1.85k likes | 4.79k Views
การประเมินผลการปฏิบัติงาน. ปัจจุบันนิยมการประเมินผลแบบ 360 องศา Performance appraisal ( PA ) คือระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคคลหรือทีม - Performance management เป็นกระบวนการขององค์การซึ่งใช้ในการวัดผลการดำเนินงานของบุคคล ทีม และองค์การ.
E N D
การประเมินผลการปฏิบัติงานการประเมินผลการปฏิบัติงาน • ปัจจุบันนิยมการประเมินผลแบบ 360 องศา • Performance appraisal(PA) คือระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคคลหรือทีม • - Performance managementเป็นกระบวนการขององค์การซึ่งใช้ในการวัดผลการดำเนินงานของบุคคล ทีม และองค์การ
ผลกระทบจากสภาพแวดล้อมภายนอก เช่นนโยบายรัฐบาล, กฎหมายแรงงาน, อิทธิพลของสหภาพแรงงาน
วัตถุประสงค์ในการประเมินผลวัตถุประสงค์ในการประเมินผล ผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของกิจการต้องการทราบว่า 1.ผลประกอบการเป็นอย่างไร โดยพิจารณาจากการเงินซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิบัติงานของพนักงาน 2. ระบบการบริหารงานภายในมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงไร 3. ลูกค้ามีความพึงพอใจในสินค้าและบริการมากน้อยเพียงใด
ผู้ประเมิน ต้องการทราบว่า 1. การบริหารงานภายในเป็นไปตามเป้าหมายขององค์การหรือไม่ 2. พนักงานมีผลการปฏิบัติงานเป็นอย่างไร มีความพึงพอใจในงานมากน้อยเพียงใด 3. ค่าตอบแทนเหมาะสมกับผลการปฏิบัติงานหรือไม่
ผู้ถูกประเมิน ต้องการทราบว่า 1. ผลการปฏิบัติงานเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ 2. มีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพมากน้อยเพียงไร 3. ผลตอบแทนที่ได้รับเหมาะสมกับงานที่ได้รับผิดชอบหรือเปล่า
กระตุ้นให้พนักงานพัฒนาตนเองกระตุ้นให้พนักงานพัฒนาตนเอง ช่วยชี้ปัญหาการปฏิบัติงานเพื่อปรับปรุง เป็นเครื่องมือในการเปรียบเทียบทักษะ ทัศนคติ ความรู้ • เลื่อนชั้น/ ตำแหน่ง- ปรับเงินเดือน- พัฒนาอบรม เป็นเครื่องมือด้านแรงงานสัมพันธ์ให้โอกาสแสดงความรู้สึกเกี่ยวกับงาน / เรื่องที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุง เป็นการสร้างสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้า และลูกน้อง เพื่อส่งเสริมมาตรฐานการทำงานให้สูงขึ้น วัตถุประสงค์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน
Balanced Scorecardเป็นเครื่องมือในการควบคุมและติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานในระดับต่างๆ ขององค์การ การประเมินผล การปฏิบัติ มีความสัมพันธ์กับBalanced Scorecard เพราะ BSC เป็นจุดกำเนิดของเป้าหมายขององค์การ และกระจายสู่หน่วยงานจนถึงพนักงาน
ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน มีองค์ประกอบหลัก 2 ตัว คือ ตัวชี้วัดผลงานหลัก Key Performance Indicator - KPI ต้องตอบคำถามได้ว่าเป้าหมายของงานคืออะไร (What) ตัวชี้วัดความสามารถ (Competencies) โดยใช้แบบประเมิน 360 องศา ตอบให้ได้ว่าถึงเป้าหมายได้อย่างไร (How) วัดยากกว่า KPI
ประโยชน์ของผลการปฏิบัติงานประโยชน์ของผลการปฏิบัติงาน นำไปประกอบการพิจารณาผลตอบแทน นำไปใช้ในการพัฒนาฝึกอบรม นำไปประกอบการพิจารณาเลื่อนระดับและตำแหน่ง
การประเมินผลการปฏิบัติงานสมัยใหม่ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1. ระยะการวางแผน (Planning) เป็นช่วงกำหนดตัวชี้วัด เป้าหมาย และความสามารถของแต่ละบุคคลสำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยผู้บังคับบัญชาต้องให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายและวางแผนในการปฏิบัติงาน
2. ระยะการติดตามผล (Tracking and Coaching) เป็นช่วงของการติดตามตรวจสอบว่าผลการปฏิบัติงานที่วางแผนไว้เป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่ เพื่อที่จะสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ทันท่วงที ซึ่งการติดตามผลช่วยให้ผู้ประเมินและผู้ถูกประเมินมีโอกาสปรึกษาหารือร่วมกัน
3. ระยะการสรุปผล (Reviewing) ระยะนี้ นอกจากจะสรุปผลการปฏิบัติงานของแต่ละคนว่าอยู่ในระดับผลงานใดแล้ว ยังเป็นการทบทวนกระบวนการในการปฏิบัติงานโดยรวมในปีที่ผ่านมาอีกด้วยว่าจุดใดเป็นจุดแข็งที่ทำให้ประสบความสำเร็จ จุดใดที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน
และยังเป็นช่วงของการกำหนดแผนพัฒนาพนักงานแต่ละคนว่าในปีต่อไป เขาจะต้องได้รับการพัฒนาและต้องพัฒนาตัวเองในเรื่องอะไรบ้าง โดยการจัดทำเป็นแผนพัฒนาส่วนบุคคล (Individual Development Plan)
ขั้นตอนการประเมินผลการปฏิบัติงานขั้นตอนการประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้การประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งในระดับองค์การ ระดับหน่วยงาน และระดับบุคคลมีความสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงควรจะดำเนินการในการประเมินผลการปฏิบัติงานดังนี้
1. กำหนดเป้าหมายระดับองค์การ ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้กำหนด 2. กระจายเป้าหมายระดับองค์การสู่ระดับหน่วยงาน 3. กระจายเป้าหมายระดับหน่วยงานสู่ผู้ปฏิบัติงาน 4. จัดทำ Balanced Sheet ระดับหน่วยงานเพื่อใช้ในการควบคุมติดตามผลงาน
5. จัดทำใบประเมินผลการปฏิบัติงานระดับบุคคลและกำหนดระดับผลงานในแต่ละเกรด 6. ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นระยะๆ 7. ประเมินผลเพื่อสรุปผลงานประจำปี การประเมินผลการปฏิบัติงานจะต้อง ประเมินจากระดับบนสู่ระดับล่าง (Top Down)
การจัดทำตัวชี้วัดผลงาน (KPIs : Key Performance indicators) KPI (Key Performance indicator) หมายถึง ตัวที่บ่งบอกถึงผลงานหลักที่มีความสำคัญ (Important) ที่จะส่งผลกระทบต่อความสำเร็จต่อผลงานที่ต้องการ (Outcome) ของตำแหน่งงานนั้นๆ
ขั้นตอนการกำหนด KPIs ของตำแหน่งงาน การกำหนดตัวชี้วัดผลงานของแต่ละตำแหน่ง ต้องพิจารณาจากความคาดหวังขององค์การว่าจัดตั้งตำแหน่งงานนั้นๆ ขึ้นมาทำไม องค์การต้องการอะไรจากงานในตำแหน่งนั้น การกำหนดตัวชี้วัดหลักของตำแหน่งงานมีขั้นตอนในการจัดทำดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ระบุงาน/กิจกรรมของตำแหน่งงาน ใช้ Job Description ได้ถ้าละเอียดพอ ขั้นตอนที่ 2 กำหนดผลงานที่ต้องการจากแต่ละงาน/กิจกรรม ขั้นตอนที่ 3 จัดกลุ่มของผลงานออกเป็น 3-7 กลุ่ม
ขั้นตอนที่ 4 กำหนดชื่อ KPI แต่ละตัว ขั้นตอนที่ 5 กำหนดตัวชี้วัดย่อยของ KPI แต่ละตัว หลักเกณฑ์กำหนดตัวชี้วัดเป็นดังนี้ • Specific • Measurable • Realistic • Timeliness • Tracking
Competenciesแบ่งได้เป็น ดังนี้ 1. Personal Competencies เป็น Competencies ที่เฉพาะตัวของบุคคล หรือกลุ่มบุคคล 2. Job Competencies เป็น Competencies ที่เป็นความสามารถเฉพาะของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งหรือบทบาทนั้นๆ ต้องการ ทั้งนี้เพื่อทำให้งานบรรลุความสำเร็จตามที่ต้องการ
