800 likes | 1.73k Views
การจัดการสถานที่ผลิต และกระบวนการผลิต ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต ( GMP). รณชัย ยอดดำเนิน เทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี. หัวข้อ. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอันตรายในผลิตภัณฑ์อาหาร การจัดการสถานที่และกระบวนการผลิตตามหลักเกณฑ์ GMP หลักการของ GMP
E N D
การจัดการสถานที่ผลิต และกระบวนการผลิตตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต (GMP) รณชัย ยอดดำเนิน เทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
หัวข้อ • ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอันตรายในผลิตภัณฑ์อาหาร • การจัดการสถานที่และกระบวนการผลิตตามหลักเกณฑ์ GMP • หลักการของ GMP • ปัญหาที่พบบ่อยและวิธีการแก้ไข
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอันตรายในผลิตภัณฑ์อาหารความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอันตรายในผลิตภัณฑ์อาหาร • อันตรายในอาหารเกิดจากการปนเปื้อนของสารเคมี, ชีวภาพ (สิ่งมีชีวิต) หรือวัตถุทางกายภาพ ที่เกี่ยวข้อง หรือไม่เกี่ยวข้องกับอาหาร ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค • การปนเปื้อนในอาหาร แบ่งออกเป็น • การปนเปื้อนทางกายภาพ • การปนเปื้อนทางเคมี • การปนเปื้อนทางชีวภาพ
การปนเปื้อนลงสู่ผลิตภัณฑ์อาหารการปนเปื้อนลงสู่ผลิตภัณฑ์อาหาร ผู้ปฏิบัติงาน(หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง), วัตถุดิบ, สัตว์, แมลง ดิน, ฝุ่น แหล่งที่มาของสิ่งปนเปื้อน อวัยวะของผู้ปฏบัติงาน(หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง), อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต พาหะ, สิ่งที่นำพาการปนเปื้อนสู่ผลิตภัณฑ์ การปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์
การปนเปื้อนทางกายภาพ • เกิดจากวัสดุทางกายภาพ ที่โดยปกติไม่พบในอาหารชนิดนั้นๆ • อาจเป็นได้ทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต, จากผู้ปฏิบัติงาน หรือจากสิ่งแวดล้อมโดยรอบ • ตรวจพบได้ง่าย • ก่อให้เกิดอันตรายแบบฉับพลัน
ตัวอย่างของสิ่งปนเปื้อนทางกายภาพตัวอย่างของสิ่งปนเปื้อนทางกายภาพ
การปนเปื้อนทางเคมี • ตั้งใจใส่ลงไป เพื่อกระบวนการผลิต หรือรสชาติของอาหาร หรือจากสารเคมีอื่นๆที่ใช้ในกระบวนการผลิต แต่ใส่มากเกินกว่าที่กำหนด ทำให้เป็นอันตราย • ปนเปื้อนลงไปโดยไม่ตั้งใจ • ตรวจพบได้ง่าย กรณีที่มีการปนเปื้อนในปริมาณมาก • สามารถก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรง หรืออาจสะสมในร่างกายโดยไม่แสดงอาการ ขึ้นกับชนิดและปริมาณของสารเคมี
