล ตามกฎหมายลักษณะสัญญา
ความรับผิดตามกฎหมายลักษณะสัญญาความรับผิดตามกฎหมายลักษณะสัญญา โดยปกติ กรรมการปฏิบัติงานในฐานะเป็นผู้แทนบริษัท ซึ่งมาตรา 1167 ให้นำบทบัญญัติในเรื่องตัวแทนมาใช้บังคับโดยอนุโลม เพราะฉะนั้น กิจการที่กรรมการกระทำไปภายในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตนโดยชอบนั้น กรรมการหาต้องรับผิดชอบเป็นส่วนตัวไม่ แต่ถ้ากรรมการกระทำโดยปราศจากอำนาจ หรือทำนอกเหนืออำนาจและบริษัทไม่ให้สัตยาบัน กรรมการก็อาจต้องรับผิดเป็นส่วนตัวต่อบุคคลภายนอก
สัญญาต่างๆที่กรรมการทำแทนบริษัท (1)ภายในขอบ อำนาจและ (2)วัตถุประสงค์ของบริษัท กรรมการย่อม ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว เว้นแต่ กรรมการนั้นจะทำ สัญญายอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมหรือเป็นผู้ค้ำประกัน
ผู้แทนนิติบุคคลทำให้บุคคลอื่นเสียหาย(ม.76)ผู้แทนนิติบุคคลทำให้บุคคลอื่นเสียหาย(ม.76) กรณีผู้แทนทำการตาม หน้าที่ภายในขอบวัตถุ ประสงค์ของนิติบุคคล (ม.76 วรรค1) กรณีผู้แทนทำการนอก ขอบวัตถุประสงค์ของ นิติบุคคล (ม.76 วรรค2)
ประเด็นปัญหา มาตรา 76 จะใช้บังคับทั้งเรื่องละเมิดและสัญญาทั้งสองประการหรือไม่?
ม.76 วรรคแรก(1) กฎหมายกำหนดให้นิติบุคคลนั้น ต้องรับผิดในการกระทำของผู้แทนซึ่งทำให้เกิดความเสียหาย แก่บุคคลภายนอก นิติบุคคลต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ ผู้เสียหาย (2)สำหรับตัวแทนนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้ กระทำการอันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย ก็คงต้องรับผิด ในผลของการกระทำของเขา (เป็นความรับผิดฐานละเมิดตาม มาตรา 420)
ฎีกา 2031/2514 เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดกรมที่ดิน ได้ ปฏิบัติราชการในหน้าที่และความรับผิดชอบของกรมที่ดิน ทำให้ เกิดความเสียหายแก่โจทก์ กรมที่ดินต้องร่วมรับผิดด้วย พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะความผิดของผู้แทนถ้าความเสียหายเกิดขึ้นเพราะความผิดของผู้แทน นิติบุคคล นิติบุคคลมีสิทธิไล่เบี้ยเอาค่าสินไหม ทดแทนที่ต้องใช้ไปจากผู้แทนนิติบุคคลซึ่งเป็น ผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้น
กรณีผู้แทนนิติบุคคลทำการนอกขอบวัตถุประสงค์และเป็นเหตุให้ผู้อื่นต้องเสียหาย(มาตรา 76 วรรค2) (1) นิติบุคคลไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะการกระทำ นอกเหนือวัตถุประสงค์ ต้องถือว่าไม่ใช่การกระทำของนิติบุคคลนั้น (2)ผู้แทนนิติบุคคลต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น
ความรับผิดเพื่อละเมิดในการกระทำของผู้อื่น(vicarious liability) ม.425 นายจ้าง-ลูกจ้าง ม.76 ผู้แทนนิติบุคคล ม.427 ตัวการ-ตัวแทน สรุป หากไม่ใช่ลูกจ้างหรือไม่ใช่ตัวแทนก็ไม่ใช่กรณีตาม มาตรา 425 หรือ มาตรา 427 แต่อาจจะต้องบังคับตาม มาตรา 76
ความรับผิดทางอาญา - ของนิติบุคคล - ของผู้แทนนิติบุคคล ป.อาญา ม.2“No punishment without law”
ความรับผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจาก การใช้เช็ค พ.ศ.2534 (1) (2) “ ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ ที่มีอยู่จริงและ บังคับได้ตามกฎหมาย ....... ” (3)
ความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล อาจมีใน 3 กรณี 1) มีกฎหมายบัญญัติให้ลงโทษนิติบุคคลโดยตรง 2) มีกฎหมายที่บัญญัติให้ลงโทษผู้ที่มี “ฐานะ” อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจรวมถึง “นิติบุคคล” ได้โดยทางอ้อม 3) มีกฎหมายที่บัญญัติให้ลงโทษบุคคลทั่วไปคือ “ผู้ใด”
ฎีกา 1669/2506 แม้ว่าจำเลยที่1 จะเป็นนิติบุคคลไม่สามารถกระทำการทุกอย่างได้ เช่นบุคคลธรรมดาก็ตาม แต่ถ้าการกระทำนั้นเป็นไปตามความ ประสงค์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ และได้รับประโยชน์อันเกิดจากการ กระทำนั้นแล้ว ก็มีเจตนาในการกระทำความผิดทางอาญาได้ ฎีกา 787-788/2506 (ประชุมใหญ่) วินิจฉัยเป็นหลักใน ทำนองเดียวกัน
แนวของศาลที่วินิจฉัยว่าเป็นการกระทำและเจตนาของนิติบุคคลนั้นมีลักษณะดังนี้แนวของศาลที่วินิจฉัยว่าเป็นการกระทำและเจตนาของนิติบุคคลนั้นมีลักษณะดังนี้ 1. ผู้แทนนิติบุคคล ได้แสดงเจตนาซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ 2. ผู้แทนนิติบุคคล ได้แสดงเจตนาไปตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล 3. ผู้แทนนิติบุคคล ได้กระทำไปเพื่อให้นิติบุคคลได้รับประโยชน์จากการแสดงเจตนานั้น