670 likes | 1.45k Views
สถานการณ์มลพิษน้ำ. ดร.เชาวน์ นกอยู่ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 92 พหลโยธิน 7 สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400 E-mail : chao.n@pcd.go.th http://www.pcd.go.th. การตรวจสอบคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ. การสำรวจภาคสนาม แม่น้ำทั่วประเทศ : 48 สาย จำนวน 360 สถานี
E N D
สถานการณ์มลพิษน้ำ ดร.เชาวน์ นกอยู่ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 92 พหลโยธิน 7 สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400 E-mail : chao.n@pcd.go.th http://www.pcd.go.th
การตรวจสอบคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำการตรวจสอบคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำ การสำรวจภาคสนาม • แม่น้ำทั่วประเทศ:48 สาย จำนวน 360 สถานี • ภาคกลาง (12 แม่น้ำ) 88 สถานี 4 ครั้ง/ปี • ภาคเหนือ (8 แม่น้ำ) 76 สถานี 2 ครั้ง/ปี • ภาคตะวันออก (10 แม่น้ำ) 60 สถานี 2 ครั้ง/ปี • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (10 แม่น้ำ) 86 สถานี 2 ครั้ง/ปี • ภาคใต้ (8 แม่น้ำ) 50 สถานี ครั้ง/ปี/ปี • ความถี่:ฤดูร้อน (น้ำน้อย) ฤดูฝน (น้ำมาก)
แหล่งน้ำนิ่ง 4 แห่ง จำนวน 37 สถานี • บึงบอระเพ็ด 5 สถานี 4 ครั้ง/ปี • กว๊านพะเยา 10 สถานี 2 ครั้ง/ปี • หนองหาน 7 สถานี 2 ครั้ง/ปี • ทะเลสาบสงขลา 15 สถานี 2 ครั้ง/ปี
ดัชนีคุณภาพน้ำ • ดัชนีทางกายภาพ (Physical Properties) • เช่น อุณหภูมิ สี กลิ่น รส ความขุ่น สารแขวนลอย • ดัชนีทางเคมี (Chemical Properties) • เช่น ออกซิเจนละลาย (DO)ความเป็นกรดและด่าง (pH)บีโอดี (BOD)สารอาหาร(Nutrients) • ดัชนีทางชีวภาพ (Biological Properties) • เช่น จุลินทรีย์หรือแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในน้ำ
การประมวลผล ข้อมูลดิบ
คุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดินทั่วประเทศ เปรียบเทียบตั้งแต่ ปี 2546 - 2548
พารามิเตอร์คุณภาพน้ำที่สำคัญพารามิเตอร์คุณภาพน้ำที่สำคัญ • ค่าอุณหภูมิ (Temperature : องศาเซลเซียส) มีอิทธิพลโดยตรงและโดยอ้อมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำโดยปกติในแม่น้ำ ลำคลองจะมีค่าอุณหภูมิอยู่ในช่วง 23–35 องศาเซลเซียส อุณหภูมิของแหล่งน้ำที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างผิดปกติ อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำได้
ค่าความเป็นกรด-ด่าง ของน้ำ (pH) ระดับความเป็นกรดหรือด่าง ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 0 – 14 ถ้า pH ต่ำกว่า 7 จะมีสภาพเป็นกรด ถ้า pH สูงกว่า 7 จะมีสภาพเป็นด่าง แหล่งน้ำที่ดีควรมีค่า pH ใกล้เคียง 7 ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในหลายด้าน อาทิ การอุปโภคบริโภค การดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ การเกษตรและอุตสาหกรรม ตามมาตรฐานแหล่งน้ำของประเทศ กำหนดให้ค่า pH ควรอยู่ในช่วง 5 – 9
