360 likes | 585 Views
นโยบายอุตสาหกรรมภายใต้ทักษิโณมิกส์. พีระ เจริญพร คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 20 ก.ย. 2554. Outline. บทนำ การทบทวนกรอบแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในการกำหนดนโยบายอุตสาหกรรม โครงสร้างของภาคอุตสาหกรรมไทย รวมทั้งปัญหาและแนวทางแก้ไขที่ผ่านมา
E N D
นโยบายอุตสาหกรรมภายใต้ทักษิโณมิกส์นโยบายอุตสาหกรรมภายใต้ทักษิโณมิกส์ พีระ เจริญพรคณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์20 ก.ย. 2554
Outline • บทนำ • การทบทวนกรอบแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในการกำหนดนโยบายอุตสาหกรรม • โครงสร้างของภาคอุตสาหกรรมไทย รวมทั้งปัญหาและแนวทางแก้ไขที่ผ่านมา • การทบทวนนโยบายอุตสาหกรรมในช่วงรัฐบาลทักษิณ (พ.ศ. 2544-2549) รวมทั้งความล้มเหลวบางประการในสมัยรัฐบาลทักษิณ • นโยบายอุตสาหกรรมหลังยุครัฐบาลทักษิณ • ความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมไทยในอนาคตและข้อเสนอแนะทางนโยบาย
พัฒนาการของอุตสาหกรรมไทยในช่วง 50 ปี • ภาคอุตสาหกรรมของไทยมีการพัฒนาอุตสาหกรรมจากระบบทุนนิยมโดยรัฐเป็นระบบเศรษฐกิจเสรี พัฒนาจากการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า (Import Substitution) สู่การพัฒนาอุตสาหกรรมโดยส่งเสริมการส่งออก(Export Promotion) ในช่วงปี พ.ศ.2503-12 การพัฒนาอุตสาหกรรมเน้นกลยุทธ์การผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า ต่อมาตั้งแต่แผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2515-19) จึงเน้นนโยบายส่งเสริมการส่งออก • การลงทุนจากต่างประเทศ ตั้งแต่ปี 2530 เพิ่มการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น • มีการพัฒนาอุตสาหกรรมตามชายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard) มีการกระจายอุตสาหกรรมสู่ภูมิภาค มีการกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมาย มีการส่งเสริมอุตสาหกรรมสนับสนุน การส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs มีการส่งเสริม cluster อุตสาหกรรม
พัฒนาการของอุตสาหกรรมไทยในช่วง 50 ปี • นโยบายอุตสาหกรรมของไทยมุ่งเน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายหลัก • ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างการผลิตและยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศเพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าอย่างจริงจัง • นโยบายอุตสาหกรรมของไทย โดยเฉพาะนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่ผ่านมาไม่มียุทธศาสตร์เชิงรุกและรับที่ชัดเจน • นโยบายอุตสาหกรรมแบบไทยๆ มักไม่เจาะจงอุตสาหกรรม • วิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 ทำให้ประเทศไทยหันมาดำเนินนโยบายการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ให้มีผลิตภาพและความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น และปรับตัวกลายเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออก (Export-orientedIndustry)
Electrical Machinery Computer-Parts, Accessories Seafood Telecom Equipment Apparel Tourism What’s Next??? Agri… Manuf…… Service GDP Mil Baht Clothing Electrical machinery Seafood Other Machinery Rice & Rubber 2010 1960 1970 1980 1990 2000 Rice Fruit & Vegetable Non-ferrous Metal Crude rubber Electrical machinery Rice Crude Rubber Fruit & Vegetable Non-ferrous Metal Textile Fiber Rice Crude Rubber Ores & Metal Scrap Textile Fiber Fruit & Vegetable Key Policies/Drivers: Import Substitution, Export-led growth, FDI Innovation + Knowledge พัฒนาการของอุตสาหกรรมไทยในช่วง 50 ปี ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ทักษิโณมิกส์ (Thaksinomics) • รัฐบาลทักษิณ (พ.ศ. 2544-2549) ได้ดำเนินยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศภายใต้ทักษิโณมิกส์ (Thaksinomics) ที่มีสาระสำคัญ คือ นโยบายประชานิยม (People-centered Policy Menu) และ ยุทธศาสตร์การพัฒนาทวิวิถี (Dual-Track Development Strategy) ซึ่งแบ่งออกได้ 2 วิถี ได้แก่ ยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบเปิด (Outward Orientation) และการพัฒนาในระดับรากหญ้า (Grass-Root Development) • ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมรัฐบาลทักษิณมุ่งเน้นเรื่องของการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมมีนโยบายยกระดับอุตสาหกรรม เช่น การพัฒนาและสนับสนุน SMEs การเพิ่มขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีและคุณภาพแรงงาน การกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายและการพัฒนาในรูปแบบคลัสเตอร์ รวมทั้งการปฏิรูประบบราชการ • ในยุคทักษิณแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมมีความชัดเจนมากกว่าในอดีต แต่การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากๆข้อจำกัดของภาคราชการไทยและการขาดแรงผลักดันทางด้านการเมือง (Laurids, 2004) • Question: รัฐบาลใหม่นี้จะสานต่อนโยบายอุตสาหกรรมของอดีตนายกทักษิณอย่างไร และจะสามารถก้าวข้ามอุปสรรคในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยได้อย่างไร ?
2. แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในการกำหนดนโยบายอุตสาหกรรม • เศรษฐศาสตร์การพัฒนา • การทำให้เป็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (industrialization) และการพัฒนาอุตสาหกรรม (industrial development) • นโยบายอุตสาหกรรม (industrial policy) หมายถึง แนวทางดำเนินการในด้านต่าง ๆ เพื่อทำให้ภาคอุตสาหกรรมหรืออุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งภายในประเทศ มีความเจริญเติบโต (growth) และพัฒนา (development) • ความล้มเหลวของตลาด (market failure) vs. ความล้มเหลวของรัฐ (government failure) • “ฉันทมติแห่งวอชิงตัน” (Washington Consensus) และการกลับมาของนโยบายอุตสาหกรรม
2. แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในการกำหนดนโยบายอุตสาหกรรม 1. นักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิค • การแทรกแซงของรัฐควรเกิดในกรณีที่กลไกตลาดล้มเหลว การใช้งบของรัฐต้องใช้กรณีเป็นสินค้าสาธารณะ (public goods) หรือเสริมการทำงานของตลาดกรณีเกิดความล้มเหลวของตลาดไม่ใช้ในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ส่วนตัวของเอกชน บทบาทของรัฐบาลควรเป็นตัวกระตุ้นและผู้สร้างความท้าทาย (catalyst and challenger) 2. สำนักนิยมปรับโครงสร้าง (structuralist) • มีความเชื่อว่า การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นกระบวนการเปลี่ยนโฉมโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยมีภาคอุตสาหกรรมเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ ไม่เชื่อถือบทบาทของกลไกตลาดหรือกลไกราคาในการจัดสรรทรัพยากร แต่เชื่อว่าการปรับโครงสร้างการผลิตและแก้ไขปัญหาการจัดสรรทรัพยากรในประเทศกำลังพัฒนา จำเป็นต้องอาศัยการแทรกแซงของรัฐบาลโดยการปรับโครงสร้างการค้ามีแนวโน้มที่จะลดความสำคัญของสินค้าส่งออกขั้นปฐมและหันมาส่งเสริมบทบาทของภาคอุตสาหกรรม สำนักนิยมปรับโครงสร้างจึงเสนอแนวทางที่ปกป้องคุ้มครองอุตสาหกรรม และการดำเนินกลยุทธ์การพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการนำเข้า (import substitution industrialization) เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศก่อนไปสู่ขั้นการพัฒนาต่อไป
2. แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในการกำหนดนโยบายอุตสาหกรรม • “สำนักนิยมปรับโครงสร้างใหม่” (New Structural Economics) • โดยแนวคิดนี้จะเชื่อในบทบาทของรัฐในการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่ประยุกต์ใช้วิธีการทางเศรษฐกิจนีโอคลาสสิคเพื่อให้เข้าใจโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนา กล่าวคือ เชื่อว่า โครงสร้างอุตสาหกรรมเป็นปัจจัยภายใน (endogenous) ของโครงสร้างปัจจัยพื้นฐาน (endownment) การพัฒนาปัจจัยพื้นฐานจะทำให้เกิดการยกระดับโครงสร้างอุตสาหกรรม และการพัฒนาตามความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการปรับปัจจัย endownmentและเพื่อรักษาการยกระดับอุตสาหกรรมการเจริญเติบโตของรายได้และลดปัญหาความยากจน (ดู Lin and Monga, 2010) • ประเทศไทยดำเนินยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมแบบเป็นมิตรกับตลาด (market-friendly approach) ที่ได้รับการส่งเสริมจากธนาคารโลกและความคิดแบบเศรษฐศาสตร์กระแสหลักหรือเศรษฐศาสตร์นีโอคลาสิกของขุนนางนักวิชาการ (technocrats) ที่มีบทบาทในการกำหนดนโยบาย ทำให้นโยบายอุตสาหกรรมจำกัดอยู่แค่การแทรกแซงหรือส่งเสริมของรัฐในระดับกว้าง ๆ (function intervention)
2. แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ในการกำหนดนโยบายอุตสาหกรรม • ประเทศไทยไม่ให้ความสำคัญกับ “นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” และแทบจะไม่มีนโยบายที่เน้นการสนับสนุนสาขาอุตสาหกรรมที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย อย่างเฉพาะเจาะจง (selective policies) และไม่มีการกฏเกณฑ์ในการเชื่อมโยงการอุดหนุนของรัฐกับการพัฒนาความสามารถทางเทคโนโลยีของบริษัทที่ได้รับการสนับสนุน • ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงในทางโครงสร้างของเศรษฐกิจจากภาคเกษตรไปสู่อุตสาหกรรมและด้วยการเปิดเสรีการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ ทำให้มีการกระจายในผลิตภัณฑ์ใหม่ๆในภาคอุตสาหกรรม (Sectoral Diversification) แต่การกระจายสาขาอุตสาหกรรมอาจเป็นการเปลี่ยนเป็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่ไร้เทคโนโลยี (Technology less Industrialization) • การยกระดับความสามารถด้านเทคโนโลยีเป็นกระบวนการระยะยาว ที่ต้องผ่านการเรียนรู้ แบบลองผิดลองถูกด้วยการทำเอง (learning by doing) ซึ่งต้องใช้ความพยายามมากมีต้นทุนสูง เพราะต้องใช้เวลาสั่งสมความรู้ • การพัฒนาอุตสาหกรรมจึงไม่ใช่เพียงแค่มุ่งเน้นการทำราคาให้ถูกต้อง (Getting the price right) เพียงด้านเดียว หากควบคู่ไปกับการออกแบบสถาบันที่ถูกต้อง (Getting the Institution Right) และทำการแทรกแซงให้ถูกต้อง (Getting the Intervention Right)
