380 likes | 536 Views
Economics at the Crossroads. I would like to see economics become more of a science, and more of a science means that it concerns itself more with reality…We’re facing a danger that economics is rigorous deduction based upon faulty assumptions. Professor W. Brain Arthur Santa Fe Institute.
E N D
I would like to see economics become more of a science, and more of a science means that it concerns itself more with reality…We’re facing a danger that economics is rigorous deduction based upon faulty assumptions. Professor W. Brain Arthur Santa Fe Institute
The changing nature of the business profile ในสองทศวรรษที่ผ่านมา เราได้พบเห็นการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจมากมายที่มีผลต่อความสามารถทางการแข่งขันของประเทศต่างๆ หลายประเทศในเอเชียเปลี่ยนจากประเทศด้อยพัฒนามาเป็น “เสือเศรษฐกิจ” อะไรคือพลังที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจระหว่างประเทศ อุดมคติทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปมีผลอย่างไรต่อหลายๆประเทศ แล้วการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีผลกลับมาสู่แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ เช่น ผลตอบแทนลดน้อยถอยลง การแบ่งงานกันทำ อย่างไร
ในเศรษฐศาสตร์ระดับจุลภาค mergers และ acquisitions กำลังเพิ่มขึ้น การเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์และการควบรวมกิจการมีผลกระทบต่อภาคการสื่อสาร ยารักษาโรคและค้าปลีกทั่วทั้งโลก องค์กรต่างๆยกเลิกโครงสร้างที่แข็งทื่อของตนแล้วแปลงไปเป็นโครงสร้างแนวราบที่ยืดหยุ่น กระบวนการทางการผลิตมีการ re-engineer และลูกจ้างได้รับการมอบอำนาจให้มากขึ้น โลกของเศรษฐศาสตร์ทั้งระดับจุลภาคและมหภาคกำลังถูกสั่นคลอนที่รากฐานจากผลของกระบวนการโลกาภิวัตรที่ดำเนินอยู่ในตอนนี้
Enter the “global economy” การเป็น global company ไม่ได้มีความหมายเหมือนการเป็น multi-national company: MNC โดยพื้นฐานแล้ว MNC ขายสินค้าให้กับประเทศต่างๆจำนวนหนึ่ง ปรับแต่งผลผลิตที่เสนอขาย การผลิตและกลยุทธ์การตลาด บริษัทดำเนินการในตลาดต่างประเทศโดยผ่านทางบริษัทลูกที่รับเอากลยุทธ์และคำสั่งจากสำนักงานใหญ่ แต่ global corporation รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับเรื่องสำคัญเรื่องเดียว รู้ความจำเป็นที่แท้จริงสำหรับการแข่งขันบนพื้นฐานระดับโลกและระดับประเทศ และหาทางอย่างต่อเนื่องที่จะกดให้ราคาลดต่ำลงด้วยการทำให้สิ่งที่ขายและแนวทางการดำเนินการเป็นมาตรฐาน
และยังถือว่าโลกเป็นเสมือนว่า ประกอบด้วยตลาดที่เป็นมาตรฐานหนึ่งสองสามตลาด แทนที่จะเป็นตลาดที่มีลักษณะเฉพาะหลายๆตลาด ลักษณะหลักๆของ global company คือ • ผลผลิตขายในตลาดภายนอกมากกว่าตลาดภายใน • การตัดสินใจเกิดที่ตลาดนั้นๆมากกว่าที่สำนักงานใหญ่ • R&D เกิดในที่ที่จำเป็น มักจะในห้องทดลองต่างประเทศ • หุ้นของบริษัทมักจดทะเบียนไว้ในตลาดหุ้นในหลายๆประเทศ • ผู้ถือหุ้นกระจายอยู่ทั่วโลก • ผู้บริหารในประเทศนั้นๆมักเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว • มีกรรมการต่างชาติจำนวนหนึ่งอยู่ในคณะกรรมการบริหาร
