870 likes | 2.64k Views
ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม Small and Medium Enterprises : SMEs. รูปแบบธุรกิจ และการจัดตั้งธุรกิจขนาดย่อม. ประเภทของธุรกิจขนาดย่อม. 1. การผลิต (Manufacturing) 2 . การให้บริการ ( Providing Service ) 3 . การจำหน่าย ( Commercial ) การค้าส่ง ( Wholesaling ) การค้าปลีก ( Retailing ).
E N D
ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม Small and Medium Enterprises : SMEs
ประเภทของธุรกิจขนาดย่อมประเภทของธุรกิจขนาดย่อม 1. การผลิต (Manufacturing) 2. การให้บริการ (Providing Service) 3. การจำหน่าย (Commercial) • การค้าส่ง (Wholesaling) • การค้าปลีก (Retailing)
รูปแบบของการเป็นเจ้าของธุรกิจ SMEs 1. กิจการเจ้าของคนเดียว(Sole Proprietorship) กิจการเจ้าของคนเดียว เป็นธุรกิจที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของ และดำเนินงานเพื่อผลกำไร ด้วยรูปแบบการเป็นบุคคลธรรมดาที่สุด
รูปแบบของการเป็นเจ้าของธุรกิจ SMEs 2. ห้างหุ้นส่วน(Partnership) ห้างหุ้นส่วน คือ การประกอบการที่มีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ทำสัญญาร่วมกัน เพื่อวัตถุประสงค์ในการแบ่งผลกำไรระหว่างกัน
รูปแบบของการเป็นเจ้าของธุรกิจ SMEs 3. บริษัท จำกัด(Corporation) บริษัทจำกัด คือนิติบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ ในการแสวงหากำไร จากกิจการที่กระทำ โดยแบ่งทุน ออกเป็นหุ้น มีมูลค่าเท่ากัน และมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 7 คน แต่ ไม่เกิน 100 คน ผู้ถือหุ้นทุกคนต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่ เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ
คุณสมบัติของผู้เริ่มประกอบกิจการคุณสมบัติของผู้เริ่มประกอบกิจการ 1) มีความต้องการที่จะประสบความสำเร็จสูง 2) กล้าเสี่ยงในระดับปานกลาง 3) เป็นนักแก้ปัญหา เป็นผู้นำโดยธรรมชาติ 4) หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์ด้วยดี 5) ผู้มีความกระตือรือร้นสูง 6) มีความเชื่อมั่นในตัวเอง 7) มีความอดทน ต่อสู้กับงานหนัก
ขั้นตอนการจัดตั้งธุรกิจขนาดย่อมขั้นตอนการจัดตั้งธุรกิจขนาดย่อม 1) การวางแผนธุรกิจ 2) การตัดสินใจในการเริ่มต้นธุรกิจ 3) การเลือกและกำหนดทำเลที่ตั้ง 4) การเริ่มต้นธุรกิจ 5) การตลาดและนโยบายธุรกิจ 6) การดำเนินกิจการ 7) การจัดการด้านกฎหมายและความสัมพันธ์ระหว่าง ธุรกิจกับรัฐบาล
องค์ประกอบของแผนธุรกิจ : ภาพรวม • การวางแผนเป็นจุดรวมของการบริหาร เพื่อนำสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ (PDCA) ผลลัพธ์ สั้น ง่าย ชัดเจน วัดได้ เป็นไปได้ ประเมิน/ติดตาม วางแผน ปฏิบัติ