3. โครงสร้างของภาคอุตสาหกรรมไทย • ผลิตภัณฑ์ภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนสูงทั้งทางด้านการผลิตและการส่งออก อัตราการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมมีผลต่อการเจริญเติบโตต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม • การส่งออกของสินค้าอุตสาหกรรมในประเทศยังต้องพึ่งพาสินค้าเข้าจากต่างประเทศทั้งเครื่องจักรและวัตถุดิบ • ประเภทของสินค้าอุตสาหกรรมในประเทศไทยมีการกระจายตัวค่อนข้างดี • สัดส่วนการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมเมื่อเทียบกับจำนวนการจ้างงานรวมของประเทศอยู่ในระดับต่ำ โดยเมื่อพิจารณาในส่วนของแรงงานทั้งหมดนั้น • การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีอิทธิพลต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของไทยมาก
โครงสร้างของภาคอุตสาหกรรมไทยโครงสร้างของภาคอุตสาหกรรมไทย
โครงสร้างของภาคอุตสาหกรรมไทยโครงสร้างของภาคอุตสาหกรรมไทย
ปัญหาและความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมไทยปัญหาและความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมไทย • ภาคอุตสาหกรรมไทยมีเทคโนโลยีการผลิตที่ล้าสมัย มีต้นทุนการผลิตสูง แรงงานไร้ทักษะ ผู้ผลิตขาดการพัฒนาตราสินค้าของตนเอง ผู้ประกอบการขาดความรู้ ความสามารถในการจัดการ การตลาดและข้อมูลการตลาด ขาดการส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุนขนาดกลางและขนาดย่อม ผลิตภาพและประสิทธิภาพการผลิตต่ำและขาดการพัฒนาวัตถุดิบและความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรม • ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาที่เรียกว่า “กับดักรายได้ปานกลาง”(middle – income trap) บริษัทส่วนใหญ่เติบโตมาโดยไม่มีการเพิ่มพูนความสามารถทางเทคโนโลยี การเรียนรู้เทคโนโลยีของบริษัทยังเป็นไปอย่างเชื่องช้า • การยกระดับอุตสาหกรรมไม่ประสบความสำเร็จส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ภาคแรงงานนอกระบบมีขนาดใหญ่ (informal sector) • ช่องว่างทางนโยบายอุตสาหกรรมไทย: นโยบายอุตสาหกรรมกับการลดความเลื่อมล้ำในสังคม การสร้างสมรรถนะในการแข่งขันกับการผนวกเข้ากับเครือข่ายการผลิตระดับโลก การพัฒนาอุตสาหกรรมไทยภายใต้กรอบความร่วมมือในระหว่างประเทศ และการพัฒนาอุตสาหกรรมกับความยั่งยืนทางทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
ปัญหาและความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมไทยปัญหาและความท้าทายของภาคอุตสาหกรรมไทย • อุตสาหกรรมไทยจะอ่อนไหวกับการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลกเนื่องจากพึ่งพาตลาดส่งออกมากขึ้น และการที่อุตสาหกรรมในปัจจุบันมีความเป็นนานาชาติ มีการแบ่งขั้นตอนการผลิตและแหล่งผลิต เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการผลิต วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ที่สั้นลง การบริการก่อนและหลังการขายมีความสำคัญมากขึ้น สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนมีความสำคัญมากขึ้น • การพัฒนาเทคโนโลยีของไทยมีการใช้จ่ายในการค้นคว้าวิจัยอยู่ในระดับที่ต่ำ ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยของรัฐบาลซึ่งไม่สามารถนำมาใช้ได้จริงในภาคการผลิต พึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศเป็นหลักมีปัญหาขาดแคลนบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • ภายใต้ WTO และข้อตกลงการค้าเสรี การใช้นโยบายอุตสาหกรรม การปกป้องอุตสาหกรรม การให้เงินอุดหนุนทำได้ยากขึ้น • มีความพยายามแก้ไขปัญหาของภาคอุตสาหกรรมไทย แผนแม่บทอุตสาหกรรมฉบับที่ 1 (พ.ศ.2540-2544)ต่อมาหลังวิกฤตปี 2540 มีการดำเนินการ แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมระยะที่ 1 (พ.ศ. 2542-2543) และระยะที่ 2 (พ.ศ. 2544-2545)
4. นโยบายอุตสาหกรรมในยุคทักษิณ (17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549= รวม 5 ปี, 214 วัน) • ทักษิโณมิกส์ (Thaksinomics) เน้นนโยบายเศรษฐกิจสองแนว (dual track policies) คือ ในด้านหนึ่งเป็นการมองออกข้างนอก (Outward Orientation) มุ่งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ เช่น เพิ่มการส่งออก การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และการท่องเที่ยว ในขณะเดียวกัน ก็ใช้ Inward-Looking Strategy ให้ความสำคัญแก่ Domestic-Led Growth มุ่งเสริมสร้างความสามารถของเศรษฐกิจในประเทศโดยเฉพาะในระดับรากหญ้า (Grass-Root Development) • ทักษิโณมิกส์ ไม่ปฏิเสธฉันทมติแห่งวอชิงตัน (Washington Consensus) และ แนวคิดเสรีนิยมใหม่ (Neoliberalism) เพราะรัฐบาลทักษิณได้ดำเนินนโยบายเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ (Liberalization) การถ่ายโอนการผลิตไปสู่ภาคเอกชน (Privatization) การลดการกำกับ/ควบคุม (Deregulation) แต่การดำเนินนโยบายทางด้านการคลังกลับมีความสุ่มเสี่ยงในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Stabilization • ทักษิโณมิกส์ไม่มีอะไรใหม่ในด้านปรัชญาเศรษฐศาสตร์ ระเบียบวิธีการวิเคราะห์ และแนวความคิดพื้นฐาน แต่จุดเด่นของทักษิโณมิกส์อยู่ที่การผสมผสานแนวคิดดั้งเดิมเพื่อนำเสนอเมนูนโยบาย และนำกรอบความคิดไปดำเนินนโยบายระบบตาข่ายความปลอดภัยทางสังคม (Social Safety Net) ในประเทศไทย • ดูเพิ่มเติมจาก อาจารย์รังสรรค์ ธนพรพันธ์ (2547)
