1.68k likes | 3.69k Views
การผลิต พืช. เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตร ดิน ธาตุอาหาร ปุ๋ย แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การปลูกพืช. ความหมาย อุปกรณ์การเกษตร.
E N D
การผลิตพืช เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตร ดิน ธาตุอาหาร ปุ๋ย แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การปลูกพืช
ความหมาย อุปกรณ์การเกษตร อุปกรณ์การเกษตรเป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยให้การปฏิบัติงานเกษตรมีความสะดวกและรวดเร็ว ลดแรงของเกษตรกร อุปกรณ์การเกษตรแบ่งตามชนิดวัสดุ มีทั้งที่ทำจากโลหะ ทำจากพลาสติก ทำจากไฟเบอร์ หรือแม้แต่ทำจากวัสดุธรรมชาติ
หากแบ่งอุปกรณ์การเกษตรตามลักษณะการใช้งาน จะสามารถแบ่งได้เป็นอุปกรณ์งานหนักและอุปกรณ์งานเบา แบ่งตามลักษณะใช้งาน ได้แก่ เครื่องมือใช้งานกับดิน เครื่องมือใช้งานในการให้น้ำพืช และเครื่องมือที่ใช้ในการดูแลตัดแต่งกิ่ง ตัวอย่างอุปกรณ์การเกษตร เช่น จอบขุด เสียมพรวน บัวรดน้ำ กรรไกตัดกิ่ง รถไถ่ รถเกี่ยว เป็นต้น (วีกีพีเดีย สารานุกรมเสรี ,2554)
ประเภทของเครื่องมือเกษตร...แบ่งตามลักษณะของการใช้งานประเภทของเครื่องมือเกษตร...แบ่งตามลักษณะของการใช้งาน เครื่องมือเกษตรเกี่ยวกับงานดิน1. จอบ ใช้สำหรับขุดงานดิน พรวนดิน ถากหญ้า ดายหญ้า2. เสียม ใช้สำหรับขุดหลุม ขุดดิน พรวนดิน3. พลั่ว ใช้สำหรับตักดิน สาดดิน ตักปุ๋ย4. ปุ้งกี๋ ใช้สำหรับใส่ดิน ใส่ปุ๋ย เพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้าย5. คราด ใช้สำหรับเกลี่ยดิน คราดหญ้า หรือคราดขยะไปทิ้ง
เครื่องมือเกษตรเกี่ยวกับงานพืช1. ช้อนปลูก ใช้สำหรับขุดหลุมปลูก ย้ายต้นกล้า พรวนดิน ตักดิน ตักปุ๋ย2. ส้อมพรวน ใช้สำหรับพรวนดินให้ร่วนซุย3. กรรไกรตัดหญ้า ใช้สำหรับตัดหญ้าหรือตัดแต่งหญ้า4. กรรไกรตัดกิ่ง ใช้สำหรับตัดแต่งกิ่งไม้ให้สวยงาม5. บัวรดน้ำ ใช้สำหรับรดน้ำต้นไม้6. ถังน้ำ ใช้สำหรับตักน้ำหรือใส่น้ำเพื่อรดน้ำต้นไม้7. มีดดายหญ้า ใช้สำหรับดายหญ้าหรือลิดกิ่งไม้
เครื่องมือเกษตรที่ใช้กับงานดิน เครื่องมือเกษตรที่ใช้กับงานดิน 1. จอบ มี 2 ชนิด ได้แก่ จอบถาก หน้าจอตัดตรงน้ำหนักเบากว่าจอบขุด ใช้ถากหญ้า พรวนดินหรือย่อยดิน จอบขุด หน้าจอโค้งเว้าเล็กน้อย น้ำหนักมาก ใช้ขุดดิน ใช้สำหรับขุดดิน ถากหญ้าขุดแปลง หรือใช้สำหรับขุดหลุม ใหญ่ ๆ กรณีที่ใช้เสียมอาจจะทำให้ล่าช้าหรือไม่สามารถจะใช้เสียมขุดได้ เพราะดินแข็งเกินไป (จอบจะใช้งานค่อนข้างหนัก โดยเฉพาะจอบขุด) ความปลอดภัยในการใช้ ก่อนใช้ควรตรวจดูว่าจอบเข้าด้ามแน่นหนาหรือไม่ ขณะที่ ใช้จอบต้องระวังเพื่อนที่อยู่ข้างเคียงและเท้าของผู้ใช้ด้วย การทำความสะอาดและเก็บรักษา หลังจากใช้แล้วล้างทำความสะอาดและใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง ทาน้ำมันกันสนิมแล้วเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
เครื่องมือเกษตรที่ใช้กับงานดิน เครื่องมือเกษตรที่ใช้กับงานดิน 2. พลั่ว มี 2 ชนิด ได้แก่ พลั่วตัก หน้าจอตัดตรง ใช้ถากหญ้า พรวนดินหรือย่อยดิน พลั่วผสม หน้าพลั่วโค้งเว้า และมีปลาย แหลม ใช้ผสมดินหรือปุ๋ย ใช้สำหรับตักวัสดุที่ใช้ในการเกษตร เช่น ดิน ปุ๋ย ความปลอดภัยในการใช้ ก่อนใช้ควรตรวจดูว่าชำรุดหรือไม่ เพื่อจะได้ซ่อมให้เรียบร้อย ในขณะที่ใช้ตักดิน ควรระวังไม่ให้ถูกเท้าและคนข้างเคียง การทำความสะอาดและเก็บรักษา หลังจากการใช้ทุกครั้ง ล้างน้ำให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง ทาน้ำมันกันสนิมแล้วเก็บเข้าที่
เครื่องมือเกษตรที่ใช้กับงานดิน เครื่องมือเกษตรที่ใช้กับงานดิน 3. เสียม เสียม ใช้พรวนดิน ขุดดิน ขุดหลุม ขนาดเล็ก และขุดหลุมที่ลึก ใช้สำหรับขุดหลุมปลูกต้นไม้ ส่วนมากนิยมใช้ขุดหลุมขนาดเล็กลึก หรือใช้ในบริเวณแคบไม่เหมาะกับการใช้จอบ เวลาขุด ใช้มือทั้งสองข้างจับ ด้ามเสียมให้มือยู่ห่างกันพอสมควร แล้วกด ปลายเสียมลงไปในดิน การทำความสะอาดและเก็บรักษา ภายหลังการใช้ควรล้างทำความสะอาด เช็ดให้แห้ง ทาน้ำมันกันสนิมแล้วเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
เครื่องมือเกษตรที่ใช้กับงานดิน เครื่องมือเกษตรที่ใช้กับงานดิน 4. ส้อมพรวน ส้อมพรวน ใช้พรวนดินรอบ ๆ โคนต้น พืชที่มีขนาดเล็ก ใช้สำหรับพรวนดินรอบ ๆ ต้นพืช ไม่ควรใช้พรวนในดินแข็ง เพราะจะ หักและงอง่าย ความปลอดภัยในการใช้ ไม่ควรเล่นกันในขณะทำงาน เพราะส้อมพรวนมีความแหลมคม อาจจะได้รับอันตรายจากการใช้ได้ ถ้าผู้ใช้ขาด ความระมัดระวัง การทำความสะอาดและเก็บรักษา ภายหลังการใช้ควรล้างทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง ทาน้ำมันกันสนิมแล้วเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
