770 likes | 1.49k Views
กรมกำลังพลทหารบก DIRECTORATE OF PERSONNEL. นขต. ทบ.3-56. การบรรยาย เรื่อง แผนและนโยบายการจัดการความรู้ของ ทบ. โดย พ.อ.นิวัติ พงศ์สิทธิศักดิ์. แผนพัฒนากำลังพลด้วยการศึกษา ปี ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙. กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะกำลังพล. พัฒนากำลังพลด้วยการศึกษาต่อเนื่อง
E N D
กรมกำลังพลทหารบก DIRECTORATE OF PERSONNEL นขต.ทบ.3-56
การบรรยาย เรื่อง แผนและนโยบายการจัดการความรู้ของ ทบ. โดย พ.อ.นิวัติ พงศ์สิทธิศักดิ์
แผนพัฒนากำลังพลด้วยการศึกษา ปี ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙ กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะกำลังพล • พัฒนากำลังพลด้วยการศึกษาต่อเนื่อง • เสริมสร้างขวัญกำลังใจ แรงจูงใจครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
แผนพัฒนากำลังพลด้วยการศึกษา ปี ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙ กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา • เสริมสร้างวิสัยทัศน์และพัฒนาความรู้ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา • เสริมสร้างขวัญกำลังใจ แรงจูงใจครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา • พัฒนาสมรรถนะครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
แผนพัฒนากำลังพลด้วยการศึกษา ปี ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙ กลยุทธ์การพัฒนาระบบทางการศึกษาและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา • การพัฒนาระบบฐานข้อมูลการศึกษาของกำลังพลและระบบคัดเลือกกำลังพลเข้ารับการศึกษา • การพัฒนาหลักสูตร วิธีการจัดการเรียนการสอน และการประเมินผลการศึกษา • การพัฒนากฎระเบียบและข้อบังคับด้านการศึกษาให้มีความทันสมัย
แผนพัฒนากำลังพลด้วยการศึกษา ปี ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙ กลยุทธ์การพัฒนาระบบทางการศึกษาและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (ต่อ) • การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา • การส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้พัฒนาการจัดการศึกษา การเผยแพร่ความรู้ การสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ทางการศึกษา • การส่งเสริมเครือข่ายทางการศึกษา
แผนพัฒนากำลังพลด้วยการศึกษา ปี ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙ กลยุทธ์การพัฒนาองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ • การจัดการความรู้ของ ทบ. • การพัฒนาขีดความสามารถศูนย์การศึกษาให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับกำลังพล
ประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ๑.ปลูกฝัง/เสริมสร้าง อุดมการณ์ทหารให้มีความ เสียสละและจงรักภักดี ต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ๒.การวางแผนและบริหารกำลังพล ๓.ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาองค์การให้เป็นการแห่งการเรียนรู้ ๔.การพัฒนาระบบบริหาร ทรัพยากรบุคคลและระบบสารสนเทศสายงานกำลังพล ๕.การพัฒนาขวัญกำลังใจ และ คุณภาพชีวิตกำลังพล ประเด็นยุทธศาสตร์ ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล เป้าประสงค์ ส่งเสริมและพัฒนาการจัดการความรู้ในองค์กร กำลังพลมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน กลยุทธ์ พัฒนาสมรรถนะ กำลังพล พัฒนาสมรรถนะ ครู -อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาระบบบริการทางการศึกษาและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พัฒนาองค์การให้เป็นองค์การแห่ง การเรียนรู้