3. Organization Competencies เป็น Competencies ที่เป็นลักษณะเฉพาะขององค์การที่มีส่วนทำให้องค์การไปสู่ความสำเร็จได้
Competencies มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานของพนักงานและองค์การดังนี้ 1. ช่วยสนับสนุนให้ตัวชี้วัดหลักของผลงาน (KPIs) บรรลุเป้าหมาย 2. ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงระดับความสามารถของตัวเองว่าอยู่ระดับใด
3. ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาฝึกอบรมแก่พนักงานในองค์การ 4. ป้องกันไม่ให้ผลงานเกิดจากโชคชะตาเพียงอย่างเดียว 5. ช่วยให้เกิดการหล่อหลอมไปสู่ Organization Competencies
เทคนิคการจัดทำ Competencies ขององค์การ ทำได้ดังนี้ เป็นการจัดทำ Competencies โดยการวิจัยพฤติกรรมของผู้ที่ประสบความสำเร็จ เพื่อค้นหาพฤติกรรมที่ทำให้เขาเหล่านั้นประสบความสำเร็จ 1. การวิจัย (Research-Based Approach)
2. กำหนดจากกลยุทธ์องค์การ (Strategy-Based Approach) เป็นการจัดทำ Competencies บนพื้นฐานของกลยุทธ์ในอนาคต โดยคำนึงถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นว่าจะเป็นอย่างไร และคาดว่าในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น Competencies ตัวใดมีความสำคัญและจำเป็น
3. กำหนดจากคุณค่าขององค์การ (Value-Based Approach) เป็นการจัดทำ Competencies โดยผู้บริหารเป็นผู้กำหนดคุณค่าขององค์การ
การประเมินผลการปฏิบัติงานแบบ 360 องศา การประเมิน 360 องศา คือ การประเมินความสามารถ (Competencies) ของผู้ปฏิบัติงานโดยอาศัยมุมมองของบุคคลรอบข้างที่เกี่ยวข้อง ทั้ง ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา และตัวเอง
ปัจจัยที่ใช้ในการประเมินระบบ 360 องศา ปัจจัยที่บ่งบอกความสามารถหลักของธุรกิจ (Core Competencies) ปัจจัยที่ใช้ประเมินความสามารถของผู้นำ (Leadership Competencies Indicators)
พฤติกรรมที่แสดงถึงคุณค่าสูงสุดของ ผลงาน (Superior Performance) ซึ่งเป็นคนละอย่างกับพฤติกรรมที่บ่งบอกปัจจัยนั้นๆ • ปัจจัยที่เรียกว่า ความสามารถ (Competencies) เช่น การมุ่งลูกค้า การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำ เทคนิควิชาชีพ ความยืดหยุ่น และนวัตกรรม
การนำการประเมินผลแบบ 360 องศา มาประยุกต์ใช้ในองค์กร ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่ต้องระมัดระวังเพราะ ผู้บริหาร HR ผู้บริหารธุรกิจ นักประยุกต์ใช้ต่างคิดว่าเมื่อประเมินผลงาน 360 องศาแล้ว ปัญหาต่างๆ จะหมดไปจากที่มีอยู่เดิมของ การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal)
ปัจจัยในแบบประเมินผลแบบ 360 องศาต้องเป็นปัจจัยด้านความสามารถของผู้บริหารที่อยู่ภายใต้กรอบความสามารถหลักของธุรกิจคือ • 1. การตั้งเป้าหมายของผลงาน • 2.การสร้างงานที่มีความหมายและโครงสร้างของกลุ่มทำงาน • 3. การสร้างทีมที่ร่วมทำงาน
4. การพัฒนาเครือข่ายและพันธมิตร 5. การบรรลุถึงเป้าหมายผลงานของหน่วยงาน ซึ่งปัจจัยทั้งหมดเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมของธุรกิจและการมุ่งสนใจ สนับสนุนด้าน คุณภาพ ได้แก่ ความพึงพอใจของลูกค้า การจัดการคน เทคโนโลยี และความรู้พื้นฐานในทักษะธุรกิจ
การประเมินผลแบบ 360 องศา แบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 1. แบบมุ่งเน้นผลการปฏิบัติงาน (Competencies-Based Performance) เป็นการประเมินผลของบุคคลที่ไม่มีผู้ใต้บังคับบัญชา โดยมีการประเมินจากผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และการประเมินตนเอง
