1.71k likes | 3.05k Views
ภาวะผู้นำทางวิชาการ สู่ … การพัฒนาคุณภาพ กศน . กุลธร เลิศสุริยะกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาหลักสูตร สำนักงาน กศน. กระแสทัศน์ทางสังคมของผู้บริหารการศึกษายุคใหม่ (ผู้นำทางวิชาการ). สังคมสารสนเทศ ( Information Society ) สังคมเศรษฐกิจแบบดิจิตอล ( Digital Economy )
E N D
ภาวะผู้นำทางวิชาการ สู่…การพัฒนาคุณภาพ กศน. กุลธร เลิศสุริยะกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาหลักสูตร สำนักงาน กศน.
กระแสทัศน์ทางสังคมของผู้บริหารการศึกษายุคใหม่ (ผู้นำทางวิชาการ) • สังคมสารสนเทศ (Information Society) • สังคมเศรษฐกิจแบบดิจิตอล (Digital Economy) • สังคมแห่งการเรียนรู้ (Knowledge Society) • สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge based Societyand Economy)
สถานการณ์ของประเทศไทยสถานการณ์ของประเทศไทย • เศรษฐกิจ : การเงิน / การลงทุน / การแข่งขัน • สังคม : ปัญหา / แนวทางการแก้ไข • การเมือง :ทิศทาง/นโยบาย / การกระจายอำนาจ ประชาคมอาเซียน • วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี • สิ่งแวดล้อม
ระบบการบริหารจัดการยุคใหม่ระบบการบริหารจัดการยุคใหม่ • การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี (GoodGovernance) • การบริหารแบบบูรณาการ (ChiefExecutiveOfficer-CEO) • การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result – OrientedManagement) • การบริหารองค์การการเรียนรู้ (LearningOrganizationManagement)
นโยบายสำคัญของรัฐบาล • พัฒนาขีดความสามารถเพื่อการแข่งขัน • รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ : E-office, E-leaning • พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน : ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน • การท่องเที่ยว : คุณภาพคน, การพัฒนาระบบต่างๆ • ศูนย์กลางการลงทุนในเอเซีย , การขนส่ง • สวัสดิการสังคม : การศึกษา, สุขภาพอนามัย, ที่อยู่อาศัย • ประเทศไทยไม่มีคนจน • ปฏิรูปการศึกษาและระบบราชการ
การทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์การทำงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ (RBMs) เป็นการบริหารโดยมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ หรือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากผลงานหรือบริการ โดยเป็นเครื่องมือในการบริหารที่ทำให้สามารถวัดผลการปฏิบัติงาน (Performance Measurement) ที่มีตัวชี้วัด (Indicators) ที่เป็นรูปธรรมในการแสดงถึงความสำเร็จของโครงการเพื่อพิสูจน์ความสำเร็จของโครงการ ผลสัมฤทธิ์เขียนเป็นสมการได้ดังนี้ ผลสัมฤทธิ์ (Results) = ผลผลิต (Outputs) + ผลลัพธ์ (Outcomes)
คุณภาพการศึกษา=ระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของสถานศึกษาผู้บริหาร เป็น ผู้นำทางวิชาการ+ผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้คุณภาพผู้เรียนเก่ง ดี มีความสุข
“เราต้องเตรียมเด็กและเยาวชนของเราให้เป็นประชากรของโลก (global citizen) ไม่ใช่เป็นเด็กไทยธรรมดา ต้องเป็นเด็กยุคโลกาภิวัฒน์ ถ้าจะเป็นอย่างนั้น สิ่งที่เป็นส่วนผสมสำคัญของเด็กที่จะต้องมี หนึ่งคือ ภาษาอังกฤษเพราะเป็นภาษาสากล สองคือ คอมพิวเตอร์หรืออินเตอร์เน็ต หรือจะเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Technology Literacy สามคือ ความเข้าใจในวัฒนธรรมนานาชาติ หรือที่เรียกว่า International Culture” (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ปาฐกถาพิเศษเรื่อง ทิศทางการศึกษาของเยาวชนไทยในอนาคต 27 กันยายน 2545)
