340 likes | 507 Views
การ วางแผน ทินกร พูล พุฒ. การ วิเคราะห์สวอท ( SWOT analysis).
E N D
การวางแผน ทินกร พูลพุฒ
การวิเคราะห์สวอท (SWOT analysis) การบริหารเชิงกลยุทธ์เป็นวิธีการบริหารที่คำนึงถึงความสอดคล้องเหมาะสมขององค์การกับสภาวะแวดล้อม ฉะนั้นขั้นตอนสำคัญขั้นหนึ่งของการบริหารเชิงกลยุทธ์จึงเป็นการพิจารณาสภาวะแวดล้อมภายนอกและภายในองค์กร หรือเรียกว่า การวิเคราะห์สวอท(SWOT analysis) ซึ่งมีการวิเคราะห์แยกแยะปัจจัยจากสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ดังนี้
1. ปัจจัยภายใน เป็นปัจจัยที่องค์กรสามารถควบคุมได้1.1 จุดแข็ง (Strengths)1.2 จุดอ่อน (Weaknesses)
2. ปัจจัยภายนอก เป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมขององค์กร2.1 โอกาส (Opportunities)2.2 อุปสรรค (Threats)
การวิเคราะห์สวอท (SWOT analysis) เป็นการคัดเลือกและจัดระบบข้อมูลที่เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร หากองค์กรมีการจัดระบบข้อมูลที่ดียอมส่งผลให้การกำหนดกลยุทธ์กระทำได้ง่ายและสามารถใช้ข้อมูลที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีข้อควรพิจารณาในการวิเคราะห์ดังนี้
1. ควรวิเคราะห์แยกแยะให้ได้ปัจจัยที่มีความสำคัญ เป็นมูลเหตุของปัญหาจริง ๆ คือ เป็นปัจจัยที่มีประโยชน์ในเชิงนโยบาย สามารถนำไปกำหนดกลยุทธ์ที่สามารถทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายได้
2.การกำหนดปัจจัยไม่ควรนิยามของเขตของความหมายของปัจจัยให้มีความหมายคาบเกี่ยวกันระหว่างการเป็นปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยใน หรือระหว่างการเป็นจุดอ่อน หรือจุดแข็ง หรือโอกาส หรืออุปสรรค จำเป็นต้องตัดสินใจและชี้ชัดว่าปัจจัยที่กำหนดขึ้นมานั้นเป็นปัจจัยในกลุ่มใด ทั้งนี้เพราะปัจจัยต่างกลุ่ม(S,W,O,T) ก็ต้องการการกำหนดกลยุทธ์ที่ต่างกันไป
การพัฒนากลยุทธ์ กลยุทธ์ที่องค์กรจะนำไปปฏิบัติควรเป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุดและ/หรือเป็นกลยุทธ์ที่มีความเป็นไปได้สำหรับองค์กร โดยพิจารณาจากกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นจากข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์สวอท
1. กลยุทธ์ เอส-โอ (SO strategies) เป็นกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นโดยนำจุดแข็งขององค์กรมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเข้าไปฉกฉวยโอกาสจากปัจจัยภายนอกที่เอื้ออำนวย
2. กลยุทธ์ เอส-ที (ST strategies) เป็นกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นโดยนำจุดแข็งขององค์กรมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการลบล้างอุปสรรคจากสภาวะแวดล้อมภายนอก
3. กลยุทธ์ ดับบลิว-โอ (WO strategies) ป็นกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นโดยพยายามแก้ไขจุดอ่อนขององค์กร และพยายามฉกฉวยโอกาสจากปัจจัยภายนอกที่เอื้ออำนวย
4. กลยุทธ์ ดับบลิว-ที (WT strategies) เป็นกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นโดยพยายามแก้ไขจุดอ่อนขององค์กร เพื่อลบล้างอุปสรรค
การวิเคราะห์สวอท (SWOT analysis) • การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน - จุดแข็ง (Strengths)- จุดอ่อน (Weaknesses) • การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก- โอกาส (Opportunities)- อุปสรรค์ (Threats)
การพัฒนากลยุทธ์ • การกำหนดกลยุทธ์1.1 กลยุทธ์ เอส-โอ (SO strategies)1.2 กลยุทธ์ เอส-ที (ST strategies)1.3 กลยุทธ์ ดับบลิว-โอ (WO strategies)1.4 กลยุทธ์ ดับบลิว-ที (WT strategies) • การคัดเลือกกลยุทธ์
ความหมายการวางแผน หมายถึงกระบวนการวิเคราะห์และการตัดสินใจ ของผู้บริหารที่จะกำหนดวิธีการไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติให้บรรลุผลตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของการวางแผน • 1. ป้องกันมิให้เกิดปัญหาและความผิดพลาด • 2. ทำให้องค์การมีกรอบหรือทิศทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน • 3. ช่วยให้เกิดการประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร • 4. ช่วยให้การปฏิบัติงานรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ • 5.ช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นระบบ นักบริหารสามารถควบคุม ติดตามการปฏิบัติงาน ได้ง่าย
