450 likes | 670 Views
R2R. พัฒนางานประจำด้วยการวิจัย. ภูมิ ภักด์ พิทักษ์เขื่อนขันธ์. กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. R2R. Slogan : R2R. การพัฒนาประสิทธิภาพงานประจำด้วยการวิจัย. พัฒนางาน พัฒนาคน พัฒนาองค์กร. งานเห็นผล คนเป็นสุข. การพัฒนางานที่ทำอยู่เป็นประจำ สู่งานวิจัย.
E N D
R2R พัฒนางานประจำด้วยการวิจัย ภูมิภักด์ พิทักษ์เขื่อนขันธ์ กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
R2R Slogan : R2R การพัฒนาประสิทธิภาพงานประจำด้วยการวิจัย พัฒนางาน พัฒนาคน พัฒนาองค์กร งานเห็นผล คนเป็นสุข การพัฒนางานที่ทำอยู่เป็นประจำ สู่งานวิจัย สยบงานจำเจด้วยการวิจัย สู่โลกใหม่ของงานประจำ
3 ประเภทงานวิจัย (แบ่งตามเป้าหมาย) • การวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ • การวิจัยเพื่อพัฒนาองค์กร (วิจัยสถาบัน) หรือ การวิจัยองค์การ • การวิจัยเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพงาน หรือการวิจัยหน้างาน (R to R, R2R – Routine to Research)
ประเภทของงานวิจัยสถาบันประเภทของงานวิจัยสถาบัน • งานวิจัยสถาบัน • มีทั้งระดับคณะและระดับมหาวิทยาลัย • กำหนดหัวข้อ (โดยคณะ หรือ มหาวิทยาลัย) • เปิดให้เสนอข้อเสนอโครงการ (บางหัวข้ออาจต้องจ้างทำ และอาจต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญภายนอก) • งาน R to R • ผู้วิจัยร่วมกับหน่วยงานกำหนดหัวข้อเอง (เครือข่ายร่วมกันคิด) • ผู้วิจัยต้องเป็นคนในหน่วยงาน • ปีต่อไปต้องเปลี่ยนคนทำ ให้ในที่สุดทุกคนสามารถทำได้
เป็นการศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับการดำเนินงาน สภาพแวดล้อม และกระบวนการของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อประโยชน์ในการจัดหาข้อมูลสำหรับสนับสนุนการวางแผน การกำหนดนโยบาย และการตัดสินใจเรื่องต่างๆ โดยการใช้หลักการวิจัย (กระบวนการวิจัย) การวิจัยสถาบัน/องค์กร • (Institutional Research, Administrative Research, Operational Research)
เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการองค์กร และสนับสนุนการตัดสินใจ นำไปใช้ในการวางแผน และการพัฒนาหน่วยงาน & องค์กร การวิจัยสถาบัน/องค์กร • (Institutional Research, Administrative Research, Operational Research)
การพัฒนาประสิทธิภาพงานประจำด้วยการวิจัย (R2R) ความหมายของ R2R กระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการอย่าง เป็นระบบของผู้ปฏิบัติงานในการแก้ปัญหา หรือพัฒนางาน โดยมีผลลัพธ์เป็นการพัฒนาตนเองและหน่วยงาน
ความหมายของ R2R ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชกล่าวว่า R 2 R คือ การใช้งานวิจัยเป็นเครื่องมือ ในการทำให้เกิดการสร้างความรู้เพื่อนำมาพัฒนางาน ทำให้คนที่ทำงานประจำมีโอกาสคิด ทดลอง และตั้งโจทย์ให้มีความชัดเจนขึ้น แล้วนำมาทดลองเก็บข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล นั่นคือใช้งานวิจัยมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาขีดความสามารถของคนทำงาน ผลิตผลงานเชิงวิจัยออกมาได้ แล้วป้อนกลับไป หรือนำไปใช้ พัฒนางานประจำให้ดีขึ้น”
