280 likes | 597 Views
เรื่อง. ระบบประสาท. ระบบประสาท. ส่วนประกอบของสมอง มีดังนี้ 1. สมองส่วนหน้า (Forebrain หรือ Prosencephalon) เป็นส่วนที่อยู่หน้าสุด แบ่งออกเป็น - Cerebrum (ซีรีบรัม) เป็นสมองส่วนหน้าสุดในสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ เช่น ปลา กบ .
E N D
เรื่อง ระบบประสาท
ระบบประสาท • ส่วนประกอบของสมอง มีดังนี้ • 1. สมองส่วนหน้า (Forebrain หรือ Prosencephalon) เป็นส่วนที่อยู่หน้าสุด แบ่งออกเป็น • - Cerebrum (ซีรีบรัม) เป็นสมองส่วนหน้าสุดในสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ เช่น ปลา กบ
มีหน้าที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น มีส่วนพองออก เรียกว่า olfactory bulb ส่วนในสัตว์ชั้นสูง สมองส่วนนี้จะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งต่างๆรวมทั้งเชาวน์ ปัญญา ความจำ มีส่วนเนื้อสีเทาชั้นนอก(Cerebral-cortex) ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์รับความรู้สึก (ภาพ รส กลิ่น เสียง สัมผัส ความเจ็บปวด ความร้อน เย็น ) ควบคุมให้กล้ามเนื้อทำงานและบอกตำแหน่งมีส่วน Corpus callosum ซึ่งถือกันว่ามีหน้าที่ …. ควบคุมพฤติกรรมและบุคลิกภาพของคนที่เกิดจากการเรียนรู้ • - Diencephalon ( ไดเอนเซฟาลอน ) เป็นส่วนท้ายสุดของสมองส่วนหน้า อยู่ทางด้านล่าง ปกติจะมองไม่เห็น เพราะ Cerebrum คลุมอยู่ มีหน้าที่ … เป็นสถานีถ่ายทอด หรือศูนย์กลางส่งความรู้สึก ( เปรียบกับชุมสายโทรศัพท์ ) ยกเว้นการดมกลิ่น โดยที่กระแสความรู้สึกจะผ่านเข้ามาใน diencephalon แล้วจึงส่งไปยังซีรีบรัม ส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกระแสความรู้สึกนั้น ๆ
ส่วนท้ายของสมองส่วนหน้า ( Diencephalon ) แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ • - ทาลามัส ( thalamus ) มีตำแหน่งอยู่ข้าง ๆ โพรงสมอง อันที่ 3 ถือว่าเป็นสถานีถ่ายทอดสัญญาณความรู้สึกที่สำคัญที่เข้าสู่สมอง และไขสันหลัง ( เนื่องจากมีบริเวณที่รับความรู้สึกมาจากบริเวณหนึ่งของซีรีบรับและส่งกลับไปที่บริเวณอื่น ๆ ของซีรีบรัมด้วยและรับข้อมูลจากซีรีบรัมส่งต่อไปที่ซี่รีเบลรัมและเมดุลลาถือว่ามีหน้าที่แตกต่างกันมากมาย ) สำหรับธาลามัสในสัตว์มีมีกระดูกสันหลังชั้นต่ำจะทำหน้าที่รับ แปรและประสานงาน สัญญาณความรู้สึกด้วยตัวเอง แต่ใสสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูง ซีรีบรัมเจริญขึ้นมากจึงทำหน้าที่แปรสัญญาณความรู้สึกและทำหน้าที่ประสานงานแทนธาลามัส
ส่วนท้ายของสมองส่วนหน้า ( Diencephalon ) แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ • - ทาลามัส ( thalamus ) มีตำแหน่งอยู่ข้าง ๆ โพรงสมอง อันที่ 3 ถือว่าเป็นสถานีถ่ายทอดสัญญาณความรู้สึกที่สำคัญที่เข้าสู่สมอง และไขสันหลัง ( เนื่องจากมีบริเวณที่รับความรู้สึกมาจากบริเวณหนึ่งของซีรีบรับและส่งกลับไปที่บริเวณอื่น ๆ ของซีรีบรัมด้วยและรับข้อมูลจากซีรีบรัมส่งต่อไปที่ซี่รีเบลรัมและเมดุลลาถือว่ามีหน้าที่แตกต่างกันมากมาย ) สำหรับธาลามัสในสัตว์มีมีกระดูกสันหลังชั้นต่ำจะทำหน้าที่รับ แปรและประสานงาน สัญญาณความรู้สึกด้วยตัวเอง แต่ใสสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูง ซีรีบรัมเจริญขึ้นมากจึงทำหน้าที่แปรสัญญาณความรู้สึกและทำหน้าที่ประสานงานแทนธาลามัส