“ถนนที่ลากจากอดีตมาถึงปัจจุบันนั้น อยู่คนละระนาบกับถนนที่ลากปัจจุบันไปสู่อนาคต แต่ถ้าเป็นทฤษฎีสมัยเก่าแล้ว เราก็จะลากเส้นจากอดีตมาถึงปัจจุบันแล้วก็ทำนายอนาคต ซึ่งทำนายผิดหมด เพราะส่วนประกอบของการเป็นอนาคตจากปัจจุบันนั้น กับส่วนประกอบที่เป็นปัจจุบันจากอดีตนั้นเป็นคนละส่วนประกอบ เพราะโลกได้เปลี่ยนไปอย่างแรง”(จากหนังสือเรื่อง The Road Ahead ของ Bill Gate)
IS POWER IS POWER IS POWER IS POWER IS POWER LAND MONEY INFORMATION KNOWLEDGE VISION
“ผู้นำเป็นทรัพยากรที่ขาดแคลนมากที่สุดในโลก และขาดแคลนมากที่สุดในองค์กร” “LEADERSHIP IS ACTION NOT POSITION” ภาวะผู้นำ คือ การลงมือกระทำมิใช่ตำแหน่ง” องค์กรเดิม องค์กรใหม่ ผู้นำสร้างการเปลี่ยนแปลง
ผู้นำ “นำการเปลี่ยนแปลง” โดยการสร้างความคิดใหม่! ด้วยวิธีการ • “คิดถึงสิ่งที่ไม่น่าจะคิด” • “คิดถึงสิ่งแปลกประหลาดที่ไม่น่าจะเป็นไปได้” ให้กับตนเอง ให้กับผู้อื่น นำองค์กรแบบ “Mission Impossible” ผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง คือ ผู้ค้นหาโอกาส + ผู้ทดลองเรียนรู้
กล้าหาญ เชื่อมั่นตนเอง ขยัน กระตือรือร้น ตรงต่อเวลา รอบคอบ วางแผนก่อนลงมือทำ เป้าหมายชัดเจน บุคลิกภาพที่ดี ขี้ขลาด ขี้กลัว ขี้เกียจ เฉื่อยชา ไม่รักษาเวลา มักง่าย ไม่วางแผน ไม่มีเป้าหมาย ไม่มีบุคลิกภาพ ผู้นำเปลี่ยนแปลงตนเอง ก่อนเปลี่ยนแปลงผู้อื่น
“คนที่อยู่ในระดับที่มีอำนาจตัดสินใจ มักเป็นพวกที่มี ความคิดแบบอนาล็อก ส่วนคนที่มีความคิดแบบดิจิตอลมักไม่อยู่ในระดับที่มีอำนาจตัดสินใจ เพราะฉะนั้น การเปลี่ยน แปลงประเทศอย่างประเทศเราจึงทำได้ยากและช้า" (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร การอภิปรายเรื่อง “สังคมไทยกับ Digital Economy 28 เมษายน 2542)
การผสมผสานจุดอ่อนและจุดแข็งการผสมผสานจุดอ่อนและจุดแข็ง (Perfect Matching) คน : ฉลาด แต่ช้ามาก คอมพิวเตอร์ : โง่ แต่เร็วมาก คน + คอมพิวเตอร์ : ฉลาดและเร็ว
ความเป็นผู้นำ • สร้างเป้าหมายที่ท้าทายเพื่อให้ทีมงานยอมรับและร่วมมือในการปฏิบัติงาน • ปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างต่อบุคลากรทั้งในและนอกองค์กร • ให้อำนาจต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในระดับที่เหมาะสม • ให้คำปรึกษาแนะนำ อย่างเป็นระบบต่อทีมงาน • โน้มน้าว ชักจูง โดยใช้ถ้อยคำที่เหมาะสม ให้ผู้อื่นเห็นชอบกับแนวทางการแก้ไขปัญหา วัตถุประสงค์ ข้อเสนอ หรือวิธีการวัดผลงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร
คุณลักษณะของผู้นำทางวิชาการคุณลักษณะของผู้นำทางวิชาการ • วิสัยทัศน์ของผู้นำ คือ แผนที่ประกอบการเดินทางไปสู่จุดหมายในอนาคต • เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ • มีความสามารถในการคิด / เชิงกลยุทธ์ • กล้าเปลี่ยนแปลง • บริหารงานด้วยความรู้ • มีความสามารถสอนงาน • แก้ปัญหาด้วยหลักวิชามากกว่าความรู้สึก • ยอมรับข้อบกพร่อง / พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง • เป็นผู้นำองค์กรแห่งการเรียนรู้ “วิสัยทัศน์ของผู้นำ คือ วิสัยทัศน์ขององค์กร”
ผู้นำทางวิชาการ “ใช้การสอนเป็นการนำ” การสอน คือ หัวใจของการนำ ผู้นำถือว่าการสอนเป็นบทบาทที่สำคัญที่สุด ผู้นำสอนคนผ่านสถานการณ์จริงและประสบการณ์ของตน การนำที่แท้จริงมิใช่ “การออกคำสั่ง” การนำ คือ การช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจสภาพการณ์จริงและวิธีการ ตอบสนองที่เหมาะสม ยิ่งถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่น ผู้นำยิ่งลึกซึ้ง กว้างขวาง มากขึ้น
เทคนิคการสอนงาน (Coaching) ความหมาย การสอนงาน คือ การพัฒนาทักษะความรู้ และ ทัศนคติ เพื่อทำให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ความสำคัญและประโยชน์ของการสอนงาน 1. ทำให้พนักงานทำงานได้ถูกต้อง รวดเร็ว ตรงเป้าหมาย 2. ช่วยลดความผิดพลาด ความสูญเสีย ทั้งด้านเวลาและค่าใช้จ่าย 3. ช่วยพัฒนาทักษะความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน 4. ช่วยพัฒนาทัศนคติ สร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน 5. ช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอน และผู้รับการสอน 6. ทำให้ผู้นำมีเวลามากขึ้น เพราะลูกน้องมีความสามารถในการทำงานเพิ่มขึ้น ช่วยแบ่งเบาภารกิจได้
การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ บุคคลแห่งการเรียนรู้หมายถึง ผู้ที่มีคุณลักษณะนิสัยใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความกระตือรือร้น สนใจเสาะ แสวงหาความรู้อยู่เสมอ มุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ และสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม การเรียนรู้อาจทำได้หลายวิธี เช่น อ่านหนังสือหรือวารสารที่มี ประโยชน์ ดูรายการโทรทัศน์หรือฟังวิทยุที่มีสาระ ค้นคว้าหาความรู้โดย ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซักถามข้อมูลจากผู้รู้ รวมทั้งสามารถ จับใจความสำคัญเพื่อแยกแยะและเลือกสาระข้อมูลที่ได้มาอย่างมีเหตุผล
ทักษะพื้นฐานสำคัญต่อการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานสำคัญต่อการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ 1. ทักษะการฟัง 2. ทักษะการถาม 3. ทักษะการอ่าน 4. ทักษะการคิด 5. ทักษะการเขียน 6. ทักษะการปฏิบัติ
ระบบการศึกษา ทรัพยากรและ กองทุนการศึกษา พ.ร.บ.การศึกษา พ.ศ. 2542 ระบบบริหาร การศึกษา การเรียนรู้ ครู อาจารย์ บทบาทหน้าที่ของผู้นำทางวิชาการ การปฏิรูป 5 ด้าน
การคิดเชิงกลยุทธ์ หมายถึง ความสามารถในการกำหนดแนวทางที่ดีที่สุด ภายใต้สภาวะต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ การคิดเชิงกลยุทธ์มีลักษณะเป็นกระบวนการความคิด เกิดขึ้นเมื่อมีเป้าหมาย บางอย่างที่ต้องการทำให้สำเร็จ การจะบรรลุเป้าหมายต้องมีการกำหนดทางเลือกที่คิดว่ามีโอกาสประสบความสำเร็จมากที่สุดโดย ประเมินกำลังความสามารถของตนเอง ประเมินสภาพแวดล้อม รวมทั้งต้องสามารถ คาดการณ์อนาคตที่อาจเกิดขึ้น แล้วจึง กำหนดทางเลือกกลยุทธ์ ที่คิดว่ามีโอกาสประสบความสำเร็จมากที่สุด เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายที่วางไว้
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การวางแผนกลยุทธ์เป็นกระบวนการซึ่งองค์กรพยายามที่สร้างอนาคตภาพของตนและพัฒนาแนวทางการดำเนินงาน ตลอดจนกรรมวิธีปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผล โดยเป็นการตัดสินใจในปัจจุบันที่จะส่งผลต่อไปในอนาคต มีลักษณะสำคัญคือ • การมุ่งเน้นอนาคต • การมุ่งเน้นจุดมุ่งหมายรวมขององค์กร • การมุ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย • การมุ่งเน้นพิจารณาภาพรวมมากกว่าพิจารณาแยกส่วน
การตัดสินใจ การตัดสินใจ (Decision – Making) หมายถึง การเลือกสรรทางเลือกที่ผู้บริหารเห็นว่าดีที่สุด เหมาะสมที่สุด จากบรรดาทางเลือกหลายๆ ทางเพื่อนำมาดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายโดยเกิดผลประโยชน์ต่อส่วนรวมมากที่สุด และเกิดผลเสียหายน้อยที่สุด การตัดสินใจนับว่าเป็นภารกิจสำคัญของผู้บริหารทุกระดับ
การบริหารการเปลี่ยนแปลงการบริหารการเปลี่ยนแปลง หมายถึง “ความสามารถของผู้บริหารในการดึงความร่วมมือของผู้บริหารระดับสูงและลดการต่อต้านจากบุคลากรระดับปฏิบัติการเพื่อสร้างสรรค์การเปลี่ยนแปลง” โดยทั่วไปการตอบสนองของมนุษย์ต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นสามารถแยกออกเป็น 3 รูปแบบ คือ 1. การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง 2. การไล่ตามการเปลี่ยนแปลง 3. การนำการเปลี่ยนแปลงมาใช้ให้เกิดประโยชน์
การบริหารทรัพยากร แนวความคิดเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากร : ดำเนินการเพื่อการใช้ทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุดเพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การ • ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าของทรัพยากร • วิธีการใช้ทรัพยากร • การบรรลุเป้าหมายขององค์การ
การบริหารจัดการหลักสูตรระดับสถานศึกษาการบริหารจัดการหลักสูตรระดับสถานศึกษา
การบริหารจัดการหลักสูตรระดับสถานศึกษาการบริหารจัดการหลักสูตรระดับสถานศึกษา 1. การเตรียมการ/ส่งเสริม/สนับสนุน 2. การพัฒนาหลักสูตร 3. การใช้หลักสูตร 4. การกำกับดูแลคุณภาพ การวิจัยและติดตามการใช้หลักสูตร แต่งตั้งคณะทำงาน จัดทำโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้และ แผนจัดการเรียนรู้ การนิเทศติดตามการใช้หลักสูตร พัฒนาครูในสถานศึกษา ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตร จัดสรรงบประมาณและทรัพยากร จัดกิจกรรมการเรียน การสอน การประกันคุณภาพภายใน จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม วัดและประเมินผล การเรียนรู้ การปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ส่งเสริมสนับสนุนทางวิชาการ ประกาศใช้หลักสูตร
1. การเตรียมการ/ส่งเสริม/สนับสนุน
1.1 การพัฒนาครูในสถานศึกษา • พัฒนาครูอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง • เน้นการสร้างความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ รวมทั้งการวัดและประเมินผลโดยมีมาตรฐานและตัวชี้วัดเป็นเป้าหมาย • พัฒนาโดยใช้รูปแบบที่หลากหลาย เช่น • การนิเทศทั้งแบบกลุ่มและรายบุคคล • การสอนแนะ (Coaching) • การศึกษาดูงาน • การฝึกอบรม • ฯลฯ
ขั้นตอนการพัฒนาครู • มอบหมายให้มีคณะทำงานด้านการพัฒนาครู • ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูและวางแผนการพัฒนาทั้งระยะสั้นและระยะยาว • ดำเนินการพัฒนาครูตามแผน โดยใช้รูปแบบที่หลากหลาย • ส่งเสริมสนับสนุนให้มีมุมหรือศูนย์รวมความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ครูได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเอง • ส่งเสริมให้ครูได้มีโอกาสเข้าอบรม แลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้บริหารเป็นที่ปรึกษาของครู ทั้งในด้านวิชาการและบริหารจัดการ
1.2 การสนับสนุนงบประมาณ/ทรัพยากร • จัดสรรงบประมาณสำหรับการพัฒนาหลักสูตร การติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตร รวมทั้งการพัฒนาบุคลากร และวัสดุอุปกรณ์ เอกสารต่าง ๆ ในการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ • จัดให้มีห้องเรียน สถานที่เรียน ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ และแหล่งเรียนรู้ อย่างเพียงพอและสอดคล้องกับความต้องการ • จัดสรรการใช้ทรัพยากรของสถานศึกษาได้อย่างเหมาะสมและคุ้มค่า โดยเฉพาะด้านการใช้อาคารสถานที่ต่าง ๆ • บริหารทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดครูเข้าสอน
