340 likes | 561 Views
Thailand – EFTA FTA โอกาสและความท้าทาย. วันที่ 16 พฤษภาคม 2556 กรุงเทพฯ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. ศักยภาพระดับโลกของ EFTA. EFTA Nordic countries : Iceland และ Norway
E N D
Thailand – EFTA FTAโอกาสและความท้าทาย วันที่ 16 พฤษภาคม 2556 กรุงเทพฯ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ศักยภาพระดับโลกของ EFTA EFTA Nordic countries: Iceland และ Norway • เป็นผู้นำระดับโลกในอุตสาหกรรมประมง (Fish production) การขนส่งทางทะเล (Maritime transport) และธุรกิจบริการหลายสาขา • เป็นประเทศที่มีแร่ธาตุและทรัพยากรทางธรรมชาติมากที่สำคัญได้แก่ อลูมิเนียม พลังงานน้ำ พลังงานความร้อนใต้พิภพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นอร์เว เป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ที่สำคัญ
ศักยภาพระดับโลกของ EFTA EFTA Alpine countries: Switzerland และ Liechtenstein • เป็นศูนย์กลางทางการเงินและบริษัทชั้นนำระดับโลก • เป็นประเทศผู้ลงทุนที่สำคัญ • สวิสเซอร์แลนด์ถือเป็นผู้นำระดับโลกในด้าน High Technology , knowledge based production
ลักษณะทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ : ICELAND • ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญคือ อุตสาหกรรมประมง การผลิต software biotechnology และการท่องเที่ยว • การส่งออกจะค่อนข้างกระจุกตัวในสินค้าจากทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์จากทะเล อลูมิเนียม และ Ferro Silicon • มีพลังงานจากธรรมชาติมาก ทั้งนี้ ในปี 2009 ไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ (Hydroelectricity) คิดเป็น 72% ของกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด ขณะที่ ไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือก คิดเป็น 22.4 % • การลงทุนจากต่างชาติส่วนใหญ่จะเน้น Green Industries การผลิต Software /IT การท่องเที่ยว ธุรกิจ/สินค้าที่มีนวัตกรรม
ลักษณะทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ : NORWAY • ภาคบริการ พลังงาน ป่าไม้ เหมืองแร่ ประมงมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของนอร์เว • เป็นประเทศที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมขนส่งทางทะเล ทั้งนี้ กองเรือของนอร์เว (Merchant fleet) ถือว่าใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก • นอร์เวเป็นชาติหนึ่งที่มีอุตสาหกรรมประมงใหญ่ที่สุดในยุโรป
ลักษณะทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ : SWITZERLAND • เป็นศูนย์กลางทางการเงินและบริษัทชั้นนำของโลก และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ขององค์กรระหว่างประเทศกว่า 300 องค์กร • การเติบโตทางเศรษฐกิจของสวิสฯ มาจากสาขาที่สำคัญได้แก่ High technology, knowledge based production
ลักษณะทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ : LIECHTENSTEIN • ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญคือ อุตสาหกรรมส่งออก และ บริการสาขาการเงิน ทั้งนี้ การส่งออกส่วนใหญ่จะมาจากอุตสาหกรรมเครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีระดับสูง • ประมาณ 3 ใน 5 แรงงานทั้งหมดอยู่ในภาคบริการ ได้แก่ การเงินและประกันภัย ที่ปรึกษาด้านกฎหมายและภาษี • 36% ของประชากรเป็นชาวต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากประเทศเพื่อนบ้านได้แก่ สวิสเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และเยอรมัน
GDP per capital (current million USD) Source: World Development Indicators database 2012
ภาพรวมของการค้าบริการภาพรวมของการค้าบริการ
การจำแนกสาขาบริการ 12 ประเภทภายใต้ WTO • บริการด้านธุรกิจและวิชาชีพ • บริการด้านสื่อสารคมนาคม • บริการด้านการก่อสร้างและวิศวกรรมที่เกี่ยวเนื่อง • บริการด้านการจัดจำหน่าย • บริการด้านการศึกษา • บริการด้านสิ่งแวดล้อม • บริการด้านการเงิน • บริการด้านสุขภาพและบริการทางสังคม • บริการด้านการท่องเที่ยว และบริการที่เกี่ยวเนื่อง • บริการด้านนันทนาการ วัฒนธรรม และการกีฬา • บริการด้านการขนส่ง • บริการอื่นๆ
โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ Source: OECD
สัดส่วนการค้าบริการต่อ GDP 25 Source: World Development Indicators database 2012 หมายเหตุ:EFTA (3) คือ Iceland, Norway, Swiztland (ยกเว้น Liechtenstein)
การส่งออกและนำเข้าบริการของ EFTA และ ไทย Source: World Development Indicators database 2012
Part III ภาพรวมของการลงทุน
รายรับจาก FDI Inflows ของ EFTA และบางประเทศที่สำคัญ Source: World Development Indicators database 2012 หมายเหตุ:EFTA (3) คือ Iceland, Norway, Swiztland (ยกเว้น Liechtenstein) Unit: Million USD
FDI Current BoP ของ EFTA และบางประเทศที่สำคัญ Unit: Million USD Source: World Development Indicators database 2012 หมายเหตุ:EFTA (3) คือ Iceland, Norway, Swiztland (ยกเว้น Liechtenstein)
บริษัทข้ามชาติ:ตัวแปรสำคัญต่อการลงทุนบริษัทข้ามชาติ:ตัวแปรสำคัญต่อการลงทุน
ธุรกิจที่มีศักยภาพของ EFTA วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life Sciences) : Bioscience , Biomedical การเงิน (Finance) : ธนาคารและการประกันภัย พลังงาน (Energy) : น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติเหมืองแร่ สื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ : Hardware software Internet Mobile
นโยบายและกฎระเบียบของ EFTA ด้านการลงทุน และการจัดตั้งธุรกิจ
ประเด็นกฎระเบียบด้านธุรกิจที่น่าสนใจของ ICELAND • โดยทั่วไปแล้ว ไอซ์แลนด์จะให้การปฏิบัติที่เท่าเทียมคนชาติ (NT) แก่นักลงทุนต่างชาติ รวมทั้งไม่มีข้อจำกัดด้านหุ้นส่วนของต่างชาติ อย่างไรก็ตาม ไอซ์แลนด์ยังมีข้อจำกัดต่างๆสำหรับต่างชาติในสาขาสำคัญคือ Fisheries, Primary fish processing, Energy, และ Airline operation โดยอาจมีการจำกัดหุ้นส่วนของต่างชาติ หรือไม่ให้ต่างชาติทำธุรกิจดังกล่าวเลย • ไอซ์แลนด์ ให้ความสำคัญต่อการลงทุนของต่างชาติ โดยมีหน่วยงานส่งเสริมการลงทุน “Invest in Iceland” เพื่ออำนวยความสะดวก รวมทั้งปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจต่างๆให้เอื้อต่อการลงทุน