การกีดกันทางการค้าไม่ได้เป็นการคุกคามต่อธุรกิจการกีดกันทางการค้าไม่ได้เป็นการคุกคามต่อธุรกิจ • Identities และ loyalties ของบริษัทที่มีอยู่มากมายได้รับการบริหารสำเร็จอย่างดี ส่วนหนึ่งผ่านทางห่วงโซ่การบังคับบัญชาที่คล่องตัว • ภาพลักษณ์ระดับโลกได้รับการหนุนส่ง มากกว่าที่จะถูกขีดวงจำกัดไว้ ด้วยเอกลักษณ์ของประเทศแม่ที่เข้มแข็ง อุดมคติทางการเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลงและบรรยากาศของความร่วมมือกันช่วยอำนวยความสะดวกให้เกิด “borderless organizations”
โลกาภิวัตรไม่ได้กระทบกับทุกๆประเทศเท่าเทียมกัน หลายประเทศใน sub-Saharan Africa เป็นโลกาภิวัตรน้อยสุด มีเหตุผลมากมายสำหรับความไม่สมดุลนี้ แต่เหตุผลสำคัญสองประการคือ ความไม่มีเสถียรภาพทางเศรษฐศาสตร์มหภาคและการกีดกันทางการค้าทางภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ในไม่ช้าประเทศเหล่านี้จะต้องปรับตัวเองเพื่อให้พร้อมกับระบบเศรษฐกิจของโลกาภิวัตร โลกาภิวัตร ซึ่งกระจายนวัตกรรมทางเศรษฐศาสตร์ไปทั่วโลก และการปรับตัวทางการเมืองและทางวัฒนธรรมที่ควบคู่กันมากับการแพร่กระจายนี้ ไม่สามารถหยุดได้ เพราะมันไม่ได้เป็นผลงานของรัฐบาลหรือกองทหาร หรือความสอดคล้องทางอุดมคติ แต่เป็นผลจากวงจรสร้างความมั่งคั่งที่การแพร่กระจายนวัตกรรมนำมาสู่มาตรฐานการครองชีพของเรา
เศรษฐศาสตร์ศึกษาถึง แนวทางที่สังคมตัดสินใจใช้ทรัพยากรซึ่งหายากและมีทางเลือกใช้หลายทาง การตัดสินใจจะเกี่ยวกับว่าจะผลิตสินค้าและบริการอะไร ผลิตอย่างไร และเพื่อใคร ผู้บริหารธุรกิจจำนวนมากไม่ได้สนใจว่า การตัดสินใจของเขาจะมีผลอย่างไรกับระบบเศรษฐกิจ โดยมักจะเพียงพิจารณาจากมุมมองของตน ธุรกิจที่ทำอยู่ เทคโนโลยีที่มีเสนอสนองอยู่ในช่วงนั้น ประเภทของแรงงานที่จะใช้ ความสามารถที่ต้องการเพื่อให้ประสบความสำเร็จในธุรกิจ ขายที่ไหนและเท่าไหร่ แต่การตัดสินใจทั้งหมดนี้เมื่อรวมเข้ากับการตัดสินใจหน่วยธุรกิจอื่นสะท้อนถึงสิ่งที่รัฐบาลต้องทำในระดับมหภาค ซึ่งต้องให้สอดคล้องเพื่อให้การใช้ทรัพยากรมีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ประสิทธิภาพ (efficiency) คือ doing the right thing ในขณะที่ประสิทธิผล (effectiveness) คือ doing the right thing right โลกาภิวัตรมีผลกระทบต่อธรรมชาติของเศรษฐศาสตร์อย่างไร ที่จริงแนวคิดพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรที่หายากไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ที่เปลี่ยนคือ แนวคิดเรื่องความหายากโดยเปรียบเทียบ (relative scarcity) ต่างหากที่เปลี่ยนแปลงในแง่ของการมีเสนอสนองและการใช้ทรัพยากรทั่วโลก
Economic concepts and models – Questioning four tenets of economics มีประเด็นที่เคลือบแคลงใจเกี่ยวกับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์อยู่สี่ประการคือ • The law of diminishing returns • Increasing returns • The production possibility frontier • The division of labor