แผนพัฒนากำลังพลของกองทัพบก ด้วยการศึกษา ประจำปี ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙ ประเด็นยุทธศาสตร์ การบริหารทรัพยากรบุคคล เป้าประสงค์ ๑.กำลังพลมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน ๒.ส่งเสริมและพัฒนาการจัดการความรู้ในองค์การ พัฒนาสมรรถนะ ครู – อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาสมรรถนะกำลังพล พัฒนาระบบบริการทางการศึกษาและเทคโนโลยี เพื่อการศึกษา พัฒนาองค์การให้เป็นองค์การ แห่งการเรียนรู้ ๑. เสริมสร้างวิสัยทัศน์ และพัฒนาความรู้ ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ๒. เสริมสร้าง ขวัญกำลังใจ แรงจูงใจให้ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และให้มีความก้าวหน้าในอาชีพ ๓. พัฒนาสมรรถนะครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ๑. พัฒนาระบบฐานข้อมูลของกำลังพลและระบบการคัดเลือกกำลังพลเข้ารับการศึกษา ๒. พัฒนากฎระเบียบ/ข้อบังคับด้านการศึกษาให้มีความทันสมัยและการบังคับใช้ให้มีประสิทธิภาพ ๓. พัฒนาหลักสูตร/วิธีการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลการศึกษา ๔. พัฒนาระบบการประกันคุณภาพทางการศึกษา ๕. ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้พัฒนาการจัดการศึกษา การสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ทางการศึกษา ๖. ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายทางการศึกษา ๑. การจัดการความรู้ของ ทบ. ๒. พัฒนาขีดความสามารถ ศูนย์การศึกษาให้เป็นศูนย์ การเรียนรู้ตลอดชีวิต สำหรับกำลังพล ๑. การส่งเสริมให้เข้ารับการศึกษาต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาตนเอง และยกระดับคุณวุฒิการศึกษาให้สูงขึ้น ๒. เพิ่มพูนทักษะในการปฏิบัติงาน เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับในการปฏิบัติงาน
แผนการจัดการความรู้ของ ทบ. ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๕ - ๒๕๖๔
การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์การ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์การสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันส่งผลให้องค์การมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
ประเภทของความรู้ ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)
ความสำคัญของการจัดการความรู้ความสำคัญของการจัดการความรู้ • เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร • ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา • เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอด • เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์ • เพิ่มขีดความสามารถการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็วและดีขึ้น • ผู้บังคับบัญชาสามารถทำงานเชื่อมโยงกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น • สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงานได้อย่างทันท่วงที
องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ • คน (People) • เครื่องมือเทคโนโลยี (Tool and Technology) • กระบวนการความรู้ (Knowledge Process)
วิสัยทัศน์ด้านการจัดการความรู้ของ ทบ. กองทัพบกเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ในการเตรียมกำลัง และการใช้กำลังทางบก ในปี ๒๕๖๔
พันธกิจด้านการจัดการความรู้ของ ทบ. • ส่งเสริมให้กำลังพลมีจิตสำนึก ทัศนคติ และพฤติกรรมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ • สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ • ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งในและนอก ทบ. • พัฒนาระบบสารสนเทศและคลังข้อมูลเพื่อจัดการความรู้ที่ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว
เป้าหมายการจัดการความรู้ของ ทบ. • กำลังพลของ ทบ. เป็นผู้รักการเรียนรู้ มีศักยภาพ • กำลังพลของ ทบ. มีความรู้ ความชำนาญการ และสมรรถนะสูง • ระบบงาน ทบ. มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล • จัดการความรู้โดยใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง
กรอบระยะเวลาดำเนินงานตามแผนงานการจัดการความรู้ ทบ. ปีงบประมาณ ๒๕๕๕ – ๒๕๕๖ • กรม ฝสธ. • กรมฝ่ายกิจการพิเศษ • กรมฝ่ายยุทธบริการ • นขต.ทบ. ระดับ ทภ. และ รร.เหล่า/สายวิทยาการ • หน่วยงานการศึกษาของ ทบ.