1.3 การดำเนินงานแบบมีส่วนร่วม • ให้ฝ่ายต่าง ๆ ทั้งผู้ปกครอง ชุมชน ผู้บริหาร ครู และนักเรียน ได้มีส่วนร่วมในการวางแผน พัฒนาหลักสูตร และตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษา • สร้างบรรยากาศการร่วมคิด ร่วมทำ โดยจัดสรรเวลาให้ครูได้วางแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และพยายามลดภาระงานอื่น ๆ ของครู เพื่อให้มุ่งที่งานสอนเป็นหลัก • สร้างเครือข่ายให้เกิดการมีส่วนร่วมและการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา เช่น เครือข่ายผู้ปกครอง เครือข่ายสถานศึกษา เป็นต้น
1.4 การส่งเสริมสนับสนุนทางวิชาการ • จัดระบบการบริหารงานทางวิชาการ และโครงการที่จะส่งเสริมการเรียนรู้และคุณธรรม • สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ทั้งห้องสมุด แหล่งการเรียนรู้ มุมค้นคว้าสำหรับครูและนักเรียน การพัฒนาสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอน • สนับสนุนให้มีระบบข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อใช้ในการพัฒนาหลักสูตรและงานวิชาการ • ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครู • ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูได้นำเสนอหรือเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
2. การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
2.1 การแต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงาน • แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการของโรงเรียน • ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน • มีหน้าที่จัดทำหลักสูตร ใช้หลักสูตร และประเมินผลการใช้หลักสูตร
2.2 ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล • ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา เช่น • หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 • กรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น • สภาพ ปัญหา จุดเน้น และความต้องการของชุมชนและของโรงเรียน • ความต้องการของผู้เรียน
2.3 จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา • จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วย • วิสัยทัศน์ สมรรถนะสำคัญ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ • โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา • คำอธิบายรายวิชา • กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน • เกณฑ์การจบหลักสูตร พร้อมกันนี้สถานศึกษาจะต้องจัดทำเอกสารระเบียบการวัดและ ประเมินผลเพื่อใช้ควบคู่กับหลักสูตรสถานศึกษา
2.4 ประกาศใช้หลักสูตรสถานศึกษา • นำเสนอร่างเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา และระเบียบการวัดประเมินผล ต่อคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ • หากมีข้อเสนอแนะให้นำไปพิจารณาปรับปรุงร่างหลักสูตรสถานศึกษา • เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้วให้จัดทำเป็นประกาศหรือคำสั่งให้ใช้หลักสูตรสถานศึกษา โดยผู้บริหารและ/หรือประธานกรรมการสถานศึกษาเป็นผู้ลงนาม
3. การใช้หลักสูตรสถานศึกษา
