390 likes | 831 Views
กระบวนการ ทำงานกับชุมชน เพื่อสร้างและพัฒนาองค์กร. ความหมายและประเภทขององค์กรชุมชน. องค์กรชุมชน หมายถึง กลุ่มคนในชุมชนที่รวมตัวกันเพื่อดำเนินกิจกรรมหนึ่งๆ ในชุมชน เช่น กลุ่มธนาคารข้าว กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มวนเกษตร (มูลนิธิศิษย์เก่าบูรณะชนบทและเพื่อน, 2540 ). ประเภทขององค์กรชุมชน.
E N D
กระบวนการทำงานกับชุมชนเพื่อสร้างและพัฒนาองค์กรกระบวนการทำงานกับชุมชนเพื่อสร้างและพัฒนาองค์กร
ความหมายและประเภทขององค์กรชุมชนความหมายและประเภทขององค์กรชุมชน • องค์กรชุมชน หมายถึง กลุ่มคนในชุมชนที่รวมตัวกันเพื่อดำเนินกิจกรรมหนึ่งๆ ในชุมชน เช่น กลุ่มธนาคารข้าว กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มวนเกษตร (มูลนิธิศิษย์เก่าบูรณะชนบทและเพื่อน, 2540)
ประเภทขององค์กรชุมชน • องค์กรที่แก้ไขปัญหาหนึ่งๆ ในชุมชนโดยเฉพาะ • องค์กรที่ดำเนินกิจกรรมแก้ไขปัญหาหลากหลายในชุมชน • เครือข่ายการแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่ง สมาชิกมาจากหลายชุมชน ตำบล อำเภอ • องค์กรชุมชนเพื่อต่อรองด้านเศรษฐกิจ • องค์กรชุมชนเพื่อต่อรองด้านการเมือง
องค์กรชุมชนที่จะดำเนินวิธีการอย่างมีประสิทธิผล มีหลักการพิจารณา 3 ประการ คือ • สมาชิกต้องสามารถที่จะเข้าร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการพัฒนาของพวกเขา • สมาชิกต้องสามารถเข้าร่วมอย่างเต็มที่ในการพยายามดำเนินการพัฒนา • สมาชิกต้องสามารถที่จะแบ่งปันผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างยุติธรรม
องค์ประกอบขององค์กรชุมชนองค์ประกอบขององค์กรชุมชน • มีอุดมการณ์ร่วมกัน • มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน • มีผลประโยชน์ร่วมกัน • คน รวมไปถึงผู้นำ สมาชิก และชาวบ้านทั่วไป • การบริหารจัดการ (การตัดสินใจร่วม โครงสร้างและบทบาทหน้าที่ สถานที่และวัสดุอุปกรณ์ กฎกติการ่วมกัน การสื่อสารระหว่างผู้นำกับสมาชิกองค์กร การควบคุมตรวจสอบ) • กิจกรรมการเรียนรู้ • งบประมาณ
องค์กรชุมชนกับงานวนศาสตร์ชุมชนองค์กรชุมชนกับงานวนศาสตร์ชุมชน • สาเหตุที่ทำให้องค์กรชุมชนล้มเหลว • คนภายนอกพยายามสร้างองค์กรใหม่ ที่หวังให้ประชาชนทั้งหมู่บ้านเข้ามาร่วมโดยปราศจากการพิจารณาองค์กรที่มีอยู่แล้วหรือการมองข้ามความขัดแย้งภายในชุมชน • แนวโน้มที่จะมองข้ามกลุ่มองค์กรทางธรรมชาติในสังคม เช่น กลุ่มเครือญาติ • การเน้นที่กลุ่มทางการ โดยมองข้ามโครงสร้างและกระบวนการทางสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้องค์กรทางธรรมชาติในชุมชนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ฟิชเชอร์ (1992) ได้แสดงข้ออภิปรายในด้านองค์กรในงานป่าชุมชนไว้ดังนี้ • การอยู่บนรากฐานของการมีส่วนร่วม ถ้าองค์กรชุมชนไม่สามารถทำการตัดสินใจและจัดลำดับความสำคัญด้วยตัวเขาเอง องค์กรก็จะไม่สามารถทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ • องค์กรชุมชนคือกระบวนการ การจัดองค์กรที่มีประสิทธิภาพควรเน้นการสร้างกระบวนการ พูดคุย เจรจาต่อรอง และการหาประชามติ รวมไปถึงการจัดกระบวนการสร้างข้อตกลงร่วมเพื่อเป็นบรรทัดฐานและพฤติกรรมร่วมให้เกิดขึ้น • งานวนศาสตร์ชุมชนเน้นชุมชนหรือกลุ่มสนใจ