4. นโยบายอุตสาหกรรมในยุคทักษิณ • รัฐบาลทักษิณยกเรื่องของการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันเป็นวาระแห่งชาติ โดยมุ่งหวังที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ประเทศ "เศรษฐกิจฐานความรู้” (knowledge-based economy) • มีการตั้ง “คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ” ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานขึ้น และมีการทำงานใกล้ชิดกับภาคเอกชนมากขึ้น มุ่งเน้นของการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม สนับสนุนผู้ประกอบSMEs การเพิ่มขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีและคุณภาพแรงงาน การกำหนด“อุตสาหกรรมเป้าหมาย” ต้องการให้เศรษฐกิจไทยใช้จุดแข็งของตัวเอง ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้กลยุทธทางการตลาดและเทคโนโลยีสารสนเทศในการขยายตัว • กำหนดยุทธศาสตร์ให้เกิดการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดึงดูดและกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรม ผลักดันให้เกิดแผนกลยุทธ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2547-2556) ใช้แนวคิดระบบนวัตกรรมแห่งชาติและคลัสเตอร์เป็นแนวคิดหลักในการจัดทำแผน (ได้แก่ อาหาร รถยนต์ ซอฟแวร์ แฟชั่น ท่องเที่ยว) • รัฐบาลทักษิณผลักดันการปฏิรูประบบราชการ
4. นโยบายอุตสาหกรรมในยุคทักษิณ • รัฐบาลทักษิณให้ความสำคัญกับการสร้างความสามารถในการแข่งขันในระดับจุลภาค (ระดับบริษัท องค์กร) และระดับมัชฌิมภาค (ระดับรายอุตสาหกรรมหรือรายคลัสเตอร์) การเปลี่ยนนโยบายในสมัยรัฐบาลทักษิณที่เน้นนโยบายในระดับมัชฌิมาภาคและจุลภาคมากขี้น ได้ผลักดันการกำหนดนโยบายอุตสาหกรรมที่เน้นการสนับสนุนอุตสาหกรรมที่เป็นกลุ่มเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจง (selective policies) • รัฐบาลทักษิณพยายามสร้างความตื่นตัวให้ภาคเอกชนมีความตระหนักในความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม องค์กรเอกชนเริ่มเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นเพียงแค่กลุ่มผลประโยชน์มาทำหน้าที่ในการส่งเสริมให้สมาชิกพัฒนาความสามารถในการแข่งขันและร่วมมือในลักษณะคลัสเตอร์อุตสาหกรรม • ผลักดันให้องค์กรวิจัยและมหาวิทยาลัยให้ปรับตัวเองให้ตอบสนองความต้องการของภาคเอกชน ทำให้ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยของรัฐมีกิจกรรมร่วมกับภาคเอกชนมากขึ้น
ความแตกต่างนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมความแตกต่างนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรม
ความล้มเหลวในการพัฒนาอุตสาหรรมในสมัยทักษิณความล้มเหลวในการพัฒนาอุตสาหรรมในสมัยทักษิณ • (1) ความล้มเหลวในการลดการพึ่งพิงต่างประเทศ: รัฐบาลทักษิณยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเรื่องการลดการพึ่งพาการส่งออกและสร้างมูลค่าเพิ่มภายในประเทศ (หรือ re-balancing growth) • (2) ความล้มเหลวในการผลักดันระบบนวัตกรรมแห่งชาติที่เข็มแข็ง: การขาดความต่อเนื่องในการผลักดันจากรัฐบาลนำไปสู่ความล่าช้าและไม่สอดคล้องกันในการกำหนดและการดำเนินการปฏิรูปการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การเชื่อมโยงระหว่างบริษัททั้งกับหน่วยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องยังคงเป็นจุดที่อ่อนแอในระบบนวัตกรรมของประเทศไทย การปรับโครงสร้างและการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐานที่ได้รับความสนใจน้อยและดำเนินการได้ช้า
ความล้มเหลวในการพัฒนาอุตสาหรรมในสมัยทักษิณความล้มเหลวในการพัฒนาอุตสาหรรมในสมัยทักษิณ • (3) ความล้มเหลวในการยกระดับเทคโนโลยีระดับสาขาอุตสาหกรรม:การศึกษาของ World Bank ในปี พ.ศ. 2548 พบว่า ความคืบหน้าในการปรับโครงสร้างองค์กรช้ามากเนื่องจากปัญหาขาดแคลนเงินสนับสนุนจากรัฐบาล โครงสร้างการบริหารและการดำเนินงานของหน่วยราชการที่ล่าช้า รัฐบาลทักษิณไม่ประสบความสำเร็จในการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา (R&D) ต่อ GDP ตามเป้าหมายที่วางไว้ งบประมาณที่มีให้กับสถาบันเฉพาะทางอุตสาหกรรมมีจำกัด • (4) ความล้มเหลวในการยกระดับผลิตภาพแรงงาน: การปฏิรูปการศึกษาที่มีความสำคัญกับการยกระดับอุตสาหกรรม ได้แก่ อาชีวศึกษา การพัฒนาทักษะ และการศึกษาระดับอุดมศึกษา ยังไม่ประสบความสำเร็จ อาจเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการบ่อย แรงต้านทานการเปลี่ยนแปลงจากสถาบันการศึกษา (มหาวิทยาลัยไม่ยอมออกนอกระบบ) การขาดการประสานงานระหว่างกระทรวง