กรอบระยะเวลาดำเนินงานตามแผนงานการจัดการความรู้ ทบ. • ปีงบประมาณ ๒๕๕๗ – ๒๕๕๙ • หน่วยระดับกองพล/เทียบเท่า • ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ • ทุกหน่วยดำเนินการพัฒนาปรับปรุงและมีการจัดการความรู้ภายในหน่วยอย่างเป็นรูปธรรม
คลังความรู้ของ ทบ. ความรู้ทางทหาร แนวทางในการปฏิบัติงาน บทเรียนจากการปฏิบัติงาน/การรบ ความรู้ด้านวิชาชีพ ภูมิปัญญา อื่น ๆ
แผนงานการจัดการความรู้ของ ทบ. แผนงานที่ ๑ การพัฒนาการบริหารจัดการและ การสนับสนุนการเรียนรู้ แผนงานที่ ๒ การพัฒนากำลังพลให้พร้อม ต่อการเรียนรู้ แผนงานที่ ๓ การจัดการความรู้
แผนงานการจัดการความรู้กองทัพบกแผนงานการจัดการความรู้กองทัพบก แผนงานที่ ๑ การพัฒนาการบริหารจัดการและการสนับสนุนการเรียนรู้ มี ๕ แนวทางดำเนินการ (กลยุทธ์) ดังนี้ • กำหนดรูปแบบโครงสร้างการบริหารจัดการองค์ความรู้ของกองทัพบก • จัดตั้งเว็บไซต์ศูนย์การเรียนรู้ ทบ. และหน่วยใน ทบ. • กำหนดให้ทุกส่วนราชการมีคลังความรู้ของหน่วย แยกตามประเภทองค์ความ • พัฒนาระบบสารเทคโนโลยีสนเทศในการจัดการความรู้ของกองทัพบก • สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลข่าวสารความก้าวหน้าในการดำเนินการจัดการความรู้ของกองทัพบก • การเสริมสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนากองทัพบกให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
แผนงานการจัดการความรู้กองทัพบกแผนงานการจัดการความรู้กองทัพบก แผนงานที่ ๒ การพัฒนากำลังพลให้พร้อมต่อการเรียนรู้ มี ๒ แนวทางดำเนินการ (กลยุทธ์) ดังนี้ พัฒนากำลังพลให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทัศนคติที่ดีต่อการจัดการความรู้ การพัฒนาศักยภาพของกำลังพลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ทุกระดับ สามารถเป็นวิทยากรต้นแบบการจัดการความรู้ขององค์กร
แผนงานการจัดการความรู้กองทัพบกแผนงานการจัดการความรู้กองทัพบก แผนงานที่ ๓ การจัดการความรู้ มี ๕ แนวทางดำเนินการ (กลยุทธ์) ดังนี้ • แผนการจัดการความรู้ของกองทัพบก • การจัดการความรู้ให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการ ของกองทัพบก • สร้างเครือข่ายการปฏิบัติงานกับหน่วยใน กห. และนอก กห. • การให้ความรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ • การพัฒนา/ขยายผล/ติดตามประเมินผลการจัดการความรู้
แนวทางการจัดการศึกษาแบบ e - learning ผบ.ทบ. ได้กรุณามอบนโยบายการจัดการศึกษาแบบ e – learning ในที่ประชุมชี้แจงและสั่งการของ ผบ.ทบ.ต่อ นขต.ทบ. เมื่อ ๔ พ.ค. ๕๕ เพื่อพัฒนาความรู้ของกำลังพลทั้งนายทหาร นายสิบ และพลทหาร พร้อมให้มีระบบการตรวจสอบการเข้ามาศึกษาของกำลังพลและการประเมินผล
ศูนย์การเรียนรู้ จำนวน ๓๙ ศูนย์ ประกอบด้วย • หน่วยระดับ ทภ. จำนวน ๖ หน่วย ได้แก่ • ทภ.๑ • ทภ.๒ • ทภ.๓ • ทภ.๔ • นปอ. • นสศ.
ศูนย์การเรียนรู้ จำนวน ๓๙ ศูนย์ ประกอบด้วย (ต่อ) • กรม ฝสธ. จำนวน ๖ หน่วย ได้แก่ • กพ.ทบ. • ขว.ทบ. • ยก.ทบ. • กบ.ทบ. • กร.ทบ. • สปช.ทบ.
ศูนย์การเรียนรู้ จำนวน ๓๙ ศูนย์ ประกอบด้วย (ต่อ) • กรมฝ่ายกิจการพิเศษ จำนวน ๙ หน่วย ได้แก่ • นรด. • สบ.ทบ. • กง.ทบ. • สห.ทบ. • สก.ทบ. • จบ. • สวพ.ทบ. • สตน.ทบ. • สธน.ทบ.
ศูนย์การเรียนรู้ จำนวน ๓๙ ศูนย์ ประกอบด้วย (ต่อ) • กรมฝ่ายยุทธบริการ จำนวน ๙ หน่วย ได้แก่ • กช. • สพ.ทบ. • พบ. • พธ.ทบ. • ขส.ทบ. • สส. • ยย.ทบ. • กส.ทบ. • วศ.ทบ.
ศูนย์การเรียนรู้ จำนวน ๓๙ ศูนย์ ประกอบด้วย (ต่อ) • เหล่า/สายวิทยาการและส่วนการศึกษาของ ทบ. จำนวน ๙ หน่วย ได้แก่ • กช. • สพ.ทบ. • พบ. • พธ.ทบ. • ขส.ทบ. • สส. • ยย.ทบ. • กส.ทบ. • วศ.ทบ.
ข้อมูลองค์ความรู้ทีให้กำลังพลเข้ามาเรียนรู้ข้อมูลองค์ความรู้ทีให้กำลังพลเข้ามาเรียนรู้ ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับหน่วย ความรู้ที่หน่วยจะต้องนำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ ความรู้ด้านวิชาการและวิทยาการของเหล่า/สายวิทยาการ ความรู้ในบทบาทหน้าที่ของ ทบ. ในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยลิงค์ข้อมูลจากเว็บไซต์ ทบ.
ศทท. ได้ดำเนินการจัดตั้งเว็บไซต์ศูนย์การเรียนรู้ของ ทบ. โดยใช้ชื่อ “ศูนย์การจัดการความรู้ ทบ. (Army Knowledge Management center)” เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลกับศูนย์การเรียนรู้ นขต.ทบ. ทาง http://km.rta.mi.th
การจัดการความรู้ ทบ.USA • เป็นยุทธศาสตร์เพื่อปรับเปลี่ยนทบ. ให้เป็นกองทัพที่มีพื้นฐานขององค์ความรู้และเครือข่ายเป็นศูนย์กลาง • เป็นส่วนหนึ่งในการปรับเปลี่ยน ทบ. ไปสู่กองทัพแห่งอนาคต • แบ่งปันและเข้าถึงสารสนเทศได้ดีขึ้น • ให้ขีดความสามารถของโครงสร้างสารสนเทศพื้นฐานทั่ว ทบ. เพื่อให้ส่วนกำลังรบและส่วนบริหารจัดการ สามารถปฏิบัติการได้อย่างรวดเร็วและเด็ดขาด • เชื่อมต่อคน องค์ความรู้ และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน
เป้าหมายการจัดการความรู้กองทัพบกเป้าหมายการจัดการความรู้กองทัพบก (1) นำการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรและส่วนราชการมาใช้เพื่อเป็นองค์กรที่มีพื้นฐานขององค์ความรู้ (2) บูรณาการการจัดการความรู้และตัวแบบการบริหารจัดการที่เป็นเลิศเข้ากับกระบวนการบริหารจัดการของ ทบ. เพื่อสร้างกองทัพที่มีพื้นฐานขององค์ความรู้ (3) บริหารจัดการโครงสร้างสารสนเทศให้เป็นรูปธรรมเพื่อสร้างเสริมประสิทธิภาพและขีดความสามารถต่างๆ เช่น การร่วมมือกัน (Collaborative), การตัดสินใจ และการสร้างนวัตกรรม (4) จัดตั้งองค์ความรู้กองทัพบกออนไลน์ (AKO)/องค์ความรู้ทหารออนไลน์ (DKO) เป็นช่องทางหนึ่งขององค์กรกองทัพบกเพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ทั่วไปและมีการรักษาความปลอดภัยทั่วทั้งกองทัพบก (5) สร้างทุนมนุษย์ (Human capital) สำหรับองค์กรที่มีพื้นฐานขององค์ความรู้
ผลลัพธ์ของยุทธศาสตร์การจัดการความรู้กองทัพบกผลลัพธ์ของยุทธศาสตร์การจัดการความรู้กองทัพบก • ปรับโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศและองค์ความรู้ขององค์กรกองทัพบก เข้ากับเครือข่ายสารสนเทศสากล (Global Information Grid: GIG) และกองทัพแห่งอนาคต
ประชาคมนักปฏิบัติ (Communities of practice: CoPs) 1 เป็นกลุ่มคนที่ปฏิสัมพันธ์กันเป็นปกติเพื่อการเรียนรู้ที่สร้างสม แก้ปัญหา สร้างทักษะและขีดความสามารถ และสร้างการปฏิบัติที่เป็นเลิศเกี่ยวกับเป้าหมาย ภารกิจ ปัญหาต่างๆ การปฏิบัติงาน หรือสิ่งที่สนใจร่วมกัน 2 สนับสนุนด้วยสภาวะแวดล้อมที่เป็นการร่วมมือกัน เช่น เครือข่ายองค์ความรู้ และการประชุมผู้เชี่ยวชาญ 3 เป็นกลุ่มที่เป็นการร่วมมือกันของผู้ใช้ต่างๆ ที่ต้องแลกเปลี่ยนข้อมูลในการดำเนินการตามความสนใจ ภารกิจ กระบวนการในการบริหารจัดการ หรือเป้าหมายที่แบ่งปันกัน 4 การสื่อสารภายในประชาคมนักปฏิบัติ (CoP) ต้องเป็นไปตามแนวทางการรักษาความลับ จริยธรรม และหลักการที่สามารถใช้ได้
องค์ความรู้กองทัพบกออนไลน์ (AKO) • อำนวยต่อการแบ่งปันทรัพยากรองค์ความรู้และสารสนเทศกองทัพบกอย่างสูงสุดทั่วทั้งองค์กรกองทัพบก • ลดการลงทุนทรัพยากรเทคโนโลยีสารสนเทศที่ซ้ำซ้อน • เป็นช่องทางเดียวของกองทัพบกที่อนุญาตให้ผู้ใช้ต่าง ๆ ของ ทบ. เข้าถึงระบบเครือข่ายองค์การกองทัพบกและช่องทางย่อยต่าง ๆ
สรุป • กำลังพลทุกนายต้องมีความรู้ในเป้าหมายและยุทธศาสตร์การจัดการความรู้กองทัพบก (AKM) • ผู้บังคับบัญชาและ ผบ.หน่วย ต้องพัฒนาความริเริ่มของหน่วยเพื่อสนับสนุนเป้าหมายและยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ • จุดสนใจหลักในทุกระดับหน่วย • ความสามารถในการเก็บและค้นข้อมูลที่ถูกต้อง ณ เวลาที่เหมาะสม และส่งให้ผู้ใช้ที่เหมาะสม โดยเฉพาะการบริหารจัดการสารสนเทศ/เทคโนโลยีสารสนเทศ ((IM)/IT ในประชาคมผู้ให้บริการ (Community of service providers)
ชุดจัดการความรู้ของ ทบ.สหรัฐฯ(FM6-01.1)
พันธกิจของชุดจัดการความรู้พันธกิจของชุดจัดการความรู้ • เสนอแนะ ผบช.&ฝสธ.เกี่ยวกับแนวทาง KM • พัฒนาวิธีการและกระบวนการที่สนับสนุนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของหน่วยก่อน ระหว่าง และหลังการปฏิบัติการ • จัดชุดแก้ปัญหาที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดการความรู้ โดยชุดนี้จะเป็นแกนของคณะทำงานหลายพันธกิจที่จัดจากฝสธ.ทุกฝ่าย ซึ่งชุดนี้จะได้รับการช่วยเหลือด้วยระบบสารสนเทศ • เสนอแนะโปรแกรมการใช้, การดำเนินกรรมวิธี และการบริการต่างๆ ที่จะบรรลุเรื่องต่อไปนี้ • ให้ขีดความสามารถสำหรับการปฏิบัติการ ณ ที่บังคับการที่มีประสิทธิผล • พร้อมที่จะเข้าใจได้ • ให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่คนที่ถูกต้อง ณ เวลาที่เหมาะสม