การปนเปื้อนทางชีวภาพ • การปนเปื้อนสิ่งมีชีวิต หรือสารพิษต่างๆที่สิ่งมีชีวิตสร้างขึ้น โดยทั่วไปมักเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อโรค เชื้อรา พยาธิต่างๆ • สามารถปนเปื้อนได้จากผู้ผลิตอาหาร และจากสิ่งแวดล้อม • โดยทั่วไป สิ่งมีชีวิตที่ปนเปื้อนมักจะไม่ทนต่อความร้อน กระบวนการผลิตที่ถูกต้อง โดยให้ความร้อนที่เหมาะสม จะสามารถลดอันตรายจากการปนเปื้อนชนิดนี้ได้
หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต (GMP) • เป็นหลักการที่ใช้ในการผลิตอาหารให้ปลอดภัยโดยป้องกันการปนเปื้อนทั้ง 3 ประเภท ทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นไปตามมาตรฐาน และปลอดภัยกับผู้บริโภค • กฎหมายระบุให้ผลิตภัณฑ์อาหาร 57 ชนิด จะต้องได้มาตรฐาน GMP (ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 193 (พ.ศ. 2543) และครอบคลุมชนิดของผลิตภัณฑ์อาหารเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ • ตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารที่กฎหมายนี้ควบคุม เช่น น้ำดื่ม น้ำแข็ง เครื่องดื่ม นม นมถั่วเหลือง ขนมปัง ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์
หลัก GMP ทั้ง 6 ข้อ 1 สถานที่ตั้งและอาคารผลิต 2 เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต 3 การควบคุมกระบวนการผลิต 4 การสุขาภิบาล 5 การบำรุงรักษาและทำความสะอาด 6 บุคลากร
การจัดการสถานที่และกระบวนการผลิตตามหลักเกณฑ์ GMP • สถานที่ตั้งและอาคารผลิต • หลักการ • ต้องไม่ตั้งอยู่ในที่ ที่สามารถก่อให้เกิดการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำการผลิต • อาคารผลิตมีขนาดเหมาะสม มีการออกแบบและก่อสร้างที่ง่ายต่อการบำรุงรักษา ทำความสะอาด ไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน และซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดีตลอดเวลา *** หากไม่เป็นไปตามข้อดังกล่าว จะต้องมีวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการปนเปื้อนต่างๆ
สถานที่ตั้งและอาคารผลิตสถานที่ตั้งและอาคารผลิต • ปัญหาที่พบ • มีพื้นที่อยู่แล้ว แต่ยังไม่มีอาคารผลิต ควรทำอย่างไร • วิธีการแก้ไข • เลือกบริเวณให้เหมาะสม โดยไม่อยู่ใกล้กับที่อยู่อาศัย ห้องน้ำ แหล่งสกปรก แล้วกำหนดขนาดของพื้นที่ให้เหมาะสมกับอาคารที่จะสร้างขึ้นใหม่ • พิจารณาถึงวิธีการผลิตที่จะใช้ เพื่อจะได้จัดทำรูปแบบอาคารให้เหมาะสม และถ้ามีการติดตั้งเครื่องจักร จะต้องพิจารณาร่วมกับการจัดวางเครื่องจักรให้ง่ายต่อการทำงานและการทำความสะอาดด้วย • ทำการกำหนดรูปแบบ และสร้างอาคาร โดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ก่อสร้างได้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ GMP