องค์ประกอบของการวางแผนองค์ประกอบของการวางแผน • การกำหนดจุดหมายปลายทาง (Ends) ที่ต้องการบรรลุ 1.1จุดมุ่งหมายหรือเป้าประสงค์ (Goals) 1.2 วัตถุประสงค์ (Objective) 1.3 เป้าหมาย(Targets)
2วิธีการและกระบวนการ(Means and Process) 2.1 กลวิธีการปฏิบัติ หรือมาตรการ (Strategy) 2.2แผนงาน (Programs) และโครงการ (Projects) 3 ทรัพยากร (Resources) และค่าใช้จ่าย (Cost) • การนำแผนไปปฏิบัติ (Implementation) • การประเมินผลแผน (Evaluation)
การวางแผนกลยุทธ์(Strategic Planning)
ความหมายของการวางแผนกลยุทธ์ความหมายของการวางแผนกลยุทธ์ การวางแผนยุทธศาสตร์ หรือ การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) เป็นกระบวนการตัดสินใจเพื่อกำหนดทิศทางในอนาคตขององค์กร โดยกำหนดสภาพการณ์ในอนาคตที่ต้องบรรลุและกำหนดแนวทางในการบรรลุสภาพการณ์ที่กำหนดบนพื้นฐานข้อมูลที่รอบด้านอย่างเป็นระบบ
การวางแผนกลยุทธ์ 1. องค์กรกำลังจะก้าวไปทางไหน (Where are you going?) 2. สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร (What is the environment?) 3. องค์กรจะไปถึงจุดหมายได้อย่างไร (How do you get there?)
กระบวนการการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning Processes) • 1) กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) • 2) กำหนดภารกิจหรือพันธกิจ (Mission) • 3) กำหนดเป้าประสงค์หรือจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา (Goal) • 4) กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์หรือยุทธศาสตร์ (Strategy) • 5) กำหนดกลยุทธ์หรือแนวทางการพัฒนา
“ยุทธศาสตร์” (Strategy)” หมายถึง “จุดหมายปลายทาง (End)” และ “วิธีการสู่จุดหมายปลายทาง (Means) เชิงนโยบาย” ซึ่งใช้ในการกำหนดนโยบายจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT) ตามหลักวิชาการ
“กลยุทธ์” (Strategies)” • หมายถึง “วิธีการสู่จุดหมายปลายทาง (Means) ระดับปฏิบัติการและเป็นแนวทางเพื่อตอบสนองวิธีการสู่จุดหมายปลายทางระดับนโยบาย”
วิสัยทัศน์ • เป็นข้อความแสดงภาพที่หน่วยงานอยากจะเป็นในช่วง 4-5 ปีข้างหน้าและเกิดจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและการวิเคราะห์ศักยภาพของหน่วยงาน ซึ่งมีข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพสนับสนุนการวิเคราะห์ (มิใช่ข้อความที่เป็น “คำขวัญ” ของหน่วยงาน หรือข้อความที่แสดงภาพเพ้อฝันที่ไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม)
พันธกิจ • เป็นข้อความระบุหน้าที่ความรับผิดชอบหรือบทบาทซึ่งกำหนดจะทำในช่วง 4-5 ปีข้างหน้าที่สอดคล้องกับกฎหมายการจัดตั้งหน่วยงาน
เป้าประสงค์หลักของหน่วยงาน • เป็นข้อความระบุกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการที่ชัดเจน และผลประโยชน์ที่กลุ่มเป้าหมายได้รับที่มีความสัมพันธ์กับพันธกิจโดยตรง
ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และผลผลิตของหน่วยงาน 1. ระดับยุทธศาสตร์ของรัฐบาล 2. ระดับยุทธศาสตร์กระทรวง 3. ระดับกลยุทธ์ระดับกรม 4. ระดับกิจกรรม
เทคนิคการเขียนคำที่ใช้ในยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และกิจกรรม คำกริยาที่ใช้เขียนยุทธศาสตร์ (ของรัฐบาลและของกระทรวง) ใช้คำกริยานามธรรม และต้องแสดงทิศทางของยุทธศาสตร์หรือนโยบาย เช่น - “ขยาย/เพิ่ม/พัฒนา”เพื่อการรุก - “ปรับปรุง” เพื่อการแก้ไขส่วนด้อย - “คงสภาพ” เพื่อการประคองตัว และ - “ตัดทอน” เพื่อการยุติส่วนที่ควรยกเลิก
คำกริยาที่ใช้เขียนกลยุทธ์คำกริยาที่ใช้เขียนกลยุทธ์ - “ส่งเสริม” หรือ “สนับสนุน” เพื่อขยายกลุ่มผู้รับผลประโยชน์ในสังคม - “เสริมสร้าง” หรือ “รักษาความเชี่ยวชาญ” หรือ “รักษาสถานภาพ” เพื่อคงสภาพ
การกำหนดค่าของตัวชี้วัด จำนวน (Number) ร้อยละ (Percentage) สัดส่วน (Proportion) อัตราส่วน (Ratio) อัตรา (Rate) ค่าเฉลี่ย (Average or Mean)