ความล้มเหลวในการพัฒนาอุตสาหรรมในสมัยทักษิณความล้มเหลวในการพัฒนาอุตสาหรรมในสมัยทักษิณ • (5) ความล้มเหลวในการยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท้องถิ่น: รัฐบาลทักษิณนั้นเน้นที่การช่วยเหลือ SMEs มาก โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดเล็กในต่างจังหวัด (micro-enterprises) แต่ในแง่ของการสร้างขีดความสามารถด้านอื่นๆและการสร้างคลัสเตอร์ การสนับสนุน supplier ของกิจการข้ามชาติที่มีความเชื่อมโยงกับ Global Production Network ยังไม่มีความชัดเจนในการดำเนินงาน
สาเหตุที่เป็นไปได้สำหรับความล้มเหลวในการพัฒนาอุตสาหกรรมของรัฐบาลทักษิณสาเหตุที่เป็นไปได้สำหรับความล้มเหลวในการพัฒนาอุตสาหกรรมของรัฐบาลทักษิณ • รัฐบาลทักษิณสามารถรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ตัวนายกฯได้สำเร็จ (รัฐธรรมนูญ 2540 และจากการสนับสนุนจากประชาชน) สามารถนำเอาอำนาจรวมศูนย์นั้นไปสั่งการขับเคลื่อนนโยบายให้มีทิศมีทางและสอดคล้องตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น แต่นั้นก็ยังไม่เพียงพอต่อการ แต่การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจาก • ข้อจำกัดของภาคราชการไทยและการขาดแรงผลักดันทางด้านการเมือง เพราะเศรษฐกิจขยายตัวได้ดีขึ้นการส่งออกเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งความนิยมจากประชาชนที่เพิ่มขึ้นทำให้แรงกดดันทางการเมืองต่อรัฐบาลทักษิณในการยกระดับอุตสาหกรรมลดลง • ระบบราชการไทยที่ ขาดทิศทางหลัก (overarching policy) ในการดำเนินนโยบายอุตสาหกรรมและ การเมืองแบบเปิดและรัฐบาลหลายพรรค (หลายมุง)มีการปรับเปลี่ยนนโยบายและการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.)ก็ทำให้หน่วยงานและข้าราชการปรับตัวไม่ทันทำให้นโยบายไม่ต่อเนื่อง การปฏิรูประบบราชการ กลับทำให้จำนวนกระทรวง เพิ่มขึ้น • ความสำเร็จของการพัฒนาอุตสาหกรรม (ที่ต้องใช้การทำงานแบบบูรณาการ) ขึ้นอยู่กับความใส่ใจของนายกทักษิณต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ
สาเหตุที่เป็นไปได้สำหรับความล้มเหลวในการพัฒนาอุตสาหกรรมของรัฐบาลทักษิณสาเหตุที่เป็นไปได้สำหรับความล้มเหลวในการพัฒนาอุตสาหกรรมของรัฐบาลทักษิณ • ผลประโยชน์ของกลุ่มทุนที่หนุนหลังรัฐบาลทักษิณ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มทุนจากภาคบริการและเน้นตลาดภายในประเทศเป็นหลัก เช่น กลุ่มธุรกิจมือถือ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มธุรกิจบันเทิง ไม่ใช่ กลุ่มทุนภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มทุนส่งออก • Doner (2005) สรุปไว้ว่า แรงกดดันเรียกว่า “Systemic vulnerability”ที่มีต่อชนชั้นนำไทยมีน้อยเกินไปและไม่ต่อเนื่องเพียงพอที่จะบีบบังคับให้รัฐไทยต้องเพิ่มขีดความสามารถของรัฐ (capacity building) ยกระดับตัวเองขึ้นเป็นรัฐแห่งการพัฒนา (developmental state) เพื่อเอาตัวรอด โดยเฉพาะในทางการเมือง • รัฐบาลนายกทักษิณ สมัยที่สอง (9 มีนาคม 2548 -19 กันยายน 2549) ภายใต้สโลแกน “4 ปีซ่อม 4 ปีสร้าง” เน้นที่การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ" มาตรการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ อาทิ ภาษีการวิจัยและพัฒนา หรือมาตรการให้เงินกู้ดอกเบี้ยผ่อนปรน เพื่อปรับปรุง หรือเปลี่ยนเครื่องจักรที่ล้าสมัยที่ไม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ เป็นต้น มีการวางแผนลงทุนโดยเฉพาะการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพ
5. นโยบายอุตสาหกรรมของไทยหลังยุครัฐบาลทักษิณ • รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 29 มกราคม พ.ศ. 2551 รวม 1 ปี, 120 วัน) ในสมัยรัฐบาลสุรยุทธ์ได้มีการผลักดัน แผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา (พ.ศ. 2551-2555) แผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ (พ.ศ. 2551-2555) และแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2550-2554) เพื่อเป็นทิศทางหลักของการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย แต่การดำเนินงานตามแผนแม่บทดังกล่าวก็ไม่ถูกนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากปัญหาโครงสร้างการทำงานของระบบราชการไทย การขาดการสนับสนุนทางจากภาคการเมืองและความไร้เสถียรภาพของรัฐบาล • แม้รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์จะเป็นถูกจัดตั้งโดย คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) แต่แนวนโยบายเศรษฐกิจรวมทั้งนโยบายอุตสาหกรรมมีกรอบแนวคิดคล้ายคลึงกับนโยบายเศรษฐกิจสมัยนายกทักษิณ เช่นเดียวกับ นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลของนายกสมัคร สุนทรเวช (29 มกราคม พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551 รวม 223 วัน) และรัฐบาลนายกสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (18 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 รวม 75 วัน) ที่มีความคล้ายคลึงกัน
