720 likes | 1.17k Views
Production Planning and Control 142 - 405. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี โดย อาจารย์กริชชนะ คันธนู Kritchana_k@hotmail.com. บทที่ 1 บทนำ. บทนำ.
E N D
Production Planning and Control142 - 405 ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี โดย อาจารย์กริชชนะ คันธนู Kritchana_k@hotmail.com
บทนำ การวางแผนและการควบคุมการผลิตเป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้เพื่อใช้ตัดสินใจเกี่ยวกับความต้องการด้านทรัพยากรในการผลิตรวมไปถึงการจัดตารางการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณและเวลา โดยที่ต้นทุนในการผลิตต่ำที่สุด
ระบบการผลิต คือ กระบวนการสร้างผลิตภัณฑ์ประเภทใดประเภทหนึ่งขึ้นมา จากการนำทรัพยากรหรือปัจจัยเข้าสู่การดำเนินการผลิตตามลำดับขั้น เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ จึงจำเป็นต้องมีการจัดการให้อยู่ในรูปแบบการผลิต ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ส่วนที่สำคัญคือ ปัจจัยการผลิต (Input) กระบวนการแปลงสภาพ (Conversion Process) และผลผลิต (Output)
ระบบการผลิต(ต่อ) การผลิตที่มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านปริมาณ คุณภาพ เวลา และราคา โดยใช้การวางแผนและควบคุมการผลิตเป็นแกนกลาง กิจกรรมต่างๆในกระบวนการผลิตสามารถจำแนกได้ 3 ขั้นตอน คือ การวางแผน เป็นขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่และวางแผนการใช้ทรัพยากรให้ตรงตามเป้าหมาย และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในแผนการผลิตจะกำหนดเป้าหมายย่อยไว้ เพื่อให้ทำตามและมุ่งสู่เป้าหมายหลักในที่สุด
ระบบการผลิต(ต่อ) การดำเนินการ เป็นขั้นการดำเนินการ ซึ่งจะเริ่มได้ก็ต่อเมื่อรายละเอียดต่างๆในขั้นตอนการวางแผนเรียบร้อย การควบคุม คือขั้นตอนของการตรวจสอบให้คำแนะนำและติดตามผลเกี่ยวกับการดำเนินงาน โดยใช้ข้อมูลป้อนกลับผ่านกลไกการควบคุม โดยกลไกนี้จะทำหน้าที่ปรับปรุงแผนงานและเป้าหมายเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหลัก
เป้าหมายของการวางแผนและควบคุมการผลิตเป้าหมายของการวางแผนและควบคุมการผลิต เพื่อผลิตสินค้าและบริการได้ตามปริมาณ เวลา คุณภาพ และเสียค่าใช้จ่ายต่ำสุด ซึ่งอาจแยกแยะออกได้ดังนี้ 1. เพื่อเปลี่ยนการสั่งซื้อให้อยู่ในรูปแผนการผลิตอย่างประหยัด 2. เพื่อให้หน่วยงานต่างๆมีการประสานงานกันได้ดีขึ้น 3. เพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยการจัดตารางการผลิตและวิธีอื่นๆ 4. เพื่อช่วยให้ได้ผลผลิตที่ค่อนข้างคงที่ 5. เพื่อให้มีวัสดุให้ใช้อย่างเพียงพอ 6. เพื่อลดเวลาในการผลิตให้น้อยที่สุด 7. เพื่อลดการติดตามงานให้น้อยลง 8. เพื่อลดเวลาในด้านการจัดการและให้คำแนะนำ 9. เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตให้รวดเร็วและแก้ไขได้
