190 likes | 471 Views
สื่อประกอบการเรียนการสอน วิชา BCOM1701 หลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น Introduction to Basic Programming. ผู้สอน : อาจารย์เล็กฤทัย ขันทองชัย สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ E-mail: lekruthai_CRU@hotMail.com WEBSITE : http://msci.chandra.ac.th/lrk. บทที่ 1 บทนำ. จุดประสงค์การเรียนรู้
E N D
สื่อประกอบการเรียนการสอนวิชา BCOM1701 หลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นIntroduction to Basic Programming ผู้สอน : อาจารย์เล็กฤทัย ขันทองชัย สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ E-mail: lekruthai_CRU@hotMail.com WEBSITE : http://msci.chandra.ac.th/lrk
บทที่ 1 บทนำ จุดประสงค์การเรียนรู้ • เพื่อให้มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรมภาษา โดยเข้าใจหลักของภาษา รูปแบบของโปรแกรมภาษา ตัวแปลภาษา ขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรม และ ประเภทคอมพิวเตอร์องค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์
บทที่ 1 บทนำ • เนื้อหาบทเรียน • ภาษาคอมพิวเตอร์ • ตัวแปลงภาษา • ขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรม • ประเภทของโปรแกรม • องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ • ประเภทของคอมพิวเตอร์
บทที่ 1 บทนำ • ความรู้เบื้องต้นในการเขียนโปรแกรม • ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer language) ภาษา (Language) เป็นเครื่องมือที่มนุษย์ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ต่างจากภาษาคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้ติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องอาศัยสัญญาณไฟฟ้าในการทำงาน
บทที่ 1 บทนำ • ภาษาคอมพิวเตอร์ออกมาเป็น 3 ระดับ คือ • ระดับภาษาเครื่อง (Machine code) • ระดับภาษาแอสเซมบลี (Assembly language) • ภาษาระดับสูง (High-level Languages) รูปที่ 1.1.2 การแปลงจากภาษาแอสเซมบลีไปเป็นภาษาเครื่อง
บทที่ 1 บทนำ • ภาษาระดับสูง (High-level Languages) • ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการพัฒนาโปรแกรม โดยรูปแบบของคำสั่งจะใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษอย่างง่าย สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ สัญลักษณ์ทางตรรกศาสตร์ สัญลักษณ์ในการเปรียบเทียบ และอื่น ๆ ในการสั่งการและดำเนินการต่าง ๆตามรูปแบบโครงสร้างการใช้งานของตัวภาษา รูปที่ 1.1.3 ลำดับการแปลงคำสั่ง
บทที่ 1 บทนำ ตัวอย่างภาษาระดับสูง:
บทที่ 1 บทนำ ตัวแปลงภาษา (Translator) ตัวแปลงภาษา มีหน้าที่แปลงภาษาระดับสูงของคอมพิวเตอร์ให้กลายไปเป็นภาษาเครื่องที่สามารถทำงานในระดับชุดคำสั่งของซีพียูได้ ตัวแปลงภาษาแบ่งได้ 2 ประเภทตามลักษณะการใช้งาน - คอมไพเลอร์ (Compiler) - อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter)
บทที่ 1 บทนำ คอมไพเลอร์ (Compiler) คอมไพเลอร์ คือ ตัวแปลงภาษามีหน้าที่แปลงจากโปรแกรมภาษาไปเป็นภาษาเครื่องโดยทันทีซึ่งบางภาษาอาจจะไม่ได้มีการตรวจสอบความถูกต้องของคำสั่งหรือผลลัพธ์ของการสั่งการแปลงภาษา นักพัฒนาโปรแกรมจะต้องแน่ใจว่าโปรแกรมที่ได้เขียนนั้นมีความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนจะทำการแปลงไปเป็นภาษาเครื่องและถูกนำไปใช้งานจริงในที่สุด เช่น ภาษา C, C++,FORTRAN, COBOL C, Ada , Objective-C, Objective-C++ เป็นต้น
