430 likes | 1.36k Views
Vitamin c. นางสาวเบญจพร ขาววิเศษ รหัสนิสิต 54050403 เลขที่ 20 กลุ่ม 03 คณะวิศวกรรมศาสตร์. Vitamin C. วิตามินซี หมายถึง ascorbic acid (AA) หรือ ascorbate เปน วิตามินชนิดละลายในน้ำได แต่ไม่ทนต่อความร้อนสูตรเคมีของ ascorbic acid คือ C 6 H 8 O 6. Vitamin C.
E N D
Vitamin c นางสาวเบญจพร ขาววิเศษ รหัสนิสิต 54050403 เลขที่ 20 กลุ่ม 03 คณะวิศวกรรมศาสตร์
VitaminC วิตามินซี หมายถึง ascorbic acid (AA) หรือ ascorbate เปน วิตามินชนิดละลายในน้ำได แต่ไม่ทนต่อความร้อนสูตรเคมีของ ascorbic acid คือ C6 H8O 6
ที่มา …VitaminC ในปี ค.ศ.1600 มีนักเดินเรือจํานวนมากเสียชีวิตลง เนื่องจาก เป็นโรคลักปิดลักเปิด (scurvy) ในปี ค.ศ.1747 มีการค้นพบความสําคัญของวิตามินซี เป็นครั้งแรก James Lind ค้น พบว่าผู้ที่เป็นโรคลักปิดลักเปิดแล้วรับประทานส้มและมะนาวจะท่าให้อาการทุเลาลงได้จึงได้ตีพิมพ์ สิ่งที่ค้นพบไว้ใน "Treatise of the Scurvy in 1753" ต่อมาประมาณปี ค.ศ.1930 มีนักวิทยาศาสตร์ 2 คน ที่ศึกษาเกี่ยวกับวิตามินซี แต่ก็พบแค่ว่า วิตามินซี ป้องกันและรักษาโรคลักปิดลักเปิดได้เท่านั้น หลังจากนั้นประมาณปี ค.ศ.1933 ก็มีการ สังเคราะห์วิตามินขึ้นในห้องทดลอง
แหล่ง …VitaminC • ผัก แต่ละชนิดมีปริมาณวิตามินซี mg /100 g มีดังนี้ 76mg 100-120mg 84mg 93mg 23mg 48mg 49mg 49mg
แหล่ง …VitaminC • ผลไม้ แต่ละชนิดมีปริมาณวิตามินซี (mg) /100 g มีดังนี้ 230mg 276mg 90mg 73mg 77mg 70mg 73mg 60mg 6mg 42mg 27mg
แหล่ง …VitaminC • อื่นๆ
ปริมาณที่แนะนำในการเสริมวิตามินซี(เม็ด)ปริมาณที่แนะนำในการเสริมวิตามินซี(เม็ด) ปริมาณวิตามินซีที่ร่างกายต้องการต่อวัน
VitaminC Metabolism การดูดซึม วิตามินซี จะเกิดขึ้นได้ดีเมื่อได้รับวิตามินซี ปริมาณน้อยหลายๆครั้ง ตลอดทั้งวัน ซึ่งจะ ดีกว่าการได้รับจํานวนมากในครั้งเดียว การขับออก คุณสมบัติการละลายนน้ำได้ของวิตามินซี จะนําไปสู่กับการขับออกกับปัสสาวะ metabolite ของ วิตามินซี ซึ่งรวมถึง DHAA, oxalic acid, 2-0-methyl ascorbate และ2-ketoascobitol ก็จะ ขับออกโดยวิธีนี้เช่นกัน โดยไตจะทําหน้าที่หลักในการขับออกและการจัดเก็บในร่างกาย
บุหรี่ สุรา ยาปฏิชีวนะ ยาแก้โรคแพ้พิษ แอสไพริน ผงโซดาที่ใช้ขนมปัง ยาระงับประสาท ยาพวกคอร์ติโซน ยาฆ่าแมลง ดีดีที ฮอร์โมนเอสโตรเจน ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน ยาซัลฟารักษาแผล อาหารหรือสารต้านฤทธิ์ VitaminC
ประโยชน์ …VitaminC • Antioxidant • เสริมสร้าง collagen • ไข้หวัด