ขอบข่ายของการวางแผนและควบคุมการผลิตขอบข่ายของการวางแผนและควบคุมการผลิต การวางแผนและควบคุมการผลิตในระยะยาว คือ การวางแผนในช่วงเวลาที่นานกว่า 1 ปี โดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง 3-5 ปี จุดประสงค์เพื่อการตัดสินใจงานในอนาคต การวางแผนและควบคุมการผลิตในระยะสั้น คือ การวางแผนในช่วงเวลา 1 ปี หรือน้อยกว่า สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในวงจำกัด สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาคือค่าพยากรณ์ความต้องการในช่วง 12 เดือน แล้วนำมาแปลค่าเป็นแผนการผลิตโดยคำนึงถึงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้การวางแผนระยะสั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้เพื่อมให้เสียค่าใช้จ่ายต่ำสุด
ชนิดของการวางแผนการผลิตชนิดของการวางแผนการผลิต การวางแผนการผลิตมี 2 แบบ คือ การผลิตแบบทำตามสั่ง คือ การผลิตผลิตภัณฑ์ตามที่ลูกค้าต้องการ ส่วนใหญ่จะผลิตในปริมาณที่ไม่มากนัก แต่จะมีประเภทของผลิตภัณฑ์อยู่หลากหลาย ดังนั้น เครื่องจักรที่นำมาใช้ส่วนใหญ่จะเป็นแบบอเนกประสงค์ และการวางแผนการผลิตต้องมีความยื่นหยุ่นให้มากเพื่อสามารถปรัเปลี่ยนได้ตามงาน การผลิตแบบต่อเนื่อง คือ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐาน มีจำนวนน้อยชนิด ปริมาณความต้องการแน่นอน และผลิตในปริมาณมาก เครื่องจักรและอุปกรณ์จะเป็นแบบเฉพาะ เพื่อการผลิตอย่างต่อเนื่อง
หน้าที่การวางแผนและควบคุมการผลิตหน้าที่การวางแผนและควบคุมการผลิต การวางแผนและควบคุมการผลิตเป้นเครื่องมือในการจัดการให้สามารถทำงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ในเวลาที่กำหนด และเสียค่าใช้จ่ายต่ำสุด โดยทั่วไปการวางแผนและควบคุมการผลิตประกอบด้วยหน่วยงาน 3 หน่วยงานคือ หน่วยงานวางแผนการผลิต มีหน้าที่หลักๆคือ - จัดทำงบประมาณการผลิต - กำหนดรายการวัสดุ - วางแผนกรรมวิธี - หารายละเอียดของเครื่องจักร
หน้าที่การวางแผนและควบคุมการผลิต(ต่อ)หน้าที่การวางแผนและควบคุมการผลิต(ต่อ) - วางแผนดำเนินงาน - กะประมาณเวลา - กำหนดตารางการผลิต หน่วยงานควบคุมการผลิต จะมีหน้าที่รับผิดชอบ คือ - การออกคำสั่งผลิต - การติดตามงาน - ศึกษาการเคลื่อนไหวและเวลา - การขนส่ง
หน้าที่การวางแผนและควบคุมการผลิต(ต่อ)หน้าที่การวางแผนและควบคุมการผลิต(ต่อ) หน่วยงานควบคุมวัสดุคงคลัง มีหน้าที่หลักๆดังนี้ - การบริหารงานวัสดุ - การควบคุมปริมาณวัสดุ - การจัดซื้อวัสดุ - การรับวัสดุ - กำหนดชนิดของผลิตภัณฑ์
ความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนและควบคุมการผลิตกับหน้าที่อื่นๆในบริษัทความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนและควบคุมการผลิตกับหน้าที่อื่นๆในบริษัท หน้าที่การวางแผนและควบคุมการผลิตจะเป็นตัวเชื่อมระหว่างหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้แผนการผลิตประสบผลสำเร็จ ซึ่งความเกี่ยวพันระหว่างการวางแผนและควบคุมการผลิตกับหน้าที่อื่นๆมีรายละเอียดดังนี้ ความเกี่ยวพันกับการขายหรือการตลาด เพื่อช่วยเหลือฝ่ายขายในเรื่องของกำหนดเวลาส่งสินค้า หรือผลิตสินค้าคงคลังให้พอเพียงความต้องการของลูกค้า ความเกี่ยวพันกับหน่วยงานวิศวกรรมการผลิต เพื่อให้ข้อมูลต่างๆในเรื่องเวลาทำงานจริง เพื่อให้งานวิศวกรรมสามารถทำการผลิตได้ตามลักษณะที่ต้องการ
ความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนและควบคุมการผลิตกับหน้าที่อื่นๆในบริษัท(ต่อ)ความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนและควบคุมการผลิตกับหน้าที่อื่นๆในบริษัท(ต่อ) ความเกี่ยวพันกับหน่วยงานวิศวกรรมอุตสาหการ ในอุตสาหกรรมใหญ่ๆจะมีฝ่ายวิศวกรอุตสาหการในการรับผิดชอบด้านต่างๆ เช่น การวิจัยปรับปรุงการผลิต การควบคุมต้นทุน เป็นต้น การวางแผนและควบตุมการผลิตจะต้องทำงานกับวิศวกรอุตสาหการเพื่อเตรียมแผนภูมิภาระงาน และจัดตารางการผลิต ความเกี่ยวพันกับหัวหน้างานฝ่ายผลิต ในกรณีที่มีการปรับปรุงกระบวนการผลิตฝ่ายวางแผนต้องประสานกับหัวหน้าฝ่ายผลิตเพื่อให้ทราบถึงกระบวนการผลิต และทำการวางแผนการปฏิบัติงานและจัดตารางการผลิตได้ถูกต้อง
ความหมายของการพยากรณ์ความหมายของการพยากรณ์ คือ ความพยายามในอันที่จะมองเหตุการณ์ในอนาคต โดยดูจากอดีต และประกอบไปด้วยการประมาณค่าขนาดของตัวแปรต่างๆโดยไม่ลำเอียง ซึ่งการประมาณค่าส่วนใหญ่ที่ได้จากการพยากรณ์ หามาจากวิธีการที่เป็นระบบ แล้วแต่ผู้วิเคราะห์จะทำการเลือกเครื่องมือใด ตัวแบบและความคลาดเคลื่อน ในการพยากรณ์จะมีความแตกต่างระหว่างการพยากรณ์กับค่าจริง ปัญหาการพยากรณ์จึงแบ่งได้ 2 ส่วน คือ การคาดคะเนหรือการพยากรณ์และการหาค่าเบี่ยงเบน ซึ่งอาจใช้กราฟเป็นตัวแสดงตัวแปรที่เราพยากรณ์ แต่หากต้องการความแน่นอนก็ต้องใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ ทั้งนี้ในการพยากรณ์ต้องพยายามใช้วิธีที่ให้ความคาดเคลื่อนต่ำที่สุด
ความหมายของการพยากรณ์ความหมายของการพยากรณ์ มิติของการพยากรณ์ การพยากรณ์จะมีความแตกต่างกันไปตามการนำไปใช้ มีการแบ่งการพยากรณ์ในแง่ต่างๆดังนี้ - แง่มหภาคและจุลภาค การพยากรณ์ในแง่มหภาคมีรูปแบบกว้างๆใช้มาตรการต่างๆที่ดูแลส่วนใหญ่ ส่วนในแง่ของจุลภาค คือ การพยากรณ์ที่เป็นไปตามสถานการณ์เฉพาะหน้าของบริษัทนั้นๆ - แง่ระยะสั้นและระยะยาว ในบางครั้งจะครอบคลุมถึงเหตุการณ์อันใกล้ เช่น 1 เดือน หรือ 1 ปี เป็นระยะสั้น หากเกินกว่า 3 ปี เรียกว่าการพยากรณ์ระยะยาวการพยากรณืระยะสั้นคือ การพยากรณ์เพื่อการตัดสินใจที่บ่อยครั้ง ส่วนระยะยาวจะแสดงผลที่น่าจะเกิดขึ้นในระยะยาวเพื่อหาช่วยการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร
ลักษณะทางการพยากรณ์ โดยทั่วไปการพยากรณ์เกี่ยวข้องกับขั้นตอนต่างๆดังนี้ กำหนดวัตถุประสงค์ ทั้งนี้เพื่อให้ทราบสิ่งที่ต้องการจากการพยากรณ์แล้วกำหนดว่า - ต้องมีการประมาณค่าตัวแปรใดบ้าง - ใครจะเป็นผู้ใช้ผลของการพยากรณ์ - วัตถุประสงค์ที่จะถูกนำไปใช้ - การพยากรณ์นี้จะทำในระยะสั้นหรือระยะยาว - ต้องการระดับความถูกค้องแม่นยำเพียงใด - ต้องการทราบผลเมื่อใด - ต้องแบ่งการพยากรณ์ออกเป็นหน่วยย่อยๆหรือไม่
ลักษณะทางการพยากรณ์(ต่อ)ลักษณะทางการพยากรณ์(ต่อ) การสร้างตัวแบบ หลังจากได้วัตถุประสงค์แล้วผู้พยากรณ์ก็ต้องสร้างตัวแบบโดยพยายามหาตัวแบบที่สามารถอธิบายตัวแปรต่างๆได้อย่างเหมาะสมที่สุด ซึ่งความถูกต้องและคงามน่าเชื่อถือขึ้นอยู่กับตัวแบบ การทดสอบตัวแบบ เพื่อทดสอบหาค่าความผิดพลาดโดยอาศัยข้อมูลย้อนหลังประมาณค่าปัจจุบัน หรือพิจารณาเปรียบเทียบกับตัวแบบอื่นๆ การนำตัวแบบไปใช้ ทำการพยากรณ์ตามตัวแบบนั้นๆ การประเมินแก้ไขตัวแบบ เพื่อทำการปรับปรุงแก้ไขตัวแบบ ให้มีความสอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการพยากรณ์มากที่สุด
ประเภทของการพยากรณ์ แบ่งออกได้ 2 ประเภท การพยากรณ์เชิงปริมาณ เป็นการสร้างตัวแบบจากข้อมูลในอดีต เพื่อพยากรณ์ค่าในอนาคต เช่น เทคนิค Least Square วิธีหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เป็นต้น การพยากรณ์เชิงคุณภาพ ใช้กับปัญหาที่ต้องการพยากรณ์เกี่ยวกับคุณภาพหรือไม่อาศัยข้อมูลย้อนหลัง หรือมีข้อมูลไม่มากพอในการสร้างตัวแบบ หรือ สิ่งที่ต้องการพยากรณ์เป็นเชิงคุณภาพ
เทคนิคการพยากรณ์ ในการใช้ตัวแบบเชิงปริมาณเพื่อการพยากรณ์นั้น สิ่งสำคัญที่ต้องรู้คือ ข้อมูลในอดีตที่ผ่านมาเพื่อใช้ในการพยากรณ์ ตัวแบบที่นิยมใช้กันมาก คือ การวิเคราะห์อนุกรมเวลา ซึ่งเป็นการใช้ข้อมูลในอดีตเพื่อการพยากรณ์ หรือคาดหมายสิ่งที่จะเกิดในอนาคต ข้อมูลจากอดีตที่ได้เมื่อนำมาเขียนเป็นจุดในกราฟซึ่งแกนของเวลาและสิ่งที่ต้องการพยากรณ์ เช่น ยอดขาย หรือปริมาณการผลิต เป็นต้น
การวัดความแม่นยำของการพยากรณ์การวัดความแม่นยำของการพยากรณ์ 1. การวัดค่าความคลาดเคลื่อนแบบค่าแตกต่างสัมบูรณ์เฉลี่ย (Mean Absolute Deviation) MAD 2. การวัดค่าความคลาดเคลื่อนแบบค่าผิดพลาดกำลัวสองเฉลี่ย (Mean Squared Error) MSE 3. การวัดค่าความคลาดเคลื่อนแบบเปอร์เซ็นต์ผิดพลาดสมบูรณ์เฉลี่ย (Mean Absolute Percent Error) MAP
วิธี Least Square สมมติฐานของวิธีนี้ คือ 1. สิ่งที่ต้องการพยากรณ์กับเวลาต้องมีความสัมพันธ์กันโดยตรง 2. ความสัมพันธ์ที่มีมาในอดีตจะคงต่อไปถึงเวลาที่พยากรณ์ 3. ปัจจัยที่มีผลต่อแนวโน้มอย่างเดียวเท่านั้น สมการ Least Square คือ
วิธี Least Square (ต่อ) โดยที่ คือ ค่าที่ได้จากการพยากรณ์ คือ เวลา a และ b คือ ค่าคงที่ของสมการเส้นตรง สมการ Least Square คือ สมการที่ทำให้ผลรวมกำลังสองของความคาดเคลื่อนมีค่าน้อยสุดดังสมการ