บทที่ 1 บทนำ อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) อินเตอร์พรีเตอร์ คือ ตัวแปลงภาษาที่มีหลักการทำงานเช่นเดียวกับคอมไพเลอร์ แต่จะมีการแปลงและดำเนินการคำสั่งไปทีละคำสั่ง เพื่อใช้ในการตรวจสอบข้อผิดพลาดของตัวโปรแกรมก่อนที่จะถูกแปลงไปเป็นภาษาเครื่องด้วยคอมไพเลอร์ หลายภาษาอาจจะมีตัวแปลงภาษาทั้ง 2 แบบเพื่อใช้ในการพัฒนาโปรแกรม เช่น ภาษา BASIC , Perl, PHP เป็นต้น
บทที่ 1 บทนำ ขั้นตอนการแปลงภาษา
บทที่ 1 บทนำ • ขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรม • การศึกษาขอบเขตปัญหา (Study Problem) • การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting) • การวิเคราะห์ปัญหา (Analysis Problem) • การออกแบบโปรแกรม (Software Design) • การพัฒนาโปรแกรม (Software Development) • การติดตั้งและทดสอบโปรแกรม (Setting and Testing) • การบำรุงรักษาโปรแกรม (Software Maintenance)
บทที่ 1 บทนำ • ประเภทของซอฟต์แวร์โปรแกรม • โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System: OS) • โปรแกรมสำเร็จรูป (Package Application) • โปรแกรมประยุกต์ (Special Application) • โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility) • โปรแกรมไดร์เวอร์ (Driver) • โปรแกรมภาษา (Language)
บทที่ 1 บทนำ • องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ • ซอฟแวร์ (Software) • ฮาร์ดแวร์ (Hardware) • บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (People ware) รูปที่ 1.4 แสดงลำดับการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
บทที่ 1 บทนำ • ประเภทของคอมพิวเตอร์ การจำแนกประเภทของคอมพิวเตอร์ อาจจำแนกได้ตามลักษณะการใช้งาน ซึ่งสามารถจำแนกได้ 2 ประเภท คือ • คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server Computer) เป็นคอมพิวเตอร์สำหรับให้บริการเครื่องลูกข่ายต่างๆ เช่น Web Server, Database Server เป็นต้น • คอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Clientcomputer) เป็นคอมพิวเตอร์สำหรับใช้บริการเครื่องแม่ข่าย บางครั้งก็เรียกว่าเครื่องแบบ Work Station เนื่องจากเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานทั่วไป
บทที่ 1 บทนำ จำแนกออกตามขนาดและความเร็วในการทำงานของคอมพิวเตอร์ จำแนกได้ ดังนี้ • ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) • เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) • มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) • ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer / PC: Personal Computer) • คอมพิวเตอร์พกพา (Handle Computer / Pocket PC)
กิจกรรมที่ 1 1) ภาษาแรกตามมาตรฐาน ISO ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติให้กับโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลกอยู่ตำแหน่งใดของภาพ2) ภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษาเครื่องมากที่สุดอยู่บริเวณตำแหน่งใดของภาพ
แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน 1. จงอธิบายว่าภาษาคอมพิวเตอร์มีกี่ระดับอะไรบ้างและภาษาแต่ละระดับมีความสัมพันธ์กันอย่างไร 2. จงอธิบายถึงขั้นตอนการทำงานรวมถึงองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์มาให้เข้าใจ 3. จงอธิบายขั้นตอนการแปลงภาษามาให้เข้าใจ 4. จงอธิบายขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมมาให้เข้าใจ 5. เราสามารถแบ่งแยกประเภทคอมพิวเตอร์ออกมาได้อย่างไรบ้างจงอธิบาย 6. ใครเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่า เป็น โปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก และ เพราะเหตุใด? 7. จงยกตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาษาระดับสูง คนละ 10 ภาษา พร้อมทั้งบอกข้อดี และข้อจำกัด ของแต่ละภาษามาให้เข้าใจ