ความสำคัญของแผนธุรกิจความสำคัญของแผนธุรกิจ 1. แผนธุรกิจสำคัญในฐานะ ที่จะให้รายละเอียดของการเริ่มต้นธุรกิจ แผนธุรกิจทำให้ผู้ประกอบการมีเป้าหมายที่ชัดเจน กำหนดแนวทางของความคิด และช่วยให้ผู้ประกอบการต่อการใช้ทรัพยากรเพื่อไปสู่เป้าหมาย 2. แผนธุรกิจสำคัญในฐานะ เป็นเครื่องมือที่จะแสวงหาเงินทุนจากผู้ร่วมลงทุน จากกองทุนร่วมลงทุน และจากสถาบันการเงินต่าง ๆ 3. แผนธุรกิจสำคัญในฐานะ ที่เป็นเสมือนพิมพ์เขียวที่ให้รายละเอียดของกิจกรรมต่างๆ ทั้งกิจกรรมในการจัดหาเงินทุน กิจกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กิจกรรมการตลาด และอื่นๆ ในการบริหารกิจการใหม่ แผนธุรกิจยังใช้เพื่อกำหนดการปฏิบัติงานที่ต่อเนื่องในอนาคตของกิจการอีกด้วย
ประโยชน์ของการวางแผน • สำหรับเจ้าของ • เพื่อกำหนดเป้าหมาย • เพื่อกำหนดกลยุทธ์ • เพื่อกำหนดอนาคตกิจการ • สำหรับสถาบันการเงิน • เพื่อพิจารณาสินเชื่อ • เพื่อประเมินผลกิจการ • สำหรับนักลงทุน • เพื่อดูผลตอบแทน/หากเข้าร่วมลงทุน • สำหรับผู้ปฏิบัติงาน • เพื่อประสานงานและสร้างทีมงาน • เพื่อกำหนดวิธีแก้ปัญหา
องค์ประกอบของแผนธุรกิจ : ภาพรวม 1. บทสรุปผู้บริหาร 2. ภาพรวมของกิจการ 3. ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย 4. การวิเคราะห์ตลาด 5. กลยุทธ์และแผนการตลาด 6. การบริหารและการจัดการ 7. แผนการผลิต 8. แผนการเงิน 9. ทีมงานบริหาร 10. ความเสี่ยง 11. ประโยชน์ต่อชุมชน 12. ภาคผนวก
ส่วนประกอบของแผนธุรกิจส่วนประกอบของแผนธุรกิจ 1) ปกเอกสารของแผน (Cover page)ควรประกอบด้วย ที่อยู่ โทรศัพท์ วันที่วางแผน ซึ่งสามารถติดต่อได้ 2) สารบัญ (Table of content)แผนธุรกิจควรทำให้อ่านง่ายมากที่สุด การจัดสารบัญควรให้ถูกต้องในสิ่งที่ต้องการอ่าน 3) บทสรุปของผู้บริหาร (Executive summary)เป็นการสรุปย่อแผนธุรกิจเพื่อดึงความสนใจของผู้อ่านที่มีต่อธุรกิจ มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากที่สุด ประกอบด้วย ข้อมูลบริษัท (Company information) โอกาสทางการตลาด (Market opportunity) ข้อมูลการเงิน (Financial data)
4) บริษัทและอุตสาหกรรม (Company information) 5) ผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Products or services) 6) การวิจัยตลาดและการประเมินผล (Marketing research and evaluation) ต้องพิจารณาสิ่งนี้ ตลาด แนวโน้มตลาด การแข่งขัน ส่วนครองตลาด 7) แผนการตลาด (Marketing plan) การตั้งราคา การส่งเสริมการตลาด ช่องทางจำหน่าย นโยบายการให้บริการ ส่วนประกอบของแผนธุรกิจ