- ไฮโปธาลามัส เป็นส่วนพื้นของโพรงสมองอันที่สามที่มีขนาดเล็อยู่ใด้ธาลามัสติดกับต่อมใต้สมอง ภายในกลุ่มีมีเซลล์ประสาทอยู่น้อยถือว่าเป็นศูนย์ควบุมกระบวนการและพฤติกรรมบางอย่างของร่างกาย เช่น ควบคุมอุณหภูมิ ความดันโลหิต ความรู้สึกทางเพศ อารมณ์ ความต้องการน้ำและอาหาร ความกลัว การนอนหลับ การต่อสู้ การหนีภัย พฤติกรรมการสืบพันธุ์ ควบคุม เมตาบอลิซึมของ คาร์โบไฮเดรตและไขมัน นอกจานนี้ยังเป็นแหล่งที่มีเซลล์ที่มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนประสาทหลายนิดมาควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมใต้สมอง เป็นบริเวณที่ระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อทำหน้าที่ประสานงานกัน ในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย
2 สมองส่วนกลาง อยู่ถัดจากสมองส่วนหน้ามีเส้นประสาทรับความรู้สึคกจากตามายังสมองส่วนนี้ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการมองเห็นในสัตว์ มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ เช่นปลา และกบตอนบนจะพองออกเป็นกระเปาะเรียกว่า optic lobe แต่ในสัตว์มีกระดูกสันหลังขั้นสูงจะมีขนาดลดลงและจะทำหน้าที่เป็นสถานีถ่ายทอดสัญญาณ หรือกระแสความรู้สึกเกี่ยวกับการมองเห็น • 3 สมองส่วนหลัง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ซีรีเบลลัม ซึ่งอยู่ทางด้านบนและเมดุลลาออบลองกาตา อยู่ด้านข้างและด้านล่าง
ชนิดของเซลล์ประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลังแบ่งตามรูปร่างมี 3 ชนิด • 1. เซลล์ประสาทขั้วเดียว • 2. เซลล์ประสาทสองขั้ว • 3. เซลล์ประสาทหลายขั้ว
พูดถึงระบบประสาท หลายคนมักจะคิดถึงเฉพาะการทำงานของเส้นประสาทในสมองเท่านั้น เพราะเราท่านมักจะได้ยินได้ฟังมาว่า หากใครมีอาการผิดปกติทางระบบประสาท โดยมากจะหมายถึงคนที่มีสติสัมปชัญญะไม่ค่อยสมบูรณ์ หรือที่เรียกว่า "บ้า" นั่นเอง • จริงๆ แล้วระบบประสาทไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะในสมองเท่านั้น แต่เป็นการวางสายงานออกไปตามจุดต่างๆ ทั่วร่างกายเลยทีเดียว
หน้าที่หลักของระบบประสาทก็คือคอยควบคุมการทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกายให้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องประสานกัน คอยควบคุมความคิด และรับความรู้สึกจากสิ่งเร้าภายนอก แล้วปรับร่างกายให้ตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้นได้โดยผ่านการสัมผัสทางผิวหนัง ดวงตา หู จมูก และลิ้น • รู้หรือไม่ว่า แม้ว่าสมองจะมีน้ำหนักโดยประมาณเพียงร้อยละ 2 ของน้ำหนักตัวแต่สมองต้องใช้ปริมาณออกซิเจนเพื่อไปหล่อเลี้ยงถึงร้อยละ 25 จากจำนวนออกซิเจนที่ร่างกายได้รับ
สมองของคนเราจำเป็นต้องใช้พลังงานอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาในปริมาณที่เท่ากับการใช้หลอดไฟขนาด 20 วัตต์ • เมื่อเทียบน้ำหนักที่เท่ากันระหว่างสมองและกล้ามเนื้อ พบว่าในขณะที่สมองกำลังรวบรวมสมาธิใช้ความคิดจะเกิดการเผาผลาญพลังงานไปหลายแคลอรี ซึ่งจะมากพอๆ กับในเวลาที่คนเราใช้กล้ามเนื้อออกกำลังกายอย่างหักโหม • เส้นประสาทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกายนั้นมีขนาดเท่ากับความหนาของแท่งดินสอ เส้นประสาทที่ว่านี้คือ เส้นประสาทจากสะโพกซึ่งแยกมาจากไขสันหลัง
เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาว สมองของคนเราจะมีขนาดโตเป็น 3 เท่าของสมองเด็กเมื่อแรกเกิด แต่พ้นจากวัยหนุ่มสาวเข้าสู่วัย 65 ปี สมองจะฝ่อไปประมาณ 28 กรัม • อาการปวดศีรษะของคนเรานั้นเกิดขึ้นที่หลอดเลือดดำที่ทอดตัวอยู่ภายนอกสมอง ภายในเนื้อสมองเองจะไม่มีปลายประสาทฝังอยู่ ตัวมันจึงไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดแม้จะถูกตัดออกไป กระแสสัญญาณที่รับความรู้สึกขณะที่ถูกส่งเข้าไปในสมอง จะมีความเร็วสูงสุดถึง 400 กิโลเมตร • หากเทียบกันแล้ว เซลล์ประสาทจะยาวและบางกว่าเซลล์อื่นๆ และมีเซลล์ประสาทอยู่เส้นหนึ่งที่เชื่อมต่อกับไขสันหลังลงไปที่นิ้วหัวแม่เท้า แต่ละเซลล์สามารถยืดตัวได้ถึง 3 ฟุต
การทำงานของระบบประสาทการทำงานของระบบประสาท • ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ 1. อวัยวะรับความรู้สึก (Receptors) ซึ่งได้แก่ หู , ตา , ลิ้น , จมูก , ผิวหนัง , ข้อ , กล้ามเนื้อ เป็นอวัยวะที่ไวต่อตัวกระตุ้นมาก จะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานของสิ่งเร้าให้กลายเป็นกระแสประสาท (Nreve Implus) เซลล์รับความรู้สึกจะตอบสนองเฉพาะตัวกระตุ้นที่เป็นมันเองเท่านั้น เช่น ตารับความรู้สึกเกี่ยวกับแสง แต่จะไม่ตอบสนองตัวกระตุ้นที่เป็นเสียง เป็นต้น
2. เส้นประสาทรับความรู้สึก (Sensory Nerve Fiber) เป็นเส้นประสาทที่นำกระแสประสาท หรือความรู้สึกต่าง ๆ เข้าสู่สมอง หรือไขสันหลัง • 3. ตัวเชื่อมโยง (Connector) คือ ระบบประสาท สมองและไขสันหลัง กระแสประสาทที่ไหลผ่านเส้นประสาทรับความรู้สึกจะเข้าสู่ตัวเชื่อมโยง ซึ่งจะประกอบด้วยเซลล์ประสาทจำนวนล้าน ๆ เซลล์กระแสประสาทจะผ่านเข้าสู่ไขสันหลังก่อนแล้วจึงส่งให้สมอง สมองจะมีคำสั่งออกมาในรูปกระแสประสาทเพื่อไปกระตุ้นอวัยวะให้เกิดพฤติกรรม
4. เส้นประสาทสั่งงาน (Motor Nerve Fiber) คือ เส้นประสาทที่นำคำสั่ง (ในรูปของกระแสประสาท) จากสมองหรือไขสันหลังออกไปยังกล้ามเนื้อหรือต่อมต่าง ๆ • 5.อวัยวะที่ใช้ในการตอบสนอง (Effectors) กระแสประสาทจากสมองจะผ่านมายังเส้นประสาทสั่งงานมากระตุ้นกล้ามเนื้อหรือต่อมให้เกิดการตอบสนองในรูปของพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น ผงปลิวเข้าตา กระแสประสาทจากสมองจะกระตุ้นกล้ามเนื้อตาทำให้หนังตาปิด และขณะเดียวกันต่อมก็จะหลั่งน้ำตาออกมาเพื่อล้างสิ่งแปลกปลอมนั้น
ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) • มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ1.ไขสันหลัง (Spinal Cord) 2. สมอง (Brain)
1. ไขสันหลัง ไขสันหลังมีลักษณะเป็นลำยาวทอดอยู่ในช่องกระดูกสันหลัง ตลอดความยาวของลำตัว ไขสันหลังทำหน้าที่ส่งกระแสประสาท รับสัมผัสไปยังสมอง และรับกระแสประสาทตอบสนองจากสมองเพื่อส่งไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย นอกจากนั้นยังควบคุมปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ (Reflex) คือปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดโดยไม่ต้องรอให้สมองสั่งการ เช่น เมื่อบังเอิญไปถูกของร้อนจะรีบกระตุกมือหนีทันที