ความหมายของ R2R R2Rทำให้ความจำเจของงานประจำหายไป กลายเป็นความท้าทาย ความสนุกที่ได้คิดค้นวิธีการสร้างความรู้เล็กๆ ที่เป็นความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมาทำประโยชน์ เกิดความภาคภูมิใจในงานที่ตัวเองทำ หรือจะเรียกว่า เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน (Human Resource Development: HRD) ก็ได้และที่สำคัญคืองานวิจัยประเภทนี้ ทำกันเป็นทีม Team Learning เกิดความสามัคคีได้
สรุปR2R เป็นการวิจัยงานประจำหรือหน้างานนำไปใช้ปรับปรุงหรือพัฒนางานประจํา& ทำต่อเนื่องจนเกิดเป็น R2R2R (Routine to Research to Routine) การพัฒนาประสิทธิภาพงานประจำด้วยการวิจัย(R2R) Routine to Research, R to R, R2R
ความเป็นมาของ R2R • นิยาม R2R โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช • เพื่อส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ สร้างความรู้ขึ้นมาพัฒนางานของตัวเอง • เปลี่ยนสถานะจากเดิมเป็นผู้เสพความรู้ เป็นผู้สร้างความรู้
ทำไมต้อง R 2 R ? • R 2 R จะเป็นการเปลี่ยนงานประจำเป็นบรรยากาศการเรียนรู้ทำให้คนรู้มากขึ้น • R 2 R เป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยใน การแสดงความไม่รู้ของคนได้ • R 2 R เป็นการพัฒนา เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเป็นผู้ผลิต เป็นผู้สร้างความรู้ แทนที่จะเป็นผู้เสพความรู้ และเป็นความรู้ที่ตกผลึกสู่การปฏิบัติงาน
ทำไมต้อง R 2 R ? Routineเป็นอุปสรรคต่องานทั้งปวง • แบ่งงานกันทำเป็นส่วนๆ • เบื่อ: งานถูกลดคุณค่า • เป็นงานที่คนอื่นสั่งให้ทำ • ทำลายความคิดสร้างสรรค์
หลักการและแนวคิด R 2 R (งานเห็นผล คนเป็นสุข) • งานประจำ • ซ้ำซาก จำเจ • ยุ่งยาก ซับซ้อน • น่าเบื่อ ฯลฯ ปรับปรุง / พัฒนา งาน / สิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อตน เพื่อนร่วมงาน และ องค์กร คิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ + เทคโนโลยี / นวัตกรรม (แปลกใหม่) • ทบทวน/แลกเปลี่ยนเรียนรู้ • กำหนดโจทย์ • วิธีแก้ไข / พัฒนา • ทดลอง / ประเมิน • ปรับปรุง • ใช้งาน / ปรับปรุง • ประเมิน
เป้าหมายของ R2R • บุคลากรสายสนับสนุนมีความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในการพัฒนางานประจำไปสู่งานวิจัยเพิ่มขึ้นและกระจายอยู่ทุกหน่วยงาน • มีจำนวนผลงาน/นวัตกรรมที่เกิดจาก R2R เพื่อการแก้ปัญหาหรือการปรับปรุงการทำงานขององค์กรเพิ่มขึ้น • มีเครือข่ายบุคลากรด้าน R2R ทั้งในระดับคณะ/ หน่วยงาน และระดับมหาวิทยาลัย
ลักษณะของ R2R • เริ่มจากปัญหา/คำถามวิจัยที่ได้จากหน้างานหรืองานประจำ • มีเป้าหมายชัดเจนว่า จะแก้ไขปัญหา พัฒนา หรือขยายผล • พิสูจน์หาคำตอบด้วยวิธีการที่น่าเชื่อถือ เพื่อใช้ข้อมูลในการตัดสินใจพัฒนาคน พัฒนางาน
ลักษณะของ R2R • ช่วยพัฒนาข้อมูล ฐานข้อมูลให้เกิดประโยชน์ • ยืดหยุ่นในรูปแบบการวิจัย (ไม่มีรูปแบบตายตัว) • เปิดพื้นที่สำหรับแนวคิดใหม่ๆ ในการทำงาน • สร้างเสริมศักยภาพคนทำงาน
ลักษณะของ R2R • สามารถประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบริบทของงานได้ • เป็นเครื่องมือที่ช่วยคนทำงานในการสร้างความรู้ และสามารถนำกลับมาช่วยงานประจำได้ • ถ้าผลงานได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ก็จะเป็นผลลัพธ์ที่เพิ่มคุณค่า
องค์ประกอบของ R 2 R • โจทย์วิจัย ต้องมาจากงานประจำ เป็นการแก้ปัญหาหรือพัฒนางานประจำ • ผู้ทำวิจัย ต้องเป็นผู้ทำงานประจำนั้นเอง • ผลลัพธ์ของการวิจัยต้องวัดผลที่เกิดต่อตัวผู้ปฏิบัติ ผู้รับผลงานหรือองค์กร • การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ผลการวิจัยต้องวนกลับไปสร้างคุณค่าให้กับงานได้
ผลลัพธ์ของ R2R • คุณภาพงานเพิ่มขึ้น เช่น การดูแลสวน / อาคารสถานที่ มีผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น • คนทำงานประจำเก่งขึ้น (คิดเก่ง+สื่อสารให้คนอื่นฟังดีขึ้น) มีความสุขภาคภูมิใจ และก้าวหน้า • องค์กรบรรลุเป้าหมาย • รายงานผลการวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่
ตัวอย่าง R 2 R • การพัฒนาระบบการเบิกจ่ายและการตรวจสอบบัญชี • คงเหลือพัสดุ ภาควิชาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น • การพัฒนาระบบเครื่องแม่ข่ายที่ใช้จัดการเครื่องคอมพิวเตอร์ • ในห้องปฏิบัติการ ภาควิชาคณิตศาสตร์ • มหาวิทยาลัยขอนแก่น • พัฒนากระบวนการรวมศูนย์การจัดหาพัสดุ "โครงการรวม • ซื้อ-กระจายส่ง“ • การพัฒนาระบบการบันทึกปริมาณน้ำเข้าและและน้ำออก • จากร่างกาย
ตัวอย่าง R 2 R • ประดิษฐ์ชุดให้อาหารทางสายยางที่บ้าน • การประดิษฐ์เครื่องขัดไข่ไก่สด • อุปกรณ์ป้องกันโคเตะ • การประดิษฐ์ล้อยางรถจักยานยนต์แบบยางกึ่งลม • อุปกรณ์ลากจูงรถยนต์แบบพกพา • การประดิษฐ์ถังหมักปุ๋ยชีวภาพกึ่งอัตโนมัติ • การประดิษฐ์เปลสนามเคลื่อนที่สำหรับสัตว์ป่วย
ปัจจัยความสำเร็จของ R2R 1. ผู้บริหาร มีวิสัยทัศน์ เป้าหมายและมียุทธศาสตร์ ที่มองเห็นสิ่งที่เป็นความสำเร็จของหน่วยงานหรือองค์กรได้อย่างชัดเจน และสามารถสื่อสารให้คนใน องค์กรรับรู้ได้ทั่วถึง
ปัจจัยความสำเร็จของ R2R 2. หัวหน้างาน ควรช่วยตั้งแต่การตั้งโจทย์ ให้ชัดเจน และแนะนำวิธีการทดลอง เก็บข้อมูลเป็นต้น หากทำไม่ได้ควรมีพี่เลี้ยงหรือทีมพี่เลี้ยง 3. ผู้ทำ R 2 R ควรทำเป็นทีม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และการจัดการความรู้ (KM) ไปในตัว
การวิเคราะห์ ข้อเสนอโครงการ การวิเคราะห์ และพัฒนาข้อเสนอโครงการ R 2 R การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยสถาบัน &R2R สำนักบริหารการวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตุลาคม 2555
การวิเคราะห์โครงการ ใช้หลักการวิเคราะห์จากผลไปสู่เหตุโดยการตั้งคำถาม เพื่อการหาคำตอบ และนำไปเขียน หรือจัดทำเป็นรายละเอียดของโครงการ ดังนี้
การวิเคราะห์โครงการ • ลักษณะงานของหน่วยงานหรืองานที่รับผิดชอบอยู่ เป็นอยู่ • อย่างไร? มีกระบวนการหรือขั้นตอนในการดำเนินงานหรือ • ให้บริการอย่างไรและกับใคร? และผลการดำเนินงานที่ผ่าน • มาเป็นอย่างไรบ้าง? • มีปัญหาหรือข้อจำกัดใดบ้าง? และอย่างไร? เคยแก้ปัญหา • หรือปรับปรุงหรือไม่ และผลเป็นอย่างไร? • หากไม่ใช่ปัญหาหรือข้อจำกัด มีโอกาสหรือแนวโน้มที่จะทำ • ให้ดีกว่าเดิมอย่างไร?
