491 likes | 664 Views
278412/278307 Electronic Commerce. บทที่ 1 แนะนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ อ.ธารารัตน์ พวงสุวรรณ thararat@buu.ac.th. Outline. วิวัฒนาการของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EDI นิยามพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ลักษณะของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
E N D
278412/278307Electronic Commerce บทที่ 1 แนะนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ อ.ธารารัตน์ พวงสุวรรณ thararat@buu.ac.th
Outline • วิวัฒนาการของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EDI • นิยามพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • ลักษณะของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • เปรียบเทียบวงจรการค้าแบบเดิมและวงจรการค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ข้อดีและอุปสรรคของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • แนวโน้มการใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย • ลักษณะพิเศษของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • สถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย
ความเป็นมาของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ความเป็นมาของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ - EFT (Electronic Funds Transfer) (ปีพ.ศ. 2513) - EDI (Electronic Data Interchange) - Internet (ปีพ.ศ. 2533)
EDI (Electronic Data Interchange) • เป็นเทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนเอกสารทางธุรกิจระหว่างบริษัทคู่ค้าในรูปแบบมาตรฐานสากลจาก เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง • โดยส่งผ่านเครือข่าย เช่น โทรศัพท์ สายเคเบิล ดาวเทียม เป็นต้น แทนการส่งเอกสารโดยพนักงานส่งสารหรือไปรษณีย์ • เอกสารอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ต้องอยู่ในรูปแบบมาตรฐานสากล ซึ่งจะทำให้ทุกธุรกิจสามารถ แลกเปลี่ยนเอกสารกันได้ทั่วโลก • มาตรฐานเอกสาร EDI ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก มีอยู่หลายมาตรฐาน อาทิเช่น ANSI X12 ซึ่งใช้แพร่หลายในประเทศอเมริกา และประเทศ ออสเตรเลีย • ODDETTE, TRADACOMS ซึ่งใช้กันอยู่ในประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป • สำหรับประเทศในทวีปเอเชีย ส่วนใหญ่จะใช้ มาตรฐานของ UN/EDIFACT ซึ่งย่อมาจาก United Nation/Electronic Data Interchange for Administration, Commerce, and Transportation
EDI (Electronic Data Interchange) • มาตรฐานของ EDI ในประเทศไทยถูกกำหนดโดยกรมศุลกากร ซึ่งเป็นหน่วยงานแรกที่นำระบบนี้มาใช้งาน • มาตรฐาน EDIFACT (Electronic Data Interchange for Administration, Commerce and Transportation) • ปัจจุบัน กรมศุลกากร ได้รับบทบาทและหน้าที่จากเดิมที่เน้นการจัดเก็บภาษีอากรจากของที่นำเข้ามาใน และส่งออกไป นอกราชอาณาจักรมาเป็นการมุ่งเน้นที่จะพัฒนาส่งเสริมด้านการค้าระหว่างประเทศ และการส่งออกของไทยที่มีศักยภาพ ในการแข่งขันกับตลาดการค้าของโลก
เอกสารทางธุรกิจที่สามารถทดแทนด้วยเอกสาร EDI • เอกสารทางด้านการจัดซื้อ ได้แก่ ใบสั่งซื้อ (Purchase Order) ใบแจ้งหนี้ (Invoice) ใบเสนอราคา (Quotation) ใบแจ้งราคาสินค้า (Price/Sales Catalogue) เป็นต้น • เอกสารทางด้านการเงิน ได้แก่ ใบสั่งให้ธนาคารจ่ายเงิน (Payment Order) ใบแจ้งการสั่งจ่าย (Remittance Advice) เป็นต้น • เอกสารทางด้านการขนส่ง ได้แก่ ใบตราส่ง (Bill of Lading) ใบจองตู้สินค้า (Booking) แผนผังการบรรทุกสินค้าภายในเรือ (Bayplan) ใบสั่งปล่อยสินค้า (Delivery Order) เป็นต้น • เอกสารทางด้านการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ ใบขนสินค้า (Customs Declaration) บัญชีตู้สินค้า (Manifest) เป็นต้น
ธุรกิจที่สามารถนำ EDI มาใช้ได้ • ทุกธุรกิจที่มีการใช้เอกสารจำนวนมากและเป็นประจำโดยมีขั้นตอนซ้ำๆ แต่ต้องการความถูกต้องรวดเร็วและแม่นยำของข้อมูล • เช่น ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ที่ต้องมีการสั่งซื้อสินค้าเป็นประจำ • ธุรกิจขนส่งซึ่งต้องใช้ข้อมูลประกอบในการจัดการ ขนส่งสินค้า • ธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตสินค้า ที่ต้องสั่งซื้อวัตถุดิบ • และธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น
ขั้นตอนการทำงานของระบบ EDI • ผู้ส่งทำการเตรียมข้อมูล และแปลงให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐาน UN/EDIFACT โดยใช้ Translation Software • ผู้ส่งทำการส่งข้อมูลไปยังศูนย์บริการของผู้ให้บริการ EDI ผ่านเครือข่ายสาธารณะโดยใช้ Modem • ผู้ให้บริการ EDI จะจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ในตู้ไปรษณีย์ (Mailbox) ของผู้รับเมื่อข้อมูลไปถึงศูนย์บริการ • ผู้รับติดต่อมายังศูนย์บริการผ่าน Modem เพื่อรับข้อมูล EDI ที่อยู่ในตู้ไปรษณีย์ของตน • ผู้รับแปลงข้อมูลกลับโดยใช้ Translation Software ให้อยู่ในรูปแบบที่ระบบงานของตนสามารถรับไปประมวลผลได้
Translation Software • คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐาน • เช่น มาตรฐาน UN/EDIFACT, ANSI X12 • สามารถซื้อโปรแกรมดังกล่าวได้จากผู้ให้บริการ EDI หรือบริษัทคอมพิวเตอร์ ที่จำหน่ายซอฟต์แวร์เหล่านี้
ผู้ให้บริการ EDI • ผู้ให้บริการ EDI หรือ เรียกกันว่า VAN (Value Added Network) • ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางไปรษณีย์ ในการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างคู่ค้า ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ตลอด 24 ชั่วโมง • ผู้ให้บริการ EDI สามารถให้บริการในการรับ-ส่งข้อมูล ทั้ง EDI, File Transfer (non-EDI) และ E-mail • ความรับผิดชอบหลักของผู้ให้บริการ EDI นอกจากการรับ-ส่งข้อมูลได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์แล้ว ยังต้องสามารถ รักษาความปลอดภัยของตู้ไปรษณีย์ (Mailbox) ของลูกค้าแต่ละราย มิให้ผู้อื่นเข้าไปดูข้อมูลได้
ผู้ให้บริการ EDI แบ่งผู้ให้บริการ EDI หรือ VAN เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ • ผู้ให้บริการ EDI ภายในประเทศ (Domestic VAN) เช่น การสื่อสารแห่งประเทศไทย, บริษัทชินวัตร, บริษัทไทยเทรดเน็ท, และบริษัทเอ็กซิมเน็ท บริษัทเหล่านี้มีศูนย์บริการ (Host) อยู่ในประเทศและจะให้บริการเครือข่าย ภายในประเทศเป็นหลัก • ผู้ให้บริการ EDI ระหว่างประเทศ (International VAN) เช่น IBM , BT , AT&T บริษัทเหล่านี้มีศูนย์บริการ (Host) อยู่ต่างประเทศ และให้บริการเครือข่ายระหว่างประเทศเป็นหลัก
ประโยชน์ของการใช้ EDI • ลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดส่งเอกสาร • ลดเวลาทำงานในการป้อนข้อมูล ทำให้ข้อมูลมีความถูกต้องและลดข้อผิดพลาดจากการป้อนข้อมูลที่ซ้ำซ้อน • เพิ่มความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร • ลดค่าใช้จ่ายและภาระงานด้านเอกสาร • แก้ปัญหาอุปสรรคทางภูมิศาสตร์และเวลา
ปัญหาและอุปสรรคของการใช้ EDI • ผู้บริหารระดับสูงไม่ให้ความสนใจและไม่มี Commitment ที่ชัดเจน • องค์กรส่วนใหญ่ ยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง EDI • ต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนระบบงานและขั้นตอนการบริหารงานภายใน • ขาดผู้ชำนาญงานทางด้าน IT ที่จะนำ EDI ไปใช้ให้สอดคล้องกับระบบคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ • กฎหมายและระเบียบของหน่วยงานราชการ ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการใช้ EDI
Internet • ยุคพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพียงมีแค่คอมพิวเตอร์ที่ต่อกับอินเทอร์เน็ต • ก็สามารถร่วมกระบวนการค้า อิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที • ใช้เพียงเว็บบราวเซอร์ ในการเลือกซื้อสินค้า สั่งซื้อและรับชำระเงิน
นิยามพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นิยามพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • คำจำกัดความจากหน่วยงาน • กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การดำเนินธุรกิจทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่าน ระบบสื่อสารโทรคมนาคมหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ • องค์กรการค้าโลก ให้คำจำกัดความไว้ว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
นิยามพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นิยามพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • คำจำกัดความจากนักวิชาการ • Turban et al. (2012:4) กล่าวว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ กระบวนการซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนสินค้า บริการ และ/หรือข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยส่วนใหญ่ผ่านอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต • Laudon and Traver (2007: 10)กล่าวว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หมายถึงเฉพาะธุรกรรมที่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนสิ่งมีค่า เช่น เงิน ระหว่างองค์กรหรือบุคคลเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการเท่านั้น ส่วนธุรกรรมออนไลน์ที่เกิดขึ้นภายในบริษัท จะเรียกว่า Electronic Business
ลักษณะของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ลักษณะของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • Laudon and Traver (2007:12-16) และ Roberts (2003:7-8) กล่าวถึงลักษณะของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ไว้ดังนี้ • สามารถทำการซื้อขายได้ทุกที่และตลอดเวลา • สามารถเข้าถึงได้ทั่วโลก • มีความเป็นมาตรฐานในระดับสากล • สามารถให้ข้อมูลที่มีความซับซ้อนและมีรายละเอียด • ความสามารถในการสื่อสารโต้ตอบสองทาง • ทำให้ข้อมูลมีจำนวนมากขึ้นและมีคุณภาพสูงขึ้น • สามารถสื่อสารหรือเสนอสินค้าหรือบริการได้แบบรายบุคคล
สินค้าที่ซื้อขายในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สินค้าที่ซื้อขายในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • สินค้าที่มีลักษณะเป็นข้อมูลดิจิทัล (Digital Products) • สินค้าที่ไม่ใช่ข้อมูลดิจิทัล (Non-Digital Products)
รูปแบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบสมบูรณ์ (Pure E-commerce) • ใช้ดิจิตอลในทุก ๆ ขั้นตอนของการดำเนินธุรกิจ • การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบบางส่วน (Partial E-commerce) • ผสมผสานของทั้งส่วนที่เป็นดิจิตอลและที่ไม่เป็นดิจิตอล
วงจรการทำการค้าแบบเดิมวงจรการทำการค้าแบบเดิม - ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้า - บริษัทผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค - การโฆษณาขายสินค้าให้ผู้บริโภคทราบ - จัดเตรียมส่งสินค้าไปตามสถานที่ ๆ ผู้บริโภคสามารถหาซื้อได้สะดวก - จัดทีมงานคอยดูแลบริการและแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น - เงินที่ขายสินค้าได้วนกลับเข้าสู่บริษัท *** บริการหลังการขายมีความสำคัญ? *****
วงจรของระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์วงจรของระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์ การขายซ้ำ เข้าหาข้อมูล - ค้นหา การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ลูกค้า โฆษณาออนไลน์ สั่งซื้อโดยทั่วไป - ส่งทางออนไลน์ (For soft goods) - ส่งทางทั่วไป (For hard goods) การกระจายสินค้า การบริการลูกค้า ทางอิเล็กทรอนิกส์
ข้อแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจทั่วไปกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้อแตกต่างระหว่างการทำธุรกิจทั่วไปกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ - การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล - การตอบสนองเพื่อการแข่งขัน - การให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง - การควบคุมและปฏิสัมพันธ์ได้ด้วยตนเอง - การสร้างร้านค้าเสมือนจริง - การติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภค - โครงข่ายเศรษฐกิจ - การส่งเสริมภาพลักษณ์อันดี
ข้อดีของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้อดีของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • สามารถตัดปัญหายุ่งยากในเรื่องของการต่อรองราคาและตัดปัญหาเกี่ยวกับนายหน้า • ข้อมูลของลูกค้าจะถูกเก็บไว้ใน E-Mail บุคคลอื่นไม่สามารถเปิดอ่านได้นอกจากผู้จัดจำหน่ายเท่านั้น • เพิ่มมูลค่า และประสิทธิภาพทางธุรกิจ และเปิดโอกาสให้ผู้ขายขนาดกลางและขนาดเล็ก มีโอกาสเข้าสู่ตลาดได้มากขึ้น และผู้บริโภคก็มีทางเลือกมากขึ้น • ผู้ซื้อสามารถค้นหาข้อมูลหรือข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการต่างๆทั่วโลกอย่างรวดเร็ว • ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการกับผู้ซื้อรายอื่น • ในกรณีที่เป็นการสั่งซื้อแบบ Digital Form จะสามารถส่งข้อมูลผ่าน Internet ได้ทันที • ผู้ขายสามารถโฆษณาขายสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้าทั่วโลกได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการโฆษณา • สามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่นๆ
ผู้ได้รับประโยชน์จากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ผู้ได้รับประโยชน์จากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มา http://202.28.94.55/web/322161/2551/001/g18/E-commerce%20web/page/index12.html
อุปสรรคของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อุปสรรคของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • ผู้ซื้อไม่มั่นใจเรื่องการเก็บรักษาความลับทางธุรกิจ ข้อมูลส่วนบุคคล • สินค้าที่ขายบนออนไลน์ไม่สามารถจับต้องได้ ทำให้ไม่สามารถรับรู้ถึงคุณภาพ • ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถทำสำเนาหรือดัดแปลงหรือสร้างขึ้นใหม่ได้ง่ายกว่าเอกสารที่เป็นกระดาษ • ผู้ขายไม่มั่นใจว่าลูกค้ามีตัวตนอยู่จริง จะเป็นบุคคลเดียวกับที่แจ้งสั่งซื้อสินค้าหรือไม่ • ปัญหาความยากจน ความด้อยโอกาสและขาดความรู้ทางเทคโนโลยี รวมทั้งขาดเครือข่ายการสื่อสาร • ประเด็นเชิงนโยบายที่รัฐบาลต้องเข้ามากำหนดมาตรการ เพื่อให้ความคุ้มครองกับผู้ซื้อและผู้ขาย ขณะเดียวกันมาตรการในเรื่องระเบียบที่จะกำหนดขึ้นต้องไม่ขัดขวางการพัฒนาเทคโนโลยี
ความสำคัญของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ความสำคัญของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • เนื่องมาจากอัตราการเติบโตของการใช้อินเตอร์เน็ตและการเพิ่มขึ้นของเว็บไซต์ทางธุรกิจที่มีอย่างต่อเนื่อง • ทำให้การประกอบธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางการตลาดขนาดใหญ่ของโลกไร้พรมแดน • สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายได้โดยตรงอย่างรวดเร็ว ไร้ขีดจำกัดของเรื่องเวลาและสถานที่ การแข่งขันทางการค้าเสรีและระหว่างประเทศที่ต้องแข่งขันและชิงความได้เปรียบกันที่ “ความเร็ว”
แนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยแนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ข้อมูลจากบริษัท ศูนย์วิจัยนวัตกรรมอินเทอร์เน็ตไทย จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการตรวจสอบและประมวลผลสถิติการเยี่ยมชมเว็บไซต์ประเทศไทย (Truehits.net ทรูฮิต)
แนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยแนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย • ประเทศไทยมีอัตราการเติบโตของประชากรอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยสูงถึง 26.77% เมื่อเทียบกับปี 2010 • จำนวนประชากรอินเทอร์เน็ตออนไลน์ เฉลี่ยแต่ละวันประมาณ 6 ล้านคน เป็นผู้ที่อยู่ในต่างประเทศ 4 แสน 4 หมื่นคน • เดือนสิงหาคม 2554 เป็นเดือนที่มีประชากรอินเทอร์เน็ตออนไลน์ในประเทศไทยสูงสุด 25,090,390 คน • ในปี 2011 จำนวนประชากรบนอินเทอร์เน็ตของประเทศไทยทะลุ 25 ล้านคนแล้ว
ตัวบ่งชี้จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ UIP • UIPย่อมาจาก Unique IP • โดยการประมวลจาก IP Address ของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ที่ไม่เหมือนกันในช่วงเวลาหนึ่งๆ • เช่น UIPรายวัน มีค่า 200 คือ ตัวเลข IPของคนเข้าเยี่ยมชม หรือแวะเวียนมาดูเว็บไซต์ไม่ซํ้ากันในวันนี้ 200 คน
แนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยแนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย • พัฒนาการการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยยังค่อนข้างช้า • และอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • ในทางกลับกันก็เป็นโอกาสที่เปิดกว้างสำหรับคนที่สนใจทำธุรกิจการค้าออนไลน์เพราะอนาคตยังมีโอกาสในการเจริญเติบโตสูง
สถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย • สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำผลการสำรวจสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในปี 2554 โดยรวบรวมผ่านแบบสอบถาม จากจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,841 ราย พบข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ดังนี้ • ลักษณะทั่วไปของธุรกิจ • ผลประกอบการ • วิธีการดำเนินธุรกิจ • รูปแบบการชำระเงิน • การรักษาความปลอดภัย • ความคิดเห็นต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
สถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ลักษณะทั่วไปของธุรกิจ • ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของไทยมีสัดส่วนของธุรกิจขนาดเล็ก (มีคนทํางานไม่เกิน 5 คน) มากที่สุด คือ ร้อยละ 68.5 • ร้อยละ 73.3 เป็นธุรกิจที่ขายให้ผู้บริโภค • ประเภทอุตสาหกรรมที่นิยมในการค้าออนไลน์ คือ แฟชั่น เครื่องแต่งกาย อัญมณีและเครื่องประดับ • ระยะเวลาการทำธุรกิจ ประมาณ 1 ใน 3 (ร้อยละ 35.3) ดําเนินกิจการมาไม่เกิน 1 ปี • ประมาณร้อยละ 54.6 ของธุรกิ จ e-Commerce ทั้งหมด ขายสินค้า และบริการผ่านอิเล็กทรอนิกส์และมีหน้าร้าน
สถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ลักษณะทั่วไปของธุรกิจ • ขนาดธุรกิจ
สถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ลักษณะทั่วไปของธุรกิจ • ประเภทอุตสาหกรรม
สถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ลักษณะทั่วไปของธุรกิจ • ระยะเวลาการทำธุรกิจ
สถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ลักษณะทั่วไปของธุรกิจ • ลักษณะการขายสินค้าและบริการ
สถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ผลการประกอบการ • ธุรกิจ e-Commerce มียอดขายผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งสิ้นประมาณ 608,587 ล้านบาท โดยเป็นยอดขายมากที่สุดอยู่ในรูปแบบการค้าขายระหว่างองค์กรกับภาครัฐ มีมูลค่าอยู่ที่ 272,295 ล้านบาท (ร้อยละ 44.7) • การรับคําสั่งซื้อสินค้า/บริการผ่านอินเทอร์เน็ต พบว่า ธุรกิจ e-Commerce ประมาณร้อยละ 42.3 รับคําสั่งซื้อโดยเฉลี่ย 1-5 ครั้งต่อเดือน
สถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย
สถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย
สถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย วิธีการดำเนินธุรกิจ • การส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์ธุรกิจ
สถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย วิธีการดำเนินธุรกิจ • การส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์ธุรกิจ • รูปแบบการประชาสัมพันธ์ทางออนไลน์ นิยมใช้มากที่สุด คือ การโฆษณาทางอีเมล์และโฆษณาผ่านแบนเนอร์บนเว็บไซต์ต่างๆ (ร้อยละ 48.5) • รองลงมาเป็นประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook Twitter เป็นต้น • โฆษณาทาง Search Engine และโฆษณาผ่านเว็บบอร์ดตามเว็บไซต์ต่าง ๆ (ร้อยละ 29.3 ร้อยละ 20.6 และร้อยละ 17.1 ตามลําดับ) • ส่วนออฟไลน์ ส่วนใหญ่ จะอยู่ในรูปแบบของแผ่นพับ/โบรชัวร์/นามบัตรมากที่สุด (ร้อยละ 68.5)
สถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย รูปแบบการชำระเงิน • บริการการชําระเงินแบบออนไลน์ที่ธุรกิจส่วนใหญ่ เปิดให้บริการมากที่สุด คือ การชําระเงินผ่านระบบ e-Banking/ATM (ร้อยละ 77.4) • รองลงมาเป็นการชําระเงินผ่านบัตรเครดิต (ร้อยละ 48.6) • การชําระเงินผ่านผู้ให้บริการกลาง (ร้อยละ 27.1) • ในขณะที่การชําระแบบออฟไลน์ที่ธุรกิจส่วนใหญ่ ใช้กันมากที่สุด คือ การโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร (ร้อยละ 79.7) • รองลงมาเป็นการชําระกับพนักงานโดยตรง (ร้อยละ 50.4) • โอนเงินทางไปรษณีย์ (ร้อยละ 16.3)
สถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย การรักษาความปลอดภัย • ร้อยละ43.0 มีการใช้นโยบายความปลอดภัย (Security Policy) • ร้อยละ 38.9 มีการใช้เทคโนโลยีเข้ารหัส เช่น SSL (https://) • ร้อยละ 31.2 มีการใช้เทคโนโลยี Captcha • ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์มีร้อยละ 11.0
สถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ความคิดเห็นต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ด้านพฤติกรรมลูกค้า
สถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ความคิดเห็นต่อพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ด้านปัญหาอุปสรรค
คำถาม • ผู้เรียนเคยเกี่ยวข้องกับการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างไรบ้าง • ผู้เรียนเคยซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตหรือไม่ บ่อยแค่ไหน ส่วนใหญ่ซื้อสินค้าประเภทใด ถ้าไม่เคยคิดว่าถ้ามีโอกาสจะเลือกซื้อสินค้าประเภทใดผ่านช่องทางนี้ เพราะเหตุใด • หากผู้เรียนเคยซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต รู้สึกพึงพอใจต่อการซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตมากน้อยแค่ไหน เพราะอะไร หากไม่เคย จงระบุเหตุผล • ผู้เรียนมีความคิดเห็นอย่างไรต่อการซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน