1 / 78

หัวเรื่อง : หน้าวัตถุประสงค์รายวิชา

File : obj_Law202.swf. หัวเรื่อง : หน้าวัตถุประสงค์รายวิชา. ยินดีต้อนรับเข้าสู่ วิชา น. 202 กฏหมายลักษณะทรัพย์สิน. วัตถุประสงค์ของการศึกษา. 1. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการครอบครอง 2. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของกรรมสิทธิ์

dexter-koch
Download Presentation

หัวเรื่อง : หน้าวัตถุประสงค์รายวิชา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. File : obj_Law202.swf หัวเรื่อง : หน้าวัตถุประสงค์รายวิชา ยินดีต้อนรับเข้าสู่ วิชา น. 202กฏหมายลักษณะทรัพย์สิน วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการครอบครอง 2. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของกรรมสิทธิ์ 3. ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิเสมือนกรรมสิทธิ์ 4. เมื่อผู้เรียนเรียนวิชานี้แล้วผู้เรียนจะรู้ และเข้าใจการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ ในทางที่ถูกต้อง Enter Course • แสดงMascot และ ข้อความ ให้สัมพันธ์กับเสียงบรรยาย • เมื่อคลิกปุ่ม Enter Course ลิ้งค์ไปไฟล์ Law202_main menu.swf สวัสดีครับนักศึกษา ขอต้อนรับนักศึกษาเข้าสู่วิชา กฎหมายลักษณะทรัพย์สิน นะครับ ในการศึกษารายวิชานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการ ครอบครอง ในเรื่องของกรรมสิทธิ์ ในเรื่องสิทธิเสมือนกรรมสิทธิ์ และที่สำคัญนักศึกษา สามารถนำไปความรู้ที่ได้ศึกษาไปใช้ในทางที่ถูกต้องค่ะ

  2. File : Law202_main menu.swf หัวเรื่อง : หน้าสารบัญหลัก สารบัญหลัก • บทที่ 8 สิทธิเสมือนกรรมสิทธิ์ • บทที่ 9 ทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น • บทที่ 10 สิทธิอาศัย • บทที่ 11 สิทธิเหนือพื้นดิน • บทที่ 12 สิทธิเก็บกิน • บทที่ 13 ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ • บทที่ 1 สิทธิครอบครอง • บทที่ 2 การครอบครองปรปักษ์ • บทที่ 3 ขอบเขตแห่งกรรมสิทธิ์ • บทที่ 4 เจ้าของหลายคน • บทที่ 5 การได้กรรมสิทธิ์โดยนิติกรรม • บทที่ 6 การได้กรรมสิทธิ์มาโดยผลของกฎหมาย • บทที่ 7 การได้กรรมสิทธิ์ตามหลักคุ้มครองบุคคลภายนอก  คลิกบทเรียนที่ต้องการศึกษา • Mouse over ที่ปุ่ม แสดง active buttom เสียง music background

  3. File : obj_Law202_1.swf หัวเรื่อง : หน้าวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ยินดีต้อนรับเข้าสู่ บทที่ 1 สิทธิครอบครอง วัตถุประสงค์การเรียนรู้ นักศึกษาสามารถมีความรู้ ความเข้าใจ ความเบื้องต้นของสิทธิครอบครอง นักศึกษาสามารถมีความรู้ ความเข้าใจ การครอบครอง นักศึกษาสามารถ มีความรู้ ความเข้าใจ การสิ้นสุดแห่งการครอบครอง Enter Course • แสดงMascot และข้อความ • เมื่อคลิกปุ่ม Enter Course ลิ้งค์ไปไฟล์ Law202_1_home.swf สวัสดีครับนักศึกษา ยินดีต้อนรับนักศึกษาเข้าสู่บทแรกของวิชานี้กันนะคะ บทที่หนึ่ง เรื่อง สิทธิครอบครองวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของบทนี้มีดังต่อไปนี้ค่ะ

  4. File : Law202_U1_home.swf หัวเรื่อง : หน้าสารบัญบทที่ 1 สารบัญบท 1. ความเบื้องต้น 2. การครอบครอง 3. สิทธิครอบครอง 4. การสิ้นสุดแห่งการครอบครอง  คลิกบทเรียนที่ต้องการศึกษา • Mouse over ที่ปุ่ม แสดง active bottom • คลิก ความเบื้องต้นลิงค์ไป File : Law202_1_1.swf • คลิก การครอบครอง ลิงค์ไป File : Law202_1_19.swf • คลิกสิทธิครอบครอง ลิงค์ไป File : Law202_1_22.swf • คลิก การสิ้นสุดแห่งการครอบครองFile : Law202_1_31.swf เสียง music background

  5. 1. ความเบื้องต้น 5 File : Law202_U1_1.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 1.1 ความสำคัญของกฎหมายลักษณะการครอบครอง กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน • การครอบครองทำให้เจ้าของทรัพย์ได้รับ ประโยชน์ตามความเป็นจริงตามสิทธิที่ ตนมีอยู่ตามมาตรา 1336 Glossary  • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “...ลักษณะการครอบครอง คือ มีบทบาท...” ปรากฎภาพหนังสือกฎหมาย พร้อมข้อความ “กฎหมายมหาชน” และ “กฎหมายเอกชน” กำกับที่ภาพ • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “...การครอบครองได้ทำให้เจ้าของทรัพย์ได้รับประโยชน์...” ปรากฎข้อความ • เมื่อ Roll over ที่ปุ่ม Glossary ปรากฎคำว่า “Glossary” ขึ้น และเมื่อคลิก ปรากฎ บทบัญญัติมาตรา 1336 • เมื่อบรรยายจบปรากฎให้เฟดเนื้อหาในสไลด์ถัดไปเข้ามา ความสำคัญของกฎหมายลักษณะการครอบครอง คือ มีบทบาทสำคัญทั้งในกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายในลักษณะทรัพย์ การครอบครองได้ทำให้เจ้าของทรัพย์ได้รับประโยชน์ตามความเป็นจริงตามสิทธิที่ตนมีอยู่ตามมาตรา 1336 นักศึกษาสามารถคลิกปุ่ม Glossary เพื่อศึกษาบทบัญญัติในมาตรานี้ได้นะคะ

  6. 1. ความเบื้องต้น 6 File : Law202_U1_1.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 1.1 ความสำคัญของกฎหมายลักษณะการครอบครอง • การครอบครองทำให้เจ้าของสามารถใช้สิทธิขัดขวาง ได้ด้วยการใช้พละกำลังของตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพา เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือศาล ในการขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นมา แย่งเอาทรัพย์ของตนไป “ผู้ครอบครองสามารถขัดขวาง ไม่ให้ผู้อื่นเอาทรัพย์ของตนไป” • แสดงภาพ • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “...การครอบครองนั้นทำให้เจ้าของสามารถใช้...” ปรากฎข้อความ • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “...เจ้าของสามารถใช้สิทธิขัดขวาง...” • ปรากฎข้อความที่ระบุใต้ภาพ • เมื่อบรรยายจบปรากฎให้เฟดเนื้อหาในสไลด์ถัดไปเข้ามา กรรมสิทธิ์ที่ปราศจากการครอบครองย่อมเป็นสิทธิอยู่แต่ในนามตามกฎหมายเท่านั้น การครอบครองนั้นทำให้เจ้าของสามารถใช้สิทธิขัดขวางได้ด้วยการใช้พละกำลังของตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือศาลในการขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นมาแย่งเอาทรัพย์ของตนไป

  7. 1. ความเบื้องต้น 7 File : Law202_U1_1.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 1.1 ความสำคัญของกฎหมายลักษณะการครอบครอง • ถ้าทรัพย์นั้นอยู่ในการครอบครองของผู้อื่น ถึงแม้ว่าผู้อื่นได้การครอบครองไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย  • ทำได้แต่เพียงใช้สิทธิติดตามด้วยการเรียกร้องให้บุคคล ที่ยึดถือทรัพย์อยู่โดยมิชอบคืนทรัพย์นั้นให้แก่ตน • หากบุคคลนั้นไม่ปฎิบัติตาม เจ้าของต้องพึ่งพาเจ้าหน้าที่ ของรัฐหรือศาลให้จัดการในเรื่องนี้  • ปรากฏข้อความ Bullet แรก พร้อมภาพลำดับแรก • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “...เจ้าของทำได้แต่เพียงใช้สิทธิ...” ปรากฎ ข้อความ Bullet ที่สอง • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “...เจ้าของไม่สามารถใช้พละกำลัง...” • ปรากฎ กากบาท สีแดงทับภาพ • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “...หากบุคคลนั้นไม่ปฏิบัติตาม...” • ปรากฎ ช้อความ Bullet ที่สาม พร้อม ลูกศร เคลื่อนที่แล้วปรากฎ ภาพลำดับที่สาม พร้อม เครื่องหมายถูกสีเขียว • เมื่อคลิกปุ่ม next ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_2.swf แต่ถ้าทรัพย์นั้นอยู่ในการครอบครองของผู้อื่น ถึงแม้ว่าผู้อื่นได้การครอบครองไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม เจ้าของไม่สามารถใช้พละกำลังของตนเองไปแย่งเอาทรัพย์นั้นกลับคืนมา เจ้าของทำได้แต่เพียงใช้สิทธิติดตามด้วยการเรียกร้องให้บุคคลที่ยึดถือทรัพย์อยู่โดยมิชอบคืนทรัพย์นั้นให้แก่ตน หากบุคคลนั้นไม่ปฎิบัติตาม เจ้าของต้องพึ่งพาเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือศาลให้จัดการในเรื่องนี้ค่ะ

  8. 1. ความเบื้องต้น 8 File : Law202_U1_2.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 1.1 ความสำคัญของกฎหมายลักษณะการครอบครอง การครอบครองทำให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของ ในทรัพย์สินหาย ในทรัพย์สินของผู้อื่น • ตามบทบัญญัติ... มาตรา 1318-1323, 1323-1326 และ 1382 -1383 Glossary  • เริ่มพูด พร้อมแสดง Mascot และบอลลูนข้อความ • ปรากฏข้อความให้สอดคล้องกับเสียงบรรยาย • เมื่อ Roll over ที่ปุ่ม Glossary ปรากฎคำว่า “Glossary” ขึ้น และเมื่อคลิก ปรากฎ บทบัญญัติ มาตรา 1318-1323, 1323-1326 และ 1382 –1383 • เมื่อบรรยายจบปรากฎให้เฟดเนื้อหาในสไลด์ถัดไปเข้ามา นอกจากนี้นักศึกษาทราบมั้ยครับว่า การครอบครองนั้น ยังทำให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีเจ้าของ ในทรัพย์สินหาย ในทรัพย์สินของผู้อื่น ดังที่ปรากฎในมาตรา 1318 ถึง 1323, 1323 ถึง 1326 และ 1382 ถึง 1383 นักศึกษาสามารถศึกษาบทบัญญัติมาตราต่างๆ ที่กล่าวถึงได้จาก Glossary นะค่ะ