พันธกิจของชุดจัดการความรู้ (ต่อ) • บูรณาการกระบวนการจัดการความรู้เข้ากับพันธกิจต่างๆ ของหน่วยระหว่างทุกขั้นการเตรียมกำลังของกองทัพบก • สร้างและดำรงโครงสร้างเครือข่ายความรู้ที่เป็นสังคมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล รวมทั้งทางเทคนิค ซึ่งเครือข่ายนี้จะช่วยให้หน่วยต่างๆ ได้แบ่งปันสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้ได้โดยรวดเร็ว คือ ยุทธวิธี เทคนิค และกระบวนการ, การสังเกตการณ์การปฏิบัติการ ความรู้ความเข้าใจ และบทเรียนที่เรียนรู้, และผลผลิตความรู้ที่ปรากฏที่สามารถใช้ได้ ซึ่งโครงสร้างเครือข่ายความรู้นี้จะใช้โครงสร้างเครือข่ายเทคนิคที่ ฝสส. กำหนด โดยจะเชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะต่างๆ และช่วยในการเรียนรู้เป็นบุคคลและองค์การ ทั้งนี้ ชุดจัดการความรู้นี้จะส่งความต้องการในการทบทวนการจัดการความรู้ของเครือข่ายเทคนิคไปยัง ฝสส. • แนะนำหน่วยเกี่ยวกับการใช้กระบวนการและเครื่องมือจัดการความรู้เพื่อให้มีข่าวสารสำคัญมากขึ้น
พันธกิจของชุดจัดการความรู้ (ต่อ) • ประสานแหล่งความรู้ภายนอกและบูรณาการความรู้เหล่านี้เข้ากับเครือข่ายความรู้ขององค์การ ประสานความต้องการเครือข่ายทางเทคนิคกับ ฝสส. • ฝึกหน่วยให้สามารถใช้และปฏิบัติระบบความรู้การบัญชาการรบได้อย่างมีประสิทธิผล • พัฒนาและดำรงขีดความสามารถการปฏิบัติหน้าที่เสมือน ช่วยในการดำเนินการการปฏิบัติหน้าที่เสมือน • วิเคราะห์เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับขีดความสามารถในการจัดการความรู้ใหม่ๆ ที่ได้รับการเสนอ และเสนอแนะการรับและบูรณาการเข้ากับโครงสร้างระบบบัญชาการรบกองทัพบกของหน่วย โดย ฝสส. ตามความเหมาะสม • ช่วยฝ่ายเสนาธิการจัดการเกี่ยวกับภาพการปฏิบัติการทั่วไปและการสรุป
พันธกิจของชุดจัดการความรู้ (ต่อ) • ปรับแผนจัดการความรู้ของหน่วยเพื่อพัฒนาและแก้ไข รปจ. หน่วย โดย • เสนอแนะการแก้ไขแผนจัดการความรู้ตามความจำเป็น • ประสานแผนจัดการความรู้ เข้ากับแผนจัดการข่าวสารที่ ฝสส. จัดทำ • พัฒนากระบวนการจัดการไฟล์และข้อมูลที่ได้รวมเอามาตรฐานใหม่ๆ ที่ได้ผลมากที่สุดเพื่อช่วยในการค้นหาและดึงขีดความสามารถต่างๆ • ประสาน ฝสส. สำหรับเครือข่ายทางเทคนิค ฐานข้อมูล และการสนับสนุนที่เกี่ยวข้องอื่นๆ • ดำเนินการทบทวนหลังการปฏิบัติโดยสมบูรณ์และบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
นายทหารจัดการความรู้ • อำนวยการปฏิบัติของชุดจัดการความรู้ • ดำเนินการให้ภายในหน่วยได้เข้าใจกระบวนการและขั้นตอนต่างๆ ในการจัดการความรู้ • แสดงความสำคัญกระบวนการและขั้นตอนการจัดการความรู้สามารถพัฒนา • ประสิทธิภาพ ความเข้าใจทั่วไปในระหว่างการฝึก และช่วยเพิ่มประสิทธิผลของการปฏิบัติในระหว่างการปฏิบัติการได้อย่างไร โดยเฉพาะในสภาพที่มีเวลาจำกัด • นายทหารจัดการความรู้รายงานตรงต่อ เสธ.