8) แผนการผลิตและการปฏิบัติการ (ทำเลที่ตั้ง, สิ่งอำนวยความสะดวก, นโยบายผลิตเองหรือซื้อ, ระบบของการควบคุม, กำลังแรงงาน) 9) ทีมการบริหาร (Management team) 10) กำหนดเวลา (Timeline) 11) ความเสี่ยงที่วิกฤตและสมมติฐาน (Critical risks and assumptions) 12) ผลประโยชน์ต่อชุมชน (Benefits to community) พัฒนาเศรษฐกิจ, พัฒนาชุมชน และพัฒนามนุษย์อย่างไร 13) แผนการเงิน (Financial plan) แหล่งได้มาใช้ไปของเงินทุน งบกระแสเงินสด, งบดุล 14 ) ภาคผนวก (Appendix) ประวัติ แผนผัง ส่วนประกอบของแผนธุรกิจ
ทำเลที่ตั้ง การวางผังและสิ่งอำนวยความสะดวก
ความหมาย • แหล่งที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์โดยรวมจากการเลือกทำเลที่ตั้งสูงสุดแต่เสียค่าใช้จ่ายต่ำสุด • แหล่งที่ทำให้ธุรกิจสามารถประกอบกิจกรรมได้โดยพิจารณากำไรค่าใช้จ่ายความสัมพันธ์กับลูกค้าพนักงานและปัจจัยอื่นๆ
การเลือกทำเลที่ตั้งสำหรับธุรกิจการผลิตการเลือกทำเลที่ตั้งสำหรับธุรกิจการผลิต 1) ที่ดิน ขนาดพื้นที่ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ 2) การขนส่ง พาหนะ ความสะดวกรวดเร็ว ค่าใช้จ่ายน้อย 3) ตลาด อยู่ใกล้แหล่งจำหน่าย 4) วัตถุดิบ หาได้ง่าย ราคาถูก มีคุณภาพ 5) แรงงานปริมาณความรู้ความชำนาญ 6) สาธารณูปโภคเลือกได้เหมาะสมกับธุรกิจ 7) ทัศนคติของชุมชนต่อธุรกิจ 8) การสนันสนุนของรัฐกฎหมายผังเมืองการส่งเสริมการลงทุน
การเลือกทำเลสำหรับธุรกิจเหมืองแร่การเลือกทำเลสำหรับธุรกิจเหมืองแร่ 1) แหล่งวัตถุดิบ 2) การขนส่ง 3) สาธารณูปโภค 4) ตลาด 5) การสนับสนุนของรัฐ 6) ทัศนคติของชุมชน 7) แรงงาน
การเลือกทำเลที่ตั้งสำหรับธุรกิจให้บริการการเลือกทำเลที่ตั้งสำหรับธุรกิจให้บริการ 1) ความสะดวกสบายในการเข้ารับบริการ 2) คล้ายกับธุรกิจค้าปลีก 3) ขึ้นอยู่กับชนิดของธุรกิจ
การเลือกทำเลที่ตั้งสำหรับธุรกิจค้าส่งการเลือกทำเลที่ตั้งสำหรับธุรกิจค้าส่ง 1) พื้นที่ในการจัดเก็บ 2) การขนส่ง 3) ตลาด 4) ศูนย์กลาง
การเลือกทำเลที่ตั้งสำหรับธุรกิจค้าปลีกการเลือกทำเลที่ตั้งสำหรับธุรกิจค้าปลีก 1) อยู่ใกล้ชิดผู้บริโภค 2) มีความต้องการสินค้าบริการ 3) จำนวนประชากร 4) นิสัยและพฤติกรรมการซื้อ 5) การแข่งขัน 6) ค่าเช่า
เป็นผู้ควบคุมดูแลในนิคมอุตสาหกรรมทั้งของรัฐบาลและเอกชน โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 เขต คือ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) 1) เขตอุตสาหกรรมทั่วไป 2) เขตนิคมอุตสาหกรรมส่งออก
ความหมายและความสำคัญของการวางผังโรงงานความหมายและความสำคัญของการวางผังโรงงาน คือการจัดเตรียม การกำหนดรูปแบบ การวางตำแหน่งของปัจจัยการผลิต เช่นตำแหน่งของเครื่องมือ เครื่องจักรพื้นที่สำหรับเก็บวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต พื้นที่สำหรับสิ่งอำนวยความสะดวก, สำหรับพนักงาน โดยติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสม ให้สามารถทำงานได้สะดวก เพื่อให้การดำเนินการผลิตหรือบริการด้วยความ ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด
เป้าหมายพื้นฐานของการวางผังโรงงานเป้าหมายพื้นฐานของการวางผังโรงงาน มีหลัก 6 ประการ • หลักการเกี่ยวกับกิจกรรมทั้งหมด • หลักการเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ในระยะทางที่สั้นที่สุด • หลักการเกี่ยวกับการไหลของวัสดุ • หลักการเกี่ยวกับการใช้พื้นที่ • หลักการเกี่ยวกับการทำให้คนงานมีความพอใจและ มีความปลอดภัย 6. หลักการเกี่ยวกับความยืดหยุ่น
ประเภทของการวางผังโรงงาน Types of Layouts • Product Layout : ตามชนิดผลิตภัณฑ์ • ผลิตภัณฑ์น้อยชนิดและผลิตปริมาณมาก Pass Production • Process Layout : ตามกระบวนการผลิต • เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้งานประเภทเดียวกันอยู่ด้วยกัน • มีความหลากหลายของผลิตภัณท์ แต่ปริมาณไม่มากนัก • Fixed Position Layout: ตามตำแหน่งงาน • ส่วนประกอบหลักอยู่กับที่ แล้วเคลื่อนย้ายเครื่องจักร อุปกรณ์ และ แรงงาน เข้าหา เช่น ต่อเรือ สร้างเครื่องบิน
การเลือกกระบวนการ • ความหลากหลาย(Variety) • ความยืดหยุ่น(Flexibility) • ปริมาณที่ต้องการ(Volume )
การคำนวณหาความต้องการกระบวนการการคำนวณหาความต้องการกระบวนการ • จะต้องพยากรณ์ความต้องการแต่ละผลิตภัณฑ์ • จะต้องทราบเวลาที่ใช้ในการผลิตต่อผลิตภัณฑ์ • จะต้องทราบจำนวนชั่วโมง,วันทำงานในหนึ่งปี และจำนวนผลัด
ตัวอย่างการหาจำนวนกระบวนการตัวอย่างการหาจำนวนกระบวนการ โรงงานมีเวลาทำงาน 8 ชม.ต่อผลัด, ทำงาน 250 วัน/ปี ต้องการหาจำนวนของเครื่องจักร ทำงาน 8 ชม.x250 วัน =2,000 ชม./ปี จำนวนเครื่องจักรที่ใช้ =5,800/2,000= 2.9 ~ 3 เครื่อง
การขจัดความเบื่อหน่ายในงานการขจัดความเบื่อหน่ายในงาน • การขยายงาน (Job enlargement) เป็นการให้คนเปลี่ยนไปทำงานอื่นในระดับเดียวกัน เป็นการกระจายงานในแนวราบ • การเพิ่มคุณค่าของงาน (Job enrichment) เป็นการเพิ่มความรับผิดชอบ เป็นการสอนการบริหารให้กับคนงานถือว่าเป็นการขยายงานในแนวดิ่ง • การหมุนเวียนงาน (Job rotation) เป็นการเปลี่ยนทักษะของงานใหม่ให้สูงขึ้นกว่าทักษะงานเดิม จะช่วยสร้างความยืดหยุ่นในการทำงาน
จุดที่ต้องเฝ้าระวังในโรงงานจุดที่ต้องเฝ้าระวังในโรงงาน Check point
ทางเดิน Walk ways • มากกว่า 80 เซนติเมตร และมีเส้นสีแสดงสัญลักษณ์หรือไม่ • สถานที่สำหรับวางของ มีสัญลักษณ์แสดงหรือไม่ • ผิวทางเดิน เปียก ลื่น หรือไม่ • แสงสว่าง เหมาะสมหรือไม่ • จุดที่เป็นทางผ่านของสายลำเลียง เพลา และ ท่อ มีสะพานข้าม หรือไม่ • ส่วนบนทางเดิน มีสิ่งกีดขวางที่อาจจะชนหรือไม่ • บริเวณทางเข้าออก มีสิ่งกัดขวาง การเข้าออกหรือไม่ • มีของกองขวางทางออกฉุกเฉินหรือบันไดหนีไฟหรือไม่
