1 / 18

มิติที่ 1 ของอำนาจ : Dahl

อำนาจและการเสริมสร้างอำนาจ Power and Empowerment รศ.ดร.เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ. มิติที่ 1 ของอำนาจ : Dahl. A มีอำนาจเหนือ B ตราบเท่าที่ A สามารถทำให้ B ทำในสิ่งที่ A ต้องการได้

lavey
Download Presentation

มิติที่ 1 ของอำนาจ : Dahl

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อำนาจและการเสริมสร้างอำนาจPower and Empowermentรศ.ดร.เอก ตั้งทรัพย์วัฒนาภาควิชาการปกครองคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

  2. มิติที่ 1 ของอำนาจ: Dahl • A มีอำนาจเหนือ B ตราบเท่าที่ A สามารถทำให้ B ทำในสิ่งที่ A ต้องการได้ • เกี่ยวกับการที่ A ประสบความสำเร็จในการพยายามให้ B ทำในสิ่งที่ A ต้องการ = มีการใช้อำนาจที่เกิดขึ้นจริง (exercise of actual power) ที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งแตกต่างจากการครอบครองอำนาจ (possession of power]

  3. ดังนั้น การที่ A มีอำนาจเหนือ B หมายถึง การที่พฤติกรรมหรือการกระทำของ A จะเป็นแบบสม่ำเสมอและคาดเดาได้ว่า จะทำให้ B ทำตามแม้ B จะไม่ต้องการทำก็ตาม • มีพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงสังเกตเห็นได้

  4. การศึกษาการใช้อำนาจในทางการเมืองการศึกษาการใช้อำนาจในทางการเมือง • เพื่อที่จะศึกษาถึงการกระทำที่เป็นรูปธรรมของการที่ใครทำอะไรและมีผลต่อผู้ใดนั้น เราจะต้องไปดูที่สถานการณ์ของการตัดสินใจที่จะยอมรับหรือไม่ยอมรับ (จากการใช้อำนาจ) • การที่เราดูว่าบุคคลใดที่สามารถควบคุมการตัดสินใจในเรื่องต่างๆได้นั้น เป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะบอกว่าคนๆใดหรือกลุ่มๆใดเป็นผู้ที่มีอำนาจเหนือผู้อื่น • ในทางการเมือง เราสามารถไปดูที่การตัดสินใจในนโยบายสาธารณะของรัฐบาล • ดังนั้นมิติที่ 1 ของอำนาจนั้นจำกัดตัวมันเองอยู่ที่ การตัดสินใจที่เกิดขึ้นจริง

  5. ประเด็นที่ขัดแย้งจะเป็นการทดสอบที่ดีของขีดความสามารถในการใช้อำนาจเพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ตนเองต้องการประเด็นที่ขัดแย้งจะเป็นการทดสอบที่ดีของขีดความสามารถในการใช้อำนาจเพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ตนเองต้องการ • ดังนั้น “การตัดสินใจ” จะเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้น “โดยตรง” อย่าง “ชัดแจ้ง” และ “สังเกตเห็นได้” โดยมี “ประเด็นสำคัญๆ” ที่เป็นกรณีพิพาทที่ไปเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้น • ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นท่ามกลางความต้องการ (preferences) ที่แตกต่างของแต่ละคน ดังนั้นแต่ละคนจะตระหนักในความต้องการของตนเอง

  6. มิติที่ 2 ของอำนาจ: Bachrach and Baratz • การไม่ตัดสินใจในฐานะที่เป็นการตัดสินใจแบบหนึ่ง (non-decision making as decision-making) = การกลบความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้น โดยป้องกันและกีดกันไม่ให้ประเด็นต่างๆ เข้ามาสู่วาระของการตัดสินใจ • ถ้าบุคคลใดหรือกลุ่มใด สามารถกีดกันไม่ให้การตัดสินใจในความขัดแย้งทางนโยบายเข้ามาเป็นวาระของการตัดสินใจได้ คนหรือกลุ่มนั้นๆจะถือว่ามีอำนาจ