นายทหารจัดการความรู้ • ช่วยฝ่ายเสนาธิการวิเคราะห์ความรู้ภายในและภายนอกที่ขาดหายไป สร้างวิธีการต่างๆ เพื่อเชื่อมต่อช่องว่างนี้ • เสนอแนะการสร้างเครือข่ายความรู้ขององค์การและกำหนดตัววัดต่างๆ เพื่อประเมินประสิทธิผล • ทำแผนจัดการความรู้และปฏิบัติแผนนี้ผ่านฝ่ายเสนาธิการของหน่วย ทำให้มั่นใจว่าชุดจัดการความรู้ได้สนับสนุนแผนนี้อย่างเต็มที่ • ประเมินการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่องเมื่อใช้ความพร้อมของฝ่ายเสนาธิการ โครงสร้างพื้นฐานของหน่วย และสมรรถนะในการปฏิบัติของหน่วย • ให้คำปรึกษาแก่ผู้บังคับบัญชาและฝ่ายเสนาธิการเกี่ยวกับการบูรณาการกระบวนการและการปฏิบัติในการจัดการความรู้ทั่วทั้งองค์การ
นายทหารจัดการความรู้ (ต่อ) • เฝ้าติดตามแนวโน้มการจัดการความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่เพื่อรวมเข้ากับการปฏิบัติการต่างๆ ของหน่วย • เฝ้าติดตามเครือข่ายสังคมที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการที่ถ่ายทอดความรู้ (เช่น ใครเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ, ใครที่ติดต่อกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเหล่านี้, และอะไรที่เชื่อมโยงผู้ค้นหากับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ) • อำนวยต่อการบรรลุซึ่งการสร้างและการถ่ายทอดความรู้เพิ่มขึ้นระหว่างองค์การ หาข้อมูลย้อนกลับเพื่อประเมินความก้าวหน้าของการปฏิบัติต่างๆ ในการแบ่งปันความรู้ • แสดงให้ส่วนฝ่ายเสนาธิการรู้ถึงวิธีพัฒนาการแบ่งปันความรู้ในเรื่องที่ตนเชี่ยวชาญ
นายทหารจัดการความรู้ (ต่อ) • พัฒนานโยบายและกระบวนการจัดการความรู้ และทำให้แน่ใจว่าได้เผยแพร่และปฏิบัติตามทั่วทั้งหน่วย • พัฒนาวิธีและกระบวนการต่างๆ ที่มีประสิทธิผลในการจัดระเบียบ การใช้ และถ่ายทอดการสังเกต ความรู้ความเข้าใจ และบทเรียนที่เรียนรู้จากการทบทวนหลังการปฏิบัติ เข้ากับการปฏิบัติการ, รปจ. และการฝึกของหน่วย • กำกับดูแลการวางแผนและการปฏิบัติกิจกรรมจัดการความรู้ต่างๆ ทั่วทั้งหน่วยโดยสื่อสารกับนายทหารจัดการความรู้ของหน่วยอื่นๆ ทั้งทางดิ่งและทางระดับ • จัดตั้งและเป็นหัวหน้าคณะทำงานที่ประกอบด้วยผู้แทนจากฝ่ายเสนาธิการต่างๆ และนายทหารจัดการความรู้จากหน่วยรอง • วางแผนการสร้าง จัดการ และเฝ้าติดตามการมีส่วนร่วมเชิงรุกในเครือข่ายความรู้ภายในโครงสร้างการจัดของหน่วยเพื่ออำนวยต่อการปฏิบัติการที่มีความประสานสอดคล้อง
นายทหารจัดการความรู้ (ต่อ) • ประสานและกำกับดูแลการฝึกการจัดการความรู้ของหน่วยที่ใช้ทรัพยากรการฝึกระบบความรู้การบัญชาการรบ • กำกับดูแลการจัดการสาระของหน่วย • เป็นหัวหน้าในการออกแบบและสร้างโครงสร้างการจัดการความรู้ เข้าใจพันธกิจของระบบสารสนเทศของการจัดการความรู้และเครือข่ายทางเทคนิคอื่นๆ และวิธีที่จะใช้สิ่งเหล่านี้ให้ดีที่สุดเพื่อรวมเอาผลผลิตของการจัดการความรู้เข้ากับภาพการปฏิบัติการทั่วไป • ประสาน ฝสส. เพื่อทำให้แน่ใจว่าเครือข่ายทางเทคนิคของหน่วยจะสนับสนุนการสร้าง การจัดระเบียบ การใช้ และการถ่ายทอดความรู้ทั่วทั้งหน่วย • ช่วยหน่วยรองที่ไม่มีชุดจัดการความรู้ในการใช้การจัดการความรู้
ผู้ช่วยนายทหารจัดการความรู้ผู้ช่วยนายทหารจัดการความรู้ • ดำเนินการให้กำลังพลในชุดเข้าใจเทคโนโลยีและกระบวนการจัดการความรู้ • รับผิดชอบความเข้าใจในการจัดการความรู้ในการปฏิบัติการของกองทัพบกและเครือข่ายข่าวสารสากล และช่วยเหลือหน่วยในการใช้ขีดความสามารถของทรัพยากรเหล่านี้ • ช่วย ฝอ.๓/สธ.๓ และ ฝสส. จัดทำแผนผังกระบวนการและระบบสารสนเทศสร้างภาพการปฏิบัติการทั่วไป