2. แบบมุ่งเน้นภาวะผู้นำ (Competencies-Based Leadership) เป็นการประเมินระดับหัวหน้างาน จะถูกประเมินโดยผู้บังคับบัญชาที่เหนือขึ้นไป เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชาและ ตนเอง วัตถุประสงค์เพื่อทราบว่ามีภาวะความเป็นผู้นำมากน้อยเพียงใด เพื่อใช้ในการพัฒนาภาวะผู้นำ เพื่อการปรับระดับ เลื่อนตำแหน่ง
3. แบบมุ่งเน้นผู้นำทีมงาน (Competencies-Based Team Leader) เป็นการประเมินความสามารถของผู้นำทีมงาน ซึ่งเป็นลักษณะงานแบบโครงการ (Project) คณะกรรมการ (Committee) ต่างๆ ซึ่งไม่ใช่หัวหน้างานของสมาชิกในทีมงานโดยตรง
วัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินว่าผู้นำทีมมีความสามารถหรือพฤติกรรมในด้านการนำทีมไปสู่จุดหมายได้ดีเพียงใด ในมุมมองของผู้บริหารระดับสูง สมาชิก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และตัวผู้นำทีมเอง เพื่อใช้ในการพัฒนาภาวะผู้นำ และการแต่งตั้งหัวหน้าโครงการอื่นๆ
4. แบบมุ่งเน้นความสัมพันธ์ของทีมงาน (Competencies-Based Team Relationships) เป็นการประเมินว่าทีมนั้นสามารถสร้างความสัมพันธ์กันจนส่งผลสำเร็จในเป้าหมายได้มากน้อยเพียงใด วัตถุประสงค์เพื่อทราบความแข็งแกร่งของทีมงานว่าเหมาะสมกับลักษณะงานหรือโครงการนั้นๆ เพียงใด วัตถุประสงค์เพื่อทราบจุดอ่อนและจุดแข็งของทีม
ประโยชน์ของการประเมินผลแบบ 360 องศา มีดังนี้ 1. แบ่งเบาภาระในการบันทึกพฤติกรรมของผู้ประเมินและถูกประเมิน 2. ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงจุดเด่น และจุดด้อยที่ต้องปรับปรุง 3. ทำให้ผู้ประเมินและถูกประเมินมีมุมมองที่ตรงกัน
4. ทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนา 5. ช่วยลดความขัดแย้งระหว่างบุคคล 6. กระตุ้นให้พนักงานเกิดการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา 7. ทำให้เห็นภาพของพฤติกรรมที่แท้จริงได้ชัดเจนขึ้น
วิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานมีหลายวิธีด้วยกันคือวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานมีหลายวิธีด้วยกันคือ 1.วิธีการให้คะแนนตามมาตราส่วน (Graphic Rating Scales) คือการกำหนดรายการคุณลักษณะที่เกี่ยว ข้องกับตำแหน่งงานที่จะประเมินเช่น -ความร่วมมือ -ความคิดริเริ่ม -ความไว้วางใจได้
- ปริมาณงาน - คุณภาพงาน ช่วงคะแนนแบ่งเป็น 5 ช่วง โดยเริ่มตั้งแต่ดีที่สุด-แย่ที่สุด
ตัวอย่างแบบประเมินแบบ Graphic Rating Scales
2. การประเมินตามค่าคะแนน (Point Rating Scales)
ตัวอย่างแบบประเมินแบบ Point Rating Scales
3. การประเมินผลที่เน้นผลการปฏิบัติงาน แบ่งได้ 4 ประเภทคือ 1) Self-Appraisal การประเมินตนเอง เป็นแบบประเมินที่มุ่งให้พนักงานพัฒนาตนเอง และลดการต่อต้านในการประเมินผล
2) Management by objective การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายที่กำหนดเป็นเกณฑ์ คือ การให้พนักงานและหัวหน้าร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์ของผลงานและวัดผลตามที่ตกลงร่วมกันไว้
3)Psychological Appraisal/Competency Appraisal การประเมินผลเชิงจิตวิทยา
มักใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีความสามารถในการจ้างนักจิตวิทยาเข้ามาวัดประเมินศักยภาพในอนาคตของพนักงาน 4) Assessment Centers ศูนย์ประเมิน ใช้การประเมินหลายรูปแบบและมีผู้ประเมินหลายคน