เครื่องมือเกษตรที่ใช้กับงานดินเครื่องมือเกษตรที่ใช้กับงานดิน 5. ช้อนปลูก ช้อนปลูก ใช้ขุดหลุมที่มีขนาดเล็กย้ายต้น กล้า พรวนดิน ตักดิน ตักปุ๋ย และใช้ ผสมปุ๋ยกับดิน ใช้สำหรับขุดย้ายต้นกล้าไปปลูก ขุดหลุมปลูก หรือใช้ขุดและตักต้นกล้า เพื่อนำไปปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ การใช้ช้อนปลูกจะ ช่วยให้ต้นกล้าไม่ได้ รับความกระทบกระเทือน ความปลอดภัยในการใช้ ช้อนปลูกตอนปลายมีลักษณะแหลมและค่อนข้างคม ถ้าผู้ใช้ ไม่ระมัดระวังอาจเกิดอันตรายได้ การทำความสะอาดและเก็บรักษา ภายหลังการใช้ควรล้างทำความสะอาด เช็ดให้แห้ง ทาน้ำมันกันสนิมแล้วเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
เครื่องมือเกษตรที่ใช้กับงานดิน เครื่องมือเกษตรที่ใช้กับงานดิน 6. คราด คราด ใช้ลากหญ้าหรือใบไม้ที่ตัดทิ้งไว้ ออกจากแปลงปลูก ใช้ย่อยดินให้ ร่วนซุย และเกลี่ยหน้าดินให้เรียบ ใช้สำหรับย่อยดินและเก็บเศษหญ้า แต่งแปลงปลูก การจับคราดใช้มือ ทั้งสองจับด้ามคราดให้ห่างกันพอสมควร แล้วถึงเข้าหาตัว ความปลอดภัยในการใช้ ก่อนใช้ควรตรวจดูว่าคราดอยู่ในสภาพที่ใช้ได้หรือไม่ ขณะใช้ควรระมัดระวังไม่ให้ด้ามคราดไปถูกคนใกล้เคียง การทำความสะอาดและเก็บรักษา ภายหลังการใช้ควรล้างทำความสะอาด เช็ดให้แห้ง ทาน้ำมันกันสนิมแล้วเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
เครื่องมือเกษตรที่ใช้กับงานดิน เครื่องมือเกษตรที่ใช้กับงานดิน 7. บุ้งกี๋ บุ้งกี๋ ใช้ใส่ดิน ใส่ปุ๋ย เพื่อขนย้ายไปใย สถานที่ต่าง ๆ ความปลอดภัยในการใช้ ก่อนใช้ควรตรวจดูว่าหูหรือที่จับอยู่ในสภาพที่ใช้ได้หรือไม่ ขณะใช้ควรระมัดระวังไม่ควรใส่สิ่งต่างลงไปจนหนักเกินไป การทำความสะอาดและเก็บรักษา ภายหลังการใช้ควรทำความสะอาด ให้สะอาดเรียบร้อย เอาเศษดิน เศษหญ้าออกให้สะอาดเรียบร้อย
เครื่องมือเกษตรที่ใช้กับงานพืชเครื่องมือเกษตรที่ใช้กับงานพืช 1. มีดดายหญ้า มีดดายหญ้า ใช้ดายหญ้า หรือตัดกิ่งไม้ ใช้สำหรับดายหญ้าหรือถางหญ้าที่ขึ้นสูง ซึ่งไม่สามารถที่ จะใช้กรรไกร ตัดหญ้าได้ ความปลอดภัยในการใช้ ก่อนใช้ควรตรวจดูว่าด้ามแน่นดีหรือไม่ ขณะใช้มีดดายหญ้าต้องระมัดระวังให้มาก เพราะมีดดายหญ้ามีความคม อาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้และผู้ที่อยู่ข้างเคียง ควรคำนึงถึงรัศมีของมีด ไม่ควรใช้มีดดายหญ้าแกว่งเล่นหยอกล้อกัน การทำความสะอาดและเก็บรักษา เมื่อใช้มีดดายหญ้าแล้ว ควรล้างทำความสะอาดโดยใช้ผ้า เช็ดให้แห้ง ทาน้ำมันกันสนิม ด้วยจะช่วยรักษาคมมีดให้อยู่ได้ นาน แล้วเก็บเข้าที่
เครื่องมือเกษตรที่ใช้กับงานพืช เครื่องมือเกษตรที่ใช้กับงานพืช 2. สายยาง สายยาง ใช้รดน้ำต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่ การทำความสะอาดและเก็บรักษา เมื่อใช้เสร็จแล้ว ควรม้วนเก็บให้เรียบร้อย โดยไม่ให้มีรอยพับหรือหักงอ เพราะจะทำให้สายยางรั่วได้