กระบวนการกำหนดนโยบายอุตสาหกรรมของไทยกระบวนการกำหนดนโยบายอุตสาหกรรมของไทย
5. นโยบายอุตสาหกรรมของไทยหลังยุครัฐบาลทักษิณ • สมัยนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554) จากประกาศในแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2552-2554 (27 มกราคม 2552) ซึ่งแนวทางการดำเนินนโยบายส่วนใหญ่ก็คล้ายกับนโยบายเศรษฐกิจสมัยรัฐบาลนายกสมัครและนายกสมชาย (ภายใต้รัฐธรรมนูญฯปี พ.ศ. 2550 และแผนบริหารราชการแผ่นดิน 4 ปี พ.ศ. 2551-2554 เหมือนกัน) • นโยบายเร่งด่วนเกี่ยวกับภาคอุตสาหกรรม เช่น การกำหนดจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตพัฒนาพิเศษ สนับสนุนอุตสาหกรรมฮาลาล เร่งลงทุนเพื่อพัฒนาประเทศและเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินมาตรการชะลอการเลิกจ้างและป้องกันการขยายตัวของการเลิกจ้างในภาคอุตสาหกรรม รองรับปัญหาแรงงานว่างงานจากภาคอุตสาหกรรมและนักศึกษาจบใหม่ เร่งผลิตบุคลากรด้านอาชีวะตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม • รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้ตั้ง ”คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ” (กอช.) ขึ้นเพื่อให้การผลักดันนโยบายอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างมีเอกภาพโดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี) เป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) (ประชุมครั้งที่ 1 วันที่ 9 ก.ค. 2553)
5. นโยบายอุตสาหกรรมของไทยหลังยุครัฐบาลทักษิณ • รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้จัดทำกรอบยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของประเทศใน 8 ด้าน รวมทั้งได้เสนอแนวคิด “เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์” เป็นแนวทางในการกำหนดทิศทางการพัฒนาของเศรษฐกิจ • เพื่อรับมือกับวิกฤติเศรษฐกิจการเงินโลกรัฐบาลอภิสิทธิ์ ได้ผลักดัน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 1 (SP 1) (พ.ศ. 2551) ซึ่งก็ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมมีทิศทางที่ดีขึ้น ต่อมาได้ผลักดัน “แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ” ซึ่งจะเป็นโครงการลงทุนภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 (SP2) (พ.ศ. 2552-2555) เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง • การศึกษาของ Walsh (2010) ประเมินว่า การดำเนินงานของมาตรการดังกล่าว ขาดความโปร่งใสในแง่ของการจัดลำดับความสำคัญโครงการ (มักเป็นไปตามแรงผลักดันด้านการเมือง) มีปัญหาในการเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้า การใช้จ่ายเงินมักเป็นเรื่องการช่วยเหลือคนจน (กระจายรายได้) มากกว่าคำนึงถึงการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว ขาดวิสัยทัศน์ด้านเศรษฐกิจที่ชัดเจนของประเทศในอนาคต (เน้นแก้ปัญหาระยะสั้น) ขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐต่างๆ เช่น มีนโยบายเรียนพรีแต่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานมีฝีมือในภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น
5. นโยบายอุตสาหกรรมของไทยหลังยุครัฐบาลทักษิณ • ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญฯปี พ.ศ. 2550 รัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ให้ความสนใจกับการพัฒนาอุตสาหกรรมยั่งยืน โดยให้ สศช.ทบทวนแผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศใหม่โดยให้คงไว้ซึ่งความสามารถการส่งออกของภาคอุตสาหกรรมแต่ให้เพิ่มสัดส่วนการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศจากภายในประเทศให้มากขึ้นและประชาชนเกิดความสุขมากขึ้น • ปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมือง ทำให้รัฐบาลไม่สามารถยกระดับความสามารถทางด้านเทคโนโลยีภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งไม่สามารถผลักดันนโยบายการลงทุนในระยะยาว การปฏิรูปทางเศรษฐกิจและสังคมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งปัจจัยต่างๆเหล่านี้ จะมีผลกระทบต่อการพัฒนาของเศรษฐกิจไทยและศักยภาพในการทำกำไรของธุรกิจไทยในระยะยาว • สำหรับนโยบายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมของรัฐบาลนายกอภิสิทธ์ที่ยังดำเนินการไม่เสร็จ ได้แก่ การปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ นโยบายอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ (อีโค ทาวน์) และการปรับประเภทกิจการส่งเสริมการลงทุน ให้สอดคล้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมยั่งยืน
6. ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยและความท้าทายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรม ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2555-2574) “มุ่งสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่สมดุลและยั่งยืน”มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาอุตสาหกรรมบนพื้นฐานความรู้ การพัฒนาทักษะฝีมือแรงานและนวัตกรรมในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตลอดจนความสมดุลระหว่างชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อก้าวไปสู่ความยั่งยืน • นโยบายในการยกระดับความสามารถในเชิงแข่งขัน (CapacityBuilding) • นโยบายในการพัฒนาปัจจัยสนับสนุน (Enabling Factor) • นโยบายในการขจัด/ผ่อนคลายข้อจำกัดต่างๆ (Relaxing Constrain) • นโยบายในการยืนหยัดอยู่ท่ามกระแสโลกาภิวัตน์ (Global Reach) • นโยบายในการใช้โอกาสในการพัฒนาสินค้าใหม่/กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างโอกาสใหม่ (New Product) โดยมีประเด็นการพัฒนา • เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative economy policy) • เศรษฐกิจบนฐานรากเกษตร (Agro-based resource policy) • การแสวงหาโอกาสจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) • และการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (Cluster of city policy)
นโยบายอุตสาหกรรมของ น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม • การมุ่งเน้นด้านการส่งเสริมการลงทุนทั้งการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และการส่งเสริมให้กิจการของคนไทยที่มีความเข้มแข็งออกไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น ปรับปรุง “นโยบายส่งเสริมการลงทุนใหม่ระยะเวลา 5 ปี (2555-2559)” • การปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ • เพิ่มพื้นที่การลงทุนแห่งใหม่ในทุกภูมิภาค เช่น พื้นที่ชายแดน แม่สอด เชียงของ และ 3 จังหวัดชายแดนใต้ • ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมเกษตรที่ไม่ใช่อาหารอุตสาหกรรมต่อยอดวัฒนธรรม (Cultural Industry) อุตสาหกรรมสีเขียว อาทิ อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ โครงการเหล็กต้นน้ำ เหมืองแร่โปแตช การพัฒนาแหล่งแร่ที่มีศักยภาพ เน้นการอยู่ร่วมกันระหว่างภาคอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อมอย่างโปร่งใส • ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของ SMEs และโอท็อป เตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ความท้าทายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ความท้าทายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ (1) ความท้าทายในการปรับเศรษฐกิจให้มีความสมดุลมากขึ้น (Rebalancing Strategies) • นอกเหนือจากการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดย่อม OTOP แล้ว รัฐบาลต้องไม่ลืมที่จะสนับสนุนการลดการนำเข้าสินค้าทุนโดยสนับสนุนผู้ประกอบการท้องถิ่นที่มีความเชื่อมโยงกับ Global Production Network ให้มีขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีที่สูงขึ้นเพราะกลุ่มนี้ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง • การปรับโครงสร้างภาษีโดยการลดภาษีนิติบุคคลและปรับลดขอบเขตการให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีฯ ก็น่าจะทำให้ความลำเอียงที่ภาครัฐเคยมีกับ MNEs มากกว่ากิจการท้องถิ่นลดลง • อุปสงค์ในประเทศยังไม่สามารถเข้ามาทดแทนการส่งออกได้ ดังนั้นไทยต้องเร่งใช้ประโยชน์จากเศรษฐกิจอาเซียน
ความท้าทายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ความท้าทายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ (2) ความท้าทายในการยกระดับประสิทธิภาพแรงงาน (Labor Productivity) • การรัฐบาลยิ่งลักษณ์ประกาศนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทอัตราเดียวทั่วประเทศ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ในระดับหนึ่ง แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวย่อมทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นและผู้ประกอบการอุตสาหกรรม SMEs ที่มีข้อจำกัดในการยกระดับเทคโนโลยีเพื่อทดแทนแรงงานที่มีต้นทุนสูงขึ้น แต่ก็เป็นแรงกดดันให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในประเทศไทยต้องปรับตัวกันครั้งใหญ่ ทั้งการยกระดับผลิตภาพแรงงานไทยและการยกระดับเทคโนโลยีการผลิต (Technology Upgrading) รวมทั้งอาจจต้องมีการนำเข้าเข้าแรงงานจากต่างประเทศ และ การออกไปลงทุนในต่างประเทศ • การขึ้นค่าจ้างต้องสอดคล้องกับผลิตภาพแรงงานและสอดคล้องกับอุปสงค์และอุปทานแรงงานในแต่ละพื้นที่ การเพิ่มค่าจ้างที่ไม่สะท้อนผลิตภาพแรงงานที่แท้จริงอาจนำมาสู่ผลที่ไม่พึงประสงค์ได้ อาจมีผลข้างเคียงทำให้มีการลดการจ้างงานแรงงานไทยของนายจ้าง และ บางส่วนถูกผลักให้เป็นแรงงานนอกระบบมากขึ้น ผ่านใช้การจ้างแบบเหมาช่วง (Outsourcing) หรือ ระบบสัญญาจ้างชั่วคราว (Sub-contracting) เพื่อลดต้นทุนแรงงาน • นายจ้างเลือกที่จะจ้างแรงงานต่างด้าวแทน แต่การนำเข้าแรงงานต่างชาติอาจส่งผลถ่วงขบวนการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและอาจก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมอื่นๆตามมา