2. สมอง เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในการก่อให้เกิดพฤติกรรมของมนุษย์เป็นตัวควบคุมพฤติกรรมต่าง ๆ ทั้งในเรื่องการเรียนรู้ การคิด การจำ การตัดสินใจ เป็นต้น สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ2.1 สมองส่วนหลัง (Hindbrain) 2.2 สมองส่วนกลาง (Midbrin) 2.3 สมองส่วนหน้า (Forebrin)
2.1 สมองส่วนหลัง (Hindbrain) มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ • เมดัลลา (Medulla) เป็นข้อต่อระหว่างไขสันหลังกับสมอง ทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากไขสันหลังผ่านไปยังสมอง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ควบคุมการหายใจ การกลืนอาหาร การย่อยอาหาร และการเต้นของหัวใจ • เซรีเบลลัม (Cerebellum) อยู่ด้านหลังของเมดัลลา ทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมของกล้ามเนื้อต่าง ๆ ให้ทำงานประสานกัน ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัว การเคลื่อนที่ของร่างกายให้เป็นไปอย่างราบรื่น • พอนส์ (Pons) เป็นส่วนหนึ่งของก้านสมอง ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างเซรีเบลลัมซีกซ้ายขวา และเป็นสะพานเชื่อมสู่สมองส่วนหน้า • เรติคิวลาร์ ฟอร์เมชั่น (Reticular Foemation) ทำหน้าที่รับกระแสประสาทจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อส่งไปยังคอร์เท็กซ์ (Cortex) โดยไม่ได้ทำการแยกประเภทของกระแสประสาทเฉพาะอย่างทาลามัส (Thalamus) นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ควบคุมการตื่นตัวหรือง่วงหลับร่วมกับสมองไฮโปทาลามัสด้วย
2.2 สมองส่วนกลาง (Midbrain) อยู่ระหว่างสมองส่วนหลัง และส่วนหน้า ทำหน้าที่ควบคุมการกลอกกลิ้งของลูกนัยตา เมื่อติดตามวัตถุที่เคลื่อนที่ นอกจากนี้ยังควบคุมกริยาสะท้อนเกี่ยวกับการเห็น การได้ยิน และการสัมผัสด้วย • 2.3 สมองส่วนหน้า (Forebrain) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ • ทาลามัส (Thalamus) เป็นศูนย์กลางของการรับกระแสประสาทต่าง ๆ เพื่อส่งต่อไปยังเซรีบรัม (Cerebrum) เช่น กระแสประสาทที่มาจากตา ก็จะผ่านทาลามัสเพื่อส่งต่อไปยังเซรีบรัมในเขตของการเห็น (Visual area) เป็นต้น • ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) จะทำหน้าที่ควบคุมความรู้สึกร้อนหนาว ความหิว ความกระหาย ความก้าวร้าว ความรู้สึกทางเพศ การย่อยอาหาร เป็นต้น • เซรีบรัม (Cerebrum) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของสมอง ทำหน้าที่สั่งการการปฏิบัติงานของกล้ามเนื้อ การบันทึกความจำ การหาเหตุผล การตัดสินใจ ความคิดริเริ่ม ความหวัง เป็นที่เกิดแห่งการเรียนรู้ ดังนั้น นักจิตวิทยาจึงสนใจสมองส่วนนี้มาก
เซรีบรัมแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ • - ส่วนหน้า (Frontal Lobe) ซึ่งในส่วนนี้จะมีความสำคัญคือ เป็นที่ตั้งของเขตมอเตอร์ (Motor Area) ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อของร่างกายทั่วไป โดยกล้ามเนื้อของร่างกายทางด้านซ้ายถูกควบคุมโดยเขตมอเตอร์ของสมองซีกขวา และกล้ามเนื้อของร่างกายทางขวา ถูกควบคุมโดยเขตมอเตอร์ของสมองซีกซ้าย และเป็นที่ตั้งของเขตการพูด (Speech Area) - ส่วนกลาง (Parietal Lobe) มีความสำคัญคือเป็นที่ตั้งของเขตรับรู้ของร่างกาย (Body Sensory Area) จะทำหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับความร้อนหนาว ความเจ็บปวด การสัมผัส
ส่วนข้างหรือส่วนขมับ (Temporal Lobe) เป็นที่ตั้งของเขตการได้ยิน (Auditory Area) ทำหน้าที่ควบคุมการฟัง การได้ยิน - ส่วนหลัง (Occipital Lobe) เป็นที่ตั้งของเขตการเห็น (Visual Area) ทำหน้าที่ในการมอง การรับรู้ทางตา
ระบบประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nervous System) • ระบบประสาทส่วนปลายแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ • 1. ระบบประสาทโซมาติค (Somatic Nervous System) เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมภายนอก ประกอบด้วยเส้นประสาทจากสมอง 12 คู่ ไปยังอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตา หู จมูก ลำคอ ฯลฯ และเส้นประสาทจากไขสันหลัง 31 คู่ไปยังบริเวณ คอ อก เอว เชิงกราน ก้นกบ การทำงานแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ • 1.1 เส้นประสาทรับความรู้สึก ซึ่งจะนำข่าวสารจากภายนอกเข้าสู่ร่างกาย1.2 เส้นประสาทสั่งงาน นำข้อมูลจากสมองสู่กล้ามเนื้อ
2. ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System) เป็นระบบที่เกี่ยวกับการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ควบคุมการทำงานของต่อมต่าง ๆ ควบคุมการเต้นของหัวใจ ลักษณะการทำงานจะเป็นอิสระ และเป็นส่วนช่วยแบ่งเบาภาวะของระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาทอัตโนมัติแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ • 2.1 ระบบประสาทซิมพาเธติค (Sympathetic Nervous System) เป็นส่วนประสาทอิสระที่รับรู้การเร้าของประสาทในแถบบริเวณตั้งแต่ลำคอถึงท้อง ประสาทส่วนนี้ทำหน้าที่รับรู้ และควบคุมระบบต่าง ๆ เช่น การเต้นของหัวใจ ต่อมน้ำลาย และต่อมไม่มีท่ออื่น ๆ เป็นระบบที่ทำงานในสภาพที่เกิดการตกใจ โกรธ เครียด ซึ่งอวัยวะต่าง ๆ จะทำงานในอัตราเพิ่มขึ้น
2.2 ระบบประสาทพาราซิมพาเธติค (Parasympathetic Nervous system) แยกออกจากสมองส่วนล่างกับไขมันหลังส่วนปลายสุด ทำหน้าที่ตรงข้ามกับซิมพาเธติค เพื่อรักษาดุลยภาพของร่างกาย เช่น ซิมพาเธติค เร่งให้หัวใจเต้นเร็ว แต่พาราซิมพาเธติคจะรั้งหัวใจให้เต้นช้าเพื่อให้หัวใจทำงานปกติ • ระบบประสาทอัตโนมัติ มีการติดต่ออย่างใกล้ชิดกับระบบประสาทกลางโดยเซลล์ประสาทแกงเกลี่ย (Ganglia) ซึ่งมีรูปร่างคล้ายลูกโซ่เป็นเส้นยาว 2 เส้นขนานซ้ายขวาของกระดูกสันหลังตลอด • แกงเกลี่ย จะมีใยประสาทของมันเอง ซอกซอนไปทั้งร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ อวัยวะภายใน อันได้แก่ ลำไส้ หลอดโลหิต หัวใจ เป็นต้น
ระบบประสาทอัตโนมัติ ช่วยปรับความสมดุลย์ในร่างกายของมนุษย์เรา เช่น เวลามนุษย์เกิดความกลัว หัวใจจะเต้นแบบถี่ พอผ่านพ้นเวลานั้นหัวใจจะเต้นช้าลง • ระบบประสาทอัตโนมัติ ช่วยแบ่งเบาภาระของระบบประสาทกลางเพราะการปฏิบัติงานอวัยวะที่สำคัญในร่างกาย เช่น การเต้นของหัวใจ ถ้าให้สมองสั่งทุกขณะอาจพลั้งเผลอเป็นอันตรายได้
นาย อาหามะ สะมะ • รหัส 404766014 • โปรแกรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ • คณะ เทคโนโลยีการเกษตร