ลักษณะองค์กรท้องถิ่นที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ • เสริมสร้างการมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมของสมาชิกจะเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจและสังคม • มีความเป็นสถาบันซึ่งได้แก่ การมีพฤติกรรมและบรรทัดฐานร่วม • องค์กรท้องถิ่นตามขอบเขตพื้นที่การปกครองอาจไม่มีประสิทธิภาพในการเป็นองค์กรที่ดำเนินการด้านป่าชุมชน องค์กรที่ดำเนินการด้านป่าชุมชนควรเป็นกลุ่มคนที่สนใจ • องค์กรที่มีหน้าที่หลากหลายเป็นองค์กรที่เหมาะสมได้ หากสมาชิกมีความสนใจร่วมกันในหน้าที่และภารกิจหลัก
กระบวนการสร้างและเสริมความเข้มแข็งองค์กรชุมชนกระบวนการสร้างและเสริมความเข้มแข็งองค์กรชุมชน บทบาทการสนับสนุนองค์กรชุมชน • ระบบสนับสนุนจากภายนอกเพื่อเสริมสร้างองค์กรท้องถิ่น • การใช้ที่ปรึกษา (consultant) จากภายนอกเข้ามาช่วยในการดำเนินการ วิธีนี้จะช่วยได้ในเรื่องระเบียบวิธีและการเอื้ออำนวยกระบวนการและการประเมินผล • จัดระบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) โดยเน้นที่การศึกษาปัญหาในพื้นที่ • จัดกระบวนการเรียนรู้ (learning process) ให้แก่ชุมชน • จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมระหว่างผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และที่ปรึกษา นำเสนอผลการสำรวจข้อมูลย้อนกลับ (survey - feedback)
กระบวนการสร้างและเสริมความเข้มแข็งองค์กรชุมชนกระบวนการสร้างและเสริมความเข้มแข็งองค์กรชุมชน บทบาทการสนับสนุนองค์กรชุมชน • ระบบสนับสนุนจากภายนอกเพื่อเสริมสร้างองค์กรท้องถิ่น (ต่อ) • การจัดทำแผนเชิงปฏิบัติการ (action plan) โดยการใช้กระบวนการ AIC โดยให้ที่ประชุมวิเคราะห์อดีต ปัจจุบัน อนาคต แนวทางที่จะดำเนินการและสร้างแผนงานขึ้นมา พร้อมทั้งจัดทำแผนติดตามประเมินผลเป็นระยะอีกด้วย • ให้มีการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดกระบวนการ • การติดตามประเมินผลและปรับแผนงานสม่ำเสมอ
กระบวนการสร้างและเสริมความเข้มแข็งองค์กรชุมชนกระบวนการสร้างและเสริมความเข้มแข็งองค์กรชุมชน บทบาทการสนับสนุนองค์กรชุมชน 2. บทบาทผู้ทำงานภาคสนามกับองค์กรชุมชน • มีบทบาทเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ (facilitators) ให้กับกลุ่มเพื่อให้กลุ่มมีความเข้มแข็ง และมีศักยภาพในการจัดการทรัพยากร หน้าที่ของผู้อำนวยการเรียนรู้ขององค์กรชุมชน ได้แก่ • เผยแพร่แนวความคิดให้ชุมชนได้ร่วมรับรู้และแลกเปลี่ยน “ขายความคิด” • ช่วยให้ชุมชนสามารถศึกษาหาข้อมูลและวิเคราะห์ชุมชนได้ รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประเด็นปัญหาต่างๆ • ให้ข้อมูลชุมชนทั้งด้านนโยบาย ความเคลื่อนไหว สถานการณ์ต่างๆ แล้วนำมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับชุมชน
กระบวนการสร้างและเสริมความเข้มแข็งองค์กรชุมชนกระบวนการสร้างและเสริมความเข้มแข็งองค์กรชุมชน บทบาทการสนับสนุนองค์กรชุมชน 2. บทบาทผู้ทำงานภาคสนามกับองค์กรชุมชน (ต่อ) • ช่วยในการประสานงานกับหน่วยงาน/บุคคลภายนอกให้กับชุมชน • สนับสนุนปัจจัยเท่าที่จำเป็นในการเริ่มต้นการดำเนินกิจกรรมของชุมชนหรือประสานการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกสู่ชุมชน • ให้คำปรึกษาและเป็นกำลังใจแก่กลุ่ม • ติดตามงาน ร่วมสรุปบทเรียน และประสบการณ์
แนวทางการพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนแนวทางการพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน • การพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนโดยภาครัฐและเอกชน ควรเน้นที่สิทธิและอำนาจในการจัดการปัญหาต่างๆ นโยบายของรัฐและกฎหมาย ต้องให้สิทธิและอำนาจแก่องค์กรชุมชนมากขึ้น ควรมีระบบสนับสนุนองค์กรชุมชน ทั้งด้านงบประมาณและวิชาการ • การพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน
แนวทางการพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนแนวทางการพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน • การพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนที่ริเริ่มขึ้นใหม่ มีแนวทางดังนี้ • การศึกษาเรียนรู้ปัญหาชุมชนอย่างมีส่วนร่วม • การเรียนรู้และคิดค้นกิจกรรมการแก้ปัญหา • การวางแผนกิจกรรมการแก้ปัญหา • การรวมกลุ่มปฏิบัติการร่วมกัน • การติดตามแก้ปัญหาและพัฒนาองค์กร
แนวทางการพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนแนวทางการพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน • การพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนที่มีอยู่แล้วและกำลังดำเนินกิจกรรมอยู่ในปัจจุบัน ดังนี้ • การพัฒนาผู้นำองค์กรชุมชน • การเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์แนวคิด กระบวนการแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม การวางแผนจากชาวบ้าน การวิเคราะห์ การบริหารจัดการเป็นครั้งคราว • เจ้าหน้าที่รัฐและเอกชนควรนำเอาองค์ประกอบขององค์กรชาวบ้าน เป็นตัวชี้วัดในการทบทวนและปรับตัวขององค์กร
ประเด็นเพื่อการประเมินความเข้มแข็งองค์กรประเด็นเพื่อการประเมินความเข้มแข็งองค์กร • ความเป็นมาและความจำเป็นในการจัดตั้งองค์กร ใครริเริ่ม ใครจัดตั้ง • ระดับความตระหนักของปัญหาของสมาชิกองค์กร และกรรมการองค์กร • บทบาทคนภายนอก/รัฐ/เอกชน • โครงสร้างและการเติบโตขององค์กร • กระบวนการมีส่วนร่วม • กิจกรรมกลุ่ม ความชัดเจนในการแยกแยะ จำแนกปัญหาของชุมชน • การตอบสนองต่อปัญหา ความต้องการของสมาชิก และผู้ไม่ได้เป็นสมาชิก มีการต่อต้านหรือไม่ อย่างไร
ประเด็นเพื่อการประเมินความเข้มแข็งองค์กร (ต่อ) • ผลการดำเนินการของโครงการ ทำให้สมาชิกมีความมั่นใจทางเศรษฐกิจ และสังคมหรือไม่ เห็นคุณค่าหรือไม่ เพิ่มศักยภาพชุมชนหรือไม่ สมาชิกมีความเชื่อในกระบวนการกลุ่มหรือไม่ • พัฒนาทักษะ ความสามารถ และกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองของสมาชิกกลุ่มหรือกรรมการหรือไม่ • กลุ่มมีความมั่นใจต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การคัดค้านหรือไม่ มีความยืดหยุ่นหรือไม่ • มีการเปลี่ยนแปลงต่อระดับนโยบายหรือไม่ • มีการขยายแนวคิดและประสบการณ์ต่อชุมชนอื่นหรือไม่ เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือขององค์กรทั่วไปหรือไม่
การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานท้องถิ่นทำงานแบบพหุภาคีการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานท้องถิ่นทำงานแบบพหุภาคี • การทำงานด้านวนศาสตร์ชุมชน ต้องอาศัยการมองแบบรอบด้าน และอาศัยความร่วมมือทั้งภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันวิชาการ ธุรกิจเอกชน และองค์กรชุมชน • การสร้างความร่วมมือแบบภาคีย่อมจะก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีพลังและมีความหมาย • การรวมตัวและกระบวนการปฏิบัติการร่วมย่อมจะต้องดำเนินไปโดยมีเป้าหมายและวิสัยทัศน์ต่อสังคมและอนาคตที่ร่วมกัน
การจัดการและการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งการจัดการและการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง • ความขัดแย้งสามารถแบ่งได้ 2 แนว • แนวความคิดที่เห็นว่าความขัดแย้งเป็นสิ่งไม่ดีและควรหลีกเลี่ยง • แนวความคิดที่เห็นว่าความขัดแย้งเป็นกระบวนการที่ปกติธรรมดาหรือบางครั้งอาจจะเป็นสิ่งที่พึงปรารถนา เพราะความขัดแย้งเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
ความขัดแย้งแบ่งเป็น 3 ประเภทหลัก คือ • ความขัดแย้งแอบแฝง ซึ่งหมายถึงความตึงเครียดที่ฝังมิได้พัฒนาไปเป็นความขัดแย้งอย่างเต็มรูปแบบ • ความขัดแย้งที่กำลังก่อตัว หมายถึง สถานการณ์ที่กลุ่มบางกลุ่มได้มองเห็นประเด็นปัญหาและมองเห็นว่ากำลังจะมีความขัดแย้งเกิดขึ้น หากแต่ว่ายังไม่ได้มีการลงมือแก้ปัญหาหรือทำการเจรจาเพื่อแก้ปัญหา • ความขัดแย้งเด่นชัด หมายถึง สถานการณ์ที่มีคู่กรณีที่กำลังมีความขัดแย้งหรือกรณีพิพาทกันอยู่ และบางครั้งอาจจะหาทางออกหรือทางแก้ไขไม่ได้
สาเหตุของความขัดแย้งจำแนกได้หลายประการ คือ • ความขัดแย้งที่เกิดจากข้อมูล • ความขัดแย้งที่เกิดจากผลประโยชน์แตกต่างกัน • ความขัดแย้งที่เกิดจากโครงสร้าง • ความขัดแย้งที่เกิดจากความสัมพันธ์ • ความขัดแย้งที่เกิดจากค่านิยม
ทรัพยากรและวิถีชีวิตคนไทยและคนมลายูทรัพยากรและวิถีชีวิตคนไทยและคนมลายู
ป่าพรุปาเซรายอ ต.บือเจาะ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส
ความขัดแย้งที่เกี่ยวเนื่องการใช้ทรัพยากรป่าไม้ความขัดแย้งที่เกี่ยวเนื่องการใช้ทรัพยากรป่าไม้ • เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของการได้มาซึ่งทรัพยากร • เกิดจากความไม่เท่าเทียมกันในการได้มาซึ่งทรัพยากร • เกิดจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากร • เกิดจากการเปลี่ยนแปลงอำนาจ • เกิดจากความแตกต่างในค่านิยม • เกิดจากความรู้สึกว่าขาดความมั่นคง • เกิดจากการขาดแคลนข้อมูลข่าวสาร • เกิดจากนโยบายของรัฐ
กระบวนการในการแก้ไขปัญหากระบวนการในการแก้ไขปัญหา • วิธีการผูกไมตรี (Conciliation) วิธีนี้เป็นการแก้ปัญหาโยคนกลางที่ช่วยพูดสื่อสารกับคู่กรณีแต่ละฝ่าย โดยมีวัตถุประสงค์ในการที่จะลดความเครียด และพยายามที่จะหาข้อตกลงในกระบวนการแก้ปัญหา
กระบวนการในการแก้ไขปัญหากระบวนการในการแก้ไขปัญหา • วิธีการช่วยอำนวยความสะดวก (Facilitation) วิธีนี้เป็นการช่วยเหลือจากบุคคลที่สาม ในการจัดประชุมให้กับคู่กรณี
กระบวนการในการแก้ไขปัญหากระบวนการในการแก้ไขปัญหา • วิธีการเจรจาต่อรอง (Negotiation) เป็นกระบวนการโดยความสมัครใจ ที่กรณีทั้งสองฝ่ายพบกันและเจรจาหาวิธีแก้ไขปัญหาที่เป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย
กระบวนการในการแก้ไขปัญหากระบวนการในการแก้ไขปัญหา • วิธีการค้นหาข้อเท็จจริง (Fact finding) วิธีการนี้เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงของประเด็นปัญหาโดยบุคคลที่สาม โดยพยายามรวบรวมข้อมูลจากทุกฝ่าย และทำการสรุปประเด็นปัญหาที่สำคัญ วิธีการนี้สามารถนำไปใช้เป็นเทคนิคในกระบวนการเจรจาต่อรองได้ด้วย
กระบวนการในการแก้ไขปัญหากระบวนการในการแก้ไขปัญหา • วิธีการประนีประนอม (Mediation) วิธีการนี้เป็นการช่วยเหลือจากบุคคลที่สามในกระบวนการเจรจาต่อรอง ผู้ไกล่เกลี่ยประนีประนอม ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจใดๆ
หลักการเลือกวิธีการแก้ปัญหาหลักการเลือกวิธีการแก้ปัญหา • เลือกวิธีการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น หากการเจรจาต่อรองกับคู่กรณีเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย เราอาจเลือกใช้วิธีหาผู้ช่วยไกล่เกลี่ยประนีประนอม ที่ทั้งสองฝ่ายให้ความไว้วางใจ • พิจารณาจารีตประเพณี ของกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นกลไกในการแก้ปัญหาที่ให้ผลในแง่บวกอันมีฐานบนวิธีการแก้ปัญหาดั้งเดิมของชุมชนที่เคยปฏิบัติมา • พิจารณาระดับความแตกต่างกันของอำนาจและทรัพยากรของคูกรณี
การแก้ปัญหาความขัดแย้งในสถานการณ์ที่คู่กรณีมีอำนาจไม่เท่าเทียมกันการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสถานการณ์ที่คู่กรณีมีอำนาจไม่เท่าเทียมกัน • การเจรจาทำได้ยาก • การแก้ไขความขัดแย้งอาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด • ฝ่ายที่คิดว่าตนเองเสียเปรียบไม่ควรจะล้มเลิกความคิดที่จะใช้วิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง • บางครั้งการใช้วิธีการแก้ไขปัญหาแบบประเพณีที่ชุมชนท้องถิ่นปฏิบัติกันสืบมาอาจจะมีประสิทธิภาพมากกว่า
นักแก้ปัญหาความขัดแย้งนักแก้ปัญหาความขัดแย้ง • นักฝึกอบรม (Trainers) ที่ให้การอบรมในทักษะ (skills) และความคิด (ideas) ในการแก้ไขความขัดแย้ง นักฝึกอบรมสามารถที่จะช่วยให้ทราบว่ากรอบคิดความขัดแย้งคืออะไร มีบทบาทสำคัญอย่างไร และจะนำเสนอมันได้อย่างไร ต่อจากนั้นจะพูดถึงการเจรจาต่อรอง การไกล่เกลี่ยประนีประนอม และกระบวนการในการแก้ปัญหา
นักแก้ปัญหาความขัดแย้งนักแก้ปัญหาความขัดแย้ง • ผู้ทำการประนีประนอม (Mediators) • ผู้ทำการไกล่เกลี่ยประนีประนอมจะต้องเป็นผู้ที่มีทักษะอย่างมากและมีความรอบรู้ในเรื่องสิ่งแวดล้อมทางการเมืองและวัฒนธรรมที่เขากำลังเผชิญอยู่ • เป็นคนกลางที่ได้รับการไว้วางใจและเชื่อถือเราสามารถหาผู้ไกล่เกลี่ยประนีประนอมที่ดีได้จากชุมชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในความขัดแย้ง เนื่องจากเขาเหล่านั้นจะคุ้นเคยกับบรรทัดฐาน วัฒนธรรมและประชาชนในพื้นที่นั้น
นักแก้ปัญหาความขัดแย้งนักแก้ปัญหาความขัดแย้ง • ผู้อำนวยความสะดวก(facilitators) • ช่วยให้การประชุมได้ผลในทางบวกมากขึ้น โดยจะช่วยดำเนินรายการให้เป็นไปตามวาระ • ช่วยให้การเจรจาในที่ประชุมบรรลุเป้าหมาย มุ่งเน้นประเด็นสำคัญในระยะเวลาที่มีอยู่ • ช่วยให้ทุกฝ่ายมีสิทธิมีเสียงในการแสดงความความคิดเห็นโดยเท่าเทียมกัน • ข้อแตกต่างกับผู้ไกล่เกลี่ยประนีประนอม คือ ผู้อำนวยความสะดวกไม่จำเป็นที่จะต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในระยะยาว บทบาทจำกัดแค่ในการประชุมแต่ละครั้งเท่านั้น
สิ่งที่ท้าทายสำหรับคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการแก้ไขความขัดแย้ง คือ • สร้างความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับยุทธวิธีเชิงสถาบันและกลไกที่ใช้จัดการแก้ไขความขัดแย้งอยู่ในปัจจุบัน • พยายามหาวิธีการสนับสนุนกลไกที่มีอยู่แล้วให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น • รัฐให้การสนับสนุนแก่ชุมชนท้องถิ่นและสถาบันท้องถิ่นที่มีอยู่