Antioxidant อนุมูลอิสระ (free radical) หมายถึง สารซึ่งมีอิเล็กตรอนซึ่งไม่มีคู่อยู่ในวงรอบของอะตอม หรือโมเลกุล เราให้ความสำคัญกับสารซึ่งมีออกซิเจนเป็นศูนย์กลาง โดยปกติสารเหล่านี้เกิดขึ้นโดยปฏิกิริยาในร่างกาย ซึ่งมีความจำเป็นต้องอาศัยออกซิเจนช่วยจะเกิดผลพลอยได้ คือ ออกซิเจนที่มีประจุลบ (O2) ซึ่งก็คืออนุมูลอิสระ (free radicals) สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) คือสารที่มีสมบัติยับยั้งปฏิกิริยาลูกโซ่ของอนุมูลอิสระ มีทั้งที่เป็นสารจากธรรมชาติ (natural antioxidant) และสารสังเคราะห์ (synthetic antioxidant)และมีฤทธิ์ทำลายอนุมูลอิสระที่ร่างกายได้รับ
ผิวสวยด้วย… VitaminC collagen
ไข้หวัด ► ช่วยบรรเทาความรุนแรงและระยะเวลาของการเป็นโรคหวัด
ไข้หวัด จากการศึกษาLinus Pauling ได้มีการกระตุ้นประชาชนให้สนใจในการใช้วิตามิน ซี ขนาดที่สูง (มากกว่า 1 mg/วัน ) ในการป้องกันไข้หวัด ทบทวนงานวิจัยมากว่า 20 ปีพบว่า การให้วิตามินซีในขนาดที่สูง จะทําให้มีโอกาสเกิดไข้หวัดได้น้อย แต่ก็มีผลเฉพาะกลุ่ม ( เช่นคนที่กินอาหารและ marathoners น้อย ) พบว่าวิตามิน ซี ขนาดสูงๆ จะไปลดช่วงที่จะเป็นหวัดร้ายแรง และมีผลต่อ antihistamine ที่พบในวิตามินซี ขนาดสูงๆ ( ประมาณ 2 g)
เทคนิคการรับประทาน/การปรุงอาหารเทคนิคการรับประทาน/การปรุงอาหาร • ควรรับประทานผักและผลไม้สด • การหุงต้มผักควรใช้น้ำและเวลาให้น้อยที่สุด • ควรรับประทานวิตามิน ซี จากแหล่งธรรมชาติ หากจำเป็นควรให้อยู่ในคำแนะนำของแพทย์ • ห้ามใช้กับยาจำพวกกันเลือดแข็ง เพราะจะทำให้เลือดออกมากขึ้น • อาหารที่ควรรับประทานคู่กับวิตามินซี ก็คืออาหารซึ่งมีวิตามินบี 1 บี 3 บี 5 บี 6 บี 12 กรดโฟลิก และสังกะสี ดังกล่าว ได้แก่ เนื้อแดง ปลา ถั่ว ไข่ ผักใบเขียว อาหารทะเล เมล็ดฟักทอง นม โยเกิร์ต • ไม่จำเป็นต้องรับประทานพร้อมอาหาร หรือทานอาหารก่อนการรับประทาน • ไม่มีรายงานว่า วิตามินซี ชนิดพิเศษพวก Esterifies วิตามินซี จะให้ผลดีกว่าวิตามินซีแบบธรรมดา
ข้อควรระวัง ► การรับประทานในปริมาณสูงๆ อาจจะมีผลต่อการดูดซึมแร่ธาตุอื่นๆ เช่น Copper Selenium สูงกว่า 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ทำให้เสี่ยงต่อการตกตะกอนในทางเดินปัสสาวะอาจก่อให้เกิดนิ่วที่ไต สูงกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน อาจส่งผลข้างเคียงได้หลายประการ เช่น อาการคลื่นไส้อาเจียน ซึ่งเกิดจากวิตามินซี ไปสร้างความระคายเคืองให้กับ กระเพาะอาหาร ►การรับประทานในปริมาณสูงๆ อาจจะมีผลต่อการผิดพลาดของผลตรวจระดับน้ำตาลในปัสสาวะได้ ► วิตามินซี ทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กได้ดี จึงอาจจะเกิดภาวะได้รับธาตุเหล็กเกิน
อันตรายจาก VitaminC Pro-oxidant อันเนื่องมาจากมีปริมาณมากเกินไปหรือเวลารับประทานไม่เหมาะ เกิดอันตรกริยาผิดที่ จะเกิดผลข้างเคียงทำหน้าที่ตรงข้ามกับการเป็นแอนติออกซิแดนซ์เสียเอง เช่น Vit C: Hb denaturation in G-6-PD def. (Papandreou & Rakitzis, 1990)
อันตรายจาก VitaminC อันตรายจากการได้รับวิตามินซีมากเกินไป • เกาต์ เนื่องจากวิตามินซีมีหน้าที่ในการช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกาย การรับวิตามินซีในปริมาณมากจะทำให้เกิดปัญหาการสะสมธาตุเหล็กตามกระดูกข้อต่อต่างๆ มากขึ้น และอาจทำให้เกิดโรคเกาต์ได้ในที่สุด • นิ่วในไต การได้รับวิตามินซีมากเกินไปอาจไปรบกวนการดูดซึมของทองแดงและซีลีเนียมและ จะเกิด oxalic acid ซึ่งเป็นส่วนประกอบของนิ่ว ทำให้ให้มีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในไต • หากได้รับวิตามินซีเกินวันละ 10,000 มิลลิกรัม อาจทำให้ท้องเสีย ท้องอืด ท้องเฟ้อได้
อันตรายจากการขาด... VitaminC • ผู้ที่ขาดวิตามินซีมักมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดตามข้อต่อของร่างกาย เลือดออกตามไรฟัน เจ็บกระดูก • แผลหายช้า เนื่องจากวิตามินซีทำหน้าที่ต่อต้านการอักเสบและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย การได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอจะทำให้เส้นเลือดในร่างกายอ่อนแอ และทำให้บาดแผลที่เกิดขึ้นตามส่วนต่างๆ ของร่างกายหายช้ากว่าปกติ
อันตรายจากการขาด... VitaminC • เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย คุณสมบัติของวิตามินซี คือ เป็นตัวต่อต้านสารก่อมะเร็งและช่วยควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน ถ้าร่างกายขาดวิตามินซีจะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดต่ำลงและทำให้ติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ง่าย • เป็นโรคลักปิดลักเปิด ในกรณีของเด็กหรือผู้สูงอายุที่ได้รับวิตามินซีน้อยกว่าวันละ 10 มิลลิกรัม อาจทำให้เป็นโรคลักปิดลักเปิดได้ หากร่างกายขาดวิตามินซีมากเกินปกติอาจทำให้มีลูกยาก เป็นโรคโลหิตจางและมีภาวะความผิดปกติทางจิตได้
อ้างอิง http://www.wyethnutrition.co.th/$$Antioxidant%20Nutrients.html?menu_id=215&menu_item_id=4 http://www.medtechzone.com/data/hemato/G6PD.php http://www.pramool.com/classified/view.php3?katoo=O39163 http://drug.pharmacy.psu.ac.th http://www.student.chula.ac.th http://www.elib-online.com http://hospital.moph.go.th www.thaihealth.or.th
THE END