ค่าการนำไฟฟ้าของน้ำ (Conductivity : S/cm) แสดงถึงความสามารถของน้ำในการเป็นสื่อนำไฟฟ้า ส่วนใหญ่จะแปรผันโดยตรงกับความเค็มของน้ำ ในน้ำแหล่งน้ำปกติจะมีค่าการนำไฟฟ้า ประมาณ 150 – 300 S/cm ถ้ามีค่าเกิน 1,000 S/cm อาจไม่เหมาะสำหรับการผลิตประปาเพราะจะเริ่มมีรสเค็มหรือมีการปนเปื้อนสารละลาย ขณะที่ถ้ามีค่าเกิน 2,000 S/cm จะไม่เหมาะสำหรับนำมาใช้เพื่อการชลประทาน เพราะจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช
4) ค่าความเค็มของน้ำ (Salinity : ppt) แสดงระดับความเค็มจะแปรผันโดยตรงกับค่าการนำไฟฟ้า มีหน่วยวัดเป็นพีพีที (ppt, part per thousand, ส่วนในพันส่วน) น้ำที่มีความเค็มมากย่อมไม่เหมาะต่อการใช้ประโยชน์เพื่อการประปา การเกษตร และการเพาะเลี้ยงสัตว์ น้ำจืดปกติจะเริ่มมีรสเค็มที่ความเค็มประมาณ 0.5 พีพีที ซึ่งเริ่มไม่เหมาะจะนำมาใช้เพื่อการประปา ขณะที่ความเค็มประมาณ 1 พีพีที ไม่เหมาะจะนำมาใช้เพื่อการชลประทาน นอกจากนี้ ค่าความเค็มมีค่าเกินกว่า 7 พีพีที จะไม่เหมาะต่อการเพาะเลี้ยงและการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำจืด
ค่าออกซิเจนละลาย (Dissolved Oxygen, DO : มิลลิกรัมต่อลิตร) ปริมาณออกซิเจนละลายในแหล่งน้ำ มีความจำเป็นต่อการหายใจของพืชและสัตว์น้ำ แหล่งน้ำที่เหมาะแก่การดำรงชีวิตการขยายพันธุ์และการอนุรักษ์สัตว์น้ำ ควรมีค่า DO ไม่ต่ำกว่า 5 มิลลิกรัมต่อลิตร ทั้งนี้โดยทั่วไปสัตว์น้ำส่วนใหญ่จะดำรงสัตว์อยู่ได้อย่างปกติที่ระดับของค่า DO ไม่ต่ำกว่า 3 มิลลิกรัมต่อลิตร
ค่าความขุ่นของแหล่งน้ำ (Turbidity : NTU,Nephelometic Turbidity Unit) แสดงถึงความสามารถในการดูดกลืนแสงของแหล่งน้ำ ถ้ามีความขุ่นสูงแสดงว่ามีการส่องผ่านของแสงน้อย ซึ่งเกิดจากตะกอน สาหร่าย หรือสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่แขวนลอยในน้ำ โดยทั่วแหล่งน้ำไม่ควรมีค่าความขุ่นเกินกว่า 100 NTU เพราะจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสัตว์และพืชน้ำ อาทิเช่น บัดบังแสงสำหรับการสังเคราะห์แสงของพืชน้ำ และการหาอาหารของสัตว์น้ำ เป็นต้น
ค่าความสกปรกในรูปสารอินทรีย์หรือบีโอดี (Biochemical Oxygen Demand, BOD : มิลลิกรัมต่อลิตร) ในแหล่งน้ำ ที่มีค่าบีโอดีสูงแสดงว่ามีความสกปรกมาก และน้ำเน่าเสีย โดยทั่วไปแหล่งน้ำผิวดินที่อนุรักษ์ไว้สำหรับการดำรงชีวิตสัตว์น้ำ และการผลิตประปา ค่าบีโอดีไม่ควรเกิน 1.5 มิลลิกรัมต่อลิต ถ้าจะอนุรักษ์แหล่งน้ำไว้เพื่อในการเกษตร ค่าบีโอดีไม่ควรเกิน 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร แหล่งน้ำที่อนุรักษ์ไว้ใช้ประโยชน์เพื่อกิจกรรมด้านการอุตสาหกรรม ไม่ควรมีค่าบีโอดีเกินกว่า 4.0 มิลลิกรัมต่อลิตร
ปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด (Total Coliform Bacteria, TCB) การตรวจแบคทีเรียชนิดนี้ในแหล่งน้ำจะแสดงถึงความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคอหิวาตกโรค โรคบิด ไทฟอยด์ หรืออุจจาระร่วง เป็นต้น ตามมาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำ กำหนดให้แหล่งน้ำที่เหมาะในการผลิตประปา และการเล่นกีฬาทางน้ำ ไม่ควรมีแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดเกินกว่า 5,000 หน่วย (เอ็มพีเอ็นต่อ 100 มิลลิลิตร) ในขณะที่แหล่งน้ำที่เหมาะแก่การเกษตรไม่ควรมีปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดเกินกว่า 20,000 หน่วย
ปริมาณแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม (Fecal Coliform Bacteria, FCB) การตรวจพบแบคทีเรียชนิดนี้ในแหล่งน้ำ จะเป็นการยืนยันเพิ่มขึ้นจากค่าการตรวจวัดปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด ว่าแหล่งน้ำนั้นมีโอกาสปนเปื้อนของเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร ตามมาตรฐานแหล่งน้ำ กำหนดให้แหล่งน้ำที่เหมาะในการผลิตประปาและการเล่นกีฬาทางน้ำไม่ควรมีปริมาณแบคทีเรียกลุ่ม ฟีคอลโคลิฟอร์ม เกินกว่า 1,000 หน่วย (เอ็มพีเอ็นต่อ 100 มิลลิลิตร) ขณะที่แหล่งน้ำที่เหมาะการเกษตรไม่ควรมีปริมาณแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม เกินกว่า 4,000 หน่วย
ปริมาณของแข็งแขวนลอยในน้ำ (Suspended Solid, SS : มิลลิกรัมต่อลิตร) สารแขวนลอยในแหล่งน้ำ อาจเกิดจากการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งชุมชน โรงงาน อุตสาหกรรม หรือการเกษตร รวมทั้งเกิดจากการชะล้างหน้าดินโดยน้ำฝน แหล่งน้ำที่ให้ผลผลิตทางการประมงที่ดีควรมีค่าสารแขวนลอยอยู่ในช่วง 25 – 80 มิลลิกรัมต่อลิตร แต่ถ้าอยู่ในช่วงระหว่าง 80 – 400 มิลลิกรัมต่อลิตร จะทำให้ผลผลิตลดลง แหล่งน้ำเหมาะจะนำมาใช้สำหรับการผลิตประปา ควรมีสารแขวนลอยไม่เกินกว่า 25 มิลลิกรัมต่อลิตร
คุณภาพน้ำแหล่งน้ำ ผิวดินทั่วประเทศ ปี 2548
คุณภาพน้ำแหล่งน้ำจืดทั่วประเทศโดยรวม ในเดือนมกราคม-มิถุนายน 2549 คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี พอใช้ เสื่อมโทรม และเสื่อมโทรมมาก คิดเป็นร้อยละ 27 49 19 และ 5 ตามลำดับ คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำที่สำคัญของประเทศไทย ในรอบหกเดือนปี 2549 (มกราคม - มิถุนายน)
เมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพน้ำในเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2548 พบว่า คุณภาพน้ำที่อยู่ในเกณฑ์ดี พอใช้ และเสื่อมโทรม มีการ เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย โดยแหล่งน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์พอใช้ และแหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมากเพิ่มขึ้น จากช่วงครึ่งปีหลัง 2548
แหล่งน้ำที่เสื่อมโทรมมาก ได้แก่ • แม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ตั้งแต่ จ.นนทบุรี ถึง จ.สมุทรปราการ • โดยมีปัญหาการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มสูง ค่าแอมโมเนียสูง และค่าออกซิเจนละลายต่ำ • แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง ตั้งแต่ จ.นครปฐม ถึง จ.สมุทรสาคร • โดยมีปัญหาการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มสูง และค่าออกซิเจนละลายต่ำ • แม่น้ำลำตะคองตอนล่าง ในพื้นที่ อ.เมือง จ.นครราชสีมา • โดยมีปัญหาการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มสูง และค่าความสกปรกในรูปสารอินทรีย์สูง • ทั้งนี้ปัญหาคุณภาพน้ำที่เกิดขึ้นเกิดจากการระบายน้ำทิ้งจากกิจกรรมต่างๆ เช่น เกษตรกรรม ชุมชนและอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้ผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ได้ตามมาตรฐานก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ
เป็นที่น่าสังเกตว่า แหล่งน้ำโดยรวมทั่วประเทศในช่วงครึ่งปีแรก 2549 มีเกณฑ์คุณภาพน้ำโดยรวมดีขึ้นจากครึ่งปีหลัง 2548 โดยพบว่า • แหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑ์พอใช้ในครึ่งปีหลัง 2548 ขึ้นมาอยู่ในเกณฑ์ดีในช่วงครึ่งปีแรก 2549 • โดยส่วนใหญ่จะเป็นแหล่งน้ำในภาคเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลาง • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ • แม่น้ำสงครามและมูล ขยับลงจากคุณภาพน้ำดีมาเป็นพอใช้ • แม่น้ำเสียว ขยับขึ้นจากคุณภาพน้ำพอใช้เป็นดี • ภาคใต้เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย • แม่น้ำหลังสวน ขยับขึ้นจากคุณภาพน้ำพอใช้เป็นดี • ทั้งนี้คุณภาพน้ำที่เปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างได้แก่ ฤดูกาล ปริมาณน้ำต้นทุนของแหล่งน้ำ ปริมาณน้ำฝน การชะล้างน้ำเสียจากแหล่งกำเนิดต่างๆ ลงสู่แหล่งน้ำ เป็นต้น
สรุปคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำที่สำคัญของประเทศไทย ในรอบหกเดือนปี 2549 (มกราคม - มิถุนายน)
สถานการณ์คุณภาพแหล่งน้ำ ภาคเหนือ • แหล่งน้ำที่ตรวจสอบ ทั้งหมด 11 แหล่งน้ำ ได้แก่ แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน กวง กก ลี้ อิง แม่จาง และแหล่งน้ำนิ่ง ได้แก่ กว๊านพะเยา และบึงบอระเพ็ด • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำดี ได้แก่ แม่น้ำอิง ปิง วัง กก และแม่จาง • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำพอใช้ ได้แก่ แม่น้ำยม น่าน และลี้ • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรม ได้แก่ แม่น้ำกวง บึงบรเพ็ดและกว๊านพะเยา
โดยสรุปแล้ว แหล่งน้ำภาคเหนือ ส่วนใหญ่ คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ ดีและพอใช้ • ปัญหาคุณภาพน้ำที่สำคัญคือ การปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดและฟีคอลโคลิฟอร์มในชุมชนเมือง โดยเฉพาะในชุมชนหนาแน่นที่อยู่ริมแม่น้ำ • คุณภาพน้ำบางตัว คือ ออกซิเจนละลาย และความสกปรกในรูปบีโอดี มีปัญหาในบางบริเวณดังกล่าวข้างต้น • สังเกตว่า ช่วงฤดูฝน ทุกแม่น้ำ มีความขุ่นสูง เนื่องจากการชะล้างหน้าดินจาก กิจกรรมการเกษตรในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง
สถานการณ์คุณภาพแหล่งน้ำ ภาคกลาง • แหล่งน้ำที่ตรวจสอบ ทั้งหมด 12 แหล่งน้ำ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง แควใหญ่ แควน้อย ป่าสัก ลพบุรี น้อย สะแกกรัง เพชรบุรี ปราณบุรี และกุยบุรี • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำดี ได้แก่ แม่น้ำแควใหญ่ แควน้อย และเพชรบุรีตอนบน • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำพอใช้ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน ท่าจีนตอนบน แม่กลอง กุยบุรี น้อย และปราณบุรี • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรม ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยาตอนกลาง ท่าจีนตอนกลาง เพชรบุรีตอนล่าง ป่าสัก ลพบุรี และสะแกกรัง แหล่งน้ำที่มี • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมมาก ได้แก่ แม่น้ำท่าจีนตอนล่างและเจ้าพระยาตอนล่าง
โดยสรุปแล้ว แหล่งน้ำภาคกลาง ส่วนใหญ่ คุณภาพน้ำแม่น้ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้และเสื่อมโทรม • โดย แม่น้ำท่าจีนตอนล่างและเจ้าพระยาตอนล่าง อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก เนื่องจากการปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์ม แอมโมเนียสูง และออกซิเจนละลายต่ำ • ปัญหาคุณภาพน้ำที่สำคัญของแหล่งน้ำภาคกลางคือ การปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดและฟีคอลโคลิฟอร์ม ออกซิเจนละลาย และแอมโมเนีย • แหล่งน้ำที่คุณภาพน้ำดี คือ แควใหญ่ แควน้อย
สถานการณ์คุณภาพแหล่งน้ำ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ • แหล่งน้ำที่ตรวจสอบ ทั้งหมด 11 แหล่งน้ำ ได้แก่ แม่น้ำพอง ชี มูล ลำปาว เสียว สงคราม เลย อูน ลำชี และลำตะคอง แหล่งน้ำนิ่งคือ หนองหาน • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำดี ได้แก่ อูน เสียวและลำปาว • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำพอใช้ ได้แก่ แม่น้ำสงคราม มูล ชี พอง ลำชี เลย ลำตะคองตอนบนและหนองหาน • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมมาก ได้แก่ ลำตะคองตอนล่าง
โดยสรุปแล้ว แหล่งน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่ คุณภาพน้ำแม่น้ำอยู่ในเกณฑ์ดีและพอใช้ โ • ตลอดหลายปีที่ผ่านมามีเพียงแม่น้ำลำตะคองตอนล่าง อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก • ปัญหาคุณภาพน้ำที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ การปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์มในพื้นที่ชุมชนหนาแน่น
สถานการณ์คุณภาพแหล่งน้ำ ภาคตะวันออก • แหล่งน้ำที่ตรวจสอบ ทั้งหมด 9 แหล่งน้ำ ได้แก่ แม่น้ำบางปะกง ปราจีนบุรี นครนายก ระยอง ประแสร์ พังราด จันทบุรี เวฬุ และตราด • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำดี ได้แก่ แม่น้ำเวฬุ ตราด จันทบุรีตอนบน และตอนล่าง • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำพอใช้ ได้แก่ แม่น้ำบางปะกง ปราจีนบุรี นครนายก พังราด ประแสร์และระยองตอนบน • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรม ได้แก่ แม่น้ำระยองตอนล่างและจันทบุรีตอนกลาง
โดยสรุปแล้ว แหล่งน้ำภาคตะวันออก ส่วนใหญ่คุณภาพน้ำแม่น้ำอยู่ในเกณฑ์ดี และพอใช้ • ปัญหาคุณภาพน้ำที่สำคัญคือ การปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมดและฟีคอลโคลิฟอร์มในพื้นที่ชุมชนหนาแน่น • และการรุกล้ำของน้ำทะเลในช่วงฤดูแล้ง
สถานการณ์คุณภาพแหล่งน้ำ ภาคใต้ • แหล่งน้ำที่ตรวจสอบ ทั้งหมด 7 แหล่งน้ำ ได้แก่ แม่น้ำปากพนัง ตาปี พุมดวง ชุมพร หลังสวน ตรัง และแหล่งน้ำนิ่ง ได้แก่ ทะเลสาบสงขลา ทะเลน้อย และทะเลหลวง • แหล่งน้ำที่มี คุณภาพน้ำดี ได้แก่ แม่น้ำตาปีตอนบน และหลังสวน • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำพอใช้ ได้แก่ แม่น้ำตาปีตอนล่าง ตรัง ปากพนัง ชุมพร พุมดวง ทะเลหลวง ทะเลน้อย • แหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรม ได้แก่ ทะเลสาบสงขลา
โดยสรุปแล้ว แหล่งน้ำภาคใต้ ส่วนใหญ่คุณภาพน้ำแม่น้ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้ • ปัญหาคุณภาพน้ำที่สำคัญของภาคใต้คือ การปนเปื้อนของแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม ในพื้นที่ชุมชนหนาแน่น • สังเกตพบว่าค่าแอมโมเนีย เกือบทุกแหล่งน้ำมีค่าเกินมาตรฐานที่กำหนด • บริเวณที่เป็นปัญหาอยู่เสมอ คือ ทะเลสาบสงขลา บริเวณปากคลองสำโรง อ.เมือง จ.สงขลา
คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งทั่วประเทศ ปี 2548 • สถานการณ์คุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งทั่วประเทศ ปี 2548 จำนวน 242 สถานี ในช่วงฤดูแล้ง (มีนาคม-เมษายน) และฤดูฝน (สิงหาคม-กันยายน) ซึ่งประเมินโดยใช้ดัชนีคุณภาพน้ำทะเล (Marine Water Quality Index) พบว่ามีสถานีที่มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีมากร้อยละ 3 ดีร้อยละ 43 พอใช้ร้อยละ 44 เสื่อมโทรมร้อยละ 9
9 % 1 % 3 % 43 % 44 % ดีมาก ดี พอใช้ เสื่อมโทรม เสื่อมโทรมมาก
บริเวณที่มีคุณภาพน้ำทะเลเสื่อมโทรมอยู่ในพื้นที่อ่าวไทยตอนใน ได้แก่ ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง บางปะกง ปากคลอง 12 ธันวา และหน้าโรงงานฟอกย้อม กม.35 • โดยปัญหาที่พบยังคงเป็นปริมาณแบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด ที่มีค่าสูงกว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำ ทะเลชายฝั่ง แบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์ม และ Enterococcus sp. มีค่าสูงกว่าร่างมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล • เนื่องจากได้รับอิทธิพลโดยตรงจากแหล่งอุตสาหกรรมชุมชนบริเวณปากแม่น้ำ และอุตสาหกรรมชายฝั่ง ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีการบำบัดน้ำเสีย ที่เหมาะสมและเพียงพอ • นอกจากนี้ยังพบว่าพื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันออก บริเวณอ่าวชลบุรี ปากน้ำระยอง ปากคลองแกลง อ่าวไทยฝั่งตะวันตก บริเวณปากคลองบ้านแหลม ปากคลองบ้านบางตะบูน และฝั่งอันดามัน หาดชาญดำริปากแม่น้ำระนอง มีคุณภาพน้ำทะเลเสื่อมโทรม • สำหรับภาพรวมคุณภาพน้ำทะเลทั่วประเทศ พบว่า พารามิเตอร์อื่นๆ ได้แก่ ปริมาณโลหะหนัก ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานฯ ยกเว้นแมงกานีส สังกะสี ทองแดง และเหล็ก ที่ยังตรวจพบค่าสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานฯ และมักพบขยะพลาสติกลอยอยู่บนผิวน้ำ บริเวณปากคลอง ปากแม่น้ำ และท่าเทียบเรือ และมีคราบน้ำมันลอยอยู่ทั่วไป
Marine Water Quality Index • พารามิเตอร์ที่นำมาคำนวณ คือ ออกซิเจนละลาย แบคทีเรียกลุ่มโคลิฟอร์มทั้งหมด ฟอสเฟต-ฟอสฟอรัส ไนเตรท-ไนโตรเจน อุณหภูมิ สารแขวนลอย ความเป็นกรด-ด่าง แอมโมเนีย-ไนโตรเจน • สำหรับพารามิเตอร์กลุ่มยาฆ่าแมลง (Pesticide) และกลุ่มสารเป็นพิษ (Toxic elements) นั้น หากพบว่าค่าความเข้มข้นเกินมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง จะกำหนดให้ดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำชายฝั่งบริเวณนั้นมีค่าเป็น “0” โดยทันทัน