300 likes | 560 Views
การแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540. ของรัฐบาล นายชวน หลีกภัย. สถานการณ์และการแก้ไข แบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา. 1. สถานการณ์และมาตรการช่วงเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ (2 กรกฎาคม 2540 – พฤศจิกายน 2540) พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี. พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี
E N D
การแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540 ของรัฐบาล นายชวน หลีกภัย โดยสมาชิก กลุ่ม 2 ห้อง 2
สถานการณ์และการแก้ไข แบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา 1. สถานการณ์และมาตรการช่วงเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ (2 กรกฎาคม 2540 – พฤศจิกายน 2540) พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี 25 พ.ย. 2539 – 8 พ.ย. 2540 (1 ปี)
สมัยรัฐบาล พลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ (ก.ค-พ.ย 2540) • 1. มาตรการแรก การลอยตัวค่าเงิน คือ วันที่ 2 ก.ค. 2540 ประกาศยกเลิกการกำหนดค่าเงินบาทเทียบกับสกุลเงินของประเทศคู่ค้าสำคัญ มาเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว • 2. มาตรการที่สอง การเจรจาและของกู้เงิน กับ IMF คือ วันที่ 14 ส.ค. 2540 ลงนามสัญญารับเงื่อนไขการกู้เงินกับ IMF • 3. มาตรการที่สาม มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ (มาตรการ 13 ต.ค. 40) เช่น ปิดสถาบันการเงิน 58 แห่ง , จัดตั้ง ปรส. และ บบส. (ปฏิรูปสถาบันการเงินและบริหารสินทรัพย์ฯ) • 4. นโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รองนายกรัฐมนตรีฯ ในขณะนั้น เป็นประธานคณะกรรมการกำกับนโยบายฯ
สถานการณ์และการแก้ไข แบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา 2. สถานการณ์และมาตรการหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ (พฤศจิกายน 2540 – ธันวาคม 2543) นาย ชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี 9 พ.ย. 2540 – 17 พ.ย. 2543 (3 ปี)
สมัยรัฐบาล นายชวน หลีกภัย (2540-2543) รัฐบาลของนายชวน เริ่มต้นหลังจากการประกาศลอยตัวค่าเงินบาท จนถึงการลาออกของทีมเศรษฐกิจและรัฐมนตรีทั้งคณะของรัฐบาล พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ • โดยรัฐบาลของ นายชวน หลีกภัย มีทีมเศรษฐกิจ ดังนี้ • 1. นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง • 2. นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล รัฐมนตรีช่วยฯ • 3. นายพิสิฐ ลี้อาธรรม รัฐมนตรีช่วยฯ
การวิเคราะห์ถึงปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นการวิเคราะห์ถึงปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น • 1. ปัญหาการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เช่น -ปัญหาทุนสำรองระหว่างประเทศถูกใช้ไปจนเกือบหมด ทำให้มีปัญหาความเชื่อมั่นของค่าเงินบาท -ปัญหาความมั่นคงของสถาบันการเงิน 56 แห่งถูกสั่งปิด ขาดเลือด เลือดเสีย บาดเจ็บล้มตาย -ปัญหาอัตราเงินเฟ้อสูง ค่าครองชีพของประชาชนสูง ขณะที่รายได้ที่แท้จริงลดลง และตกงาน -ปัญหาอัตราดอกเบี้ยสูงประมาณร้อยละ 15 ในเดือนธันวาคม 2540 (เพราะอัตราเงินเฟ้อสูง+ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อหยุดยั้งการแห่ถอนเงินฝาก+อัตราแลกเปลี่ยนไม่มีเสถียรภาพ) • 2. ปัญหาการหดตัวของระบบเศรษฐกิจ เช่น -ธุรกิจจำนวนมากปิดกิจการ เกิดปัญหาการว่างงาน การลงทุนและการบริโภคภายในประเทศลดลง -การดำเนินนโยบายการคลังที่เข้มงวด ซ้ำเติม ส่งผลย้อนกลับให้เกิดปัญหาการขาดเสถียรภาพ -ปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้รุนแรงขึ้น ส่งผลให้สถาบันการเงินขาดทุน ไม่สามารถปล่อยสินเชื่อในระบบเศรษฐกิจได้ตามปกติ • ดังนั้นการแนวทางแก้ไขปัญหา จะต้องแก้ไขทั้ง 2 ปัญหาไปพร้อมๆ กัน โดยดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและบรรเทาผลกระทบทางสังคม ควบคู่กันไปกับมาตรการรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ
กรอบแนวคิดในการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจกรอบแนวคิดในการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ
มาตรการในการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 • มาตรการดอกเบี้ยสูง และปิดสถาบันการเงิน • เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อไม่ให้สูงเกินไป • ป้องกันเงินไหลออกนอกประเทศ และทำให้เงินไหลเข้าประเทศสูง • ถ้าค่าเงินบาทแข็ง จะทำให้หนี้ต่างประเทศลดลง • ปิดไฟแนนท์ 56 แห่ง เพื่อแก้ไขวิกฤติทางการเงินของสถาบันการเงิน
มาตรการในการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 (ต่อ) • มาตรการ 14 สิงหาคม 2541 • แผนฟื้นฟูสถาบันการเงิน โดยเน้นเพิ่มเงินกองทุนให้ได้ตามมาตรฐาน BIS (Bank for International Settlement) • เพิ่มทุนให้สถาบันการเงินโดยเงินออมจากประชาชนและขายหุ้นให้ต่างชาติ • ขายพันธบัตรให้ประชาชนเพื่อเพิ่มทุนให้ธนาคารพานิชย์ของรัฐ • มาตรการ 10 มีนาคม 2542 • กู้เงินจากญี่ปุ่นตามแผน “มิยาซาว่า” 53,000 ล้านบาท • ลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จาก 10 % เหลือ 7 % • ลดภาษีน้ำมัน เป็นเงิน 23,800 ล้านบาท
มาตรการในการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 (ต่อ) • มาตรการ 10 สิงหาคม 2542 • ปรับลดอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อใช้ผลิตส่งออก • รัฐร่วมกับบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ ตั้งกองทุนเพื่อช่วยเอกชนปรับโครงสร้างหนี้เพื่อลด NPL • เพิ่มทุนให้อุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็ก SME • ให้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ปล่อยกู้ซื้อบ้าน 5,000 ล้านบาท
มาตรการในการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 (ต่อ) • มาตรการ อื่น ๆ • ทำข้อตกลงกับ IMF โดยออกกฎหมาย 11 ฉบับ • ปฏิรูประบบสถาบันการเงินและตั้งองค์การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ป.ร.ส.) และบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บ.บ.ส.) • แปรรูปรัฐวิสาหกิจ
ผลจากการแก้ไขปัญหาตามมาตรการดังกล่าวผลจากการแก้ไขปัญหาตามมาตรการดังกล่าว • วิกฤติเศรษฐกิจที่เลวร้ายที่สุดเท่าที่ประเทศไทยเคยประสบมา ได้รับการแก้ไขเยียวยาให้ฟื้นตัวอย่างมีเสถียรภาพตามสมควร แต่ยังต้องได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องอีกมาก เพื่อคืนสภาพเศรษฐกิจให้เข้าสู่ภาวะปกติ ดังจะดูได้จากตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญๆ น่าสนใจดังต่อไปนี้
ภาวะย้ายเงินทุนออกนอกประเทศอย่างตระหนกหยุดลงภาวะย้ายเงินทุนออกนอกประเทศอย่างตระหนกหยุดลง • ทุนสำรองระหว่างประเทศดีขึ้นมาก และหยุดเบิกจ่ายเงินจาก IMF ตั้งแต่ 8 ก.ค.2542(หยุดก่อนกำหนด มิ.ย. 2543) • ทุนสำรองเพิ่มจาก 0.8 18.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (ประมาณ 3 ปี)
อัตราแลกเปลี่ยน(จากเดิม 25 บาท) ที่ผันผวนมากในปี 2540 และอ่อนค่าสุดที่ 55.3 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ได้มีการปรับตัวจนมีเสถียรภาพ ตามที่ควรจะเป็นและตามการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินในภูมิภาค
อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยของ 5 ธนาคารพาณิชย์ใหญ่ ปรับตัวจากระดับสูงสุดที่อัตราร้อยละ 15.50 ลดลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 7.85
อัตราเงินเฟ้อปรับตัวจากระดับร้อยละ 10.7 ลงมาอยู่ที่ระดับ 1.3 • ทำให้ประชาชน โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย มีกำลังในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
การส่งออกเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ / ลดการนำเข้า • ดุลบัญชีเดินสะพัดปรับตัวจากขาดดุล เป็นเกินดุลอย่างต่อเนื่อง
จากมาตรการในการแก้ไขเศรษฐกิจดังกล่าวนั้น ส่วนใหญ่ก็ล้วนสามารถแก้ไขปัญหาได้ค่อนข้างถูกทาง แต่ก็ยังมีนโยบายที่แก้ไขเศรษฐกิจที่ไม่ถูกทาง ซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศในด้านต่างๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังต่อไปนี้
วิเคราะห์การแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจที่ไม่ถูกทางวิเคราะห์การแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจที่ไม่ถูกทาง • 1. นโยบายเศรษฐกิจที่เข้มงวดตรึงดอกเบี้ยให้สูง และชะลอการใช้จ่ายของ ภาครัฐ ทำให้เกิดผลดังนี้ • รายได้ประชาชาติ (GDP) ลดลงกว่า 10% ในปี 2541 • ธุรกิจล้มละลายหลายหมื่นราย • จำนวนคนว่างงานเพิ่มขึ้นกว่า 1 ล้านคน • เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการยึดกิจการธนาคารและบริษัทเงินทุน
วิเคราะห์การแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจที่ไม่ถูกทาง (ต่อ) • 2. ตามมาตรการ 14 สิงหาคม 2541 • ออกพันธบัตรรัฐบาลขายให้แก่กับต่างประเทศมูลค่า 200,000 ล้านบาท • ธุรกิจส่งออกของบริษัทต่างชาติเพิ่มขึ้น แต่กระจุกตัวอยู่ในไม่กี่ธุรกิจ ซึ่งธุรกิจนั้นมีความเกี่ยวพันกับนักการเมือง • ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้ระบบกันเงินสำรองหนี้ ทำให้ไม่มีเงินปล่อยกู้ ให้กับผู้ประกอบการ จึงเกิดการขาดเงินหมุนเวียน
วิเคราะห์การแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจที่ไม่ถูกทาง (ต่อ) • 3. ตามมาตราการ 10 มีนาคม 2542 และพระราชกำหนด 11 ฉบับ • เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ • มุ่งหวังการพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศ โดยใช้มาตราการต่างๆ นั้น ขาดการประเมินความเสี่ยง ในเรื่องผลกระทบต่อการสร้างต้นทุนทางสังคมหรือความเสียหายต่อเศรษฐกิจมากน้อยเพียงไร • การจัดชั้นสินเชื่อตามมาตรฐานของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศหรือ BIS โดยไม่เข้าใจระบบเศรษฐกิจเชิงสถาบัน ขาดการกำหนดระยะเวลาให้เหมาะสมไม่ติดตามประเมินผลได้ผลเสียในเชิงเศรษฐกิจ จึงเกิด NPL • เกณฑ์การจัดชั้นสินเชื่อตาม BIS นั้น เป็นเกณฑ์การจัดชั้นสินเชื่อที่สร้างขึ้นสำหรับใช้กับระบบธุรกิจที่ก้าวหน้าในประเทศอุตสาหกรรม จึงยังไม่เหมาะกับประเทศไทยซึ่งมีระบบธุรกิจที่ยังล้าหลังอยู่
สรุปผลโดยภาพรวมของการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจสรุปผลโดยภาพรวมของการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ • การแก้ไขปัญหาเสถียรภาพและการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ ได้ผลสำเร็จตามสมควร ตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ตัวเลขที่สำคัญทางเศรษฐกิจที่กล่าวมาข้างต้น ชี้ให้เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวมได้เริ่มปรับตัวเข้มแข็งขึ้นมากเมื่อเทียบกับสภาวการณ์วิกฤติเศรษฐกิจเมื่อ 3 ปีก่อน • แต่ยังคงมีปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงและภาระพันธนาการต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต อาทิเช่น หนี้สินสาธารณะการปฏิรูปทางการเมือง และปัจจัยภายนอก เช่น ราคาน้ำมัน เศรษฐกิจของโลกเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า