เครื่องมือเกษตรที่ใช้กับงานพืช เครื่องมือเกษตรที่ใช้กับงานพืช 3. บัวรดน้ำ บัวรดน้ำ ใช้ดายหญ้า หรือตัดกิ่งไม้ ใช้สำหรับรดน้ำพืช น้ำที่ออกจากฝักบัวจะเป็นฝอยกระจายทั่วต้นพืช ทำให้พืชได้รับน้ำอย่างทั่วถึง และส่วนต่าง ๆ ของพืชไม่หักง่าย การใช้ บัวรดน้ำ ถ้าไม่ระมัดระวังจะเสียหายง่ายที่ส่วนคอของ ฝักบัวจึงควรจับ ที่หูหิ้วหรือที่มือจับเท่านั้น ความปลอดภัยในการใช้ ก่อนใช้ควรตรวจดูสภาพของบัวรดน้ำตรงที่มือจับหรือหูหิ้วเสียก่อน ถ้าชำรุดควรซ่อมให้เรียบร้อยก่อนนำไปใช้ และขณะที่ใช้ต้องจับถือให้แน่นเพื่อไม่ให้ตกลงเท้า การทำความสะอาดและเก็บรักษา ภายหลังการใช้แล้ว ควรล้างทำความสะอาดถังตัวถังและฝักบัว อย่าให้เศษหญ้าหรืออย่างอื่นอุดตัน แล้วคว่ำเก็บเข้าที่
เครื่องมือเกษตรที่ใช้กับงานพืช เครื่องมือเกษตรที่ใช้กับงานพืช 4. กรรไกรตัดหญ้า กรรไกรตัดหญ้า ใช้ตัดหรือตัดแต่งหญ้า หรือต้นไม้ที่มีลักษณะเป็นพุ่ม ใช้สำหรับตัดหญ้าหรือตกแต่งรั้วต้นไม้หรือตัดหญ้าในสนามที่มีมุมแคบ ความปลอดภัยในการใช้ ขณะที่ใช้ควรระมัดระวังคนที่อยู่ข้างเคียง ไม่ควรใช้มือจับ ใกล้โคนกรรไกรมากเกินไป มือจะพลาดไปถูกคมของกรรไกรได้ ขณะใช้ควรระวังไม่ให้ปลายกรรไกร ไปถูกผู้อื่นด้วย การทำความสะอาดและเก็บรักษา ภายหลังการใช้ควรล้างทำความสะอาดเช็ดให้แห้งทาน้ำมัน กันสนิม หยอดน้ำมันเก็บเข้าที่ โดยการแขวน
เครื่องมือเกษตรที่ใช้กับงานพืช เครื่องมือเกษตรที่ใช้กับงานพืช 5. กรรไกรตัดกิ่ง กรรไกรตัดกิ่ง ใช้ตัดกิ่งไม้ขนาดเล็กหรือ ตัดดอกไม้ ใช้สำหรับตัดแต่งกิ่งไม้ขนาดเล็ก เช่น กิ่งที่แห้งไม่ สมบูรณ์ เป็นโรคและแมลงกัดกิน หรือใช้ตัดแต่งพืชที่มีใบและกิ่งหนา เกินไป ก่อนใช้ควรปลดที่รัดสปริงออก ใช้มือที่ผู้ใช้ถนัดจับโดยใช้อุ้งมือบริเวณนิ้วหัวแม่มือบังคับกรรไกร ตอนบนในการตัดกิ่ง ความปลอดภัยในการใช้ ขณะตัดแต่งกิ่งควรใช้อย่างระมัดระวังโดยไม่ให้หลุดมือหรือ แกว่งเล่น การทำความสะอาดและเก็บรักษา ภายหลังการใช้ควรล้าง เช็ดทำความสะอาด ทาน้ำมันกันสนิม และหยอดน้ำมันตรงสปริงขากรรไกร แล้วเก็บเข้าที่โดยการแขวน
กรรไกรด้ามยาว ใช้ตัดแต่งหญ้าและต้นไม้ให้มีรูปทรงสวยงาม
กรรไกรกระตุก เป็นเลื่อยที่ใช้ในการตัดกิ่งไม้เท่านั้น ฟันเลื่อยถี่ ทำให้กิ่งไม้ไม่ช้ำหรือฉีกขาด
มีดติดตาต่อกิ่งและอุปกรณ์อื่นๆมีดติดตาต่อกิ่งและอุปกรณ์อื่นๆ
1.1 เครื่องฉีดพ่นสารอย่างง่าย
1.2 เครื่องฉีดพ่นสารแบบสะพายหลัง (knapsack sprayers)
1.3 เครื่องฉีดพ่นสารแบบอัดแรงดัน (compression sprayers)
1.4 เครื่องฉีดพ่นสารแบบใช้กำลังจากเครื่องยนต์(enginepoweredsprayers)
1.5 เครื่องฉีดพ่นสารแบบใช้กำลังจาก powertakeoff ของแทรคเตอร์
1.6 เครื่องฉีดพ่นสารแบบใช้น้ำน้อย (mist blower, ULV sprayer)
1.7 เครื่องฉีดพ่นสารจากเครื่องบิน (aircraft sprayers)
1.8 เครื่องฉีดสารเข้าไปในเนื้อไม้ (tree injectors)
เครื่องหว่าน (spreader, applicator หรือ distributor)
วิธีการใช้เครื่องมือเกษตรอย่างถูกต้อง ควรปฏิบัติดังนี้ 1. ควรศึกษาวิธีการใช้เครื่องมือเกษตรให้เข้าใจเสียก่อน2. ตรวจดูสภาพของเครื่องมือเกษตรให้อยู่ในสภาพดี3. ใช้เครื่องมือเกษตรอย่างระมัดระวัง และไม่ควรนำมาเล่นหยอกล้อกัน4. ใช้เครื่องมือเกษตรให้เหมาะสม และตรงกับลักษณะของงาน5. ไม่ควรนำเครื่องมือที่ชำรุดมาใช้งาน เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ได้
การดูแลและเก็บเครื่องมือเกษตรการดูแลและเก็บเครื่องมือเกษตร 1. ทำความสะอาดเครื่องมือเกษตรหลังจากใช้งานเสร็จแล้วทุกครั้ง2. เครื่องมือที่มีคม เช่น จอม เสียม กรรไกรตัดหญ้า ควรลับให้คมอยู่เสมอ3. เครื่องมือที่เป็นโลหะ ควรทาน้ำมันเพื่อป้องกันสนิม4. ไม่ควรวางเครื่องมือที่เป็นโลหะหรือสังกะสีไว้กลางแดดกลางฝน เพราะจะทำให้เกิดสนิมได้ง่าย5. เก็บเครื่องมือให้เป็นระเบียบ และสะดวกต่อการหยิบใช้
ดิน (soil) ความหมาย คือ วัตถุที่เกาะตัวกันเป็นกลุ่มก้อน รวมตัวกันเป็นชั้นๆ ปกคลุมผิวบนของเปลือกโลก สลายตัวของหินและธาตุ +อินทรียวัตถุ (ซากพืช+สัตว์) +ดิน + น้ำ + อากาศ
องค์ประกอบของดิน Noteดินที่เหมาะสมในการปลูกพืช ต้องมีทั้ง 4องค์ประกอบ หากขาดเพียงองค์ประกอบเดียวก็จะทำให้พืชเจริญเติบโตได้ช้า
1 อนินทรียวัตถุ เป็นส่วนที่เกิดจากชิ้นเล็กชิ้นน้อยของแร่และหินต่างๆ ที่สลายตัวโดยทางเคมี กายภาพ และชีวเคมี ทำหน้าที่เป็นแหล่งของธาตุอาหารให้กับพืช และเป็นอาหารของจุลินทรีย์ดิน 2 อินทรียวัตถุ ได้แก่ ส่วนที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังหรือการสลายตัวของเศษเหลือของพืชและสัตว์ที่ทับถมกันอยู่บนดิน ทำหน้าที่ เป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ดิน ให้พลังงานแก่จุลินทรีย์ดิน และควบคุมสมบัติทางกายภาพของดิน เช่น โครงสร้างดิน ความร่วนซุย การระบายน้ำและการแลกเปลี่ยนอากาศของดิน เป็นต้น มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำ 3 น้ำที่อยู่ในดินนั้น ทำหน้าที่ให้น้ำแก่พืช และช่วยละลายธาตุอาหารต่างๆ ในดิน และขนย้ายอาหารพืช 4 อากาศ ทำหน้าที่ให้ออกซิเจนแก่รากพืช และจุลินทรีย์ในการหายใจ
ประเภทของเนื้อดิน 1.มีอนุภาคขนาดใหญ่ ในช่องว่างในเนื้อดินมาก ถ่ายเทได้ดีมากจนเกือบจะอุ้มน้ำไม่ได้เลย แร่ธาตุอาหารมีน้อย ดินทราย (มากกว่า 0.05 mm ) 2. ไถพรวนง่าย อากาศถ่ายเทดี อุ้มน้ำได้ปานกลาง สามารถดูซับเอาแร่ธาตุที่จำเป็นต่อพืชไว้ได ้ ดินร่วน (0.02 0 – 0.05mm) 3. อนุภาคดินขนาดเล็ก จับตัวแน่น เมื่อแห้งจะแข็ง ดูดยึดธาตุอาหารได้ดีแต่ไถพรวนยาก ดินเหนียว ดินเนื้อละเอียด (0.02 mmลงไป)
ดินที่มีปัญหาต่อการเพาะปลูกดินที่มีปัญหาต่อการเพาะปลูก • ดินขาดก๊าซออกซิเจน ดินนา ดินพรุ • ดินที่มีชั้นหยั่งรากพืชไม่เหมาะสม หน้าดินตื้น ดินปนหิน ดินหินโผล่ ดินพรุ • ดินไม่กักเก็บน้ำ ดินทรายจัด ดินเหมืองแร่ร้าง ดินบ่อพลอย • ดินที่มีสารพิษ ดินที่มีสภาพกรดจัด ด่างจัด ดินเค็ม
การกู้พรุ 1.ระบายน้ำออกให้หมด ถมทรายและดินเหนียว ลงไป 60-90% ดินพรุ มีธาตุอินทรีย์ 20-99% 2. ทำคันดินล้อมรอบ 3.ก่อนปลูกพืช ปรับปรุง บำรุงดินด้วยปุ๋ยเคมีที่มีธาตุอาหารเสริม การกู้พรุ ****การแก้ปัญหาดินพรุต้องลงทุน และใช้เวลานาน พบมากในภาคใต้และภาคตะวันออก ****
1.ปูแผ่นพลาสติกข้างล่างก่อนทำแปลงหรือเตรียมแปลงปลูก1.ปูแผ่นพลาสติกข้างล่างก่อนทำแปลงหรือเตรียมแปลงปลูก ดินทรายจัด ใช้ปลูกพืชผักและผลไม้ที่มีรากสั้น เช่นกะหล่ำปลีสตรอเบอรี่ แคนตาลูปฯลฯ ใช้ขุดสระเก็บน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ญี่ปุ่นใช้ในการปลูกข้าวได้ผลผลิตดี
การแก้ปัญหา วิธีการ “แกล้งดิน”ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ศูนย์การศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จ.นราธิวาส • ระบายน้ำออกจากบริเวณดังกล่าวให้หมดตากดินให้แห้ง ปล่อยให้กรดกำมะถันเกิดเต็มที่ ดินกรดจัด 2.ใส่ปูนขาวลงไปในปริมาณมาก เพื่อปรับแก้ความเป็นกรดของดิน 3. ปล่อยให้น้ำท่วมขังนานประมาณ 1 เดือน ปลูกข้าว หรือพืชน้ำอื่นๆได้ การใส่ปูนขาวในดินมากเกินไป ดินจะเกิดความด่างจัด ดินขาดธาตุอาหารเสริม Fe Mn Cu ทันที ให้ปุ๋ยโดยฉีดพ่นทางใบ
2เลือกพืชทนเค็มที่เหมาะสมกับระดับความเค็มของดินมาปลูก เช่น ข้าว อ้อย ปาล์มน้ำมัน และมะพร้าวค่อยๆดูดซับเกลือออกจากดิน 3ควรให้ปุ๋ยทางใบ แทนการใส่ลงในดิน ดินเค็ม 1ระบายน้ำออกจากดินเค็มนานไป ดินจะลดความเค็มลงได้