สถานที่ตั้งและอาคารผลิตสถานที่ตั้งและอาคารผลิต • ปัญหาที่พบ • มีอาคารอยู่แล้ว แต่ไม่ทราบว่าจะดำเนินการอย่างไร ให้เป็นไปตาม GMP • วิธีการแก้ไข • ทำความสะอาด กำจัดสิ่งของที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตออกจากภายในอาคาร รวมทั้งบริเวณโดยรอบ • กำหนดวิธีการผลิตคร่าวๆ เพื่อจะได้จัดแบ่งพื้นที่ภายในอาคารได้เป็นสัดส่วน และวางผังการผลิตภายในอาคาร โดยให้เส้นทางการเคลื่อนที่ของวัตถุดิบ เข้าสู่การผลิตแต่ละขั้นตอนจนกระทั่งเป็นผลิตภัณฑ์ เป็นเส้นตรง ตัวแอล (L) หรือไม่ซ้อนทับกัน • พิจารณาว่า อาจมีสิ่งใดจากตัวอาคาร หรือภายนอก ปนเปื้อนได้บ้าง แล้วทำการปรับปรุงเพื่อป้องกัน เช่น ติดม่านพลาสติก ติดกระจก กั้นห้อง ทำฝ้าเพดาน
การจัดการสถานที่และกระบวนการผลิตตามหลักเกณฑ์ GMP • เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต • หลักการ • ภาชนะหรืออุปกรณ์ที่สัมผัสกับอาหาร ต้องทำจากวัสดุที่ไม่ทำฏิกิริยากับอาหารอันอาจเป็นอันตรายกับผู้บริโภค และเพียงพอต่อการใช้งาน • การออกแบบติดตั้งเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ต้องเหมาะสม และคำนึงถึงการปนเปื้อนที่อาจเกิดขึ้น สามารถทำความสะอาดได้ง่ายและทั่วถึง
เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต • ปัญหาที่พบ • อุปกรณ์ที่ใช้อยู่ไม่เหมาะสม ไม่ทราบว่าเหมาะสมหรือไม่ • วิธีการแก้ไข • พิจารณาจากกระบวนการผลิต ว่าควรเลือกใช้อุปกรณ์ประเภทใด โดยทั่วไป อุปกรณ์ที่ใช้กับการผลิตอาหารควรทำมาจากสแตนเลส เนื่องจากทนต่อความร้อน ความเย็น กรด ด่าง ไม่เป็นสนิม และไม่ทำปฏิกิริยากับอาหาร • อุปกรณ์ควรเป็นชนิดที่ใช้กับอาหาร ซึ่งถูกออกแบบมาให้มีลักษณะโค้ง มน ไม่มีมุม ซอก หรือความขรุขระ ซึ่งจะทำให้ทำความสะอาดยาก
เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต • ปัญหาที่พบ • ไม่รู้จะติดตั้งเครื่องจักรที่มีอยู่ หรือที่จะซื้อมาใหม่อย่างไร • วิธีการแก้ไข • ควรแยกเครื่องจักรที่มีความร้อน ออกจากความเย็น ติดตั้งให้ง่ายต่อการทำงาน และทำความสะอาดได้โดยรอบ การเดินระบบท่อน้ำ ไฟฟ้า น้ำทิ้ง ต้องง่าย ไม่เกะกะ ถ้าเป็นเครื่องที่ไม่สามารถปกปิดได้ เช่นหม้อต้ม ไม่ควรอยู่ใกล้สิ่งที่อาจปนเปื้อนได้ เช่น หน้าต่าง ประตู หรือใต้หลอดไฟ
การจัดการสถานที่และกระบวนการผลิตตามหลักเกณฑ์ GMP • การควบคุมกระบวนการผลิต • หลักการ • มีการคัดเลือกวัตถุดิบและส่วนผสมที่สะอาด คุณภาพดี และมีวิธีการล้างทำความสะอาดเพื่อขจัดสิ่งสกปรกก่อนนำมาใช้งาน มีการเก็บรักษาและหมุนเวียนใช้งานอย่างเหมาะสม • น้ำ ไอน้ำ และน้ำแข็งที่สัมผัสสกับอาหาร ต้องมีคุณภาพเช่นเดียวกับน้ำดื่ม • มีการควบคุมกระบวนการผลิตที่จำเป็น อย่างเหมาะสม และมีการจดบันทึก