สิ่งที่เราควรเรียนรู้จากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 • การบริหารที่ขาดประสิทธิภาพ ภาครัฐ ราชการ การเมือง สถาบันการเงิน เอกชน • ความไม่โปร่งใส ขาดจริยธรรม ไร้วินัยทางการเงิน • การดำเนินนโยบายที่ใช้ตามตะวันตกโดยไม่มีการประยุกต์ใช้ • ลัทธิบริโภคนิยม • วิกฤตเชิงโครงสร้าง ระบบอ่อนแอ คนก็จะอ่อนแอตาม • เศรษฐกิจที่เติบโตด้วยการก่อหนี้ ก็ต้องล่มสลายด้วยภาวะหนี้เช่นกัน
ข้อเสนอแนะในการป้องกันวิกฤติการณ์ทางการเงินข้อเสนอแนะในการป้องกันวิกฤติการณ์ทางการเงิน • 1.อย่าปล่อยให้เกิดการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ • เมื่อเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วจึงควรมีการพิจารณาว่าเป็นการเติบโตแบบมีคุณภาพหรือไม่ ถ้าเป็นการแบบไร้คุณภาพ ก็ควรมีการดำเนินนโยบายเพื่อชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน • 2. อย่าเปิดประเทศมากเกินไป • การเปิดประเทศควรคำนึงถึงระดับการเปิดประเทศที่เหมาะสมที่เป็นประโยชน์กับประเทศให้มากที่สุด รวมทั้งควรมีการเตรียมพร้อมโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตของไทยให้เหมาะสมและเอื้อกับนโยบายทางเศรษฐกิจมากที่สุด
ข้อเสนอแนะในการป้องกันวิกฤติการณ์ทางการเงินข้อเสนอแนะในการป้องกันวิกฤติการณ์ทางการเงิน • 3. อย่าเร่งรีบก้าวสู่แนวทางเสรีนิยมทางการเงินรวดเร็วจนเกินไป • ประเทศที่เลือกเดินแนวทางเสรีนิยมทางการเงินจะต้องมีเครื่องมือและความสามารถในการรับมือกับนักเก็งกำไร ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศก่อน และควรมีการปรับปรุงกลไกนโยบายทางการเงินก่อนที่จะมีการเปิดเสรีทางการเงิน
ข้อเสนอแนะในการป้องกันวิกฤติการณ์ทางการเงินข้อเสนอแนะในการป้องกันวิกฤติการณ์ทางการเงิน 4. ควรลดการพึ่งพิงเงินทุนจากต่างประเทศและหันมาพึ่งตนเองมากขึ้น • การที่ระบบเศรษฐกิจมีเงินออมไม่เพียงพอที่จะสนองตอบความต้องการในการลงทุน หรือเงินออมในประเทศขยายตัวไม่ทันกับการขยายตัวของการลงทุน เป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจไทยต้องพึ่งพิงเงิน ออมจากต่างประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยยังต้องพึงพาต่างประเทศอยู่มาก • ดังนั้นควรมีการกำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการออมในประเทศอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการออมในภาคครัวเรือน ซึ่งรัฐอาจใช้นโยบายทางภาษี เพื่อเป็นเครื่องจูงใจให้เกิดการออมเพิ่มขึ้น รวมทั้งสนับสนุนให้สถาบันการเงินระดมการออมโดยเฉพาะเงินฝากระยะยาวที่มีภาระผูกพันเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง เช่น เพื่อการศึกษาบุตร เพื่อใช้หลังเกษียณอายุ เป็นต้น เพื่อเป็นการช่วยลดการพึงพาจากต่างประเทศ
ถูกทาง / หรือไม่ถูกทาง • ถูกทาง : ไม่ผิดทาง คือ ทำในสิ่งที่สมควรทำ เพราะถ้าผิดทางประเทศคงจะไม่มีสภาพเช่นนี้ • แต่ยังไม่ถูกทาง : นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง เศรษฐกิจ นักการเมือง ประชาชน ”ยังไม่ไปถึงไหนเลย” • แต่ยังไม่ถูกต้องที่สุด : เนื่องจากยังไม่ได้ทำในสิ่งที่ควรจะทำ คือ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อจะก่อให้เกิด “เศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน”เพื่อความอยู่ดีกินดี มีความสุข มีสันติสุข ของลูกหลานฯ ในอนาคต อย่างแท้จริง • ไม่พูดถึง ไม่มีการพิจารณาถึง “มิติของมนุษย์”“สิ่งแวดล้อม”
ขอได้รับความขอบคุณจากสมาชิกกลุ่ม 2 ห้อง 2