อย่างไรก็ดี การเข้าไปลงทุนในบางธุรกิจยังมีเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคอยู่ เช่น สาขาพลังงาน ประมง และการขนส่งทางอากาศ • ไอซ์แลนด์ยังมีกฎระเบียบเกี่ยวกับ การจัดตั้งธุรกิจ การถือครองที่ดิน และถิ่นที่อยู่ ซึ่งใช้กับเฉพาะ non-EEA หรือ non-OECD เช่น ผู้มีอำนาจของบริษัท (Board of Directors and Management) ต้อง มีถิ่นที่อยู่ (Residency) ในไอซ์แลนด์ และหากเป็นนิติบุคคลต่างชาติต้องขออนุญาตก่อนหรือต้องมีสนธิสัญญาระหว่างประเทศก่อนจึงสามารถจัดตั้งสาขาธุรกิจในไอซ์แลนด์ได้ • คนชาติที่เป็น non-EEA จะต้องขอ Work Permit ก่อนทำงานหรือดำเนินธุรกิจในไอซ์แลนด์ได้ และหากเป็นงาน Unskilled จะต้องได้รับอนุญาตจาก Local labour union ก่อนและอยู่ภายใต้สัญญาจ้าง ICELAND
ประเด็นกฎระเบียบด้านธุรกิจที่น่าสนใจของ NORWAY • กฎระเบียบการลงทุนจะอิงหลักการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน (ระหว่างคนชาติกับต่างชาติ) และเน้นเรื่องกฎระเบียบให้ง่าย (Simplifying) ต่อการลงทุนและจัดตั้งธุรกิจ และมักไม่ค่อยมีข้อจำกัดด้านหุ้นส่วนของต่างชาติ ยกเว้นเรือประมง (ต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 40 %) บริการโสตทัศน์ การขนส่งทางอากาศและการขนส่งทางทะเล อย่างไรก็ตาม นอร์เวยังสงวนข้อจำกัดเรื่องสัญชาติ (Nationalityrestrictions) สำหรับธุรกิจสำคัญคือ ประมงและการขนส่งทางทะเล นอกจากนี้ ทั้งนักลงทุนนอร์เวและต่างชาติต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในการเป็นเจ้าของที่ดินเพื่อทำการเกษตร ป่าไม้ • สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนในนอร์เวโดยทั่วไปแล้วจะให้กับทั้งคนชาติและต่างชาติ การคืนภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายด้าน R&D จะสามารถกระทำได้สำหรับทุกบริษัทในนอร์เว • นอร์เวมีกฎระเบียบในเรื่อง Board of Directors สำหรับ Private limited liability company ว่าต้องมีจำนวน 3 คนหรือมากกว่า และครึ่งหนึ่งต้องมีถิ่นที่อยู่ (Residency) ในประเทศกลุ่ม EEA • นอร์เวได้ปรับปรุงนโยบายด้านการเข้าเมืองให้เปิดกว้างมากขึ้นเพื่อดึงดูดแรงงานที่เชี่ยวชาญระดับสูงจากนอกกลุ่ม EEA โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาเช่น สุขภาพ (Healthcare) ก่อสร้าง (Construction) งานฝีมือ (various Crafts) และรวมถึงบุคลากรด้านเทคนิคและอุตสาหกรรมด้วย (Technical and industrial) NORWAY
ประเด็นกฎระเบียบด้านธุรกิจที่น่าสนใจของ SWITZERLAND • มีนโยบายเปิดกว้างต่อการลงทุนจากต่างชาติ ทั้งนี้ หลักการ freedom of trade and industry ได้รับการรับรองภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งอนุญาตให้ใครก็ได้ รวมทั้งต่างชาติ สามารถจัดตั้งและดำเนินธุรกิจ รวมทั้งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ต่างๆ ในสวิสฯ ได้ • อย่างไรก็ตาม สวิสฯ ยังสงวนข้อจำกัดด้านการลงทุนสำหรับสาขาที่เป็น State monopolies ได้แก่ การขนส่งทางรางไปรษณีย์ ประกันภัยและการขายบางประเภท (เช่น การขายเกลือ) • มีกฎระเบียบในเรื่องสัญชาติและถิ่นที่อยู่สำหรับธุรกิจการขนส่งทางอากาศและทางทะเล พลังงานน้ำและนิวเคลียร์ การขนส่งน้ำมันทางท่อ และการขนส่งวัตถุระเบิด • มีนโยบายการเข้าเมืองเพื่อทำงานของต่างชาติที่เข้มงวดมากและจำกัดแต่เฉพาะแรงงาน ที่มีคุณภาพระดับสูง หรือขาดแคลนมาก หรือด้วยเหตุผลพิเศษเท่านั้น โดยการกำหนดโควตา การใช้ Labour market test การกำหนดเงื่อนไขการทำงานและค่าจ้าง SWITZERLAND