  7. การไม่ตัดสินใจ (non-decision) คือ “การตัดสินใจในรูปแบบหนึ่งที่ทำให้เกิดการกีดกันไม่ให้เกิดการท้าทาย ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อผลประโยชน์ของผู้ที่ทำการตัดสินใจ” • ดังนั้นการไม่ตัดสินใจคือ วิธีการที่จะทำให้ความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงหยุดก่อนที่มันจะเกิด ซึ่งก็คือการกันประเด็นแห่งความขัดแย้งไม่ให้เข้ามาเกี่ยวข้องกับเวทีการตัดสินใจ • การที่ A ป้องกันความขัดแย้งโดยกันไม่ให้ความต้องการของ B กลายมาเป็นประเด็นทางการเมืองที่ต้องมีการตัดสินใจ เท่ากับ A ประสบความสำเร็จในการทำให้ตนเองไม่ถูกท้าทายหรือสูญเสียผลประโยชน์ของตน

  8. มิติแรกจะเน้นที่ความขัดแย้งแบบชัดแจ้ง แต่ในมิติที่สองนี้จะครอบคลุมไปถึงความขัดแย้งที่ซ่อนเร้นด้วย เท่ากับว่ามิติที่สอง • ซ่อนเร้นเพราะอะไร? • แม้ความขัดแย้งจะซ่อนเร้น แต่ก็สามารถสังเกตเห็นได้ (observable) เพราะแม้ว่าจะไม่มีความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจริงเพราะความขัดแย้งได้ถูกกีดกันไปก่อนจากการไม่ตัดสินใจ แต่การไม่ตัดสินใจที่ทำให้เกิดผลในการกีดกันความขัดแย้งไม่ให้เกิดขึ้นมานั้นก็เป็น “เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง”

  9. ความไม่เปลี่ยนแปลงก็สามารถถูกสัเกตเห็นได้ว่ามันไม่เปลี่ยนแปลงความไม่เปลี่ยนแปลงก็สามารถถูกสัเกตเห็นได้ว่ามันไม่เปลี่ยนแปลง • เหมือนกับมิติแรก เพราะเชื่อว่าผลประโยชน์จะถูกเรียกร้อง โดยผู้เรียกร้องมีความตระหนักในสิ่งที่ตนเองต้องการ

  10. มิติที่ 3 ของอำนาจ: Lukes • การสร้างอุดมการณ์หรือความคิดความเชื่อเพื่อครอบงำ • A อาจมีอำนาจเหนือ B โดยทำให้ B ทำในสิ่งที่ตัวเองไม่อยากทำ (มิติที่ 1) หรือกีดกันเรื่องต่าง ๆ ออกไปจากการตัดสินใจ (มิติที่ 2) แต่ที่เหนือไปกว่านั้นคือ A สามารถที่จะมีอิทธิพล หล่อหลอม และกำหนด ความคิดความต้องการของ B • การใช้อำนาจในขั้นสูงสุดคือ การทำให้คนอื่นๆมีความต้องการตรงกับสิ่งที่เราต้องการ ซึ่งก็คือการควบคุมความคิดและความต้องการของคนนั่นเอง

  11. การป้องกันไม่ให้ผู้อื่นขัดแย้งกันตนโดยการหล่อการรับรู้และความต้องการของผู้อื่น เพื่อให้ยอมรับในสิ่งที่เราต้องการนั้น อาจทำได้โดย • ทำให้รู้สึกว่าไม่มีทางเลือกอื่น • ทำให้รู้สึกว่ามันเป็นเรื่องปกติตามธรรมชาติและเปลี่ยนแปลงไม่ได้ • ทำให้รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและมีประโยชน์

  12. ในมิติที่ 3 ต้องศึกษาความขัดแย้งไปถึงความขัดแย้งที่ซ่อนเร้นและแฝงฝังอยู่ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเป็นเหตุการณ์ที่สังเกตเห็นได้ • ทำไมถึงแฝงฝังอยู่และสังเกตเห็นไม่ได้? • มิติที่3 พิจารณาว่าผลประโยชน์ยังมีในรูปแบบของผลประโยชน์ที่แท้จริง ซึ่งแม้แต่ตัวผู้ได้รับผลประโยชน์เองอาจจะไม่แสดงออก เรียกร้อง หรือตระหนักในผลประโยชน์ที่แท้จริงนั้นๆ(ต่างกับ 2 มิติแรกที่เราจะตระหนักในผลประโยชน์ของตนเอง)

  13. และเปลี่ยนความคิดเห็นประสบการณ์ที่ได้สัมผัสกับการใช้อำนาจตามมิติที่ 1 2 และ 3

  14. มิติที่ 4ของอำนาจ:Foucault • อำนาจ การต่อต้าอำนาจ และการเสริมสร้างอำนาจ (Power, Resistance, and Empowerment) • 2 ด้านของเหรียญเดียวกันระหว่างอำนาจและการต่อต้านอำนาจ  การเสริมสร้างอำนาจ • วาทกรรม (Discourse) = การสื่อสารภายใต้ภาษา/การรับรู้ที่ถูกสร้างขึ้น • การผสมผสานระหว่างการสร้างความรู้ (Knowledge) และความจริง (Truth) ให้คนรับรู้ + เครือข่ายสถาบันทางในการใช้อำนาจของรัฐ อำนาจ/ความรู้ (Power/knowledge)

  15. มิติที่ 4ของอำนาจ:Foucault • การสถาปนาวาทกรรมลงในตัวบุคคลที่ทำให้บุคคลเป็นตัวตน (Subject) ที่ทุกกระทำ (โดยตัวเอง) = การสร้างวาทกรรมเพื่อให้คนที่อยู่ใต้วาทกรรมทำการกำกับตัวเอง = เราเป็นตัวตนที่ถูกกระทำโดยตัวเราเอง (จากวาทกรรมที่ถูกสร้างขึ้นมา) • อำนาจ = การผสานระหว่างวาทกรรม ความรู้ ความจริง และตัวอำนาจเอง • แต่อำนาจเกิดขึ้นได้จากขั้วที่แตกต่างเพราะอำนาจเกิดขึ้นมาพร้อมกับการต่อต้านอำนาจ

  16. ในขณะที่มีอำนาจเกิดขึ้นจะมีการกดทับผู้ที่/สิ่งที่มีอำนาจน้อยกว่าไปด้วยในตัว เช่น สิ่งที่ถูกคิดว่าดีจะกดทับสิ่งที่ถูกคิดว่าเลว • ในวาทกรรมหลักครอบงำจะมีวาทกรรมรองซึ่งถูกกดทับอยู่ และจำทำให้เกิดการการต่อต้านขึ้นมา เพราะฉะนั้นอำนาจและการต่อต้านก็คือ 2 ด้านของเหรียญเดียวกัน เพราะอำนาจ/วาทกรรมถูกสร้างขึ้นมาจากการต่อต้าน • การต่อต้านอำนาจ (จากวาทกรรมรอง) ที่มีต่ออำนาจ (วาทกรรมหลัก) ในลักษณะ 2 ด้านของเหรียญ ทำ

  17. การต่อต้านอำนาจ (จากวาทกรรมรอง) ที่มีต่ออำนาจ (วาทกรรมหลัก) ภายใต้ 2 ด้านของเหรียญเดียวกัน ทำให้อำนาจมีลักษณะที่ลื่นไหลและเปลี่ยนแปลงจากการต่อต้านอำนาจอยู่ตลอดเวลา • การสะสมการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้อำนาจกับผู้ถูกใช้อำนาจที่มีอยู่ตลอดเวลา จะทำให้อำนาจของผู้มีอำนาจสั่นคลอนลง Empowerment (ที่มาจากการต่อต้าน)

  18. ตัวอย่างของ Micro-politics + อาวุธของผู้ที่อ่อนแอกว่า • ปัญหาระหว่าง Empowerment กับ Mob rule แลกเปลี่ยนความคิดเห็นประสบการณ์จากการการต่อต้านอำนาจ

More Related