The law of diminishing returns แนวคิดเรื่อง relative scarcity และ opportunity cost ยังคงเป็นแนวคิดพื้นฐาน แม้ว่าจะมีโลกาภิวัตร แต่ที่เปลี่ยนไปและกำลังเปลี่ยนคือขอบเขตของแนวคิดเหล่านี้ ทรัพยากรขาดแคลนเมื่อเทียบอุปสงค์สำหรับสินค้าและบริการ ไม่ใช่เฉพาะในท้องถิ่น หรือในประเทศ แต่ระดับโลกด้วย ตามกฎของผลตอบแทนลดน้อยถอยลง ถ้าเราเพิ่มการใช้ปัจจัยหนึ่ง เช่นแรงงาน แล้วสมมุติให้ปัจจัยอื่นทั้งหมดคงที่ แรงงานที่เพิ่มเข้าไปแต่ละคนจะมีส่วนก่อให้เกิดผลผลิตเพิ่มขึ้นน้อยกว่าแรงงานคนก่อนหน้านี้ แม้ว่าผลผลิตรวมจะเพิ่มขึ้น และผลผลิตหน่วยเพิ่มจะลดลง
นี่เกิดขึ้นเพราะเราสมมุติให้ทรัพยากรอื่น นอกจากแรงงาน คงที่ และเรายังสมมุติให้เงื่อนไขการผลิตทางเทคนิคถูกกำหนดมาให้และคงที่ ภายใต้ขอบเขตของข้อสมมุติเหล่านี้จะเกิดเหตุการณ์ที่ผลตอบแทนลดน้อยถอยลง นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นตราบเท่าที่ปัจจัยการผลิตตัวใดตัวหนึ่งของการผลิตคงที่ ถ้าเราสมมุติให้ปัจจัยอื่นๆที่ใช้อยู่ยังไม่ได้ถูกใช้จนเต็มความสามารถ ผลตอบแทนต่อปัจจัยที่เรากำลังพิจารณาจะมีผลตอบแทนหน่วยเพิ่มที่เพิ่มขึ้นไม่ใช่ลดลง แต่เมื่อปัจจัยอื่นถูกใช้เต็มความสามารถแล้ว จะเกิดเหตุการณ์ที่ผลตอบแทนหน่วยเพิ่มลดลง แนวคิดนี้เสนอขึ้นโดย Thomas Malthus ในปี 1798 การที่เขามองโลกในแง่ร้ายเลยส่งผลให้เศรษฐศาสตร์เป็น dismal science
ช่วงเวลาสองร้อยกว่าปีที่ผ่านมา เราประสบกับการทำงานของกฎนี้ นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าทรัพยากรในโลกมีอยู่จำกัด เราจึงต้องเผชิญกับกฎดังกล่าว ทำให้เชื่อว่าด้วยกฎนี้จะท้าทายให้เราหาทางออกที่จะใช้ทรัพยากรหายากอย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีการพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง จากแรงกดดันให้ต้องตอบสนองต่อธุรกิจ ความต้องการของผู้บริโภคและสภาพแวดล้อมระดับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
บทบาทของ global sourcing ความรอบคอบทางธุรกิจในอดีตทำให้ผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกแสวงหาวัตถุดิบจากผู้สนองในท้องถิ่น ซึ่งช่วยให้สามารถคาดการณ์ถึงการส่งมอบที่น่าเชื่อถือและลดต้นทุนลง รวมทั้งสามารถควบคุมคุณภาพได้ แต่เมื่อมีโลกาภิวัตร ความรอบคอบแบบนี้เปลี่ยนแปลงไป Philip Kotler ซึ่งเป็น guru ทางการตลาดกล่าวไว้ว่า ระบบเศรษฐกิจโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในสองทศวรรษที่ผ่านมา โดยพื้นฐานแล้ว ระยะทางทางภูมิศาสตร์และทางวัฒนธรรมได้หดตัวลงอย่างมาก ทำให้ธุรกิจสามารถขยายตลาดทางภูมิศาสตร์และแหล่งของผู้สนองปัจจัยได้อย่างกว้างขวางอย่างมาก
ธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆกำลังพัฒนาผลผลิตของพวกเขาด้วยการใช้สายการประกอบระดับโลก Lewis & Harris กล่าวว่า การร่วมมือกันของเทคโนโลยีหดระยะทางลง และจึงเป็นเรื่องสำคัญในปัจจุบันที่จะมองผลผลิตและตลาดว่าเป็นเรื่องระดับโลก และการคาดหมายของผู้บริโภคก็เป็นระดับโลกเช่นกัน ผลประโยชน์ที่สำคัญของ global sourcing ประการหนึ่งคือ ความสามารถที่จะบรรลุการประหยัดต้นทุนอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ยังคงสามารถรักษาไว้ซึ่งการปรับปรุงคุณภาพและบริการ ต้นทุนไม่ใช่เรื่องที่ต้องพิจารณาเรื่องเดียว ต้นทุนแรงงานไร้ฝีมือเป็นสัดส่วนที่น้อยลงในต้นทุนการผลิตทั้งหมดในอุตสาหกรรมการผลิตที่แข่งขันกันระดับโลกส่วนใหญ่
ที่ต้องพิจารณาด้วยคือ การมีเสนอสนองของวัตถุดิบ คุณภาพ และความรวดเร็วในการส่งมอบ ผู้ผลิตในปัจจุบันมีตลาดระหว่างประเทศให้ source สำหรับวัตถุดิบ แรงงาน และทุน ดังนั้นทรัพยากรจึงหายากเมื่อเปรียบเทียบกับอุปสงค์ในตลาดภายใน แต่เนื่องจากใช้และหาในระดับโลก จึงกลายเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญอีกต่อไป จริงอยู่ที่กฎผลตอบแทนลดน้อยถอยลงยังแสดงผลอยู่ในบางส่วน บางที่ บางเวลาของระบบเศรษฐกิจโลก แต่เนื่องจากข้อสมมุติเบื้องหลังการวิเคราะห์เริ่มไม่จริงอีกต่อไป ถ้าเราพิจารณาในส่วนของ global sourcing / production ดังนั้นเราต้องมาพูดถึงกฎ increasing returns
From diminishing returns to increasing returns แนวความคิดเรื่องผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น ได้รับการอธิบายในทางเศรษฐศาสตร์ภายในขอบเขตของผลตอบแทนต่อขนาด ซึ่งคือ ผลของการเพิ่มขึ้นของขนาดของปัจจัยการผลิตที่มีต่อปริมาณที่ผลิต แสดงถึงการตอบสนองของผลผลิตรวมเมื่อปัจจัยการผลิตทั้งหมดเพิ่มขึ้นอย่างเป็นสัดส่วนกัน เพราะเมื่อใส่ปัจจัยการผลิตทั้งหมดเพิ่มเข้าไปในการผลิต ต้นทุนคงที่ที่ไม่เปลี่ยนแปลงจะมีตัวหาร (จำนวนผลผลิต) เพิ่มขึ้น ผลคือต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยผลผลิตลดลงในช่วงแรกๆของการผลิต (เป็นช่วงผลตอบแทนเพิ่มขึ้น) แต่เมื่อการผลิตเพิ่มขึ้น การประหยัดจากขนาดจะหายไป แล้วผลตอบแทนลดน้อยถอยลงจะเข้ามาแทนที่
ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นกับขนาดแสดงถึง ช่วงที่เส้นต้นทุนเฉลี่ยและเส้นต้นทุนรวมมีความลาดชันลดลงของหน่วยผลิตหนึ่งๆ ระบบเศรษฐกิจจำนวนมากใช้ประโยชน์จากการประหยัดจากขนาดและการผลิตขนาดใหญ่ในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศตลอดช่วงศตวรรษที่แล้ว ในขณะเดียวกัน นักเศรษฐศาสตร์บางคนกำลังมุ่งสนใจไปที่แนวคิดของ increasing returns มากกว่า increasing returns to scale เพื่ออธิบายปรากฏการณ์สำคัญทางธุรกิจบางอย่างในปัจจุบัน
The theory that made Microsoft เราเรียนรู้จากหลักเศรษฐศาสตร์ทั่วไปว่า ยิ่งเราขายผลผลิตของเราออกไปมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งจะยากมากขึ้น เพราะเมื่อธุรกิจของเรามีกำไร จะมีคู่แข่งเข้ามาแย่งชิงตลาดจากเรามากขึ้น แต่ทัศนะแบบ diminishing returns ไม่ถูกต้องเสมอไป บางครั้งตลาดทำในสิ่งที่ตรงข้ามกับที่แนวคิดดังกล่าวทำนายไว้ และผลตอบแทนทั้งหมดตกเป็นของผู้ชนะรายเดียว โดยไม่มีใครมาแบ่งไปได้ และบางครั้งผู้ชนะก็ไม่ได้มีผลผลิตที่ดีที่สุดด้วย เช่น แป้นพิมพ์แบบ QWERTY และเครื่องเล่นวีดิโอ VHS