การควบคุมกระบวนการผลิตการควบคุมกระบวนการผลิต • ปัญหาที่พบ • ไม่ทราบว่าจะจัดการกับวัตถุดิบอย่างไรดี • วิธีการแก้ไข • คัดเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพที่เราคิดว่าดี แล้วจดข้อกำหนดนั้นไว้ เพื่อใช้คัดเลือกครั้งต่อๆไป หรือเลือกซื้อจากแหล่งที่มีการรับรองคุณภาพ • ล้างทำความสะอาดก่อนนำมาใช้งาน ทุกครั้ง • เก็บรักษาในสภาวะที่สามารถเก็บได้นาน เช่น แช่เย็น หรือเก็บในที่อากาศถ่ายเทได้ดี ไม่อับชื้น ไม่วางกับพื้น ไม่มีสัตว์และแมลงรบกวน • ของที่ซื้อมาก่อน ให้นำออกไปใช้ก่อน จะได้ไม่เป็นของเก่าเก็บ อาจเสื่อมเสีย
การควบคุมกระบวนการผลิตการควบคุมกระบวนการผลิต • ปัญหาที่พบ • จะจัดการเรื่องคุณภาพน้ำอย่างไรให้เหมาะสม • วิธีการแก้ไข • การซื้อน้ำดื่มมาใช้ในการผลิต เป็นการเพิ่มต้นทุน จึงควรนำน้ำที่ใช้มาปรับคุณภาพให้เทียบเท่าน้ำดื่ม และนำมาใช้ผลิตจะดีกว่า • ถ้าเป็นน้ำประปา (กปภ.) จะได้มาตรฐานอยู่แล้ว เพียงแค่นำมาใส่ภาชนะ รอให้คลอรีนระเหยจนหมดก็ใช้ได้ หรือหากเดินท่อไว้นานแล้ว อาจติดเพียงเครื่องกรองกลิ่น สี ตะกอน อย่างง่ายก็เพียงพอ • หากเป็นน้ำจากแหล่งน้ำอื่นๆ จะต้องตรวจสอบคุณภาพน้ำ และติดตั้งเครื่องปรับคุณภาพให้เหมาะสม (จะต้องทราบคุณภาพน้ำ ก่อนเลือกเครื่องทุกครั้ง)
การควบคุมกระบวนการผลิตการควบคุมกระบวนการผลิต • ปัญหาที่พบ • จะควบคุมกระบวนการผลิตอย่างไร อะไรบ้าง และจดบันทึกอย่างไร • วิธีการแก้ไข • สิ่งที่ส่งผลต่อผลิตภัณฑ์ เป็นสิ่งที่จะต้องถูกควบคุม เช่น เติมอะไรไปบ้าง ปริมาณเท่าไหร่ ใช้อุณหภูมิเท่าไหร่ในการผลิต เวลานานเท่าไหร่ และจดบันทึกไว้ทุกๆครั้งที่ทำการผลิต เพื่อการตรวจสอบ หากผลิตภัณฑ์มีปัญหา (หรือหากมี เจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ)
การจัดการสถานที่และกระบวนการผลิตตามหลักเกณฑ์ GMP • การสุขาภิบาล • หลักการ • มีห้องสุขาและอ่างล้างมือหน้าห้องอย่างถูกสุขลักษณะและ เพียงพอสำหรับผู้ปฏิบัติงาน มีอุปกรณ์ในการล้างมืออย่างครบถ้วน และแยกจากบริเวณผลิต • มีอ่างล้างมือและอุปกรณ์ล้างมืออย่างเพียงพอในบริเวณผลิต • มีวิธีการป้องกันและกำจัดสัตว์และแมลง • มีภาชนะรองรับขยะที่มีฝาปิดอย่างเพียงพอ และมีระบบกำจัดอย่างเหมาะสม • มีทางระบายน้ำทิ้ง หรือวิธีการระบายน้ำทิ้งอย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสม
การสุขาภิบาล • ปัญหาที่พบ • ห้องสุขา และอ่างล้างมือ อย่างไรจึงจะเพียงพอ และเหมาะสม • วิธีการแก้ไข • กรณีมีคนงาน 5-10 คน มีห้องสุขาเพียง 1-2 ห้องก็เพียงพอ ถ้ามากกว่านี้ ก็เพิ่มตามสัดส่วน 10 / 1 (โดยคร่าวๆ) • อ่างล้างมือที่เหมาะสม คือ เปิด-ปิดน้ำได้โดยไม่ต้องใช้มือ มีสบู่เหลว หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ มีผ้าสะอาด หรือกระดาษสำหรับเช็ดแห้ง