บริเวณที่ทำงาน Working Area • เมื่อเปียกน้ำแล้วลื่นง่ายหรือไม่ • มีรอยขรุขระหรือรอยชำรุดเสียหายหรือไม่ • มีท่อระบายน้ำที่ไม่มีฝาปิดหรือไม่ • การเดินสายไฟ ท่อต่าง ๆ เป็นระบบฝังอยู่ใต้ดินหรือไม่ • มีวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และเศษวัสดุ กระจายอยู่ตามพื้นหรือไม่
Pit(ช่องเปิด หรือ หลุม ชั้นลอย) • บริเวณที่สูง 2 เมตรขึ้นไป มีพื้นติดตั้งอยู่หรือไม่ • พื้นมีความแข็งแรง ไม่มีช่อง รอยแตก ชำรุด และผุกร่อนหรือไม่ • บริเวณรอบพื้นและรอบช่องเปิด มีราวกันตกหรือราวจับที่มีความสูง 90 เซนติเมตร ขึ้นไปติดตั้งหรือไม่
ทางเดินขึ้นบันไดและทางลาด Stairs and Ramps • สามารถขึ้นลงได้ง่ายหรือไม่ • มีน้ำมัน โคลน เปรอะเปื้อนหรือไม่ • แถบกันลื่นชำรุดหรือเสียรูปหรือไม่ • เหนือบันไดมีสิ่งกีดขวาง เช่น ท่อ ติดตั้งอยู่หรือไม่ สิ่งกีดขวางเหนือบันไดไม่เกิน 2.2 เมตรควรต้องย้ายออก หรือพันด้วยนวมกันกระแทก และติดเครื่องหมาย เหลืองสลับดำ • ความสูงของราวจับเหมาะสมหรือไม่ ความสูงของราวจับควรจะอยู่ในระดับสูงจากผิวหน้าขั้นบันไดไม่ต่ำกว่า 76 เซนติเมตรและไม่เกิน 86 เซนติเมตร • ความชันของบันไดควรทำมุมประมาณ 30 -38 กับแนวราบ ขั้นบันไดควรมีความกว้างประมาณ 23 เซนติเมตรความสูงของบันไดแต่ละขั้นควรจะประมาณ 13-20 เซนติเมตร
อุณหภูมิและความชื้น Temperature and Moisture • อุณหภูมิมากกว่า 28°C มีการใช้เครื่องปรับอากาศหรือไม่ • อุณหภูมิต่ำกว่า 5°C มีการใช้เครื่องทำความร้อนหรือไม่ • ความชื้นสัมพันธ์มากกว่า 85% ขึ้นไป มีการปรับความชื้นหรือไม่ • มีการระบายความร้อนออกสู่บรรยากาศโดยตรงหรือไม่ • มีมาตราการป้องกันพนักกงานจากการแผ่รังสีความร้อนหรือไม่ • การพ่นละอองน้ำเพื่อเพิ่มความชื้น ใช้น้ำบริสุทธิ์หรือไม่
ความสว่าง Light • ความสว่างที่โต๊ะทำงานพอเหมาะหรือไม่ • มีความแตกต่างของส่วนที่สว่างกับส่วนที่มืดต่างกันมากหรือไม่ • ไฟจากด้านหน้าส่องเข้าตาเกินไปหรือไม่ • ข้างในและนอก ประตูมีความสว่างต่างกันมากหรือไม่ • หลอดไฟสกปรก ชำรุดหรือไม่
การระบายอากาศและเครื่องระบายอากาศการระบายอากาศและเครื่องระบายอากาศ • มีปริมาณอากาศในพื้นที่ที่ทำงานมากกว่า 10 ลูกบาศก์เมตรต่อคนหรือไม่ • มีพื้นที่ของหน้าต่างระบายอากาศมากกว่า 1/20 ของพื้นที่หรือไม่ • พัดลมระบายอากาศ ตามจุดต่างๆ ทำงานมีประสิทธิภาพหรือไม่ • มีการวางของกีดขวางบังทิศทางลมหรือไม่ • หน้าต่าง ประตู อยู่ในสภาพที่เปิด ปิดได้ง่ายหรือไม่