กล่าวอีกนัยหนึ่ง ในบางกรณี ยิ่งเราทำหรือขายบางอย่างมากขึ้น เรายิ่งทำได้ง่ายขึ้น นั่นคือแทนที่จะเกิด diminishing returns เรากลับได้ increasing returns, Bill Gates เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า positive feedback W. Brian Arthur นักทฤษฎีคนแรกๆที่พิจารณาถึงเรื่องนี้ กล่าวว่า increasing returns is essentially the tendency for something that gets ahead to get further ahead. ยิ่งมีคนใช้ผลผลิตของคุณมากเท่าใด คุณยิ่งมีความได้เปรียบมากขึ้นเท่านั้น หรือกล่าวอีกแบบหนึ่งคือ ยิ่งคุณยึดฐานที่มั่นได้มากเท่าใด คุณยิ่งได้เปรียบมากขึ้นเท่านั้น
แป้นพิมพ์แบบ QWERTY ไม่ได้เป็นมาตรฐานของแป้นพิมพ์เพราะมีประสิทธิภาพดีกว่าแบบอื่น แต่เป็นแป้นพิมพ์ที่ออกแบบให้พิมพ์ได้ช้าลงเพื่อไม่ให้เกิดการติดขัด Remington ทำให้แป้นพิมพ์นี้เป็นที่ยอมรับด้วยการผลิตและจำหน่ายได้จำนวนมาก จนแป้นพิมพ์แบบนี้บรรลุการ lock-in ยิ่งมีคนใช้แป้นพิมพ์แบบนี้มากเท่าใด ผู้คนยิ่งไม่เต็มใจมากขึ้นถ้าต้องเปลี่ยนไปใช้แป้นพิมพ์แบบอื่น เพราะต้องฝึกฝนใหม่กับแป้นพิมพ์แบบใหม่ เรียกต้นทุนนี้ว่า switching cost ตัวอย่างสุดโต่งที่สุดที่แสดงการทำงานของ increasing returns ในปัจจุบันคือธุรกิจซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งการจัดตั้งฐานของผู้ใช้ให้มีขนาดใหญ่เป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ นี่เป็นเหตุผลที่ Microsoft ชนะในทุกตลาดที่เข้าไปแข่งแย่งสัดส่วนตลาด แม้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ขายจะไม่ดีที่สุดก็ตาม
คุณลักษณะอื่นของธุรกิจซอฟท์แวร์ และธุรกิจไฮเทค ก็เพิ่มความรุนแรงของผลกระทบนี้ ประการแรก มี upfront cost ของการพัฒนา อุตสาหกรรมไฮเทคต้องใช้การลงทุนสูงใน R&D แต่เมื่อผลผลิตพร้อมออกสู่ตลาด ต้นทุนการผลิตจะค่อนข้างต่ำ เช่น Microsoft ใช้เงินหลายร้อยล้านในการพัฒนา Windows แต่ต้นทุนในการผลิต copy เกือบเท่ากับศูนย์ และที่จริงยิ่งมี copies ของบริษัทอยู่บนชั้นวางขายมากขึ้นเท่าใด ยิ่งขายได้มากขึ้นเท่านั้น เพราะยิ่งมีคนใช้ Windows มากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งจะมีซอฟท์แวร์อื่นที่พัฒนาให้ run บน Windows มากขึ้นเท่านั้น และยิ่งมีซอฟท์แวร์แบบนี้มากขึ้นเท่าใด Windows ยิ่งขายได้มากขึ้นเท่านั้น
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ยังละเลยเรื่อง increasing returns นี้ เพราะยากต่อการอธิบายและขัดแย้งกับทฤษฎีที่ยึดถือมายาวนาน แต่ Brian Arthur กล่าวว่า เรากำลังยุ่งเกี่ยวอยู่กับ cognitive industry ซึ่ง ideas มีค่าเป็นพันล้าน แต่ตัวผลผลิตมีต้นทุนนิดเดียว ทำให้ต้องหันมาตั้งคำถามเกี่ยวกับ diminishing returns โดย Brian Arthur สนับสนุนการครอบงำของ increasing returns ในโลกของไฮเทค เขากล่าวว่า “ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ เรากำลังเข้าสู่ช่วงที่ระบบเศรษฐกิจถูกครอบงำโดยเทคโนโลยี ดังนั้นจึงถูกครอบงำโดย increasing returns และความแปรปรวนอย่างถาวร แทนที่จะเป็นดุลยภาพ”