การสุขาภิบาล • ปัญหาที่พบ • จะป้องกัน กำจัดสัตว์และแมลงอย่างไร • วิธีการแก้ไข • ปิดช่องเปิดต่างๆให้เรียบร้อย ด้วยวิธีที่เหมาะสม เช่น ม่านพลาสติก มุ้งลวด • หากเป็นแมลงบิน อาจใช้ไฟล่อเข้าช่วย ถ้าเป็นแมลงคลาน หรือสัตว์พาหะ อาจใช้วิธีการกำจัดแหล่งอาศัย หรือกำจัดที่ตัวสัตว์พาหะนั้นๆ หากใช้สารเคมี ต้องใช้ให้ห่างจากบริเวณผลิต ถ้าจำเป็นต้องใช้ในบริเวณผลิต ต้องหยุดการผลิตตามข้อกำหนดของสารเคมีนั้นๆ
การสุขาภิบาล • ปัญหาที่พบ • จะจัดการกับการระบายน้ำอย่างไร • วิธีการแก้ไข • พื้นที่การทำงาน จะต้องมีความลาดเอียง เพื่อให้น้ำระบายออกไป (นิยมให้ออกไปด้านข้าง หรือด้านหลัง หรือไหลจากสกปรก ไปหาสะอาด เช่น ไหลจากส่วนของผลิตภัณฑ์ ไปหาจุดเริ่มต้นของการผลิต) • หากมีท่อระบายน้ำในพื้นที่ผลิต ควรอยู่ด้านข้าง และมีฝาปิด (อาจเป็นตะแกรงตาถี่ๆ) • ท่อระบายน้ำภายนอกอาคาร ต้องมีฝา หรือตะแกรงปิด • ต้องมีการทำความสะอาดท่อระบายน้ำอย่างสม่ำเสมอ
การจัดการสถานที่และกระบวนการผลิตตามหลักเกณฑ์ GMP • การบำรุงรักษาและทำความสะอาด • หลักการ • มีการทำความสะอาดและบำรุงรักษาอาคารสถานที่ผลิต อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตให้อยู่ในสภาพสะอาดถูกสุขลักษณะอย่างสม่ำเสมอด้วยวิธีที่เหมาะสม • มีการตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตเป็นประจำ • สารเคมีที่ใช้ในการล้างทำความสะอาด และฆ่าเชื้อต้องแยกเก็บให้เป็นสัดส่วน และแยกออกจากสารที่ใช้ในการผลิต และบริเวรผลิต
การบำรุงรักษาและทำความสะอาดการบำรุงรักษาและทำความสะอาด • ปัญหาที่พบ • ปกติก็มีการทำความสะอาดอยู่แล้ว จะเพียงพอ และเหมาะสมหรือไม่ • วิธีการแก้ไข • มีการกำหนดระยะเวลา และวิธีการทำความสะอาดอย่างชัดเจนในแต่ละพื้นที่ แต่ละอุปกรณ์ เช่น • ทำความสะอาดบริเวณผลิตทุกครั้งหลังเสร็จสิ้นการผลิต ด้วยการเก็บกวาดขยะ และถูพื้นด้วยน้ำสะอาด • ทำความสะอาดหม้อต้ม ด้วยน้ำสะอาด และน้ำยาล้างจาน แล้วคว่ำให้แห้ง ทุกครั้งหลังการใช้งาน
การบำรุงรักษาและทำความสะอาดการบำรุงรักษาและทำความสะอาด • ปัญหาที่พบ • จะตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องมืออะไรบ้าง และอย่างไร • วิธีการแก้ไข • เครื่องมือที่ต้องตรวจสอบ คือ เครื่องมือที่ส่งผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องวัดอุณหภูมิ นาฬิกาจับเวลา อุปกรณ์ชั่ง ตวง วัด • วิธีการตรวจสอบอย่างง่ายทำได้โดยตรวจสอบการทำงานกับอุปกรณ์อีกชิ้น เช่น เครื่องชั่ง 2 เครื่อง ตรงกันหรือไม่ วิธีการนี้สามารถทำได้สม่ำเสมอ หากพบความผิดปกติ จึงทำการส่งตรวจสอบที่หน่วยงานภายนอก เช่น หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง หรือสถาบันการศึกษาใกล้เคียง