การวิเคราะห์โครงการ • กรณีที่เป็นปัญหา หากไม่แก้ไข/ปรับปรุง จะส่งผลเสียอย่างไร? • และต่อใคร? กรณีที่ไม่ใช่ปัญหา หากทำแล้วจะส่งผลที่ดีขึ้น • อย่างไร ? • ปัญหา/ศักยภาพที่กล่าวมา มีใครเคยศึกษาและเสนอวิธีการ • ปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาให้ดีกว่าเดิมอย่างไรบ้าง? (การ • ทบทวนผลการศึกษา หรือ การประดิษฐ์คิดค้นของผู้อื่น)
การวิเคราะห์โครงการ • จะมีแนวทางหรือแนวคิดในการแก้ปัญหา/ปรับปรุง/พัฒนา/ปัญหาหรือ • การใช้ศักยภาพเพื่อพัฒนางานของหน่วยงานหรือของตนอย่างไร จึง • จะทำให้แก้ปัญหา/ปรับปรุง/พัฒนาในปัญหาดังกล่าวได้ หรือมีแนวทาง • หรือแนวคิดที่สอดคล้องหรือแตกต่าง หรือต่อยอดจากผลงานของผู้อื่น • อย่างไร? • ดังนั้น โจทย์ที่ต้องการแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนาในปัญหา หรือโอกาสนั้น • เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางหรือแนวคิดที่กำหนดคืออะไร? (โจทย์ที่ • จะนำไปกำหนดวัตถุประสงค์ โดยอาจตั้งเป็นคำถาม เพื่อให้ง่ายต่อการ • นำไปกำหนดวัตถุประสงค์ และปรับเป็นชื่อเรื่อง) • ทำแล้วจะได้อะไรและเกิดผลดีกว่าที่เป็นอยู่อย่างไร?
การวิเคราะห์โครงการ วัตถุประสงค์ของการวิจัย จะต้องทำอะไรบ้าง จึงจะแก้ไขปัญหา/ปรับปรุง/พัฒนาตามโจทย์ที่กำหนดได้ ? (2 – 3 ข้อ) เช่น ศึกษา... ออกแบบ... สร้าง... ทดลอง... ประเมิน... เป็นต้น ผลที่จะได้รับ อธิบายเป็นข้อๆว่าการทำวิจัยครั้งนี้ทำแล้วจะได้อะไรบ้างและอย่างไร?(อิงจากวัตถุประสงค์)
การวิเคราะห์โครงการ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ผลจากการวิจัยครั้งนี้จะสามารถนำไปแก้ไขปัญหา ปรับปรุงหรือพัฒนางานของหน่วยงานหรือของตนอย่างไร และใครคือผู้ได้รับประโยชน์
การวิเคราะห์โครงการ กรอบแนวคิดหรือทฤษฎี - ถ้ามี - แสดงกรอบแนวคิด หรือทฤษฎีของการวิจัยให้เห็นความเชื่อมโยงกับปัญหาและโจทย์วิจัย (อธิบายในรูปของแผนภูมิ หรือค้นคว้าทฤษฎีมาอ้างอิงก็ได้)
การวิเคราะห์โครงการ ขอบเขตการวิจัย การวิจัยครั้งนี้จะดำเนินการโดยมีขอบเขตด้านสาระเนื้อหา ขอบเขตด้านกลุ่มเป้าหมายของการวิจัยหรืออื่นๆ รวมทั้งข้อจำกัด (ถ้ามี) อย่างไร ระยะเวลาและสถานที่ทำวิจัย ระบุเดือนปีที่เริ่มต้น-สิ้นสุด และสถานที่ที่ทำวิจัย
การวิเคราะห์โครงการ วิธีการดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้จะใช้วิธีการอย่างไร (ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์) แหล่งข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง และการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง วิธีการเก็บข้อมูล และเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล (ถ้ามี) วิธีการดำเนินการวิจัย ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
การวิเคราะห์โครงการ แผนการดำเนินงาน แสดงกิจกรรม (ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์) ช่วงเวลา และผู้รับผิดชอบในรูปของตาราง แผนปฏิบัติการ ในแต่ละกิจกรรมจะมีขั้นตอนหรือมีวิธีการอย่างไร กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มตัวอย่าง จำนวนที่ทำ ตัวชี้วัด ระยะเวลา สถานที่ ค่าใช้จ่ายและผู้รับผิดชอบ โดยควรจัดทำในรูปตาราง
ตัวอย่างตารางแผนปฏิบัติการตัวอย่างตารางแผนปฏิบัติการ
การวิเคราะห์โครงการ • • ค่าใช้จ่าย • นำค่าใช้จ่ายจากวิธีการและแผนงานมารวมเป็นหมวดรายจ่าย ดังนี้ • ค่าตอบแทน (ค่าทำการนอกเวลา) = • ค่าใช้สอย (เช่น จ้างเหมา, ถ่ายเอกสาร เป็นต้น) = • ค่าวัสดุ (อะไรบ้าง) = • 4. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ (ระบุ) = • รวม =
ฝากไว้ จากท่าน ว.วชิรเมธี "คนสำราญ งานสัมฤทธิ์" ไม่ใช่ "งานสัมฤทธิ์ แต่ชีวิตไม่สำราญ" "การทำงานประสานกับคุณภาพชีวิต คือผลสัมฤทธิ์ของทางสายกลาง"
Thank you! Contact Address: Prof. Somchai Doe Tel: Email: www.kku.ac.th