และยังกล่าวต่ออีกว่า ในกิจการไฮเทค มีคุณสมบัติสองสามอย่างที่ล้มล้าง diminishing returns และทำให้มี increasing returns หมายถึง ยิ่งเรามีความได้เปรียบในการนำหน้าเท่าใด ยิ่งจะมีความได้เปรียบในการนำหน้าห่างออกไปมากขึ้น เราเรียกว่า positive feedback เราไม่ได้กำลังกล่าวถึง increasing returns to scale เพราะไม่เรื่องของ scale Increasing returns หมายถึง whoever gets advantage, gets further advantage. Whoever loses advantage, will lose further advantage. มีเหตุผลอยู่สามประการ
Cost advantage กิจการไฮเทคมีความซับซ้อนในการออกแบบและต้องการ upfront R&D cost จำนวนที่สูง แต่ต้นทุนการทำซ้ำต่ำมาก ดังนั้นยิ่งผลิตมากขึ้นเท่าใด ต้นทุนต่อหน่วยยิ่งต่ำลงเท่านั้น และจะยิ่งมีความได้เปรียบทางตลาดมากเท่านั้น • Network effects หมายถึงยิ่งเครือข่ายใหญ่เท่าใด ยิ่งมีผู้คนอยากเข้าร่วมในเครือข่ายมากเท่านั้น • Groove-in effects หมายถึงว่ายิ่งเราใช้ผลผลิตนั้นมากขึ้นเท่าใด เรายิ่งคุ้นเคยกับผลผลิตนั้นๆมากขึ้นเท่านั้น ในขณะที่อาจมีผลผลิตอื่นที่ดีกว่า แต่เราคุ้นเคยและรู้จักลูกเล่นทุกอย่างของผลผลิตเดิมที่เราใช้อยู่อย่างดี และไม่อยากเริ่มไปเรียนรู้ของใหม่ ลักษณะทั้งสามทำให้เกิด increasing returns
The production possibility frontier เส้นความเป็นไปได้ในการผลิต (PPC) สะท้อนถึงเรื่องราวของเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรหายาก โดยแสดงถึงแนวคิดเรื่องต้นทุนค่าเสียโอกาส ซึ่งคือ ทางเลือกที่ต้องยอมเสียสละไปในการตัดสินใจทางเศรษฐศาสตร์ รูปร่างปกติของเส้น PPC อิงอยู่บน law of diminishing returns การผลิตผลผลิตอย่างหนึ่งเพิ่มขึ้น จะต้องลดการผลิตอีกอย่างหนึ่งลง อย่างไรก็ตาม ถ้าทรัพยากรยังไม่ได้ถูกใช้ไปจนเต็มความสามารถ เราอาจผลิตผลผลิตทั้งสองอย่างเพิ่มขึ้นพร้อมๆกัน ตราบเท่าที่ยังอยู่ภายใต้เส้นPPC นี้
เราสามารถเคลื่อนเส้น PPC ของระบบเศรษฐกิจไปทางขวาด้วยการใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เส้น PPC เป็นตัวแบบที่ดีในการเข้าใจถึงแนวคิดของต้นทุนค่าเสียโอกาสซึ่งเป็นหลักสำคัญทางเศรษฐศาสตร์ แต่โลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และเกี่ยวพันกันไว้อย่างใกล้ชิด จึงเกิดคำถามว่า PPC ยังมีความศักดิสิทธิ์อยู่หรือไม่เพียงใด เพราะตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 เริ่มมีความคิดว่าโลกไม่มีขีดจำกัดของการเจริญเติบโต เพราะมีทรัพยากรธรรมชาติเหลือเฟือเพียงพอไปอีกนาน อาหารของโลกมีมากพอเลี้ยงประชากร แต่ที่บางส่วนยังอดอยากอยู่เพราะปัญหาทางการเมืองและการกระจายมากกว่า ประชากรเพิ่มขึ้นช้าลงเกือบทุกที่ และเรากำลังมีการปฏิวัติเขียวครั้งใหม่จาก biotechnology