  9. 1. ความเบื้องต้น 9 File : Law202_U1_2.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 1.1 ความสำคัญของกฎหมายลักษณะการครอบครอง การครอบครองเป็นการแสดงออกถึงความเป็นเจ้าของ • บุคคลใดมารับโอนสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีทะเบียนไป จากผู้ครอบครอง โดยได้การครอบครองไปโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทนย่อมมีสิทธิดีกว่าผู้อื่น ตามมาตรา 1303 วรรคแรก • เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 1303 วรรค 2 จึงจะไม่ได้รับการคุ้มครองให้มีสิทธิดีกว่า สังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีทะเบียนแสดงกรรมสิทธิ์ Glossary  • ปรากฏข้อความให้สอดคล้องกับเสียงบรรยาย • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “...ในสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีทะเบียน...” ปรากฎภาพ พร้อมข้อความกำกับใต้ภาพ • จากนั้นปรากฎข้อความทั้งสอง Bullet ให้สัมพันธ์กับเสียงบรรยาย • เมื่อ Roll over ที่ปุ่ม Glossary ปรากฎคำว่า “Glossary” ขึ้น และเมื่อคลิก ปรากฎ บทบัญญัติ มาตรา 1303 • เมื่อบรรยายจบปรากฎให้เฟดเนื้อหาในสไลด์ถัดไปเข้ามา การครอบครองยังเป็นตัวแสดงออกถึงความเป็นเจ้าของในสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีทะเบียนแสดงกรรมสิทธิ์ บุคคลใดมารับโอนสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีทะเบียนไปจากผู้ครอบครอง โดยได้การครอบครองไปโดยสุจริต และเสียค่าตอบแทนย่อมมีสิทธิดีกว่าผู้อื่น ตามมาตรา 1303 วรรคแรก เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 1303 วรรค 2 จึงจะไม่ได้รับการคุ้มครองให้มีสิทธิดีกว่า

  10. 1. ความเบื้องต้น 10 File : Law202_U1_2.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 1.1 ความสำคัญของกฎหมายลักษณะการครอบครอง • กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 ถึง 1380 การครอบครอง Glossary  • ปรากฎเสียงบรรยาย • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “...อยู่ในเรื่องอื่นๆ ของประมวล...” ปรากฎหนังสือประมวลกฎหมายขึ้นมา จากนั้นมีคำว่า “การครอบครอง” เฟดออกมาจากหนังสือ • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “...ตามมาตรา 1378 ...” ปรากฎข้อความ “มาตรา 1378 ถึง 1380” ขึ้น • เมื่อ Roll over ที่ปุ่ม Glossary ปรากฎคำว่า “Glossary” ขึ้น และเมื่อคลิก ปรากฎ บทบัญญัติ มาตรา 1378 ถึง 1380 • เมื่อบรรยายจบปรากฎให้เฟดเนื้อหาในสไลด์ถัดไปเข้ามา นอกเหนือจากกฎหมายลักษณะทรัพย์แล้ว การครอบครองยังเป็นยาดำแทรกอยู่ในเรื่องอื่นๆ ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หลายแห่งได้กล่าวถึงการส่งมอบซึ่งก็คือการโอนการครอบครองตามมาตรา 1378 ถึง 1380 นั่นเอง

  11. 1. ความเบื้องต้น 11 File : Law202_U1_2.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 1.1 ความสำคัญของกฎหมายลักษณะการครอบครอง • บางครั้งการโอนการครอบครอง ได้นำมาใช้เป็น หลักฐานอันดีแห่งสัญญา ทำให้คู่สัญญาสามารถ ฟ้องร้องบังคับคดีตามสัญญานั้นได้ • เริ่มพูด พร้อมแสดง Mascot • ปรากฏ ภาพ และข้อความ ให้สัมพันธ์กับเสียงบรรยาย • เมื่อคลิกปุ่ม next ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_3.swf และในบางครั้ง การโอนการครอบครองได้นำมาใช้เป็นหลักฐานอันดีแห่งสัญญา ทำให้คู่สัญญาสามารถฟ้องร้องบังคับคดีตามสัญญานั้นได้ เช่น การส่งมอบของให้เป็นมัดจำ หรือให้เป็นการชำระหนี้บางส่วน เป็นต้นค่ะ

  12. 1. ความเบื้องต้น 12 File : Law202_U1_3.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 1.1 ความสำคัญของกฎหมายลักษณะการครอบครอง • กฎหมายมหาชน - กฎหมายล้มละลาย มาตรา 109 (3) - กฎหมายอาญา มาตรา 362 -364 - กฎหมายแพ่ง มาตรา 1374 และ 1375 Glossary  • เริ่มพูด แสดงมาสคอต และภาพ พร้อมด้วย ข้อความ “กฎหมายมหาชน” • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “...ดังจะเห็นได้จากกฎหมายล้มละลาย ...” ปรากฎคำว่า “กฎหมายล้มละลาย มาตรา 109 (3)” • เฟดออกมาจากหนังสือ • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “... ตามประมวลกฎหมายอาญา ...” ปรากฎข้อความ “กฎหมายอาญา มาตรา 362 -364 ” ขึ้น • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “... เดียวกันกับประมวลกฎหมายแพ่ง ...” ปรากฎข้อความ “กฎหมายแพ่ง มาตรา 1374 และ 1375 ” ขึ้น • เมื่อ Roll over ที่ปุ่ม Glossary ปรากฎคำว่า “Glossary” ขึ้น และเมื่อคลิก ปรากฎ บทบัญญัติ มาตรา 109, มาตรา 362 -364 (ป.อ.) , มาตรา 1374 และ 1375 (ป.พ.พ) • เมื่อบรรยายจบปรากฎให้เฟดเนื้อหาในสไลด์ถัดไปเข้ามา แม้ในกฎหมายมหาชนเอง การครอบครองก็มีบทบาทอยู่ไม่น้อยทีเดียว ดังจะเห็นได้จากกฎหมายล้มละลาย มาตรา 109 (3) หรือความผิดเกี่ยวกับฐานบุกรุก แย่ง หรือรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 ถึง 364 ซึ่งอาศัยการครอบครองที่มีนัยอย่างเดียวกันกับ ประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 1374 และ 1375

  13. 1. ความเบื้องต้น 13 File : Law202_U1_3.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 1.1 ความสำคัญของกฎหมายลักษณะการครอบครอง • กฎหมายลักษณะการครอบครองยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นไปอีก เมื่อที่ดินของเอกชนในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นที่ดินมือเปล่า • และเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับที่ดินมือเปล่า ผู้พิพากษามักเอากฎหมาย ลักษณะการครอบครองไปปรับใช้ คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวกับการ ใช้กฎหมายลักษณะการครอบครองล้วนเป็นเรื่องที่ดินมือเปล่า “ที่ดินมือเปล่า” • ปรากฏข้อความ และภาพประกอบให้สอดคล้องกับเสียงบรรยาย • เมื่อคลิกปุ่ม next ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_4.swf กฎหมายลักษณะการครอบครองยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นไปอีก เมื่อที่ดินของเอกชนในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นที่ดินมือเปล่า และเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นเกี่ยวกับที่ดินมือเปล่า ผู้พิพากษามักเอากฎหมายลักษณะการครอบครองไปปรับใช้ คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวกับการใช้กฎหมายลักษณะการครอบครองล้วนเป็นเรื่องที่ดินมือเปล่า ด้วยเหตุนี้ทำให้หลายท่านเข้าใจผิดไปว่ากฎหมายลักษณะการครอบครองบัญญัติขึ้นมาไว้ใช้กับที่ดินมือเปล่าเป็นสำคัญ คือเมื่อพูดถึงกฎหมายลักษณะการครอบครองเมื่อใดก็มักเข้าใจเป็นเรื่องของที่ดินมือเปล่าไปหมด และเลยเข้าใจผิดต่อไปว่าการครอบครองตาม ประมวลกฎหมายแพ่งแตกต่างจากการครอบครองตาม ประมวลกฎหมายอาญาค่ะ

  14. 1. ความเบื้องต้น 14 File : Law202_U1_4.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 1.2 หลักการและเหตุผล • กฎหมายได้ให้การคุ้มครองโดยไม่คำนึงว่าการครอบครองได้มา โดยการกระทำความผิดหรือไม่ ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโรมันแล้ว • เพียงแต่ว่าการให้ความคุ้มครองในกฎหมายโรมันนั้นอยู่ใน กฎหมายวิธีพิจารณาความ ไม่ได้รับรองว่าการคุ้มครอง ผู้ครอบครองเป็นสิทธิโดยลำพังด้วยตัวของมันเอง • เริ่มพูด พร้อมแสดง Mascot • ปรากฏข้อความ และภาพประกอบให้สอดคล้องกับเสียงบรรยาย • เมื่อบรรยายจบปรากฎให้เฟดเนื้อหาในสไลด์ถัดไปเข้ามา กฎหมายได้ให้การคุ้มครองโดยไม่คำนึงว่าการครอบครองได้มาโดยการกระทำความผิดหรือไม่ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโรมันแล้ว เพียงแต่ว่าการให้ความคุ้มครองในกฎหมายโรมันนั้นอยู่ในกฎหมายวิธีพิจารณาความ ไม่ได้รับรองว่าการคุ้มครองผู้ครอบครองเป็นสิทธิโดยลำพังด้วยตัวของมันเอง

  15. 1. ความเบื้องต้น 15 File : Law202_U1_4.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 1.2 หลักการและเหตุผล Savigny ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช Wachter Salmond คลิกที่หัวข้อเพื่อแสดงรายละเอียด • เริ่มพูด พร้อมแสดง Mascot • เมื่อ Roll over ที่ปุ่ม ปรากฎ ภาพนักกฎหมายแต่ละคน และทำให้ปุ่มเด่นชัดขึ้น • เมื่อคลิกที่ปุ่ม ปรากฎ ข้อความเป็น pop up ดังเช่นใน Slide ถัดไป • เมื่อคลิกปุ่ม Next ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_5.swf โดยได้มีนักกฎหมายหลายท่าน ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับความคุ้มครอง ดังต่อไปนี้ครับ นักศึกษาสามารถคลิกเพื่อแสดงความเห็นของแต่ละท่านได้เลยค่ะ

  16. 1. ความเบื้องต้น 16 File : Law202_U1_4.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 1.2 หลักการและเหตุผล Back to menu ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อธิบายว่า... “กฎหมายโรมัน เช่นที่รวบรวมไว้โดย Gaius ก่อนมหาจักรพรรดิ์ Justinian แทบจะลืมลักษณะครอบครองเสียทีเดียว ได้แบ่งแยกประมวลกฎหมายเป็น 4 บรรพ บรรพ 1 ว่าด้วยบุคคลและครอบครัว บรรพ 2 ว่าด้วยทรัพย์สิน บรรพ 3 ว่าด้วยมรดก และใน บรรพ 4 สุดท้ายว่าด้วยวิธีพิจารณา ลักษณะครอบครองมิได้จัดไว้ในเรื่องทรัพย์สินฤาทรัพย์สิทธิเสียเลย มีว่าไว้ในบรรพท้ายที่สุด เป็นเรื่องวิธีฟ้องและดำเนินการพิจารณาเท่านั้น และเท่าที่กล่าวไว้ ก็หาได้รับรองว่าครอบครองเป็นสิทธิต่างหากโดยลำพังไม่ กล่าวคือ ถ้าผู้ครอบครองต้องถูกแย่งการครอบครองด้วยกำลังฤาถูกรบกวนในการครอบครอง อาจขอร้องให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเรียกว่า Practor มีคำสั่งให้คืนการครอบครองที่ถูกแย่ง ฤาห้ามการรบกวนนั้นได้ --------การที่ Practor มีคำสั่งช่วยเหลือในเรื่องเช่นนี้ มิใช่ว่าเพราะมีกฎหมายรับรองว่าครอบครองเป็นสิทธิกฎหมายโรมันรู้จักแต่ทรัพย์สิทธิอย่างอื่นบางประการ เช่น กรรมสิทธิ์(dominium) ภาระจำยอม (servitus) สิทธิเก็บเงิน(usufructus) เป็นต้น การที่ Practor สั่งห้ามได้อาศัยอำนาจที่เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองรักษาความสงบ คำสั่งที่กล่าวข้างต้นนั้น ถ้าผู้รับคำสั่งขัดขืนไม่ปฎิบัติตาม ก็ถือว่าเป็นความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานเท่านั้น มิได้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิรอบครองของผู้ร้องขอ วิธีการของกฎหมายโรมันเป็นเช่นนี้นักฎหมายโรมันจึงไม่คิดเห็นว่าครองครองเป็นสิทธิ สิทธิตามความคิดของนักกฎหมายโรมันเช่น กรรมสิทธิ์นั้น จะต้องมีกำหนดอำนาจได้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ฤาหลายอย่าง เช่น กรรมสิทธิ์นั้น จะต้องมีกำหนดอำนาจได้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ฤาหลายอย่าง เช่น กรรมสิทธิ์จะได้อำนาจในการใช้ จำหน่าย ทำลาย เป็นต้นแต่ถ้าพิเคราะห์ถึงครอบครอง นักกฎหมายโรมันมองไม่เห็นอำนาจฤาประโยชน์อย่างใด เป็นแต่ว่า ถ้าถูกแย่งฤาถูกรบกวนในการครอบครอง ก็ได้แต่จะไปร้องขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองให้รักษาความสงบไว้เท่านั้น ความคุ้มครองในเรื่องเช่นนี้ กฎหมายโรมันตลอดมาจนถึงในประมวลกฎหมายของมหาจักรพรรดิ์ Justinian จัดไว้ในพิธีพิจารณา (quod ad actions pertinet) ไม่อยู่ในเรื่องทรัพย์สิทธิฤาทรัพย์สิน (quod ad respertinet) เหมือนกฎหมายปัจจุบัน เช่น ประมวลแพ่งฯ บรรพ 4 ของไทยเรานี้” • ปรากฎข้อความเป็น pop up มี Scroll bar • เมื่อคลิกปุ่ม Back to menu ปรากฎ เมนู Slide 15

  17. 1. ความเบื้องต้น 17 File : Law202_U1_4.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 1.2 หลักการและเหตุผล Back to menu Savigny นักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่งของเยอรมัน ผู้เขียนตำราเรื่องการครอบครองซึ่งเป็นหนังสือที่มีชื่อเสียงมากเล่มหนึ่งของโลก มีความเห็นว่า การครอบครองไม่เป็นสิทธิ แต่ที่กฎหมายเข้าไปคุ้มครองนั้นก็เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ไม่ให้ประชาชนต้องทะเลาะวิวาทกัน ท่านได้อธิบายว่า... “ที่กฎหมายเริ่มให้ความคุ้มครองแก่ผู้ยึดถือครอบครองทรัพย์อยู่นั้น มิใชเพราะครอบครองเป็นสิทธิอยู่ตามลำพัง แต่เนื่องมาจากสิทธิในสภาพบุคคลที่มนุษย์ทั้งหลายจะพึงได้รับความปลอดภัยในเนื้อตัวร่างกาย เพราะว่าที่จะแย่งเอาทรัพย์ในครอบครองไปจากกันได้ โดยมากจะต้องมีการแย่งใช้กำลังขับไล่ผลักไสกันบ้าง” • เมื่อคลิกปุ่ม Back to menu ปรากฎ เมนู Slide 15 ข้อความของปุ่ม Salmond และ Wachter มีดังนี้ Salmond นักปราชญ์กฎหมายที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่งของอังกฤษ ได้มีความเห็นในทำนองเดียวกันว่า ... “ครอบครองเป็นเหตุการณ์ที่กฎหมายให้ผลอย่างสิทธิมิใช่สิทธิอันแท้จริงเลย” Wachter ได้กล่าวว่า... “ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการครอบครองนั้นต่างจากเรื่องกรรมสิทธิ์ และการครอบครองต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งของตามสภาพของความเป็นจริง ด้วยเหตุนี้การครอบครองจึงเป็นเรื่องของข้อเท็จจริง (Fact) แต่ก็ไม่ต้องสงสัยอีกเช่นเกียวกันว่าการครอบครองนั้นมีผลในทางกฎหมายด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้จะกล่าวว่าการครอบครองไม่เป็นสิทธิย่อมเป็นการกล่าวอย่างบิดเบือน”

  18. 1. ความเบื้องต้น 18 File : Law202_U1_4.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 1.2 หลักการและเหตุผล Back to menu Savigny นักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่งของเยอรมัน ผู้เขียนตำราเรื่องการครอบครองซึ่งเป็นหนังสือที่มีชื่อเสียงมากเล่มหนึ่งของโลก มีความเห็นว่า การครอบครองไม่เป็นสิทธิ แต่ที่กฎหมายเข้าไปคุ้มครองนั้นก็เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ไม่ให้ประชาชนต้องทะเลาะวิวาทกัน ท่านได้อธิบายว่า... “ที่กฎหมายเริ่มให้ความคุ้มครองแก่ผู้ยึดถือครอบครองทรัพย์อยู่นั้น มิใชเพราะครอบครองเป็นสิทธิอยู่ตามลำพัง แต่เนื่องมาจากสิทธิในสภาพบุคคลที่มนุษย์ทั้งหลายจะพึงได้รับความปลอดภัยในเนื้อตัวร่างกาย เพราะว่าที่จะแย่งเอาทรัพย์ในครอบครองไปจากกันได้ โดยมากจะต้องมีการแย่งใช้กำลังขับไล่ผลักไสกันบ้าง” • เมื่อคลิกปุ่ม Back to menu ปรากฎ เมนู Slide 15 ข้อความของปุ่ม Salmond และ Wachter มีดังนี้ Salmond นักปราชญ์กฎหมายที่มีชื่อเสียงมากคนหนึ่งของอังกฤษ ได้มีความเห็นในทำนองเดียวกันว่า ... “ครอบครองเป็นเหตุการณ์ที่กฎหมายให้ผลอย่างสิทธิมิใช่สิทธิอันแท้จริงเลย” Wachter ได้กล่าวว่า... “ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการครอบครองนั้นต่างจากเรื่องกรรมสิทธิ์ และการครอบครองต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งของตามสภาพของความเป็นจริง ด้วยเหตุนี้การครอบครองจึงเป็นเรื่องของข้อเท็จจริง (Fact) แต่ก็ไม่ต้องสงสัยอีกเช่นเกียวกันว่าการครอบครองนั้นมีผลในทางกฎหมายด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้จะกล่าวว่าการครอบครองไม่เป็นสิทธิย่อมเป็นการกล่าวอย่างบิดเบือน”

  19. 1. ความเบื้องต้น 19 File : Law202_U1_5.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 1.2 หลักการและเหตุผล • ประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่น มาตรา 180 และ 181ได้ใช้คำว่าสิทธิครอบครอง (Possessory Right ) • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 มาตรา 1367 และ 1368 ได้ใช้คำว่า “สิทธิครอบครอง • เริ่มพูด ปรากฎภาพธงชาติ ญี่ปุ่น และภาพหนังสือกฎหมาย • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “... ประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่น...” ปรากฎข้อความ Bullet แรก • เมื่ถอึงเสียงบรรยาย “... และเมื่อประเทศไทยได้ยกร่าง ...” ปรากฎ ธงชาติไทย พร้อมหนังสือประมวลกฎหมาย • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “..จะเห็นได้จากมาตรา 1367...” ปรากฎข้อความ Bullet ที่สอง • เมื่อบรรยายจบปรากฎให้เฟดเนื้อหาในสไลด์ถัดไปเข้ามา ครั้นประเทศญี่ปุ่นได้ร่างประมวลกฎหมายแพ่งของตนขึ้น ประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่น มาตรา 180 และ 181 ใช้คำว่าสิทธิครอบครอง และเมื่อประเทศไทยได้ยกร่าง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ก็ได้ดำเนินรอยตามประมวลกฎหมายแพ่งญี่ปุ่น จะเห็นได้จากมาตรา 1367 และ 1368 ใช้คำว่า “สิทธิครอบครอง” เช่นกัน

  20. 1. ความเบื้องต้น 20 File : Law202_U1_5.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 1.2 หลักการและเหตุผล • การครอบครองเป็นสิทธิโดยลำพังด้วยตัวของมันเอง ไม่ว่ากฎหมายจะคุ้มครองการครอบครอง ในฐานะที่ เป็นเหตุการณ์หรือ ข้อเท็จจริงที่ได้รับผลประโยชน์อย่าง สิทธิหรือ ด้วยการรับรองให้เป็นสิทธิโดยลำพังด้วยตัว ของมันเอง • เหตุผลที่ให้การคุ้มครองนั้นเป็นอย่างเดียวกัน คือ เพื่อ รักษาความสงบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นในสังคม • เริ่มพูด พร้อมแสดง Mascot และบอลลูนข้อความ • ปรากฏข้อความและภาพประกอบให้สอดคล้องกับเสียงบรรยาย • เมื่อพูดจบให้ Mascot และบอลลูนข้อความหายไป • เมื่อคลิกปุ่ม Next ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_6.swf ดังนั้นสำหรับประเทศไทยเราเป็นที่ชัดเจนแล้วครับว่า การครอบครองนั้นเป็นสิทธิโดยลำพังด้วยตัวของมันเอง ไม่ว่ากฎหมายจะคุ้มครองการครอบครองในฐานะที่เป็นเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงที่ได้รับผลประโยชน์อย่างสิทธิหรือด้วยการรับรองให้เป็นสิทธิโดยลำพังด้วยตัวของมันเอง แต่เหตุผลที่ให้การคุ้มครองนั้นเป็นอย่างเดียวกัน คือ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นในสังคม ป้องกันไม่ให้เอกชนทะเลาะวิวาทกันด้วยการใช้กำลังเข้าแย่งการครอบครองทรัพย์ซึ่งกันและกันค่ะ

  21. 1. ความเบื้องต้น 21 File : Law202_U1_6.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 1.3ลักษณะพิเศษของสิทธิครอบครองซึ่งแตกต่างจากทรัพย์สิทธิอื่นๆ ประโยชน์ที่กฎหมายคุ้มครองให้กับผู้ครอบครอง “สิทธิครอบครอง” ทรัพย์สิทธิ • เริ่มพูด พร้อมแสดง Mascot • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “...เมื่อประโยชน์ที่กฎหมายคุ้มครอง...” เฟด ข้อความ ให้สัมพันธ์กับเสียง • จากนั้น เมื่อถึงเสียงบรรยาย “...ที่เรียกว่าสิทธิครอบครอง ...” ปรากฎ ลูกศร และเฟดข้อความ “สิทธิครองครอง” ขึ้น • จากนั้น เมื่อถึงเสียงบรรยาย “... ถือว่าเป็นทรัพย์สิทธิ...” ปรากฎ ลูกศร และเฟดข้อความ “ทรัพย์สิทธิ” ขึ้น • เมื่อคลิกปุ่ม Next ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_7.swf ลักษณะพิเศษของสิทธิครอบครองซึ่งแตกต่างจากทรัพย์สิทธิอื่นๆเมื่อประโยชน์ที่กฎหมายคุ้มครองให้กับผู้ครอบครองตามกฎหมายไทยถือเป็นเรื่องสิทธิที่เรียกว่าสิทธิครอบครอง สิทธิครอบครองนี้ต้องถือว่าเป็นทรัพย์สิทธิเพราะมีตัวทรัพย์ที่ถูกครอบครองเป็นวัตถุแห่งสิทธิเหมือนอย่างทรัพยสิทธิอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามสิทธิครอบครองมีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากทรัพยสิทธิอื่นๆ

  22. 1. ความเบื้องต้น 22 File : Law202_U1_7.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา สิทธิครอบครอง 1.3ลักษณะพิเศษของสิทธิครอบครองซึ่งแตกต่างจากทรัพย์สิทธิอื่นๆ 1. สิทธิครอบครองเป็นสิทธิที่ผูกพันอยู่กับข้อเท็จจริงอย่างแน่นแฟ้น 2. สิทธิครอบครองมีได้แม้ได้มาด้วยการกระทำความผิด 3.สิทธิครอบครองสามารถเติบโตเป็นทรัพยสิทธิที่สูงขึ้นไปอีกได้ 4. สิทธิครอบครองมีลักษณะเป็นสิทธิในเชิงต่อสู้ คลิกที่หัวข้อเพื่อแสดงรายละเอียด • เริ่มพูด พร้อมแสดง Mascot • ปรากฏข้อความ และปุ่ม ให้สัมพันธ์กับเสียงบรรยาย • เมื่อ Roll Over ปุ่ม ทำให้ปุ่มขยายใหญ่และเด่นชัดขึ้น • เมื่อคลิกปุ่ม Link ไปยังไฟล์ต่างๆ ดังนี้ • เมื่อคลิกปุ่ม (หัวข้อแรก) ปรากฎไฟล์ Law202_1_8.swf • เมื่อคลิกปุ่ม (หัวข้อที่สอง) ปรากฎไฟล์ Law202_1_9.swf • - เมื่อคลิกปุ่ม (หัวข้อที่สาม) ปรากฎไฟล์ Law202_1_10.swf • - เมื่อคลิกปุ่ม (หัวข้อที่สี่) ปรากฎไฟล์ Law202_1_11.swf แต่อย่างไรก็ตามสิทธิครอบครองมีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากทรัพยสิทธิอื่นๆ คือ สิทธิครอบครองเป็นสิทธิที่ผูกพันอยู่กับข้อเท็จจริงอย่างแน่นแฟ้น ,มีได้แม้ได้มาด้วยการกระทำความผิด,มีลักษณะเป็นสิทธิในเชิงต่อสู้ และสามารถเติบโตเป็นทรัพยสิทธิที่สูงขึ้นไปอีกได้ นักศึกษาสามารถคลิกหัวข้อที่ต้องการศึกษาเพื่อแสดงรายละเอียดได้เลยนะค่ะ

  23. 1. ความเบื้องต้น 23 สิทธิครอบครอง File : Law202_U1_8.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา ประโยชน์ที่กฎหมายรับรองหรือคุ้มครองให้แก่ผู้ครอบครอง 1.3ลักษณะพิเศษของสิทธิครอบครองซึ่งแตกต่างจากทรัพย์สิทธิอื่นๆ 1. สิทธิครอบครองเป็นสิทธิที่ผูกพันอยู่กับข้อเท็จจริงอย่างแน่นแฟ้น • เริ่มพูด พร้อมแสดงหัวข้อ • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “...การครอบครองเป็นเรื่องของ...” ปรากฎกรอบข้อความ “การครอบครอง” , ลูกศร และ เนื้อหาของการครอบครอง ขึ้น • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “...ส่วนสิทธิครอบครอง...” ปรากฎกรอบข้อความ “สิทธิครอบครอง” , ลูกศร และ เนื้อหาของ สิทธิครอบครองขึ้น • เมื่อบรรยายจบปรากฎให้เฟดเนื้อหาในสไลด์ถัดไปเข้ามา สิทธิครอบครองเป็นสิทธิที่ผูกพันอยู่กับข้อเท็จจริงอย่างแน่นแฟ้น ก่อนอื่นจะต้องทำความเข้าใจกันก่อนนะครับว่า การครอบครองเป็นเรื่องของข้อเท็จจริงที่ว่าได้มีการยึดถือโดยเจตนายึดถือเพื่อตน ผู้ครอบครองเป็นเรื่องของบุคคลที่กระทำการยึดถือโดยเจตนายึดถือเพื่อตน ส่วนสิทธิครอบครองนั้นเป็นเรื่องประโยชน์ที่กฎหมายรับรองหรือคุ้มครองให้แก่ผู้ครอบครอง

  24. 1. ความเบื้องต้น 24 File : Law202_U1_8.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 1.3ลักษณะพิเศษของสิทธิครอบครองซึ่งแตกต่างจากทรัพย์สิทธิอื่นๆ 1. สิทธิครอบครองเป็นสิทธิที่ผูกพันอยู่กับข้อเท็จจริงอย่างแน่นแฟ้น • เริ่มพูด พร้อมแสดง Mascot • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “..เมื่อมีการครอบครอง...” ปรากฎกรอบข้อความ “การครอบครอง” พร้อมลูกศรเคลื่อนที่ไปตามทิศทาง • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “...ก็ต้องมีผู้ครอบครอง...” ปรากฎกรอบข้อความ “ผู้ครอบครอง” พร้อมลูกศรเคลื่อนที่ไปตามทิศทาง • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “...และผู้ครอบครองจะมีสิทธิครอบครอง...” ปรากฎกรอบข้อความ “สิทธิครอบครอง” พร้อมลูกศรเคลื่อนที่ไปตามทิศทาง • เมื่อคลิกปุ่ม Back ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_7.swf การครอบครอง ผู้ครอบครองและสิทธิครอบครองเป็นสิ่งที่มีอยู่พร้อมกัน และอยู่ด้วยกันอย่างแยกกันไม่ออก เมื่อใดมีการครอบครองก็ต้องมีผู้ครอบครอง และผู้ครอบครองจะมีสิทธิครอบครองขึ้นมาทันทีตามมาตรา 1367 ตรงกันข้ามเมื่อใดการครอบครองสิ้นสุดลง ผู้ครอบครองย่อมมีไม่ได้ สิทธิครอบครองย่อมหมดไปด้วย และด้วยเหตุนี้สิทธิครอบครองจึงเป็นสิทธิที่ผูกพันอยู่กับข้อเท็จจริงอย่างแน่นแฟ้นเป็นสิทธิที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากทรัพยสิทธิอื่นๆ

  25. 1. ความเบื้องต้น 25 File : Law202_U1_9.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 1.3ลักษณะพิเศษของสิทธิครอบครองซึ่งแตกต่างจากทรัพย์สิทธิอื่นๆ 2. สิทธิครอบครองมีได้แม้ได้มาด้วยการกระทำความผิด • เหตุผลที่กฎหมายเข้าไปคุ้มครองผู้ครอบครองก็เพื่อ ป้องกันมิให้เกิดการทะเลาะวิวาท เพื่อรักษาความสงบ เรียบร้อยในสังคม แม้จะเป็นการเข้าไปคุ้มครอง การ ครอบครองที่ได้มาด้วยการกระทำความผิดกฎหมายก็ ต้องทำ • เริ่มพูด พร้อมแสดง Mascot • ปรากฎข้อความ และภาพ ให้สัมพันธ์กับเสียงบรรยาย • เมื่อคลิกปุ่ม Back ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_7.swf สิทธิครอบครองมีได้แม้ได้มาด้วยการกระทำความผิด ดังได้กล่าวมาแล้วนะครับว่า เหตุผลที่กฎหมายเข้าไปคุ้มครองผู้ครอบครองก็เพื่อป้องกันมิให้เกิดการทะเลาะวิวาท เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม แม้ต้องเข้าไปคุ้มครอง การครอบครองที่ได้มาด้วยการกระทำความผิดกฎหมายก็ต้องทำ นอกจากนี้การคุ้มครองการคอรบครองที่ได้มาโดยการกระทำความผิดยังดีกว่าสนับสนุนให้มีการกระทำความผิดในทำนองเดียวกันซ้ำแล้วซ้ำอีก

  26. 1. ความเบื้องต้น 26 File : Law202_U1_10.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 1.3ลักษณะพิเศษของสิทธิครอบครองซึ่งแตกต่างจากทรัพย์สิทธิอื่นๆ 3. สิทธิครอบครองมีลักษณะเป็นสิทธิในเชิงต่อสู้ • ทรัพยสิทธิ เป็นสิทธิในทางเพิ่มพูน คือ กฎหมายจะรับรองคุ้มครองให้ได้รับประโยชน์ในทางงอกเงย อาทิเช่น... กรรมสิทธิ์ - ได้ประโยชน์งอกเงยด้วยการได้ใช้ได้ดอกผลสามารถจำหน่ายจ่ายโอน สิทธิอาศัย – ได้ประโยชน์งอกเงยด้วยการเข้าไปใช้โรงเรือนของผู้อื่นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า ภาระจำยอม - ได้ประโยชน์งอกเงยด้วยการ ได้ใช้อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น • เริ่มพูด • ปรากฏข้อความ และภาพแต่ละลำดับพร้อมข้อความกำกับ ให้สอดคล้องกับเสียงบรรยาย • เมื่อบรรยายจบปรากฎให้เฟดเนื้อหาในสไลด์ถัดไปเข้ามา สิทธิครอบครองมีลักษณะเป็นสิทธิในเชิงต่อสู้ ซึ่งโดยปกติแล้วทรัพยสิทธิต่างๆ จะเป็นสิทธิในทางเพิ่มพูน กล่าวคือกฎหมายจะรับรองคุ้มครองให้ทรัพยสิทธิเหล่านั้นได้รับประโยชน์ในทางงอกเงย อาทิ กรรมสิทธิ์ได้รับประโยชน์งอกเงยด้วยการได้ใช้ ได้ดอกผลสามารถจำหน่ายจ่ายโอน ภาระจำยอมได้ประโยชน์งอกเงยด้วยการได้ใช้อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น สิทธิอาศัยให้ได้รับประโยชน์งอกเงยด้วยการเข้าไปใช้โรงเรือนของผู้อื่นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า เป็นต้น

  27. 1. ความเบื้องต้น 27 File : Law202_U1_10.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 1.3ลักษณะพิเศษของสิทธิครอบครองซึ่งแตกต่างจากทรัพย์สิทธิอื่นๆ 3. สิทธิครอบครองมีลักษณะเป็นสิทธิในเชิงต่อสู้ • สิทธิครอบครอง กฎหมายคุ้มครองมิให้ผู้อื่นมารบกวนการครอบครองหรือมาแย่งเอาการครอบครองไปตามมาตรา 1374-1375 • การคุ้มครองเช่นนี้มิได้ทำให้ได้รับประโยชน์ในทาง งอกเงย ประโยชน์ที่ได้รับนั้นเป็นการรักษาสถานะ เดิมไม่ให้เสียไปจากที่เคยเป็นอยู่เท่านั้น Glossary  • เริ่มพูด • ปรากฏข้อความ และภาพประกอบให้สอดคล้องกับเสียงบรรยาย • เมื่อ Roll over ที่ปุ่ม Glossary ปรากฎคำว่า “Glossary” ขึ้น และเมื่อคลิก ปรากฎ บทบัญญัติ มาตรา 1374 และ 1375 • เมื่อคลิกปุ่ม Back ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_7.swf ส่วนสิทธิครอบครองนั้นกฎหมายคุ้มครองมิให้ผู้อื่นมารบกวนการครอบครองหรือมาแย่งเอาการครอบครองไปตามมาตรา 1374-1375 การคุ้มครองเช่นนี้มิได้ทำให้ได้รับประโยชน์ในทางงอกเงย ประโยชน์ที่ได้รับนั้นเป็นการรักษาสถานะเดิมไม่ให้เสียไปจากที่เคยเป็นอยู่เท่านั้น และด้วยเหตุนี้สิทธิครอบครองจึงเป็นสิทธิในเชิงต่อสู้ มิใช่สิทธิในทางเพิ่มพูน เหมือนอย่างทรัพยสิทธิอื่นๆ ค่ะ