การบำรุงรักษาและทำความสะอาดการบำรุงรักษาและทำความสะอาด • ปัญหาที่พบ • จะมีวิธีการควบคุมการใช้สารเคมี และแยกเก็บอย่างไร • วิธีการแก้ไข • สารเคมีทุกชนิด จะต้องมีการทำบัญชี ว่ามีอยู่เท่าไหร่ ใช้ไปในแต่ละครั้งเท่าไหร่ เหลือเท่าไหร่ • ที่ภาชนะบรรจุ จะต้องมีรายละเอียดว่าเป็นสารเคมีชนิดใด อันตรายหรือไม่ และวิธีการเก็บรักษาหรือป้องกันอันตรายทำอย่างไร • แยกเก็บให้ห่างจากสิ่งที่ใช้ในการผลิตอาหาร โดยควรแยกไว้ในอีกพื้นที่โดยเฉพาะ และมีป้ายบอก หรือป้ายเตือน
การจัดการสถานที่และกระบวนการผลิตตามหลักเกณฑ์ GMP • บุคลากร • หลักการ • ผู้ปฏิบัติงานในบริเวณผลิตต้องไม่เป็นโรคติดต่อหรือโรคน่ารังเกียจ หรือมีบาดแผลอันอาจก่อให้เกิดการปนเปื้อน • ผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่ทำการผลิตหรือเกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์สุขลักษณะที่ดี • มีการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสุขลักษณะทั่วไป และความรู้ทั่วไปในการผลิตอาหาร
บุคลากร • ปัญหาที่พบ • จะมีวิธีปฏิบัติอย่างไร เกี่ยวกับการป้องกันพนักงานซึ่งอาจมีโรคติดต่อ หรือบาดแผล • วิธีการแก้ไข • ผู้ประกอบการจะต้องให้พนักงานตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และเก็บผลตรวจสุขภาพไว้ • กรณีที่พบว่าพนักงานเป็นโรคติดต่อร้ายแรง ให้ย้ายไปทำหน้าที่อื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิต จนกว่าจะรักษาหายขาด • กรณีที่พบว่าพนักงานมีบาดแผล ให้ปิดบาดแผลให้เรียบร้อย แล้วให้ไปทำหน้าที่อื่นๆจนกว่าบาดแผลจะหาย
บุคลากร • ปัญหาที่พบ • หลักเกณฑ์สุขลักษณะที่ดีคืออะไร • วิธีการแก้ไข • หลักเกณฑ์สุขลักษณะที่ดี คือวิธีการปฏิบัติที่ทำให้ร่างกายของเราสะอาดอยู่เสมอ เช่น ไม่แคะ แกะ เกา ทำความสะอาดร่างกายอยู่เสมอ ใช้เสื้อผ้าที่สะอาด หรืออาจมีการใช้ผ้ากันเปื้อนที่สะอาด สวมหมวกคลุมผมเพื่อป้องกันเศษผมหลุดร่วง ไม่สวมใส่เครื่องประดับในระหว่างการผลิต
ตัวอย่าง การปฏิบัติตามสุขลักษณะที่ดีในการผลิต
ตัวอย่าง ข้อห้ามในการผลิต เพื่อสุขลักษณะที่ดี
บุคลากร • ปัญหาที่พบ • ควรปฏิบัติอย่างไรในหัวข้อการฝึกอบรม • วิธีการแก้ไข • ผู้ประกอบการควรจัดให้มีการอบรมให้กับพนักงานทั้งหมด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยอาจเชิญวิทยากรจากภายนอกมาอบรม แล้วเก็บเอกสารการอบรมไว้เป็นหลักฐาน • หัวข้อที่จำเป็นจะต้องอบรม คือ วิธีการผลิต สุขลักษณะในการผลิต กระบวนการผลิต เพื่อเน้นย้ำความเข้าใจ