เราต้องการวัตถุดิบน้อยลง เมื่อเราย้ายออกจากการผลิตผลผลิตที่ต้องใช้วัตถุดิบอย่างเข้มข้น เช่น การใช้พลาสติกแทนเหล็ก การย่อขนาดผลผลิตก็ทำให้ต้องการวัตถุดิบน้อยลง ราคาของวัตถุดิบต่ำสุดในประวัติศาสตร์เมื่อเทียบกับสินค้าและบริการที่ผลิต และยังจะลดลงต่อไปอีก และยิ่งถ้าเรามองไปที่ outsourcing ที่สามารถทำได้ทั่วโลกด้วยแล้ว เส้น PPC ของประเทศหนึ่งๆจะเคลื่อนออกไปทางขวาได้อย่างมากประกอบเข้ากับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทั้ง hard และ soft technology ที่พัฒนาอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน จึงเริ่มต้องหันมามองเรื่องแนวคิดเกี่ยวกับเส้น PPC กันใหม่
The division of labor แนวทางหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิผลของการใช้ทรัพยากร และจึงเคลื่อนการผลิตไปอยู่บนเส้น PPC หรือเคลื่อนเส้น PPC ไปทางขวาคือ ความชำนาญงานของทรัพยากร โดยเฉพาะในด้านการแบ่งงานกันทำของแรงงาน ตั้งแต่ปี 1776 Adam Smith อธิบายว่า ถ้าแรงงานแต่ละคนตั้งอกตั้งใจทำงานเฉพาะส่วนในการผลิตทั้งหมด แทนที่จะทำทุกอย่างทั้งหมดเอง ผลผลิตจะเพิ่มขึ้นอย่างมากและบรรลุประสิทธิภาพที่สูงขึ้น โดยเขาบอกว่าเป็นผลมาจากข้อเท็จจริงสามประการคือ
จากความเชี่ยวชาญ (dexterity) ที่เพิ่มขึ้นของแรงงานทุกๆคน • จากการประหยัดเวลาที่มักจะสูญเสียไปในการเปลี่ยนจากงานหนึ่งไปยังอีกงานหนึ่ง • จากการคิดค้นเครื่องมือจำนวนมากที่อำนวยความสะดวกให้กับแรงงาน และช่วยให้คนๆหนึ่งสามารถทำงานของหลายๆคนได้ การแบ่งงานกันทำเป็นความชำนาญเฉพาะอย่างในส่วนของแรงงาน ความชำนาญเฉพาะอย่างเกิดขึ้นเมื่อการผลิตถูกแบ่งออกเป็นขั้นตอนหรืองานจำนวนหนึ่ง และแต่ละคนหรือกลุ่มของคนทำงานเฉพาะอย่างนั้นๆ
การประยุกต์ใช้แนวคิดการแบ่งงานกันทำ มีประวัติโดดเด่นที่การนำไปใช้งานโดย Henry Ford ในสายการผลิตรถยนต์ ตามมาด้วย Alfred Sloan ที่ขยายต่อไปสู่ระบบการจัดการ ที่นำเอาขีดจำกัดที่ Ford ประสบอยู่มาแก้ไขและปรับปรุง โดยมีหลักการว่า ถ้าแผนกที่สนองอุปทานภายในบริษัท อันเป็นผลมาจากการใช้การแบ่งงานกันทำของแรงงาน ไม่สามารถเสนอราคาที่ต่ำลงได้แล้ว แผนกจัดซื้อในบริษัทก็มีอิสระที่จะซื้อจากแหล่งภายนอก ดังนั้น เราอาจถือได้ว่า Sloan เป็นผู้สนับสนุนแนวคิดของสิ่งที่เราเรียกในปัจจุบันว่า outsourcing และ global sourcing แม้ว่าการแบ่งงานกันทำยังคงใช้ได้อยู่ในปัจจุบัน แต่คงต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบให้ยืดหยุ่นกับสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ดีกว่าโครงสร้างการบริหารที่แข็งทื่อที่ใช้กันอยู่
การริเริ่มของธุรกิจสมัยใหม่กับผลกระทบต่อแนวคิดและตัวแบบทางเศรษฐศาสตร์สำคัญๆการริเริ่มของธุรกิจสมัยใหม่กับผลกระทบต่อแนวคิดและตัวแบบทางเศรษฐศาสตร์สำคัญๆ ปัจจุบันมีความคิดริเริ่มบางประการของธุรกิจที่แปลกแยกจากหลักการและข้อคิดเห็นทางเศรษฐศาสตร์คือ • การเสนอ cross-functional teams • The horizontal organization – the death of hierarchies • กระบวนการ re-engineering ที่ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและใกล้ชิดกับลูกค้า