วิธี Least Square (ต่อ) การหาค่า a และ b สามารถหาได้โดยการหาอนุพันธ์ของสมการที่ผ่านมา เทียบกับ a และ b แล้วเทียบให้เป็น 0 แล้วจะได้ดังนี้ หรือ
ตัวอย่าง Least Square Ex3.1 จากข้อมูลด้านการขาย 5 ปีที่ผ่านมาดังแสดงต่อไปนี้จงพยากรณ์ปริมาณการขายในปี พ.ศ.2531 พร้อมหาค่า Error Ex3.2 จากข้อมูลยอดขาย 7 เดือน ที่ผ่านมาของเครื่องกรองน้ำ จงพยากรณ์ยอดขายในเดือนที่ 8 พร้อมหาค่า Error
ตัวอย่าง Least Square(ต่อ) แต่ถ้าให้ พ.ศ. 2528 เป็นปีเริ่มต้นจะได้
ตัวอย่าง Least Square(ต่อ) ทั้งสองวิธีจะได้คำตอบเท่ากัน คือ ใน พ.ศ. 2531 จะมียอดขาย 13.19 ล้านบาท
Least Square แบบเอกซ์โพเนนเชียล ในกรณีที่ข้อมูลมีแนวโน้มเป็นเส้นโค้งแบบเอกซ์โพเนนเชียล ตามสมการนี้ จากสมการข้างต้นสามารถแปลงเป็นสมการเส้นตรงได้ดังนี้ แล้วการหา a และ b ก็เหมือนกับ Least Square
ตัวอย่าง Least Square แบบเอกซ์โพฯ Ex3.2จากตัวอย่าง 3.1 จงหาค่าพยากรณ์ในปีพ.ศ. 2531 โดยใช้สมการ least square แบบเอกซ์โพเนนเชียล
ตัวอย่าง Least Square แบบเอกซ์โพฯ(ต่อ) ค่าพยากรณ์การขายในปี พ.ศ. 2531 เป็น 13.23 ล้านบาท
การพยากรณ์โดยวิธีหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่การพยากรณ์โดยวิธีหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับการพยากรณ์ระยะสั้น และค่าตัวแปรที่ต้องการพยากรณ์มีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนักในหน่วยเวลาที่ทำการพยากรณ์ดังสมการในการพยากรณ์นี้ เมื่อ Ft คือ ค่าพยากรณ์สำหรับเวลาที่ t Yt คือ ค่าจริงที่เกิดขึ้น ณ เวลา t N คือ จำนวนข้อมูลที่ใช้ในการหาค่าเฉลี่ย
ตัวอย่างการพยากรณ์แบบหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ตัวอย่างการพยากรณ์แบบหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ Ex3.3 จากข้อมูลในแต่ละเดือนของยอดขายดังแสดงในตารางต่อไปนี้ จงพยากรณ์การขายในเดือนมกราคมของปีถัดไป โดยที่ให้หาเมื่อ n=3 และ n=4
ตัวอย่างการพยากรณ์แบบหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่(ต่อ)ตัวอย่างการพยากรณ์แบบหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่(ต่อ) เมื่อ n=3
ตัวอย่างการพยากรณ์แบบหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่(ต่อ)ตัวอย่างการพยากรณ์แบบหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่(ต่อ)
การพยากรณ์โดยวิธีหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่การพยากรณ์โดยวิธีหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ในกรณีที่ให้ความสำคัญแก่ข้อมูลที่มีอยู่ไม่เท่ากัน จะได้สมการที่ใช้ในการพยากรณ์ คือ เมื่อ เป็นน้ำหนักหรือความสำคัญของข้อมูล ณ เวลา t
ตัวอย่างการพยากรณ์แบบหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ตัวอย่างการพยากรณ์แบบหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ Ex 3.4 จากตัวอย่าง 3.3 จงพยากรณ์การขายในเดือนมกราคมในปีถัดไป โดยใช้ข้อมูลเพื่อหาค่าเฉลี่ยจำนวน 3 เดือนย้อนหลัง กำหนดให้ความสำคัญของข้อมูลเดือนก่อนมีน้ำหนัก 3 สองเดือนก่อนมีน้ำหนัก 2 สามเดือนก่อนมีน้ำหนัก 1 Sol. สมการการพยากรณ์
ตัวอย่างการพยากรณ์แบบหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ตัวอย่างการพยากรณ์แบบหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
ตัวอย่างการพยากรณ์แบบหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่(ต่อ)ตัวอย่างการพยากรณ์แบบหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่(ต่อ)
การพยากรณ์โดยวิธีปรับเรียบการพยากรณ์โดยวิธีปรับเรียบ การพยากรณ์ในแต่ละช่วงเวลาไม่ได้นำเอาผลการพยากรณ์ในช่วงเวลาที่ผ่านมาแล้วประกอบในการพยากรณ์ด้วย การพยากรณ์แบบวิธีปรับเรียบเป็นวิธีที่นำเอาผลการพยากรณ์ที่ผ่านมาแล้วไปใช้ในการพยากรณ์ของช่วงเวลาถัดไปด้วย วิธีปรับเรียบแบบซิงเกิลเอกซ์โพเนนเชียลเหมาะสำหรับพยากรณ์ระยะสั้น ข้อมูลไม่มีแนวโน้มและผลจากฤดูกาล มีสมการดังนี้ เมื่อ เป็นค่าพยากรณ์ ณ เวลา t เป็นค่าจริงที่เกิดขึ้น ณ เวลา t เป็นค่าคงที่ปรับเรียบ
ตัวอย่างซิงเกิลเอกซ์โพเนนเชียลตัวอย่างซิงเกิลเอกซ์โพเนนเชียล Ex3.5จาก 3.4 จงพยากรณ์ด้วยวิธีซิงเกิลเอกซ์โพเนนเชียล เมื่อ ค่า α= 0.3 และ α= 0.7 Sol.
ตัวอย่างซิงเกิลเอกซ์โพเนนเชียลตัวอย่างซิงเกิลเอกซ์โพเนนเชียล
การพยากรณ์โดยวิธีปรับเรียบการพยากรณ์โดยวิธีปรับเรียบ วิธีปรับเรียบแบบดับเบิ้ลเอกซ์โพเนนเชียล เป็นวิธีการปรับเรียบโดยนำค่าของการพยากรณ์มาปรับเรียบซ้ำอีกครั้งเพื่อพยายามลดปัจจัยอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลที่อธิบายไม่ได้ โดยมีสมการดังนี้ เมื่อ ค่าพยากรณ์จากซิงเกิลเอกซ์โพฯ ค่าจริง ณ เวลาที่ t ค่าพยากรณ์จากดับเบิ้ลเอกซ์โพฯ
ตัวอย่างดับเบิ้ลเอกซ์โพเนนเชียลตัวอย่างดับเบิ้ลเอกซ์โพเนนเชียล Ex3.6จากตัวอย่างที่ 3.4 ให้ใช้วิธีดับเบิ้ลเอกซ์โพเนนเชียล โดยกำหนดให้ α=0.3
ตัวอย่างดับเบิ้ลเอกซ์โพเนนเชียลตัวอย่างดับเบิ้ลเอกซ์โพเนนเชียล
วิธีปรับเรียบเมื่อค่าคงที่ปรับเรียบเปลี่ยนแปลงได้วิธีปรับเรียบเมื่อค่าคงที่ปรับเรียบเปลี่ยนแปลงได้ ที่ผ่านมาค่าคงที่ปรับเรียบมีค่าคงที่ตลอดเวลา แต่วิธีที่ค่าคงที่ปรับเรียบเปลี่ยนแปลงได้คือ Adaptive-Response-Rate Single Exponential Smoothing โดยมีสมการสำหรับพยากรณ์
วิธีปรับเรียบเมื่อค่าคงที่ปรับเรียบเปลี่ยนแปลงได้วิธีปรับเรียบเมื่อค่าคงที่ปรับเรียบเปลี่ยนแปลงได้ โดยที่ Etความคลาดเคลื่อนจากการปรับเรียบ ณ เวลา t Mtความคลาดเคลื่อนสมบูรณ์จากการปรับเรียบ ณ เวลาที่ t et ความคลาดเคลื่อนจากการพยากรณ์ ณ เวลา t Ftค่าพยากรณ์ ณ เวลาที่ t Ytค่าจริงที่เกิดขึ้น ณ เวลาที่ t αt, β tค่าคงที่สำหรับการปรับเรียบ