  28. 1. ความเบื้องต้น 28 File : Law202_U1_11.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 1.3ลักษณะพิเศษของสิทธิครอบครองซึ่งแตกต่างจากทรัพย์สิทธิอื่นๆ 4. สิทธิครอบครองสามารถเติบโตเป็นทรัพยสิทธิที่สูงขึ้นไปอีกได้ ศาสตราจารย์ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อธิบายว่า “ในบรรดาทรัพยสิทธิทั้งหลายถ้าเทียบกันอย่างขั้นบันไดสูงต่ำแล้ว กรรมสิทธิ์อยู่ในขั้นสูงสุด ครอบครองต่ำที่สุด นอกจากนั้นอยู่กลางๆ” ท่านยังอธิบายต่อไปอีกว่า “ทรัพยสิทธิอย่างอื่นนั้นได้มาเท่าใด ก็มีอยู่เท่านั้น ไม่เติบโตเป็นอื่นไปได้ ได้กรรมสิทธิ์ก็มีแต่กรรมสิทธิ์อยู่ตลอดไป ได้สิทธิเก็บกิน ก็มีสิทธิเช่นนั้นไปจนกว่าจะสิ้นสุดแต่ครอบครอง เมื่อได้มาแล้วเติบโต กลายเป็นกรรมสิทธิ์ไปได้ตามมาตรา 1382” กรรมสิทธิ์ สิทธิต่างๆ การครอบครอง • เริ่มพูด • ปรากฏข้อความและภาพประกอบให้สอดคล้องกับเสียงบรรยาย • เมื่อคลิกปุ่ม Back ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_7.swf สิทธิครอบครองสามารถเติบโตเป็นทรัพยสิทธิที่สูงขึ้นไปอีกได้ โดย ศาสตราจารย์ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้อธิบายไว้ว่า ในบรรดาทรัพยสิทธิทั้งหลายถ้าเทียบกันอย่างขั้นบันไดสูงต่ำแล้ว กรรมสิทธิ์อยู่ในขั้นสูงสุด ครอบครองต่ำที่สุด นอกจากนั้นอยู่กลางๆ และท่านยังอธิบายต่อไปอีกว่า ทรัพยสิทธิอย่างอื่นนั้นได้มาเท่าใด ก็มีอยู่เท่านั้น ไม่เติบโตเป็นอื่นไปได้ ได้กรรมสิทธิ์ก็มีแต่กรรมสิทธิ์อยู่ตลอดไป ได้สิทธิเก็บกิน ก็มีสิทธิเช่นนั้นไปจนกว่าจะสิ้นสุดแต่ครอบครอง เมื่อได้มาแล้วเติบโต กลายเป็นกรรมสิทธิ์ไปได้ตามมาตรา 1382 ค่ะ

  29. 29 File : Law202_U1_12.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 2.การครอบครอง 2.1 องค์ประกอบของการครอบครอง มาตรา 1367 บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน ท่านว่าบุคคลนั้นได้ซึ่งสิทธิครอบครอง • เริ่มพูด พร้อมแสดง Mascot • ปรากฏข้อความและภาพประกอบให้สอดคล้องกับเสียงบรรยาย • เมื่อบรรยายจบปรากฎให้เฟดเนื้อหาในสไลด์ถัดไปเข้ามา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ของไทยกำหนดให้การครอบครองต้องประกอบด้วยการยึดถือและมีเจตนายึดถือเพื่อตน ดังจะเห็นได้จากมาตรา 1367 ซึ่งบัญญัติว่า บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน ท่านว่าบุคคลนั้นได้ซึ่งสิทธิครอบครองและก็เป็นที่เข้าใจกันอยู่แล้วว่าหากมีเจตนาเป็นเจ้าของก็ย่อมมีเจตนายึดถือเพื่อตนด้วย

  30. 30 File : Law202_U1_12.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 2.การครอบครอง 2.1 องค์ประกอบของการครอบครอง 1. ต้องมีการยึดถือ (corpus) 2. ต้องมีเจตนานยึดถือเพื่อตน ((animus sibi habendi) • เริ่มพูด • ปรากฏข้อความและภาพประกอบให้สอดคล้องกับเสียงบรรยาย • เมื่อคลิกปุ่ม Next ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_13.swf ต่อไปจะขอนำเอาคำอธิบายการครอบครองของ Roscoe Pound มาช่วยอธิบายเรื่องการครอบครองของกฎหมายไทยประกอบไปกับแนวบรรทัดฐานคำพิพากษาฎีกาของไทยโดยในการครอบครองนั้นจะต้องมีการยึดถือ และจะต้องมีเจตนายึดถือเพื่อตน

  31. 31 File : Law202_U1_13.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 2.การครอบครอง 2.1 องค์ประกอบของการครอบครอง 1. ต้องมีการยึดถือ (corpus)ซึ่งประกอบด้วย... (1) ต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับทรัพย์สินที่ถึง ขนาดบุคคลสามารถใช้อำนาจบังคับบัญชาในทาง กายภาพเหนือทรัพย์นั้นได้ และไม่มีอะไรกีดขวางใน การจะใช้อำนาจบังคับบัญชาเช่นนั้น (2) ความสัมพันธ์นั้นต้องแสดงออกให้ปรากฎจนบุคคล ภายนอกรับรู้ และให้ความเคารพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้อง เหมาะสมกับสภาพของทรัพย์แต่ละชนิด • เริ่มพูด พร้อมแสดง Mascot • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “... 1.ต้องมีความสัมพันธ์ระหว่าง....” ปรากฎ ข้อความ Bullet 1 พร้อมภาพลำดับที่ 1 • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “... 2.ความสัมพันธ์นั้นต้อง....” ปรากฎ ข้อความ Bullet 2 พร้อมภาพลำดับที่ 2 • เมื่อบรรยายจบปรากฎให้เฟดเนื้อหาในสไลด์ถัดไปเข้ามา องค์ประกอบแรกของการครอบครองคือ จะต้องมีการยึดถือ ซึ่งการยึดถือต้องประกอบด้วย 1.ต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับทรัพย์สินที่ถึงขนาดบุคคลสามารถใช้อำนาจบังคับบัญชาในทางกายภาพเหนือทรัพย์นั้นได้ และไม่มีอะไรกีดขวางในการจะใช้อำนาจบังคับบัญชาเช่นนั้น และ 2.ความสัมพันธ์นั้นต้องแสดงออกให้ปรากฎจนบุคคลภายนอกรับรู้และให้ความเคารพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องเหมาะสมกับสภาพของทรัพย์แต่ละชนิดค่ะ

  32. 32 File : Law202_U1_13.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 2.การครอบครอง 2.1 องค์ประกอบของการครอบครอง 1. ต้องมีการยึดถือ (corpus) การยึดถือมีหลักย่อยดังต่อไปนี้คือ... 1. สัตว์ป่าจะถือว่ามีการยึดถือต่อเมื่อทำให้มันหมดอิสรภาพแล้ว 2.ผู้ยึดถือโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอยู่ให้ถือว่ายึดถือทุกสิ่งที่อยู่ ในโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างนั้นด้วย 3.ยึดถือสิ่งของใหญ่ให้ถือว่ายึดถือทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในนั้นด้วย 4.ถ้าหากเป็นที่ดินที่รกร้างว่างเปล่าจะถือว่าได้มีการยึดถือแล้ว ก็ต่อเมื่อได้มีการล้อมรั้ว... คำพิพากษา  คลิกที่หัวข้อเพื่อแสดงรายละเอียด • เริ่มพูด พร้อมแสดงปุ่มแต่ละปุ่มขึ้นมาให้สัมพันธ์กับเสียง • เมื่อ Roll over ที่ปุ่มใดทำปุ่มเด่นชัดขึ้น • เมื่อคลิกที่ปุ่ม Link ไปยังไฟล์ต่างๆ ดังนี้ • คลิกหัวข้อแรก ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_13_1.swf • คลิกหัวข้อสอง ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_13_2.swf • คลิกหัวข้อสาม ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_13_3.swf • คลิกหัวข้อสี่ ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_13_4.swf • เมื่อ Roll over ที่ปุ่ม สีม่วง ปรากฎคำว่า “คำพิพากษา ” ขึ้น และเมื่อคลิก ปรากฎ ไฟล์ 202_1_13.pdf • เมื่อคลิกปุ่ม Next ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_14.swf ในการยึดถือนั้นมีหลักย่อยดังต่อไปนี้คือ 1.สัตว์ป่าจะถือว่ามีการยึดถือต่อเมื่อทำให้มันหมดอิสรภาพแล้ว2.ผู้ยึดถือโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอยู่ให้ถือว่ายึดถือทุกสิ่งที่อยู่ในโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างนั้นด้วย3.ยึดถือสิ่งของใหญ่ให้ถือว่ายึดถือทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในนั้นด้วย และ 4. ถ้าหากเป็นที่ดินที่รกร้างว่างเปล่าจะถือว่าได้มีการยึดถือแล้วก็ต่อเมื่อได้มีการล้อมรั้ว นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ย่อยๆ 4 ประการดังกล่าวแล้ว ก็ต้องพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป โดยนักศึกษาสามารถศึกษากรณีต่างๆ เพิ่มเติมได้จากคำพิพากษาฎีกาต่างๆ ที่สำคัญ โดยการคลิกปุ่มเพื่อดาวน์โหลดเอกสารได้ครับ แต่สำหรับในหลักย่อยของการยึดถือนี้นักศึกษาสามารถคลิกหัวข้อที่ต้องการศึกษาเพื่อแสดงรายละเอียดได้เช่นกันค่ะ

  33. 33 File : Law202_U1_13_1.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 2.การครอบครอง 2.1 องค์ประกอบของการครอบครอง Back to menu 1. สัตว์ป่าจะถือว่ามีการยึดถือต่อเมื่อทำให้มันหมดอิสรภาพแล้ว • ถ้าหากเป็นสัตว์ป่าที่ยังมีอิสรภาพอยู่จะถือว่าเป็นการยึดถือต่อเมื่ออากัปกิริยาอาการหวงแหนนั้นได้ถึงขนาดทำให้สัตว์นั้น หมดอิสรภาพที่จะไปไหนมาไหนได้โดยอิสระ เพราะถ้าหากยังสามารถไปไหนมาไหนได้โดยอิสระมนุษย์ย่อมไม่สามารถที่ จะใช้อำนาจทางกายภาพบังคับบัญชาเหนือมันได้ • แต่ถ้าเป็นสัตว์เลี้ยงที่เราเลี้ยงอยู่จนเชื่องแล้วถึงแม้จะปล่อย ให้มันเป็นอิสระในบริเวณท้องที่ที่เราเลี้ยงเช่นในทุ่งหญ้าที่ เคยเลี้ยงอยู่เสมอต้องถือว่าสัตว์นั้นอยู่ในการยึดถือของเรา เว้นแต่มันจะเพิรดหนีไปโดยที่เราไม่ทราบว่ามันหนีไปอยู่ที่ ไหน จึงจะถือเป็นทรัพย์สินหายไม่อยู่ในการยึดถือของเรา • ปรากฎข้อความ ภาพ และเสียงบรรยาย • เมื่อคลิกปุ่ม Back to,,,ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_13.swf สัตว์ป่าจะถือว่ามีการยึดถือต่อเมื่อทำให้มันหมดอิสรภาพแล้ว คือ ถ้าหากเป็นสัตว์ป่าที่ยังมีอิสรภาพอยู่จะถือว่าเป็นการยึดถือต่อเมื่ออากัปกิริยาอาการหวงแหนนั้นได้ถึงขนาดทำให้สัตว์นั้นหมดอิสรภาพที่จะไปไหนมาไหนได้โดยอิสระ เพราะถ้าหากยังสามารถไปไหนมาไหนได้โดยอิสระมนุษย์ย่อมไม่สามารถที่จะใช้อำนาจทางกายภาพบังคับบัญชาเหนือมันได้ แต่ถ้าเป็นสัตว์เลี้ยงที่เราเลี้ยงอยู่จนเชื่องแล้วถึงแม้จะปล่อยให้มันเป็นอิสระในบริเวณท้องที่ที่เราเลี้ยงเช่นในทุ่งหญ้าที่เคยเลี้ยงอยู่เสมอต้องถือว่าสัตว์นั้นอยู่ในการยึดถือของเรา เว้นแต่มันจะเพิรดหนีไปโดยที่เราไม่ทราบว่ามันหนีไปอยู่ที่ไหน จึงจะถือเป็นทรัพย์สินหายไม่อยู่ในการยึดถือของเรา

  34. 34 File : Law202_U1_13_2.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 2.การครอบครอง 2.1 องค์ประกอบของการครอบครอง Back to menu 2.ผู้ยึดถือโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอยู่ให้ถือว่ายึดถือทุกสิ่งที่อยู่ในโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างนั้นด้วย • โดยไม่คำนึงว่าจะรู้หรือไม่รู้ว่ามีสิ่งเหล่านั้นอยู่ในโรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างหรือไม่ • เพราะเมื่อใดสามารถใช้อำนาจบังคับบัญชาทางกายภาพ เหนือโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างได้ เขาย่อมสามารถที่จะใช้ อำนาจบังคับบัญชาทางกายภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ ในโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างได้ด้วย และเพียงแต่ไม่รู้ว่ามี สิ่งเหล่านั้นย่อมไม่เป็นอุปสรรคกีดขวางให้เขาไม่สามารถ จะใช้อำนาจบังคับบัญชาในทางกายภาพเหนือสิ่งเหล่านั้น โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง ผู้ยึดถือโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอยู่ให้ถือว่ายึดถือทุกสิ่งที่อยู่ในโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างนั้นด้วยโดยไม่คำนึงว่าจะรู้หรือไม่รู้ว่ามีสิ่งเหล่านั้นอยู่ในโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างหรือไม่ เพราะเมื่อใดสามารถใช้อำนาจบังคับบัญชาทางกายภาพเหนือโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างได้ เขาย่อมสามารถที่จะใช้อำนาจบังคับบัญชาทางกายภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างได้ด้วย และเพียงแต่ไม่รู้ว่ามีสิ่งเหล่านั้นย่อมไม่เป็นอุปสรรคกีดขวางให้เขาไม่สามารถจะใช้อำนาจบังคับบัญชาในทางกายภาพเหนือสิ่งเหล่านั้น • ปรากฎข้อความ ภาพ และเสียงบรรยาย • เมื่อคลิกปุ่ม Back to,,,ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_13.swf

  35. 35 File : Law202_U1_13_3.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 2.การครอบครอง 2.1 องค์ประกอบของการครอบครอง Back to menu 3.ยึดถือสิ่งของใหญ่ให้ถือว่ายึดถือทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในนั้นด้วย • ยึดถือตู้ไปรษณีย์ต้องถือว่ายึดถือทุกสิ่งทุกอย่างในตู้ไปรษณีย์นั้น • ยึดถือโต๊ะต้องถือว่ายึดถือทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในโต๊ะนั้น • ยึดถือหีบห่อสินค้าต้องถือว่ายึดถือทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในหีบห่อสินค้า โต๊ะ หีบห่อสินค้า ตู้ไปรษณีย์ • ปรากฎข้อความ ภาพ และเสียงบรรยาย • เมื่อคลิกปุ่ม Back to,,,ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_13.swf การยึดถือสิ่งของใหญ่ให้ถือว่ายึดถือทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในนั้นด้วย เช่น ยึดถือโต๊ะต้องถือว่ายึดถือทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในโต๊ะนั้น ยึดถือหีบห่อสินค้าต้องถือว่ายึดถือทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในหีบห่อสินค้า และ ยึดถือตู้ไปรษณีย์ต้องถือว่ายึดถือทุกสิ่งทุกอย่าง ในตู้ไปรษณีย์นั้น

  36. 36 File : Law202_U1_13_4.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 2.การครอบครอง 2.1 องค์ประกอบของการครอบครอง Back to menu 4. ถ้าหากเป็นที่ดินที่รกร้างว่างเปล่าจะถือว่าได้มีการยึดถือแล้วก็ต่อเมื่อได้มีการล้อมรั้ว • และได้มีการตรวจตรามิให้ผู้อื่นเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ หรือ ได้มีการทำประโยชน์ในที่ดินนั้นให้เหมาะสมกับสภาพของ ที่ดินบริเวณนั้นแล้ว • เพราะถ้าหากไม่มีการล้อมรั้วหรือทำประโยชน์ในที่ดินนั้น บุคคลภายนอกย่อมไม่รู้ว่าที่ดินบริเวณนั้นได้มีการหวงแหน ที่เขาต้องเคารพ ที่ดิน ที่ดิน ที่มีการล้อมรั้ว • ปรากฎข้อความ ภาพ และเสียงบรรยาย • เมื่อคลิกปุ่ม Back to,,,ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_13.swf ถ้าหากเป็นที่ดินที่รกร้างว่างเปล่าจะถือว่าได้มีการยึดถือแล้วก็ต่อเมื่อได้มีการล้อมรั้ว และได้มีการตรวจตรามิให้ผู้อื่นเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ หรือได้มีการทำประโยชน์ในที่ดินนั้นให้เหมาะสมกับสภาพของที่ดินบริเวณนั้นแล้ว เพราะถ้าหากไม่มีการล้อมรั้วหรือทำประโยชน์ในที่ดินนั้น บุคคลภายนอกย่อมไม่รู้ว่าที่ดินบริเวณนั้นได้มีการหวงแหนที่เขาต้องเคารพ

  37. 37 File : Law202_U1_14.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 2.การครอบครอง 2.1 องค์ประกอบของการครอบครอง 2. ต้องมีเจตนายึดถือเพื่อตน (animus sibi habendi) • เจตนาเป็นเรื่องที่อยู่ภายในจิตใจ การรับรู้เจตนาของบุคคลจึงต้องดูจากพฤติกรรม ดังสุภาษิตที่ว่า “กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา มาตรา 1369 บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินไว้ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลนั้นยึดถือเพื่อตน • เริ่มพูด พร้อมแสดง Mascot • ปรากฏข้อความและภาพประกอบให้สอดคล้องกับเสียงบรรยาย • เมื่อบรรยายจบปรากฎให้เฟดเนื้อหาในสไลด์ถัดไปเข้ามา องค์ประกอบการครอบครอง ประการที่ 2 คือ จะต้องมีเจตนายึดถือเพื่อตน โดยเจตนาเป็นเรื่องที่อยู่ภายในจิตใจ การรับรู้เจตนาของบุคคลจึงต้องดูจากพฤติกรรม ดังสุภาษิตที่ว่า “กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา” โดยหลักแล้วเมื่อบุคคลใดเข้าไปยึดถือทรัพย์สินเอาไว้ พฤติกรรมดังกล่าวย่อมส่อเจตนาว่าตั้งใจยึดถือเอาไว้เพื่อประโยชน์ของตน มิฉะนั้นจะเข้าไปยึดถือทรัพย์สินไว้ทำไม ดังนั้น บทบัญญัติมาตรา 1369 จึงได้บัญญัติว่า “บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินไว้ ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลนั้นยึดถือเพื่อตน”

  38. 38 File : Law202_U1_14.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 2.การครอบครอง 2.1 องค์ประกอบของการครอบครอง 2. ต้องมีเจตนายึดถือเพื่อตน (animus sibi habendi) • ใครก็ตามที่ยึดถือทรัพย์สินสิ่งใดเอาไว้ก็ต้องสันนิษฐานว่าผู้นั้นมีการครอบครองในทรัพย์สินสิ่งนั้น ผู้ใดจะโต้แย้งว่าผู้ยึดถือไม่เป็นผู้ครอบครองผู้นั้นมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ให้ได้ความจริงว่าผู้ยึดถือไม่มีเจตนายึดถือเพื่อตน “ไม่มีการครอบครอง” ขาวส่งนาฬิกาให้ดำจากนั้นขาวกำลังล้างจาน นายแดงชี้ที่นาฬิกานายดำ ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าดำไม่มีเจตนายึดถือนาฬิกาเพื่อตนเอง นายดำใส่นาฬิกา • เริ่มพูด และปรากฏข้อความ • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “...เช่น ดำใส่นาฬิกา...” ปรากฎแอนนิเมชั่น ให้สอดคล้องกับเสียงบรรยาย • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “... บุคคลนั้นต้องพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า....” • ปรากฎ ลูกศรสีแดง พร้อมด้วยข้อความ “ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าดำไม่มีเจตนา...” • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “...เช่น พิสูจน์ได้ว่าดำเป็นลูกจ้าง....” • ปรากฎบอลลูนแล้วมีแอนนิเมชั่นขาวกำลังส่งนาฬิกาให้ดำ และจากนั้นขาวกำลังล้างจานอยู่ในบอลลูน • เมื่อบรรยายจบปรากฎให้เฟดเนื้อหาในสไลด์ถัดไปเข้ามา เมื่อเป็นเช่นนี้ใครก็ตามที่ยึดถือทรัพย์สินสิ่งใดเอาไว้ก็ต้องสันนิษฐานว่าผู้นั้นมีการครอบครองในทรัพย์สินสิ่งนั้น ผู้ใดจะโต้แย้งว่าผู้ยึดถือไม่เป็นผู้ครอบครองผู้นั้นมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ให้ได้ความจริงว่าผู้ยึดถือไม่มีเจตนายึดถือเพื่อตน เช่น ดำใส่นาฬิกาอยู่ก็ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าดำมีเจตนายึดถือนาฬิกานั้นไว้เพื่อตนเองหรือสันนิษฐานว่าดำมีการครอบครองนาฬิกาเรือนนั้น หากใครจะโต้แย้งว่าดำไม่มีการครอบครองนาฬิกาเรือนนั้น บุคคลนั้นต้องพิสูจน์ให้เห็นได้ว่าดำไม่มีเจตนายึดถือนาฬิกาเรือนนั้นเพื่อตนเอง เช่น พิสูจน์ได้ว่าดำเป็นลูกจ้างของขาว ขาวให้ดำยึดถือไว้ชั่วคราวในขณะที่ขาวกำลังล้างมืออยู่ แต่ถ้าหากพิสูจน์ไม่ได้ว่าดำไม่มีเจตนายึดถือเพื่อตนแล้วต้องถือว่าดำมีการครอบครองนาฬิกาเรือนนั้น

  39. 39 File : Law202_U1_14.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 2.การครอบครอง 2.1 องค์ประกอบของการครอบครอง 2. ต้องมีเจตนายึดถือเพื่อตน (animus sibi habendi) • เจตนายึดถือเพื่อตนนั้นไม่หนักแน่นเหมือนกับเจตนา เป็นเจ้าของ เพราะเจตนาเป็นเจ้าของนั้นไม่เพียงแต่มี เจตนายึดถือทรัพย์สินนั้นไว้เพื่อผลประโยชน์ของตน แต่มีเจตนาที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นด้วย • ด้วยเหตุนี้ถ้ามีเจตนาเป็นเจ้าของแล้วก็ย่อมมีเจตนา ยึดถือเพื่อตนอยู่ในตัว • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “... เจตนายึดถือเพื่อตนนั้นไม่หนักแน่นเหมือนกับเจตนา...” ปรากฎ ภาพด้านซ้าย และด้านขวา ให้สัมพันธ์กับเสียงบรรยาย • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “...ด้วยเหตุนี้จึงมีคำกล่าว...” ปรากฎ เครื่องหมายบวก และทำให้คำว่า “เจตนายึดถือเพื่อตน” และ “เจตนาเป็นเจ้าของ” เด่นชัดขึ้น • เมื่อคลิกปุ่ม Next ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_15.swf เจตนายึดถือเพื่อตนนั้นไม่หนักแน่นเหมือนกับเจตนาเป็นเจ้าของเพราะเจตนาเป็นเจ้าของนั้นไม่เพียงแต่มีเจตนายึดถือทรัพย์สินนั้นไว้เพื่อผลประโยชน์ของตน แต่มีเจตนาที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นด้วย ด้วยเหตุนี้จึงมีคำกล่าวว่าถ้ามีเจตนาเป็นเจ้าของแล้วก็ย่อมมีเจตนายึดถือเพื่อตนอยู่ในตัว

  40. 40 File : Law202_U1_15.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 2.การครอบครอง 2.1 องค์ประกอบของการครอบครอง 2. ต้องมีเจตนายึดถือเพื่อตน (animus sibi habendi) ผู้ยึดถือทรัพย์สินที่ถือว่าไม่มีเจตนายึดถือเพื่อตน มีดังต่อไปนี้... 1. ลูกจ้างไม่มีเจตนายึดถือเพื่อตน 2. กรณีเจ้าของหรือผู้ยึดถือสถานที่อันเป็นที่สาธารณชนเข้าออกได้... 3. ผู้ยึดถือทรัพย์สิ่งของใหญ่ย่อมไม่มีเจตนายึดถือ... 4. ผู้ยึดถือทรัพย์สินของผู้อื่นเพียงชั่วคราว.. คลิกที่หัวข้อเพื่อแสดงรายละเอียด • เริ่มพูด พร้อมแสดงปุ่มแต่ละปุ่มขึ้นมาให้สัมพันธ์กับเสียง • เมื่อ Roll over ที่ปุ่มใดทำปุ่มเด่นชัดขึ้น • เมื่อคลิกที่ปุ่ม ปรากฎ ข้อความเป็น pop up ดังเช่นใน Slide ถัดไป • เมื่อคลิกปุ่ม Next ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_21.swf สำหรับผู้ยึดถือทรัพย์สินที่ถือว่าไม่มีเจตนายึดถือเพื่อตน มีดังต่อไปนี้ นักศึกษาสามารถคลิกหัวข้อเพื่อแสดงรายละเอียดได้เลยค่ะ

  41. 41 File : Law202_U1_16.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 2.การครอบครอง 2.1 องค์ประกอบของการครอบครอง Back to menu 1. ลูกจ้างไม่มีเจตนายึดถือเพื่อตน • ลูกจ้างโดยทั่วไปแล้วต้องถือว่ามีเจตนายึดถือแทนนายจ้าง จึงทำให้ลูกจ้าง ไม่มีการครอบครองในทรัพย์แต่ทำให้นายจ้างมีการครอบครองในทรัพย์แทน ลูกจ้าง กะนายจ้าง • แต่ถ้าหากลูกจ้างได้รับมอบหมายให้ใช้ดุลยพินิจให้จัดการ ทรัพย์สินที่อยู่ในการยึดถือของลูกจ้างอย่างไรก็ได้ต้องถือว่า ลูกจ้างมีเจตนายึดถือทรัพย์สินนั้นเพื่อตน ทำให้ลูกจ้างมีการ ครอบครองในทรัพย์สินนั้น คำพิพากษา  ลูกจ้างโดยทั่วไปแล้วต้องถือว่ามีเจตนายึดถือแทนนายจ้าง จึงทำให้ลูกจ้างไม่มีการครอบครองในทรัพย์แต่ทำให้นายจ้างมีการครอบครองในทรัพย์แทน แต่ถ้าหากลูกจ้างได้รับมอบหมายให้ใช้ดุลยพินิจให้จัดการ ทรัพย์สินที่อยู่ในการยึดถือของลูกจ้างอย่างไรก็ได้ต้องถือว่า ลูกจ้างมีเจตนายึดถือทรัพย์สินนั้นเพื่อตน ทำให้ลูกจ้างมีการครอบครองในทรัพย์สินนั้น นักศึกษาสามารถคลิกปุ่มเพื่อดาวน์โหลดเอกสารคำพิพากษาของเรื่องนี้ไปศึกษาเพิ่มเติมกันได้เลยนะค่ะ • ปรากฎข้อความ ภาพ และเสียงบรรยาย • เมื่อ Roll over ที่ปุ่ม สีม่วง ปรากฎคำว่า “คำพิพากษา ” ขึ้น และเมื่อคลิก ปรากฎ ไฟล์ 202_1_16.pdf • เมื่อคลิกปุ่ม Back to menu ปรากฎ ไฟล์Law202_1_15.swf

  42. 42 File : Law202_U1_17.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 2.การครอบครอง 2.1 องค์ประกอบของการครอบครอง Back to menu 2. กรณีเจ้าของหรือผู้ยึดถือสถานที่อันเป็นที่สาธารณชนเข้าออกได้ ไม่ถือว่ามีเจตนายึดถือของที่ตกหล่นในสถานที่นั้นเพื่อตน • ถ้าหากเป็นทรัพย์สินตกอยู่ในสถานที่ที่เป็นที่สาธารณชนสามารถเข้าออกได้ เช่น เป็นร้านขายสินค้าหรือห้างสรรพสินค้าและเจ้าของ หรือผู้ยึดถือสถานที่นั้น ก็มิได้รู้ถึงการที่ทรัพย์สินได้ตกอยู่ในสถานที่ของตนแล้ว ต้องถือว่าผู้ยึดถือสถานที่นั้นไม่ได้ยึดถือทรัพย์สินที่ ตกอยู่ในร้านของตนโดยมีเจตนายึดถือเพื่อตนแต่อย่างใด หากใครไปพบทรัพย์สินนั้นและเก็บทรัพย์สินนั้นได้ถือว่าผู้นั้นเก็บได้ซึ่ง ทรัพย์สินหายนั้นแล้ว ห้างสรรพสินค้า • แต่ถ้าเป็นกรณีของผู้ครอบครองโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่รโหฐาน ก็ต้องถือว่าผู้ที่ยึดถือโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างมีเจตนายึดถือทุกสิ่งทุกอย่าง ที่อยู่ในโรงเรือนหรือสถานที่รโหฐานนั้นเพื่อตน โดยไม่คำนึงว่าผู้ยึดถือจะรู้ หรือไม่รู้ว่ามีสิ่งเหล่านั้นอยู่ในโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างหรือไม่ โรงเรือน ถ้าหากเป็นทรัพย์สินตกอยู่ในสถานที่ที่เป็นที่สาธารณชนสามารถเข้าออกได้ เช่น เป็นร้านขายสินค้าหรือห้างสรรพสินค้าและเจ้าของหรือผู้ยึดถือสถานที่นั้น ก็มิได้รู้ถึงการที่ทรัพย์สินได้ตกอยู่ในสถานที่ของตนแล้ว ต้องถือว่าผู้ยึดถือสถานที่นั้นไม่ได้ยึดถือทรัพย์สินที่ตกอยู่ในร้านของตนโดยมีเจตนายึดถือเพื่อตนแต่อย่างใด หากใครไปพบทรัพย์สินนั้นและเก็บทรัพย์สินนั้นได้ถือว่าผู้นั้นเก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหายนั้นแล้ว แต่ถ้าเป็นกรณีของผู้ครอบครองโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่รโหฐาน ก็ต้องถือว่าผู้ที่ยึดถือโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างมีเจตนายึดถือทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในโรงเรือนหรือสถานที่รโหฐานนั้นเพื่อตน โดยไม่คำนึงว่าผู้ยึดถือจะรู้หรือไม่รู้ว่ามีสิ่งเหล่านั้นอยู่ในโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างหรือไม่ • ปรากฎข้อความ ภาพ และเสียงบรรยาย • เมื่อคลิกปุ่ม Back to menu ปรากฎ ไฟล์Law202_1_15.swf

  43. 43 File : Law202_U1_18.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 2.การครอบครอง 2.1 องค์ประกอบของการครอบครอง Back to menu 3. ผู้ยึดถือทรัพย์สิ่งของใหญ่ย่อมไม่มีเจตนายึดถือทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในทรัพย์สิ่งของใหญ่นั้น เว้นแต่รู้ ตัวอย่าง ดำได้นำโต๊ะทำงานไปจ้างให้นายขาวซ่อมแซมขาวไม่ทราบว่ามีเงิน 10,000 บาท อยู่ในโต๊ะทำงานนั้น ต้องถือว่าขาวไม่ได้ มีเจตนายึดถือเงิน 10,000 บาท นั้นเพื่อตน ขาวไม่มีการครอบครองเงิน 10,000 บาท นั้นในระหว่างทำการซ่อมแซมโต๊ะขาวพบเงิน 10,000 บาท อยู่ในลิ้นชัก ล็อคกุญแจอย่างดี จึงนำเงินนั้นไป ในกรณีนี้ต้องถือว่าขาวมีความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ใช่ยักยอก ขาวรับโต๊ะทำงานมาซ่อม แต่ถ้าดำได้แจ้งให้ขาวทราบแล้วว่าในโต๊ะนั้นมีเงินอยู่ 10,000 บาท ในกรณีนี้ต้องถือว่าขาวมีเจตนายึดถือเงิน 10,000 บาท เพื่อตน มีการครอบครองเงิน 10,000 นั้นแล้ว ถ้าขาวเอา เงิน 10,000 บาท นั้นไป ขาวมีความผิดฐานยักยอกไม่ใช่ลักทรัพย์ ดำเอาโต๊ะทำงานไปให้ขาวซ่อม ผู้ยึดถือทรัพย์สิ่งของใหญ่ย่อมไม่มีเจตนายึดถือทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในทรัพย์สิ่งของใหญ่ นั้น เว้นแต่รู้ตัวอย่างเข่น ดำได้นำโต๊ะทำงานไปจ้างให้นายขาวซ่อมแซมขาวไม่ทราบ ว่ามีเงิน 10,000 บาทอยู่ในโต๊ะทำงานนั้นต้องถือว่าขาวไม่ได้มีเจตนายึดถือเงิน 10,000 บาท นั้นเพื่อตน ขาวไม่มีการครอบครองเงิน 10,000 บาท นั้นในระหว่างทำการ ซ่อมแซมโต๊ะขาวพบเงิน 10,000 บาท อยู่ในลิ้นชัก ล็อคกุญแจอย่างดี จึงนำเงินนั้น ไป ในกรณีนี้ต้องถือว่าขาวมีความผิดฐานลักทรัพย์ไม่ใช่ยักยอก แต่ถ้าดำได้แจ้งให้ขาว ทราบแล้วว่าในโต๊ะนั้นมีเงินอยู่10,000 บาท ในกรณีนี้ต้องถือว่าขาวมีเจตนายึดถือเงิน 10,000 บาท เพื่อตน มีการครอบครองเงิน 10,000 นั้นแล้ว ถ้าขาวเอาเงิน 10,000 บาท นั้นไป ขาวมีความผิดฐานยักยอกไม่ใช่ลักทรัพย์ • ปรากฎข้อความ ภาพ และเสียงบรรยาย • เมื่อคลิกปุ่ม Back to menu ปรากฎ ไฟล์Law202_1_15.swf

  44. 44 File : Law202_U1_20.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 2.การครอบครอง 2.1 องค์ประกอบของการครอบครอง Back to menu 4. ผู้ยึดถือทรัพย์สินของผู้อื่นเพียงชั่วคราวไม่ถือว่ามีเจตนายึดถือเพื่อตน ดำถือปืนไปให้ขาว เช่น ดำเอาปืนมาฝากขาวไว้ชั่วคราว ไม่ถือว่าขาวมีเจตนายึดถือปืนนั้นเพื่อตนขาวไม่มีการครอบครองในปืนกระบอกนั้น (ฎีกาที่ 2055/2515 และ 3422/2516) ขาวรับมาจากดำ ผู้ยึดถือทรัพย์สินของผู้อื่นเพียงชั่วคราวไม่ถือว่ามีเจตนายึดถือเพื่อตน ดังเช่นคำพิพากษาฎีกาที่ 2055/2515 และ 3422/2516 ดำเอาปืนมาฝากขาวไว้ชั่วคราว ไม่ถือว่าขาวมีเจตนายึดถือปืนนั้นเพื่อตนขาวไม่มีการครอบครองในปืนกระบอกนั้น ค่ะ • ปรากฎข้อความ ภาพ และเสียงบรรยาย • เมื่อคลิกปุ่ม Back to menu ปรากฎ ไฟล์Law202_1_15.swf

  45. 45 File : Law202_U1_21.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 2.การครอบครอง 2.1 ประเภทของการครอบครอง • แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ... 1. ครอบครองโดยเจตนาเป็นเจ้าของ • ผู้เช่า ผู้ยืม ผู้รับฝากทรัพย์ ผู้ทรงสิทธิเก็บกิน ผู้ทรงสิทธิ อาศัย ผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดิน ผู้รับจำนำ ฯลฯ เป็นผู้ ยึดถือแทนเจ้าของทรัพย์สินจึงทำให้ เจ้าของทรัพย์สินมี การครอบครองอย่างเจตนาเป็นเจ้าของได้ตามมาตรา 1368 คนที่มีลักษณะเป็นเงา 2. ครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตน • โดยบุคคลเหล่านี้ได้ยึดถือทรัพย์เหล่านั้นเอาไว้โดยเจตนายึดถือเพื่อตน ซึ่งต้อง ถือว่ามีการครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนด้วย Glossary  • เริ่มพูด • ปรากฏข้อความ และภาพประกอบให้สอดคล้องกับเสียงบรรยาย • เมื่อ Roll over ที่ปุ่ม Glossary ปรากฎคำว่า “Glossary” ขึ้น และเมื่อคลิก ปรากฎ บทบัญญัติ มาตรา 1368 • เมื่อบรรยายจบปรากฎให้เฟดเนื้อหาในสไลด์ถัดไปเข้ามา การครอบครองจึงแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ครอบครองโดยเจตนาเป็นเจ้าของประเภทหนึ่ง และครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนอีกประเภทหนึ่ง ทรัพย์สินอันเดียวกันอาจมีการครอบครองทั้ง 2 ประเภทไปพร้อมกันได้ ผู้เช่า ผู้ยืม ผู้รับฝากทรัพย์ และผู้มีทรัพยสิทธิอื่นๆ อย่าง ผู้ทรงสิทธิเก็บกิน ผู้ทรงสิทธิอาศัย ผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดิน ผู้รับจำนำ ฯลฯ บุคคลเหล่านี้เป็นผู้ยึดถือแทนเจ้าของทรัพย์สินจึงทำให้เจ้าของทรัพย์สินมีการครอบครองอย่างเจตนาเป็นเจ้าของได้ตามมาตรา 1368 บุคคลเหล่านี้ถึงแม้ว่าจะถือว่าเป็นผู้ยึดถือทรัพย์สินเหล่านี้แทนเจ้าของทรัพย์ก็ตามแต่ก็ต้องถือว่าบุคคลเหล่านี้ได้ยึดถือทรัพย์เหล่านั้นเอาไว้โดยเจตนายึดถือเพื่อตนต้องถือว่ามีการครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนด้วย

  46. 46 File : Law202_U1_21.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 2.การครอบครอง 2.1 ประเภทของการครอบครอง • ผู้เช่า ผู้ยืม ฯลฯ เป็นเพียงผู้ยึดถือแทน • เจ้าของเป็นผู้ครอบครองโดยเจตนาเป็นเจ้าของ 1. ครอบครองโดยเจตนาเป็นเจ้าของ คนที่มีลักษณะเป็นเงา • ผู้เช่า ผู้ยืม ฯลฯ เป็นผู้ครอบครอง 2. ครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตน • เริ่มพูด พร้อมแสดง Mascot • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “...ในระดับการครอบครอง...” ปรากฎ ภาพ และข้อความในลำดับแรก • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “...แต่ถ้าเป็นระดับการครอบครอง...” ปรากฎ ภาพ และข้อความในลำดับที่สอง • เมื่อคลิกปุ่ม Next ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_22.swf กล่าวโดยสรุป ในระดับการครอบครองโดยเจตนาเป็นเจ้าของ ผู้เช่า ผู้ยืม ฯลฯ เป็นเพียงผู้ยึดถือแทน เจ้าของเป็นผู้ครอบครองโดยเจตนาเป็นเจ้าของ แต่ถ้าเป็นระดับการครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตน ผู้เช่า ผู้ยืม ฯลฯ เป็นผู้ครอบครองเอง

  47. 47 File : Law202_U1_22.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 3. สิทธิครอบครอง 3.1 ความเบื้องต้น • สิทธิครอบครอง คือ ประโยชน์ที่กฎหมายรับรอง คุ้มครองให้แก่ผู้ครอบครอง ประโยชน์ที่ผู้ครอบครองได้รับนี้เป็น ประโยชน์ในทางต่อสู้ เพื่อรักษาสถานภาพเดิมเอาไว้ไม่ได้เป็นประโยชน์ ในทางเพิ่มพูนแต่อย่างใด • สิทธิครอบครองนั้นผู้ครอบครองมีได้แม้ได้การ ครอบครองมาโดยการกระทำผิดกฎหมาย • หากบุคคลใดมาทำลายการครอบครองของ • ผู้ครอบครอง บุคคลนั้นย่อมทำละเมิดต่อผู้ ครอบครองและต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนตามมาตรา 420 สิทธิครอบครอง สิทธิครอบครอง Glossary คลิกเพื่อดาวน์โหลดเอกสารตัวอย่าง  • เริ่มพูด พร้อมแสดง Mascot และบอลลูนข้อความ • เมื่อ Roll over ที่ปุ่ม Glossary ปรากฎคำว่า “Glossary” ขึ้น และเมื่อคลิก ปรากฎ บทบัญญัติ มาตรา 420 (ปอ.) • เมื่อ คลิกปุ่ม สีน้ำตาล ปรากฎ ไฟล์ 202_1_22.pdf • เมื่อคลิกปุ่ม Next ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_23.swf สิทธิครอบครอง คือ ประโยชน์ที่กฎหมายรับรอง คุ้มครองให้แก่ผู้ครอบครองประโยชน์ที่ผู้ครอบครองได้รับนี้เป็นประโยชน์ในทางต่อสู้ เพื่อรักษาสถานภาพเดิมเอาไว้ไม่ได้เป็นประโยชน์ในทางเพิ่มพูนแต่อย่างใด สิทธิครอบครองนั้นผู้ครอบครองมีได้แม้ได้การครอบครองมาโดยการกระทำผิดกฎหมาย และหากบุคคลใดมาทำลายการครอบครองของผู้ครอบครอง บุคคลนั้นย่อมทำละเมิดต่อผู้ครอบครองและต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 420 ครับ และนอกจากนี้ในเรื่องสิทธิครอบครองนี้มีตัวอย่างให้นักศึกษาได้ดาวน์โหลดเพื่อนำไปศึกษาเพิ่มเติมกัน เชิญนักศึกษาคลิกได้เลยนะค่ะ

  48. 48 File : Law202_U1_23.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 3. สิทธิครอบครอง 3.2 สิทธิหรือประโยชน์ของผู้ครอบครอง • ประโยชน์ที่ผู้ครอบครองได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายโดยไม่คำนึงว่าผู้ครอบครองได้การครอบครองมาโดยการกระทำความผิดหรือไม่ มีดังต่อไปนี้... 1. สิทธิขจัดการรบกวนการครอบครองของตน 2. สิทธิได้คืนซึ่งการครอบครองจากผู้แย่งการครอบครอง 3. สิทธิป้องกันตัว 4. สิทธิได้คืนค่าใช้จ่ายในการดูแลทรัพย์สินที่ครอบครองเมื่อต้องคืนการครอบครองแก่ผู้มีสิทธิ คลิกที่หัวข้อเพื่อแสดงรายละเอียด • เริ่มพูด • เมื่อถึงเสียงบรรยาย “...มีดังต่อไปนี้คือ...” ปรากฎหัวข้อเป็นปุ่ม ให้สัมพันธ์กับเสียงบรรยาย • เมื่อ Roll over ที่ปุ่ม ทำให้ปุ่ม เด่นชัดขึ้น • เมื่อคลิก Link ข้อความไปยังไฟล์ต่างๆ ดังนี้ • คลิก หัวข้อแรก ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_24.swf • - คลิก หัวข้อสอง ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_25.swf • - คลิก หัวข้อสาม ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_26.swf • คลิก หัวข้อสี่ ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_27.swf • เมื่อคลิก Next ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_28.swf ประโยชน์ที่ผู้ครอบครองได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายโดยไม่คำนึงว่าผู้ครอบครองได้การครอบครองมาโดยการกระทำความผิดหรือไม่ มีดังต่อไปนี้คือ1. สิทธิขจัดการรบกวนการครอบครองของตน2. สิทธิได้คืนซึ่งการครอบครองจากผู้แย่งการครอบครอง 3. สิทธิป้องกันตัว และ 4.สิทธิได้คืนค่าใช้จ่ายในการดูแลทรัพย์สินที่ครอบครองเมื่อต้องคืนการครอบครองแก่ผู้มีสิทธิ นักศึกษาสามารถคลิกหัวข้อเพื่อแสดงรายละเอียดได้เลยนะค่ะ

  49. 49 File : Law202_U1_24.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 3. สิทธิครอบครอง 3.2 สิทธิหรือประโยชน์ของผู้ครอบครอง 1. สิทธิขจัดการรบกวนการครอบครองของตน มาตรา 1374 ถ้าผู้ครอบครองถูกรบกวนในการครอบครองทรัพย์สิน เพราะมีผู้สอดเข้าเกี่ยวข้องโดยมิชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ครอบครองมีสิทธิจะให้ปลดเปลื้องการรบกวนนั้นได้ ถ้าเป็นที่น่าวิตกว่าจะยังมีการรบกวนอีก ผู้ครอบครองจะขอต่อศาลให้สั่งห้ามก็ได้ การฟ้องคดีเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนนั้น ท่านว่าต้องฟ้องภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาถูกรบกวน คลิกเพื่อดาวน์โหลดเอกสารตัวอย่าง สิทธิขจัดการรบกวนการครอบครองของตน ในมาตรา 1374 ได้บัญญัติว่า ถ้าผู้ครอบครองถูกรบกวนในการครอบครองทรัพย์สิน เพราะมีผู้สอดเข้าเกี่ยวข้องโดยมิชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ครอบครองมีสิทธิจะให้ปลดเปลื้องการรบกวนนั้นได้ ถ้าเป็นที่น่าวิตกว่าจะยังมีการรบกวนอีก ผู้ครอบครองจะขอต่อศาลให้สั่งห้ามก็ได้ การฟ้องคดีเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนนั้น ท่านว่าต้องฟ้องภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาถูกรบกวน โดยถ้าหากใครทำให้ผู้ครอบครองได้รับความเดือดร้อนเกินกว่าปกติก็ถือว่าได้รบกวนการครอบครองแล้วครับ นักศึกษาอย่าลืมคลิกปุ่มเพื่อดาวน์โหลดเอกสารตัวอย่างกันนะค่ะ • เริ่มพูด พร้อมแสดง Mascot • ปรากฎข้อความ ให้สัมพันธ์กับเสียงบรรยาย • เมื่อ คลิกปุ่ม สีน้ำตาล ปรากฎ ไฟล์ 202_1_24.pdf • เมื่อคลิกปุ่ม Back ปรากฎ ไฟล์ Law202_1_23.swf

  50. 50 File : Law202_U1_25.swf หัวเรื่อง : หน้าเนื้อหา 3. สิทธิครอบครอง 3.2 สิทธิหรือประโยชน์ของผู้ครอบครอง 2. สิทธิได้คืนซึ่งการครอบครองจากผู้แย่งการครอบครอง มาตรา 1375 ถ้าผู้ครอบครองถูกแย่งการครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ครอบครองมีสิทธิจะได้คืนซึ่งการครอบครอง เว้นแต่อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินดีกว่าซึ่งจะเป็นเหตุให้เรียกคืนจากผู้ครอบครองได้ การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองนั้น ท่านว่าต้องฟ้องภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง สำหรับสิทธิได้คืนซึ่งการครอบครองจากผู้แย่งการครอบครอง ในมาตรา 1375 ได้บัญญัติว่า ถ้าผู้ครอบครองถูกแย่งการครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ครอบครองมีสิทธิจะได้คืนซึ่งการครอบครอง เว้นแต่อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินดีกว่าซึ่งจะเป็นเหตุให้เรียกคืนจากผู้ครอบครองได้ การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองนั้น ท่านว่าต้องฟ้องภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง • เริ่มพูด พร้อมแสดง Mascot • ปรากฎข้อความ ให้สัมพันธ์กับเสียงบรรยาย • เมื่อบรรยายจบปรากฎให้เฟดเนื้อหาในสไลด์ถัดไปเข้ามา

More Related