3.1 การนำหลักสูตรสถานศึกษาไปใช้ • การดำเนินการก่อนการหลักสูตรสถานศึกษาไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ • กำหนดโครงสร้างรายวิชา • ออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบอิงมาตรฐาน • ออกแบบแผนจัดการเรียนรู้แบบอิงมาตรฐาน • กำหนดการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ • จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผนที่ได้กำหนดไว้ • วัดและประเมินผลการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้บริหารควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูผู้สอนทำการวิจัยในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
4. การกำกับดูแลคุณภาพ ระดับสถานศึกษา
4.1 การนิเทศ ติดตามการใช้หลักสูตร • สร้างความเข้าใจและทัศนคติเกี่ยวกับการนิเทศ ติดตามการใช้หลักสูตร • ผู้บริหารและครูร่วมกันกำหนดความต้องการในการนิเทศ กำกับ ติดตาม • กำหนดข้อตกลงและแผนการดำเนินการนิเทศติดตามร่วมกันอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม • ดำเนินการนิเทศ ติดตามอย่างเป็นระบบ ครบวงจร ทั้งในระดับ ชั้นเรียนและระดับสถานศึกษา อย่างต่อเนื่อง
4.2 การประกันคุณภาพภายใน • สถานศึกษาต้องจัดระบบประกันคุณภาพภายในที่เน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน • กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาที่ชัดเจน • จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ • ดำเนินการประกันคุณภาพอย่างต่อเนื่อง • รายงานผลเป็นระยะ ๆ • นำผลมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
4.3 การวิจัยและติดตามผลการใช้หลักสูตร • การวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา • ประเมินตัวหลักสูตร • การประเมินความต้องการจำเป็นในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพของนักเรียนในอนาคต เพื่อนำมาใช้กำหนดโปรแกรมการเรียนและเวลาเรียน • การประเมินความต้องการของพ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชนในการพัฒนาผู้เรียน เพื่อนำมาใช้กำหนดโปรแกรมการเรียนและโครงการต่าง ๆ34
4.3 การวิจัยและติดตามผลการใช้หลักสูตร • การวิจัยเพื่อประเมินผลการใช้หลักสูตร • ดำเนินการได้ทั้งระหว่างการใช้หลักสูตร และเมื่อนำหลักสูตรไปใช้เรียบร้อยแล้ว หรือติดตามจากผลผลิตของหลักสูตร (ผู้เรียนที่จบการศึกษาตามหลักสูตร) • กำหนดให้มีการประเมินการใช้หลักสูตรเป็นกิจกรรมหลักของสถานศึกษา • วางระบบเครือข่ายการทำงานและมอบหมายงานประเมินให้คณะผู้ปฏิบัติงานแต่ละคณะดำเนินการประเมินเป็นระยะ ๆ • สรุปผลการประเมินและนำผลมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
การวิจัยเพื่อประเมินผลการใช้หลักสูตรการวิจัยเพื่อประเมินผลการใช้หลักสูตร • การประเมินปัจจัยของการใช้หลักสูตร • การประเมินกระบวนการใช้หลักสูตร • การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
การประเมินปัจจัยของการใช้หลักสูตรการประเมินปัจจัยของการใช้หลักสูตร • เอกสารหลักสูตรสถานศึกษา • บุคลากร (ผู้บริหารและครู) • วัสดุ อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน • การวัดประเมินผล • การบริหารจัดการ • ฯลฯ
การประเมินกระบวนการใช้หลักสูตรการประเมินกระบวนการใช้หลักสูตร • เอกสารหลักสูตรตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ • โครงสร้างรายวิชา • หน่วยการเรียนรู้ • แผนการเรียนรู้ • การออกแบบและการจัดการเรียนรู้ของครู • การประเมินผลการเรียนรู้ • ฯลฯ