ความท้าทายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ความท้าทายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ (3) ความท้าทายในการพัฒนาความสามารถทางเทคโนโลยีของผู้ประกอบการ • ที่ผ่านมารัฐบาลทักษิณให้ความสำคัญกับ SMEs ที่มีความเชื่อมโยงกับ MNEs น้อยเกินไป (เพราะคิดว่าไม่อยากช่วยกิจการต่างชาติ) แต่ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์การพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยไม่อาจจะแยกตัวเองออกจากห่วงโซ่การผลิตระดับดับโลก (Global Production Chain) • การเตรียมความพร้อมในเรื่องการตรวจสอบมาตรฐานและการสร้างศูนย์ทดสอบ จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการส่งเสริมความสามารถในการดูดซับเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยง • ภายใต้ WTO รัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ยังมีช่องทางที่เช่น เงื่อนไขการจ้างงาน การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการทำ R&D รวมทั้งสามารถสร้าง (แบบมีข้อแม้) ให้บริษัทต่างชาติลงทุนในการพัฒนาขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีให้กับคนงานไทยและบริษัทไทยมากกว่าที่เป็นอยู่ เช่น การให้สินเชื่อเพื่อพัฒนา อาจใช้มาตรการลงทุนร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทยกับบรรษัทข้ามชาติ การให้เงินอุดหนุนกับภาคเอกชนที่ต้องการทำนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมกระบวนการ จัดให้มีโครงการนำวิศวกรบรรษัทข้ามชาติมาฝึกอบรมวิศวกรไทยและช่างเทคนิคของบริษัทไทย การให้ matching grant กับภาคเอกชน • เงื่อนไขที่ต้องระวังมากกว่าคือ เงื่อนใขในข้อตกลง FTAs ต่างๆ ที่มักจะมากกว่าเงื่อนไขในข้อตกลง WTO)
ความท้าทายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ความท้าทายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ (4) ความท้าทายในการยกระดับระบบนวัตกรรมแห่งชาติ • รัฐบาลต้องพยายามสร้าง ปัจจัยเอื้อต่อการยกระดับความสามารถด้านเทคโนโลยีของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม อันได้แก่ การมีทุนที่จะช่วยพัฒนาความพยายามเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ การมีระบบสถาบันที่จะกำกับให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ได้ผลตามเป้าหมาย และ การจัดความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอำนาจต่างๆที่เหมาะสมเพื่อให้สังคมบรรลุเป้าหมายของการยกระดับเทคโนโลยี • รัฐบาลยิ่งลักษณ์ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีและรับผิดชอบในการนโยบายการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการสนับสนุนเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมเป้าหมาย การสนับสนุน “สถาบันอุตสาหกรรมเฉพาะสาขา” มีความสำคัญ
ความท้าทายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ความท้าทายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ (5) ความท้าทายในการผลักดันนโยบายอุตสาหกรรม • การกลับมาของ “นโยบายอุตสาหกรรม” ตามแนวคิดกลุ่ม “New Structural Economics” • การพัฒนาอุตสาหกรรมนั้นเป็นนโยบายในระยะยาว ต้องมีลักษณะมองไปข้างหน้าวางแผนและป้องกันปัญหาหรืออุปสรรคที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มากกว่าการแก้ไขปัญหาที่เฉพาะหน้า • ประเทศไทยไม่เคยขาดแคลนแผนแม่บทนโยบายอุตสาหกรรมที่ดี แต่สิ่งที่ขาดคือการผลักดันนโยบาย (implement) และการประสานงานระหว่างหน่วยงาน (coordination) • นายกยิ่งลักษณ์จะมีอำนาจทุบโต๊ะน้อยลงมากเนื่องจากรัฐธรรมนูญ 2550 การผลักดันนโยบายยกระดับความสามารถของภาคอุตสาหกรรมไทยภายใต้รัฐบาลใหม่จะมีความยากลำบากมากขึ้น (และอาจมีงบประมาณมาลงทุนน้อยลงหากดำเนินนโยบายประชานิยม) • เรียนรู้ความผิดพลาดในอดีต: นโยบายและรัฐมนตรีที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ความไม่ตั้งใจจริง • เข้าใจเงื่อนไขความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรม ไทยต้องการขีดความสามารถทางสถาบันใหม่ที่สูงขึ้นต่างจากเดิม ภาครัฐ การเมือง ข้าราชการและเอกชนต้องเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีทำงาน