1 / 47

Information System Development

Information System Development. Content. การพัฒนาระบบสารสนเทศ ทีมงานพัฒนาระบบสารสนเทศ หลักในการพัฒนาระบบ วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ ( System Development Life Cycle: SDLC ) เครื่องมือสนับสนุนการออกแบบและการพัฒนาระบบ. การพัฒนาระบบสารสนเทศ.

glenna
Download Presentation

Information System Development

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Information System Development

  2. Content การพัฒนาระบบสารสนเทศ ทีมงานพัฒนาระบบสารสนเทศ หลักในการพัฒนาระบบ วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (System Development Life Cycle: SDLC) เครื่องมือสนับสนุนการออกแบบและการพัฒนาระบบ

  3. การพัฒนาระบบสารสนเทศ การพัฒนาระบบสารสนเทศคือ การสร้างระบบงานใหม่หรือการปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมที่มีอยู่แล้วให้สามารถทำงานเพื่อแก้ปัญหาการดำเนินงานทางธุรกิจได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน โดยอาจนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อประมวลผล เรียบเรียง เปลี่ยนแปลงและจัดเก็บ ให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  4. การพัฒนาระบบสารสนเทศ • สาเหตุที่ก่อให้เกิดความคิดในการพัฒนาระบบสารสนเทศใหม่ขึ้นมาทดแทนระบบเดิม ได้ดังนี้ • ระบบสารสนเทศที่ใช้อยู่ในปัจจุบันอาจไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ระบบได้ • ระบบสารสนเทศที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่สามารถสนับสนุนการดำเนินงานในอนาคตได้ • เทคโนโลยีที่ใช้อยู่ในระบบสารสนเทศในปัจจุบันอาจล้าสมัย มีต้นทุนสูง ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษามากและมีประสิทธิภาพต่ำ

  5. การพัฒนาระบบสารสนเทศ • ระบบสารสนเทศปัจจุบันมีขั้นตอนที่ใช้งานที่ยุ่งยากและซับซ้อน ทำให้การใช้งาน ควบคุมกลไกในการดำเนินงาน การตรวจสอบข้อผิดพลาด และการบำรุงรักษาข้อมูลทำได้ยาก • ระบบเอกสารในระบบสารสนเทศปัจจุบันไม่มีมาตรฐานหรือ....... ขาดเอกสารที่ใช้อ้างอิงระบบ เป็นผลให้การปรับปรุงหรือแก้ไขระบบสารสนเทศเดิมทำได้ยาก

  6. ทีมงานพัฒนาระบบสารสนเทศทีมงานพัฒนาระบบสารสนเทศ • คณะกรรมการดำเนินงาน (Steering Committee) มีหน้าที่ในการตัดสินใจ กำหนดรูปแบบ และวัตถุประสงค์ของสารสนเทศ • ผู้จัดการระบบสารสนเทศ (MIS Manager) มีหน้าที่ดูแลและประสานงานในการวางแผน โครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์กร • ผู้จัดการโครงการ (Project Manager) มีหน้าที่รับผิดชอบในการวางแผน การจัดการ และควบคุมให้งานในโครงการดำเนินไปอย่างราบรื่น สำเร็จลุล่วงและมีประสิทธิภาพ

  7. ทีมงานพัฒนาระบบสารสนเทศทีมงานพัฒนาระบบสารสนเทศ • นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)คือผู้ที่เป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างระบบสารสนเทศกับกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบที่ต้องการพัฒนาขึ้นมาอีกด้วย

  8. ทีมงานพัฒนาระบบสารสนเทศทีมงานพัฒนาระบบสารสนเทศ • โปรแกรมเมอร์หรือนักเขียนโปรแกรม (Programmer)มีหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาชุดคำสั่งหรือเขียนโปรแกรม • เจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูล (Information Center Personnel)มีหน้าที่คอยช่วยเหลือนักวิเคราะห์ระบบและโปรแกรมเมอร์ในการพัฒนาระบบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ เพื่อนำมาใช้งานได้ตามต้องการ • ผู้จัดการทั่วไป (User and General Manager) • เป็นบุคคลที่มีหน้าที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบงานเดิม และกำหนดความต้องการในระบบใหม่แก่ทีมงานพัฒนาระบบ เพื่อพัฒนาให้ระบบใหม่มีประสิทธิภาพและเป็นที่พึ่งพอใจกับผู้ใช้ • ผู้ใช้ระบบ (System User) หมายถึง บุคคลที่ควบคุมและดูแลระบบสารสนเทศขององค์กรหรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศโดยตรง

  9. หลักในการพัฒนาระบบ • คำนึงถึงเจ้าของระบบและผู้ใช้ระบบ • พยายามเข้าถึงปัญหาให้ตรงจุด • ต้องพยายามจับประเด็นถึงสาเหตุของปัญหาให้ได้โดยมีแนวทางดังนี้ • ศึกษาและทำความเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาของระบบนั้น • กำหนดความต้องการของวิธีแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม • ระบุถึงวิธีแก้ไขปัญหาแต่ละวิธีและเลือกวิธีที่ดีที่สุด • ออกแบบหรือลงมือแก้ปัญหานั้น • สังเกตและประเมินผลกระทบจากวิธีแก้ปัญหาที่ได้ลงมือกระทำการลงไป และทำ การปรับปรุงจนสมบูรณ์ในที่สุด

  10. หลักในการพัฒนาระบบ • การกำหนดขั้นตอนหรือกิจกรรมในการทำงาน • จัดทำมาตรฐานในระหว่างการพัฒนาระบบและการควบคุมเอกสาร • ด้านการปฏิบัติงาน (Activity) • ด้านหน้าที่ความรับผิดชอบ (Responsibility) • ด้านการตรวจสอบคุณภาพ (Quality Check) • ด้านเอกสารคู่มือหรือรายละเอียดความต้องการ (Documentation Guideline or Requirement)

  11. วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (System Development Lift Cycle: SDLC) วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Lift Cycle: SDLC) คือ กระบวนการทางความคิด (Logical Process) ในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ภายในวงจรนี้จะแบ่งกระบวนการพัฒนาออกเป็นระยะ (Phase) ได้แก่ ระยะการวางแผน (Planning Phase)ระยะการวิเคราะห์ (Analysis Phase)ระยะการออกแบบ (Design Phase) และระยะการสร้างและพัฒนา (Implementation Phase)

  12. วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (System Development Lift Cycle: SDLC) วงจรการพัฒนาระบบแบ่งเป็น 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1. ค้นหาและเลือกสรรโครงการ (Project Identification and Selection) 2. จัดตั้งและวางแผนโครงการ (Project Initiating and Planning) 3. วิเคราะห์ระบบ (Analysis) 4. ออกแบบเชิงตรรกะ (Logical Design) 5. ออกแบบเชิงกายภาพ (Physical Design) 6. พัฒนาและติดตั้งระบบ (System Implementation) 7. ซ่อมบำรุงระบบ (System Maintenance)

  13. วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (System Development Lift Cycle: SDLC) Project Identification and Selection Project Initiating and Planning Analysis Logical Design Physical Design Implementation Maintenance

  14. กิจกรรม ตัวอย่างแผนภาพ เครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ 1. ค้นหาโครงการพัฒนาระบบที่เห็นสมควรได้รับการพัฒนา 2. จำแนกและจัดลำดับโครงการ 3. เลือกโครงการที่เหมาะสมที่สุด ตารางเมตริกซ์ (Matrix Table) 1. ค้นหาและเลือกสรรโครงการ (Project Identification and Selection) วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (SDLC)

  15. 2. เริ่มต้นและวางแผนโครงการ (Project Initiating and Planning) กิจกรรม ตัวอย่างแผนภาพ เครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ 1. เริ่มต้นโครงการ 2. เสนอแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งาน 3. วางแผนโครงการ • เทคนิคการรวบรวมสารสนเทศและข้อเท็จจริง (Fact-Finding and Information Gathering) • เทคนิคการวิเคราะห์ต้นทุนและผลกำไร (Cost-benefit Analysis) • PERT Chart • Gantt Chart วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (SDLC)

  16. 3. วิเคราะห์ระบบ (System Analysis) กิจกรรม ตัวอย่างแผนภาพ เครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ 1. ศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบเดิม 2. กำหนดความต้องการในระบบใหม่จากผู้ใช้ระบบ 3. จำลองแบบขั้นตอนการทำงาน 4. อธิบายขั้นตอนการทำงานของระบบ • เทคนิคการรวบรวมสารสนเทศและข้อเท็จจริง (Fact-finding and Information Gathering) • แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram) • แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล (E-R Diagram) • พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) • ตัวต้นแบบ (Prototyping) • ผังงานระบบ (System Flowchart) • เครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ (CASE Tools) วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (SDLC)

  17. 4. ออกแบบเชิงตรรกะ (Logical Design) กิจกรรม ตัวอย่างแผนภาพเครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ 1. ออกแบบแบบฟอร์มข้อมูลและรายงาน (Form/Report) 2. ออกแบบ User Interface 3. ออกแบบฐานข้อมูลในระดับตรรกะ • แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram) • แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล (E-R Diagram) • พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) • ตัวต้นแบบ (Prototyping) • เครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ (CASE Tools) วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (SDLC)

  18. กิจกรรม ตัวอย่างแผนภาพเครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ 1. ออกแบบฐานข้อมูลในระดับกายภาพ 2. ออกแบบ Application • แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram) • แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล (E-R Diagram) • พจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) • ตัวต้นแบบ (Prototyping) • เครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ (CASE Tools) วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (SDLC) 5. ออกแบบเชิงกายภาพ (Physical Design)

  19. 6. พัฒนาและติดตั้งระบบ (System Implementation) กิจกรรม ตัวอย่างแผนภาพเครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ 1. เขียนโปรแกรม (Coding) 2. ทดสอบโปรแกรม (Testing) 3. ติดตั้งระบบ (Installation) 4. จัดทำเอกสาร (Documentation) 5. ฝึกอบรม (Training) 6. บริการให้ความช่วยเหลือหลังการติดตั้ง (Support) • โปรแกรมช่วยสอน (Computer Aid Instruction: CAI) • ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรม (Computer-based Training: CBT) • ระบบการฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Training: WBT) • โปรแกรมแก้ไขข้อผิดพลาด (Debugging Program) วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (SDLC)

  20. กิจกรรม ตัวอย่างแผนภาพเครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ 7. ซ่อมบำรุงระบบ (System Maintenance) 1. เก็บรวบรวมคำร้องขอให้ปรับปรุงระบบ 2. วิเคราะห์ข้อมูลคำร้องขอเพื่อการปรับปรุง 3. ออกแบบการทำงานที่ต้องการปรับปรุง 4. ปรับปรุงระบบ • แบบฟอร์มแจ้งข้อผิดพลาดของระบบ วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ (SDLC)

  21. เครื่องมือสนับสนุนการออกแบบและพัฒนาระบบเครื่องมือสนับสนุนการออกแบบและพัฒนาระบบ • Gantt Chart • Pert(Program Evaluation and Review Technique/ CPM Chart (Critical Path Method)

  22. เครื่องมือสนับสนุนการออกแบบและพัฒนาระบบเครื่องมือสนับสนุนการออกแบบและพัฒนาระบบ • 1. Gantt Chart • Gantt Chartเป็นกราฟแท่งในแนวนอนซึ่งแสดงขอบเขตของระยะเวลาของกิจกรรมแต่ละขั้นตอน โดยรายชื่อกิจกรรมจะถูกแสดงไว้ในแนวตั้งด้านซ้ายมือ ระยะเวลาการทำงานจะแสดงในแนวนอนของแผนภาพ ข้อเสียของ Gantt Chartคือ ไม่สามารถแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของกิจกรรมต่างๆ และไม่สามารถบอกได้ว่าถ้ากิจกรรมที่เกิดขึ้นก่อนหน้าเกิดความล่าช้าแล้วจะมีผลกระทบกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นทีหลังอย่างไร

  23. เครื่องมือสนับสนุนการออกแบบและพัฒนาระบบเครื่องมือสนับสนุนการออกแบบและพัฒนาระบบ • 1. Gantt Chart

  24. เครื่องมือสนับสนุนการออกแบบและพัฒนาระบบเครื่องมือสนับสนุนการออกแบบและพัฒนาระบบ • 2. Pert (Program Evaluation and Review Technique/CPM Chart(Critical Path Method) • เป็นแผนภาพแสดงกิจกรรมของโครงการที่เชื่อมโยงกันในลักษณะของเครือข่าย (ข่ายงาน) ทำให้ทราบว่าจะต้องดำเนินกิจกรรมใดให้เสร็จสิ้นก่อนกิจกรรมถัดไป โดยแต่ละกิจกรรมจะแทนด้วยเส้นลูกศร และเชื่อมโยงกันด้วยวงกลม (เรียกว่า “โหนด”) เพื่อบอกให้ทราบถึงจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของแต่ละกิจกรรม • PERT Chart การนำ PERT Chart ไปใช้งาน เหมาะสำหรับโครงการใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นเลย ดังนั้นการกำหนดเวลากิจกรรมของ PERT Chart จึงเป็นการกำหนดในรูปแบบของความน่าจะเป็น (Probabilistic)

  25. เครื่องมือสนับสนุนการออกแบบและพัฒนาระบบเครื่องมือสนับสนุนการออกแบบและพัฒนาระบบ ออกแบบฐานข้อมูล 5 2 ออกแบบหน้าจอ รวบรวมความต้องการ 6 จัดทำเอกสาร 5 เขียนโปรแกรม 55 5 6 ออกแบบรายงาน 6 7 8 1 3 1 ทดสอบโปรแกรม ติดตั้งโปรแกรม 2 3 4 2. PERT Chart เรียกลูกศรเส้นประว่า “กิจกรรมสมมติ (Dummy Activity)” หมายถึง กิจกรรมที่สมมติขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาความสัมพันธ์ก่อนหลังของกิจกรรม เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจชัดเจนขึ้น

  26. เครื่องมือสนับสนุนการออกแบบและพัฒนาระบบเครื่องมือสนับสนุนการออกแบบและพัฒนาระบบ • CPM Chart (Critical Path Method) • เป็นแผนภาพแสดงกิจกรรมของโครงการที่เชื่อมโยงกันในลักษณะเครือข่าย (ข่ายงาน) ทำให้ทราบว่าจะต้องดำเนินกิจกรรมใดให้เสร็จสิ้นก่อนกิจกรรมถัดไปเช่นเดียวกับ PERT Chart แต่ CPM จะแสดงกิจกรรมด้วยสัญลักษณ์รูปวงกลม (เรียกว่า “โหนด”) หรือรูปสี่เหลี่ยมเชื่อมโยงกันด้วย

  27. เครื่องมือสนับสนุนการออกแบบและพัฒนาระบบเครื่องมือสนับสนุนการออกแบบและพัฒนาระบบ การนำ CPM ไปใช้งาน เหมาะสำหรับโครงการที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต ทำให้มีข้อมูลเพื่อกำหนดระยะเวลาของกิจกรรมได้เป็นที่แน่นอน (Deterministic) ทั้ง PERT Chart และ CPM Chart มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมเหมือนกัน

  28. เครื่องมือสนับสนุนการออกแบบและพัฒนาระบบเครื่องมือสนับสนุนการออกแบบและพัฒนาระบบ เส้นทางวิกฤต (Critical) หมายถึง เส้นทางที่ใช้เวลาในการดำเนินกิจกรรมรวมของโครงการนานที่สุด และกิจกรรมที่อยู่บนเส้นทางวิกฤตจะเรียกว่า “กิจกรรมวิกฤต (Critical Activity)” เส้นทางและกิจกรรมวิกฤตจะทำให้ผู้บริหารสามารถควบคุมการดำเนินงานให้สำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ได้

  29. การเขียนข่ายงาน (Network) • เป็นการเขียนแผนภูมิหรือไดอะแกรมของ PERT/CPM ที่เขียนขึ้นเพื่อใช้แทนกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องทำในโครงการ โดยแสดงลำดับก่อนหลังของกิจกรรม โดยจะใช้สัญลักษณ์ลูกศร และวงลมในการเขียน เครื่องมือสนับสนุนการออกแบบและพัฒนาระบบ

  30. หลักเกณฑ์การเขียนข่ายงาน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. กำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของโครงการ โดยจะต้องมีอย่างละจุดเท่านั้น 2. กิจกรรม 1 กิจกรรมจะเขียนแทนด้วยลูกศร 1 เส้น และบนลูกศรจะมีอักษรและตัวเลขกำกับ โดยตัวอักษรจะแสดงรหัสของกิจกรรมและตัวเลขจะแทนเวลาที่ต้องทำในกิจกรรม กิจกรรม A รูปที่ 8.7 แสดงการวาดกิจกรรมในข่ายงาน เครื่องมือสนับสนุนการออกแบบและพัฒนาระบบ

  31. กิจกรรม A 2 1 รูปที่ 8.8 แสดงการวาดกิจกรรมระหว่างโหนด เครื่องมือสนับสนุนการออกแบบและพัฒนาระบบ 3. กิจกรรมระหว่างโหนด (Node) หรือเหตุการณ์ (Event) จะเชื่อมด้วยลูกศรเดียวเท่านั้น 4. พยายามหลีกเลี่ยงลูกศรตัดกัน 5. กิจกรรมจะต้องเขียนเรียงไปตามลำดับ ถ้ากิจกรรมหลังเป็นกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมก่อนหน้า ต้องเริ่มต้นทำเมื่อกิจกรรมข้างหน้าทำเสร็จแล้วเท่านั้น

  32. กิจกรรม A กิจกรรม B 1 2 3 รูปที่ 8.9 แสดงกิจกรรมที่เขียนเรียงไปตามลำดับ 2 กิจกรรม A กิจกรรม C กิจกรรม B 1 3 4 รูปที่ 8.10 แสดงกิจกรรมที่เขียนแบบขนาน เครื่องมือสนับสนุนการออกแบบและพัฒนาระบบ 6. กรณีที่มีสองกิจกรรมหรือมากกว่า มีจุดเริ่มต้นเดียวกันจะต้องเขียนแบบขนาน

  33. แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram: DFD) แผนภาพกระแสข้อมูล หรือ Data Flow Diagramหมายถึง แผนภาพที่แสดงให้เห็นถึงทิศทางการไหลของข้อมูลที่มีอยู่ในระบบ และการดำเนินงานที่เกิดขึ้นในระบบ

  34. แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram: DFD) • สัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนภาพกระแสข้อมูล

  35. Employee Manager แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram: DFD)

  36. แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram: DFD) จากรูปพบว่าขั้นตอนการทำงานแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1. Process 3.1 Enter Over Time & Allowance ขั้นตอนป้อนชั่วโมงล่วงเวลาและจำนวนเงินเบิกเบี้ยเลี้ยง (OT & Allowance Data) เพื่อจัดเก็บลงในแฟ้ม Income or Expense Record โดยได้จากแบบฟอร์มลงชั่วโมงล่วงเวลาและเบิกเบี้ยเลี้ยงจากพนักงาน (Overtime Form และ Allowance Form)

  37. แผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram: DFD) 2. Process 3.2 Enter Number of Absent Days ขั้นตอนการป้อนจำนวนวันขาดงานจากรายการขาดงานของพนักงาน โดยดึงรหัสพนักงานมาเพื่อแสดงชื่อก่อนการป้อนจำนวนวันขาดงาน ซึ่งจำนวนวันขาดงานนั้นหาได้จากกระบวนการตรวจสอบวันขาดงานภายนอกระบบจากใบลาหยุด (Absent Form) 3. Process 3.3 Inquire Income/Expense Information ขั้นตอนการสอบถามหรือสืบค้นข้อมูลรายรับ/รายจ่ายพนักงาน โดยดึงข้อมูลจากแฟ้มต่างๆ เพื่อแสดงผลตามการสอบถาม และจัดทำรายงานสรุปรายรับ/รายจ่ายของพนักงานให้กับผู้บริหาร ซึ่งใช้รหัสพนักงาน

  38. Chen Model Crow’s Foot Model ความหมาย ใช้แสดง Entity Entity Name เส้นเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง Enity (Relationship Line) - Relationship ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Entity สำหรับ Crow’s Foot Model ใช้ตัวอักษรเขียนแสดงความสัมพันธ์ Attribute ใช้แสดง Attribute ของ Entity Entity Name Entity Name Attribute 1 Identifier Attribute 1 Attribute 2 ... ... ใช้แสดงคีย์หลัก (Identifier) Identifier Associative Entity Week Entity แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (Entity Relationship Diagram) • สัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนภาพกระแสข้อมูล

  39. แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (Entity Relationship Diagram) แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (E-R Diagram) หมายถึง แผนภาพที่ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับจำลองข้อมูล ซึ่งจะประกอบไปด้วย Entity (แทนกลุ่มของข้อมูลที่เป็นเรื่องเดียวกัน/เกี่ยวข้องกัน) และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (Relationship) ที่เกิดขึ้นทั้งหมดในระบบ

  40. Computer-Aided Systems Engineering Tools: CASE Tools Computer-Aided Systems Engineering (CASE) เป็นโปรแกรมประยุกต์หรือเป็นซอฟต์แวร์ชนิดหนึ่งของเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ช่วยในการพัฒนาระบบ คอยสนับสนุนการทำงานในแต่ละขั้นตอนของการพัฒนา ด้วยการเตรียมฟังก์ชันการทำงานต่างๆ ที่ทำให้การทำงานแต่ละขั้นตอนมีความรวดเร็วและมีคุณภาพมากขึ้น

  41. Computer-Aided Systems Engineering Tools: CASE Tools • คุณสมบัติและความสามารถของ CASE (Facilities and Functions) • เครื่องมือช่วยสร้างแผนภาพ (Diagram Tools) ใช้ในการเขียนแผนภาพเพื่อจำลองสิ่งต่างๆของระบบ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับแบบจำลองส่วนอื่นได้ • เครื่องมือช่วยเก็บรายละเอียดต่างๆของระบบ (Description Tools) ใช้ในการบันทึก ลบ และแก้ไขรายละเอียดต่างๆของระบบได้ รวมทั้งยังสามารถแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบเอกสารแสดงรายละเอียดได้

  42. Computer-Aided Systems Engineering Tools: CASE Tools 3. เครื่องมือช่วยสร้างตัวต้นแบบ (Prototyping Tools) ใช้ในการสร้างโปรแกรมต้นแบบเพื่อจำลองระบบออกมาทดลองใช้งานได้ในระดับที่สามารถบอกถึงความพอใจของผู้ใช้ได้ 4. เครื่องมือช่วยสร้างรายงานแสดงรายละเอียดของแบบจำลอง (Inquiry and Reporting) ใช้ในการสร้างรายงานรายละเอียดต่างๆ ของแบบจำลองซึ่งถูกเก็บไว้ใน Repository ได้ 5. เครื่องมือเพื่อคุณภาพของแบบจำลอง (Quality Management Tools) ช่วยให้การสร้างแบบจำลอง เอกสาร และต้นแบบต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมีคุณภาพ โดยมีการตรวจสอบความถูกต้องและความสอดคล้องกันได้

  43. Computer-Aided Systems Engineering Tools: CASE Tools 6. เครื่องมือสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Tools) จัดเตรียมสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจที่จะเกิดขึ้นระหว่างการพัฒนาระบบ 7. เครื่องมือช่วยจัดการเอกสาร (Documentation Organization Tools) ใช้ในการสร้าง จัดการ และแสดงรายงานสารสนเทศต่างๆ ซึ่งถูกเก็บไว้ใน Repository 8. เครื่องมือช่วยออกแบบ (Design Generation Tools) ใช้ในการออกแบบระบบคร่าวๆ ในเบื้องต้นได้ ภายใต้ความต้องการที่รวบรวมมาแล้ว

  44. Computer-Aided Systems Engineering Tools: CASE Tools 9. เครื่องมือช่วยสร้างโค้ดโปรแกรม (Code Generator Tools) ใช้ในการสร้างโค้ดของโปรแกรมทั้งหมดหรือสามารถสร้างเพียงบางส่วนได้ 10. เครื่องมือช่วยทดสอบ (Testing Tools) ช่วยให้นักวิเคราะห์และโปรแกรมเมอร์สามารถทดสอบโปรแกรมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น 11. เครื่องมือช่วยให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน (Data Sharing Tools) เตรียมการนำเข้า (Import) และส่งออก (Export) ของสารสนเทศระหว่าง CASE Tools ที่ต่างกันได้

  45. Computer-Aided Systems Engineering Tools: CASE Tools • ประโยชน์ที่ได้จากการใช้ CASE • 1. มีการพัฒนาคุณภาพในการทำงาน เนื่องจาก CASE สามารถตรวจสอบความถูกต้อง สมบูรณ์ของแผนภาพและโปรแกรมได้ • 2. มีการสร้างเอกสารที่ดี • 3. ประหยัดเวลาในการบำรุงรักษาให้ข้อมูลนั้นเป็นปัจจุบันมากที่สุด เพียงเข้าไปแก้ไขในฐานข้อมูล Repository เท่านั้น

  46. Computer-Aided Systems Engineering Tools: CASE Tools

  47. Computer-Aided Systems Engineering Tools: CASE Tools

More Related