ความสนใจในระดับจุลภาคและมหภาคได้เปลี่ยนไปในแนวทางที่จะผลิตสินค้าและบริการที่สามารถแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพในเวทีการแข่งขันระดับโลก ด้วยการรับเอาระบบการควบคุมคุณภาพทั้งหมดมาใช้ ให้ความสนใจและใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น ออกแบบโครงสร้างทางองค์กรใหม่ด้วยการตั้งคำถามถึงความเชื่อดั้งเดิมในส่วนของการแบ่งงานกันทำ การพัฒนาความสามารถหลักของแรงงาน และการให้บริการอย่างดีเลิศ
Specialization versus cross-functional teams จากโลกของความเชี่ยวชาญ เราได้ย้ายไปสู่โลกของทีม โดยเฉพาะทีมที่มีหลายหน้าที่และทำแทนกันได้ โดยทีมที่มีหลายหน้าที่กันได้ประกอบด้วยสมาชิกที่มีกลุ่มของความเชี่ยวชาญและความสามารถแตกต่างกัน ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆจับกลุ่มเข้าด้วยกันเป็นทีมเล็กๆเพื่อปฏิบัติงานและหน้าที่เฉพาะ การทำงานในทีมที่มีหลายหน้าที่ได้นี้ทำให้สามารถหาประโยชน์ได้เต็มที่ในหน้าที่ต่างๆ ซึ่งจะเพิ่มมูลค่าให้กับผลสุดท้ายที่ได้ ทีมดังกล่าวสร้างการทำงานร่วมกันและเชื่อว่าจะนำไปสู่การประหยัดต้นทุน นวัตกรรมและความพึงพอใจของลูกค้า
การแข่งขันระดับโลกทำให้แรงงานจำเป็นต้องมีบทบาทน้อยประเภทลงแต่ยืดหยุ่นมากขึ้น แรงงานไม่อาจทำงานที่ตนเชี่ยวชาญอย่างเดียวอีกต่อไป การทำงานเป็นทีมช่วยยกระดับคุณภาพของผลผลิตและคุณภาพของการตัดสินใจทางธุรกิจ ทีมให้ผลงานดีกว่ากลุ่มคนที่ทำงานแบบเดียวกัน แต่ในรูปแบบของต่างคนต่างทำ โดยเฉพาะเมื่อความเชี่ยวชาญหลายอย่าง ประสบการณ์ และการตัดสินใจเป็นตัวกำหนดการดำเนินการ การแบ่งงานกันทำตามแนวคิดเดิมล้าสมัยไปแล้ว เราต้องจัดสรรและใช้แรงงานในรูปของทีม และพยายามระบุและพัฒนาความสามารถของแรงงานในรูปของทีม
Goodbye pyramid – welcome spaghetti structure การทำงานเป็นทีม โดยเฉพาะทีมที่มีหลายหน้าที่ กลายเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากความต้องการขององค์กรที่จะพึ่งพาและโน้มเข้าหากัน (lean) เพื่อตอบสนองต่อเงื่อนไขตลาด องค์กรแบบเดิมๆตั้งอยู่บนฐานของงานที่แบ่งตามหน้าที่ มีลำดับขั้นตามการแบ่งงานกันทำของแรงงาน และนำไปใช้กับหน้าที่ของการวางแผน การจัดระบบ การชี้นำและควบคุม ลักษณะองค์กรเหมือนรูปปิรามิด องค์กรแบบนี้รวมเอาชั้นที่แตกต่างกันของการบริหาร ซึ่งมีหน้าที่เฉพาะและมีกระบวนการควบคุม ห่วงโซ่ของการสั่งการเป็นไปตามชั้นของหน้าที่ในแนวดิ่ง องค์กรแบบนี้ใช้อยู่มากกว่าสองร้อยปี
ในตอนปลายทศวรรษที่ 1980 บางองค์กรเริ่มสงสัยถึงความเหมาะสมของโครงสร้างแบบปิรามิดในการทำให้องค์กรยืดหยุ่นเพียงพอต่อความต้องการของตลาด โครงสร้างแนวราบช่วยให้สะดวกในการจัดระบบของงานรอบๆกระบวนการผลิต ซึ่งเชื่อมกับความต้องการของลูกค้า แทนที่จะจัดตามหน้าที่ และยังช่วยให้มีการทำงานเป็นทีมภายในองค์กร ทีมที่รวมกันทำงานกลุ่มหนึ่งจะเชื่อมโยงกับทั้งผู้สนองปัจจัยและลูกค้า มี อำนาจและรับผิดชอบทางการจัดการในตัวเอง จึงสามารถปรับอย่างรวดเร็วให้รับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น สารสนเทศและการฝึกฝนจะได้รับในเวลาที่ต้องการและการทำงาน การบังคับบัญชาอยู่ในแนวราบแต่ยังมีลำดับชั้นอยู่