ประเด็นกฎระเบียบด้านธุรกิจที่น่าสนใจของ LIECHTENSTEIN • ลิกเทนสไตน์ เป็นประเทศที่เปิดกว้างมากสำหรับการลงทุนและการจัดตั้งธุรกิจของต่างชาติ (Free-enterprise economy) ยกเว้นบางธุรกิจยังถูกควบคุม เช่น การเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ บริการการเงินบางสาขา เช่น ที่ปรึกษาการลงทุน การจัดการอสังหาริมทรัพย์ • อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดเรื่องสัญชาติ (Nationality requirement) ในสาขาเกี่ยวกับบริการด้านวิศวกรรม ขณะที่ธุรกิจบริการด้านบัญชี การตรวจสอบบัญชี และด้านภาษี จะต้องมีคนชาติ EEA เป็นเจ้าของเกินกว่า 50% • ลิกเทนสไตน์ ไม่มีข้อจำกัดเรื่องจำนวนผู้ก่อตั้งหรือผู้บริหารที่เป็นต่างชาติ แต่มีกฎระเบียบ ให้เจ้าของธุรกิจ หรือผู้จัดการ หรือหนึ่งในผู้บริหาร แล้วแต่กรณี ต้องมีถิ่นที่อยู่ (Residency) ใน และ/ หรือ มีสัญชาติของ EEA หรือ สวิสฯ รวมทั้งต้องมี Professional qualifications ด้วย ทั้งนี้ คนชาติ non-EEA/ non-Swiss ในบางกรณีต้องมีถิ่นที่อยู่ในลิกเทนสไตน์มาไม่น้อยกว่า 12 ปี (12-year prior residency) • Residence permits จะออกให้พร้อมกับ Work permits ทั้งนี้ คนชาติ EU และ สวิสฯ จะได้รับ Priority เหนือคนชาติอื่น ในการเข้ามาทำงานและพำนักในลิกเทนสไตน์ LIECHTENSTEIN
สรุปประเด็นนโยบายและกฎระเบียบด้านธุรกิจของ EFTA • ได้รับอิทธิพลด้านนโยบายจาก EU • เปิดกว้างสำหรับการลงทุนและจัดตั้งธุรกิจของต่างชาติ มักให้การปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน และมักไม่มีข้อจำกัดด้านสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติ • แต่ละประเทศยังมีข้อสงวนสำหรับต่างชาติในบางสาขาธุรกิจที่สำคัญ • มีกฎระเบียบด้าน Residency and Nationality requirements สำหรับผู้บริหารและดำเนินธุรกิจ • นโยบายการเข้าเมืองเพื่อทำงานสำหรับต่างชาติจะเน้นเปิดให้แรงงานที่มีความเชี่ยวชาญระดับสูง และขาดแคลน • คนชาติ EEA/EU/Swiss/OECD จะมีสิทธิพิเศษเหนือกว่าคนชาติอื่นในเรื่อง Residency/Nationality requirements และการเข้าเมือง/ทำงาน
สาขาที่มีความอ่อนไหวหรือมีข้อสงวนของ EFTA Norway: • Fisheries Agriculture • Maritime transport Iceland: • Fisheries • Primary fish processing • Energy • Airline operation Switzerland: • Railtransport • Postal • Insurance (บางอย่าง) • Commercial activities Liechtenstein: • Engineering • Accounting • Auditing • Taxation
การเจรจา FTA ไทย-EFTA • ได้มีการประชุมเจรจาด้านการค้าบริการและการลงทุนอย่างเป็นทางการทั้งหมด 2 ครั้ง • ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 11 – 15 ตุลาคม 2548 ณ จังหวัดภูเก็ต • ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 16 – 20 มกราคม 2549 ณ จังหวัดเชียงใหม่ • การเจรจาได้หยุดชะงักลงเมื่อเดือนกันยายน 2549
การเจรจา FTA ไทย-EFTA (ต่อ) • ใช้ GATS/WTO เป็นพื้นฐาน แต่เพิ่มเติมเนื้อหาให้เข้มขึ้น เช่น ไทยเน้นให้มีข้อบทว่าด้วยมาตรการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเงิน มาตรการปกป้องฉุกเฉิน และการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา ส่วน EFTA ได้เสนอให้มีกฎเกณฑ์เพิ่มเติมจากWTO ในสาขาการการเงินและโทรคมนาคม เพิ่มเติมซึ่งเน้นด้าน discipline และ market access แนวทางการเปิดตลาดแบบ Positive-list approach ซึ่งมีตารางข้อผูกพันของแต่ละประเทศเป็นส่วนผนวกความตกลง และใช้รูปแบบข้อผูกพันเหมือนที่ใช้ในความตกลง GATS • สำหรับการลงทุน ให้ครอบคลุมทั้งเรื่อง การส่งเสริม (Promotion) การคุ้มครอง (Protection) และการเปิดเสรี (Liberalisation) โดยไม่รวมการลงทุนสาขาบริการ
สาขาบริการที่อาจมีแนวโน้มเข้ามาลงทุนและดำเนินธุรกิจในไทยสาขาบริการที่อาจมีแนวโน้มเข้ามาลงทุนและดำเนินธุรกิจในไทย บริการวิชาชีพ เช่น กฎหมาย วิศวกร สถาปนิก บริการที่เกี่ยวเนื่องกับ การทำเหมืองแร่ โทรคมนาคม ค้าส่งค้าปลีก งานก่อสร้าง การเงิน ที่ปรึกษาด้านการเงิน การประกันภัย ท่องเที่ยว นส่งทางอากาศ ขนส่ง ทางทะเล โลจิสติกส์ โดยสวิสเซอร์แลนด์จะเป็นประเทศหลักในกลุ่ม EFTA ที่จะมีแนวโน้มเข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด
มุมมองความต้องการของไทยในการจัดทำเขตการค้าเสรี:ด้านการค้าบริการและการลงทุนมุมมองความต้องการของไทยในการจัดทำเขตการค้าเสรี:ด้านการค้าบริการและการลงทุน ภาพรวม • เพื่อสร้างเสถียรภาพทางการค้าและการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการเข้าสู่ตลาด ปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้ออำนวย และการปฏิบัติที่เป็นธรรม เปิดตลาดให้ไทย • ปรับปรุงเงื่อนไขการเข้าสู่ตลาดสำหรับสาขาธุรกิจที่ไทยมีศักยภาพเช่น ท่องเที่ยว Medical Tourism ภัตตาคาร สุขภาพ และสาขาอาชีพที่ไทยมีศักยภาพ เช่น พ่อครัว/แม่ครัว ผู้ดูแลเด็กและคนสูงอายุ ผู้ให้บริการสปา และผู้ช่วยงานบ้าน เป็นต้น • อำนวยความสะดวกต่อการจัดตั้งธุรกิจและการเคลื่อนย้ายบุคลากรของไทย รวมทั้ง การจัดทำความตกลงยอมรับคุณสมบัติของบุคลากรไทยด้วย
มุมมองความต้องการของไทยในการจัดทำเขตการค้าเสรี:ด้านการค้าบริการและการลงทุนมุมมองความต้องการของไทยในการจัดทำเขตการค้าเสรี:ด้านการค้าบริการและการลงทุน (ต่อ) เปิดตลาดให้ EFTA • เปิดตลาดของไทยสำหรับการค้าบริการและการลงทุนของต่างชาติในสาขาที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสร้างความสามารถในการแข่งของไทย • เสริมสร้างความสมดุลในการลงทุนจากประเทศต่างๆ เพื่อมิให้เกิดการผูกขาดจากประเทศที่ไทยได้จัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี หรือความตกลงด้านการลงทุนไว้แล้ว • เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคในแง่ของการมีบริการที่เพิ่มขึ้นหลากหลาย และการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดจะทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อและรับบริการที่มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสมได้